สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    [​IMG]




    ....................................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 สิงหาคม 2014
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ถาม เมื่อกระผมทำภาวนา ความตั้งใจของกระผมเกือบทั้งหมดจะจับอยู่ที่ดวงกลมใส และกายในกายต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นมา แล้วเมื่อไรกระผมจึงจะมีโอกาสพิจารณา สภาวธรรม และเมื่อไรกระผมจึงจะสามารถพัฒนาปัญญา ที่สำคัญทั้งหมดได้ ?

    ตอบ....

    เวลาใดที่ใจเป็นอิสระจากกิเลสนิวรณ์ ท่านก็สามารถจะดำเนินการพิจารณาสภาวธรรมได้เสมอ


    ตัวอย่างเช่น ท่านเห็นดวงกลมใส ท่านก็สามารถขยายให้ใหญ่ขึ้นได้ตามปรารถนา ซึ่งเมื่อนั้นหมายความว่า ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ของท่านจะ ขยายใหญ่ขึ้นด้วย ให้ทำเช่นนั้นไปจนกระทั่งใหญ่ประมาณขนาดเท่าร่างกายทั้งหมดของท่าน
    ในสภาวะนั้นทิพจักษุก็จะเกิดและเจริญขึ้น ให้ท่านสามารถพิจารณาเห็นทุกส่วนต่างๆ ของร่างกายของท่านพร้อมๆ กันได้ หรืออาจจะพูดได้ว่า ท่านไม่ต้องเลื่อนการเห็นจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง ต่อๆ ไป เพื่อให้เห็นทั่วร่างกาย แต่ท่านจะเห็นได้โดยรอบเลยทีเดียว

    บัดนี้ท่านก็จะสามารถพิจารณาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายของท่าน ให้เห็นตามธรรมชาติที่เป็นจริงได้ว่า ไม่มีแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดที่น่ารักใคร่เลย แท้จริงแล้วอวัยวะทุกส่วน ล้วนแต่เป็นของไม่สะอาด นี้เป็นวิธีพิจารณากายคตาสติที่มีประสิทธิภาพมาก ที่จะช่วยให้จิตใจของท่านสงบจากกามตัณหา ดังที่อาตมาจะขอยกอีกตัวอย่างหนึ่ง

    เมื่อครั้งที่อาตมายังเป็นฆราวาสอยู่ วันหนึ่งอาตมานั่งรถสองแถวกลับบ้าน อาตมาโชคดีที่ได้ที่นั่ง รถแน่นมากจนต้องยืนเบียดกัน มีสาวรุ่นคนหนึ่งยืนข้างหน้าของอาตมา หันหน้าเข้าหาอาตมาเสียด้วย หน้าอกของเธอสัมผัสที่หน้าอาตมาหลายครั้งเมื่อรถโคลงไปมา อาตมาทำภาวนาตลอดเวลา ตั้งใจดูในสมาธิว่าเธอเป็นอย่างไร ระหว่างการเดินทางนั้น ในสมาธิ อาตมาเห็นทุกส่วนของร่างกายเธอที่ต้องการจะดู ขณะนั้นอาตมาตระหนักว่า แท้จริงแล้ว ทุกส่วนของร่างกายนั้นสกปรกมาก พอดีเห็นเธอกำลังมีประจำเดือนอยู่ และขณะนั้นอาตมาก็รับรู้สัมผัสได้ด้วยใจ ถึงกลิ่นที่ค่อนข้างน่ารังเกียจนั้นด้วย

    นั้นเป็นการพิจารณากายคตาสติ และอาตมาก็ได้ใช้วิธีการนั้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ทั้งในการพิจารณาสังขารร่างกายของตนเอง และของผู้อื่นช่วยให้อาตมาสามารถประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับภรรยาของอาตมาได้ดีเป็นเวลา ๑๐ ปีก่อนที่จะบวช
    เมื่อท่านมีความรู้สึกทางเพศควรกำหนดใจทันที ใช้ปัญญาของท่านเริ่มพิจารณากายคตาสติทันที จะช่วยให้สามารถกำจัดนิวรณ์ได้ แล้วจงชำระจิตใจของท่านให้บริสุทธิ์ โดยวิธีดับหยาบไปหาละเอียดให้มากขึ้นๆ เมื่อท่านถึงจุดที่ใจบริสุทธิ์ผ่องใสที่สุด สงบที่สุด กามตัณหาของท่านจะสงบลง โดยการพิจารณาเห็นส่วนต่างๆ ของร่างกายตามที่เป็นจริง ว่าน่ารังเกียจ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติธรรมจึงควรพิจารณากายคตาสตินี้ตลอดเวลา.

    *** ผู้ตอบคำถามคือ พระเทพญาณมงคล เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 สิงหาคม 2014
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    หัวข้อสำรวจตนเอง
    สำหรับผู้ถึงธรรมกายแล้ว

    เป็นเพียง หัวข้อ เบื้องต้น และ เบื้องกลาง คือ คือมหาสติปัฏฐาน 4 ตามแนววิชชาธรรมกายเท่านั้น

    ยังมีข้อมูลสำรวจอีกมาก จะแจกแก่ผู้ไปต่อวิชชากับ พระราชพรหมเถระ ( วีระ คณุตตโม )
    เป็น อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ฯ หรือ ต่อวิชชาฯกับท่านเจ้าอาวาส วัดหลวงพ่อสดฯ ราชบุรี
    หรือ โครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย วัดสระเกศ(ภูเขาทอง) โดยตรง


    เบื้องต้น

    1. ปั่จจุบันนี้ ท่านเห็นธรรมกายใสและชัดเจนเพียงใด?
    ( ) ใสชัดดีมาก ( ) ใสชัดพอประมาณ
    ( ) ใสชัดบ้างไม่ชัดบ้าง ( ) ไม่ชัดเลย

    2. เคยได้รับการต่อ 18 กาย เมื่อใด

    ( ) วันที่........................ ( ) ไม่เคย

    3. เคยรับการฝึกพิสดารกาย ซ้อนสับทับทวี แล้วหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้วทำตามทันได้หมด ( ) เคยแล้ว แต่ทำตามไม่คล่อง

    ( ) ยังไม่เคย หรือเคยแล้วแต่ทำตามไม่ได้

    4. เคยฝึก พิสดารกายสุดหยาบสุดละเอียด เป็น เถา ชุด ชั้น
    ตอน ภาค พืด แล้วหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้ว ทำตามได้หมด ( ) เคยแล้ว ทำตามได้บ้าง
    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแล้วแต่ทำตามไม่ได้

    5. เคยฝึกพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา

    เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม เป็นณ ภายในและภายนอกโดยส่วนรวม โดยน้อมเข้าสู่ " อตีตังสญาณ" ดูขันธ์ของตนเองและผู้อื่นในอดีต และ น้อมเข้าสู่ อนาคตังสญาณ ดูขันธ์ของตนเองและผู้อื่นไปจนถึงวันตาย เพื่อให้เห็น " อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา "
    และเป็น มรณัสสติ เครื่องเตือนใจหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้วเห็นตามทันหมด ( ) เคยแล้วเห็นตามทันบ้าง

    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ยังตามไม่ทัน


    7. เคยฝึกพิจารณาเห็นธรรมในธรรมต่อไปนี้หรือไม่ ( กาตรงที่เคย)


    ( ) ขันธ์ 5 ( ) อายตนะ 12 ( ) ธาตุ 18 ( ) อินทรีย์ 22

    ( ) อริยสัจจ์ 4 ( ) ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12


    8. เคยฝึก " เจริญฌาณสมาบัติพิจารณาอริยสัจจ์ 4 " แล้วหรือยัง?
    ( ) เคยแล้ว ทำตามทันหมด ( ) เคยแล้วทำตามทันบ้างไม่ทันบ้าง

    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ทำไม่ได้


    9. ท่านทราบพระประสงค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ให้เจริญภาวนา อบรมมหาสติปัฏฐาน 4 แล้วหรือยัง ?

