พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ผมลงประวัติของหลวงปู่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวชิราลงกรณ์ ให้คุณnongnooo และท่านอื่นๆได้อ่านกันนะครับ

    ส่วนที่คุณเพชรแจ้งมา ผมจะนำประวัติหลวงปู่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ให้อ่านกันครับ

    .
    <!-- / sig -->
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ธันวาคม 2007
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13344

    พระองค์ที่ ๗ : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

    กุหลาบสีชา ผู้โพส

    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>พระประวัติและปฏิปทา
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    (พระองค์เจ้าวาสุกรี) พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๓๙๖

    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
    แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร


    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    ทรงเป็นเจ้านายพระองค์แรกที่ทรงได้รับสถาปนาให้ดำรงตำแหน่ง
    สมเด็จพระสังฆราช องค์พระประมุขแห่งคณะสงฆ์ไทย
    นับเป็นการเริ่มต้นศักราชใหม่ในการปกครองของคณะสงฆ์ไทย
    เพราะแต่ก่อนมานับแต่ยุคต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ย้อนไปจนถึงยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ไม่ปรากฏว่ามีเจ้านายพระองค์ใด
    แม้ทรงผนวชอยู่จนตลอดพระชนมชีพ ได้รับสถาปนาในตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราช
    เพราะฉะนั้น พระประวัติและพระเกียรติคุณของ
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    จึงเป็นเรื่องที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง


    พระประวัติในเบื้องต้น

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๒๘
    ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
    ประสูติแต่ เจ้าจอมมารดาจุ้ย (พระสนมโท ต่อมาได้เลื่อนเป็น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • cheenorosd.jpg
      cheenorosd.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.2 KB
      เปิดดู:
      363
    • _2_131.jpg
      _2_131.jpg
      ขนาดไฟล์:
      31.9 KB
      เปิดดู:
      60
    • __3_154.jpg
      __3_154.jpg
      ขนาดไฟล์:
      31.8 KB
      เปิดดู:
      57
    • __4_112.jpg
      __4_112.jpg
      ขนาดไฟล์:
      14.5 KB
      เปิดดู:
      71
    • __5_211.jpg
      __5_211.jpg
      ขนาดไฟล์:
      30.5 KB
      เปิดดู:
      59
    • __7_204.jpg
      __7_204.jpg
      ขนาดไฟล์:
      13.7 KB
      เปิดดู:
      79
    • __9_819.jpg
      __9_819.jpg
      ขนาดไฟล์:
      30.1 KB
      เปิดดู:
      76
    • __493.jpg
      __493.jpg
      ขนาดไฟล์:
      20.2 KB
      เปิดดู:
      56
    • __528.jpg
      __528.jpg
      ขนาดไฟล์:
      44.1 KB
      เปิดดู:
      57
    • _oe_105.jpg
      _oe_105.jpg
      ขนาดไฟล์:
      45.3 KB
      เปิดดู:
      38
    • 268_1185970861_jpg_174.jpg
      268_1185970861_jpg_174.jpg
      ขนาดไฟล์:
      57.7 KB
      เปิดดู:
      62
    • 268_1185970876_jpg_906.jpg
      268_1185970876_jpg_906.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.7 KB
      เปิดดู:
      186
    • 268_1185970882_jpg_185.jpg
      268_1185970882_jpg_185.jpg
      ขนาดไฟล์:
      38.6 KB
      เปิดดู:
      45
    • ae_551.jpg
      ae_551.jpg
      ขนาดไฟล์:
      138.7 KB
      เปิดดู:
      44
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    [​IMG]

    พัดยศสมณศักดิ์


    การพระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก

    ครั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
    เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔
    สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์ซึ่งทรงผนวชอยู่
    และทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร ก็ได้รับการอันเชิญเสด็จเถลิงถวัลย์ราชย์
    มไหสวริยสืบมหันตมหิศรราชวงศ์ ดำรงสิริราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ ๔
    แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ในปลายรัชกาลที่ ๓ นั้น สมเด็จพระสังฆราช (นาค) สิ้นพระชนม์
    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริ
    ที่จะทรงตั้ง พระพิมลธรรม (อู่) วัดสุทัศน์ เป็นสมเด็จพระสังฆราช
    จนโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์ร่างนามที่จะทรงตั้ง และลงวัน เดือน ปี
    ที่จะทรงตั้งไว้เรียบร้อยแล้ว ก็พอทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต
    หลังวันที่กำหนดจะทรงตั้งไว้นั้นเพียงวันเดียว
    ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ
    จึงโปรดเกล้าฯให้เลื่อน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส
    ขึ้นเป็น กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงสมณศักดิ์เป็น
    สมเด็จพระมหาสังฆปริณายกทั่วพระราชอาณาเขต
    นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    โปรดเกล้าฯให้จัดตั้งพระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษกที่วัดพระเชตุพน
    มีทั้งพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ คล้ายกับพระราชพิธีบวรราชาภิเษก
    เมื่อวันศุกร์ เดือน ๙ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๙๔ นั้นเป็น
    พระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษกที่เกิดมีขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติการณ์ของคณะสงฆ์ไทย
    และสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ก็ทรงเป็นเจ้านายพระองค์แรก
    ที่ทรงได้รับมหาสมณุตมาภิเษกเป็นที่ สมเด็จพระสังฆราช ดังความที่ปรากฏนี้

