ถึงเวลาที่สยบข่าวภัยพิบัติ  ทางสายเอก

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย คมสันต์usa, 14 ธันวาคม 2012.

  1. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271


    ทราบขอรับ..ให้เหนือดีและชั่ว..
    ทำจิตละเอียดควรแก่งาน..
    ..บ่ใช่เขียงขอรับ..เข้ามาตาแป๋ว..ดู..ท่านอาจารย์ทำบุญ ธัมมเทสนามัย
    ศิษย์ก็ได้บุญด้วย..ธัมมัสสวนมัย..ยังเป็นมงคลฯอีกหลายประการ..ขอรับ
     
  2. ก เกียรติ

    ก เกียรติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +1,001
    [บางตอนในพระไตรปิฎก เล่ม 11 หน้า 149-150 เล่มสีน้ำเงิน]

    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงบำเพ็ญกิจในปุเรภัต เสร็จแล้วอย่างนี้ ประทับนั่ง ณ ศาลาปรนนิบัติใกล้พระคันธกุฎี ทรงล้างพระบาทแล้วประทับยืนบนตั่งรองพระบาท ประทานโอวาทภิกษุสงฆ์ว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยังประโยชน์คนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด และว่า

    ทุลฺลภญฺจ มนุสฺสตฺตํ พุทฺธุปฺปาโท จ ทุลฺลโภ
    ทุลฺลภา ขณสมฺปตฺติ สทฺธมฺโม ปรมทุลฺลภา
    ทุลฺลภา สทฺธาสมฺปตฺติ ปพฺพชฺช จ ทุลฺลภา
    ทุลฺลภํ สทฺธมฺมสฺสวนํ


    ความเป็นมนุษย์ หาได้ยาก
    ความเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า หาได้ยาก
    ความถึงพร้อมด้วยขณะ หาได้ยาก
    พระสัทธรรม หาได้ยากอย่างยิ่ง
    ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา หาได้ยาก
    การบวช หาได้ยาก
    การฟังพระสัทธรรม หาได้ยาก



    (สัทธรรม แปลว่า ธรรมของสัตบุรุษ ใช้ หมายถึงพระพุทธพจน์หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เรียกโดยเคารพว่า พระสัทธรรม
    สัทธรรม แบ่งเป็น ๓ อย่าง คือ

    ๑. ปริยัติสัทธรรม คือคำสอนที่แสดงถึงหลักสำหรับศึกษาเล่าเรียน ทรงจำ แนะนำสั่งสอนกัน ได้แก่ พระสูตร คาถา ชาดก เป็นต้น

    ๒. ปฏิปัตติสัทธรรม คือ คำสอนที่แสดงถึงหลักปฏิบัติตามที่ศึกษามา แสดงวิธีปฏิบัติสูงขึ้นไปตามลำดับ คือระดับศีล ระดับสมาธิ ระดับปัญญา

    ๓. ปฏิเวธสัทธรรม คือคำสอนที่แสดงถึงผลที่เกิดจากการปฏิบัติ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ซึ่งเรียกว่า โลกุตรธรรม

    เรียกพระสัทธรรม ๓ อย่างนี้ย่อๆ ว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ก็ได้)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2013
  3. ก เกียรติ

    ก เกียรติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +1,001

    8. ธัมมเทสนามัย คือ บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม

    ได้แก่การอธิบายบรรยายธรรมะให้แก่ผู้ร่วมโลกที่ร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย

    การแสดงธรรม ด้วยใจที่หวังจะให้ผู้ฟังได้รับประโยชน์ โดยที่ตนมิได้มุ่งหวังในลาภสักการะใดๆ จัดเป็นบุญที่เรียกว่า “ธรรมทาน” เป็นบุญที่ให้ผลมากว่าทานทั้งปวง ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง”

    การแสดงธรรมด้วยการแจกจ่ายธรรม คือแจกแจงพระธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว เพื่ออนุเคราะห์ให้ผู้ได้รับฟังเกิดจิตเลื่อมใสในพระสัทธรรมของพระพุทธองค์ ที่ทรงพร่ำสอนอย่านี้ว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ เป็นต้น

    การแสดงธรรมให้เลิกละ จากอกุศลธรรม ให้ตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลายเช่น

    การไม่ทำบาปทั้งปวง ๑

    การทำกุศลให้ถึงพร้อม ๑

    การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑

    การไม่กล่าวร้าย ๑

    การไม่ทำร้าย ๑

    การสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ๑

    การรู้ประมาณในการบริโภค ๑

    การนอนการนั่งในที่อันสงบสงัด ๑

    ความเพียรประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง ๑

    ธรรมเหล่านี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย (ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร โอวาทปาฏิโมกข์)

    ในอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อุทายีสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ในใจก่อน แล้วจึงแสดงธรรม คือ

    เราจักแสดงธรรมไปโดยลำดับ ๑

    เราจักแสดงธรรมโดยอ้างเหตุผล ๑

    เราจักแสดงธรรมโดยอาศัยความเอ็นดู ๑

    เราจักไม่เป็นผู้เพ่งอามิสในการแสดงธรรม ๑

    เราจักไม่แสดงธรรมให้กระทบตนและผู้อื่น ๑

    ผู้ใดตั้งธรรม ๕ ประการนี้ ไว้ภายในใจแล้วแสดงธรรม อย่างนี้ชื่อว่าเป็น “ธรรมทาน” โดยแท้

