สอบถามการนั่งสมาธิโดยใช้พุทโธ ครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย degba4567, 25 มีนาคม 2013.

  1. degba4567

    degba4567 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +348
    คือผมปฏิบัติสมาธิแล้วเจอปัญหาครับ จึงอยากถามขอคำชี้แนะจากท่านผู้รู้ครับ
    1. ผมถูกปลูกฝังให้นั่งสมาธิแล้ว ลมหายใจเข้าพุธ ลมหายใจออก โธ มาตั้งแต่เด็กครับ แล้วทีนี้ในช่วงนี้เวลาทำแบบนี้แล้วกลับกลายเป้นว่าไปกำหนดมากไปแล้วรู้สึกเหมือนใจจะขาดครับ ต้องหายใจแรงขึ้น เร็วขึ้นเรื่อยๆ ทำให้นั่งไม่ได้เลยครับ หลับตาลงแล้วเป้นเลย ทั้งที่แต่ก่อนไม่เคยเป็น ผมต้องแก้ยังไงครับ
    2. บางครั้งที่จิตมันวุ่นมากๆผมจะใช้วิธีการแบบหลวงปู่เจี๊ยะ คือ ไม่จับลมหายใจแต่ท่องพุทโธเร็วๆ แต่ได้แป๊บเดียวเองครับ มันก็จะกลับมาจับลมหายใจพร้อมกับพุทโธเหมือนเดิม แล้วจากนั้นก็จะย้อนกลับมาเป้นแบบข้อแรกคือเหมือนใจจะขาด แล้วก็จำเป้นต้องลืมตาอีก จนทำอะไรไม่ได้เลยครับ แย่มาก
     
  2. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    มีสองทาง
    1. นั่งสมาธิ ภาวนาพุทโธไปเรื่อยๆ ดูสิว่า ใจมันจะขาดจริงไหม หรือสิ่งปรุงแต่งจะขาดก่อนกัน ลองถวายชีวิตไปเลย

    2. แต่... ถ้าทำไม่ได้ หรือ ลองทำแล้ว ยังไงก็ไม่ผ่าน
    ตอนนี้ พุทโธ มันหนักใช่ไหม? ก็วางพุทโธลงเสีย แล้วอยู่กับลมหายใจอย่างเดียว โดยไม่ต้องมีพุทโธ
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    อาการจุกอกตอนภาวนานั้น ทีนี้นะครับ ให้คุณหายใจเข้าออก ลึกๆช้าๆ สัก ๑๐ รอบลมหายใจ เป็นการเตรียมระบบลมหายใจ ระบายลมหยาบออกก่อนนะครับ อาการจะดีขึ้นเอง.....
     
  4. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    เมื่อก่อนผมก็เป็นครับ

    ตอนนี้ไม่เกร็งแล้ว รู้สึกสบายๆ

    ผมทำแบบนี้ครับ

    1. ผมเริ่มจับลมหายใจออกก่อน(ตามวินัยปิฎก วิสุทธิมรรค วิมุตติมรรค)
    พระสูตรจะต่างออกไปคือ เริ่มจับลมหายใจเข้าก่อน
    (ผมคิดว่าเป็นความผิดพลาดในการแปล)

    2.ผมออกกำลังกาย วิ่งบ้าง เดินบ้าง โดยไม่อ้าปาก ดูแต่ลมหายใจที่จมูก
    (เพื่อจับจังหวะการหายใจ แบบที่เราไม่ได้ควบคุม)

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  5. AYACOOSHA

    AYACOOSHA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +2,253
    ผมก็ใช้วิธีพุทธ-โธ อยู่นะครับ ยังไม่เคยเจอปัญหาแบบคุณเลย มีแต่ปัญหาว่าติด เลิกไม่ได้ ทิ้งคำว่าพุทธ-โธ ไม่ได้เท่านั้นเองครับ...ยิ่งนั่งยิ่งสงบเร็วขึ้น ยังไงก็ขอเป็นกำลังใจให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดีนะครับ...สวัสดี
     
