ทางนิพพาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 30 สิงหาคม 2013.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ทีนี้จะพูดต่อไปถึง ทางนิพพาน ถ้าพูดว่า "ทางนิพพาน" ก็ค่อยปลอดภัย แต่ถ้าพูดว่า "ทางไปนิพพาน" มันก็เลือนออกไป ไม่ค่อยปลอดภัย ทั้งนี้เพราะว่า นิพพานนั้นไม่ต้องไป ถ้ามีการไปก็ไม่ใช่นิพพาน ดังที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า "ไม่ใช่การไป ไม่ใช่การมา ไม่ใช่การหยุดอยู่" นิพพานเป็นสภาวะอันหนึ่งซึ่งปรากฏออกมา เมื่อมีการกระทำถูกต้อง มีการปฏิบัติถูกต้อง ฉะนั้นจึงไม่ต้องไป จึงไม่ต้องมา รวมทั้งไม่ต้องหยุดอยู่ที่นั่น

    นี้เป็นภาษาที่ต้องระวัง ไป ก็ไปหาสิ่งหนึ่ง มา ก็มาหาสิ่งหนึ่ง หยุด ก็เพราะว่าติดอยู่ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มันใช้ไม่ได้ทั้งนั้น เพราะมีความยึดมั่นถือมั่นจึงได้ไป จึงได้มา หรือจึงได้หยุดอยู่ที่ไหน ต่อเมื่อดับความยึดมั่นถือมั่นนั้นเสีย ไม่มีการไป ไม่มีการมา ไม่มีการหยุด หรือติดอยู่ที่ไหน จึงจะเรียกว่าเป็นการหลุดออกไป นี้ถ้าจะเรียกโดยสมมติก็เรียกว่า "ทางนิพพาน"

    ทางนิพพานนั้นเรียกว่ามรรค มรรคซึ่งแปลว่าหนทางนี้เอง แต่เป็นหนทาง ทางจิตใจ ที่เรียกว่าอริยมรรคบ้าง อัฏฐังคกมรรคบ้าง แล้วแต่จะให้หมายความอย่างไร ที่เรียกว่าอัฏฐังคิกมรรค มรรคประกอบไปด้วยองค์ ๘ นั้นเป็นตัวทางนิพพาน หมายความว่าเมื่อปฏิบัติอยู่อย่างนั้น นิพพานปรากฏออกมา เราไม่ต้องเรียกว่าไปนิพพาน หรือหนทางเพื่อให้ไปนิพพาน แต่ต้องพูดว่าทางให้ถึงนิพพาน ถ้าจะพูดกันอย่างอื่น เพื่อไม่เกิดความกำกวมก็จะต้องพูดว่า เป็นการปฏิบัติที่จะทำนิพพานให้ปรากฏแก่ใจ

    การปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ให้ถูกต้อง ให้ครบถ้วน พอเหมาะพอดีแล้วนิพพานก็จะปรากฏแก่จิตใจของผู้ปฏิบัติ ที่ว่ามรรคมีองค์ ๘ นั้น ก็ขอทบทวนซักซ้อมความเข้าใจไว้เสมอว่า หมายถึงความถูกต้อง ๘ ประการ ถูกต้องในทางความคิดเห็น เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ถูกต้องในทางความมุ่งมาดปรารถนา เรียกว่า สัมมาสังกัปโป ถูกต้องในการพูดจา เรียกว่า สัมมาวาจา ถูกต้องในการกระทำทางกาย เรียกว่า สัมมากัมมันโต ถูกต้องในการเลี้ยงชีวิต เรียกว่า สัมมาอาชีโว ถูกต้องในความพากเพียร เรียกว่า สัมมาวายาโม ถูกต้องในความดำรงจิต ความรู้สึกนึกคิด นี้เรียกว่า สัมมาสติ และความถูกต้องในการมีสมาธิ คือความมั่นคงของจิต นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ รวมเป็นความถูกต้อง ๘ ประการ ที่เรียกว่ามีองค์ ๘ แล้วรวมกันเป็นหนทางให้ถึงซึ่งความดับทุกข์ที่เรียกว่านิพพาน คำว่าอัฏฐังคิกมรรคหรืออริยมรรคมีความหมายอย่างนี้