    อนึ่ง แม้บุคคลผู้แสดงธรรมเองก็ย่อมได้รับประโยชน์ คือ

    ได้เข้าใจในความหมายและความลึกซึ้งในธรรมที่ยกมาแสดงนั้นเพิ่มขึ้น ๑

    เป็นที่พึงพอใจของพระบรมศาสดา ๑

    อาจแทงตลอดเนื้อความอันลึกซึ้งของธรรมนั้น ได้ ๑

    เป็นที่สรรเสริญของกัลยาณชน ๑

    สำหรับการแสดงธรรมนี้มิได้หมายว่า ภิกษุเท่านั้นที่จะเป็นผู้แสดงธรรมได้ แม้ อุบาสกอุบาสิกา หรือฆราวาสผู้มีความรู้ ผู้ศึกษาธรรมผู้ปฏิบัติ แม้แต่การอบรมเยาวชน หรือลูกหลานด้วยธรรมะ ก็ชื่อว่า “ธัมมเทสนา” เช่นกัน


    7. ธัมมัสสวนมัย คือ บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม

    ได้แก่ การฟังธรรมและนำข้อธรรมมาประพฤติปฏิบัติให้พ้นทุกข์

    การฟังธรรม เป็นการศึกษาหาความรู้ เพื่อให้เกิดปัญญา เข้าใจในหลักพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งสามารถจะนำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติตาม ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน พ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏนี้ได้

    การฟังธรรมมีอานิสงส์มากถึง ๕ ประการ คือ

    ๑. ได้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง

    ๒. เรื่องใดที่เคยได้ฟังแล้ว ได้ฟังซ้ำอีกย่อมมีความชัดเจนขึ้น

    ๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้

    ๔. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้

    ๕. จิตของผู้ฟังธรรมย่อมผ่องใส

    การได้ฟังพระธรรม พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้ประสบผลวิเศษนานาประการ มีการละจากความชั่ว ประพฤติความดี และบรรลุธรรมอันเป็นที่สิ้นอาสวะได้ในที่สุด เป็นต้น

    ในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค ปิยังกรสูตร กล่าวไว้ว่า ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรีหนึ่ง ที่พระวิหารเชตวันฯ ท่านพระอนุรุทธะกำลังกล่าวธรรมอยู่ ครั้งนั้น นางยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ได้กล่าวห้ามบุตรว่า “อย่าอึงไป ภิกษุกำลังกล่าวบทธรรมอยู่ ให้ตั้งใจฟัง เมื่อเรารู้แจ้งบทธรรมนั้นแล้วปฏิบัติ ข้อนั้นจักมีประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา หากเราศึกษา ทำตนให้เป็นผู้มีศีลดีนั่นแหละ จักพ้นจากกำเนิดปีศาจได้”

    ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า การฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา คือเมื่อฟังแล้วย่อมเกิดความเข้าใจในธรรม ที่มีผู้ยกมาแสดง เมื่อเข้าใจในธรรมนั้นแล้ว น้อมนำคำสอนนั้นมาประพฤติปฏิบัติตามย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ในขณะที่ฟังธรรม แม้จะไม่รู้เรื่องราว ไม่เข้าใจในธรรมนั้น แต่ฟังด้วยความรู้สึกว่า
    นั่นคือเสียงแห่งพระธรรม
    เลื่อมใสในเสียงที่ได้ยินย่อมก่อให้เกิดบุญกุศลได้เช่นกัน ดังท่านเล่าในพระไตรปิฎกไว้ว่า ค้างคาว กบ ได้ยินเสียงพระสวด ด้วยความตั้งใจฟัง และมีจิตเลื่อมใสในเสียงที่กล่าวธรรมนั้น ตายลงในขณะนั้น ทำให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ พ้นจากความเป็นสัตว์เดรัจฉานได้ นี่ขนาดฟังไม่รู้

    เรื่องยังได้อานิสงส์ขนาดนี้

    หาอ่านเิ่พื่มเติมได้ที่ บุญกิริยาวัตถุ 10 ว่าด้วยเรื่องการทำบุญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2013
  4. ก เกียรติ

    ก เกียรติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +1,001
    มีเวลา หาธรรม มานำแจ้ง
    มันขัดแย้ง แห่งใด ใช่ปัญหา
    สืบค้นตาม ท่านที่รู้ จากครูบา
    ได้ปัญญา ของผู้อื่น น่าชื่นใจ


    เพราะตัวเอง ต่ำต้อย เหมือนหอยทาก
    เรียนไม่มาก ยากเย็น เข็นไม่ไหว
    ด้วยที่รัก การเรียนรู้ สู้ต่อไป
    เพื่อวันใหม่ ที่ดีกว่า ผ่านมาเอย.
     
  5. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271

    สาธุ..แสดงได้บรรเจิดแล้ว..ขอรับ
     
  6. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    ท่าน ก เกียรติ
    "เพราะตัวเอง ต่ำต้อย เหมือนหอยทาก
    เรียนไม่มาก ยากเย็น เข็นไม่ไหว
    ด้วยที่รัก การเรียนรู้ สู้ต่อไป
    เพื่อวันใหม่ ที่ดีกว่า ผ่านมาเอย."

