โชคเหนือเมฆ-กำไลเหนือดวง- มูลนิธิเทียนฟ้า 2497 - วัตถุมงคล หลวงปู่พิศดู-ครูบากฤษดา

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย bat119, 20 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,516
    ค่าพลัง:
    +30,849
    ล็อกเก็ตพระธรรมธาตุหลังแผ่นเงิน พระพรหม 4 หน้า (pm)

    <a href="http://www.mx7.com/view2/yUlG1nrcZtuaW3uq" target="_blank"><img border="0" src="http://www.mx7.com/i/419/5U9mza.JPG" /></a> <a href="http://www.mx7.com/view2/yUlG1nrcZwAod6tP" target="_blank"><img border="0" src="http://www.mx7.com/i/9dc/g5cq2J.JPG" /></a>​

    ล็อกเก็ตพระธรรมธาตุ พระพรหม 4 หน้า อธิฐานจิต และปลุกเสกเดี่ยวโดยครูบากฤษดา จำนวนสร้างมีรายละเอียด ดังนี้
    - หลังเงิน 100 องค์
    - หลังกะไหล่ทอง 300 องค์
     
  2. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,516
    ค่าพลัง:
    +30,849
    ของดีราคาเบาๆ พระผงรูปเหมือน รุ่น2 หลวงปู่พิศดู วัดเทพธารทอง เลี่ยมพร้อมแขวน มีกล่องเดิมๆอยู่ครับ องค์นี้หน้าคมชัด (pm)

    <a href="http://www.mx7.com/view2/yUlG1JpTh6nxc1yS" target="_blank"><img border="0" src="http://www.mx7.com/i/db7/4aMDaq.JPG" /></a> <a href="http://www.mx7.com/view2/yUlG1JpTh512peW9" target="_blank"><img border="0" src="http://www.mx7.com/i/d82/S5XwGl.JPG" /></a>​

    พระผงรูปเหมือน รุ่น2 ของหลวงปู่พิศดู
    - สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2547 โดยคณะศิษย์สาย หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค ถือได้ว่าสร้างได้ดีมากๆอีกรุ่นหนึ่งทีเดียว เพราะมีมวลสารต่างๆที่หลวงปู่มอบให้ไป รวมทั้งมวลสารที่ทางคณะนี้ได้นำมาใส่ไว้ด้วย อาทิ ผงวิเศษของหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค ผงหลวงปู่ทิม วัดพระขาว ฯลฯ
    โดยรูปแบบนั้นหลวงปู่ท่านสั่งให้ทำเป็นรูปใบโพธิ์ ใต้ฐาน บรรจุตะกรุดที่หลวงปู่จารอักขระเอง โดยจารใส่แผ่นใหญ่ๆ แล้วให้ตัดซอยออกมาได้หลายดอก แล้วจึงม้วนห่อไว้ด้วยเกศาของหลวงปู่พิศดูท่าน แล้วจึงบรรจุไว้ใต้ขอบล่างทุกองค์ เป็นชุดเล็กที่สุดยอดจริงๆครับ จำนวนสร้างทั้งหมดเพียง 1,000 องค์ อฐิษฐานจิตอยู่ข้างพระประธานกุฏิหลวงปู่หลังเก่าอย่างน้อย 2-3 ปีครับ
     
  3. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,516
    ค่าพลัง:
    +30,849
    http://palungjit.org/9906487-post9648.html
    รูปถ่ายหลวงปู่พิศดู
    หลวงปู่สนั่น อธิษฐานจิตปิดท้ายให้ครับ


    เมื่อวันตรุษจีน ได้เข้าไปขอให้ท่านอธิษฐานจิตปิดท้ายให้พร้อมล็อกเก็ตครับ


    [​IMG]
    ล็อกเก็ตหลวงปู่พิศดู รุ่น วิมุตตานัง เข้าพิธี3พิธี หลวงปู่สนั่น เสกปิดท้ายให้ครับ<O:p</O:p
    พิธีเททองหล่อรูปเหมือนพระอุปคุตมหาเถระ และรูปหล่อยืนหลวงปู่พิศดู ธมฺมจารี ณ วัดเทพธารทอง ต.พลวง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี ในวันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน 2558<O:p</O:p
    พิธีวัดบิปผลิวนาราม<O:p</O:p
    พิธีวัดเทพธารทอง วันที่25พ.ย.2558<O:p</O:p
    หลวงปู่สนั่น อธิษฐานจิต วันที่ 8/2/2559 วันตรุษจีน<O:p</O:p

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กุมภาพันธ์ 2016
  4. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    14,856
    ค่าพลัง:
    +14,116
    สวัสดียามเย็นครับป๋า
     
  5. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,516
    ค่าพลัง:
    +30,849
    สวัสดีครับเสี่ยเฟริส์ท
     
  6. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,516
    ค่าพลัง:
    +30,849
    คิดถึงก็เอามาให้ดู ไม่เจอเลยครับพระกสิณยุคแรกของหลวงปู่พิศดู

    <a href="http://www.mx7.com/view2/yUtxSJAg2s98CbYS" target="_blank"><img border="0" src="http://www.mx7.com/i/b5b/124ew2.JPG" /></a>​


    พระเนื้อดิน และพระเนื้อผงผสมดินของหลวงปู่พิศดูท่าน เรียกว่า พระกสิณ ครับ เริ่มสร้างประมาณปี 2520 เป็นต้นมา... พระเนื้อดินเผา เมื่อกดพิมพ์พระ และนำมาตากแห้งเรียบร้อยแล้ว จะนำมาเผาไฟ สุมด้วยแกลบตามกรรมวิธีแบบโบราณ ในระหว่างนั้น หลวงปู่ท่านสวดมนต์เดินจงกรมบริกรรมทั้งหมด ถ้าดินสุกแล้วท่านจะนำมาไว้ที่ห้องสวดมนต์ ท่านจะสวดลายลักษณ์ของพระพุทธเจ้า ตลอดถึงพระคาถาและบทสวดต่างๆมากมายเลยครับ สำหรับพระยุคแรกๆของท่าน
    องค์หลวงปู่ได้ทําการลงอักขระบนกระดาน และลบผงเอง นอกจากนั้น ยังแกะพิมพ์และกดพิมพ์กันเองในวัด โดยลูกศิษย์ลูกหาที่มีความสามารถ และผู้ที่สนใจ (ฟังแล้วคิดถึงตอนที่สมเด็จโต วัดระฆังท่านสร้างพระสมเด็จครับ) อย่างใน มวลสารหลักๆ นอกจากผงที่หลวงปู่ท่านได้ลบสูตรเองแล้ว ยังมี ธูปอธิษฐาน ดอกไม้องค์หลวงปู่ไหว้พระ ว่านยา แร่ต่างๆ ผงพ่อแม่ครูบาอาจารย์ กาฝาก 108 เกศา ชาญหมาก ดิน ทรายลำธารศักดิ์สิทธิ์ของวัดเทพธารทอง(ปฐวีธาตุ)
    พระกสิณ คณะสมัยก่อนได้เล่าให้ฟังว่า องค์หลวงปู่ได้บอกว่า ถึงไม่ค่อยสวย แต่ก็เมตตามากนะ อีกหน่อยจะหายาก...ซึ่งก็เป็นไปตามองค์หลวงปู่ได้ทํานาย ใครมีใครก็หวง จะหาได้ที่ไหนที่พระป่าสายกรรมฐานจะสร้างพระแบบนี้ครับคือ ลงมือทําเอง และลบผงเองครับ (ส่วนมากทางสายป่ากรรมฐานนี้ลูกศิษย์จะยกมาให้เสก เสกเสร็จก็ยกไปแจกครับ)
    พระกสิณถ้าจะมองผ่านๆบางคนอาจจะบอกว่า ไม่คมไม่สวย แต่ถ้าคิดในมุมกลับจะรู้ถึงคุณค่า เพราะกว่าจะได้แต่ละองค์ต้องผ่านอะไรๆหลายๆอย่าง เช่น หามวลสาร ทําบล็อค รวมถึงองค์หลวงปู่จะต้องลบผงอีกต่างหาก อีกทั้งองค์หลวงปู่จะเดินจงกลมรอบกองไฟ ระหว่างเดินท่านจะภาวนาตลอดครับ เรียกได้ว่าทุกขั้นตอนการสร้างท่านควบคุมดูแลตลอด ไม่ปล่อยให้ตกหล่นเลยครับ คณะสมัยนั้นเล่าให้ผมฟังว่า แม้กระทั่งที่ไม่สวยองค์หลวงปู่สั่งว่าห้ามทําลาย ให้ปล่อยไว้แบบนั้นครับ.. ( ข้อมูลคุณแฝงจันทร์.. )