    ทีนี้ดูให้ดีๆ ว่าใน ๘ องค์นั้น องค์แรกนั้นมีความสำคัญมาก เหมือนกับผู้นำ เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ ความเห็น หรือความเข้าใจ หรือความรู้ความเชื่ออะไรก็ตาม รวมอยู่ที่องค์นี้ทั้งนั้น และเรียกง่ายๆ ว่า ทิฏฐิ คือ ความเห็นที่ถูกต้อง เมื่อมีความเห็นที่ถูกต้อง อื่นๆ ก็จะถูกต้องตามไปเอง ฉะนั้นสัมมาทิฏฐิจึงสำคัญในฐานะเป็นองค์ประกอบองค์แรกที่นำหน้า แม้กระนั้นสิ่งที่เรียกว่าสัมมาทิฏฐิในกรณีของนิพพานนี้ ก็ยังอาจจะแยกไปได้ว่า เห็นชอบ เห็นถูกต้องนั้น มันหนักไปในทางคิดเห็นว่าอย่างไรๆ

    สัมมาทิฏฐินี้อาจจะแยกออกไป เช่นว่า ถ้าไปมีน้ำหนักอยู่ที่เห็นอนิจจังแล้วบรรลุนิพพานนี้ก็เป็น อนิมิตตนิพพา ถ้าหนักไปในทางเห็นทุกขัง แล้วบรรลุนิพพาน ก็เป็น อัปปณิหิตนิพพาน ถ้าหนักไปทางเห็นอนัตตา แล้วบรรลุนิพพานก็เป็น สุญญตนิพพาน

    นิพพานนี้เป็นอย่างเดียวกัน มีความหมายอย่างเดียวกัน คือเป็นของเย็น แต่อาจจะมาได้จากทิศทางต่างๆ กันของผู้ปฏิบัติ หรือผู้เห็น บางคนเขาถนัดที่จะเห็นในความไม่เที่ยง เห็นความไม่เที่ยง แล้วเกิดเบื่อหน่ายคลายกำหนัด แล้วก็เป็นนิพพาน นี้เป็น อนิมิตตนิพพาน เป็นนิพพานที่มีความหมายว่า ไม่มีอะไรเป็นกำหนด เพราะมีแต่ความไม่เที่ยง และไหลเวียนไปเรื่อย แต่ถ้าบางคนเขามีสิ่งแวดล้อมทำให้เห็นทุกข์ ถึงขนาดสูงสุด จนเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด บรรลุนิพพาน ก็เรียกว่าเป็นนิพพานที่เป็น อัปปณิหิตะ คือ ไม่มีที่ตั้งที่เกาะของจิตใจ ไปเกาะเข้าที่ไหนเป็นมีความทุกข์ทั้งนั้น ก็เลยไม่มีที่ตั้งที่เกาะ

    ทีนี้ ถ้าว่าผู้ใดเขาเหมาะสมที่จะเห็นอนัตตา อะไรๆ ก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรจะยึดถือว่าตัวตนหรือของตนอย่างนี้ เกิดเบื่อหน่ายคลายกำหนัด บรรลุนิพพาน นิพพานชนิดนี้ให้ชื่อประกอบเข้าไปว่าเป็น สุญญตนิพพาน นิพพานที่อาศัยความว่าง อาศัยการเห็นความว่างเป็นหลักเป็นประธาน

