จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089

    โปรดสังเกตดูให้ดีๆ มีรางวัล...อิอิ
    ขอขอบใจหลายๆเด้อ​


    ปล. เรียนจิตเกาะพระนี่ดีนะ ได้ธรรมะ 3 รสเลย คือมีทั้งโกรธ งอน ขำกลิ้ง ฮ่าๆ
    จะไปหาที่ไหนได้ละเนี๊ย! นอกจากระทู้นี้เท่านั้น

    (อย่างนี้ต้องลาออก) คิดไรมาก ตายทุกราย
    อยากมาเกิดในโลกใบนี้ ต้องจิตแกว่ง เอ๊ย แกร่ง! ยังกับเพชร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กุมภาพันธ์ 2013
  2. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,076
    ค่าพลัง:
    +52,178
    สาธุครับ _/\_
     
  3. fein

    fein เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +463
    สวัสดีค่ะคุณผึ้ง
    ขออนุญาตนำเสนอวิธีฝึกของฝ้ายค่ะ

    เวลาเจอกระทบหนักๆแล้วเราเห็นว่าเราไม่ผ่าน ฝ้ายจะใช้วิธีสอนจิตทุกเช้า ตามหลัก "จงเห็นแก้วที่แตกในแก้วปรกติ"

    อย่าเช่น วันนี้เจอคนด่า ก็สอนมันไปว่ากายนี้อยู่ของมันดีๆ วันนี้อาจจะโดนด่า โดนเตะ เจ็บนั่นนี่ (ระบุเรื่องที่ไม่ผ่าน แบบจินตนาการให้เห็นภาพ) เพราะอยู่กับขันธ์ 5 มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ได้ทุกข์เมื่อ สุดท้ายมันกลับสู่ความว่างเปล่า มันก็จะหายไป (ตัดลงไตรลักษณ์)

    แล้วเวลาเจอเหตุการณ์จริงๆ พอจับความทุกข์ได้ ก็ตั้งสติมั่น อาจจะสูดลมหายใจลึกๆหลายๆครั้ง เพื่อเรียกสติ แล้วพยายามหยุดอารมณ์ปรุงแต่งให้ได้ก่อน เพื่อตัดทุกข์

    แต่ถ้าเจออารมณ์ปรุงแต่งเลยก็หยุดไปเลยเร็วดีซะอีก

    แต่ถ้าเจอกระทบแล้วกระทบอีกเป็นเวลานาน ตัดไม่ไหว (กิเลสมาเร็วเกินไป) หลังเหตุการณ์ก็พิจารณาเรื่องนี้ซ้ำๆ ให้มองเห็นว่าพลาดตรงไหน โดนครอบงำตรงไหน เราทำอะไรไป หนีปัญหาตอนไหน เมื่อรู้จุด ตอนต่อไปก็ตั้งสติชนกิเลสตอนนั้นให้ผ่าน แต่อย่าลืมสอนจิตทุกวันนะคะ มันจะค่อยๆจางไปเอง และอุเบกขาได้เร็วขึ้น

    จากคนที่โดนกระทบทั้งวี่ทั้งวัน อิอิ สู้ๆค่ะ

     
  4. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    จิตพร้อมรับภัยพิบัติทางใจ

    [​IMG]
    สำหรับผู้มาใหม่ หรือผู้ปฎิบัติใหม่ ขอให้เข้าใจดังนี้นะครับว่า
    ตอนแรกๆ ขอให้เราช่วยจิตของตนกำหนดระลึกถึงพระก่อน แต่จะเป็นรูปภาพ หรือภาพจากในเน็ต หรือพระพุทธรูปที่บ้าน ที่ทำงาน หรือที่ไหนก็ตามแต่
    ขอให้เป็นพระที่ใจเราชอบ เรารัก เราเคารพก็พอแล้ว
    เพราะต่อไปจิตเขาจะเปลี่ยเองทีหลังได้ครับ หมายถึงจิตจะไปเกาะพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆก็เป็นไปได้นะครับ เพราะจิตแต่ละท่านจะไม่้หมือนกันสักทีเดียว เพราะอยู่ที่ดวงจิตเดิมแท้ของเขาว่ามีกรรมต่อเนื่องกันครั้งอดีตชาติ