    [​IMG]
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส


    “ศรีศยุภมัสดุ อดีตกาลพระพุทธศักราช
    ชไมยสหัสสสังวัจฉรไตรสตาธฤกจตุนวุติสังวัจฉร
    ปัตยุบันกาลสุกรสังวัจฉรสาวนมาศ สุกกปักษ์จตุรสติดฤศถี สุกรวารปริเฉทกำหนด
    พระยาทสมเด็จพระปรมนทร มหามกุฏสุทธสมมตเทพยพงศ์ วงศาดิศวรกระษัตริย์
    วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติ
    สังสุทธเคราหณี จักรีบรมนารถ อดิศวรราชรามวรางกูร สุจริตมูลสุสาธิต
    อุกฤษฐวิบูลย์ บูรพาดูลย์กฤษฎาภินิหาร สุภาธิการรังสฤษดิธัญญลักษณวิจิตร
    โสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคล ประสิทธิผลสรรพศุภผลอุดม
    บรมสุขุมาลมหาบุรุษยรัตน์ ศึกษาพิพัฒน์สรรพโกศล สุวิสุทธวิมลศุภศีลสมาจาร
    เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฏิสาธุคุณ วิบุลยสันดาน ทิพยเทพาวตาร
    ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยพิเศษ สรรพเทเวศศรานุรักษ์ เอกอรรคมหาบุรุษ
    สุตพุทธมหากระวี ตรีปิฏกาทิโกศล วิมลปรีชา มหาอุดมบัณฑิตย์ สุนทรวิจิตรปฏิภาณ
    บริบรูณ์คุณสารสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช
    สรรพวิเศษศิรินทร มหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ
    นพปฏลเสวตรฉัตราดิฉัตร ศิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิสิต
    สรรพทศทิศวิชิตไชยสกลมไหสวริย มหาสวามินทร์
    มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนารถชาติอาชาวไศรย
    พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์อุกฤษฐศักดิอรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย
    อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร์ ปรเมทรธรรมิกมหาราชาธิราช
    บรมนารถบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จถวัลยราชสมบัติในกรุงเทพมหานคร
    อมรรัตนโกสินทร์มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์
    อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน ได้ประดิษฐดำรงมาเป็นมหานครอันใหญ่
    เปนที่ศุขเกษมสมบรูณ์ด้วยสรรพโภคัยมไหยสุริยสมบัติ
    เพียบพูลด้วยชนคณานิกรบรรสัษย์ คือบุรุษยรัตนราชวงศานุวงศ์ เสนามาตยามนตรี
    กระวีชาติราชปโรหิต เป็นที่ไปมานานาค้าขายแห่งประเทศพานิช
    วิจิตรด้วยวิกัยภัณฑ์สรรพพัสดุล้วนวิเศษ เป็นที่รื่นเริงบันเทิงจิตร
    แห่งชาวนานาประเทศนิคมชนบท ปรากฏด้วยมหาชน อันเจริญขึ้น
    ด้วยความฉลาดในหัตถกรรมต่างๆ แลชำนาญในการช่างสรรพกิจทุกประการ
    เจริญขึ้นด้วยหมู่นิกรโยธาทวยหาญ เป็นประเทศที่ประดิษฐานพระบวรพุทธศาสนา
    ประดับด้วยเรือนพระปฏิมาอุโบสถาคาระเสนาศน์ วิจิตรด้วยสุวรรณหิรัญมาศ
    เปนที่เจริญความเลื่อมใสแห่งมหาชน ซึ่งเป็นมาได้ดังนี้ สำเร็จได้ด้วยอำนาจบารมี
    พระเดชานุภาพ วิริยะปรีชาวิจารณกิจ แห่งสมเด็จพระบรมนารถบพิตร
    ซึ่งทรงสถิตย์เป็นปฐม คือองค์สมเด็จพระบรมไอยกาธิราช ที่ได้ทรงพระนามตามประกาศ
    ด้วยพระนามแห่งพระมโหทิฐปฏิมาว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเป็นเดิมมา
    ส่วนกรมหมื่นนุชิตชิโนรสเล่า ก็เป็นพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    พระองค์นั้น แลได้ทรงพระผนวชรับพระธุระฝ่ายพระบวรพระพุทธศาสนามาช้านาน
    ทรงพระปรีชาญาณฉลาดรอบรู้ในพุทธศาสน์ราชสาตร
    แบบอย่างโบราณราชประเพณีต่างๆ แลในทางปฏิสันฐารปราไส
    แล้วมีพระหฤทัยโอบอ้อมอารี เป็นที่สนิทเสน่หาแห่งพระบรมวงศานุวงศ์ทั่วไป
    แลได้เปนครูอาจารย์ครุถานิยบุทคลแห่งราชสกุลวงษ์มหาชนเป็นอันมาก
    ควรที่จะเปนประธานาธิบดี มีอิศริยยศยิ่งกว่าบรรดาคณะนิกรสงฆ์
    คามวาสีอรัญวาสีปักษ์ใต้ฝ่ายหนือทั้งปวง เมื่อบุรุษย์รัตนอันล้ำเลิศประเสริฐดังนี้มีอยู่
    ก็มิได้ควรที่จะยกย่องพระราชาคณะองค์ใดองค์หนึ่ง แม้ถึงจะมีสติปัญญาวิทยาคุณ
    ที่มีตระกูลเป็นอย่างอื่น ให้มีอิศริยยศถานานุศักดิ์ยิ่งกว่า
    จึงมีพระบรมราชโองการมาร พระบัณฑูรสุรสิงหนารทดำรังสั่งให้สถาปนา
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นนุชิตชิโนรส เปน

    กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์
    บรมพงศาธิบดีจักรีบรมนารถปฐมพันธุมหาราชวรังกูร
    ปรเมทรนเรนทรสูรสัมมาภาธิสักกาโรดมสถาน อริยสมศีลจารพิเศษมหาวิมล
    มงคลธรรมเจดียุตมุตวาทีสุวิรมนุญ อดุลยคุณคณาธาร
    มโหฬารเมตตาภิธยาไศรย ไตรปิฏกกลาโกศล เบญจปฎลเสวตรฉัตร
    ศิริรัตโนปลักษณะมหาสมณุตมาภิเศกาภิสิต ปรมุกฤษฐสมณศักดิธำรง
    มหาสงฆปรินายก พุทธศาสนดิลกโลกุตมมหาบัณฑิตย์
    สุนทรวิจิตรปฏิภาณ ไวยัติญาณมหากระวี พุทธาทิศรีรัตนไตรยคุณารักษ์
    เอกอรรคมหาอนาคาริยรัตน์ สยามาทิโลกยปดิพัทธพุทธบริสัษยเนตร
    สมณคณินทราธิเบศร์สกลพุทธจักโรปการกิจ
    สฤษดิศุภการมหาปาโมกขประธานวโรดม บรมนารถบพิตร