  6. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ปัญหาแบบนี้ผมก็เคยเป็น และมีหลายคนในเวปนี้ก็เป็นกันหลายคน
    ผมได้ตอบไว้หลายครั้งแต่ก็มีคนที่จะเชื่อก็น่าจะน้อย
    ผมจะตอบเสมอว่าการปฏิบัติทุกชนิดเป็นฌานทั้งหมด แต่ผมไม่ได้ตอบให้ชัดว่าเป็นฌานแค่ไหน อย่างไร ครั้งนี้จะตอบให้ชัดลงไปอีกว่า
    การปฏิบัติที่มีองค์กำหนด ไม่ว่าจะกำหนดว่าอย่างไรก็ตาม การปฏิบัติไปได้ขั้นสูงก็เป็นรูปฌานที่ ๔ เท่านั้น แต่บางคนอาจมีวิถีส่งของสมาธิสูงสามารถส่งไปถึงอรูปฌานได้ แต่จะไปค้างที่อรูปฌานนั้นๆ(ฌาน ๕-๙) ปฏิบัติต่อไปไม่ได้
    เพราะองค์กำหนดจะเป็นตัวบังคับให้วิถีจิตติดในรูปฌาน(ฌาน ๑ - ๔)
    ของคุณที่ว่ามาเป็นรูปฌานที่ ๓ ขึ้นสู่ฌานที่ ๔ สมาธิกำลังเข้าสู่ความเป็นหนึ่ง จะมีสภาวะทิ้งรูปทั้งหมด ไม่ว่าร่างกาย หรือรูปกำหนดทั้งหลายเช่นว่าพุทโธเป็นต้น หากคุณไม่ยอมทิ้งพุทโธ สภาวะจะบังคับคุณอยู่อย่างนี้ จนแทบจะปฏิบัติต่อไปไม่ได้ ผู้ปฏิบัติแบบมีองค์กำหนดเมื่อมาถึงตรงนี้หลายคนผ่อนการปฏิบัติลง สภาวะนี้หายไปก็มี บางคนกำหนดอยู่แต่มีบางช่วงลืมกำหนด จิตดิ่งผ่านจุดนี้ได้ก็มี แต่เมื่อเต็มฌาน๔ จะไม่มีองค์กำหนด หากกำหนดก็เป็นการถอยฌานกลับมาอีก
    ผมแนะนำการปฏิบัติชั้นฌานสมาบัติต่อ โดยเพ่งไว้กลึ่งกลางใบหน้าไม่ต้องกำหนดอะไร พยายามบังคับให้มันอยู่กลึ่งกลางอยู่อย่างนั้น สภาวะอย่างเดิมก็จะมีแต่จะไม่รุนแรง หากเพ่งแรงหากว่าสภาวะแรง ก็ให้ผ่อนการเพ่งลง วางอารมณการเพ่งให้พอเหมาะแก่กำลัง เมื่อเพ่งไปเรื่อยๆจะปรากฏอาการตรึงบริเวณดั้งจมูก(องค์ฌานสมาบัติเริ่มเกิด) ต่อๆไปจะเป็นคล้ายกับเข็มแทง(สติและสมาธิสูง ฌานจะสูงขึ้นเรื่อยๆ)
    การเพ่งฌานนี้เมื่อขึ้นสู่อรูปฌานก็ปฏิบัติเช่นนี้ เช่นเดิม คุณจะได้พบกับความจริงที่เป็นปรมัติ เหนือคำอธิบายจริงๆ
    ฟังดูเหมือนง่าย ความจริงแล้วทำยากครับ ตรงที่ประคองให้มันอยู่ตรงกลางนี้ละครับยากมาก แต่สภาวะธรรมจะสูงมาก หากจะทำฌานสมาบัตินี้ ตำรับ ตำราต่างๆ วางไว้ก่อน ทำไปสักปีหรือ ๒ ปีแล้วค่อยมาเปิดตำราดู คุณจะรู้ว่าตำราไหนถูกหรือไม่ถูกอย่างไร
    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2013
  7. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ข้าพเจ้าเอง ก็เคยได้รับการสอนให้นั่งสมาธิแบบใช้ พุทโธ เป็นเครื่องกำกับลมหายใจเข้าออก แต่ข้าพเจ้า ชอบเพ่งกสิณ มากกว่า ข้าพเจ้าจึงมักจะฝึกสมาธิโดยใช้กสิณ
    การใช้ พุทโธ เป็นเครื่องกำกับลมหายใจเข้าออก เมื่อนั่งสมาธิ เมื่อก่อนสมัยเป็นเด็ก ก็ไม่เข้าใจดอกขอรับ ครูอาจารย์สอนใจก็ทำตาม โดยไม่ได้คิดพิจารณาอะไร ต่อมา จึงพบว่า การนั่งสมาธิ โดยใช้พุทโธ หรือ อื่นใด กำกับลมหายใจเข้าออก ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกหลักวิธีแห่งการปฏิบัติสมาธิขอรับ
    แต่ การใช้ พุทโธ กำกับ หรือ ระลึกนึกถึง คำว่า พุทโธ นั้น จัดเป็น "อนุสติ" ขอรับ ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติที่แตกต่างจากกัน
    การนั่งสมาธิ หรือ ปฏิบัติสมาธิที่ถูกต้อง ควรใช้กสิณ เพียงอย่างเดียวขอรับ ถ้าจะปฏิบัติสมาธิด้วย กสิณลม (คือลมหายใจ) ก็กำหนดลมหายใจ คือ รวมจิตไว้ที่ลมหายใจ ไม่ต้องคิดสิ่งใด ไม่ต้องเห็นสิ่งใด ไม่ต้องรู้สึกสัมผัส ไม่ต้องได้ยินสิ่งใด คำว่าไม่ต้องได้ยิน หมายความว่า ได้ยิน แต่ไม่คิดตาม ไม่ระลึกนึกถึงตาม นั่นก็คือ ไม่วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข ตามเสียง หรือ การสัมผัสอื่นใด นั่นแหละคือ "สมาธิ" จะเรียกว่า "ฌานที่๔" ก็ได้ขอรับ
     