    เนื้อดินเผา ผสมผงวิเศษ และเผาแบบสุมไฟด้วยแกลบให้ดินสุก โดยทำกันในวัด ในระหว่างนี้หลวงปู่ท่านจะเดินจงกรมรอบกองไฟ(เพิกกสิณ)ครับ..
    พระกสิณนี้ เมื่อทำสำเร็จและได้จำนวนมากพอแล้ว ท่านจะสั่งให้ลูกศิษย์เอามาเก็บไว้ที่กุฏิโดยเอาผ้าขาวปูรอง แล้วเอาพระกสิณวางเรียงกันไว้เป็นชั้นหนึ่ง จากนั้นก็เอาผ้าขาวปูทับ และนำพระมาเรียงซ้อนกันไว้อีกเป็นชั้นที่สอง แล้วปูผ้าขาวทับอีก สลับกันไปเรื่อยๆ จนพระหมด ท่านจึงทำการอธิษฐานจิต เป็นเวลายาวนานนับสิบๆปี คล้ายกับรอเวลาที่จะแจกในอนาคตมากกว่า.. ซึ่งโดยปกติพระที่มีพลังจิตสูงอย่างหลวงปู่พิศดู ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาเสกพระอะไรที่ยาวนานขนาดนั้นหรอกครับ เพียงแค่ท่านกำหนดจิตแป๊บเดียว หรือแค่จิตท่านคิดของก็มีความศักดิ์สิทธิ์ได้ถึงที่สุดแล้ว.. แต่การอธิษฐาน สวดมนต์ ภาวนาเป็นระยะเวลานานเกือบ 20 ปี พระที่อยู่กับท่านจะยิ่งมีความศักดิ์สิทธิ์มากแค่ไหน..? อันนี้คงไม่ต้องกล่าวถึง
    แต่ที่หลวงปู่เก็บพระชุดนี้ไว้นานถึง 20 ปี ก็เพราะว่าท่านอาจทราบเหตุการณ์ล่วงหน้า ว่าในอนาคตจะมีภัยต่างๆมากขึ้น อีกอย่างถ้าหลวงปู่ท่านแจกพระในสมัยที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้จักท่าน พระที่ทำก็คงสูญหายไปหมด ไม่มีใครรู้จัก สิ่งที่สร้างไว้ก็คงเสียเปล่า..
    พระอริยะอจิณไตยอย่างองค์หลวงปู่พิศดู ท่านทราบความเป็นไปในทุกสภาวะธรรม(ชาติ) ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต ท่านทราบโดยละเอียดด้วยความเมตตากรุณา สิ่งใดที่ท่านตั้งใจทำ ตั้งใจสร้างขึ้นมานั้น ย่อมมีเหตุมีผลทั้งสิ้น เรื่องบางเรื่องเราไม่อาจรู้ได้ แต่หลวงปู่ท่านรู้โดยละเอียด..
    พระกสิณนี้ก็เป็นวัตถุมงคลอีกสิ่งหนึ่งที่หลวงปู่เป็นผู้ดำหริให้จัดสร้างด้วยองค์ท่านเอง ด้วยมวลสารที่ท่านสะสมมาสมัยธุดงค์ และของมงคลของครูบาอาจารย์ของท่าน ฯลฯ ทุกอย่างทำกันในวัด ทั้งลบผง ผสมเนื้อ กดพิมพ์ เผาดิน ตลอดถึงการอธิษฐานจิตเดี่ยว ด้วยจิตใจที่มุ่งมั่น ตั้งใจอย่างดีที่สุด นับเป็นพระเครื่องชุดแรกของท่านก็ว่าได้ ถึงรูปแบบอาจจะดูไม่สวยคมชัดเหมือนพระสมัยนี้ แต่ว่ามีความคลาสสิคในตัวมาก เพราะพระทุกองค์เป็นงานที่ทำด้วยมือ และใจของผู้ศรัทธาจริงๆ เป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางใจสูงมาก.. หลวงปู่เคยบอกว่า ถึงจะไม่ค่อยสวย แต่คุณภาพสูงครับ.. สาธุ
    ( ข้อมูลคุณทุเรียนทอด..)

    " นะมะภะทะ จะภะกะสะ นะโมพุทธายะ นะชาลีติ พุทธคุณัง ธัมมะคุณัง สังฆคุณัง สะระณังคัจฉามิ "
    พระคาถาหลวงปู่พิศดู ไว้สวดเสกกำกับ พระกสิณ. เวลาเราสวมใส่เห็นหน้าใครต้องการผูกมิตรทำจิตใจให้เป็นสมาธิ แล้วบริกรรม. เมกะมุอุ. ครับ. หลวงปู่เคยกล่าวไว้ว่า การบูชาพระพุทธเจ้านำมาชื่งเดชเดชาอันยิ่งใหญ่ การบูชาพระธรรมเจ้านำมาซึ่งปัญญาอันยิ่งใหญ่ การบูชาพระสงฆ์เจ้านำมาซึ่งทรัพย์อันยิ่งใหญ่ ครับ. พระผงกรรมมัฏฐาน ยุคแรกๆของท่านสามารถใช้มือกำภาวนาได้ครับ คาถากำกับ พระขมิ้นเสกต่าง มิตติ จิตติ จิตติ มิตติ นะชาลีติ นโมพุทธายะ. (ทำไมหลวงปู่ถึงนำขมิ้นมาบดผสมทำพระครับ. เหตุผล. พระเวลาบวชต้องห่มเหลืองสมัยก่อนเขาใช้ขมิ้นย้อมผ้า. ขมิ้นเหลืองดั่งทองคำมิผันแปรเหมือนดั่งทองคำ. ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ท่านจึงนำขมิ้นมาบดผสมทำพระเสมอๆครับ. ) หลวงปู่เสกพระด้วยบทกรรมมัฏฐานทั้งสิ้น เช่นสวดพิจารณาอาการ32 เกสา โลมา.........มัตถะลุงคันติ สาคะลังฯ และอื่นๆ คาถาพระปัจเจกก็ใช้สวดด้วย สมัยก่อนท่านสวดทุกเช้าศิษย์เก่าๆรู้ดีครับ..
    ( ข้อมูลคุณเอื้อนขจี.. )

    พระกสิณหลวงปู่พิศดู ครูบาอาจารย์บอกมาว่าหลวงปู่ท่านลงวิชาหัวใจพระพรหม ไว้ในองค์พระมีอยู่ 2 รุ่น คือพระกสิณ และพระรูปหล่อพระธรรมธาตุ
    หัวใจพรหมหรือที่เรียกกันว่า พรหมวิหารธรรม คือ หลักธรรมของผู้ใหญ่ หรือหลักของผู้ครองเรือน ประกอบด้วยหลักธรรมสำคัญ 4 ประการ คือ
    - เม ตตา = ความรัก ความเอื้ออารีย์
    - ก รุณา = ความสงสาร เห็นอกเห็นใจกัน
    - มุ ทิตา = ความพลอยยินดี ที่เห็นผู้อื่นได้ดี
    - อุ เบกขา = ความวางภาระ วางเฉย
    ครูบาอาจารย์จึงถอดเป็นหัวใจของพระพรหม หรือ หัวใจพรหมวิหารธรรม ได้เป็น เม กะ มุ อุ ครับ
    ( ข้อมูล การสร้างพระกสิณ ของหลวงปู่พิศดู.. )
     
  7. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,516
    ค่าพลัง:
    +30,849
    พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ธัมมะจารี เนื้อทองทิพย์ หลวงปู่พิศดู วัดเทพธารทอง (pm)

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    http://palungjit.org/9218707-post14865.html
    ข้อมูลพระกริ่งเนื้อทอง
     
  8. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,516
    ค่าพลัง:
    +30,849
    เหรียญรุ่น5 ใบโพธิ์ใหญ่ เนื้อทองเหลือง หลวงปู่พิศดู วัดเทพธารทอง ใส่ตลับเงินพร้อมแขวนครับ เหรียญกว้าง2เซนต์ สูง2.5เซนต์(pm)

    [​IMG]

    เหรียญรุ่นนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2549 สร้างถวายโดยลูกศิษย์ชุด อุปัฏฐาก องค์หลวงปู่ โดยด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่พิศดูครึ่งองค์ อยู่ในใบโพธิ์ มีอักขระขอมข้างๆอ่านว่า ธัม มะ จา รี ด้านหลังเป็นปริษณาธรรมชวนให้ขบคิด อธิบายคร่าวๆได้ว่า มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปางปฐมเทศนา ประทับอยู่กลางพระธรรมจักร ส่วนด้านล่างเป็นบัวสี่เหล่า หมายถึงบุคคลสี่จำพวก พระพุทธเจ้าทรงเปรียบระดับปัญญา ที่อยู่ในฐานะของบุคคลที่สามารถฝึกสอนให้รู้ธรรมได้และไม่ได้ในทางพระพุทธศาสนา... ออกได้สี่ระดับคือ
    ( อุคคฏิตัญญู ) พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์(แสงธรรม)ก็เบ่งบานทันที
    ( วิปจิตัญญู ) พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป
    ( เนยยะ ) พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติมอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง
    ( ปทปรมะ ) พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน
    ถัดจากนั้นมาจะมีอักขระยันต์ที่ระทับอยู่บนใบบัวอ่านได้ว่า พุทโธ ซึ่งเป็นบทกำหนดบริกรรมภาวนาตามแบบสายพระป่ากรรมฐาน และพุทธโธก็ยังแปลความหมายได้อีกว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม ถัดจากนั้นมา จะมีอักขระอยู่ตรงข้างพระธรรมจักรอีก 4คำ ซึ่งเป็นหัวใจของพระอริยะสัจ4 อ่านว่า ทุสะนิมะ ย่อมาจากคำหน้าของพระอริยะสัจ4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ซึ่งทั้งหมดนี้รวมเรียกว่าหัวใจพระอริยะสัจทั้งสี่ประการ ถัดขึ้นไปด้านบน จะมีอักขระอีก 3 คำอ่านได้ว่า อะ ระ หัง แปลความหมายได้ว่า อรหันต์ หรือ พระอรหันต์ หมายถึงผู้ที่สามารถละกิเลศอาสวะได้ ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา หรือพระอริยบุคคลชั้นสูงสุด และยอดสุดของด้านหลังเหรียญนั้นคือยันต์ เฑาะอุนาโลม รวมความแล้วนั้น เหรียญรุ่นนี้ มีครบทั้งองค์พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระอริยะสงฆ์
    เหรียญที่สร้างทั้งหมดมี
    เนื้อเงิน ลงยาสีเขียว 12 องค์
    เนื้อทองแดง ไม่ลงยา 500 องค์
    เนื้อทองแดง ลงยาสีเขียว 500 องค์
    เนื้อทองเหลือง ไม่ลงยา 500 องค์
    เนื้อทองเหลือง ลงยาสีเขียว 500 องค์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กุมภาพันธ์ 2016
  9. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    14,856
    ค่าพลัง:
    +14,116
    สวัสดียามสายครับป๋า
     