    สำหรับผู้สนใจ หรือผู้ปฎิบัติกันใหม่ๆ เราจะต้องขยันแค่หมั่นระลึกถึงพระบ่อยๆ จะหลับตา หรือไม่หลับตาก็ได้ทั้งนั้น เพราะหลักใหญ่ใจความมันอยู่ตรงที่จิตของเราต่างหากว่าจะจดจำพระได้มากน้อยเพียงไร
    แต่ถ้ายังจำไม่ได้ก็ขอให้ไปนั่งดูพระบ่อยๆ เพ่งบ่อยๆ แต่ไม่เคร่งนะเดี๋ยวจะปวดตา เดี๋ยวจิตเราก็จะจำได้โดยอัตโนมัติ และต่อไปท่านก็ไม่ต้องช่วยจิตกำหนดระลึกถึงพระแล้ว เพราะจิตจะทำงานของเขาเองภายใน หลังจากที่จิตจำพระได้แล้ว


    นี่ไง๊เกือบใกล้จะถึงจุดสุดยอดในการปฎิบัติกันแล้ว แต่ถ้าจิตจดจำพระได้อัตโนมัติ จิตจะเป็นสมาธิ จิตจะทรงฌานได้เองภายใน ตรงนี้คือจุดเด่นของจิตเกาะพระเลยนะครับ
    เพราะนักปฎิบัติกำลังตามหาวิชานี้กันอยู่ก็คือ นอกจากจิตเป็นสมาธิง่ายดายแล้ว จิตยังทรงฌานง่ายด้วย และที่สำคัญอีกอย่างนึงก็คือ จิตเกิดสมาธิต่อเนื่องได้โดยง่ายดาย
    อันนี้นับว่าเป็นประโยชน์กับนักภาวนา เพราะผมทำมาหลายกรรมฐาฯเหมือนกัน แต่อาจจะไม่ถูกจริตตนเองก็เป็นได้

    แต่อย่าลืมกันนะครับว่า พุทธานุสสติกรรมฐานนี้ จิตขึ้นพระนิพพานกันได้ง่ายดายเลยนะจะบอกให้ เพราะขณะที่จิตเกาะพระอยู่นั้น ถามว่าดวงจิตพระ(พระพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์) ท่านอยู่ที่ไหนกัน?(บนพระนิพพาน)
    เพราะฉะนั้นจิตที่พวกเรากำลังเกาะพระกันอยู่นี้ ก็เท่ากับจิตไปเกาะพระนิพพานกันด้วย คือจิตทรงพระนิพพานไปในตัวเลย


    ที่ผมพูดมาทั้งหมดนี้ โปรดอย่าเชื่อนะครับ ขอให้ไปลองปฎิบัติกันดูก่อน
    เดี๋ยวค่อยมาว่ากัน

    และผมขอยืนยันว่า ผมมิได้ทำได้แค่คนเดียว ยังมีลูกหาบของผมอีก เดี๋ยวก็แสดงตนกันออกมาทีละคน สองคนเอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    อานุภาพของศีล สมาธิ และปัญญา

    ด้วยอานุภาพของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา นี้แลจึงชนะข้าศึกคือ กิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียดได้

    ๑. ชนะความหยาบคาย ซึ่งเป็นกิเลสอย่างหยาบที่ล่วงทางกายวาจาได้ด้วยศีล ชนะความยินดียินร้าย หลงรักหลงชัง ซึ่งเป็นกิเลสอย่างกลางที่เกิดขึ้นในใจได้ด้วยสมาธิ และชนะความเข้าใจ รู้ผิดเห็นผิดจากความเป็นจริงของสังขาร ซึ่งเป็นกิเลสอย่างละเอียดได้ด้วยปัญญา

    ๒. ผู้ใดศึกษาและปฎิบัติตามไตรสิขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้โดยพร้อมมูลบริบูรณ์๊ด้วย ผู้นั้นจึงเป็นผู้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้เป็นแน่นอน ไม่ต้องสงสัยเลย เพราะฉะนั้น จึงควรสนใจ เอาใจใส่ตั้งใจศึกษาและปฎิบัติตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ทุกเมื่อเทอญ
    ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต
    ที่มา fb ธรรมะวันละนิด ชีวิตจะสดใส แบ่งปันธรรมะ
     
  6. fein

    fein เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +463
    เสาเขื่อนอันใดที่ลงดินดีแล้ว
    ไม่หวั่นไหวด้วยพายุสี่ทิศฉันใด
    สัตบุรุษทั้งหลายผู้เล็งเห็นแล้วซึ่งอริยสัจสี่
    ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมฉันนั้น

    -รัตนสูตร-
     
  7. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027

    วู๊วววว์.....เสียงยังสดใสเหมือนเดิมน่ะค่ะ คุณพี่พอใจ..อิๆๆ...เพลงเพราะมากค่ะ ฟังแล้วคิดฮอดบ้านเลยค่า..อิๆๆ..:cool::cool:
     