  8. chatyamn

    chatyamn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    664
    ค่าพลัง:
    +4,058
    "พุทโธที่ว่านี้เป็นดวงแก้วงามล้ำค่า ประเสริฐเลิศในโลกา ฉลาดรอบรู้เหนือใด เขาถามว่า พุทโธ ใหญ่โตนั้นสักเท่าไหร่ ท่านตอบไม่เล็กไม่ใหญ่ ทั้งนอกทั้งในกำลังพอดี"

    (ครั้งหนึ่งที่ชาวเขา ถามหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นตอบชาวเขา)

    อ่านข้อความของคุณเลยร้องเพลง ที่เพลินพรหมแดน แต่งทำนองประวัติมั่นหลวงปู่มั่นไว้....
     
  9. RYO

    RYO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2005
    โพสต์:
    153
    ค่าพลัง:
    +456

    กรรมฐานทั้ง40กองต่างก็เป็นทั้งวิปัสนาและและสมถะครับ แต่ว่าแต่ในละกองนั้นจะอยู่ในอัตราส่วนที่ต่างกันครับ เช่นกสินจะทางสมถะมาก อสุภกรรมฐานจะเน้นวิปัสนามาก แต่การภาวนาพุทธโธ ผมคิดว่าน่าจะครึ่งๆ ท่านอาจารย์มั่นท่านก็สอนให้ภาวนาพุทโธ
     
  10. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ให้ใคร่ครวญมาที่ ธรรมชาติชื่อ สัมปชัญญะ

    สัมปชัญญะ นั้นเราจะ พิจารณาได้สองาทาง ทางหนึ่งคือ ให้เห็นกายให้ชัดๆ

    กายยังอยู่ กายยังปรากฏ ตัวนี้จะมี ความหนักแน่นในเชิงปัญญา ความกล้าหาญ
    บางครั้งเราจะพบคำว่า ปัญญาดั่งแผ่นดิน หรือ เกิดความรู้สึกราบเรียบไปเสมอ
    ปฐวีธาตุ ซึ่ง " ความรู้สึกว่ามีตัวตนจะถูกกระเทาะให้หายไป "