    ( ) ทราบ คือ.......................................................

    ( ) พอทราบ คือ.....................................................

    ( ) ไม่ทราบ





    ************จบการสำรวจเบื้องต้น*******
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 สิงหาคม 2014
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ม6.PNG
      ม6.PNG
      ขนาดไฟล์:
      549.1 KB
      เปิดดู:
      1,414
    • ม5.PNG
      ม5.PNG
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      1,359
    • ม4.PNG
      ม4.PNG
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      1,393
    • ม3.PNG
      ม3.PNG
      ขนาดไฟล์:
      640.5 KB
      เปิดดู:
      1,303
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    [​IMG]
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    การเจริญพรหมวิหาร4 ในฌาณ-( ตามความรู้ดั้งเดิม แบบเต็ม)

    แม้ปัจจุบัน เมื่อผู้ปฏิบัติสามารถเจริญวิชชาธรรมกายจนคล่อง จะสามารถ
    เจริญพรหมวิหาร4 ได้เร็วแค่อึดใจ

    แต่ขอลงบันทึก การเจริญพรหมวิหาร4ตามแนววิชชาธรรมกาย ดั้งเดิม
    ที่ครูบาอาจารย์ท่านได้ทำเป็นแบบอย่างเอาไว้








    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 13.PNG
      13.PNG
      ขนาดไฟล์:
      604.7 KB
      เปิดดู:
      1,308
    • 12.PNG
      12.PNG
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      1,478
    • 11.PNG
      11.PNG
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      1,510
    • 10.PNG
      10.PNG
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      1,431
    • 9.PNG
      9.PNG
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      1,527
    • 8.PNG
      8.PNG
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      1,558
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    [​IMG]



    เป็นธรรมกายแล้ว อย่าเป็นธรรมโกย, ธรรมเก, ธรรมโกง




    (เมื่อหลวงพ่อชั้ว ได้แนะนำวิธีการเจริญภาวนา เข้าดูนิพพานด้วยธรรมกายแล้ว
    ก็ได้ให้โอวาทต่อไปอีกว่า)

    ...เมื่อพบเห็นพระพุทธเจ้าหมดแล้ว จะเข้าไปถวายนมัสการท่านได้
    และจะทูลถามท่านได้ ติดขัดเรื่องอะไร ทูลถามท่านจะบอกหมด

    แต่ว่า ถ้าจะทูลถามพระพุทธเจ้า ต้องนิ่งให้สนิทนะ
    ถ้านิ่งไม่สนิทหละ ไม่ได้ยินเสียงท่าน
    จะเห็นแต่พระโอษฐ์ท่านงาบ ๆ อยู่เท่านั้น เพราะเรานิ่งไม่พอ
    ถ้าเรานิ่งพอหละ พระสุรเสียงดังก้องอย่างฟ้าเชียว ไพเราะ

    การที่จะดูอย่างนี้ละ ต้องดูเฉพาะตัวนะื และอย่าไปดูให้ใคร
    เมื่อได้ธรรมกายแล้ว จะแก้โรคภัยไข้เจ็บได้ทุกอย่าง
    แต่ถ้าเราไม่แก้ได้ละก็ดี หรือเราไม่ดูให้ใครได้ละก็ดี เราไม่ให้เขารู้ว่าเรารู้ได้ละก็ดี

    ถ้าว่าให้เขารู้ละก็ หนักเข้าก็มีคนมาหา
    เมื่อมีคนมาหาเข้าละก็ ทีหลังเราแก้ไข เขาก็จะให้ลาภสักการะ
    นี่มันจะกลายเป็นหมอดูไป เมื่อกลายเป็นหมอดูละหนักเข้า
    เขาก็ให้ลาภสักการะ ได้เงินได้ทอง เกิดโลภขึ้น
    เมื่อเกิดโลภขึ้นแล้วก็กลายเป็น ธรรมโกย หละ

    ทีหลังเวลาเขาจะมาหา ก็จะคิดเอาเงินเอาทองเขา เมื่อเกิดโลภขึ้นเช่นนั้น
    ธรรมกายนี่เป็นของบริสุทธิ์ หนักเข้าก็มืดไปเสีย ไม่งั้นก็ดับสูญหายไปเสีย

    บางที เมื่อทำสิ่งใด เมื่อสติมันเกิดเป็น ธรรมเก ขึ้น
    เมื่อเป็นธรรมเกขึ้นแล้ว ทีนี้มันก็จะต้องเกิดเป็น ธรรมโกง
    หนักเข้าก็จะต้องหลอกลวงเขาเลี้ยงชีวิต เมื่อดับมืดเสียแล้ว
    นี่เป็นแต่ครั้งพุทธกาลมาแล้วที่เป็นธรรมกาย ธรรมเก ธรรมโกง

    ธรรมโกงนี่น่ะ พระเทวทัตน่ะ นั่งธรรมกายดีกว่าเดี๋ยวนี้มากมาย
    ถึงกับเหาะไปในอากาศได้ แต่ทีนี้ไปติดลาภเข้า
    พอพระเจ้าอชาตศัตรูบำรุงบำเรอด้วยภัตตาหารบริบูรณ์ ก็เกิดเป็นธรรมโกงขึ้น

    ธรรมกายเป็นของบริสุทธิ์ นี่คิดจะฆ่าพระพุทธเจ้า จะเป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง
    ธรรมกายก็ดับไป เมื่อดับแล้วก็เกิดเป็นธรรมเกขึ้น

    ทีนี้พระเจ้าอชาตศัตรูก็ำไม่เล่นด้วย
    เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูไม่เล่นด้วย ก็เสื่อมจากลาภสักการะ เกิดเป็นธรรมโกง
    ไปขอวัตถุ ๕ ประการต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ให้
    ก็เกิดทำสังฆเภทขึ้น ก็ไปอยู่ในอเวจีนรกกันเท่านั้น




    (จากหนังสือ ทางมรรคผลนิพพาน: ธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกาย
    จัดพิมพ์โดย โครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พ.ศ. ๒๕๒๕)



    หลวงปู่ชั้ว เป็นญาติของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ที่ได้เจริญวิชชาชั้นสูงใกล้ชิดหลวงพ่อ
    เรียกว่า ท่านก็เป็นพระคู่บารมีหลวงพ่ออีกองค์หนึ่ง ท่านเป็นพระที่เคร่งพระธรรมวินัยมาก
    พบว่า จะมีคู่มือพระธรรมวินัยใกล้ตัวเสมอ และปลงอาบัติทุกวัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _1BC33~1.JPG
      _1BC33~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      143.9 KB
      เปิดดู:
      1,245
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ถาม ..... กระผมเคยปฏิบัติตั้งสติกำหนดลมหายใจพุทโธภาวนา เวลานอน เวลาเอนกายลง นอนกายในกายคือกายทิพย์ ตามที่กระผมเข้าใจเอง มักจะแยกออกมา อยากทราบว่าเป็นเพราะอะไรครับ ? หรือกระผมทำผิดครับ ?