    ข้าน้อยเองก็ต่ำต้อยกว่าหอยทาก.....เคยพวกมากลากกระดองหอยถอยหนี
    ไร้กระดองไม่มีเกราะต้านภัยมี.......เลยเกาะที่อาจารย์ท่านเป็นกำบัง
    โดนสอนสั่งนั่งลุกไม่ทำได้..........เกาะไม่อายท่านไม่ชังบ้างก็ขำ
    ก็ไม่ยอมอยากจะเกาะคอยฟังธรรม..ท่านก็ขำไม่ต้านต่อให้เกาะไป...ขอรับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2013
  7. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    <iframe width="420" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/25aP91wzPSg" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>​
     
  8. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    มีเวลาดูตนฝึกฝนจิต
    ถึงจะติดตรงใหนให้รู้หนา
    เรียนข้อธรรมตามครูรู้วิชา
    ให้ครูพานำหน้าศิษย์ไม่ผิดทาง


    เเม้นจะว่าต่ำต้อยเหมือนหอยทาก
    สอนไม่ยากถ้าทากอยากให้สอน
    วางตำราเสียบ้างเป็นบางตอน
    กลับมาย้อนดูจิตติดตามลม


    เมื่อไรพบรูปนามตามดูจิต
    ข้ามนิมิตเวทนามาทั้งสอง
    เห็นรูปนามเกิดดับทุกขั้นตอน
    ให้คล่องก่อนจึงได้สอนตอนต่อไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC06288.JPG
      DSC06288.JPG
      ขนาดไฟล์:
      550.6 KB
      เปิดดู:
      27
  9. ก เกียรติ

    ก เกียรติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +1,001
    ก่อนจะฝึก ศึกษา หาความรู้
    ไตร่ตรองดู รู้แน่ สักแค่ไหน
    พุทธ ธรรม สงฆ์ คงมั่น ไม่หวั่นใจ
    ศีลนั้นไซร้ ต้องครบถ้วน ล้วนสมบูรณ์


    เเม้ครบดั่ง ที่กล่าว เล่ามาแล้ว
    พอได้แนว ก็ฝึกใจ ให้ดับสูญ
    สำเร็จไป ตามขั้น ทวีคูณ
    จะเกื้อกูล นำให้ถึง ซึ่งเส้นชัย


    ถ้าตามนี้อย่างน้อยก็ โสดาบัน

    ถ้าลัดขั้นอาจได้เป็น โสดันบ้า
     
  10. ก เกียรติ

    ก เกียรติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +1,001
    ถ้าไม่ลัดขั้นตอนจะต้องทำตามนี้

    ความสัมพันธ์ระหว่าง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

    ความสัมพันธ์ระหว่าง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

    ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ รวมเรียกว่า สัทธรรม เป็นหลักธรรมที่ดี หลักธรรมที่แท้จริงและหลักธรรมของคนดีในพุทธศาสนา ปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้

    1. ปริยัติ เป็นการศึกษาธรรมวินัย คือ พุทธวจนะ ที่พระพุทธเจ้ากล่าวไว้ในพระไตรปิฎก เปรียบเหมือนกับการศึกษาทฤษฎีในบทเรียนที่จะต้องทำความเข้าใจให้เกิดความรู้ จริงและนำไปใช้ได้ด้วยตัวเอง การเรียนรู้สามารถกระทำได้ทั้งการศึกษาด้วยตนเองและการสตับตรับฟังจาก ท่าน ผู้ทรงความรู้ก็ได้

    2. ปฏิบัติ เป็นการเจริญธรรมเพื่อบรรลุธรรมที่ดับกิเลส ดับทุกข์ คือ การนำเอาความรู้ที่ได้เล่าเรียนมานั้นมาปฏิบัติ ซึ่งการปฏิบัตินี้ตามหลักพุทธศาสนา จะใช้การฝึกอบรมที่เรียกว่าไตรสิกขา คือ ปัญญา ศีล สมาธิ

    2.1 ด้านปัญญา หมายถึง การจะปฏิบัติอะไรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับเรื่องนั้นเพียงพอและมีเจตคติที่ดีต่อเรื่องนั้น

    2.2 ด้านศีล หมายถึง จะต้องลงมือกระทำตามที่เรียนรู้ไว้

    2.3 ด้านสมาธิหรือจิต หมายถึง ต้องควบคุมจิตให้ตั้งมั่น แน่วแน่ต่อเป้าหมายที่จะทำและต้องทำต่อเนื่องจนสำเร็จ

    3. ปฏิเวธ เป็นการแจ้งธรรมที่ ดับกิเลส ดับทุกข์ หมายถึง ผลอันเกิดจากการปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและถูกทาง จะเกิดผลคือ มรรคผล นิพพาน สามารถรู้แจ้งเห็นจริง ลดความโลภความโกรธ ความหลงได้ ความสัมพันธ์ของปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ ได้กล่าวอุปมาอุปไมยไว้ในคัมภีร์อรรถกถาหรือคัมภีร์ที่อธิบายไว้ในพระ ไตรปิฎกว่า