  8. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    ไตรลักษณ์

    [​IMG]
    [​IMG]


    ที่มา : หนังสือหลักธรรมอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา
    โดย : อ.วศิน อินทสระ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2013
  9. newwave1959

    newwave1959 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +2,681
    [​IMG]



    “ถ้ามัวเมาในลาภ ในยศแล้ว การปฏิบัติก็ค่อยๆ จางลงๆ ทุกที
    ในที่สุดก็เกิดการฆาตกรรมตัวเอง คือเอาแต่สบาย
    ไม่มีการบำเพ็ญกัมมัฏฐานให้ยิ่งขึ้น มีแต่จะหาชื่อเสียง
    อยากให้คนนับถือมากยิ่งขึ้นโดยวิธีการต่างๆ นี้คือฆาตกรรมตัวเอง


    ฉะนั้น นักปฏิบัติต้องฝึกตนอยู่เสมอ
    การฝึกตนนั้นเราต้องทำอยู่เป็น อกาลิโก ไม่เลือกกาลเวลาและสถานที่
    โอกาสให้เมื่อไหร่ก็ต้องทำ ทั้งนี้เพื่อความไม่ประมาท

    การที่นักปฏิบัติธรรม ผู้รอกาลเวลาสถานที่
    แม้โอกาสให้แล้วแต่ก็มัวแต่รอ รอว่าแก่ก่อน อายุมากก่อน
    รอว่าเข้าป่าก่อน อยู่ในดงในเขาก่อนจึงจะทำ
    มัวแต่เลือกกาล เลือกสถานที่
    ก็เลยเสียเวลาไปโดยใช่เหตุ”

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต



    ขอเจริญในธรรม ด้วยจิตคารวะ

    นิวเวป......จบ.๑๔
     
  10. fein

    fein เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +463
    พุทธแท้ย่อมไม่แพ้มาร

    พญามาร แปลว่า หัวหน้าของมารที่ขัดขวางไม่ให้คุณบรรลุธรรม ใครกันหรือคือพญามารตนนั้น คุณคิดว่าเทวดาเกเรตนหนึ่งจะทำกับคุณได้ขนาดนั้นเลยหรือครับ
    ........
    คุณว่ามีด้วยหรือครับ ใครคนไหนที่สามารถกีดกันไม่ให้คุณมีความสุขได้ ไม่มีหรอกครับ ใจคุณเองต่างหากที่ไม่ยอมรับว่าปัญหาคืออะไร การหนีปัญหา freeze ความจริงนั่นแหละคือพญามารตัวฉกาจทีเดียว พญามารนั้นที่แท้คือสังโยชน์ 10 ซึ่งรวบยอดเหลือเพียงข้อเดียวคือ อวิชชา คุณยิ่งหนีปัญหามากเข้าๆ อวิชชาก็ยิ่งพอกพูนหนักขึ้นๆ นิสัยที่ไม่ยอมรับความจริงก็ครอบงำมทำให้เกิดอคติ เพราะคุณมองไม่เห็นความจริง ผมเรียกอคติทั้งสี่ซึ่งมีนิสัยเหมือนนางร้ายในละครนี้ว่า ธิดาพญามาร เพราะมันเกิดจากพญามารนั่นเอง

    โลภาคติ => ความเห็นแก่โลภ ความพอใจเพราะลำเอียงเห็นแก่ได้ ฉันจะเอา
    โทสาคติ => ฉันไม่ชอบ ฉันไม่เอา ฉันไม่ยอมรับ
    โมหาคติ => ไม่รู้ละ ก็ฉันจะเชื่อของฉันอย่างนี้
    ภยาคติ => ก็ฉันกลัวนี่

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า ก่อนจะชนะพญามารได้ท่านต้องเอาชนะธิดาพญามารก่อน อคติทั้ง 4 ตัวนี้เองคือธิดาพญามาร ธิดาพญามารเกิดจากการหนีปัญหา ไม่กล้าเผชิญหน้าความจริง ธิดาพญามารนั้นมักแสดงผ่านวาจาหรือถ้อยคำ วาจาที่ผิดศีลข้อมุสาล้วนเกิดจากธิดาพญามารทั้งสี่ตัวนี้ทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น

    โลภะ -> ความอิจฉา -> เขาได้ แต่ฉันไม่ได้ -> เกิดวาจาส่อเสียด
    โทสะ -> การดูถูกเหยียดหยาม -> ขาดเมตตา -> เกิดวาจาหยาบคาย
    โมหะ -> ความงมงาย -> ไม่รู้ความจริง ฟังและเชื่อตามกันมา -> เกิดวาจาเพ้อเจ้อ ไร้สาระ
    ภยา -> ความกลัว -> ระแวงว่าคนอื่นจะรู้ความจริง -> เกิดวาจาโกหกหลอกลวง

    ........