    "ความรู้สึกว่ามีตัวมีตน มีเรา มีเขา " ตัวนี้หากแทรกเข้ามา การปฏิบัติจะเกิด
    อาการเอา เจตนาเข้าไปเจือ ตรงนี้จึงเกิดการหนัก แน่น แข็ง หื่น หรือ ไฟสุม
    ขอน เหมือนฟืนมันเปียกแต่เราหายใจเพื่อสุมให้ไฟมันลุก มันจะไม่ลุก แต่จะ
    มัวซัว หนักแน่น ไปหมด

    *********************************************

    วิธีที่สอง คือ รู้ลมหายใจให้ชัด คำบริกรรมที่เขาว่ามีค่า มีคุณ ให้ละเสีย แล้ว
    พิจารณาไปที่ลมหายใจ ซึ่งมันจะแผ่วบางลง เอาลมหายใจเป็นกาย กายคือ
    ลม เมื่อลมเป็นพยานให้กับกาย กายคตาสติได้ ก็จะคล้ายๆ วิถีจิตข้างบน แต่
    ตรงนี้หากฝึกเข้ามาได้ จะทำให้ทราบว่า ทำไมจิตถึงไม่ลงให้กับธาตุกรรม
    ฐานแบบบริกรรมถี่ๆที่เป็น ภาระหนัก ( ความเข้าใจในเหตุ จะทำให้เกิดความรู้ลึกซึ้ง )

    *********************************************

    พอมาถึงตรงนี้ หากตัณหามันแทรก กายจะแน่นเปรี๊ยะ ต้องมีขันติที่จะพิจารณา

    "กายที่ยกพิจารณาอยู่นั้น มีความไม่เที่ยง " ตรงนี้ต้องยกสิกขาขึ้น หากไม่
    ยก ตัณหาจะพาไปเห็นผิดเรื่องกายเที่ยง จิตเที่ยง ทำให้เกิดการ หวงแหน
    กาย หรือ จิต

    พอเกิดการหวงแหน ก็จะเกิดการ กอบโกย หวงลมโกยลม หวงกายโกยปิติ
    หวงจิตโกยอุเบกขาความตั้งแช่

    ตรงนี้ ก็พิจารณา โยนิโสมนสิการให้ดีๆ น้อมไปให้ถูก จิตจะปล่อยกายหวง
    แหนกาย การหวงแหนจิต เกิดสภาวะ ข้ามฝากตาย ทั้งที่ ลมหายใจก็หายใจ
    อยู่นั่นแหละ กายคือลม ลมคือกายยังมีอยู่นั่นแหละ เพียงแต่ว่า ขันธมาร กับ
    มัจจุมาร มันมาหลอกเอา

    หากขันธมาร มัจจุมาร หลอกสำเร็จ จะเกิด อภิสังขารมาร มาหลอกให้ไขว้
    หรือเปลี่ยนอารมณ์กรรมฐาน สัมปชัญญในการยกสิกขา พิจารณาลงไตร
    ลักษณ์จะหายไปจากธรรมที่กำลังสดับ ( ความเพียรปรารภ )

    สัมปชัญญะ หายไป ความรู้สึกว่า งานไม่สำเร็จจะปรากฏ

    สัมปชัญยะ อยู่ครบ มีสติไม่หลงลืมสิกขาบท งานก็อยู่ แล้ว จะเข้าใจสิกขา
    ได้แนบแน่นขึ้น

    *******************

    ถ้าใช้การใคร่ครวญ แล้วไม่ผ่าน ก็มีอีกวิธีง่ายๆ ทีพระท่านนิยมใช้ คือ ให้
    ไปเดินจงกรม โดยนมสิการจิตที่ปักเข้าไปที่แน่นๆ เข้ามาเลย ในขณะที่
    เดิน ตรงนี้เป็นอุบายกระตุ้นให้เห็น ธรรมที่ชื่อ สัมปชัญญะ ว่ามีอยู่ หรือ
    ไม่มีอยู่ ถ้าไม่มีอยู่ โครมมมมม !! แต่ถ้าเดินได้นะ โอย ตัวปลิวได้เลย
    แต่อย่าประมาทนะ ประมาทเมื่อไหร่ มัจจุมารเอาไปกิน ไม่รู้ด้วย ( ถ้า
    เป็น พระ ตรงนี้ สู้กัน ส้นแตก เข่าแตก เขาว่างั้น ) ..... อย่าลืมนะ เป้า
    หมายอยู่ที่ ธรรมที่ชื่อสัมปชัญญะ ไม่ใช่อะไรพิศดารมากกว่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2013
  11. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    พอเราปฏฺบัติ วิจัยธรรมชื่อ สัมปชัญญะ ได้ พอเข้าอกเข้าใจ
    ถึงธรรมที่มีอุปการะมาก เราจะเริ่มเห็น พ่อแม่ ก็ สติ กับ สัมปชัญญะ
    นั่นแหละ พ่อแม่ที่กำลังสอนเรา ซึ่ง ก็คือ ตัวคุณ ไม่ใช่ ใครที่ไหน