    เสด็จสถิตย์ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
    พระอารามหลวง กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ
    นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน ทฤฆายุสมศิริสวัสดิฯ”
    *

    กล่าวกันว่า เหตุที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงตั้ง
    พระพิมลธรรม (อู่) เป็นสมเด็จพระสังฆราชตามพระราชดำริของ
    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น
    ก็คงเนื่องมาจากราชประเพณีนิยมที่มีมาแต่โบราณ
    ดังที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ทรงอธิบายไว้ ความว่า

    พระเถระที่จะทรงตั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะนั้น
    ก็เฉพาะผู้ทรงคุณสมบัติพิเศษ คือ เป็นพระอุปัชฌายะ เป็นพระอาจารย์
    เป็นที่ทรงนับถือเหมือนอย่างพระอุปัชฌายะ หรือพระอาจารย์
    หรือเป็นผู้ใหญ่ผู้เฒ่ามีอายุแก่กว่าพระชนมพรรษาจึงถึงต่างปูนกัน
    สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงมีความเกี่ยวข้องกับ
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหลายประการ กล่าวคือ
    ในทางพระราชวงศ์ก็ทรงเป็นพระเจ้าอา ในทางวัยวุฒิก็ทรงเจริญพระชนมายุกว่า
    ๑๔ พรรษา ในทางความสัมพันธ์ส่วนพระองค์ ก็ทรงเป็นพระอาจารย์ กล่าวคือ
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงศึกษาอักขรวิธีและพระพุทธวจนะ
    ตลอดถึงวิชาการคดีโลกอื่นๆ ในสำนักสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

    ฉะนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จึงทรงเคารพนับถือมากมา
    แต่ครั้งยังทรงผนวชอยู่ เป็นที่ทรงปรึกษาในเหตุการณ์สำคัญๆ เสมอ
    เช่นเมื่อครั้งทรงผนวชใหม่ๆ ในปลายรัชกาลที่ ๒ หลังจากผนวชได้เพียง ๑๕ วัน
    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมชนกนาถก็เสด็จสวรรคต
    ตามราชนีติประเพณี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ควรจะได้เสวยราชสมบัติสืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
    เพราะทรงอยู่ในฐานะองค์รัชทายาทแต่ขณะนั้นยังทรงพระเยาว์
    และทรงผนวชเป็นพระภิกษุอยู่ เสนาบดีและพระบรมวงศานุวงศ์ส่วนมาก
    จึงเห็นว่าควรถวายราชสมบัติแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ซึ่งเป็นพระโอรสผู้ใหญ่และทรงเจริญพระชนมายุกว่า
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึง ๑๗ พรรษา
    ฉะนั้น หลังจากสมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จสวรรคตเมื่อถูกกราบทูลถามว่า
    จะทรงปรารถนาราชสมบัติหรือจะทรงผนวชอยู่ต่อไป
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงไปทูลปรึกษาสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    ซึ่งขณะนั้นทรงเป็น กรมหมื่นนุชิตชิโนรส (พระชนมายุ ๓๔ พรรษา)
    กับทั้งสมเด็จพระกรมพระยาเดชาดิศร ขณะนั้นทรงเป็นกรมหมื่นเดชอดิศร
    ซึ่งเป็นที่ทรงคารพนับถือมากทั้งสองพระองค์ และทั้งสองพระองค์ได้ตรัสแนะนำว่า
    ไม่ใช่เวลาควรปรารถนาราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    จึงได้ทรงผนวชอยู่ต่อมาจนตลอดรัชกาลที่ ๓ พระราชดำรัสแนะนำของ
    สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ครั้งนี้นับว่าก่อให้เกิดผลดีแก่
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและชาติบ้านเมืองเป็นอเนกอนันต์

    นอกจาก สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส จะทรงเป็นที่เคารพนับถือของ
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีเรื่องที่แสดงให้เห็นว่าทั้งสองพระองค์
    ทรงเป็นที่สนิทสนมกันมากด้วย ดังที่เล่ากันมาว่า
    ในปลายรัชกาลที่ ๓ ทั้งสองพระองค์ทรงมีพระดำริร่วมกันว่า
    น่าจักได้สร้างวัดส่วนพระองค์ไว้นอกพระนคร
    สำหรับเป็นที่เสด็จไปประทับในบางโอกาสหรือในคราวจำเป็นพระองค์ละวัด
    สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส จึงได้ทรงสร้างวัดไว้ในคลองมอญวัดหนึ่ง
    ซึ่งเรียกกันในครั้งนั้นว่า วัดใหม่วาสุกรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ก็ทรงสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่ง เรียกกันในขณะนั้นว่าวัดนอก
    มาภายหลังจึงได้พระราชทานนามว่า วัดบรมนิวาส
    ครั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ เสด็จสวรรคต
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น รัชกาลที่ ๔
    สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส จึงได้ถวายวัดใหม่วาสุกรี
    เป็นพระอารามหลวงและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดชิโนรสาราม

    * หมายเหตุ : อักขรวิธีตามต้นฉบับ


    (มีต่อ ๒)
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    [​IMG]
    พระอัจฉริยภาพในทางพระศาสนาและวรรณกรรม

    สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงมีพระอัจฉริยภาพในหลายด้าน
    สาเหตุหนึ่งคงเนื่องมาจาก ทรงได้รับการศึกษาเล่าเรียนมาเป็นอย่างดี
    จากพระอาจารย์ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์แห่งยุค ทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม
    คือ สมเด็จพระพนรัต วัดพระเชตุพน ประกอบกับพระปรีชาสามารถส่วนพระองค์
    จึงทำให้พระองค์ทรงเป็นที่ปรากฏโดดเด่น ทั้งในด้านการพระศาสนา
    และด้านวิทยาการของบ้านเมืองมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