  10. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,516
    ค่าพลัง:
    +30,849
    สวัสดีครับเสี่ยเฟริส์ท
     
  11. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,516
    ค่าพลัง:
    +30,849
    เหรียญพระแก้วมรกตหมดห่วง รุ่น2 ปลุกเสกนาน7ปี (pm)

    <a href="http://www.mx7.com/view2/yUAFCndFzPGRJkmw" target="_blank"><img border="0" src="http://www.mx7.com/i/50d/nANVe7.jpg" /></a>​

    เหรียญพระแก้วมรกต จักรแก้วพระพุทธเจ้า
    วัตถุประสงค์
    1.เพื่อเป็นพุทธานุสสติหนึ่งในกรรมฐาน 40 กอง ตามพุทธฎีกา และเป็นมหากุศลสืบต่ออายุพระศาสนาต่อไปในอนาคต
    2. เพื่อต้องการสร้างเหรียญพระแก้วมรกตที่ถูกต้อง สมบูรณ์และเพียบพร้อมด้วยพิธีกรรมแต่โบราณ
    พุทธลักษณะ
    เป็นเหรียญกลม ไม่มีห่วง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.3 ซ.ม.ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระแก้วมรกต ทรงเครื่องฤดูฝนประทับนั่งบนรัตนบัลลังก์บัว 2 ชั้น อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วและรายล้อมด้วยดอกไม้ โดยเลียนแบบจากรูปลักษณ์จากเหรียญพระแก้ว มรกต รุ่นฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี
    ด้านหลัง เป็นยันต์มหาจักร ซึ่งผูกจากพระคาถาจักรแก้วพระพุทธเจ้า
    “ อิติปิโสภควา เอกจกกํ มารเปตวา พุทธจกโก เวหาสคนตวา”
    หมุนออกจากแกนกลางวนแบบทักษิณาวัตร (หมุนวนขวามือ)

    พิธีกรรมการจัดสร้าง ได้ยึดรูปแบบที่พระโบราณจารย์ ถือปฏิบัติสืบต่อมาคือ ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๑ วัน เริ่มเวลา ๐๘.๐๙ น. ตั้งแต่การบวงสรวงครูบาอาจารย์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพยดาอารักษ์ หลอมทองชนวน การรีดแผ่นโลหะ และการปั๊มเหรียญ ทั้ง ๓ ชนิด คือ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อนวโลหะกลับดำ แล้วเสร็จในเวลา ๒๓.๐๙ น. ได้เหรียญรวมทั้งสิ้นรวม ๒,๒๒๒ เหรียญ แยกเป็นเนื้อทองคำ ๕ เหรียญ เนื้อเงิน ๑๘๑ เหรียญ และเหรียญนวโลหะกลับดำ ๒,๐๓๖ เหรียญ

    จำนวนการสร้าง รวมทั้งสิ้น 2,222 เหรียญ
    แยกตามเนื้อโลหะดังนี้
    * เนื้อโลหะทองคำ 5 เหรียญ
    * เนื้อเงิน 181 เหรียญ
    * เนื้อนวโลหะ 2,036 เหรียญ
    การดำเนินการสร้าง
    เหรียญพระแก้วมรกต จักรแก้วพระพุทธเจ้า เนื้อนวโลหะนี้
    โดยคณะผู้จัดสร้างได้รวบรวมโลหะทองชนวน พระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ สำนักวัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ หลายวาระ
    ทองชนวนพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ และครอบน้ำมนต์ที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก,ตะกรุดและแผ่นยันต์ของพระอริยสงฆ์
    และพระอภิญญาจารย์เจ้าทุกภาคทั่วประเทศและโลหะบริสุทธิ์ 9 ชนิดได้แก่ รวมทั้งแผ่นพระยันต์ 108 ดวง และนะปัถมัง 14
    นะอันเป็นพระยันต์บังคับตามตำราการสร้าง พระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ของสมเด็จพระพันรัตน์วัดป่าแก้ว กรุงเก่า ดังรายละเอียดดังนี้
    1.ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ สำนักวัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
    1.1 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2482 (หน้าอินเดีย)
    1.2 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2483 (ฉลองพระชนม์)
    1.3 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2484 (พุทธนิมิตร)
    1.4 พิธีวันที่ 6 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2485 (น้ำท่วม)
    1.5 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2486 (เชียงตุง)
    1.6 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2487 (หลักชัย)
    1.7 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2489 (จาตุรงคมุนี)
    1.8 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2490 (นวโลกุตรญาณมุนี)
    1.3 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2490 (เทโว)
    1.10 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2495 (ทองทิพย์)
    1.11 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2506 ( หลังปิ )

    2. ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์
    2.1ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “สมเด็จย่า90” วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ
    2.2 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “เศวตฉัตร” วัดเศวตฉัตร กรุงเทพฯ
    2.3 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “สังวรวิมลเถร”วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
    2.4 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “บวรรังสี” วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    2.5 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ปวเรศ” วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    2.6 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “นเรศวรเมืองงาย” วัดราชนัดดากรุงเทพฯ
    2.7 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “อู่ทอง” วัดราชนัดดา กรุงเทพฯ
    2.8 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “พุทธปริต” วัดราชนัดดา กรุงเทพฯ
    2.9 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “อโยธยา” วัดกษัตราธิราช พระนครศรีอยุธยา
    2.10 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ติสสเทว” วัดขนอนเหนือ พระนครศรีอยุธยา
    2.11 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ไตรสรณาคม” วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา
    2.12 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ปรโม” วัดจุกเฌอ ชลบุรี
    2.13 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ชินบัญชร” วัดละหารไร่ ระยอง
    2.14 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ไตรโลกนาถ” วัดวังหว้า ระยอง
    2.15 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “เงินล้าน” วัดบางพระ นครปฐม
    2.16 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ฐิตคุโณ” วัดบางพระ นครปฐม
    2.17 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “พุทธรัตนะ” วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
    2.18 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ชินวํโส” วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
    2.19 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “จักรพรรดิอุตตมะ” วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี
    2.20 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ชุติมนโต” วัดใหม่กลอ นครราชสีมา
    2.21 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ธาตุมหาชัย” วัดธาตุมหาชัย นครพนม
    2.22 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “สมปรารถนา” วัดธาตุมหาชัย นครพนม
    2.23 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ไตรลักษณ์” สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    2.24 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “เขมโกมุนี” สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    2.25 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “เขมนันท์” สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    2.26 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “อรหัง” วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
    2.27 ทองชนวนพระกริ่ง “นิมมานโกวิท” วัดท่าทอง อุตรดิตถ์
    2.28 ทองชนวนพระกริ่ง “สุริยะวรมัน” วัดมงคลคีรีเขตต์ ตาก
    2.29 ทองชนวนพระกริ่ง “สุจิตโต” วัดมะปริง สุราษฎร์ธานี
    2.30 ทองชนวนพระกริ่ง “ทักษิณชินวโร” วัดดอนศาลา พัทลุง
    2.31 ทองชนวนพระกริ่ง “มหามงคล” วัดดอนศาลา พัทลุง
    2.32 ทองชนวนพระกริ่ง “ศรีเพชรรัตน์” วัดดอนศาลา พัทลุง
    2.33 ทองชนวนพระกริ่ง “อนันตคุณ” กรุงเทพฯ
    2.34 ทองชนวนพระกริ่ง “นวโลกุตรญาณมุนี” กรุงเทพฯ
    2.35 ทองชนวนพระกริ่ง “สามภพพ่าย” กรุงเทพฯ
    2.36 ทองชนวนพระกริ่ง “วัฒนะ” กรุงเทพฯ
    2.37 ทองชนวนพระกริ่ง “ธนบดี” กรุงเทพฯ

    3. ทองชนวนพระชัยวัฒน์

    3.1 ทองชนวนพระชัยวัฒน์ วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ3.2 ทองชนวนพระชัยวัฒน์ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม3.3 ทองชนวนพระชัยวัฒน์ วัดหนัง กรุงเทพฯ
    4. ทองชนวนพระพุทธชินสีห์ ญสส (บูชา) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ

    5. ทองชนวนพระศาสดา ญสส (บูชา) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ

    6. ทองชนวนพระไพรีพินาศ ญสส (บูชา) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ

    7. ทองชนวนพระนาคปรก สธ (บูชา) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ

    8. ทองชนวนพระพุทธชินราชจำลอง 2485 วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ

    9. ทองชนวนพระกลางลาน วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา

    10. ทองชนวนพระปิดตามหาอุตตโม วัดท่าแหน ลำปาง

    11. ทองชนวนพระปิดตาราชาอุตตโม สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่

    12. ทองชนวนพระปิดตาพุทธคง วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร

    13. ทองชนวนพระปิดตาราเมศวร วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช

    14. ทองชนวนพระปิดตามหามงคล วัดดอนศาลา พัทลุง

    15. ทองชนวนพระมหากัจจายน์รับลาภ วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี

    16. ทองชนวนพระมหากัจจายน์รับลาภ (ใหญ่) วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา

    17. ทองชนวนพระมหากัจจายน์รับลาภ (เล็ก) วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา

    18. ทองชนวนพระมหากัจจายน์รับลาภ สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง

    19. ทองชนวนรูปหล่อหลวงพ่อทวด (นวโลหะ) วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา

    20. ทองชนวนรูปหล่อหลวงพ่อทวด (นวโลหะ) วัดช้างไห้ ปัตตานี

    21. ทองชนวนรูปหล่อหลวงพ่อทวด (สัตตโลหะ) วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี

    22. ทองชนวนรูปหล่อหลวงพ่อทวด (เบญจโลหะ) วัดทรายขาว ปัตตานี

    23.ทองชนวนเหรียญพระประทานพร 25 ปี ธนาคารศรีนคร กรุงเทพฯ

    24.ทองชนวนเหรียญหล่อสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ

    25. ทองชนวนเหรียญสัมฤทธิ์สมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ26. ทองชนวนเหรียญสัมฤทธิ์พระเทพสิทธินายก (เลียบ) วัดเลา กรุงเทพฯ27. ทองชนวนเหรียญสัมฤทธิ์หลวงพ่ออบ อินทวิริโย วัดถ้ำแก้ว เพชรบุรี
    28. ทองชนวนเหรียญสัมฤทธิ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร

    29. ทองสัมฤทธิ์จากองค์หลวงพ่อพระมงคลบพิตร พระนครศรีอยุธยา

    30. ทองสัมฤทธิ์พระเกศมาลาของพระศรีศากยทศพลญาณ พุทธมณฑล นครปฐม

    31. ทองสัมฤทธิ์จากเทวรูปขอมโบราณ

    32. ทองสัมฤทธิ์ยอดปราสาท

    33. ทองสัมฤทธิ์ยอดเจดีย์

    34. โลหะชินลูกแก้ว วัดญาณเสน พระนครศรีอยุธยา

    35. โลหะทองระฆัง วัดช่องแค นครสวรรค์

    36. โลหะทองจังโก วัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูน

    37. เงินพดด้วงสมัยอยุธยา รัตนโกสินทร์

    38. เงินบาท สมันรัชกาลที่ 4,5 และ6

    39. สตางค์แดง พ.ศ. 2466 – 2484

    40. แผ่นยันต์มหาจักรพรรดิ์ตราธิราช หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อำเภออุทัย พระนครศรีอยุธยา เป็นผู้ปลุกเสก

    41. แผ่นยันต์ตามตำราวัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท โดยท่านพระอาจารย์มหาโพธิ์ ญาณสํวโร วัดสุวรรณโคตมาราม อำเภอวัดสิงห์ ชัยนาทเป็นผู้ลงและปลุกเสก

    42. แผ่นพระคาถาชินบัญชร ลงและปลุกเสกโดยพระวิมลธรรมภาณ (วิเวียร) วัดดวงแข เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

    43. แผ่นพระคาถามหาธรณีสาร ลงและปลุกเสกโดยพระครูจันทสมานคุณ (หล้า) วัดป่าตึง อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่

    ตะกรุดสำคัญของพระเถราจารย์เจ้า1 ตะกรุดมหาจักรพรรดิ์ตราธิราช– พระวิสุทธาจารย์เถร (เทียม) วัดกษัตราธิราช พระนครศรีอยุธยา

    – หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา

    – หลวงพ่อสละ เถรปัญโญ วัดประดู่ทรงธรรม พระนครศรีอยุธยา

    – หลวงพ่อเฉลิม เขมทสสี วัดพระญาติการาม พระนครศรีอยุธยา

    2 ตะกรุดโสฬสมหามงคล

    – พระญาณโพธิ์ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ

    – พระครูนนทกิจโสภณ (ทองสุข) วัดสะพานสูง ปทุมธานี

    – พระอาจารย์นำ ชินวโร วัดดอนศาลา พัทลุง

    3 ตะกรุดเกราะเพชร

    – พระมงคลวราจารย์ (เชิญ) วัดโคกทอง พระนครศรีอยุธยา

    – พระมหาโพธิ์ ญาณสํวโร วัดสุวรรโคตมาราม ชัยนาท

    – พระปฐมเจติยาธร (บูญธรรม) วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม

    – พระราชพรหมยานเถร (วีระ) วัดจันทาราม อุทัยธานี

    4 ตะกรุดตรีนิสิงเห

    – พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ

    – พระครูบริรักษ์ธรรมกร (บุญเทียม) วัดลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี

    5 ตะกรุดโทน

    – พระครูสุชัยบุญญาคม (เชื้อ) วัดใหม่บำเพ็ญบุญ ชัยนาท

    – พระครูภาวนาภิรัติ (ทิม) วัดละหารไร่ ระยอง

    6 ตะกรุดพระเจ้า 16 พระองค์

    – พระครูเวชคามบริรักษ์ (ตาบ) วัดมะขามเรียง สระบุรี

    – พระครูบรรหารศีลคุณ (แร่) วัดเชิดสำราญ ชลบุรี

    – พระครูสุนทรธรรมานุศาสตร์ (รวย) วัดท่าเรือแกลง ระยอง

    -พระครูศีลกิตติวัฒน์ (หนู) วัดทุ่งแหลม ราชบุรี

    7 ตะกรุดลูกอม

    – พระวิสุทธิรังสี (เปลี่ยน) วัดไชยชนะชุมพล กาญจนบุรี

    – พระมงคลเทพรังษี (ดี) วัดเทวสังฆราม กาญจนบุรี

    – พระโสภณคณาจารย์ (เหรียญ) วัดศรีอุปลาราม กาญจนบุรี

    – พระมงคลราชวุฒาจารย์ (ใจ) วัดเสด็จ สมุทรสงคราม

    – พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม

    – พระครูสุนทรธรรมกิจ (หยอด) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม

    8 ตะกรุดไมยราพสะกดทัพ พระครูสุชาติเมธาจารย์ (กุน) วัดพระนอน เพชรบุรี

    9 ตะกรุดมหาปราบ หลวงพ่อคง ธมมโชโต วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม

    10 ตะกรุดมหาปราบ พระไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง)วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร

    11 ตะกรุดมหาคงคา หลวงพ่อบ่าย ธมมโชโต วัดช่องลม สมุทรสงคราม

    12 ตะกรุดปราบทาสามหาระงับ พระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ)วัดเสด็จ สมุทรสงคราม