    เมื่อ สติ สัมปชัญญะ มีความแจ้งในอรรถ เห็นสาระ เห็นสัจจ เห็นกิจ เห็นผล

    ตรงนี้จะทำให้รู้ "โยนิโสมนสิการ " ได้กระจ่างขึ้น

    ดีกว่านั้น จะรู้ " อนุโลมญาณ " ซึ่งเป็น ปัจจัยให้เกิด " โคตรภูญาณ "
    ( ได้ยินแบบนี้ อย่าเอา สัญญาลักลั่นนะ ของมันมีเกิด มีดับ ต้องมี
    การ เพียร ภาวนาให้มากๆ ....ความเป็น ปัจจัย คำว่า ปัจจัย ในศาสนา
    พุทธนั้น เป็นเรื่อง พหุลีกตา ไม่ใช่ สุกเอาเผากิน เห็น ครั้งเดียว ร้องฮานาก้า )
     
  12. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    หากอธิบายด้วย อานาปานสติ 16 ขั้น

    จิตตภาวนาที่เกิดการ พุ่งพรวดเข้าไปที่ การแน่น การจดจ่อ ตรงนี้
    เรียกว่า ความฉลาดในการเฝ้นจิตสังขาร แล้ว.....กำลังยก พิจารณาซึ่งจิต

    แต่ "การทำจิตให้บันเทิง" มันหายไป เหตุก็เพราะ สติ กับ สัมปชัญญะ
    ทำงานไม่ทัน

    ทำให้การ พิจารณาซึ่งจิต จิตปฏิสังเวที เกิดการ เพ่งเข้าไป แทนที่จะ
    รู้ แล้วละ ออกมารู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออก ตาม พุทธวัจนะที่แสดง
    ให้จิตคุณได้ยินอยู่

    ดังนั้น หากเพิ่ม หรือ ฉลาดในการ ทำ สัมปชัญญะ ให้ปรากฏ พร้อมมีสติ
    ไม่หลงลืม จิตคุณจะ บันเทิง ได้

    เมื่อมีจิตบันเทิง สภาวะธรรม ที่ชื่อ จิตตั้งมั่น จะปรากฏรส ให้เห็นอรรถสาระ

    หากเห็น จิตตั้งมั่น เป็นอย่างไร จะทำให้เกิดความรู้ว่า จิตตั้งมั่น ไม่ใช่ ฌาณ

    แต่ จิตตั้งมั่น หรือ สัมมาสมาธิ เกิดได้จากการ ขัดเกลา กิเลส นิวรณ์ จิตที่สะอาด
    ปราศจากกิเลส นิวรณ์ ย่อม เบิกบาน บันเทิง และ กล้าหาญ ได้อย่างเต็มปาก
    เต็มคำโดยไม่ต้องพูดอวดอ้าง

    พอ จิตตั้งมั่น ได้มากพอ ....ตรงนี้ยังมี การแฉลบไปตาม ธาตุกรรมฐานปรากฏ
    ได้อีก โดยที่เราไม่เจตนา

    ถ้า ยังมั่นคงใน อานาปานสติ ก็เพียงแต่ ระลึกคำสอนของพระสารีบุตร ที่ให้
    ทิ้งอุคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ใดๆ เสีย แล้ว เอา ความสิ้นกิเลส สิ้นนิวรณ์ เป็น
    อุคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต .....เพื่อ " ความฉลาดในการทำจิตให้บันเทิง " ให้
    มากๆ ทำให้ชำนาญ

    หลังจากนั้น หากจิตจะน้อมไปใน ญาณทัศนะ ก็ว่ากันไปตาม ธาตุ อำนาจของวาสนา

    แต่ถ้าจะน้อมไปเพื่อ "............" ก็อยู่ที่ การตั้งจิตให้ตรงต่อ ".........."