    กล่าวเฉพาะในด้านการพระศาสนา แม้ว่าในทางการปกครองจะไม่มีเหตุการณ์พิเศษ
    ให้กล่าวขวัญถึงพระองค์มากนัก เพราะทรงรับภาระธุระทางการปกครอง
    ว่ากล่าวเฉพาะวัดต่างๆ ในกรุงเทพฯ มาจนเกือบตลอดพระชนม์ชีพ
    ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระมหาสังฆปริณายก ที่สมเด็จพระสังฆราช
    อยู่เพียงปีเศษในช่วงสุดท้ายแห่งพระชนมายุเท่านั้น

    แต่การที่ทรงมีพระภาระกิจทางการปกครองไม่มากนั้น กลับเป็นผลดียิ่งนัก
    เพราะเป็นโอกาสให้พระองค์ได้ทรงศึกษาพิเคราะห์พระธรรมวินัย
    และใช้พระปรีชาสามารถสร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าแก่การพระศาสนา
    และชาติบ้านเมืองเป็นจำนวนมาก กล่าวคือ ในทางพระสัทธรรม
    ปรากฏว่าทรงพระปรีชาเชี่ยวชาญ ทรงเป็นที่ปรึกษา
    และถวายวิสัชนาพระราชปุจฉาต่างๆ ในรัชกาลที่ ๓ มาโดยตลอด
    ในทางรจนา นับว่าทรงพระปรีชาเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ
    ได้ทรงพระนิพนธ์เรื่องพระปฐมสมโพธิกถา ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
    หรือร่ายยาวมหาชาติ เป็นต้น ที่ถือกันว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นเอก
    ทางพระพุทธศาสนา ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์

    [​IMG]

    ในทางพุทธศิลป์ ได้ทรงคิดแบบพระพุทธรูปปางต่างๆ
    ถวายพระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระราชประสงค์จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศล
    ให้เหมือนอย่างโบราณกษัตริย์ครั้งกรุงศรีอยุธยาได้เคยทรงบำเพ็ญ
    โดยทรงคิดเลือกพุทธอิริยาบถต่างๆ จากเรื่องพุทธประวัติ
    เป็นจำนวน ๓๗ ปาง ได้เป็นต้นแบบพระปางสมัยรัตนโกสินทร์สืบมา ดังนี้

    ๑. ปางพระบำเพ็ญทุกรกิริยา
    ๒. ปางพระรับมธุปายาส
    ๓. ปางพระลอยถาด
    ๔. ปางพระรับกำหญ้าคา
    ๕. ปางพระมารวิชัย
    ๖. ปางพระสมาธิ
    ๗. ปางพระถวายเนตร
    ๘. ปางพระจงกรมแก้ว
    ๙. ปางพระเจ้าประสานบาตร
    ๑๐. ปางพระฉันสมอ
    ๑๑. ปางพระลีลา
    ๑๒. ปางพระเอหิภิกขุ
    ๑๓. ปางพระปลงกรรมฐาน
    ๑๔. ปางพระห้ามสมุทร
    ๑๕. ปางพระอุ้มบาตร
    ๑๖. ปางพระภัตตกิจ
    ๑๗. ปางพระเกษธาตุ
    ๑๘. ปางพระลงเรือขนาน
    ๑๙. ปางพระห้ามญาติ
    ๒๐. ปางพระป่าเลไลย
    ๒๑. ปางพระห้ามพระแก่นจันทร์
    ๒๒. ปางพระนาคาวโลกย์
    ๒๓. ปางพระปลงพระชนมายุสังขาร
    ๒๔. ปางพระรับอุทกัง
    ๒๕. ปางพระสรงน้ำ
    ๒๖. ปางพระยืน
    ๒๗. ปางพระคัพธานุราช
    ๒๘. ปางพระยืน
    ๒๙. ปางพระสมาธิเพชร
    ๓๐. ปางพระสำแดงชราธรรม์
    ๓๑. ปางพระเหยียบรอยพระพุทธบาท
    ๓๒. ปางพระสำแดงโอฬาริกนิมิต
    ๓๓. ปางพระทรงรับผลมะม่วง
    ๓๔. ปางพระขับพระวักกลิ
    ๓๕. ปางพระไสยาสน์
    ๓๖. ปางพระฉันมธุปายาส
    ๓๗. ปางพระห้ามมาร



    รัตนกวีศรีรัตนโกสินทร์

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงศึกษาในสำนักสมเด็จพระพนรัตน วัดพระเชตุพน
    ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางภาษาต่างๆ โดยเฉพาะภาษาบาลี และพระปริยัติธรรมอย่างยิ่ง
    อีกทั้งตำราพิชัยสงครามและคัมภีร์ต่างๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
    ตกมาอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ พระองค์จึงทรงรอบรู้ทางด้านภาษาอย่างดีเยี่ยม
    ทรงแตกฉานทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม ดังปรากฏในงานพระนิพนธ์ของพระองค์
    หลากรูปแบบและหลายรส ความที่ทรงรจนาอย่างแสดงถึงพระอัจฉริยภาพ
    สมกับที่ทรงได้รับยกย่องเป็นรัตนกวีในสมัยรัตนโกสินทร์
    งานพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ สามารถจำแนกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

    ๑. งานพระนิพนธ์ร้อยกรอง

    ๑.๑ ประเภทโคลง มี ๕ เรื่อง
    ๑.๑.๒ โคลงกลบท
    ๑.๑.๒ โคลงจารึกศาลาราย และโคลงจารึกหน้าศาลาพระมหาเจดีย์
    ๑.๑.๓ โคลงภาพคนต่างภาษา
    ๑.๑.๔ โคลงภาพฤาษีดัดตน
    ๑.๑.๕ โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน

    ๑.๒ ประเภทร่าย มี ๒ เรื่อง
    ๑.๒.๑ ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
    ๑.๒.๒ ร่ายทำขวัญนาคหลวง

    ๑.๓ ประเภทลิลิต มี ๒ เรื่อง
    ๑.๓.๑ ลิลิตตะเลงพ่าย
    ๑.๓.๒ ลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทางชลมารคและสถลมารค

    ๑.๔ ประเภทฉันท์ มี ๘ เรื่อง
    ๑.๔.๑ สรรพสิทธิ์คำฉันท์
    ๑.๔.๒ กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
    ๑.๔.๓ ฉันท์กล่อมช้างพัง และกาพย์ขับไม้กล่อมช้างพัง
    ๑.๔.๔ ตำราฉันท์มาตราพฤติ
    ๑.๔.๕ ตำราฉันท์วรรณพฤติ
    ๑.๔.๖ สมุทรโฆษคำฉันท์ตอนปลาย
    ๑.๔.๗ จักรทีปนีตำราโหราศาสตร์
    ๑.๔.๘ ฉันท์สังเวยกลองวินิจฉัยเภรี

    ๑.๕ ประเภทกลอน มี ๑ เรื่อง คือ กลอนเพลงยาวเจ้าพระ

    ๒. งานพระนิพนธ์ร้อยแก้ว

    ๒.๑ ปฐมสมโพธิกถา ฉบับภาษาบาลี
    มีต้นฉบับอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ เป็นพระคัมภีร์ใบลานจำนวน ๓๐ ผูก
    ผูกละประมาณ ๒๔ หน้า เมื่อปริวรรตเป็นอักษรไทยและแปลออกมาแล้ว
    จะเป็นหนังสือหนาประมาณ ๒,๑๖๐ หน้า หรือประมาณ ๒๗๐ ยก
    ซึ่งเป็นหนังสือพระพุทธประวัติฉบับที่มีขนาดหนาที่สุดในโลก
    ๒.๒ คำประกาศบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๔
    ๒.๓ พระราชพงศาวดารสังเขป และพระราชพงศาวดารย่อ
    ๒.๔ คำฤษฏี
    ๒.๕ พระธรรมเทศนาพระราชพงศาวดารสังเขป


    [​IMG]
    รัชกาลที่ ๔


    พระอวสานกาล

    เมื่อ สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงได้รับมหาสมณุตมาภิเษกเป็นที่
    สมเด็จพระสังฆราชนั้น ทรงมีพระชนมายุ ๖๑ พรรษา ทรงประชวรพระโรคชรา
    พระสุขภาพจึงไม่สู้แข็งแรงนัก ทรงประชวรหนักคราวหนึ่ง
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ
    ให้มีพิธีสเดาะพระเคราะห์ตามพิธีไสยศาสตร์ถวาย
    ทรงเจริญพระชนมายุอยู่ในรัชกาลที่ ๔ เพียง ๒ ปี ก็สิ้นพระชนม์
    เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๙ ค่ำ ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. ๑๒๑๕ เวลาบ่าย ๓ โมง
    ตรงกับวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๖ สิริรวมพระชนมายุได้ ๖๓ พรรษากับ ๔ วัน
    ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช เป็นเวลา ๑ ปี ๔ เดือน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๙๔
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
    พระราชทานพระโกศทองใหญ่ ทรงพระศพเป็นพระเกียรติยศยิ่ง

    ครั้นปีขาล เบญจศก จ.ศ. ๑๒๑๖ (พ.ศ. ๒๓๙๗) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำเมรุผ้าขาวที่ท้องสนามหลวงแล้วเชิญพระโกศพระศพสมเด็จฯ
    กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ตั้งกระบวนแห่แต่วัดพระเชตุพนไปเข้าพระเมรุท้องสนามหลวง
    มีการมหรสพ ๓ วัน ๓ คืน ครั้นเดือน ๕ ขึ้น ๑๑ ค่ำ
    ตรงกับวันเสาร์ที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๗ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    เสด็จพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวงแล้ว
    นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีตำแหน่งพระครูฐานานุกรม
    ประจำสำหรับรักษาพระอัฐิ ถึงเวลาเข้าพรรษาก็เสด็จพระราชดำเนินไปถวายพุ่มบูชา
    พระอัฐิทุกปี และถึงวันเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน วัดพระเชตุพนฯ
    ก็โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระอัฐิไปประดิษฐานในอุโบสถ ทรงสักการบูชาแล้วทอดผ้าไตร
    ให้พระฐานานุกรมสดับปกรณ์พระอัฐิเป็นประเพณีตลอดมา
    ตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ จนถึงรัชกาลปัจจุบัน

    หลังจาก สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สิ้นพระชนม์แล้ว
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้โปรดสถาปนาพระเถระรูปใด
    เป็นสมเด็จพระสังฆราชอีกจนตลอดรัชกาล
    ในรัชกาลที่ ๔ จึงมีสมเด็จพระสังฆราชเพียงพระองค์เดียว
    คือ สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สิ้นพระชนม์แล้ว
    ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชก็ว่างอยู่ตลอดจนรัชกาลที่ ๔ เป็นเวลา ๑๕ ปี
    เหตุที่ไม่ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดในตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราชนั้น
    คงเป็นเพราะไม่มีพระเถระรูปใดอยู่ในฐานะที่จะทรงสถาปนา
    ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น

    อาจมีผู้สงสัยว่าการที่ว่างสมเด็จพระสังฆราชหรือไม่มี
    สมเด็จพระสังฆราชเป็นเวลานานนั้น
    การปกครองคณะสงฆ์จะดำเนินการกันอย่างไรจึงขออธิบายไว้ตรงนี้สั้นๆ ว่า
    แต่โบราณมา องค์พระมหากษัตริย์ทรงถือเป็นพระราชภาระในการปกครองดูแลคณะสงฆ์
    โดยทรงโปรดฯให้เจ้านายผู้ใหญ่ หรือขุนนางผู้ใหญ่ในตำแหน่งเจ้ากรมสังฆการี
    (บางยุคเรียกว่ากรมสังฆการีธรรมการ ซึ่งภายหลังเป็นกระทรวงธรรมการ)
    เป็นผู้กำกับดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ เมื่อมีกิจอันใดเกิดขึ้นในคณะสงฆ์
    เจ้ากรมสังฆการีก็จะเป็นผู้รับสั่งการไปทางเจ้าคณะต่างๆ เพื่อดำเนินการต่อไป
    สมเด็จพระสังฆราชมิได้ทรงบัญชาการคณะสงฆ์โดยตรง
    ด้วยพระองค์เองทรงดำรงอยู่ในฐานะปูชนียบุคคล ของปวงพุทธบริษัทเท่านั้น
    การปกครองคณะสงฆ์ได้ดำเนินมาในลักษณะนี้
    จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลง
    สำหรับคณะกลางซึ่งสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงเป็นเจ้าคณะอยู่เดิมนั้น
    แม้ สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สิ้นพระชนม์แล้ว
    ก็ยังโปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นอยู่ในพระอัฐิ สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    มีถานานุกรมพระอัฐิบังคับบัญชาว่ากล่าวตลอดมาจนถึงรัชกาลที่ ๕