    13 ตะกรุดฟ้าลั่น พระครูศรีฉฬงคสังวรเถร (เริ่ม) วัดจุกเฌอ ชลบุรี

    14 ตะกรุดมหานิทรา พระครูภาวนาภิรัติ (ทิม) วัดละหารไร่ ระยอง

    15 ตะกรุดแม่ทัพ พระมงคลศีลาจารย์ (คร่ำ) วัดวังหว้า ระยอง

    16 ตะกรุดชิงกรุง พระมงคลศีลาจารย์ (คร่ำ) วัดวังหว้า ระยอง

    17 ตะกรุดมหากำบัง พระครูสรรค์การวิชิต (พิมพ์) วัดสนามชัย ชัยนาท

    18 ตะกรุดฝนแสนห่า พระมหาโพธิ์ ญาณสํวโร วัดคลองมอญ ชัยนาท

    19 ตะกรุดเทพรัญจวร พระครูอุทัยธรรมกิจ (ตี๋) วัดหลวงราชาวาส อุทัยธานี

    20 ตะกรุดมหาเถร 108 พระครูวิมลศีลาภรณ์(สุรินทร์) วัดศรีเตี้ย ลำพูน

    21 ตะกรุดสลีกัญชัย พระครูอุดมขันติธรรม(ขันแก้ว) วัดป่ายาง ลำพูน

    22 ตะกรุดนารายณ์แปลงรูป พระครูธรรมกิจโกศล(นอง) วัดทรายขาว ปัตตานี

    23 ตะกรุดจันทร์เพ็ญ (ทองคำ) หลวงปู่ผูก จันทโชโต วัดเกาะ เพชรบุรี

    การบรรจุอิทธิ – พุทธานุภาพ
    1). พิธีมหาพุทธาภิเษก
    1. วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ พิธีพระบรมรูป ร.5 4 ตุลาคม 2540
    2. วัดสุทัศฯเทพวราราม กรุงเทพฯ พิธีทรัพย์เพิ่มพูน 7 พฤศจิกายน 2540
    3. วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ พิธีพระเศรษฐีนวโกฏิ 15 พฤศจิกายน 2540
    4. วัดเลา กรุงเทพฯ พิธีพระพิฆเณศวร ศิลปากร 8 มกราคม 2541
    5. วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี พิธีเหรียญพระรูป ร.5 23 ตุลาคม 2541
    6. วัดเลา กรุงเทพฯ พิธีพระกริ่งพุทธปัญญา 30 สิงหาคม 2542
    7. วัดไผ่ล้อม นครปฐม พิธีพระกริ่งอัตตรักโข 23 ตุลาคม 2542
    8. วัดยางงาม ราชบุรี พิธี 100 ปี ปากท่อ 27 ตุลาคม 2542
    9. วัดเลา กรุงเทพฯ พิธีพระกริ่งพุทธสุขสิริ 6 พฤศจิกายน 2542
    10. วัดไผ่ล้อม นครปฐม พิธีเสาร์ 5 8 เมษายน 2543
    11. วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี พิธีเสาร์ 5 8 เมษายน 2543
    12. วัดช้าง นครนายก พิธีพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ “สาธารณสุข” 9 มิถุนายน 2543
    13. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ พิธีพระพุทธนิรามัย 27 มิถุนายน 2543
    14. วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี พิธีสมโภชรูปเหมือนหลวงพ่อจ่าง 23 ตุลาคม 2543
    15. วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ พิธีวันเพ็ญ เดือน 12 พฤศจิกายน 2543
    16. วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี พิธีพระกริ่งเพชรกลับ วชิรเวท 7 ธันวาคม 2543
    17. วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ พิธีพระกริ่งพุทธยอดฟ้า 31 ธันวาคม 2543
    18. วัดไผ่ล้อม นครปฐม พิธีรูปเหมือนสะดุ้งกลับ หลวงพ่อพูล 18 มกราคม 2544
    19. วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ พิธีพระกริ่งจอมไทย 19-27 มกราคม 2544
    20. วัดไผ่ล้อม นครปฐม พิธีมงคลอายุวัฒน์ 90 10 กุมภาพันธ์ 2544
    21. วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม พิธีชัยมังคลาภิเษก 25 เมษายน 2545
    22. วัดเลา กรุงเทพฯ ….………………. 27 เมษายน 2545
    23. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ พิธีหลวงปู่ทวด กระทรวงกลาโหม 10 พฤศจิกายน 2545
    24. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ พิธีพระพุทธนิรโรคันตราย 11 พฤศจิกายน 2545
    25. วัดเลา กรุงเทพฯ ….……………….. 13 พฤศจิกายน 2545
    26. วัดปราสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ พิธีหลวงพ่อทวด 19 พฤศจิกายน 2545
    2) การปลุกเสก – อธิษฐานจิตเดี่ยว
    1. พระครูภัทรธรรมรัติ (ภัทร) วัดโคกสูง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 6-7 กันยายน 2540
    2. พระครูสุวรรณวิสุทธิ์ (เจริญ) วัดธัญญวารี อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี 22 กันยายน 2540
    3. พระครูวิทิตพัฒนาทร (จ้อย) วัดหนองน้ำเขียว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 28 มกราคม 2540
    4. พระครูปราสาทพรหมคุณ (หงส์) วัดเพชรบุรี อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ 1 กุมภาพันธ์ 2540
    5. พระธรรมมุนี (แพ) วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี 12 เมษายน 2541
    6. พระครูสังวรสมณกิจ (ทิม) วัดพระขาว อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา 12 เมษายน 2541
    4 มกราคม – 31 มีนาคม 2542
    7. พระภาวนานุสิชฌ์เถร (หรุ่ม) วัดบางจักร อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง
    12 เมษายน – 4 พฤษภาคม 2541,27 มกราคม 2544,3 มีนาคม 2544
    8. พระนิมมานโกวิท (ทองคำ) วัดท่าทอง อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 5 พฤษภาคม 2541และ13 – 14 พฤษภาคม 2547
    9. พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์(วงศา) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน 6 พฤษภาคม 2541
    10. พระครูมงคลคุณาทร (คำปัน) วัดหม้อคำตวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 6 พฤษภาคม 2541
    11. พระครูวรวุฒิคุณ (อิน) วัดฟ้าหลั่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ 7 พฤษภาคม 2541
    12. พระครูพิศิษฐสังฆการ (ผัด) วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 7 พฤษภาคม 2541
    13. พระครูสิริศีลสังวร (น้อย) วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 7 พฤษภาคม 2541
    14. พระครูชัยยะวงศ์วิวัฒน์ (หน่อย) วัดบ้านปง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 7 พฤษภาคม 2541
    15. ครูบาเทือง นาถสีโล วัดบ้านเด่น อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 7 พฤษภาคม 2541
    16. พระราชพฤฒาจารย์ (ห้อม) วัดคูหาสุวรรณ อ.เมืองฯ จ.สุโขทัย 8 พฤษภาคม 2541
    17. พระครูศีลสารสัมปัน (อ่อน) วัดเนินมะเกลือ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก 8 พฤษภาคม – 3 มิถุนายน 2541
    18. พระครูสุนทรวชิรเวท (จ่าง) วัดเขื่อนเพชร อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี 8 กรกฎาคม – 5 ตุลาคม 2541
    (ไตรมาส 2541 )
    19. พระราชอุดมมงคล (อุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละ จ.กาญจนบุรี 18 ธันวาคม 2541,13 พฤษภาคม 2542 ,และ 14 พฤษภาคม-2 มิถุนายน 2542
    20. พระครูสถิตย์โชติคุณ (ไสว) วัดปรีดาราม อ.สามพราน จ.นครปฐม 3 – 21 มิถุนายน 2542
    21. พระครูสุนทรจริยวัตร (ม่วง) วัดยางงาม อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี 22 มิถุนายน – 23 ตุลาคม 2542
    ( พรรษา 2542 )
    22. พระครูสังวรานุโยค (ช่อ) วัดโคกเกตุ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม 11 พฤศจิกายน – 28 ธันวาคม 2542,1 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม 2544และ1 มกราคม – 30 เมษายน 2547
    23. พระครูปุริมานุรักษ์(พูล) วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครปฐม 8 เมษายน 2543 (เสาร์5) 15 กรกฎาคม – 13 ตุลาคม 2543(ไตรมาส 2543 )
    24. พระอาจารย์ธรรมนูญ ฐิตวัฒฑโน วัดมณีชลขันธุ์ อ.เมือง จ.ลพบุรี 27 มกราคม – 2 มีนาคม 2544
    25. พระอาจารย์ใย สัญญาโม วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา 2 มีนาคม – 5 พฤษภาคม 2544
    26. หลวงปู่ชื้น พุทธสโร วัดญาณเสน อ.พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา 3 มีนาคม 2544,6 พฤษภาคม 2544และ24 มิถุนายน 2545
    27. พระครูวินัยวชิรกิจ (อุ้น) วัดตาลกง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี 1 กรกฎาคม – ตุลาคม 2544(ไตรมาส 2544)
    28. พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (สมโภช) วัดจุฬามณี อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม 14 กุมภาพันธ์ – 20 เมษายน 2545
    29. พระราชวิทยาคมเถร (คูณ) วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา (ไตรมาส 2545 ) 22 กรกฎาคม – 21 ตุลาคม 2545และ 23 ตุลาคม 2545
    30. พระครูวิชัยกิจอารักษ์ (อุดม) วัดพิชัยสงคราม อ.พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา 17 มีนาคม – 10 กรกฎาคม 2546
    31. พระอาจารย์เมือง พลวัฒทโณ วัดป่ามัชฌิมาวาส อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ (ไตรมาส 2546) 13 กรกฎาคม – 2 พฤศจิกายน 2546
    32. พระอาจารย์สมบูรณ์ กนตสีโล วัดป่าสมบูรณ์ธรรม อ.ชาตตระการ จ.พิษณุโลก 14 พฤษภาคม – 27 ตุลาคม 2547( ไตรมาส 2547 )
    เหรียญนี้ เข้าพิธีมานานถึง 7 ปี

    นำมาจาก กระทู้ของคุณChaiและ บทความในสวนขลังดอทคอม

    บทความในคมชัดลึก
     
  12. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,516
    ค่าพลัง:
    +30,849
    เหรียญพระแก้วมรกตหมดห่วง รุ่นแรก (pm)

    <a href="http://www.mx7.com/view2/yUAFCJclRCbuwEv5" target="_blank"><img border="0" src="http://www.mx7.com/i/bde/6yRaMQ.jpg" /></a>​

    เหรียญพระแก้วมรกตรุ่นแรก รุ่นหมดห่วง สร้างโดยคุณสุธันย์ สุนทรเสวี พ.ศ.2522-2523 เนื้อทองแดง สร้าง 3,999 เหรียญ

    โดยคุณสุธันย์ ได้รวบรวมชนวนโลหะและแผ่นยันต์ต่างๆที่ได้เก็บรวบรวมไว้จำนวนมากหลายร้อยแผ่น

    ที่ลงอักขระเลขยันต์โดยเกจิที่มีชื่อเสียงทั่วประเทศ นำชนวนโลหะทั้งหมดมาหลอมรีดเป็นแผ่นก่อนนำมาปั๊มเป็น

    เหรียญพระแก้วมรกต ไม่มีห่วง (เอาเคล็ดว่าหมดห่วง)

    1.ทองชนวนพระกริ่ง สำนักวัดสุทัศน์ กรุงเทพ

    2. ทองชนวนพระกริ่ง อรหัง วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่

    3. ทองชนวนพระกริ่ง ชินบัญชร วัดละหารไร่ ระยอง

    4. ทองชนวนพระกริ่ง ช่องลม วัดช่องลม สมุทรสาคร

    5. ทองชนวนพระกริ่ง ถ้ำแก้ว วัดถ้ำแก้ว เพชรบุรี

    6. ทองชนวนพระกริ่งสังวรวิมล วัดประดู่ฉิมพลี กทม.