    จากเหตุผลดังกล่าว ทางนิพพาน นี้ จะเรียกว่า ตั้งต้นด้วยอนิจจังก็ได้ ด้วย ทุกขังก็ได้ ด้วย อนัตตาก็ได้ แล้วแต่คนเขามีจิตใจอย่างไร เหมาะที่จะตั้งต้นจากอะไร นี้มันก็แล้วแต่จะทำให้เกิดการตั้งต้นอย่างนั้นเอง เรียกว่าตามอุปนิสัย ในชั้นนี้เรารู้แต่เพียงว่า มีการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งมีสัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ สัมมาทิฏฐินั้นจะอาศัยอนิจจังก็ได้ อาศัยทุกขังก็ได้ อาศัยอนัตตาก็ได้ ที่แท้ทั้ง ๓ อย่างนี้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้มันไม่แยกกัน แต่ผู้เห็นอาจจะเห็นเพียงมุมหนึ่ง แง่หนึ่ง ส่วนหนึ่ง เหลี่ยมหนึ่งก็ได้ ฉะนั้น จึงเห็นหนักไปในทางเห็น อนิจจังก็มี เห็นทุกขังก็มี เห็นอนัตตตาก็มี แล้วแต่ว่าอุปนิสัยอย่างที่กล่าวแล้ว

    นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงนิพพาน ที่ไม่ต้องไป ไม่ต้องมา ไม่ต้องหยุดที่ไหน เป็นแต่เพียงทำความถูกต้องให้เกิดขึ้นจนครบถ้วนแล้ว ก็จะปรากฏสิ่งที่เรียกว่านิพพานขึ้นมา

    คําบรรยายประจําวันเสาร ในสวนโมกขพลาราม วันเสารที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๑๔ พุทธทาสภิกขุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  2. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ตัดแปะอีกแล้ว รู้เหรอว่าเป็นแบบนั้นน่ะ
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    คนไม่รู้เพราะมีความเห็นผิด เมื่อมีความเห็นผิดความเห็นอย่างอื่นที่ตามมาจะผิดหมด ทางมรรคไม่ได้ "ไป" ด้วยความรู้สึกนึกคิด ศึกษามรรคตัวแรกให้ดีๆ ครับ "สัมมาทิฏฐิ" คือมีความเห็นถูก ทำมรรคตัวนี้ถูกอย่างอื่นที่ตามมาจะถูกหมด คุณไม่รู้เพราะคุณไม่ได้ปฏิบัติ คุณใช้ความรู้สึกนึกคิดเอา มันเป็นแค่ความรู้สึกนึกคิดมันไม่ได้เป็นความรู้ที่ได้จากฌาน เวลานักปฏิบัติเขาคุยกัน เขาจะมีคำแปลกๆ ใหม่ๆ ที่ไม่มีในตำรา เมื่อไม่มีในตำราคุณก็ไม่รู้จัก แต่จริงๆ แล้วในตำรามีแต่นักปฏิบัติเขาไม่ได้ใช้คำตายตัวแบบในตำรา พอเจอคำแปลกๆ เช่น "ฐานของสมาธิ" คุณฟังคำนี้แล้วไม่เข้าใจ เพราะคุณไปยึดคำในตำราทุกตัวอักษร เมื่อในตำราไม่มีคุณเลยเข้าใจว่าไม่มี จริงๆ แล้วมันมีอยู่ อย่างที่ผมเคยบอก ความรู้บางอย่างที่คุณรู้มามีทั้งถูกและผิด คุณต้องรู้จักวางและรู้จักรับรู้สิ่งใหม่ๆ เข้าไปสิ่งไหนผิดก็รู้จักวางทิ้งเสียบ้าง อย่ายึดแต่ว่าที่ศึกษามารู้มาถูกทั้งหมด และที่สำคัญถ้าคุณรู้ตามตำราเฉยๆ แล้วนั่งนึกเอา วันนี้นึกอย่างหนึ่ง พรุ่งนี้ก็นึกได้อีกอย่างหนึ่ง คุณเลยหลงคิดว่าตัวเองรู้มาก จริงๆ แล้วหลายคนเขารู้เขาผ่านกันมาแล้วครับ
     