    [​IMG]
    พระโกศทรงฝรั่ง บรรจุพระอัฐิของพระองค์ท่าน
    ประดิษฐาน ณ ตำหนักวาสุกรี วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม



    (มีต่อ ๓)
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    [​IMG]

    รัชกาลที่ ๖


    การสถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า

    ครั้นถึงรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า
    ตำแหน่ง พระมหาสังฆปริณายก ประธานาธิบดีแห่ง สังฆมณฑล ซึ่งมีสมณศักดิ์ว่า
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณนั้นมีนามอย่างสังเขปว่า “สมเด็จพระสังฆราช”
    เป็นประเพณีสืบมา ส่วนพระบรมราชวงศ์ผู้ได้รับมหาสมณุตมาภิเษก
    ดำรงสมณศักดิ์ในตำแหน่งพระสังฆปริณายกหาได้เรียกว่า สมเด็จพระสังฆราชไม่
    ย่อมเรียกพระนามไปตามพระอิสริยยศแห่งพระบรมราชวงศ์
    ไม่ปรากฏพระเกียรติยศในทางสมณศักดิ์ จึงได้ทรงพระราชดำริพระนาม
    สำหรับเรียกพระบรมราชวงศ์ผู้ดำรงสมณศักดิ์ในตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราช
    ขึ้นใหม่ว่า “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า” และได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเปลี่ยน
    คำนำพระนาม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    สมเด็จพระมหาสมณะ ซึ่งทรงดำรงสมณศักดิ์ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช
    อยู่ในขณะนั้น เป็น “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส”
    เป็นพระองค์แรก พระนามว่า “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า”
    จึงได้เกิดมีขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยนี้และพร้อมกันนี้ ก็ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้
    สถาปนาเปลี่ยนคำนำพระนาม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
    ซึ่งทรงดำรงสมณศักดิ์ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชในอดีต
    เป็น “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า” เช่นเดียวกันด้วย จึงเรียกกันว่า
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และ
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สืบมาแต่บัดนั้น

    [​IMG]
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส


    ประกาศสถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า

    มีพระบรมราชโองการ ในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสิรินทร
    มหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประกาศใทราบโดยทั่วกัน
    ด้วยทรงพระราชดำริว่า พระมหาสังฆปรินายก
    ปธานาธิบดีแห่งสงฆมณฑลทั่วราชอาณาจักร ซึ่งมีสมณศักดิ์ว่า
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณนั้น ได้มีนามอย่างสังเขปว่า
    สมเด็จพระสังฆราชเป็นประเพณีสืบมา แต่ส่วนพระบรมราชวงศ์ผู้ได้รับ
    มหาสมณุตมาภิเษกดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์เช่นนี้หาได้เรียกว่า สมเด็จพระสังฆราชไม่
    ย่อมเรียกพระนามไปตามพระอิสริยยศแห่งพระบรมราชวงศ์
    ไม่ปรากฏพระเกียรติยศในส่วนทรงดำรงสมณศักดิ์นั้นเลย

    จึงทรงพระราชดำริว่า สมด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    พระอุปัธยาจารย์ ได้ทรงรับพระมหาสมณุตาภิเษกเป็น
    มหาสังฆปริยนายกปธานาธิบดีสงฆ์ มาจนกาลบัดนี้ถึง ๑๐ พรรษาล่วงแล้ว
    ทรงมีคุณูปการในทางพระศาสนกิจยิ่งนัก พระองค์มีพระชนมายุเจริญยิ่งล่วง ๖๐ พรรษา ประจวบอภิลักขิตสมัยครบรอบวันประสูติ
    ทรงบำเพ็ญพระกุศลเฉลิมพระชันษา สมควรจะสถาปนาพระนามในส่วนสมณศักดิ์
    ให้ปรากฏพระเกียรติยศยิ่งขึ้น จึงควรพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้สถาปนาเปลี่ยนคำนำพระนามเป็น
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    (มีสร้อยพระนามคงตามเดิม) เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศสืบไปชั่วกาลนาน

    อนึ่ง เมื่อได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์ปัจจุบันฉะนี้แล้ว
    จึงทรงพระราชดำริถึง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    กับ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
    ผู้ได้ทรงรับมหาสมณุตมาภิเษกเป็นมหาสังฆปริณายก
    ประธานาธิบดีสงฆ์มาแต่อดีตกาล ก็มีคุณูปการในทางพุทธศาสนากิจสมัยนั้นมาเป็นอย่างยิ่ง สมควรจะสถาปนาพระสมณศักดิ์ขึ้นไว้เช่นเดียวกัน
    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเปลี่ยนคำนำพระนาม
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอทั้งสองพระองค์นั้นเป็น
    “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า” ตั้งแต่บัดนี้สืบไปด้วย
    พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศไว้ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน
    พระพุทธศักราช ๒๔๖๔ เป็นปีที่ ๑๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
    (หมายเหตุ : รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖)


    พระเกียรติคุณประกาศ

    ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
    (UNESCO) ได้มีมติรับข้อเสนอของคณะผู้แทนไทยในการประชุมสมัยสามัญ
    ครั้งที่ ๒๕ ที่สำนักงานใหญ่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ประกาศยกย่อง
    สมเด็จพระสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๓
    นับเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่ได้รับการถวายเกียรตินี้

    องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
    ได้ประกาศรายชื่อบุคคลสำคัญผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก
    ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๓-๒๕๓๔ และถวายพระเกียรติคุณ
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ในฐานะปูชนียบุคคลสำคัญ
    ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลกประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๓
    ตามมติที่ประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๒๕ ณ สำนักงานใหญ่ยูเนสโก
    กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ ๑๗ ตุลาคม-๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๒
    และชักชวนให้ประเทศสมาชิกร่วมจัดกิจกรรมฉลอง
    เนื่องในวันคล้ายวันประสูติครบ ๒๐๐ ปี วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๓

    พระมหาสมณเจ้าฯ........................จอมกวี โลกเฮย
    ยูเนสโกสดุดี.................................ปราชญ์เจ้า
    ผู้นำศาสนจักรศรี...........................สังฆราช
    พระอัจฉริยะประจักษ์กล้า................ประดุจแก้วมณี



    (มีต่อ ๔)
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    [​IMG]

    บริเวณเจดีย์ ๔ รัชกาล วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม


    ประวัติและความสำคัญของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

    วัดโพธิ์ หรือนามทางราชการว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
    เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร
    และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี
    เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้สถาปนาวัดโพธารามวัดเก่าที่เมืองบางกอกครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดหลวง
    ข้างพระบรมมหาราชวัง และที่ใต้พระแท่นประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร
    พระประธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วย

    พระอารามหลวงแห่งนี้มีเนื้อที่ ๕๐ ไร่ ๓๘ ตารางวา
    อยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง
    ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช
    มีถนนเชตุพน ขนาบด้วยกำแพงสูงสีขาว แบ่งเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสชัดเจน

    มีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกไว้ว่า
    หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    ทรงสถาปนาพระบรมมหาราชวังแล้ว ทรงพระราชดำริว่า
    มีวัดเก่าขนาบพระบรมมหาราชวัง ๒ วัด ด้านเหนือ คือ วัดสลัก (วัดมหาธาตุฯ)
    ด้านใต้คือ วัดโพธาราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางเจ้าทรงกรม
    ช่างสิบหมู่อำนวยการบูรณะปฏิสังขรณ์ เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๑
    ใช้เวลา ๗ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน จึงแล้วเสร็จและโปรดฯ ให้มีการฉลองเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๔
    พระราชทานนามใหม่ว่า
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม


    ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ นานถึง ๑๖ ปี ๗ เดือน
    ขยายเขตพระอารามด้านใต้และตะวันตกคือ
    ส่วนที่เป็นพระวิหารพระพุทธไสยาสสวนมิสกวัน สถาปนาขึ้นใหม่
    พระมณฑป ศาลาการเปรียญ และสระจระเข้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่
    เป็นโบราณสถานในพระอารามหลวงที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้

    แม้การบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดเมื่อฉลองกรุงเทพฯ ๒๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕
    เป็นเพียงซ่อมสร้างของเก่าให้ดีขึ้น มิได้สร้างเสริมสิ่งใดๆ

    เกร็ดประวัติศาสตร์ของการสถาปนาและการบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดโพธิ์ แห่งนี้
    บันทึกไว้ว่า รัชกาลที่ ๑ และที่ ๓ ขุนนาง เจ้าทรงกรมช่างสิบหมู่
    ได้ระดมช่างในราชสำนัก ช่างวังหลวง ช่างวังหน้า
    และช่างพระสงฆ์ที่อยู่ในวัดต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญงานศิลปกรรมสาขาต่างๆ
    ได้ทุ่มเทผลงานสร้างสรรค์พุทธสถานและสรรพสิ่งที่ประดับอยู่ในวัดพระอารามหลวง
    ด้วยพลังศรัทธาตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่านที่ให้เป็นแหล่งรวมสรรพศิลป์
    สรรพศาสตร์ เปรียบเป็นมหาวิทยาลัยแห่งสรรพวิชาไทย (มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรก)
    ที่รวมเอาภูมิปัญญาไทยไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานไทยได้เรียนรู้กับอย่างไม่รู้จบสิ้น

    จักรพันธุ์ โปษยกฤต จิตรกรชื่อดังของไทยกล่าวไว้ในหนังสือ
     
  8. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เชื่อว่าคุณน้องนู๋คงเข้าใจแล้วว่าผู้มีวาสนาคืออะไร เราบอกไม่ได้ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มี แต่บางคนไม่ควรได้รู้ เพราะไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด ขอแสดงความยินดีด้วย... (good)
     
  9. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ทำมั้ยท่านเพชรรู้อารายๆเร็วเช่นนี้ เร็วกว่าตลาดหุ้นอีกแฮะยอดครับ ท่านปา-ทานก็ด้วยรวดเร็วเช่นกันครับ555(kiss)
    nongnooo....
     
  10. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ผมหมายถึงมีวาสนาเช่นกันครับ ท่านปา-ทาน (ยังปวดหัวนิดๆอยู่ครับ)
     
  11. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ๕๕๕๕๕ รู้เมื่อขณะคุยกับท่านปาทานช่วงเช้า แล้วท่าน"บังเอิญ"โทรเข้ามาหาท่านปาทาน จนเมื่อรอท่าน"ยล"ถึงช่วง ๕ โมงเย็นหนึ่งก่อน จึงถือโอกาสเข้ามาแสดงความยินดี วาสนา...วาสนา...วาสนา...
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    ผมลงประวัติของหลวงปู่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวชิราลงกรณ์ ให้คุณnongnooo และท่านอื่นๆได้อ่านกันนะครับ

    ส่วนที่คุณเพชรแจ้งมา ผมจะนำประวัติหลวงปู่
    พสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ให้อ่านกันครับ

    .
    <!-- / sig -->
    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    เชื่อว่าคุณน้องนู๋คงเข้าใจแล้วว่าผู้มีวาสนาคืออะไร เราบอกไม่ได้ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มี แต่บางคนไม่ควรได้รู้ เพราะไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด ขอแสดงความยินดีด้วย... (good)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ยินดีด้วยจริงๆ ยินดีด้วยครับคุณnongnooo และคุณเพชร
    และต้องขอบคุณคุณnongnoooด้วยครับ สำหรับหลายๆสิ่งหลายๆอย่างในวันนี้ ตอนนี้ไม่ปวดหัวแล้วครับ

    .