    ตอบ.....เรื่องกายทิพย์แยกหรือไม่แยก มันมีอยู่ว่าตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ สำหรับผู้ที่จะนอนหลับ กำลังเคลิ้มหลับ จิตดวงเดิมตกศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ จิตดวงใหม่ลอยเด่นขึ้นมายังศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ถึงจะพุทโธๆ ก็ช่วยให้จิตสงบเร็วๆ
    มันไปสงบที่ไหน ไปสงบที่กลางพระนาภี พร้อมๆ กับเราเอนอยากจะหลับนั่นแหละ อาการของคนจะหลับกับอาการของคนมีสมาธิคล้ายกันมาก ต่างกันอย่างเดียวอาการของคนจะหลับนั้น สติสัมปชัญญะมันลดลงๆๆๆ หายไปเลย แต่คนมีสมาธิสติสัมปชัญญะ มันอยู่คู่กับใจที่ใสปลั่งอยู่เท่านั้นเอง
    ทีนี้ ในอาการ ๒ อย่างไปร่วมกันอยู่นั่นแหละ ถ้ากำลังจะเผลอสติ ดวงธรรมดวงเดิมจะตกศูนย์ไป แล้วดวงใหม่ลอยเด่นขึ้นมาตรงศูนย์กลางกาย อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั่นแหละ กายทิพย์ปรากฏขึ้นมาด้วย ถ้าเคลิ้มหลับไปก็ฝันล่ะ ไปเห็นโน่นเห็นนี่ ก็มารายงานกายเนื้อ หลับแล้วก็ฝันไป แต่ว่าเวลาเราปฏิบัติภาวนาเราตั้งใจจริงไม่เผลอสติ ถ้าว่าปฏิบัติถูกกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็เห็นกาย ณ ภายในที่สุดละเอียด สุดละเอียด ธรรมในธรรมไปแล้ว ก็เห็นกายในกาย ก็เห็นกันอย่างมีระเบียบ กายในกายก็ตั้งซ้อนกันอยู่ตรงกลางของกลางเข้าไปจนสุดละเอียด ตั้งอยู่ เห็นอยู่ ไม่แยกออกไปไหน ไอ้ที่จะแยกออกไปนั่น ก็เพราะจิตรวมหยุดเป็นจุดเดียวกันไม่สนิท ไม่อยู่กลางของกลาง เพราะสติเผลอ หรือไม่รู้วิธีรวมใจให้หยุดในหยุดกลางของหยุด เพราะไม่ได้รับการอบรมใจของตนให้เป็นสมาธิไปตามขั้นตอนที่เหมาะสม
    อันนี้มีพระคุณเจ้าระดับวิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่ง เป็นเจ้าสำนัก ได้ยินว่าท่านนั่งเจริญภาวนาท่านนั่งไปเอง พุทโธๆ ก็เห็นกายมนุษย์ละเอียดปรากฏขึ้นภายนอกกายหยาบ ท่านเห็นกายมนุษย์ละเอียดนั่งอยู่ภายนอกกายหยาบ ท่านก็เลยเอากายละเอียดพิจารณากายหยาบ เอากายหยาบพิจารณากายละเอียดว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่เพียงเท่านั้นแหละ เลยไม่ได้ก้าวหน้าให้ถึงธรรมกาย ท่านก็พิจารณาไตรลักษณ์อยู่แค่นี้ครับ
    กระผมพยายามส่งเอกสารนิตยสารธรรมกายทั้งเทปไปถวาย ไม่ทราบว่าท่านได้ดูหรือเปล่า ถ้าว่าท่านได้ดู ท่านเดินวิธีปฏิบัติตามนิตยสารนั้น แป๊บเดียวท่านก็จะสามารถปฏิบัติถึงธรรมกายและถึงพระนิพพานอันเป็นธรรมชั้นสูงได้เร็ว เพราะท่านมีพื้นที่ดีอยู่แล้ว กายมนุษย์ละเอียดท่านเห็นอยู่แล้วเป็นประจำ นั่ง พิจารณาว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่เพียงเท่านั้นเป็นประจำ ไม่ได้ปฏิบัติเข้ากลางของกลาง และดับหยาบไปหาละเอียดให้ไปถึงสุดละเอียด หลายท่านก็สอนกันว่านี่เป็นนิมิตหลอกนิมิตลวง ให้ปฏิเสธเสีย เพราะว่าเขาไม่รู้วิธีเข้ากลางของกลาง และดับหยาบไปหาละเอียดไปจนสุดละเอียด ถึงธรรมกายและไปถึงพระนิพพาน ก็เลยนึกว่านี่เป็นนิมิตหลอก ตัดทิ้งซะ ไม่เอาซะเลย เมื่อไม่เอา ก็ไม่มีฐานที่ตั้งของจิตที่มั่นคง จิตไม่มีฐานที่ตั้งที่จะเป็นสมาธิได้แนบแน่นมั่นคงเพื่อปฏิบัติเข้ากลางของกลาง ดับหยาบไปหาละเอียดไปสุดละเอียดถึงธรรมกาย ไม่มีฐานอันมั่นคง เมื่อไม่มีฐานมั่นคงก็ไปไม่ถึงธรรมกาย ไม่ถึงพระนิพพาน แต่ว่าคุณธรรมของท่านบรรลุได้ ละกิเลสท่านก็ทำได้ แต่ว่าที่จะถึงธรรมกายไปถึงพระนิพพานท่านยังทำไม่ได้ เพราะท่านเห็นธรรมกายเมื่อไหร่ ก็ปฏิเสธว่าเป็นนิมิต ก็เท่ากับเลื่อยหรือตัดขาเก้าอี้ที่ตนนั่ง
    อีกท่านหนึ่งนั่นเป็นระดับลูกศิษย์ในสำนักหนึ่ง นั่งภาวนาทีไรเห็นกายมนุษย์ กายทิพย์ แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป เพราะอาจารย์ท่านสอนไว้ว่านั่นเป็นนิมิต เป็นนิมิตลวง นั่งไปอีกก็เห็นอีก ไม่เอาปฏิเสธเสีย ธรรมจึงไม่ก้าวหน้าไปเท่าที่ควร ไปติดอยู่แค่นั้น
    เพราะฉะนั้น เรื่องจริงๆ ก็มีอยู่นิดเดียวเท่านั้นละครับว่า บางท่านอาจจะถือกันมาผิดๆ จากเจตนาที่พระอาจารย์ท่านสอน จากประสบการณ์ จากที่เคยได้ยินได้ฟังมา พระเดชพระคุณหลวงปู่มั่น ท่านได้เห็นดวงกสิณของท่านดวงใหญ่ พอท่านเห็นแล้ว ตอนแรกๆ ท่านก็ตามดูกสิณนั้นไป เห็นเข้าไปเรื่อยๆ ดูตามไปก็เห็นต่างๆ นานา เห็นเหมือนกับระลึกชาติ ไปเห็นชาติเก่าบ้าง ชาติใหม่บ้าง อนาคตบ้าง อะไรบ้าง ท่านก็ดูตามไปๆ เรื่อยๆ เห็นอะไรต่อมิอะไร หนักเข้าๆ ก็เห็นจะไม่ได้เรื่อง ท่านก็เลยบอกว่า โอ! นี่ไม่มีประโยชน์ นิมิตไม่มีประโยชน์ ท่านก็ตัดทิ้ง คือ ท่านปฏิเสธ ฟังให้ดี แปลว่าท่านปฏิเสธนิมิตลวงที่เห็นปรากฏอยู่ข้างนอก ซึ่งถูกต้อง ไม่ผิด ท่านปฏิเสธนิมิตลวง เพราะนั่นยังไม่ใช่ของจริง เพราะไม่ได้เข้ากลางของกลาง ณ ภายใน ต่อเมื่อภายหลังท่านปฏิบัติไปๆ เมื่อท่านได้ทำใจให้หยุดนิ่งสนิทจนใจสงบที่ศูนย์กลางกาย ท่านก็ได้ดวงพุทโธนะ ท่านเรียกว่า “ดวงพุทโธ” ได้เคยอ่านประวัติท่าน ได้เคยอ่านประวัติ ตอนที่ท่านไปอยู่ป่าเขา ชาวเขาถามท่าน (หลวงพ่อมั่น) ว่า “ตุ๊เจ้าเดินหาอันหยัง ?” เพราะตุ๊เจ้าเดินจงกรมอยู่เรื่อยๆ ท่านตอบว่า “หาดวงพุทโธ” ความจริงท่านก็เดินจงกรม ใจท่านหยุด ท่านก็รู้ พิจารณาไปข้างใน ทีนี้พวกชาวเขาก็ถามท่านว่า แล้วก็อย่างพวกเขานี่ เขาจะหาดวงพุทโธได้ไหม ? ท่านก็บอกว่า ได้ มาซิ แล้วท่านก็แนะนำกัมมัฏฐานให้ แต่จะได้เท่าไหร่ ได้ผลเท่าไรก็ไม่ได้เล่าให้ฟัง นี้เป็นประวัติของท่าน มีอยู่ในหนังสือ ท่านเรียกดวงธรรม ณ ภายในนั้นว่า “ดวงพุทโธ”
    เพราะฉะนั้น บรรดาระดับอาจารย์ที่ท่านเป็นพระอริยเจ้าชั้นสูง เมื่อท่านเจริญอานาปานสติ ใจหยุดลมหยุดที่ศูนย์กลางกาย ก็เห็นเป็นดวงใสเหมือนกันหมดไม่ต้องสงสัย เพราะฉะนั้นท่านจะสอนลูกศิษย์ลูกหาต่อไปว่า ให้เอามาพิจารณา ณ ภายใน อย่าให้อยู่ข้างนอก เหมือนกันหมด ท่านให้เอานิมิตมาพิจารณาข้างในทั้งนั้นนั่นแหละ แล้วผู้ปฏิบัติก็จะรู้ทางสายกลางไปเอง แต่สำหรับพระอริยเจ้าท่านไม่เอามาพูดมาก ก็เลยขอกราบเรียนพระคุณเจ้าไว้เพียงเท่านี้ว่า ไม่ได้แตกต่างกันหรอก เหมือนกันแหละ ทำไปเถอะ แล้วก็จะไปที่เดียวกันนั้นแหละ ไม่ไปไหนหรอก เพราะทุกคนก็มุ่งนิพพาน ซึ่งในทางปฏิบัติจักต้องผ่านทางสายเอก และทางสายกลาง ตรงกลางของกลางธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือ ใจตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ของแต่ละกาย จากสุดหยาบไปจนสุดละเอียดทั้งสิ้น จะไปไหนรอด พอถึงจุดหนึ่งก็ไปทางเดียวกันนั่นแหละ แต่ทีนี้ลูกศิษย์ลูกหาบางท่านนี่แหละ ฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียด ตรงที่ว่า นิมิต(ลวง)ไม่ให้ถือ และยิ่งเมื่อเห็นอะไรเป็นนิมิตไปหมด ก็เลยปฏิเสธหมด เมื่อปฏิเสธหมด ก็ไม่มีฐาน ปฏิเสธนิมิต จิตก็ไม่มีฐานที่ตั้ง เหมือนยิงจรวดไม่มีฐานที่มั่นคง จะไปได้สักเท่าไร พระพุทธเจ้าได้ตรัสอยู่ในฉักกนิบาต อังคุตตรนิกายว่า
    เมื่อภิกษุไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักเอานิมิตแห่งสมาธิจิต วิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
    เมื่อไม่ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตแล้ว จะยังสัมมาทิฏฐิ (คือความเห็นชอบ) แห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานที่มีได้เป็นได้
    เมื่อไม่ยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์แล้ว จะยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผล ให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
    เมื่อไม่ยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ทั้งหลาย (คือหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง) ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
    เมื่อไม่ละสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้ เป็นได้เลย

