อย่าเลยพระพุทธเจ้า อย่าเลยครูอาจารย์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปุณฑ์, 28 มีนาคม 2013.

  1. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อันนี้ไม่ทราบว่าพระวจนะไหม
    หรือเขาคงถ่ายทอดมาด้วยความเข้าใจ น่าสนใจดี

    ขอบูชาคุณพระรัตนตรัย

    1. ผู้ว่าง่ายเพราะพิจารณาด้วยปัญญาแล้วเห็นตามความเป็นจริงว่าสิ่งใดถูก ผิด จึงว่า
    ง่าย น้อมประพฤติปฏิบัติเพราะพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว ดังนั้นเมื่อเป็นปัญญาจึงไม่ใช่
    ทำตามเพราะอกุศล เพราะปัญญาเป็นอกุศลไม่ได้เลย
    ผู้เชื่อง่ายเพราะไม่ได้พิจารณาด้วยปัญญา เชื่อตามเพราะตรงตามความคิดของตนและขาดปัญญา เป็นต้น จึงเป็นอกุศล

    2. ผู้ว่ายาก ว่ายากเป็นศัพท์ที่แสดงถึง การไม่ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง แม้จะได้
    รับคำแนะนำจากบัณฑิต ดังนั้นการนำศัพท์นี้มาใช้ในทางที่ว่ายากที่จะไม่เชื่อในทางผิด
    หรือเป็นอกุศลก็ต้องให้เข้าใจให้ตรงกัน ดังที่มีคำพูดที่ว่า ดื้อที่จะไม่เป็นอกุศล ดื้อที่จะไม่เชื่อในสิ่งที่ผิด
    แต่ถ้าเป็นผู้ว่ายาก จะใช้กับความหมายที่ว่า ไม่ประพฤติปฏิบัติตาม
    ในสิ่งที่ถูก เมื่อผู้อื่นแนะนำหรือพระธรรมที่ทรงแสดงไว้

    3. ผู้ว่าง่ายเป็นกุศลเท่านั้นเพราะพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว จึงว่าง่ายน้อมประพฤติปฏิบัติ
    ตาม ว่ายากเป็นอกุศลเท่านั้นเพราะ ไม่เชื่อในสิ่งที่ถูกและไม่ประพฤติปฏิบัติตามในสิ่งที่ถูกจึงเป็นอกุศล

    ผู้ว่าง่าย กับ ผู้ว่ายาก
     
  2. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    คำพูดคุณอ้างเป็นพระวจนะ มิใช่หรือ..
    จึงควรยกพระวจนะ มาเทียบ

    คิดว่า พระวจนะถ่ายทอดมาด้วยใครก็ได้ ถึงเป็นเช่นนี้เอง
    จะมีพระวจนะมาถึงวันนี้ได้อย่างไร ถ้าขาดคนปฏิบัติ
     
  3. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทำ
    ให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีโดยเบื้องขวา ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่ายเป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนี
    โดยเบื้องขวา นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ

    ภิกษุเป็นผู้มีสัญชาติแห่งคนว่ายาก ความว่า เป็นผู้ว่าได้โดยยาก
    ประกอบด้วยธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับอนุสาสนี
    โดยเบื้องขวา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 เมษายน 2013
  4. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    การพบเห็นอริยบุคคล ก็ดี
    การอยู่ ณ ที่เดียวกับเหล่าอริยบุคคล ก็ดี
    ทำให้เกิดสุข ทุกเมื่อ
    เธอทั้งหลาย จงคบหา ผู้ที่เป็นปราชญ์
    เป็นพหูสูต เป็นอริยบุคคล เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาดี
    เพราะการได้อยู่ร่วมกับปราชญ์ ก่อให้เกิดสุข

    เหมือนการสมาคม แห่งหมู่ญาติ อันเป็นที่รัก
    ย่อมมีแต่ความสุข ฉะนั้น.
    .
    เธอทั้งหลาย
    จงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นสรณะ
    จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะ อยู่เถิด
    อย่ามีสิ่งอื่น เป็นสรณะเลย.
    .
    เธอ พึงเป็น ผู้มีสติ
    พิจารณา กายในกาย อยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียได้
    พิจารณา เห็นเวทนาในเวทนา อยู่ ฯ
    พิจารณา เห็นจิตในจิต อยู่ ฯ
    พิจารณา เห็นธรรมในธรรม อยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียได้
    ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติ อย่างนี้.