    เปรียบเหมือนมัดอ้อยสามมัดตั้งพิงกันย่อมอยู่ได้ไม่ล้ม แต่ถ้านำอ้อยมัดใดมัดหนึ่งออก อ้อยสองมัดก็จะล้มไปด้วย ฉันใดปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธก็ต้องอาศัยกัน ส่งเสริมกันฉันนั้น
     
  11. ก เกียรติ

    ก เกียรติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +1,001
    รู้ยังด้อย จะวางได้ ยังไงท่าน
    อนุบาล จะรีบบึ่ง กันถึงไหน
    ช้าแต่ชัวร์ อย่ามั่วนิ่ม ตอกลิ่มไป
    ถ้ารู้ใช่ แล้วทุกข้อ ก็โอเค


    ตั้งอยู่ใน ไม่ประมาท พลาดก็น้อย
    ถึงปลีกย่อย ก็เข้าใจ ไม่ไขว้เขว
    แล้วม่งมั่น ฟันฝ่า อย่าลังเล
    อย่าหลงเล่ห์ พวกมาร มุ่งผลาญเรา
     
  12. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271

    ขอรับท่านอาจารย์ใหญ่ฯข้าน้อย..ขอรับคำสอนด้วย
     
  13. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    หลวงปู่ตื้อ เป็นศิษย์องค์หนึ่งที่ออกธุดงค์ติดตามหลวงปู่มั่น

    ไปหลายปี ในแถบป่าเข้าทั้งทางภาคอีสานและภาคเหนือ

    ท่านเป็นศิษย์องค์หนึ่งที่หลวงปู่มั่นไว้วางใจ และมักพูดกับสานุศิษย์ทั้งหลายว่า “ใครอย่าไปดูถูกท่านตื้อนะ ท่านตื้อเป็นพระเถระ”

    บรรดาศิษย์รุ่นหลังจะรู้จักหลวงปู่ตื้อดี เพราะท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

    หลวงปู่ตื้อ กับ หลวงปู่แหวน มักจะเดินธุดงค์ไปด้วยกันเป็นส่วนใหญ่ ทั้งๆ ที่อุปนิสัยของหลวงปู่ทั้งสององค์นี้ผิดกันไกล แต่ท่านก็ไปด้วยกันได้เป็นอย่างดี

    หลวงปู่ตื้อ หลวงปู่แหวน และหลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านสนิทสนมกันมากที่สุด นี่ว่าตามคำบอกเล่าของครูบาอาจารย์ ท่านว่าไว้อย่างนั้น

    จุดเด่นที่ทำให้หลวงปู่ตื้อ เป็นที่กล่าวขวัญกันมากคืออุปนิสัยขวานผ่าซากในวาจา ท่านมีนิสัยโผงผางไม่กลัวใคร มีเทศนาโวหารที่ไม่เคยไว้หน้าใครไม่ว่าคนมั่งมีหรือยาจกท่านใช้คำพูดเหมือนกันหมด พูดตรงๆ ไม่ต้องเสกสรรปั้นแต่ง

    ท่านบอกว่า ท่านเทศน์ตามความจริง ไม่ได้เทศน์เพื่อเอาสตางค์หรือเทศน์เพื่อเอาใจใคร

    ญาติโยมบางคนบอกว่า หลวงปู่ตื้อ เทศน์หยาบคาย รับไม่ได้ก็มี

    มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ กำลังแสดงธรรมเทศนาอยู่ ท่านเทศน์ผ่านเครื่องขยายเสียง มีญาติโยมบางกลุ่มคุยกันจ๊อกแจ๊ก แข่งกับการเทศน์ของท่าน ในขณะที่ท่านหลับตาเทศนาอยู่ ท่านได้หยุดเทศน์ฉับพลัน แล้วพูดผ่านไมโครโฟนเสียงดังว่า

    “เอ้า ! หลวงตาตื้อเทศน์ให้ฟัง พวกสูบ่ฟัง เอ้า ! ฟังตดซะ”

    แล้วก็มีเสียงประหลาดดังผ่านลำโพงออกมาสองสามชุด ทุกคนเงียบกริบ โยมคนหนึ่งตั้งสติได้ก่อนเพื่อน จึงพูดเสียงดังว่า “ขอให้หลวงตามีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์”

    แล้วโยมคนอื่นๆ ก็ยกมือ และกล่าวพร้อมกับว่า “สาธุ !”

    ในการเทศน์อีกครั้งหนึ่ง ได้มีกลุ่มพระภิกษุหนุ่ม เป็นมหาเปรียญและได้รับการศึกษาที่ทันสมัย ตามมาฟังเทศน์ด้วยในระหว่างที่หลวงปู่ตื้อขึ้นเทศน์ พระภิกษุหนุ่มเหล่านั้นซุบซิบกันพอได้ยินในกลุ่ม ไม่สามารถได้ยินไปถึงหลวงปู่ได้อย่างแน่นอน

    บรรดาพระหนุ่มซุบซิบกันว่า หลวงปู่ตื้อไม่พัฒนา เทศน์โบราณ มีแต่ของเก่าๆ ไม่ทันยุคทันสมัยเลย

    หลวงปู่ ท่านหยุดเทศน์ เดินตรงไปยังพระรูปนั้น ท่ามกลางความงุนงงของบรรดาญาติโยม ท่านนิมนต์พระภิกษุหนุ่มรูปนั้นขึ้นเทศน์ แล้วท่านก็พูดเสียงดังชัดเจนว่า “เอ้า ! หลวงตาจะคอยฟังคุณเหลน คุณมหา ขอให้เทศน์เอาแต่ของใหม่ๆ นะ...”