    ทีนี้ เดี๋ยวพระคุณเจ้าหรือญาติโยมอาจจะสงสัยนิดหนึ่ง ตรงที่ว่า ตรงนี้พระพุทธองค์ ทรงแสดงว่าทำนิพพานให้แจ้งจะต้องละสังโยชน์ได้ทั้งหมด นั่นหมายถึงคุณธรรมพระอรหันต์ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทำไมบอกว่า คนนั่งภาวนาถึงธรรมกาย ถึงนิพพานเห็นนิพพานได้ ? ตรงนี้เป็นวิกขัมภนวิมุตติ หลุดพ้นด้วยการข่มกิเลสชั่วคราว และคำว่า “รู้แจ้ง” นั้น ถ้ายังไม่เป็นพระอริยเจ้าก็แจ้งน้อยกว่าพระอริยเจ้า แต่ก็ถึงประตูรู้เส้นทางจะไปแล้ว ได้สัมผัสทั้งสังขารและ วิสังขารแล้ว ว่ามีลักษณะหรือสามัญญลักษณะแตกต่างกันอย่างไร ก็เพียรปฏิบัติไป เมื่อบารมีเต็มก็หลุดพ้นโดยสิ้นเชิงได้ เรื่องก็เป็นอย่างนี้ การเจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายและพระนิพพาน แม้จะยังไม่หมดกิเลสโดยสิ้นเชิงก็หลุดพ้นได้ชั่วคราวด้วย “วิกขัมภนวิมุตติ” การหลุดพ้นมีตั้งหลายระดับ ระดับด้วยการข่มกิเลสทำได้ มีได้ แต่ว่าอวิชชาจะหมดหรือไม่หมดโดยสิ้นเชิง อวิชชาก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะจิตไม่สังขาร และเมื่อปฏิบัติภาวนาดับหยาบไปหาละเอียด ถูกเครื่องรู้เห็น คือ ทิพพจักษุ ทิพพโสตของกายทิพย์ ละเอียดยิ่งขึ้นไปจนถึงญาณทัสสนะของธรรมกายซึ่งเชื่อมต่อถึงกัน พอให้รู้ พอให้เห็น พอให้ได้สัมผัส พอเข้าใจสภาวะพระนิพพาน ได้ด้วยอาการอย่างนี้ แต่คำว่ารู้แจ้งหรือ “ทำนิพพานให้แจ้ง” ได้จริงๆ นั้น หมายเอาคุณธรรมพระอรหันต์ ท่านรู้แจ้ง ไม่มีอะไรปิดบังท่านในเรื่องของพระนิพพาน เรื่องเป็นอย่างนี้ครับ
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ถาม - เมื่อผมนั่งสมาธิปล่อยกายสบายดีแล้ว เอาจิตนึกถึงลูกแก้ว แล้วไปจรดไว้ที่ฐานที่ ๗ นึกจะภาวนา แต่จิตไม่ยอมภาวนา พอฝืนภาวนาไปจะมีอาการตึงเครียด มึนศีรษะและอึดอัด เป็นเพราะอะไร ? จะแก้ไขอย่างไร ?