    ถ้ากำจัดธิดาพญามาร 4 ตัวนี้ไม่ได้ มันจะแผ่ลูกหลานเป็นอุปกิเลส 16 อันเป็นเครื่องขัดขวางไม่ให้จิตประภัสสร เสนามารเป็นลูกน้องของธิดาพญามารอีกทีหนึ่ง อคติทั้งสี่แตกออกมาอย่างละ 4 ชนิด เมื่อนำมารวมกันจึงเกิดเป็นอุปกิเลส 16 (4x4=16) เสนามารจึงหมายถึงอุปกิเลส 16 นั่นเอง

    [​IMG]

    ถ้าอยากกำจัดอุปกิเลส 16 ให้หมดไปเพื่อให้จิตผ่องใสประภัสสร คุณจะจัดการกร่อนทีละตัวก็ได้ หรือจะสังเกตไปที่ตัวแม่ คือธิดาพญามารหรืออคติทั้งสี่ และวาจาทั้งสี่ชนิดเลยก็ได้ สังเกตแล้วกร่อนมันทิ้ง กลับสู่สุญญตา สมมติว่ามีวาจาใดๆ ผุดขึ้นมาในจิตหรือความรู้สึกของคุณ แสดงว่าอุปกิเลสเกิดแล้ว ให้คุณกลับไปดูที่อคติ 4 กลับไปดูว่ากิเลสตัวไหนที่คุณ freeze เอาไว้ อะไรคือต้นทาง อะไรคือพ่อของมัน ไล่เรียงไปตั้งแต่เสนามาร ธิดาพญามาร จนถึงพญามาร คุณกำราบได้สามเหล่าทัพเมื่อไหร่ คุณก็เป็นผู้ชนะ

    .....

    มารก็คือดวงจิตหนึ่งที่ยังเข้าไม่ถึงธรรม จิตที่ยังดื้อ ยังพยศ ทันทีที่คุณลดความเป็นมารลงได้ ความเป็นปราชญ์ก็เพิ่มพูน หน่อเชื้อแห่งพุทธก็งอกงามตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน

    ที่มา| หนังสือทรัพย์แท้ของพระพุทธเจ้า | หน้า 75-87 | รัตนทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      626.2 KB
      เปิดดู:
      83
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2013
  11. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    วิธีละอาสวะ ๗ ประการ


    วิธีละอาสวะ ๗ ประการ

    พุทธดำรัส “....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่จะพึงละได้เพราะการเห็นมีอยู่ ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี ที่จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพก็มี ที่จะพึงละได้เพราะการเว้นรอบก็มี ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี ที่จะพึงละได้เพราะการบรรเทาก็มี ที่จะพึงละได้เพราะการอบรมก็มี”

    1) การละอาสวะด้วยการเห็น
    พุทธดำรัส “...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย .... เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญขึ้น..... ปุถุชนมนสิการโดยไม่แยบคายอย่างนี้ว่า
    “เราได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ เราไม่ได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักมีหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักไม่มีหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไร แล้วจึงจักเป็นอะไรหนอ หรือว่าปรารภกาลปัจจุบัน ในบัดนี้ มีความสงสัยขึ้นภายในว่าเรามีอยู่หรือเราไม่มีหรือ เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้มาแต่ไหนหนอ และมักจักไป ณ ที่ไหน
    พุทธดำรัส “...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย .... เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญขึ้น..... ปุถุชนมนสิการโดยไม่แยกคายอย่างนี้ว่า
    “เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการโดยไม่แยบคายอย่างนี้ ทิฐิอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาทิฐิ ๖ ย่อมเกิดขึ้น ... แก่ปุถุชนนั้นว่า
    (๑) อัตตาของเรามีอยู่หรือว่า
    (๒) อัตตาของเราไม่มี
    (๓) เราย่อมรู้อัตตาด้วยอัตตา หรือว่า
    (๔) เราย่อมรู้อนัตตาด้วยอัตตา หรือว่า
    (๕) เราย่อมรู้อัตตาด้วยอนัตตา .....
    (๖) อัตตาของเรานี้ได้เป็นผู้เสวย (ในอดีต) ย่อมเสวย (ในปัจจุบัน) วิบากของกรรมทั้งดีทั้งชั่วในอารมณ์นั้น ๆ ก็ตนของเรานี้นั้นเป็นของเที่ยง ยั่งยืนติดต่อ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดาจักตั้งอยู่อย่างนั้น เสมอด้วยสิ่งยั่งยืนแท้
    ข้อนี้เรากล่าวว่าทิฐิ ชัฏคือทิฐิ ทางกันดารคือทิฐิ เสี้ยนหนามคือทิฐิ ความดิ้นรนคือทิฐิ สิ่งที่ประกอบสัตว์ไว้ คือทิฐิ.... เรากล่าวว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ประกอบด้วย ทิฐิ สังโยชน์ ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมพ้นจากทุกข์ “
    พุทธดำรัส “ …. อริยสาวกนั้นย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการอยู่โดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมเสื่อมสิ้นไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้เรากล่าวว่าจะพึงละได้เพราะการเห็น”