    **************

    จริงๆ หากเข้าใจคำว่า " อำนาจของวาสนา " การแฉลบจะเป็นเรื่อง โหลยโถ่ย
    เพราะถ้ามี " อำนาจวาสนา " ก็ไม่ต้องไปนั่ง แฉลบ แต่อย่างใด
     
  13. ผู้มีกรรม

    ผู้มีกรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +165
    เป็รกำลัวใจให้นะคะ

    ดิฉัน เพิ่งจะหัดนั่งสมาธิใหม่คะ บางครั้งก็รู้สึกแบบนี้คะ (ไม่แน่ใจนะคะ ว่าใช่หรือเปล่าคะ) ก็พยายามนึกว่า.... เรากำลังนั่งสมาธิอยู่ ลมหายใจยังมีอยู่ไม่ไปไหนหรอกน่า จะเป็นอะไรก็เป็นกัน เอาก็เอานะ ลองดู ...แค่นั้นแหละ เราลืมไปเลย ว่าหายใจอยู่นะคะ

    การหายใจพอได้คะ แต่ถ้าวันไหน จิตปรุงแต่งแสงสีขึ้นมา วันนั้นสติสตังเอาไม่อยู่คะ

    สู้ ๆ คะ
     
  14. แหวน5องค์

    แหวน5องค์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2012
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +24


    ดีแล้วครับ นี้แหละคือการปฏิบัติ อยู่อย่างงั้นแหละครับ ไม่หายใจก็ไม่ใด้ตาย จริงใหมครับ ขอให้สุขกับชีวิตครับ ดูเหมือนจิตจ่ะวุ่นๆ แต่จริงๆแล้ว
    มันคือ การปฏิบัตินั้นแหละ ขออนุโมทนา ครับ
     
  15. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    :cool:ผมเสริมให้อีกข้อครับ..ต่อจากท่านอินทบุตรและท่านภาณุเดช คือ..นั่งเฉยๆไม่กำหนดอะไรเลย..ไม่คิดอะไรเลย..นั่งเอาความสงบ
    พยายามเฉยๆๆๆๆ..หากจิตเขานึกอะไรก็ปล่อยให้คิด พอนึกได้ก็ดึงจิต..มาอยู่ที่ กาย ลม พุทธโธ..หรือ เฉยยยยย..ได้ทั้งนั้น
    พอจิตสงบมากๆแล้วคุณจะรู้สึกเองครับ..แต่อย่าหลับตั้งสติให้เด่นไว้ครับ
     
  16. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    อ้างอิง:
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ telwada อ่านข้อความ
    ข้าพเจ้าเอง ก็เคยได้รับการสอนให้นั่งสมาธิแบบใช้ พุทโธ เป็นเครื่องกำกับลมหายใจเข้าออก แต่ข้าพเจ้า ชอบเพ่งกสิณ มากกว่า ข้าพเจ้าจึงมักจะฝึกสมาธิโดยใช้กสิณ
    การใช้ พุทโธ เป็นเครื่องกำกับลมหายใจเข้าออก เมื่อนั่งสมาธิ เมื่อก่อนสมัยเป็นเด็ก ก็ไม่เข้าใจดอกขอรับ ครูอาจารย์สอนใจก็ทำตาม โดยไม่ได้คิดพิจารณาอะไร ต่อมา จึงพบว่า การนั่งสมาธิ โดยใช้พุทโธ หรือ อื่นใด กำกับลมหายใจเข้าออก ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกหลักวิธีแห่งการปฏิบัติสมาธิขอรับ
    แต่ การใช้ พุทโธ กำกับ หรือ ระลึกนึกถึง คำว่า พุทโธ นั้น จัดเป็น "อนุสติ" ขอรับ ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติที่แตกต่างจากกัน
    การนั่งสมาธิ หรือ ปฏิบัติสมาธิที่ถูกต้อง ควรใช้กสิณ เพียงอย่างเดียวขอรับ ถ้าจะปฏิบัติสมาธิด้วย กสิณลม (คือลมหายใจ) ก็กำหนดลมหายใจ คือ รวมจิตไว้ที่ลมหายใจ ไม่ต้องคิดสิ่งใด ไม่ต้องเห็นสิ่งใด ไม่ต้องรู้สึกสัมผัส ไม่ต้องได้ยินสิ่งใด คำว่าไม่ต้องได้ยิน หมายความว่า ได้ยิน แต่ไม่คิดตาม ไม่ระลึกนึกถึงตาม นั่นก็คือ ไม่วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข ตามเสียง หรือ การสัมผัสอื่นใด นั่นแหละคือ "สมาธิ" จะเรียกว่า "ฌานที่๔" ก็ได้ขอรับ