    ตอบ - โดยปกติ ถ้าจิตรวมดิ่งหยุดนิ่งไปแล้วนั้น องค์บริกรรมภาวนา (คำว่าสัมมาอรหัง) ก็จะหายไปด้วย กล่าวคือ เมื่อลมหายใจ (กายสังขาร) ระงับ จิตจะยิ่งละเอียดและหยุดนิ่ง ความนึกคิด (วจีสังขาร) ก็จะระงับด้วย นี่แหละ ที่ใจกำลังรวมหยุดเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง ถึงขั้นฌาน
    วจีสังขารระงับด้วยนั้นคืออย่างไร ? คือเมื่อจิตละเอียดและรวมลงแล้ว องค์บริกรรมภาวนาจะเลือนไปเอง แต่ถ้าเราฝืนบริกรรมภาวนาเข้า ก็ผิดหลักปฏิบัติ เพราะจิตละเอียดและรวมลงแล้ว บางคนลืมองค์ภาวนา ก็ไม่ต้องภาวนา ไม่เป็นไร ขอแต่อย่าให้เคลื่อนศูนย์ ให้หยุดในหยุด กลางของหยุดๆๆ ปล่อยให้ใจดิ่งหยุดนิ่งๆ แล้วก็อย่าบังคับหรือเพ่งแรง เมื่อจิตยิ่งดิ่งละเอียดลงไปแล้ว ขอให้หยุดนิ่งๆ เบาๆ ประเดี๋ยวจิตดวงเดิมจะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ ตรงระดับสะดือ แล้วจิตดวงใหม่จะลอยเด่นขึ้นมาใสสว่างตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือเอง
    ธรรมชาติของใจ เมื่อใจจะรวมหยุด
    ประการแรก ลมหายใจจะหยุดด้วย แต่เราแทบไม่รู้สึกตัว คือลมหายใจของผู้ที่เป็นสมาธิจะละเอียดเหมือนกับจะไม่ได้หายใจ ถ้าลมหายใจยังหยาบอยู่ ยังไม่เป็นสมาธิที่แนบแน่น ใจที่จะเป็นสมาธิแนบแน่น ลมหายใจจะละเอียดและสั้นเข้าๆ แล้วรวมลงหยุดนิ่งสนิท แต่ไม่รู้สึกอึดอัด ใจจะเบาและสบายเป็นปกติ อาการที่ลมหายใจหยุดนั้น เรียกว่า “กายสังขาร” ระงับแล้ว
    ส่วน “วจีสังขาร” กล่าวคือองค์บริกรรมภาวนา (คำว่าสัมมาอรหัง) ก็จะค่อยๆ ระงับตามไป จะรู้สึกลืมๆ เลือนหายไปไม่เป็นไร ขอแต่อย่าให้เคลื่อนศูนย์ ให้เห็นศูนย์ไว้เรื่อย หยุดในหยุดกลางของหยุดๆๆ ปล่อยใจให้ดิ่ง หยุดนิ่งลงไป ประเดี๋ยวก็ใสสว่างขึ้นมาเอง
    ท่านผู้นี้ได้ถามต่อไปว่า “เมื่อผมภาวนาไม่ได้ ผมก็เปลี่ยนละครับ ไม่ภาวนา เอาจิตไปจรดไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ แล้วกำหนดลมในท้องกระเพื่อมไปกระเพื่อมมา” นี่คงเคยติดการภาวนายุบหนอพองหนอมา ไม่เป็นไร แต่ว่าต่อไปไม่ต้องไปมองเห็นความกระเพื่อม ไม่ต้องสนใจความกระเพื่อม จิตจะได้หยุดดิ่งนิ่งสนิทลงไปจริงๆ
    ถ้าบังคับจิตให้เข้าๆ ออกๆ จากสมาธิ พอจิตจะหยุดนิ่งเข้า ก็ไปฝืนให้จิตทำงานคือบริกรรมภาวนาใหม่อีก อย่างนั้นย่อมจะทำให้จิตเครียด เพราะถูกบังคับจึงเกร็ง อย่างนั้นผิดวิธี จงปล่อยใจตามสบาย กายก็ปล่อยตามสบาย อย่าเกร็งเป็นอันขาด คือเราอย่าไปสนใจ เพราะฉะนั้นมันจะไม่เกร็ง การเกร็งนั้นเป็นอาการหนึ่งของใจที่ถูกเราบังคับเกินไป พอบังคับเกินไป จิตก็จะไม่ยอมรวมลง ไม่ยอมหยุด จงนึกถึงการกดลูกปิงปองให้จมลงน้ำ ถ้ากดแรง ลูกปิงปองจะหลุดมือ จิตที่ถูกบังคับหรือกดดันมาก จะถอนทันที จิตบังคับไม่ได้ ต้องค่อยๆ ประคองเบาๆ ปล่อยใจสบายๆ แต่อย่าให้สบายจนง่วงและหลับ อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ปล่อยใจตามสบาย คือทำใจให้โปร่งสบายนิ่งๆ อย่าเพ่งนิมิตแรง เพราะความอยากเห็นเกินไป อย่าบีบบังคับใจเกินไป เบาๆ ธรรมดา ไม่ต้องเกร็ง แล้วจิตจะค่อยๆ รวมดิ่งลงไปเอง
    เพราะฉะนั้น จงปรับนิดหน่อย นี่มีประสบการณ์ดีแล้ว ปรับปรุงอีกนิดหน่อยก็จะดีขึ้น ส่วนว่าที่เคยติดยุบหนอพองหนอมานั้น ก็ไม่ต้องสนใจ เพียงแต่จรดใจนิ่งที่ศูนย์กลางของกลางๆๆๆ พอใจหยุดนิ่ง ใสสว่าง ความรู้สึกกระเพื่อมจะหายไปเอง อย่าสนใจก็แล้วกัน
    สรุปว่า จรดใจนิ่งๆ เฉยๆ อย่าเกร็ง อย่าบังคับใจแรง องค์บริกรรมภาวนาจะค่อยๆ ลืมเลือนไป เพราะเราไม่สนใจ ใจไปหยุดดิ่งลงที่กลางของกลางนั้นถูกต้องแล้ว บริกรรมภาวนาคือการท่องในใจนี้ เมื่อกำหนดไปแล้วจะหยุดเอง จิตละเอียดเข้าๆๆ ต่อไปลมหายใจก็ไม่สนใจ แล้วละเอียดเข้าไปๆ ใจจะสงบและหยุดนิ่งนั้นถูกต้องแล้ว แต่อย่าบังคับใจเกินไป อย่าเกร็ง อย่าอยากเห็นเกินไป นิ่งๆ เฉยๆ เบาๆ แล้วใจจะหยุดสงบนิ่งกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็จะปรากฏดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หรือดวงปฐมมรรคใสสว่างปรากฏขึ้นมาเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 สิงหาคม 2014
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    จะรู้ได้อย่างไรว่า สิ่งที่เห็นในขณะปฏิบัติภาวนาธรรมนั้น ไม่ใช่สิ่งที่นึกเอาเอง ?