    2) การละอาสวะด้วยการสังวร
    พุทธดำรัส “....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในจักขุนทรีย์ ... ในโสตินทรีย์ ... ในฆานินทรีย์ .....
    ในชิวหินทรีย์ ...... ในมนินทรีย์ ..... ก็อาสวะแล้วความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใดพึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่สำรวมในมนินทรีย์อยู่ อาสวะแล้วความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สำรวมในมนินทรีย์อยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่าจะถึงละได้เพราะการสังวร ฯ”

    3) การละอาสวะด้วยการพิจารณาเสพ
    พุทธดำรัส “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพจีวรเพียงเพื่อกำจัดความหนาวร้อน สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อจะปกปิดอวัยวะที่ให้ความละอายกำเริบ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบิณฑบาต มิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตบแต่ง เพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่เพื่อให้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่าจะกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วยจะไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไป ความไม่มีโทษและความอยู่สบายด้วย จักมีแก่เรา ฉะนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วย่อมเสพเสนาสนะเพียงเพื่อกำจัด หนาวร้อน สัมผัสแห่งเหลือบยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายแต่ฤดูเพื่อรื่นรมย์ในการออกเร้นอยู่ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบริขารคือยา อันเป็นปัจจัยแก่คนไข้เพียงเพื่อกำจัดเวทนาที่เกิด แต่อาพาธต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความเป็นผู้ไม่มีอาพาธเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง ฯ”
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะแล้วความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนี้ ผู้ไม่พิจารณาเสพปัจจัยอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้พิจารณาเสพอยู่อย่างนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่าจะพึงละได้ด้วยการพิจารณาเสพฯ”

    4) การละอาสวะด้วยความอดกลั้น
    พุทธดำรัส “..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย สัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้มีชาติของผู้อดกลั้นต่อถ้อยคำที่ผู้อื่นกล่าว ชั่ว ร้ายแรง ต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัว ซึ่งยังเกิดขึ้นเป็นทุกข์ กล้า แข็ง เผ็ด ร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อาจพร่าชีวิตเสียได้”
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะแล้วความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่อดกลั้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อน.....เหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้อดกลั้นอยู่อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่าจะพึงละได้เพราะความอดกลั้น”

    5) การละอาสวะด้วยการเว้นขาด
    พุทธดำรัส “..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เว้นช้างที่ดุร้าย ม้าที่ดุร้าย โคที่ดุร้าย สุนัขที่ดุร้าย งู หลัก ตอ สถานที่มีหนาม บ่อ เหว ที่เต็มด้วยของไม่สะอาดโสโครก เพื่อพรหมจรรย์ ผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลาย พึงกำหนดลงซึ่งบุคคลผู้นั่ง ณ ที่มิใช้อาสนะเป็นปานใด ผู้เที่ยวไป ณ ที่มิใช่โคจรเห็นปานใด ผู้คบมิตรที่ลามกเห็นปานใด ในสถานที่ทั้งหลายอันลามก ภิกษุนั้นพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เว้นที่มิใช่อาสนะนั้น ที่มิใช่โคจรนั้น และมิตรผู้ลามกเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจริงอยู่ อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่เว้นสถานที่หลักบุคคลอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อน .... เหล่านั้น ย่อมมีแก่ภิกษุนั้นผู้เว้นขาดอยู่อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้เรากล่าวว่าจะพึงละได้เพราะการเว้นขาด”