    คุณขอรับ ทำไมคุณไม่อ่านแล้วใช้สมองสติปัญญาคิดพิจารณาในสิ่งที่ข้าพเจ้าเขียนสอนให้ดีขอรับ คนอย่างคุณหรือคนแบบคุณยังมีอีกมาก หัวดื้อ ไม่รู้ไม่เข้าใจ แต่อวดว่ารู้ อวดว่าเข้าใจ (ขออภัย นะขอรับ ข้าพเจ้าเพียงเขียนแบบตรงๆ) บางคน ก็อวดทำเป็นฉลาด พอสอนให้ ก็ทำเป็นจะใช้หลักเอ็งของเอ็งคิดจะมาทำร้ายข้าพเจ้าก็มีอยู่นะขอรับ

    กรรมฐานทั้ง ๔๐ (สี่สิบ)กอง ล้วนมีวิธีการใช้และมีวิธีการปฏิบัติที่แตกต่างจากกัน ขึ้นอยู่กับ เวลา สถานที่ สถานะการณ์ หรือการได้รับการสัมผัส อาจารย์คุณอายุเท่าไหร่หรือขอรับ อายุถึง ๖๐ ปี แล้วหรือยัง ข้าพเจ้า อายุ ๖๑ ปีแล้ว ขอรับ แล้วกลับไปบอกพวกอาจารย์ของพวกคุณด้วยนะว่า อย่าดื้อ อย่าดื้อ.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มีนาคม 2013
  17. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    เรื่องการปฏิบัติทางจิต ใครเขาเอาอายุกายสังขารมาวัดกันเล่า...
    ถ้าคิดว่าอายุกายสังขารวัดได้ ก็แปลว่า telwada ไม่เคยเห็นอดีตชาติตัวเองเลยหนะสินะ
     
  18. degba4567

    degba4567 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +348
    ขอบคุณครับ สำหรับคำตอบทุกคำตอบ ได้อุบายวิธีมากมายเลย ผมขออนุญาตเลือกคำแนะนำของท่านที่ตรงกับวาระ ภูมิจิตภูมิใจและอาการของจิตที่ผมเป็นอยู่ตอนนี้ไปลองทำดูนะครับ
     
  19. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    อย่าเลือกครับ

    อย่า ตั้งธงไว้ก่อน

    การปฏิบัติธรรม เป็นเรื่อง เฉพาะหน้า คำว่า ปฏิ - บัติ มันแปลว่า เฉพาะหน้า

    หาก เลือก หรือ ตั้งธง นั่น โดน อุปทานหลอกกินตับ ไปแล้ว

    เราต้อง เอาธรรมเป็นใหญ่ แล้ว โน้มไปหา โดยไม่เอา ตัวตน ติดไปด้วย

    หากเรา ตั้งธง มันจะผลิก เราจะเอา ตัวตนตั้ง แล้ว เอา ธรรมะ มารองมือรองเท้า
    สนองอัตตาตัวตน มี ตนมาสอดรับตั้งแต่ ออกสตาร์ท มันจะ เขย่งเก่งไม่เป็นท่า
     
  20. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..เข้าลู่เลย..อย่าวิ่งนอกลู่..อย่าเยอะ อิอิ:mad::boo:
     

แชร์หน้านี้

Loading...