    .
     
  13. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ช่วงเที่ยงๆ บ่ายๆ ว่าจะได้พบกันที่บ้านพี่ใหญ่ แต่พักเหนื่อยจนเมื่อ ๕ โมงเย็นนี้เอง
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เมื่อวานฟังเรื่องราวเกี่ยวกับพระสมเด็จ"ปัญจสิริ" มีนายทหาร(หรือตำรวจ ไม่แน่ใจ) นำพระสมเด็จ"ปัญจสิริ"ไปเลี่ยมเพื่อห้อยคอ มีเซียนพระมาบอกว่าพระสมเด็จ"ปัญจสิริ" เก๊ นายทหารท่านนี้ตอบด้วยปืน (ใช้ปืนตบหน้า) แล้วบอกว่า อยากจะรู้ว่าของแท้หรือเก๊ จะพาไป.... จะไปหรือเปล่า เซียนพระไม่กล้าไป งานนี้เลยถูกปืนตบหน้าฟรี

    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ผมเองเล่ามากกว่านี้ไม่ได้แล้วครับ ต้องขออภัย

    .
     
  17. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ราว ๓ ปีก่อนได้รับบาตรน้ำมนต์สมเด็จโต จากผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเป็นข้าราชการกรมป่าไม้จังหวัดตาก ฝาบาตรน้ำมนต์ทำด้วยโลหะสัมฤทธิ์รูปใบบัวคว่ำบรรจุพระคาถาพาหุง ๘ บท รอบบาตรน้ำมนต์นี้ลงอักขระพระคาถาชินบัญชร ๑ บท ขอบบาตรบรรจุพระพิมพ์สมเด็จ พระพิมพ์นางพญา บรรจบรอบด้าน ตอนนั้นไม่ทราบที่มาว่ามาจากไหน แต่ทราบด้วยความรู้สึกว่า เป็นของเก่าราวๆ ๔๐ ปีกว่าปี จากนั้นราวๆ ๔ เดือนต่อมา ในร้านขายหนังสือเก่าท่ามกลางหนังสือกองมหึมา ไปพบหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของบาตรน้ำมนต์นี้โดยละเอียดทั้งที่มาของการจัดสร้าง ชนวนมวลสาร พระคณาจารย์ที่ร่วมเสกในสมัยนั้น บาตรนี้มีอายุการสร้าง ๔๒ ปี (สร้างปีพ.ศ. ๒๕๐๘) ที่แปลกคือการพบทั้ง ๒ ครั้งนั้น ทำไมมันช่างง่ายเสียเหลือเกินราวกับมีผู้จัดวางไว้ให้ ถึงวาระจะได้ทุกอย่างโดยครบถ้วนเองครับ พีใหญ่บอกว่า หากมีวาสนาจะได้ มันจะทั้งแท้ ง่ายไม่ยากเย็น และที่สำคัญราคาถูกมาก...

    ผมมีเอกสารในมือครบถ้วน หากเอกสารชุดนี้อยู่ในมือ"เซียนพระ" บาตรน้ำมนต์ใบนี้ราคาขั้นต่ำจะอยู่ที่ ๓๐๐,๐๐๐ บาท ราคาสมัยนั้น ๓๐๐ บาท พี่ใหญ่ทราบได้อย่างไรว่า ประธานการเสกในพิธีนี้ คือพระสังฆราชที่คุณหนุ่มลงประวัติท่านนั่นแหละ และในรายละเอียดการจัดสร้างนี้ก็ตรงกับที่พี่ใหญ่กล่าวถึงทุกประการ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ธันวาคม 2007
  18. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ที่โดน(ปืน)ตบเนี่ย ไม่ใช่ไปหมิ่นนายทหาร แต่ไปหมิ่น"เบื้องสูง"นะ อิอิ สมควรโดนอย่างมาก อย่างนี้ยังน้อยไป น่าโดนจนฟันหมดปาก จะได้ไม่สามารถพล่ามอีกต่อไป...วาสนาอีกแล้ว

    คุณหนุ่มไม่เล่า ผมเล่าเองนิ หากอยากได้ให้ร่วมบุญกับ....๔,๐๐๐ บาท ได้สมเด็จปัญจสิริ ๑ องค์ (ตรงที่ว่างไว้นี้ ผมก็บอกเล่าไม่ได้เช่นกัน ทำให้อยากแล้วจากไป....)
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    เมื่อวานฟังเรื่องราวเกี่ยวกับพระสมเด็จ"ปัญจสิริ" มีนายทหาร(หรือตำรวจ ไม่แน่ใจ) นำพระสมเด็จ"ปัญจสิริ"ไปเลี่ยมเพื่อห้อยคอ มีเซียนพระมาบอกว่าพระสมเด็จ"ปัญจสิริ" เก๊ นายทหารท่านนี้ตอบด้วยปืน (ใช้ปืนตบหน้า) แล้วบอกว่า อยากจะรู้ว่าของแท้หรือเก๊ จะพาไป.... จะไปหรือเปล่า เซียนพระไม่กล้าไป งานนี้เลยถูกปืนตบหน้าฟรี

    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    นี่หนา ทำให้อยาก(เห็น,ได้)แล้วจากไป

    คิคิคิ

    .
     
  20. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ครั้งแรก(ได้บาตรน้ำมนต์)ผมงงมาก ครั้งที่ ๒(ได้หลักฐานการจัดสร้าง) ผมละขำมาก ครั้งที่ ๓(ได้บาตรน้ำมนต์เพิ่มอีก ๑ ใบ) นี่หายงง และขำไม่ออกเลย

    ครั้งแรกท่านบอก"ของเอ็ง" :eek:
    ครั้งที่ ๒ ท่านบอก"ในเมื่อเอ็งอยากรู้ ข้าจะให้เอ็งได้รู้" :d
    ครั้งที่ ๓ ท่านบอก"อุวะ ของเอ็งจริงๆ เซ้าซี้จริง" (deejai)
     

แชร์หน้านี้

Loading...