    พระมหาหนุ่มรูปนั้นก็เดินขึ้นธรรมาสน์ด้วยความมั่นใจ คงคิดที่จะเทศนาธรรมแบบใหม่ตามยุคสมัย ตามแบบพระผู้มีปริญญามหาเปรียญ

    เมื่อพระมหาหนุ่มขึ้นต้นว่า “นะโม...” เท่านั้น หลวงปู่ตื้อ ท่านก็บอกให้หยุดเทศน์

    “หยุด หยุด คุณเหลน หยุด ไม่เอา - ไม่เอา นะโม มันของเก่า มีมากว่าสองพันปีแล้วคุณเหลน...”

    ญาติโยมทั้งศาลาหัวเราะกันฮาครืน !

    หลวงปู่ตื้อ ท่านคุ้นเคยกับ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺธโร) แห่งวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน เวลาเข้ากรุงเทพฯ หลวงปู่จึงมาพักที่วัดแห่งนี้เสมอ

    ท่านสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กล่าวถึงหลวงปู่ตื้อ ว่า “หลวงปู่ตื้อนี้ ท่านไม่กลัวใคร ไม่ว่าสมเด็จฯ หรือแม้แต่ท่านอาจารย์มั่น ท่านก็ไม่กลัว ท่านเป็นพระที่จัดว่าดื้อทีเดียว...”

    เรื่องที่หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ชอบทำอะไรแปลกๆ ผิดไปจากสมณะรูปอื่นนี้ หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ได้เล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า


    หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร

    “พระอรหันต์นั้น เปลี่ยนวาสนาเดิมไม่ได้ นอกจากพระพุทธเจ้าเท่านั้น จึงจะเปลี่ยนวาสนาเดิมได้ แม้แต่พระสารีบุตร ท่านก็ยังเดินเหินไม่เรียบร้อย กระโดกกระเดก” (เพราะในอดีตชาติพระสารีบุตรเคยเป็นลิงป่ามาก่อน บุคลิกลักษณะเดิม หรือที่พระท่านเรียกว่า วาสนาเดิมจึงยังติดตัวอยู่ ละได้ไม่หมด__ผู้เขียน)

    หลวงปู่หลุย ได้เล่าต่อไปว่า : -

    “เมื่อครั้งพุทธกาล มีพระอรหันต์รูปหนึ่งไปเรียกผู้อื่นว่า บุรุษถ่อย ผู้ถูกเรียกก็พากันกราบทูลพระพุทธองค์ พระองค์ตรัสว่า มันเป็นนิสัยเดิม เปลี่ยนไม่ได้ แต่จิตของพระรูปูนั้นท่านไม่มีเจตนาที่จะดูถูกใครว่าเป็นคนเลว ทว่ามันติดปาก เลิกไม่ได้”

    ผู้เขียนเคยกราบเรียนถาม หลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโม ในปัญหาเดียวกันนี้ คำตอบโดยสรุปท่านว่า “พระอรหันต์ท่านไม่มีมายา ยังมีเหลือแต่กริยา ซึ่งไม่ต้องปรุงแต่ง แสดงออกไปตรงๆ ตามวาสนาเดิมของท่าน ไม่สามารถแก้ให้หายได้ นอกจากพระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้น...”

    หลวงปู่เพ็งท่านยังยกตัวอย่างหลวงปู่บุดดา ถาวโรแห่งวัดกลางชูศรีเจริญสุข จังหวัดสิงห์บุรีว่า “...มีอีหนูพยาบาลคอยเช็ดเนื้อเช็ดตัว เช็ดขี้ เช็ดเยี่ยวให้ท่าน จะหาว่าท่านอาบัติไม่ได้หรอก เพราะจิตของท่านพ้นสมมุติไปแล้ว เรื่องเพศชาย-หญิงไม่สามารถทำให้ท่านเกิดกามกิเลสได้ ไม่เหมือนกับจิตปุถุชนทั่วไป...”

    เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องน่าคิดสำหรับผู้สนใจใฝ่ธรรม เรื่องศีล เรื่องวินัย เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวดก็จริง แต่เมื่อดวงจิตหลุดพ้นจากสมมุติแล้ว เรื่องกรอบของศีลของวินัยก็มิใช่เรื่องจำเป็นสำหรับท่านแล้ว

    แต่...ถ้าอยู่ในสังคมก็เป็นจุดที่ทำให้ผู้ที่ไม่รู้ยกขึ้นมาเป็นประเด็นตำหนิเพ่งโทษได้ ทำให้ผู้ไม่รู้บาปได้เหมือนกัน

    จึงต้องระวัง !
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-tue/lp-tue-hist-01.htm
     
  14. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    ธรรมโอวาท(หลวงปู่สิม)