    รู้ได้ด้วยการพิสูจน์ด้วยตนเอง เช่น

    การนึกให้เห็นดวงแก้วหรือพระแก้วขาวใสที่เรียกว่า กำหนดบริกรรมนิมิต ในเบื้องต้นของการฝึกเจริญภาวนาสมาธินั้น จะไม่มีทางนึกให้เห็นได้ชัดเจน ใสแจ๋ว และสว่างไสว เท่าเมื่อใจรวมหยุดเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคงดีแล้ว (ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อันเป็นที่ตั้งของ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม)


    การเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย และการเห็นกายในกายไปจนถึงธรรมกายนั้น สวยงาม ละเอียด ประณีต และมีรัศมีปรากฏ แตกต่างจากการนึกเห็นด้วยใจในเบื้องต้นนั้นมากมายนัก อย่างที่เรียกว่า “ไม่เคยได้พบเห็นมาก่อน” แล้วจะไปนึกเอาเองได้อย่างไร จึงไม่ใช่สิ่งที่นึกเอาเอง




    เมื่อปฏิบัติได้ถึงธรรมกายแล้ว ก็ทดลองฝึกน้อมเข้าสู่อนาคตังสญาณ ดูเหตุการณ์ในอนาคตอันใกล้ๆ ดูบ้าง หรือฝึกขยายทิพยจักขุและข่ายของญาณทัสสนะ ดูสิ่งต่างๆ ที่พอจะพิสูจน์ได้ว่าเห็นจริงหรือไม่จริงดูบ้าง ก็ค่อยๆ มีประสบการณ์เองว่า ที่เห็นนั้นถูกต้องตามที่เป็นจริงก็มีมาก ที่ผิดพลาดบ้างก็มี ก็ให้พิจารณาเหตุสังเกตผลดู ว่าเป็นเพราะเหตุใด




    และถ้าได้ทำนิโรธดับสมุทัยปหานอกุศลจิตให้หมดสิ้นไปได้ดีเพียงใด และใจเป็นอุเบกขาเพียงใดในขณะใด ในขณะนั้นการรู้เห็นจะเป็นตามจริง ทั้งจริงโดยสมมติและจริงโดยปรมัตถ์เพียงนั้น แต่ถ้าขณะใด จิตใจยังมัวหมองอยู่ด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน มีอคติ การรู้เห็นในขณะนั้นก็มีโอกาสที่จะผิดพลาดได้ง่ายดาย



    ผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นพระอริยเจ้า หรือผู้ปฏิบัติธรรมที่หมั่นมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันในกองกิเลส และหมั่นชำระจิตใจให้ผ่องใสไว้เสมอ ด้วยการเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ และทำนิโรธ ให้ใจสะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอเพียงใด ธรรมชาติเครื่องรู้เห็นมีทิพพจักขุและญาณทัสสนะเป็นต้นย่อมบริสุทธิ์ ให้สามารถรู้เห็นได้ถูกต้อง แม่นยำ กว่าผู้ที่ทรงคุณธรรมที่ต่ำกว่าเพียงนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็อย่าได้เหิมเกริมว่าเลิศแล้ว ต้องปฏิบัติภาวนาธรรมเพื่อกำจัดขัดเกลากิเลสให้หมดสิ้นไป ด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญาอันเห็นชอบอยู่เสมอ นั่นแหละจึงจะพอแน่ใจได้ว่าพอเอาตัวรอดได้ และเมื่อนั้นเครื่องรู้เห็น ได้แก่ ทิพพจักขุและญาณทัสสนะก็จะบริสุทธิ์ ให้สามารถรู้เห็นได้อย่างถูกต้องแม่นยำเอง




    จึงพึงเข้าใจว่า การสอนให้ตรึกนึกเห็นด้วยใจเป็นเครื่องหมายดวงแก้วกลมใส หรือ พระพุทธรูปขาวใส ขึ้น ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นั้น เป็นเพียงอุบายวิธีในการอบรมจิตใจ ให้มารวมหยุดเป็นจุดเดียว (เอกัคคตารมณ์) ตรงศูนย์กลางกายอันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม และเป็นที่ตั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิตและธรรมในธรรม เพื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ อันเป็นการเจริญภาวนานั้นเองทั้งสมาธิและปัญญา ด้วยการที่ให้ได้ทั้งรู้และทั้งเห็นสภาวธรรมและสัจจธรรมตามธรรมชาติที่เป็นจริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 สิงหาคม 2014
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    เมื่อกระผมทำภาวนา ความตั้งใจของกระผมเกือบทั้งหมดจะจับอยู่ที่ดวงกลมใส และกายในกายต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นมา แล้วเมื่อไรกระผมจึงจะมีโอกาสพิจารณา สภาวธรรม และเมื่อไรกระผมจึงจะสามารถพัฒนาปัญญา ที่สำคัญทั้งหมดได้ ?


    ตอบ....

    เวลาใดที่ใจเป็นอิสระจากกิเลสนิวรณ์ ท่านก็สามารถจะดำเนินการพิจารณาสภาวธรรมได้เสมอ


    ตัวอย่างเช่น ท่านเห็นดวงกลมใส ท่านก็สามารถขยายให้ใหญ่ขึ้นได้ตามปรารถนา ซึ่งเมื่อนั้นหมายความว่า ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ของท่านจะ ขยายใหญ่ขึ้นด้วย ให้ทำเช่นนั้นไปจนกระทั่งใหญ่ประมาณขนาดเท่าร่างกายทั้งหมดของท่าน


    ในสภาวะนั้นทิพจักษุก็จะเกิดและเจริญขึ้น ให้ท่านสามารถพิจารณาเห็นทุกส่วนต่างๆ ของร่างกายของท่านพร้อมๆ กันได้ หรืออาจจะพูดได้ว่า ท่านไม่ต้องเลื่อนการเห็นจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง ต่อๆ ไป เพื่อให้เห็นทั่วร่างกาย แต่ท่านจะเห็นได้โดยรอบเลยทีเดียว



    บัดนี้ท่านก็จะสามารถพิจารณาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายของท่าน ให้เห็นตามธรรมชาติที่เป็นจริงได้ว่า ไม่มีแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดที่น่ารักใคร่เลย แท้จริงแล้วอวัยวะทุกส่วน ล้วนแต่เป็นของไม่สะอาด นี้เป็นวิธีพิจารณากายคตาสติที่มีประสิทธิภาพมาก ที่จะช่วยให้จิตใจของท่านสงบจากกามตัณหา ดังที่อาตมาจะขอยกอีกตัวอย่างหนึ่ง

    เมื่อครั้งที่อาตมายังเป็นฆราวาสอยู่ วันหนึ่งอาตมานั่งรถสองแถวกลับบ้าน อาตมาโชคดีที่ได้ที่นั่ง รถแน่นมากจนต้องยืนเบียดกัน มีสาวรุ่นคนหนึ่งยืนข้างหน้าของอาตมา หันหน้าเข้าหาอาตมาเสียด้วย หน้าอกของเธอสัมผัสที่หน้าอาตมาหลายครั้งเมื่อรถโคลงไปมา อาตมาทำภาวนาตลอดเวลา ตั้งใจดูในสมาธิว่าเธอเป็นอย่างไร ระหว่างการเดินทางนั้น ในสมาธิ อาตมาเห็นทุกส่วนของร่างกายเธอที่ต้องการจะดู ขณะนั้นอาตมาตระหนักว่า แท้จริงแล้ว ทุกส่วนของร่างกายนั้นสกปรกมาก พอดีเห็นเธอกำลังมีประจำเดือนอยู่ และขณะนั้นอาตมาก็รับรู้สัมผัสได้ด้วยใจ ถึงกลิ่นที่ค่อนข้างน่ารังเกียจนั้นด้วย