    เธอ พึงเป็น ผู้มีสัมปชัญญะ.............กระทำความรู้สึกตัว
    ในการก้าวไป การถอยกลับ การคู้เข้า เหยียดออก ฯลฯ
    การเดิน ยืน นั่ง นอน การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง
    ภิกษุ พึงเป็น ผู้มีสัมปชัญญะ อยู่.
    .

    นี้เป็น อนุศาสนีของเรา สำหรับเธอทั้งหลาย.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 เมษายน 2013
  5. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    เยี่ยมนี่ล้วนมาจากพุทธวจนทั้งนั้นเลย พุทธวจนช่างประเสริฐยิ่ง
     
  6. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    (คัดมาเฉพาะบางส่วน)

    การพบเห็นอริยบุคคล ก็ดี
    การอยู่ ณ ที่เดียวกับเหล่าอริยบุคคล ก็ดี
    ทำให้เกิดสุข ทุกเมื่อ
    เธอทั้งหลาย จงคบหา ผู้ที่เป็นปราชญ์
    เป็นพหูสูต เป็นอริยบุคคล เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาดี

    เพราะการได้อยู่ร่วมกับปราชญ์ ก่อให้เกิดสุข
    เหมือนการสมาคม แห่งหมู่ญาติ อันเป็นที่รัก
    ย่อมมีแต่ความสุข ฉะนั้น.
    .
    .นี้เป็น อนุศาสนีของเรา สำหรับเธอทั้งหลาย.
     
  7. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    พุทะวจนให้ความกระจ่างสว่างไสว
     
  8. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ความรู้ทังหมดเอามาจากไหน ความรู้ทั้งหมดเอามาจากพุทธวจน แสดงว่าพุทะวจนสำคัญมาก

    และใครเป้นผูเผยแผ่พุทธวจน ก็ต้องบอกว่าพุทธบริษัท4 แสดงว่าพุทะบริษัท4สำคัญมาก

    และพุทฑบริษัท4ที่น่าเข้าไปหาก็คือพุทธบริษัท4ที่แสดงแต่พุทธวจนโดยส่วนมาก

    และเราจะศึกษาพุทธวจนได้ที่ไหน1 ครูอาจารย์ที่แสดงพุทธวจน มีอยู่มากพอสมควร 2 จาก

    พระไตรปิฎกฉบับ บาลีสยามรัฐเพราะไม่มีการแต่งใหม่เพิ่มจากหลักฐานเก่าเท่าที่เรามีอยู่
     