    6) การละอาสวะด้วยการบรรเทา
    พุทธดำรัส “..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทากามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว.... พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว..... วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา ธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้วทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่บรรเทาอันใดอันหนึ่ง อาสวะแล้วความเร่าร้อน .... เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้บรรเทาอยู่อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความบรรเทาฯ”

    7) การละอาสวะด้วยการอบรม
    พุทธดำรัส “..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เจริญสติสัมโพชฌงค์.... เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละลง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะ และความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่อบรมธรรมอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อน.... เหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้อบรมอยู่อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้เรากล่าวว่าจะพึงละได้เพราะการอบรม”

    สัพพาสวสังวรสูตร มู. ม. (๑๑-๑๘)
    บ. ๑๒ : ๑๒-๒๐ ตท.๑๒ : ๑๒-๑๘
    ตอ. MLS. I : ๙-๑๖



    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี
     
  12. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น

    028 ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น

    ปัญหา มีบางคนกล่าวว่า หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ “ธรรมทั้งปวงที่ไม่ควรยึดมั่น” ดังนี้ พระพุทธองค์ตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไร ?

    พุทธดำรัส ตอบ “.....ดูก่อนจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้ว ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งอะไรๆในโลก เมื่อไม่ยึดมั่นย่อมสะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนจอมเทพ กล่าวโดย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้ว ในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จอันยิ่งยวด ถึงที่สุดอันยิ่งยวด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ ”

    จูฬตัณหาสังขยสูตร มู. ม. (๔๓๙)
    ตบ. ๑๒ : ๔๗๐-๔๗๑ ตท.๑๒ : ๓๘๒-๓๘๓
    ตอ. MLS. I : ๓๑๐-๓๑๑
     
  13. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    "..การแสดงโอวาทปาฏิโมกข์พระพุทธเจ้าทรงแสดงเองเป็นวิสุทธิอุโบสถ คืออุโบสถในท่ามกลางแห่งบุคคลผู้บริสุทธิ์ล้วน ๆ ไม่เหมือนพวกเราซึ่งแสดงปาฏิโมกข์ในท่ามกลางแห่งบุคคลผู้มีกิเลสล้วน ๆ ไม่มีบุคคลผู้สิ้นกิเลสสับปนอยู่เลยแม้คนเดียว

    ฟังแล้วน่าสลดสังเวชอย่างยิ่งที่พวกเราก็เป็นคนผู้หนึ่ง หรือเป็นพระองค์หนึ่งในความเป็นศากยบุตรของพระองค์ องค์เดียวกัน แต่มันเป็นเพียงชื่อไม่มีความจริงแฝงอยู่บ้างเลย เหมือนคนที่ชื่อว่าพระบุญ เณรบุญ และนายบุญ นางบุญ แต่เขาเป็นคนขี้บาปหาบแต่โทษและอาบัติใส่ตัวแทบก้าวเดินไปไม่ได้

    สมัยโน้นท่านทำจริงจึงพบแต่ของจริง พระจริง ธรรมจริงไม่ปลอมแปลง ตกมาสมัยพวกเรากลายเป็นมีแต่ชื่อเสียงเรืองนามสูงส่งจรดพระอาทิตย์ พระจันทร์ แต่ความทำต่ำยิ่งกว่าขุมนรกอเวจี แล้วจะหาความดี ความจริง ความบริสุทธิ์มาจากไหน เพราะสิ่งที่ทำมันกลายเป็นงานพอกพูนกิเลสและบาปกรรมไปเสียมาก มิได้เป็นงานถอดถอนกิเลสให้สิ้นไปจากใจ แล้วจะเป็นวิสุทธิอุโบสถขึ้นมาได้อย่างไรกัน

    บวชมาเอาแต่ชื่อเสียงเพียงว่าตนเป็นพระเป็นเณรแล้วก็ลืมตัว มัวแต่ยกว่าตนเป็นผู้มีศีลมีธรรม แต่ศีลธรรมอันแท้จริงของพระของเณรตามพระโอวาทของพระองค์แท้ ๆ นั้นคืออะไร ก็ยังไม่เข้าใจกันเลย ถ้าเข้าใจในโอวาทปาฏิโมกข์ท่านสอนว่าอย่างไร นั่นแลคือองค์ศีลองค์ธรรมแท้ ท่านแสดงย่อเอาแต่ใจความว่า การไม่ทำบาปทั้งปวงหนึ่ง การยังกุศลคือความฉลาดให้ถึงพร้อมหนึ่ง การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้วหนึ่ง นี่แลเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