    นั้นเป็นการพิจารณากายคตาสติ และอาตมาก็ได้ใช้วิธีการนั้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ทั้งในการพิจารณาสังขารร่างกายของตนเอง และของผู้อื่นช่วยให้อาตมาสามารถประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับภรรยาของอาตมาได้ดีเป็นเวลา ๑๐ ปีก่อนที่จะบวช



    เมื่อท่านมีความรู้สึกทางเพศควรกำหนดใจทันที ใช้ปัญญาของท่านเริ่มพิจารณากายคตาสติทันที จะช่วยให้สามารถกำจัดนิวรณ์ได้ แล้วจงชำระจิตใจของท่านให้บริสุทธิ์ โดยวิธีดับหยาบไปหาละเอียดให้มากขึ้นๆ เมื่อท่านถึงจุดที่ใจบริสุทธิ์ผ่องใสที่สุด สงบที่สุด กามตัณหาของท่านจะสงบลง โดยการพิจารณาเห็นส่วนต่างๆ ของร่างกายตามที่เป็นจริง ว่าน่ารังเกียจ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติธรรมจึงควรพิจารณากายคตาสตินี้ตลอดเวลา.
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    [​IMG]


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ส4.1.PNG
      ส4.1.PNG
      ขนาดไฟล์:
      99.2 KB
      เปิดดู:
      2,597
    • ส4.2.PNG
      ส4.2.PNG
      ขนาดไฟล์:
      62.4 KB
      เปิดดู:
      2,475
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 สิงหาคม 2014
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ส4.5.PNG
      ส4.5.PNG
      ขนาดไฟล์:
      101.1 KB
      เปิดดู:
      1,306
    • ส4.3.PNG
      ส4.3.PNG
      ขนาดไฟล์:
      81.9 KB
      เปิดดู:
      1,140
    • ส4.4.PNG
      ส4.4.PNG
      ขนาดไฟล์:
      106.7 KB
      เปิดดู:
      1,138
    • ส4.6.PNG
      ส4.6.PNG
      ขนาดไฟล์:
      105.2 KB
      เปิดดู:
      1,232
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 สิงหาคม 2014
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ทำอย่างไรเมื่อผู้ปฏิบัติธรรมได้องค์พระใหม่ๆ จะรักษาองค์ธรรมกายให้ชัดอยู่ได้นานๆ ?



    ธรรมกายนั้นอุบัติขึ้นเพราะความบริสุทธิ์กาย วาจา และใจ จากธรรมปฏิบัติ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ จะรักษาธรรมกาย จึงต้องรักษากาย วาจา และใจของตนให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ โดย

    1.เว้นจากกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ประพฤติแต่กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต กล่าวคือ
    ไม่เจตนา ฆ่าสัตว์-ลักฉ้อ-ประพฤติผิดในกาม ไม่ติดอบายมุข เช่น นักเลงสุรา นักเลงผู้หญิง นักเลงการพนัน และไม่หมกมุ่นอยู่แต่กับพัสดุกาม เป็นผู้มีใจโอบอ้อมอารีต่อเพื่อน มนุษย์และสัตว์ร่วมโลก รู้จักแบ่งปันทรัพย์และความสุขส่วนตนแก่ผู้อื่น มีสันโดษในคู่ครองของตน และไม่เสพติดสิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาททั้งปวง
    ไม่มักพูดจาโป้ปดมดเท็จหลอกลวงผู้อื่น-พูดคำหยาบ-สาบถ-สาบาน-พูดยุแยก ให้เขาแตกสามัคคีกัน และไม่พูดจาเหลวไหลไร้สาระจนเป็นอาจิณ จงพูดแต่คำพูดที่จริง พูดแต่คำพูดที่สุภาพไพเราะ อ่อนหวาน พูดแต่คำพูดที่เป็นสิริมงคลมีแกนสารมีสารประโยชน์ เป็นปกติ
    ไม่เป็นคนมักโกรธ พยาบาท ปองร้ายผู้อื่น เป็นผู้มักไม่ลุแก่โทสะ ตัณหาราคะ ไม่โลภ และเห็นแก่ตัวจัด ไม่หลงมัวเมาในเรื่องหรือสิ่งที่เป็นโทษที่มิใช่พระธรรมวินัย ให้เป็นผู้ดำรงอยู่แต่ในพระธรรมพระวินัยเป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ และมีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ต่อกัน
    2.หมั่นมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันจิตที่มักใฝ่ชั่วด้วยอำนาจของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทานและมิจฉาทิฏฐิ มีความสำรวมระวังตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เมื่อกระทบเข้ากับ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย มิให้หลงเคลิบเคลิ้ม สยบอยู่ในอารมณ์ที่น่ารักและ มิให้หลงเคียดแค้นชิงชังในอารมณ์ที่ไม่น่ารัก อันเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้กิเลสฟุ้งและให้ตัณหา อุปาทาน เข้าครอบงำได้
    3.เพียรละกิเลสที่เกิดขึ้นแล้วในสันดานโดยมีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันกิเลส ตัณหา อุปาทานที่เกิดขึ้นในจิตใจอยู่เสมอ และเพียรระวังป้องกันมิให้กิเลสเกิดขึ้นใหม่อีก เพียรยังกุศลให้เกิดขึ้นในสันดาน และรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อมด้วยธรรมปฏิบัติมีทานกุศล ศีลกุศล และภาวนากุศล ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
    ยามว่างจากธุรกิจหน้าที่การงาน ก็ให้หมั่นเจริญภาวนา ทำนิโรธดับสมุทัย (ปหาน อกุศลจิต) พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด เพื่อชำระและรักษาธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ให้ใสสะอาดอยู่เสมอ อย่างน้อยที่สุดก็ให้หมั่นจรดใจสักเสี้ยวหนึ่งของใจไว้ ณ ศูนย์กลางธรรมกาย หรือพระนิพพาน หรือต้นธาตุต้นธรรมที่สุดละเอียด ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้อยู่เสมอ
    4.ควรหมั่นพบครูอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในวิชชาธรรมกาย เพื่อฝึกวิชชาชั้นสูง ต่อๆ ไป ก็จะช่วยให้ธรรมเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปไม่รู้เสื่อมถอย




    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • พระ.jpg
      พระ.jpg
      ขนาดไฟล์:
      65.2 KB
      เปิดดู:
      1,292
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ....................................[​IMG]





    คำว่า “หยุด” ที่หลวงพ่อสด ท่านกล่าวไว้ว่า จะไปทางนี้ต้อง “หยุด” ถ้าไม่หยุดก็ไปไม่ได้ และหยุดอย่างเดียวเท่านั้น สำเร็จ หรือเป็นตัวสำเร็จ อยากกราบถามหลวงพ่อค่ะว่า ในการ “หยุด” นี้ เอาอะไรเป็นเกณฑ์วัด เป็นเรื่องของกายหรือเรื่องของใจคะ ?