  9. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ต้องบอกว่าเเม้อรรถกถาเอง ก็ยังอธิบายไม่ตรงกับที่เค้าแปลไว้อยู่เเล้ว
    ตรงช่วงคำว่า "ที่ตถาคตกล่าวเเล้ว' หรือถ้าให้แปลอย่างสมบูรณ์ คือ คำกล่าวของตถาคต "
    จะใช้คำว่า ตถาคตภาสิตา หรือ ตถาคตภาษิต เหมือนกัน
    ฉนั่น อรรถกถาไม่ยึดหลักตรงนี้ ในการอธิบาย สาวกภาสิตา เเต่ไปอธิบายตามวิสัยทัศว่า เฌรน้อย หรือ พระหนุ่ม ที่ยังไม่เป็นเถระ ยังบวชน้อย หรือ อุบาสก อุบาสิกา คือยังร้ายเดียงสาอยู่อาจเข้าใจความหมาย ที่เรียกว่า สาวกภาษิต ผิดไป กลายเป็นนึกว่า สอนธรรมมกถึก หรือ ธรรมเพื่อความหน่ายในการเกิด
    ซึ่งจริงๆ ตรงนี้มันคือความเห็นชัดๆ เเละไม่ถูกต้องเสมอไปว่าพวกเค้าต้องคิดว่าคือ ธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพราะตอนนี้อย่างน้อยเท่าที่เห็นเพื่อมานะ ถือตัวร่วมด้วย
    ฉนั้นถ้าอรรถกถาแปลตรงๆ จะได้ตามที่เค้าแปลไว้อยู่เเล้ว
    สาวกภาสิตา หรือ สาวกภาษิต แปลตรงๆตามพระสูตร. คือ "คำกล่าวของสาวกนั่นเอง"
    ส่วน ประโยคว่า พาหิรกา ที่อรรถกากล่าวว่า มีภายนอกศาสนา เป็นของภายนอก หรือจะไปเรียกว่า ของนอกศาสนาก็ได้ ไม่ว่ากัน
    ก็ต้องไล่เรียงประโยคก่อนหน้าดีๆ ในพระสูตรบอกว่า สุตตะที่รจนาขึ้นมา มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอก (สาวกภาษิต)เป็นคำกล่าวของสาวก
    จับใจความดีๆจะเห็นว่า ที่พระองค์ตรัสตั้งเเต่ สุตตะที่รจนาขึ้นใหม่ มีอักษรวิจิต สรุปคือคำสอนที่สาวกเเต่งขึ้นมา หรือกล่าวเอง ไม่ใช่ ตถาคตภาษิต
    กรณียกตัวอย่าง ปัจจุบันที่มีคำสอนที่ว่าให้รดน้ำมนตร์ดวงจะได้ดี ตรงนี้จะเห็นว่าเป็นคำ่าวของสาวก. เเต่ไม่ใช่คำกล่าวของตถาคต
     
  10. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419



    ลองดูตรงวรรคนี้ดีๆ
    จะเป็นเชิงเปรียบเทียบคำสอนของสาวก กับ ตถาคต

    1

    บริษัทใดในธรรมวินัยนี้เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ท่านผู้เชี่ยวชาญรจนาไว้เป็นบทกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร อยู่ภายนอก (๑) เป็นสาวกภาษิต(สาวกกล่าวไว้)




    2

    แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ ตถาคตกล่าวไว้(ตถาคตภาษิต) ล้ำลึก มีเนื้อความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตธรรม ประกอบด้วยความว่าง ภิกษุเหล่านั้นกลับตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่ให้ความสำคัญธรรมว่าควรเรียน
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    บทแทรก :

    ถ้า จำไม่ผิด หลักไวยกรณ์ของ ภาษาบาลี จะต้องแปลจาก หลังมาหน้า

    คือ ตัวนาม จะอยู่ท้ายประโยค ส่วนคำก่อนหน้า จะเป็นพวก คุณศัพท์

    เช่น ภาษาไทยเขียนว่า รถสีแดงวิ่งด้วยความเร็ว พอเป็นบาลี ก็จะ
    " เร็วจังแถมยังแดงรถคันนั้น " อะไรประมาณนี้

    " พาหริกา สาวกภาษิต " คำว่า พาหริกะ มาใส่ สระ อา นี่เริ่มแสดง
    การเป็นศัพท์คำขยายความ " อา โอ อุ อิ " เป็นตัวแปลงรูปศัพท์
    ปรมาณ " walk เติม ing " key เปลี่ยน y เป็นไอแล้วเติมซุปเปอร์แมน