    การไม่ทำบาป ถ้าทางกายไม่ทำแต่ทางวาจาก็ทำอยู่ ถ้าทางวาจาไม่ทำแต่ทางใจก็ทำ และสั่งสมบาปวันยังค่ำจนถึงเวลาหลับ พอตื่นจากนอนก็เริ่มสั่งสมบาปต่อไปจนถึงขณะหลับอีก เป็นอยู่ทำนองนี้ โดยมิได้สนใจคิดว่าตัวทำบาปหรือสั่งสมบาปเลย แม้เช่นนั้นยังหวังใจอยู่ว่า ตนมีศีลมีธรรม และคอยเอาแต่ความบริสุทธิ์จากความมีศีลมีธรรมที่ยังเหลือแต่ชื่อนั้น

    ฉะนั้นจึงไม่เจอความบริสุทธิ์ กลับเจอแต่ความเศร้าหมองวุ่นวายภายในใจอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ก็เพราะตนแสวงหาสิ่งนั้นก็ต้องเจอสิ่งนั้น ถ้าไม่เจอสิ่งนั้นจะให้เจออะไรเล่า คนเราแสวงหาสิ่งใดก็ต้องเจอสิ่งนั้นเป็นธรรมดา เพราะเป็นของมีอยู่ในโลกสมมุติอย่างสมบูรณ์ ที่ท่านแสดงอย่างนี้ แสดงโดยหลักธรรมชาติของศีลธรรมทางด้านปฏิบัติ เพื่อนักปฏิบัติได้ทราบอย่างถึงใจ.."

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    แสดงธรรมเมื่อวันมาฆบูชา
    เพ็ญเดือนสาม พ.ศ.๒๔๙๒
    ที่มา fb เครือข่ายกลุ่มพุทธธรรมกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
     
  14. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    เพราะเมื่อวาง คือวางทั้งหมด เป็นธรรมดาต่อทุกสิ่ง
    ไม่มีการเลือกรักเลือกชัง เลือกดีเลือกไม่ดี

    พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ)

    ที่มา fb ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ย.พ.ส.)
     
  15. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    จิตส่งใน

    จิตส่งใน อาการหรือกริยาจิตที่ส่งจิตหรือใจไปในกาย เฝ้าสังเกตุ จดจ้อง ทั้งในสภาพรู้ตัว และไม่รู้ตัว อยู่เกือบตลอดเวลา คือ ติดเพลินจึงคอยเฝ้าเสพรสความสุข ความสบายต่างๆอันเกิดขึ้นแต่กายที่รู้สึกได้ อันเกิดขึ้นมาจากอำนาจขององค์ฌานต่างๆ เช่น ปีติความซาบซ่านหรืออิ่มเอิบกาย ความสบายกาย
    หรือ อาการที่ส่งจิตไปในจิต คือจิตเฝ้าสังเกตุจดจ้อง ทั้งในสภาพรู้ตัวและไม่รู้ตัวอยู่เกือบตลอดเวลา คือ ติดเพลินจึงเฝ้าแอบเสพรสความสุขอันเกิดแต่จิต ด้วยอำนาจขององค์ฌานหรือสมาธิ เพราะความไม่รู้ จึงเพลิดเพลินไปในความสุขสงบ หรือปีติ,สุข,อุเบกขา,เอกกัคคตา
    หรือ อาการที่เกิดจากการหลุดไปจากองค์ฌาน จึงเกิดอาการส่งจิตไปคอยจดจ้อง ค้นหา คอยก่อ คอยกระทำองค์ฌาน เช่นความสุข,ความสงบมความสบายต่างๆ ที่หายไปด้วยความถวิลหา,ความอยาก, หรืออีกอาการหนึ่งคือ ส่งจิตไปคอยจดจ้องความกระวนกระวายหรืออึดอัดจากความไม่สบายกายใจต่างๆจากการหายหรือดับไปขององค์ฌานหรือความสุขสงบ โดยไม่รู้ตัว
    จิตส่งใน เป็นภัยหรือให้โทษ ต่อผู้ปฏิบัติอย่างยิ่งยวด เมื่อเป็นสังขารสั่งสมตามความเคยชิน
    คนละอย่างกับกายานุปัสสนาหรือจิตตานุปัสสนา ในสติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นการเจริญวิปัสสนาจริงๆ ที่หมายถึง จิตคือสติ ที่ตามดู,พิจารณารู้เท่าทันกายและจิต แล้วพิจารณาหรือเจริญวิปัสสนาเพื่อให้เกิดนิพพิทา เพื่อการปล่อยวางโดยไม่ยึดมั่นหมายมั่นใดในสิ่งใดๆหรืออุเบกขา จึงไม่ใช่อาการจิตส่งในไปแช่นิ่งอยู่ภายใน กล่าวคือจดจ่อจดจ้องแบบติดเพลินเพื่อแอบเสพรสความสุขสงบสบายต่างๆอันบังเกิดขึ้นทั้งต่อกายและจิตอย่างไม่ปล่อยวาง แม้แต่ในเวลาปกติขณะดำเนินชีวิตประจำวัน และแม้ขณะหลับ จึงไม่ใช่เกิดขึ้นเฉพาะขณะเวลาปฏิบัติพระกรรมฐานเต็มรูปแบบเท่านั้น
    จิตส่งในเป็นกริยาจิต หรืออาการของจิตที่ติดเพลิน(ตัณหา)ในองค์ฌานต่างๆ จึงเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท คือก่อทุกข์ในที่สุด
    ส่วนนักปฏิบัติที่ปฎิบัติฌานสมาธิพร้อมทั้งเจริญวิปัสสนาไปด้วยอย่างถูกต้องและจริงใจ ไม่ติดเพลินในองค์ฌานหรือสมาธิ ก็ไม่ต้องไปกังวลให้เป็นวิจิกิจฉา