    7. ทองชนวนพระชัยวัฒน์ ท่านเจ้ามา วัดจักรวรรดิราชาวาส กทม.

    8. ทองชนวนพระชัยวัฒน์ เจ้าคุณผล วัดหนัง กทม.

    9. ทองชนวนพระชัยวัฒน์ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม

    10.ทองชนวนพระพุทธชินราชจำลอง สำนักวัดสุทัศน์ กรุงเทพ

    11.ทองชนวนรูปเหมือนพระเจ้าตาก กรมอู่ทหารเรือ กทม.

    12.โลหะทองจังโก บุพระธาตุองค์สำคัญ

    13.โลหะทองระฆัง วัดช่องแค นครสวรรค์

    14.โลหะทองยอดเจดีย์ สมัยเชียงแสน

    15.ตะกรุดพระเถราจารย์ไม่ทราบสำนักจำนวนมาก

    16.แผ่นพระยันต์ คาถาศักดิ์สิทธิ์จากพระเถราจารย์ 65 องค์ ได้แก่ หลวงปู่โต๊ะ,หลวงปู่ธูป,หลวงพ่ออุตตมะ,

    หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิต,หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว,หลวงปู่เหมือน วัดกำแพง,หลวงพ่อเส็ง วัดบางนา,พระญาณโพธิ(เข็ม) วัดสุทัศน์,

    หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางฯ,หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม,หลวงปู่เริ่ม วัดจุกกะเฌอ,หลวงปู่หล้า วัดป่าตึง,หลวงปู่สิม,หลวงพ่อสงฆ์,หลวงพ่อผาง,

    หลวงปู่แหวน,หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ,หลวงปู่กินนรี,หลวงปู่นิล วัดครบุรี,หลวงปู่ตื้อ,หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ,หลวงพ่อแจ้ง วัดใหม่สุนทร,

    หลวงปู่จันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ,หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง,หลวงพ่อมุ่ย วัดบางบูชา,หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค,หลวงพ่อโอด วัดจันเสน,

    หลวงปู่หนูจันทร์ วัดพัทธเสมา,หลวงพ่อเส็ง วัดหงนา ปทุมธานี,หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช,หลวงพ่อทองอยู่ วัดเกยชัย นครสวรรค์,

    หลวงพ่อบุญทา วัดดอนตัน น่าน,หลวงพ่อบุญเทียม วัดลาดหลุมแก้ว,พ่อท่านนำ วัดดอนศาลา,พ่อท่านหมุน วัดเขาแดงตะวันตก,

    พ่อท่านเล็ก วัดประดู่เรียง,หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ,หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า,หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่,หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า,

    หลวงปู่ศรี มหาวีโร ร้อยเอ็ด,หลวงปู่ทองมา วัดสว่างท่าสี,หลวง ปู่บุญ วัดวังมะนาว,หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม,หลวงพ่อเกษม เขมโก ลำปาง,

    ครูบาชุ่ม วัดวังมุย,ครูบาพรหมา วัดพระบาทตากผ้า,หลวงปู่ศรีจันทร์ วัดสุทธาวาส, หลวงปู่หลุย วัดถ้ำผาปิ้ง,หลวงปู่คำดี วัดถ้ำผาปู่,

    หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี,หลวงพ่อแก้ว วัดสุทธิวาตาราม,หลวงพ่อผัน วัดราษฎร์เจริญ,หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองอนงค์,

    หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม,หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง,หลวงพ่อหง วัดหนองพลับ,หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง, หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล,

    หลวงปู่อ่อน วัดนิโครธาราม,หลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิหาร,พระราชอุทัยกวี(พุฒ) วัดมณีสถิตย์ อุทัยธานี,

    พระสุธรรมญาณเถร(วีระ) วัดจันทาราม อุทัยธานี,หลวงพ่อโทน วัดบูรพา อุบลธานี,

    และหลวงปู่ดู่ วัดสะแก ได้เมตตาลงแผ่นยันต์และตะกรุดพระมหาจักรพรรดิตราธิราช จำนวน 9 แผ่น

    ด้านหลังเหรียญเป็นยันต์องค์พระ ซึ่งเป็นของเก่าผูกยันต์โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์

    จากนั้นจึงนำเหรียญพระแก้วมรกตไปเข้าพิธีมหาพุทธาภิเษกและนำไปให้พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงปลุกเสกเดี่ยว ดังนี้
    เข้าพุทธาภิเษกนั้นมี 2 แห่ง ที่ วัดเฟื้อสุธรรม จ.เพชรบุรี วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2523

    และที่วัดพระบาทมิ่งเมือง จ.แพร่ วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2523 จากนั้นก็เริ่มการเสกเดี่ยวตลอดทั้งปี

    1. พระครูเนกขัมมาภินันท์ หรือหลวงพ่อบุญหา วัดดอนตัน อ.ท่าวังผา จ.น่าน เสกในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2523

    ท่านองค์นี้เป็นที่เชื่อถือของชาวทหารมาก ขนาดว่ารถจิ๊ปถูกทิ้งระเบิดใส่นายทหารกระเด็นกระดอนเหมือนจับขว้าง

    ไม่เป็นอะไรเลย ไม่ตาย ไม่บาดเจ็บ ผมเห็นรูปถ่ายของรถและคนแล้วไม่น่าเชื่อว่าจะรอดได้ คนในรถมีผ้ายันต์กับเหรียญท่านติดตัวคนละชุดครับ

    2. พระพุทธมนต์โชติคุณ (ยศ) วัดศรีบุญเรือง จ.น่าน เสก 22 กุมภาพันธ์ 2523

    3. พระเทพวงศาจารย์ หรือหลวงปู่อินทร์ วัดยาง จ.เพชรบุรี เสกวันที่ 14 มีนาคม 2523 หลวงปู่อินทร์เก่งไล่ผีถอนคุณไสยมาก

    และวิชาไม้สะแกกันภัยของท่านนี่ชั้นหนึ่งลงว่าบ้านใครได้ฝังไม้สะแกของท่านละก็ฟืนไฟไม่ได้ไหม้ ขโมยไม่ได้ขึ้นแน่นอน

    4. พระครูภาวนาวัชโรภาส (แผ่ว ปัณฑิโต) วัดโตนดหลวง จ.เพชรบุรี เสกวันที่ 15 มีนาคม 2523 ท่านเป็นศิษย์ร่วมสำนักในหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง

    5. พระครูฌานาภิรัต (ฉิน) วัดชะอำคีรี จ.เพชรบุรี เสกวันที่ 15 มีนาคม 2523

    6. หลวงพ่อไท สุนทโร วัดบางทะลุ จ.เพชรบุรี เสกวันที่ 15 มีนาคม 2523

    7. พระครูมงคลธรรมสุนทร หรือหลวงปู่เส็ง วัดบางนา จ.ปทุมธานี เสกวันที่ 18 ถึง 28 มีนาคม 2523 รวม 11 วัน

    องค์นี้เก่งตะกรุดโทน และของแปลกคือ พญาครุฑมหาอำนาจ เคยเอาพญาครุฑท่านไปผูกไม้จี้ใส่งู ปรากฏว่างูไม่ฉกเลย

    นอนเฉยเหมือนหมดแรง ท่านขลังใช่เล่น หมูทองแดงก็เป็นเครื่องรางหนึ่งที่หนุนชื่อท่านให้ลือไปไกล

    8. หลวงปู่แก้ว สุทโธ วัดดอยโมคคัลลาน์ จ.เชียงใหม่ อธิษฐานจิตวันที่ 2 ถึง 4 เมษายน 2523 รวม 3 วัน

    หลวงปู่แก้วได้รับคำชมจากหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ มากมาย โดยเฉพาะข้อที่ว่าไม่ต้องมาหาเรา ไปหาหลวงปู่แก้ว ดอยโมคคัลาน์

    เหมือนเราทุกอย่าง เหมือนดั่งหลวงปู่แหวนว่าไม่ใช่หน้าตาก็แล้วกัน

    9. หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา อธิษฐานจิตวันที่ 6 ถึง 11 เมษายน 2523 รวม 6 วัน

    หลวงปู่ดู่เป็นพระที่ผมไม่จำเป็นต้องเล่าอะไรอีก นอกจากจะบอกว่า ท่านคือสุดยอดโดยแท้ และถ้าหาพระเครื่องของท่านไม่ได้

    เหรียญพระแก้วหมดห่วงไม่แพ้รุ่นใด ๆ ของท่านแน่นอน

    10. หลวงปู่สี พิณทสุวัณโณ วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เสกวันที่ 12 เมษายน 2523 หลวงปู่เป็นลูกศิษย์ผู้พี่ของหลวงปู่ดู่