    ***********

    กลับไปที่ " รถสีแดงวิ่งด้วยความเร็ว " จะเห็นว่า อันนี้เป็น ภาษาไทย
    ไวยกรณ์แบบไทย พยัญชนะไทย ความที่ "จิต" รับรู้ได้ง่าย อันนี้เรียก
    ว่า ความวิจิตรของอักขระวิธี

    ส่วน " เร็วจังแถมยังแดงรถคันนั้น " อันนี้ ก็จะจัดว่าเป็น ภาษาบาลี ไป
    เพราะอำนาจของไวยากรณ์ แต่ พยัญชนะ เป็นไทย ความที่ พยัญชนะ
    ไทยทำให้ " รู้อรรถได้เร็ว " ตรงนี้เรียกว่า " พยัญชนะวิจิตร "

    มาถึงตรงนี้ ต้องขอนุญาติ ร้องเพลง แหะ

    " จงภูมิใจเถิด ที่เกิดเป็นไทย ......."
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 เมษายน 2013
  12. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    สรุปง่ายๆเลยอรรถกาสูตร ไม่ยอมรับคำที่เค้าแปลไว้เป็นรูปประโยค ที่เค้าแปลไว้อยู่
    เเต่จะเเยกแปลที่ละคำ ตามความเห็น ซึ่งไม่ใช่หลักการศึกษาอย่างเเท้ เเละทำให้ศึกษาไม่รู้เรื่องเเน่นอน
    อย่างแปลคำว่า สาวกถาสิตา ไปประต่อกับเรื่องศาสดาของพวก พาหิรก ตรงนี้อรรถกถาไม่ยอมบอกว่ามีอยู่ที่ไหน เเต่เข้าใจว่า พาหิรกา แปลว่านอกศาสดา เท่านั่น เเละไม่ใช่ว่า สาวกภาษิตต้องแปลอย่างนี้อีก แปลคนละเรื่องเลย
    ถ้าอรรถกถาแปลทีละคำจะได้อย่างนั้นเอง
    เเต่ต้องดูที่เค้าแปลอยู่ คือ "เป็นเรื่องภายนอก เป็นคำกล่าวของสาวก"
    ถ้าหากไม่ดูศัพท์อื่นที่มาก่อนหน้านี้ เช่น" คำกวีที่รจนามา มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร"
    เเละถ้าตัดช่วงนี้ออกไปจะไม่รู้ความหมายของ พาหิรกา อย่างเเท้จริงเลย เเต่จะไปแปลตามตัวอักษรเท่านั้นว่า พาหิรกา สาวกภาษิต
    ซึ่งต้องรู้ความหมายของคำว่า เรื่องภายนอก ดีๆก่อน เเละถึงจะเห็น สาวกภาษิต เด่นขึ้นเอง
    ไม่ใช่สรุปเพียง2ประโยคนี้เท่านั้น
     
  13. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระสูตรนี้กล่าวถึงความเป็นเลิศ ของ บุคคล 2 ประเภท...หรือบริษัท2บริษัท ที่ต่างกันในแง่ของการเลือกความฉลาดในการแยกแยะแทงตลอด ในธรรม.....คือบริษัทชื่อว่า ปฎิปุจฉาวินิตาปริสาโนอุกกาจิตวินิตา(พระวจนะ---ส่วนสุตตันตระเหล่าใด อันเป็นตถาคตภาษิต อันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็นโลกุตระ ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำสุตตรันตระเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อเข้าไปรู้ทั่งถึง และ ย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน พวกเะอเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว ก้สอบถามวึ่งกันและกัน ทำให้เปิดเผย แจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป้นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้ เธอเหล่านั้น เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผย ได้หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยนั้น มีอย่างต่างต่างได้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฎิปปุจฉาวินิตาปริสาโนอุกกาจิตวินิตา):cool:
     