  4. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ผลของการแต่งใหม่
    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอน
    สิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
    อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
    มหา. ที. ๑๐/๙๐/๗๐
    ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแลว : กลองศึกของกษัตริยพวกทสารหะ เรียกวา
    อานกะ มีอยู. เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ, พวกกษัตริยทสารหะไดหาเนื้อไมอื่น
    ทําเปนลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป). ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเชื่อมปะเขา
    หลายครั้งหลายคราวเชนนั้นนานเขาก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไมเดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป
    เหลืออยูแตเนื้อไมที่ทําเสริมเขาใหมเทานั้น;
    ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย,
    สุตตันตะเหลาใด ที่เปนคําของตถาคต เปนขอความลึก มีความหมายซึ้ง เปนชั้นโลกุตตระ
    วาเฉพาะดวยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผูนําสุตตันตะเหลานั้นมากลาวอยู; เธอจักไมฟงดวยดี
    จักไมเงี่ยหูฟง จักไมตั้งจิตเพื่อจะรูทั่วถึง และจักไมสําคัญวาเปนสิ่งที่ตนควรศึกษาเลาเรียน.
    สวนสุตตันตะเหลาใด ที่นักกวีแตงขึ้นใหม เปนคํารอยกรองประเภทกาพยกลอน มีอักษร
    สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เปนเรื่องนอกแนว เปนคํากลาวของสาวก, เมื่อมีผูนํา
    สุตตันตะที่นักกวีแตงขึ้นใหมเหลานั้นมากลาวอยู; เธอจักฟงดวยดี จักเงี่ยหูฟง จักตั้งจิต
    เพื่อจะรูทั่วถึง และจักสําคัญวาเปนสิ่งที่ตนควรศึกษาเลาเรียนไป.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหลานั้น ที่เปนคําของตถาคต เปน
    ขอความลึก มีความหมายซึ้ง เปนชั้นโลกุตตระ วาเฉพาะดวยเรื่องสุญญตา จักมีไดดวย
    อาการอยางนี้ แล.
    นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    คัมภีร์ยังอยู่ในตู้ อยู่ในวัดเหมือนเดิมนั่นแหละ ไม่มีใครแต่งใหม่หรอกครับ เดินไปเปิดดูวัดข้างบ้านได้ครับ แต่คนที่เอาคัมภีร์มาพูดโดยไม่รู้ความหมายที่แท้จริง ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสอนอย่างแท้จริง อยากได้ฌานก็นั่งนึกเอา อยากบรรลุธรรมนั่งนึกเอาบ้าง ในคัมภีร์ก็ไม่ได้สอนให้ทำอย่างนี้ ไม่ได้สอนให้ใช้ความรู้สึกนึกคิดหรือเดาเอาครับ
     
  6. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    คุณหรือผมที่เดาเอา เคยลมหายใจดับบ้างป่าวครับ
     
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ๑. บรรลุธรรมโดยไม่ได้ฌาน
    ๒. ระงับกายสังขารด้วยการกลั้นลมหายใจ
    ๓. เอาวิญญาณไปรู้สภาวะนิพพาน
    ๔. นิพพานดับหมดเหลือแค่ตัววิญญาน
    ๕. วิมุตติเท่านั้นสามารถดับอวิชชาได้

    ห้าข้อนี้คุณคงนั่งเดาเอาสินะ มิน่าแค่ลมหายใจดับทำเป็นตื่นเต้น
     
  8. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ทำได้ยังอุรุเวลา ลมหายใจดับนะครับ ถ้ายังไม่เคยลองทำดูนะ จะได้รู้จักความจริง
     
  9. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อ้อ..คำครูบาอาจารย์สอนไม่ได้ เพราะคือแต่งใหม่
    แล้วตะโพนอานกะ... จะได้อยู่ได้ไหมเนี่ย
    ถ้าปล่อยให้ นิว เป็นผู้เผยแพร่ธรรม หรือเป็นผู้ตีความพระวจนะ