    ในอาจารย์เดียวกันคือ หลวงพ่อกลั่น ธัมมโชโต วัดพระญาติการาม และเป็นพระที่ขลังสุด ๆ ขนาดคนสักยันต์อะไรก็ตาม

    เดินผ่านหน้ากุฏิท่าน ของเหล่านั้นยังมาขึ้นที่ท่านน่าอัศจรรย์แท้ ใส่พระอะไรท่านก็รู้ได้โดยไม่ต้องเอาออกจากเสื้อ ท่านบอกว่าวิชาที่พระอาจารย์

    เหล่านั้นเสกจะมาปรากฏขึ้นที่จิตท่านเอง เสกให้เป็นไปทางไหนก็รู้ เสกด้วยพระคาถาอะไรก็รู้ และสวดให้ฟังได้ทันที

    ทั้งที่ท่านไม่เคยเรียนมาก่อน

    11. พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ เสกวันที่ 13 ถึง 16 เมษายน 2523 รวม 4 วัน ได้วิชาในสายวัดสุทัศน์ฯ

    มาประจุก็ครั้งนี้ เพราะท่านเป็นศิษย์ในสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทโว)

    12. พระมหาเมธังกร (รส) วัดหนองม่วงไข่ จ.แพร่ เสกถึงวันที่ 18 ถึง 20 เมษายน 2523 รวม 3 วัน

    13. ครูบาแก้ว อินทจักโก วัดเขื่อนคำลือ จ.แพร่ เสกวันที่ 22 ถึง 24 เมษายน 2523 รวม 3 วัน

    14. พระครูบริรักษ์ธรรมากร หรือหลวงพ่อบุญเทียม ภูริปัญโญ วัดลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

    เสกวันที่ 26 เมษายน 2523 ถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2523 รวม 10 วัน หลวงพ่อบุญเทียมท่านเป็นพระที่ขลังองค์หนึ่งเหมือนกัน

    โดยเฉพาะตะกรุดหนังเสือ เป็นที่ยอมรับ และแสวงหากันมากในหมู่ศิษย์ ท่านเคยนั่งทางในดูบ้านให้ศิษย์คนหนึ่ง

    ซึ่งมาเล่าให้ท่านฟังว่า มันช่างร้อนรุ่ม อยู่ไม่ได้ มีแต่เรื่องตลอดเวลา ท่านดูแล้วเสกข้าวตอกดอกไม้ให้ สั่งว่าเอาไปโปรยให้ทั่วบนบ้าน

    ทิ้งไว้สักชั่วโมง คอยกวาดออก เธอคนนั้นก็ทำตาม ปรากฏว่าพื้นดินใต้ถุนบ้าน ซึ่งยกสูงเกิดปริแยกออกจากกัน

    แล้วตอไม้ใหญ่อันหนึ่งก็ค่อย ๆผุดขึ้นมาน่าอัศจรรย์ ไปกราบเรียนท่าน ท่านจึงว่านี่แหละอย่าปลูกเรือนคร่อมตอ มันไม่ดีอย่างนี้

    15. พระครูสุวรรณศีลาจารย์ หรือหลวงพ่อทอง สุวัณโณ วัดก้อนแก้ว อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา เสกวันที่ 10 ถึง 14 พฤษภาคม 2523 รวม 5 วัน

    หลวงพ่อทองนี่เป็นสุดยอดพระภาคตะวันออกองค์หนึ่ง วัตถุมงคลท่านช่วยชีวิตคนแปดริ้วมากต่อมาก เรื่องอยู่มีดอยู่ปืนนี่เป็นเอกลักษณ์

    ในของขลังแห่งท่านไปแล้ว ตอนคุณสุธันย์ไปถวาย ท่านถามว่า เอาคืนเมื่อไร คุณสุธันย์เรียนท่านว่า นิมนต์เสกตามอัธยาศัยเลยครับ

    ท่านก็ให้ยกเข้าไปวางหน้าโต๊ะพระ คุณสุธันย์นำลังเล็กบรรจุพระวางลงบนพื้น หลวงพ่อท่านรีบบอกว่า ไม่ได้ ๆให้วางบนเก้าอี้สูง ๆ

    มิฉะนั้นตอนท่านนั่งสมาธิ ท่านจะนั่งบนอาสนะ และจะเป็นเหตุให้ท่านนั่งสูงกว่าเหรียญ ท่านใส่ใจดีจริง ๆ

    16. พระเทพวราลังการ หรือหลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ วัดเลยหลง อ.เมือง จ.เลย อธิษฐานจิตวันที่ 17 พฤษภาคม 2523

    หลวงปู่เป็นศิษย์รุ่นใหญ่องค์หนึ่งในท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นหนึ่งในสุดยอดมหาเถระ ครั้งหนึ่งมีคนคิดว่า ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ

    เป็นพระภิกษุรูปเดียวในโลกที่สามารถนั่งฟังเทศน์ และอธิษฐานจิตวัตถุมงคลได้ตลอดรุ่ง หรืออย่างน้อยก็ไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง

    ในแต่ละคราวได้อย่างมหัศจรรย์สุดแสน ทั้งนี้โดยไม่ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว หรือเปลี่ยนอิริยาบถเลยแม้แต่น้อย

    แล้ววันหนึ่งในปี พ.ศ. 2518 เมื่อวัดศรีสุทธาวาส หรือวัดเลยหลง ของท่านเองกรรมการวัดได้ขอร้องท่านทำแหรียญรุ่นแรก

    อย่างเป็นทางการ และจัดพุทธาภิเษกแบบยิ่งใหญ่ หลวงปู่ศรีจันทร์เป็นองค์ประธานแล้วท่านก็กระทำมหาอภินิหาร นั่นคือ นั่งบนธรรมาสน์

    จับสายสิญจน์สงบจิตสู่องค์ฌาน ตั้งแต่ 6 โมงเย็นวันนี้ จนกระทั่ง 6 โมงเช้ารุ่งขึ้น รวมเวลา 12 ชั่วโมงเต็ม โดยไม่ขยับสรีระใด ๆ เลย

    สมาธิจิตอันแข็งแกร่งเยี่ยงนี้แหละที่ท่านได้ถ่ายทอดไว้แล้วในเหรียญหมดห่วงรุ่นนี้

    17. หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ อ.วังสะพุง จ.เลย อธิษฐานจิตวันที่ 17 พฤษภาคม 2523

    คงไม่ต้องบรรยายถึงพระอรหันต์ผู้เป็นที่เคารพยิ่งในหมู่เทวดา ขนาดหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย

    ยังปรารภเบา ๆว่า เทวดารักท่านชอบมาก อันที่จริงจะมากกว่าท่านพระอาจารย์มั่นด้วยซ้ำไป
    18. พระครูญาณทัสสี หรือหลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่นิมิตร อ.เมือง จ.เลย อธิษฐานจิตวันที่ 17 พฤษภาคม 2523

    หลวงปู่คำดีเป็นศิษย์ในท่านพระอาจารย์มั่นที่มีบารมีมาก ทราบมาว่าคุณลุงคนหนึ่งบ้านอยู่ใกล้วัด เป็นศิษย์ที่นับถือหลวงปู่คำดีสุดหัวใจ

    ขนาดที่ว่ากระโถนบ้วนน้ำหมาก น้ำลาย และล้างมือของหลวงปู่ คุณลุงคนนี้ก่อนลากลับบ้านจะยกขึ้นดื่มกินจนหมดอย่างไม่รังเกียจ

    ใครๆก็พากันขนลุกกับการกระทำของแก วันหนึ่งแกถูกดักทำร้าย ทั้งมีดทั้งปืนแกกลับไม่เป็นอะไรเลยแม้แต่น้อย ทั้งที่ตัวแกมิได้แขวนพระใดๆทั้งสิ้น

    นี่เป็นเรื่องมหัศจรรย์จริง ๆ อำนาจอย่างนี้ก็มีอยู่ในเหรียญหมดห่วงแล้วไม่ต้องสงสัย

    19. หลวงปู่กินรี จันทิโย วัดกันตศิลาวาส จ.นครพนม อธิษฐานจิตวันที่ 19 พฤษภาคม 2523 หลวงปู่กินรีเป็นศิษย์ในท่านพระอาจารย์มั่น

    อีกองค์หนึ่ง ที่เป็นพระมหานิกายนับต่อได้จากหลวงปู่ทองรัตน์ กันตสีโล และเป็นอาจารย์องค์ที่สามของหลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง

    หลวงปู่กินรีเป็นพระที่ชอบสันโดษ มักอยู่ลำพังองค์เดียวเงียบ ๆ แต่คนตาดีก็ยังอุตส่าห์ไปหาท่าน เห็นเงียบอย่างนี้

    จิตตานุภาพท่านไม่เงียบ เห็นกันจะๆ เมื่อไฟไหม้บ้านศิษย์คนหนึ่งของท่านจนหมดสิ้น ยังเหลือแต่หน้าต่างไม้บานหนึ่งไม่ไหม้ไฟ

    เพราะแปะผ้ายันต์ที่ท่านเขียนไว้ให้ส่วนว่าแล้วทำไมไฟยังไหม้บ้าน บอกได้อย่างเดียว วิบากกรรมนั่นแล