  14. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    อันที่จริงเราก้เป็น บริษัทด้วยกันทั้งหมดแหละ หลวงปู่ หลวงพ่อ หลวงตาที่ท่าน หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด เราท่าน สนทนากัน จึง น่าจะได้ชื่อว่า บริษัทเป็นเลิศ คือ ปฎิจปุจฉาวินิตาปริสาโนอุกกาจิตวินิตา..ด้วยกันทั้งนั้น คือ การสอบถามซึ่งกันและกัน พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร.....................อย่างแรกคือ อ่านพระสูตรนี้ให้แทงตลอดก่อน...........ว่าเป็นการกล่าวชมบริษัทที่เลิศที่มีความขวนขวายขยันที่จะรู้ ไม่ใช่การกล่าวถึง...ตัวธรรมอื่นอื่นที่ไม่ว่าจะเป้นบทกวี หรือพระสูตรเองก็ตาม....เข้าใจ ป่ะ:cool:
     
  15. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ
    เป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิต
    ไว้ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ไม่
    ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง

    อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตน"ควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ"
    เมื่ิอไม่ศึกษาคำตถาคต. ย่อมไม่เข้าใจธรรมที่ตน ควรเล่าเรียน

    แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้รจนาไว้ เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก ซึ่งสาวก
    ได้ภาษิตไว้ ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง

    อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน
    (เวลาเข้าใจธรรมที่ควรเรียน เเล้วกลับมาเรียน)
    ท่องขึ้นใจ" ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว"

    ไม่สอบสวน ไม่เที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้
    (ก็ไม่ยอมสอบสวน ไม่เที่ยวไต่ถาม อรรถที่ลึกซึ่ง คือตถาคตภาษิต ก็ไม่ตื่น)
    อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ไม่
    ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย
    หลายอย่างเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่าบริษัทดื้อด้านไม่ได้รับการ
    สอบถามแนะนำ

    (ตรงเนี่ยพระองค์อธิบายคำพระองค์ที่เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ่ง ไม่ใช่คำสอนสาวกที่ความหมายซึ่ง)!
     
  16. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    พุทธวจนนั้นเป็นสิ่งอันมีคุณค่ามาก เมื่อมีผู้ที่นำเสนอค้นคว้าตังใจชี้ชัดตรงประเด็น เราน่าจะมาช่วยกันสนับสนุนเพื่อเป็นการส่งเสริมเพื่อใหได้ความรู้ที่ตรงและมากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้เพื่อประโยชน์ของตวเราและผู้อื่นสืบต่ออกันไปชั่วกาลนาน
     
  17. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ
    เป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิต
    ไว้ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ไม่
    ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่า
    นั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้
    รจนาไว้ เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก ซึ่งสาวก
    ได้ภาษิตไว้ ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง
    อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้น
    เรียนธรรมนั้นแล้ว ไม่สอบสวน ไม่เที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้
    อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ไม่
    ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย
    หลายอย่างเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่าบริษัทดื้อด้านไม่ได้รับการ
    สอบถามแนะนำ

    ^
    จะสรุปไว้ให้เเล้วกลับไปอ่านใหม่ เเบบภาษาพื้นๆเลยนะ เเล้วเทียบเคียงเอา
    บริษัทที่ดื้อด้านนี้ พอคนมาเเสดงธรรมตลาดคตภาษิต ก็ไม่ยอมฟัง
    พอมีคำเอาสาวกภาษิตมาก็ เงี่ยโสตฟัง
    เวลามีคำตถาคต โดยเป็นบริษัทที่ไม่ฟังคำตถาคตอยู่เเล้ว
    ก็ไม่สอบถาม. อรรถที่ลึกก็ไม่ตื่นเเก่เขา
     
  18. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เผอิญไม่เก่งบาลี
    แต่ก็เห็น พระ(ท่านคงเก่งบาลีกระมัง)ท่านแยกแยะหมายเหตุของท่านไว้ด้านล่างชัดเจนแล้วนะคือ
    1 สีเทา ไปขยายสีดำ
    2 สีเทาและสีดำ ไปขยายสีเขียว