    ๑. บรรลุธรรมโดยไม่ได้ฌาน
    ๒. ระงับกายสังขารด้วยการกลั้นลมหายใจ
    ๓. เอาวิญญาณไปรู้สภาวะนิพพาน
    ๔. นิพพานดับหมดเหลือแค่ตัววิญญาน

    อันนี้ล่าสุด..
    http://palungjit.org/threads/เพลิงแห่งความตาย.508440/
     
  10. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ความจริงแท้ ก็ต้องดับขันธ์ห้า ไม่ใช่แค่รูปดับ
     
  11. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ผู้ถาม ถ้าอย่างนั้นก็รบกวนถามท่านอาจารย์ ที่ท่านอาจารย์ถามว่า
    นิพพานอยู่ไหน อยากให้อาจารย์ให้ความกระจ่างด้วย

    สุ. สนใจเรื่องอกุศลไหม อยากจะไม่มี หรืออยากจะลดน้อยลงได้
    สนใจที่จะลดน้อยลงได้ไหม แต่เราหรือตัวตนไม่สามารถที่จะเป็นอย่างนั้นได้เลย ต้อง
    เป็นหน้าที่ของปัญญาที่มีความเห็นถูกต้องในลักษณะของสภาพธรรม ค่อย ๆ อบรม
    เจริญขึ้นที่จะรู้ว่าไม่มีเรา หรือว่าไม่มีตัวตน สภาพธรรมแต่ละอย่างก็มีกิจหน้าที่ของ
    สภาพธรรมนั้น ๆ เช่นปัญญาเป็นสภาพที่เห็นถูก เข้าใจถูกในอะไร ถ้ายังไม่รู้ เราก็ไป
    หลงใช้คำว่าปัญญาโดยที่ขณะนั้นไม่ใช่ปัญญาเลย เพราะฉะนั้นก่อนอื่นก็ต้องศึกษาให้มี
    ความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ตื่นเต้นกับคำอะไรที่ได้ยินแล้วไม่รู้ แต่จะต้องค่อย ๆ รู้ ค่อย ๆ
    เข้าใจในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังเสียก่อน แล้วถึงจะรู้ว่าการจะถึงนิพพาน หรือว่ามีการประจักษ์
    แจ้งนิพพานนั้นมีประโยชน์อะไร ถ้ายังไม่รู้เลยก็เป็นแต่เพียงความคิดเรื่องสิ่งหนึ่งสิ่งใด
    แล้วก็ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไรด้วย แล้วก็หวังจะได้หรือว่าหวังจะถึงซึ่งก็ไม่มีวันจะถึงได้ด้วย
    ความไม่รู้

    ผู้ถาม ก็ยังไม่ทราบความกระจ่างของนิพพาน ต้องการให้อาจารย์ให้
    ความกระจ่าง

    สุ. สภาพธรรมที่มีจริง ๆ จิตมี เจตสิกมี รูปมี นิพพานมี ต้องรู้สิ่งที่มีที่
    กำลังปรากฏในขณะนี้ก่อนจึงสามารถที่จะเข้าใจลักษณะของนิพพานได้ด้วยความไม่รู้ใน
    ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏแล้วว่าจะไปเข้าใจนิพพานเป็นไปไม่ได้เลย เป็นแต่เพียง
    ชื่อที่ได้ยินเท่านั้นเอง

    อธิษฐานเพื่อพระนิพพาน ถูกต้องไหม
     
  12. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ความมีอยู่ของพระนิพพาน มิใช่สภาวะที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของจิต แต่มีอยู่โดยตัวของตัวเอง คือเป็นความจริงขั้นปรมัตถสัจ ที่ตรงข้ามกับสมมติสัจในโลกแห่งปรากฏการณ์ มีสภาวะที่เที่ยง ไม่ใช่สิ่งที่เกิดดับสลับกันไปแบบสิ่งต่างๆ ในโลก นิพพานจึงเป็นอสังขตธรรมที่พ้นไปจากปัจจัยปรุงแต่ง ในสภาวะของนิพพานทั้งนาม (จิต) และรูป ย่อมดับไม่เหลือ ดังพุทธวจนะในเกวัฏฏสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ได้กล่าวถึงนิพพานว่าเป็น "ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ อุปาทยรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ เพราะวิญญาณดับ นามและรูปย่อมดับ ไม่มีเหลือในธรรมชาติ ดังนี้ฯ" (ที.สี.14/350)