    ๑. คำว่าจิตได้แก่ ดวงจิต ดวงใจผู้รู้อยู่ ผู้เห็นอยู่ ผู้ได้ยินได้ฟังอยู่ เราฟังเสียง ได้ยินเสียง ใครเป็นผู้รู้อยู่ในตัว ในใจ นั้นแหละมันอยู่ตรงนี้ ให้รวมให้สงบเข้ามาอยู่ตรงนี้ ตรงจิตใจผู้รู้อยู่ (พระธรรมเทศนา พุทธาจารานุสรณ์)

    ๒. ตาเห็นรูปก็จิตดวงนี้เป็นผู้เห็น ดีใจก็จิตดวงนี้หลงไป เสียใจก็จิตดวงนี้หลงไป เสียงผ่านเข้ามาทางโสต ทางหูก็จิตดวงเก่านี่แหละ กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็จิตดวงนี้เป็นผู้หลง เมื่อจิตใจดวงนี้เป็นผู้หลงผู้เมา ไม่เข้าเรื่อง เราก็มาแก้ไขภาวนาทำใจให้สงบ ไม่ให้หันเหไปกับอารมณ์ใด ๆ เห็นสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดดับอยู่ในตัว ในใจ ในสัตว์ ในบุคคลนี้ว่า มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็แตกดับไปเป็นธรรมดาอย่างนี้ (พระธรรมเทศนา พุทธาจารานุสรณ์)

    ๓. การปฏิบัติบูชา ภาวนานี้ เป็นการปฏิบัติภายใน เป็นการเจริญภายใน พุทโธภายใน ให้ใจอยู่ภายใน ไม่ให้จิตใจไปอยู่ภายนอก (พระธรรมเทศนา พุทธาจารานุสรณ์)

    ๔. การภาวนาไม่ใช่เป็นของหนักเหมือนแบกไม้หามเสา เป็นของเบาที่สุด นึกภาวนาบทใดข้อใด ก็ให้เข้าถึงจิตถึงใจ จนจิตใจผ่องใสสะอาดตั้งมั่นเที่ยงตรงคงที่อยู่ ภายในจิตใจของตน ใจก็สบาย นั่งก็สบาย นอนก็สบาย ยืนไปมาที่ไหนก็สบายทั้งนั้น ในตัวคนเรานี้เมื่อจิตใจสบายกายก็พลอยสบายไปด้วย อะไร ๆ ทุกอย่างมันก็สบายไปมันแล้วแต่จิตใจ (พระธรรมเทศนา พุทธาจารานุสรณ์)

    ๕. ทำอย่างไรใจข้าพเจ้าจะสงบระงับ มีอุบายอะไร ก็อุบายไม่ขี้เกียจนั่นแหละ อุบายมันอยู่ที่ไหน อุบายมันอยู่ที่ความเพียร ทำอย่างไรข้าพเจ้าจะสู้กับกิเลสราคะ โทสะ โมหะ ในใจได้ ไปสู้ที่ไหน ก็สู้ด้วยความเพียร สู้ด้วยความตั้งใจมั่น เราตั้งใจลงไปแล้วให้มันมั่นคงอย่าไปถอย (พระธรรมเทศนา พุทธาจารานุสรณ์)

    ๖. เพียรพยายามฝึกตนเองอยู่ มันจะเหลือ (วิสัย) ผู้มีความเพียรไปไม่ได้ เพราะว่าบนแผ่นดินนี้ ผู้มีความเพียรผู้ไม่ท้อแท้อ่อนแอในดวงใจไม่ว่าจะทำอะไรย่อมสำเร็จได้ ดูตัวอย่างพระพุทธเจ้า เมื่อเห็นแล้วเราต้องตั้งความเพียรลงไป ภาวนาลงไป เมื่อมันยังไม่ตายจะไปถอยความเพียรก่อนไม่ได้ (พระธรรมเทศนา พุทธาจารานุสรณ์)

    ๗. สู้ด้วยการละทิ้ง อย่าไปยึดเอาถือเอา เขาว่าให้เรา เขาดูถูกเรา เสียงไม่ดีเข้าหูก็เพียรละออกไป ให้มันหมดสิ้น มนุษย์มีปาก ห้ามมันไม่ให้พูดไม่ได้ มนุษย์มีตา ห้ามไม่ให้มันดูไม่ได้ มันเป็นเรื่องของโลก ท่านจึงตรัสว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันเป็นความร้อน ความร้อนคือกิเลส กิเลสเหมือนกับไฟ ไฟมันเป็นของร้อน (พระธรรมเทศนา พุทธาจารานุสรณ์)

    ๘. เราได้คลานภาวนาจนเข่าแตกเลือดออกมีไหม ไม่มี มีแต่นอนห่มผ้าให้มันตลอดคืน มันจะได้สำเร็จมรรคผลอะไร ก็ได้แต่กรรมฐานขี้ไก่ กรรมฐานขี้หมู ไม่ลุกขึ้นภาวนาเหมือนพระแต่ก่อน พระแต่ก่อนท่านเดินไม่ได้ท่านก็คลานเอา (พระธรรมเทศนา พุทธาจารานุสรณ์)