    ..บริษัทไต่ถาม ได้รับการแนะนำ และไม่ดื้อด้าน เป็นอย่างไร

    คือ.บริษัทใดในธรรมวินัยนี้....
    เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ท่านผู้เชี่ยวชาญรจนาไว้เป็นบทกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร อยู่ภายนอก (๑) เป็นสาวกภาษิต (๒) พวกภิกษุไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่ให้ความสำคัญว่าควรเรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ

    แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ ล้ำลึก มีเนื้อความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตธรรม ประกอบด้วยความว่าง ภิกษุเหล่านั้นกลับตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่ให้ความสำคัญธรรมว่าควรเรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ ครั้นท่องจำธรรมนั้นแล้ว ย่อมสอบสวนไต่ถามกันว่า “พุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ภิกษุเหล่านั้นเปิดเผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และบรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง บริษัทนี้เรียกว่าบริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการแนะนำ และ ไม่ดื้อด้าน”

    (๑)อยู่ภายนอก หมายถึงอยู่ภายนอกพระพุทธศาสนา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๘/๕๕)
    (๒)เป็นสาวกภาษิต หมายถึงเป็นภาษิตอันเหล่าสาวกของเจ้าลักทธิคนใดคนหนึ่งที่ไม่ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธสาวกได้ภาษิตไว้ (องฺ.ทุก. อ. ๒/๔๘/๕๕, องฺ.ทุก.ฏีกา ๒/๔๘/๕๓)องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๔๘/๙๑-๙๒
     
  19. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    พระสูตรเทียบเคียงแปลโดยสำนักท่านพุทธทาส




    ภิกษุ ท.! ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้จักท่าที่ควรไป เป็นอย่างไรกันเล่า ?
    ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ เมื่อเข้าไปพวกภิกษุ ซึ่งเป็นพหุสูต คล่องแคล่วในหลักพระพุทธวจนะ
    ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา, ก็ไม่ไต่ถามไม่ไล่เลียงโดยทำนองนี้ว่า
    “ท่านผู้เจริญ ท.! พระพุทธวจนะนี้ เป็นอย่างไร ?
    ความหมายแห่งพระพุทธวจนะนี้ มีอย่างไร ? ” ดังนี้ ตามเวลาอันสมควร ;
    ท่านพหุสูตเหล่านั้น จึงไม่ทำข้อความที่ยังลี้ลับให้เปิดเผย ไม่ทำข้อความอันลึกซึ้งให้ตื้น และ
    ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย นานาประการ
    ให้แก่ภิกษุนั้นได้. ภิกษุ ท.! ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้จักท่าที่ควรไป เป็นอย่างนี้แล.
     
  20. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เผอิญ เชื่อพระ
    ภิกษุที่ไม่ดื้อด้าน...
    เมื่อผู้อื่น กล่าวสูตรที่ท่านผู้เชี่ยวชาญ(กวี) รจนาเป็นบทกวี อักษรวิจิตร พยัญชนะวิจิตร อยู่ภายนอก(เป็นสุตตันตะภายนอก)
    หรือ สาวกภาษิต (สาวกภาษิตของผู้ที่อยู่ภายนอก) ก็ไม่เงี่ยหูฟัง
    เมื่อผู้อืน กล่าวสูตรที่พระตถาคตกล่าวไว้ เนื้อความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ก็เงี่ยหูฟัง

    ภิกษุที่ดื้อด้าน...(ทำนองนี้ในทางกลับกัน)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำเป็นไฉน
    ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้
    เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิต ไว้ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ
    เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ไม่ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ
    ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง
    อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ
    แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้รจนาไว้
    เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก ซึ่งสาวก
    ได้ภาษิตไว้
    ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง
    อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ
    ....ภิกษุเหล่านั้น เรียนธรรมนั้นแล้ว ไม่สอบสวน ไม่เที่ยวไต่ถามกันและกัน
    ว่าพยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผยอรรถ
    ที่ลี้ลับ ไม่ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้ง
    แห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่าบริษัทดื้อด้าน
    ไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ

    ก็ต้องดูอรรถกถา..
    ในสูตรที่ ๖ [ข้อ ๒๙๒] มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
    บทว่า โอกฺกาจิตวินีตา ได้แก่ ฝึกสอนยาก.
    บทว่า โน ปฏิปุจฺฉาวินีตา ได้แก่ ไม่เป็นผู้รับฝึกสอนโดยสอบถาม.
    บทว่า คมฺภีรา ได้แก่ ลึกโดยบาลี เช่นจุลลเวทัลลสูตร.
    บทว่า คมฺภีรตฺถา ได้แก่ ลึกโดยอรรถ เช่นมหาเวทัลลสูตร.
    บทว่า โลกุตฺตรา ได้แก่ แสดงอรรถเป็นโลกุตระ.
    บทว่า สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา ได้แก่ ประกาศเพียงที่เป็นสุญญตธรรม ๗ เท่านั้น เช่นอสังขตสังยุต.
    บทว่า น อญฺญาจิตฺตํ อุปฏฺฐเปนฺติ ได้แก่ ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ คือหลับเสียบ้าง ส่งใจไปที่อื่นเสียบ้าง.
    บทว่า อุคฺคเหตพฺพํ ปริยาปุณฺตพฺพํ ได้แก่ ที่จะพึงถือเอาด้วย ที่จะพึงเล่าเรียนด้วย.
    บทว่า กวิกตา ได้แก่ ที่กวีแต่ง.
    บทว่า กาเวยฺยา นอกนี้เป็นไวพจน์ของบทว่า กวิกตา นั้นเอง.
    บทว่า จิตฺตกฺขรา แปลว่า มีอักษรวิจิตร.
    บทว่า จิตฺตพฺยญฺชนา นอกนี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า จิตฺตกฺขรา นั้นเหมือนกัน.
    บทว่า พาหิรกา ได้แก่ เป็นสุตตันตะนอกพระศาสนา.
    บทว่า สาวกภาสิตา ได้แก่ ที่พวกสาวกของพาหิรกศาสดาเหล่านั้นกล่าวไว้.
    บทว่า สุสฺสูสนฺติ ความว่า มีใจแช่มชื่นตั้งใจฟังอย่างดี เพราะมีอักษรวิจิตร และสมบูรณ์ด้วยบท.
    บทว่า น เจว อญฺญมญฺญํ ปฏิปุจฺฉนฺติ ความว่า มิได้ถามเนื้อความ อนุสนธิ หรือเบื้องต้นเบื้องปลายกันและกัน.
    บทว่า น ปฏิวิจรนฺติ ความว่า มิได้เที่ยวไปไต่ถาม.
    บทว่า อิทํ กถํ ความว่า พยัญชนะนี้ พึงเข้าใจอย่างไร คือพึงเข้าใจว่าอย่างไร.
    บทว่า อิมสฺส กฺวตฺโถ ความว่า ภาษิตนี้มีเนื้อความอย่างไร มีอนุสนธิอย่างไร มีเบื้องต้นและเบื้องปลายอย่างไร.
    บทว่า อวิวฏํ ได้แก่ ที่ยังปกปิด.
    บทว่า น วิวรนฺติ ได้แก่ ไม่เปิดเผย.
    บทว่า อนุตฺตานีกตํ ได้แก่ ที่ไม่ปรากฏ.
    บทว่า น อุตฺตานีกโรนฺติ ความว่า มิได้ทำให้ปรากฏ.
    บทว่า กงฺขาฏฺฐานีเยสุ ได้แก่ อันเป็นเหตุแห่งความสงสัย.
    ฝ่ายขาวก็พึงทราบตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
    จบอรรถกถาสูตรที่ ๖

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=287
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 เมษายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...