    20. พระครูสังวรพุฒิคุณ (ทองสุข) วัดอัมพวัน จ.นครพนม อธิษฐานจิตวันที่ 19 พฤษภาคม 2523

    21. พระครูพนมสมณกิจ หรือหลวงปู่บัว เตมิโย วัดหลักศิลามงคล จ.นครพนม อธิษฐานจิตวันที่ 19 พฤษภาคม 2523

    ท่านองค์นี้เก่งมาก ทั้งด้านวิปัสสนา และสมถที่เป็นบ่อเกิดของอภินิหารทั้งปวง วัตถุมงคลท่านก็หายากพอสมควร

    22. พระอาจารย์สนธิ์ เขมิโย วัดอรัญญานาโพธิ์ จ.นครพนม อธิษฐานจิตวันที่ 20 พฤษภาคม 2523

    23. พระครูสันติวรญาณ หรือหลวงป่สิม พุทธาจาโร วัดสันติสังฆาราม จ.สกลนคร อธิษฐานจิตวันที่ 21 พฤษภาคม 2523

    กิตติคุณในหลวงปู่สิม ผมคงไม่ต้องกล่าวอะไรอีก

    24. หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น อธิษฐานจิตวันที่ 22 พฤษภาคม 2523

    หลวงปู่ผางเป็นศิษย์ในท่านพระอาจารย์มั่นองค์หนึ่งที่มีอภินิหารมากมายเหลือจะกล่าว ขนาดจระเข้ในวัด ท่านยังทำให้เชื่องได้

    เดินเหยียบหัวมันทีละตัว ข้ามไปอีกฝั่งหนองได้สบาย ๆ เคยพบภูตผีเทวดาสิ่งลึกลับในป่ามากต่อมาก ท่านมีบารมีมิใช่น้อย

    วัตถุมงคลที่เป็นของท่านมีประสบการณ์อย่างโชกโชนทีเดียว

    25. หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ วัดสระแก้ว อ.เมือง จ.นครราชสีมา อธิษฐานจิตวันที่ 14 มิถุนายน 2523 ถึงวันที่ 4 กรกฎาคม 2523

    รวม 21 วัน สำหรับหลวงพ่อพุธ พระมหาเถระที่เคยตัดต้นมะพร้าวเป็นสามท่อนด้วยอำนาจจิต คงไม่เป็นการยาก

    หากจะทำเหรียญตรงหน้าให้เปี่ยมพลานุภาพ และท่านยังสรรเสริญหลวงพ่อคูณด้วยว่า ถ้าเรื่องเหนียวล่ะก็ หลวงตาคูณนี่แน่นอนนัก

    27. พระญาณสิทธาจารย์ (สิงห์ สุนทโร) หรือหลวงปู่เมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

    อธิษฐานจิตวันที่ 5 ถึง 18 กรกฎาคม 2523 รวม 14 วัน ท่านเป็นศิษย์ในท่านพระอาจารย์มั่นที่ได้สืบทอด พระคาถาเมตตาหลวง

    ต่อจากหลวงปู่ขาว อนาลโย เพียงองค์เดียว เพราะเหตุนี้สานุศิษย์จึงได้กล่าวนามท่านโดยเคารพว่า หลวงปู่เมตตาหลวง

    ด้วยท่านจะให้ศิษย์ทุกคนสวดพระคาถาเมตตาหลวงเป็นประจำ และพิมพ์แจกเป็นธรรมทานเสมอ ประสบการณ์ในของ ๆ ท่านก็มีไม่น้อยเลย

    28. พระราชวุฒาจารย์ หรือหลวงปู่ดูลย์ อนุโล วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ อธิษฐานจิตตลอดไตรมาสระหว่างเข้าพรรษาคือ

    ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2523 ถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2523 รวมเวลา 3 เดือน หลวงปู่ดูลย์เป็นพระมหาเถระรุ่นใหญ่ของท่านพระอาจารย์มั่น

    และแม้ท่านจะเป็นพระที่ชื่อว่าไม่มาเกิดอีกก็ตาม แต่เมื่อดำรงขันธ์อยู่นั้นท่านก็เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในวิชามหัศจรรย์อยู่ไม่น้อย

    และท่านเป็นพระมหาเถระรูปเดียว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงใช้น้ำพระพุทธมนต์ที่หลวงปู่ดูลย์อธิษฐานพรทูลเกล้าฯ

    ถวายล้างพระพักตร์ทุกวัน ที่สุดก่อนเข้าสู่นิพพาน หลวงปู่ได้ทำแผ่นเงิน 9 แผ่น จารึกอักขระขอมด้วยพระพุทธมนต์ทูลเกล้าฯ

    ถวายเป็นวาระสุดท้าย ถวายพระพรว่า เมื่อนำลงแช่น้ำสะอาดทิ้งไว้ตลอดคืน น้ำนั้นจะเป็นน้ำพระพุทธมนต์มีอานุภาพดุจเดียวกับที่หลวงปู่

    อธิษฐานถวายทุกประการ แม้อานุภาพเช่นนั้น จะไม่ปรากฏในเหรียญนี้ด้วยเป็นของเฉพาะ แต่เชื่อเถิดว่าตลอดไตรมาสสามเดือน

    กำลังฤทธิ์แห่งพระอรหันตเจ้าเช่นท่านย่อมไม่ทำให้เหรียญพระแก้วมรกตนี้เป็นอธิษฐานจิตธรรมดาแน่นอน

    29. หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก อ.เมือง จ.สุรินทร์ อธิษฐานจิตวันที่ 26 ตุลาคม 2523 ถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2523 รวม 22 วัน

    ด้วยเวลาเกือบเดือนสำหรับพระมหาเถระที่อัฐิกลายเป็นพระธาตุอย่างหลวงปู่สาม คงไม่ต้องถามว่าเหรียญพระแก้วหมดห่วงนี้ จะดีวิเศษแค่ไหน

    ลำพังของที่ทำไม่กี่นาทีจากหลวงปู่ยังปรากฏอภิหารให้คนวิ่งหากันจ้าละหวั่น ก็ไม่ต้องสงสัยกับ 22 วันแห่งเหรียญที่วางอยู่ข้างที่นอน

    30. พระโพธิญาณเถระ หรือหลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี อธิษฐานจิตวันที่ 18 พฤศจิกายน 2523

    ถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2523 รวม 18 วัน เชื่อว่าหลายท่านอาจรู้จักหลวงพ่อดี ผมจึงขอผ่าน แนะนำสักนิดว่าถ้ากลัวกับเหรียญรุ่นแรกที่ปลอมชนิด

    เซียนตาย แขวนเหรียญนี้ไปเถิด นอกจากหลวงพ่อจะอธิษฐานพรให้ตลอด 18 ราตรีแล้ว เรายังได้พระสุปฏิปันโนรูปอื่น ๆ

    มาเสริมพลังให้ยิ่งๆขึ้นไป มองไม่เห็นเลยว่า ไม่คู่ควรจะแขวนกับชาวเราชาวท่านที่ตรงไหน

    นี่ยังไม่นับถึงสุดยอดพระอย่าง หลวงปู่แหวน สุจิณโณ แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ ที่เมตตาอธิษฐานจิตให้ถึง 10 ครั้ง

    ด้วยกันยังมีพระสุพรหมญาณเถร หรือครูบาพรหมา พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน

    ที่ตลอดการอธิษฐานจิต 3 วาระ จำทำให้คุณสุธันย์ตื่นใจไปกับนัยน์ตาที่เปลี่ยนเป็นสีฟ้าไปได้หมด ทั้งลูกตาดำ

    พอเป่าพ้วงลงที่ลังใส่พระ ดวงตาท่านก็คืนสภาพเป็นปรกติ และหลวงพ่อเกษม เขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง

    พระอรหันต์แห่งเขลางค์นคร ยังเมตตามนต์ให้เป็นกรณีพิเศษ ถึง 10 ครั้ง ด้วยกันอะไรจะดีอย่างนี้อีก...

    <a href="http://www.mx7.com/view2/y5OHXYbPSBALZ1Vf" target="_blank"><img border="0" src="http://www.mx7.com/i/ga5/918k4d.jpg" /></a>
     
  13. sakmalai

    sakmalai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    504
    ค่าพลัง:
    +1,344
    ได้รับแหวนเรียบร้อยแล้วครับ
     
  14. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,516
    ค่าพลัง:
    +30,849
    ขอบคุณครับที่เข้ามาแจ้งให้ทราบ
     
  15. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,516
    ค่าพลัง:
    +30,849
    ปิดแล้วครับ
     
  16. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,516
    ค่าพลัง:
    +30,849
    ปิดแล้วครับ
     
  17. สุโขสุขี

    สุโขสุขี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    912
    ค่าพลัง:
    +1,469
    ขอราคา พระผงรูปเหมือน รุ่น2 หลวงปู่พิศดู  กับ พระกริ่งพระชัยฯ ด้วยครับ

    ขอบคุณครับ
     
  18. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,516
    ค่าพลัง:
    +30,849
    แจ้งให้ทราบทางpmแล้วครับ
     
  19. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    14,856
    ค่าพลัง:
    +14,116
    สวัสดียามบ่ายครับป๋า
     
  20. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,516
    ค่าพลัง:
    +30,849
    สวัสดีครับเสี่ยเฟริส์ท
     

แชร์หน้านี้

Loading...