    ๙. พุทโธในใจ หลงไหลทำไม ไม่ต้องหลง ไม่ต้องลืม นั่งก็พุทโธในใจ นอนก็พุทโธในใจ ยืนก็พุทโธในใจ เดินไปไหนมาไหน ก็พุทโธในใจ กิเลสโลเลละให้หมด โลเลทางตา โลเลทางหู โลเลทางจมูก ทางกลิ่น โลเลในอาหารการกิน เลิกละให้หมด (พระธรรมเทศนา พุทธาจารานุสรณ์)

    ๑๐. ไม่ต้องไปรอท่าว่าเมื่อถึงวันตายข้าพเจ้าจะภาวนาพุทโธเอาให้ได้ อย่างนี้ไม่ได้ เราต้องทำไว้ก่อน เตรียมตัวเตรียมใจไว้ก่อนตั้งแต่บัดนี้ เดี๋ยวนี้เวลานี้เป็นต้นไป (พระธรรมเทศนา พุทธาจารานุสรณ์)

    ๑๑. ความตายนี้ไม่มีใครหลบหลีกได้ ท่านให้นึกให้น้อมให้ได้ว่าทุกลมหายใจเข้าไป ก็เตือนใจของตนให้นึกว่า นี่ถ้าลมหายใจนี้เข้าไปแล้วออกมาไม่ได้ เกิดติดขัด คนเราก็ตายได้ แม้ลมหายใจออกไปแล้ว เกิดอะไรติดขัดขึ้นมาสูดลมหายใจเข้าไม่ได้คนเราก็ตายได้ (พระธรรมเทศนา พุทธาจารานุสรณ์)

    ๑๒. เราทุกคนทุกดวงใจที่มีชีวิตอยู่ ณ ภายในนี้ ก็อย่าพากันนิ่งนอนใจ อยู่ที่ไหน กายกับใจอยู่ที่ไหน ก็ที่นั่นแหละเป็นที่ปฏิบัติบูชา อยู่บ้านก็ภาวนาได้ อยู่วัดก็ภาวนาได้ บวชไม่บวชก็ภาวนาได้ทั้งนั้น (พระธรรมเทศนา พุทธาจารานุสรณ์)

    ๑๓. ตั้งจิตดวงนี้ให้เต็มในขั้นสมถกรรมฐาน พร้อมกับวิปัสสนากรรมฐาน ให้แจ่มแจ้งในดวงใจทุกคน เท่านั้นก็พอ เพราะว่าเมื่อเราเกิดมาทุกคนก็ไม่ได้มีอะไรติดมา ครั้นเมื่อเราทุกคนตายไปแล้ว แม้สตางค์แดงเดียวก็เอาไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ จงพากันนั่งสมาธิภาวนาให้เต็มที่จนกิเลสโลภะ อันมันนอนเนื่องอยู่ให้หมดเสียวันนี้ ๆ ถ้ากิเลสความโลภนี้ยังไม่หมดจากจิต ก็ยังไม่หยุดยั้งภาวนาจนวันตายโน้น (ธรรมลิขิตจากหลวงปู่)

    ๑๔. การภาวนาละกิเลสให้หมดไปจริง ๆ นั้นต้องปฏิบัติดังนี้ เมื่อกำหนดรูปร่างกายของเรา บริกรรมกำหนดลมหายใจจนจิตตั้งมั่นดีแล้ว ต้องกำหนดรูปร่างของเราเอง นับตั้งแต่ ผม ขน เล็บ ไปตลอดหมดในร่างกายนี้ให้เห็นตามความเป็นจริง ที่มันตั้งอยู่และมันเสื่อมไปด้วยความเจ็บไข้ได้ป่วย มีทวารทั้ง ๙ เป็นสถานที่ไหลออก ไหลเข้าซึ่งของไม่งาม (ธรรมลิขิตจากหลวงปู่)

    ๑๕. อันความตายนั้น จงระลึกดูให้รู้แจ้งด้วยสติปัญญาของตนเอง ยกจิตใจตั้งให้มั่นอย่าได้หวั่นไหว เจ็บจะเจ็บไปถึงไหนก็แค่ตาย อยู่ดีสบายอยู่ไปถึงไหนก็แค่ตาย แก่ชราแล้วไม่ตายไม่ได้ เมื่อมาถึงบุคคลผู้ใดจะให้ผู้อื่นช่วยไม่ได้ ต้องภาวนาให้พ้นจากความตาย ความตายนั้นมีทางพ้นไปได้ อยู่ที่การละกิเลสล้างกิเลสในใจให้หมดสิ้น

    ๑๖. วันคืนเดือนปี หมดไป สิ้นไป แต่อย่าเข้าใจว่าวันคืนนั้นหมดไป วันคืนไม่หมด ชีวิตของแต่ละบุคคลหมดไปสิ้นไป มันหมดไปทุกลมหายใจเข้าออก ฉะนั้น ภาวนาดูว่า วันคืนล่วงไป เราทำอะไรอยู่ทำบุญหรือทำบาป เราละกิเลสได้หรือยัง เราภาวนาใจสงบหรือยัง