    เพราะฉะนั้น นิพพานจึงไม่ใช่จิต หรือสัมปชัญญะบริสุทธิ์ ซึ่งนั่นเป็นลักษณะของพรหมันหรืออาตมันของปรัชญาฮินดู ทั้งยังไม่ใช่เจตสิกที่อาศัยจิตเกิดขึ้น เพราะทั้งจิตและเจตสิกนั้นล้วนเป็นสังขตธรรม ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง มีธรรมชาติเกิดดับ มีการเปลี่ยนแปร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ แต่นิพพานอยู่เหนือสภาพเช่นนี้ และว่างเปล่าจากสิ่งเหล่านี้ ขณะเดียวกัน นิพพานก็ไม่ใช่ความดับสูญอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นลักษณะของอุจเฉททิฏฐิการใช้ภาษาอธิบายนิพพานเป็นสิ่งที่ต้องกระทำอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่าเป็นอัตตาเที่ยงแท้ (สัสสตทิฏฐิ) หรือว่าเป็นความขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ซึ่งเป็นทัศนะที่คลาดเคลื่อนจากพระบาลีทั้งสิ้น

    พระพุทธเจ้าไม่เคยทรงอธิบายว่า พระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพานเมื่อดับขันธ์แล้วจะอยู่ในสภาพเช่นใด การอธิบายทำได้ในลักษณะเพียงว่า นิพพานคือการดับทุกข์ สิ้นตัณหา เหมือนไฟที่ดับจนสิ้นเชื้อไม่สามารถที่จะลุกลามขึ้นมาได้อีก สำหรับพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้วนั้น พระพุทธองค์ไม่ตรัสยืนยันถึงความมีอยู่หรือความดับสูญ พระองค์ตรัสแต่เพียงว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ทั้งเทวดาและมนุษย์จะไม่สามารถเห็นพระองค์อีกต่อไป "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต" (ที.สี.14/90) ในคำสอนพระพุทธศาสนา ไม่มีอัตตาใดเข้าสู่นิพพาน และไม่มีอัตตาดับสูญในภาวะแห่งนิพพาน แม้ในโลกแห่งปรากฏการณ์ เบื้องหลังเบญจขันธ์อันไม่เที่ยงนั้น ก็มิได้มีอัตตาซึ่งเป็นผู้รับรู้หรือเป็นพื้นฐานแห่งตัวตนที่เที่ยงแท้อยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกอยู่ในรูปของกระบวนการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทั้งรูปธรรมและนามธรรม กระบวนการแห่งนามรูปที่สมมติว่าเป็น ตัวตน สัตว์ บุคคล เราเขา นี้ เมื่อวิวัฒนาการไปจนกระทั่งถึงที่สุด ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปก็เป็นอันยุติลง สภาพความสิ้นสุดกระบวนการแห่งนามรูปที่ไม่เที่ยงแปรปรวนอยู่ทุกขณะนี้ เรียกว่านิพพาน เมื่อรูปและนามดับ นิพพานจึงไม่ใช่ทั้งจิตและสสารซึ่งต้องอาศัยเหตุปัจจัยในการดำรงอยู่ พระนิพพานตั้งอยู่โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย จึงเรียกว่า อสังขตธรรมในพระไตรปิฎกมักเปรียบนิพพานว่าเหมือนกับไฟที่ดับแล้ว ไม่สามารถบอกได้ว่าไฟที่ดับไปนั้นหายไปไหนหรืออยู่ในสภาพใด