    คำว่า “หยุด” ณ ที่นี้หลวงพ่อ (หลวงพ่อวัดปากน้ำหรือหลวงปู่สด) ท่านหมายถึงหยุดทำชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ หยุดกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ด้วยการปฏิบัติไตรสิกขา คือ อธิศีลสิกขา(ศีลยิ่ง) อธิจิตสิกขา(จิตยิ่ง) อธิปัญญาสิกขา(ปัญญายิ่ง)

    ในการ “หยุด” ทางใจ นั้นเริ่มด้วยการอบรมใจให้สงบ ให้หยุด ให้นิ่ง เป็นสมาธิแนบแน่นมั่งคง ณ ศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม ด้วยอุบายวิธี ๓ อย่างประกอบกัน คือ
    อาโลกกสิณ โดยการเพ่งดวงแก้วกลมใส (นึกให้เห็นด้วยใจ เพื่อรวมใจคือความเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด ความรู้ ให้อยู่กับดวงแก้ว และให้รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน)
    พุทธานุสสติ ด้วยการให้กำหนดบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอะระหังๆๆ” เพื่อประคองใจให้หยุดให้นิ่งอยู่ตรงกลางและให้น้อมพระพุทธคุณ คือพระปัญญาคุณและพระวิสุทธิคุณจาก คำว่า “สัมมาอะระหัง” มาสู่ใจเรา
    อานาปานสติ สังเกตลมหายใจเข้าออกที่ผ่านและกระทบดวงแก้ว ตรงศูนย์กลางกาย แต่ไม่ต้องตามลม
    เมื่อใจถือเอาปฏิภาคนิมิตได้และหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิมและเป็นที่ตั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ละเอียดเข้าไปๆ จนสุดละเอียดนั้นแล้ว จิตดวงเดิมจะละปฏิภาคนิมิตและตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ ถ่ายทอดกรรมเดิมที่เป็นสมาธิ เป็นจิตดวงใหม่ คือ เห็น-จำ-คิด-รู้ อันตั้งอยู่ท่ามกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ที่ผ่องใสบริสุทธิ์จากกิเลสนิวรณ์ ลอยเด่นขึ้นมาพร้อมกับดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ใสสว่างยิ่งนัก เป็นทางให้เข้าถึงกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมที่ละเอียดและบริสุทธิ์ผ่องใสยิ่งขึ้นไปทุกที จนถึงธรรมกายอันเป็นกายที่พ้นโลก และเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ผ่องใส รัศมีสว่าง
    นั่นก็คือ ใจยิ่งหยุดยิ่งนิ่งยิ่งไม่สังขาร คือ ไม่ปรุงแต่ง อีกนัยหนึ่ง คือ “หยุดมโนสังขาร” จิตใจก็ยิ่งถึงและเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ผ่องใส นั่นเอง นี่เรียกว่า “ใจหยุดในหยุดกลางของหยุด ดับหยาบไปหาละเอียด จนสุดละเอียด”
    เมื่อถามว่า “มีอะไรเป็นเครื่องวัด ?” ก็ตอบว่า มีการเข้าถึงรู้-เห็นและเป็น กายในกาย(รวมเวทนาในเวทนา จิตในจิต) และธรรมในธรรม เริ่มตั้งแต่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายที่ใสแจ่มอยู่ ณ ภายใน ละเอียดเข้าไป ๆ จนสุดละเอียด ถึงธรรมกายและเป็นธรรมกาย ที่บริสุทธิ์ผ่องใสยิ่ง ๆ ขึ้นไป จนสุดละเอียดนั่นเอง เป็นทางให้ถึงมรรค ผล นิพพาน
    เพราะเหตุนั้น หลวงพ่อท่านจึงกล่าวว่า “หยุด นั่นแหละ เป็นตัวสำเร็จ” คือ เป็นทางให้ถึงมรรค ผล นิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง และที่เป็นบรมสุข
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 สิงหาคม 2014
  16. ล้อเล่น

    ล้อเล่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    4,924
    ค่าพลัง:
    +18,649
    กำลังค่อยๆอ่านค่ะ....
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497

    โดยทั่วไป ทางโลก ต้องวิ่ง ต้องดิ้่นรน ต้องกอบโกยเข้า จึงจะได้สมปรารถนา

    ส่วนทางธรรมนั้น ........แค่ "หยุด" การดิ้นรน แสวงหา ให้ได้
    เริ่มจากทีละนิด เหมือนหยดน้ำ แล้วเพิ่มความถี่

    จากหยุดครั้งละ1วินาที ก็ให้บ่อยขึ้น

    ก็จะเร็วโดยไม่รู้ตัว



    -------------


    บางครั้งที่ต้องโพสให้อ่านมากมาย เพราะคนสงสัยมาก คิดไปเองมาก
    ก็โพสไว้แค่หลักวิชชาฯคร่าว

    คนที่เป็น แค่"หยุด" ก็ใกล้แล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 สิงหาคม 2014
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497

    การนึกคิดไปที่จุดศูนย์กลางกายปล่อยๆ ตรงกลางจุดเล็กใสนั้นแหละครับ เป็นการฝึกจิตให้รู้จักกลับบ้านเสียบ้าง

    นึกทีละนิด ทีละหน่อย แม้ตอนลืมตา บ่อยๆครั้งเข้า เค้าก็คุ้น ระลึกได้ถึง
    บ้านที่เคยสงบ ร่มเย็น เป็นที่ควรอยู่


    จู่ๆ ไม่ว่าดวงธรรมหรือกายต่างๆ ก็ปรากฏเอง ตามเหตุปัจจัยของแต่ละคน

    ปรากฏแล้ว ก็ตั้งสติ-สัมปชัญญะ อย่าให้ตื่นแต้นมาก

    แตะใจเข้ากลางของกลาง ดวงธรรม หรือ กายที่ปรากฏ ณ ศูนย์กลางกายนั่นแหละ



    ------------------------------



    พอมีแสงสว่าง มาล่อให้รู้ออกนอกตัว

    ก็ตั้งสติสัมปชัญญะ
    ให้เหลือกตากลับหรือกลอกลูกตากลับ

    แล้วปล่อยวางความรู้สึกที่ลูกตาเนื้อ



    ส่งใจไปกลางดวง กลางกาย ที่ฐาน7 เหมือนเดิม

    ความรู้ตัว ก็จะกลับเข้าที่ในกายเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 สิงหาคม 2014
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    การอาศัยเพ่งดวงแก้ว หรือกสิณอื่นๆ

    ทีต้องจำภาพวัตถุต่างๆ แล้วหลับตานึกให้ได้ ให้มาอยุ่ตรงกลางกายฐานที่7

    .นี่ก็อาศัย เป็นอุบายได้ประการหนึ่ง


    .......ตามประสพการณ์ ไม่ว่าตนหรือคนในแวดวง


    เราสามารถอาศัยอุบาย ใดๆในกรรมฐาน40 หรือนอกจากนั้น มาเป็นเพียงเครื่องล่อ ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ 4อย่างนี้

    ให้มาหยุดรวมกันเป็นจุดเดียว ที่ก่ลางกายฐานที่7ได้




    ..........คนที่เข้าใจหลักการนี้ ซึ่งปฏิบัติได้จริง แค่ดำรงสติสัมปชัญญะ รู้ๆๆๆๆๆๆ
    เฉ่ย ไว้กลางกายฐ่านที่7 ได้บ่อยๆ ใจก็จะตกศูนย์ ได้พบเห็น ดวงปฐมมรรค

    หรือ ดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์


    ได้เช่นกัน


    ......เพียงแต่ว่า การกำหนดสามประสานแบบที่ครูอาจารย์ท่านวางเป็นแบบแผน
    คือดวงแก้ว คำบริกรรม และลมหายใจกลางดวงแก้ว สามารถครอบคลุมจริตคนทั่วไปได้มาก









    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 สิงหาคม 2014
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    a.png
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • sp6f.PNG
      sp6f.PNG
      ขนาดไฟล์:
      310.1 KB
      เปิดดู:
      1,299
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...