    ๑๗. ทุกข์อยู่ที่ไหน ทุกข์อยู่ในใจยึดมั่นถือมั่น ยึดมั่นถือมั่นในชาติตระกูล ในตัว ในตน ในสัตว์ในบุคคล ความยึดอันนี้แหละที่ยึดให้มีทุกข์ไม่ให้มีความสุข มันเป็นไปไม่ได้ เหมือนกับว่าเราจะไม่ให้แก่ ก็แก่เรื่อยไป ต้องรู้ว่าแก่เพราะอะไร ก็เพราะว่าจิตมายึดถือ เมื่อจิตมายึดมาถือ จิตจึงมาเกาะอยู่ มาเกิด มาแก่ชรา เจ็บไข้ได้พยาธิ ผลที่สุดก็ถึงซึ่งความตาย

    ๑๘. บทภาวนาบทใดก็ดีทั้งนั้น ถ้าภาวนาได้ทุกลมหายใจ ก็เป็นอุบายธรรมอันดีทั้งนั้น ความตั้งมั่นในสมาธิภาวนาของจิตใจคนเรานั้น ย่อมมีเวลาเจริญขึ้น มีเสื่อมลงเป็นธรรมดา ถ้าเรามารู้เท่าทันว่า การรวมจิตใจเข้าเป็นดวงหนึ่งดวงเดียว เป็นความสงบสุขเยือกเย็นอย่างแท้จริง ก็ให้ทุกคนตั้งใจ ปฏิบัติบูชาภาวนาอย่าได้มีความท้อถอย เมื่อใจไม่ท้อถอยแล้วก็ไม่มีอะไรที่จะมาทำให้เราท้อแท้อ่อนแอได้ เพราะคนเรามีใจเป็นใหญ่เป็นประธาน สำเร็จได้ด้วยใจทั้งสิ้น

    ๑๙. ความเที่ยงแท้แน่นอนในโลกนี้ จะเอาที่ไหนไม่มี ผู้ปฏิบัติจงรู้เท่าทัน รู้เท่านั้นแล้วก็ปล่อยวาง อย่าเข้าไปยึดถือ อย่าไปยึดว่าตัวกูของกู ตัวของข้า ตัวของเรา เราเป็นนั้นเป็นนี้ ตัวเราของเราไม่มี มีแต่ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม มีแต่หลักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งโลก

    ๒๐. ให้ทานข้าวของ วัตถุภายนอกก็เป็นบุญ แต่ยังไม่ลึกซึ้งให้ทำบุญภายในใจให้เป็นบุญอยู่เสมอ ภาวนาพุทโธ นึกน้อมเอาคุณพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอยู่ภายใน นี่แหละบุญภายใน

    ขอนอบน้อมธรรมะดีๆ จาก หลวงปู่สิม ครับ
    Kammatan.com :
    golfreeze
     
  15. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    ไม่ต้องไปรอท่า ว่าเมื่อถึงวันตาย ข้าพเจ้าจะภาวนาพุทโธเอาให้ได้
    อย่างนี้ไม่ได้ เราต้องทำไว้ก่อน เตรียมตัวเตรียมใจไว้ก่อน ตั้งแต่บัดนี้ เดี๋ยวนี้เวลานี้เป็นต้นไป
    ความตายนี้ไม่มีใครหลบหลีกได้ ท่านให้นึกให้น้อมให้ได้ ว่าทุกลมหายใจเข้าไป
    ก็เตือนใจของตนให้นึกว่า นี่ถ้าลมหายใจนี้เข้าไป แล้วออกมาไม่ได้ เกิดติดขัด คนเราก็ตายได้
    แม้ลมหายใจออกไปแล้ว เกิดอะไรติดขัดขึ้นมา สูดลมหายใจเข้าไม่ได้ คนเราก็ตายได้
     
  16. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    แม้ไม่เชี่ยวชาญพระวินัยไตรปิฏก
    ไม่ขาดตกข้อธรรมที่จำใว้
    อาจารย์สอนนั้นมีดีมากมาย
    ล้วนแต่ได้อภิญญามาพบกัน


    เข้าไปเรียนฝึกวิชาในป่าใหญ่
    เขตแดนไกลสุดขอบฟ้าพาไปสอน
    สายนอกดงหลวงพ่อใหญ่ท่านให้พร
    นำมาสอนรักษาศิษย์ติดตามครู

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04700.JPG
      DSC04700.JPG
      ขนาดไฟล์:
      467.4 KB
      เปิดดู:
      45
    • DSC05587.JPG
      DSC05587.JPG
      ขนาดไฟล์:
      474.5 KB
      เปิดดู:
      23
  17. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    เอาพระสูตรนี้มาให้คุณชูบดี ศึกษา

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2013
  18. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    ตรงนี้นำมาจาก ที่คุณชูบดีโพส ข้างบน

    ธรรมโอวาท(หลวงปู่สิม)

    ข้อ10 และ11
     
  19. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    ปัญหาขั้นต้นก็อยู่ที่ว่า จะหยุดความคิดได้อย่างไร ทั้งวจีสังขาร จนถึงกายสังขาร....

    เพื่อพิจารณาเห็นจริง ในสังขารทั้งหลายล้วนไม่เที่ยง หากไม่ใช่สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
     
  20. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271


    สาธุ กราบขอบพระคุณขอรับท่านอาจารย์ครูน้อยตาแดงจ้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2013

แชร์หน้านี้

Loading...