    นิพพานเป็นธรรมที่พ้นไปจากโลก การอธิบายนิพพานโดยอาศัยพื้นฐานในทางโลกตลอดจนภาษาทางตรรกวิทยาจึงไม่อาจกระทำได้ การจำกัดความจึงมักใช้การปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ไม่ใช่ทั้งสิ่งนั้นและสิ่งนี้ ไม่มีการอุบัติ ไม่มีการจุติ ไม่มีองค์ประกอบ ไม่มีการสร้างสรรค์ ไม่มีการแตกทำลาย ไม่ใช่ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นต้น ดังปรากฏในพาหิยสูตร ความว่า "ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะรู้ (สัจจะ 4) รู้แล้วด้วยตนเอง เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมหลุดพ้นแล้วจากรูปและอรูป จากความสุขและความทุกข์..." (ขุ.ขุ.อ.25/50)

    นิพพาน - วิกิพีเดีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2013
  13. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    มีคำถาม

    ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ หรือ ทุกข์เพราะอุปทานขันธ์ ๕ หนอ ^^
     
  14. (อโศก)

    (อโศก) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +445
    ใจตรงกันเลยครับอ่านไล่ๆๆดู เห็นกะทู้นั้น กะจะแอบถามคำถามนี้เหมือนกัน555
     
  15. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ขันธ์ห้าก็เป็นทุกข์ รูปทำให้ทุกข์กาย
    อุปาทานในขันธ์ห้าก็เป็นทุกข์ อุปาทาน(ขันธ์สี่)ในขันธ์ห้าทำให้ทุกข์ใจ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2013
  16. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ถูกต้องตามท่านเลยครับ แต่อาการแรกต้องดับลมหายใจให้ได้ก่อนครับ
     
  17. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ในตัวมันเองเป็นทั้งสองอย่างครับ
     
  18. (อโศก)

    (อโศก) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +445
    ต้องมีตัวกู ของกูก่อนสิครับ จึ่งมีความรู้สึกว่ามีผู้ทุกข์ อย่างรูปนี้คือรูปของกู และรูปนี้กำลังเสื่อมไปตามเวลา เช่น มันกำลังเหี่ยว กำลังเจ็บไข้
    ดังนั้นมันจึ่งนำความทุกข์มาให้กู

    ดังนั้นขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวทุกข์ แต่ความยึดมั่นถือมั่นว่าขันธ์5 นี่แหละคือกูหรือของกู ด้วยความไม่รู้

    จึงทุกข์

    ถ้าไม่มีความรู้สึกว่าเป็นกูของกูเสียแล้ว แม้รูปมันจะกำลังเหี่ยว กำลังเจ็บไข้ กำลังแตกดับไป
    มันก็ทุกข์ไม่ได้ เพราะไม่มีตัวผู้ทุกข์อยู่ตรงนั้น

    ปล.อ.น้านิว เริ่มแต่งคัมภีร์ใหม่อีกแล้ว
     
  19. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    อโศกะ ขันธ์ทั้งหลายเป็นทุกข์หนอ มันทุกในตัวมันเองอยู่แล้ว ไม่มีอะไรจะทุกข์เท่ากับขันธ์5อีกแล้ว ส่วนอุปานขันธ์มันเป็นเหตุทำให้เกิดภพ แต่ตัวทุกข์จริงๆที่มันต้องทุกข์คือขันธ์นี่แหละ ส่วนจะไปแก่ทุกข์มันแก้ตรงอุปาทานไม่ได้หรอกตราบใดยังมีตัณหาอยู่มันก็มีอุปาทานตลอดนั้นแหล่ะ จะดับตัณหาก็ต้องดับที่รูปนาม
     
  20. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ดับตัณหา ก็ต้องดับที่รูปนาม
    วันก่อนคุณนิวดับสังขาร
    วันโน้นดับอวิชชา
    วันนี้ดับรูปนาม
     

แชร์หน้านี้

Loading...