    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี
     
  16. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    จิตส่งออกนอก

    อย่าจิตส่งใน ไปแช่นิ่ง หรือเสพรส (ย่อมเพราะติดเพลิน และขาดสติ)
    และอย่าส่งจิตออกนอก ไปฟุ้งซ่านปรุงแต่ง (ให้เกิดผัสสะต่างๆนาๆ อันย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาต่างๆ อันย่อมอาจเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์อุปาทานขึ้น อันย่อมต้องเป็นไปตามปฏิจจสมุปบันธรรม)


    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี
     
  17. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    ธรรมของพระองค์เป็นปัจจัตตัง

    ธรรมของพระองค์เป็นปัจจัตตัง


    สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญ ดังนี้

    ๑. ธรรมของตถาคตเป็น ปัจจัตตัง ใครปฏิบัติถึงแล้วย่อมรู้ได้ด้วยตนเอง เฉพาะตนของใครของมัน กรรมใครกรรมมัน ธรรมของใครก็ของผู้นั้น ทำแทนกันไม่ได้

    ๒. เมื่อเข้าใจธรรมในข้อแรกแล้ว ก็จะเข้าใจคำสอนที่ว่า ธรรมของตถาคต ผู้ใดปฏิบัติจนเกิดความเข้าใจ หรือรู้ได้ด้วยตนเองเพียงครั้งเดียว ดีกว่ามีผู้อื่นมาบอกให้รู้ ๑๐๐ ครั้ง ๑,๐๐๐ ครั้ง

    ๓. ธรรมของตถาคต ไม่มีอะไรขัดแย้งกัน ผู้ที่ยังปฏิบัติไม่ถึงจึงต้องมีการขัดแย้งกันเป็นธรรมดา เพราะรู้ - เห็นไม่เหมือนกัน ตามบารมีธรรมของแต่ละคน ให้จับหลักข้อนี้ไว้ ก็จะเข้าถึงตัวธรรมดาได้ไม่ยาก

    ๔. ใครยังไม่เข้าใจจุดนี้ ก็ย่อมยังมีอารมณ์ ๒ (พอใจกับไม่พอใจ) ยังมีการตำหนิกรรมของผู้อื่น ยังยึดผิด-ถูก ดี-เลว อยู่เป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์ ๔ - ๕ ยังไม่ขาด เป็นการเห็นกันต่างมุม-ต่างทิฐิ-ต่างความเห็น เป็นสงครามทางความคิด

    ๕. ธรรมของตถาคตต้องจำให้ได้เป็นประการแรก แล้วนำไปปฏิบัติตามให้เกิดผลเป็นขั้นที่ ๒ โดยนำไปใคร่ครวญให้เกิดปัญญา (ธัมมวิจยะ) ธรรมนั้น ๆ จะเดินไปในทางเดียวกันหมด จนที่สุดรวมเป็นหนึ่ง เป็น เอโกธัมโม

    ๖. ธรรมทุกข้อทุกขั้นตอนของพระองค์ จะเกิดขึ้นได้จากความเพียรชอบเท่านั้น มิใช่เพียรขออธิษฐาน อ้อนวอน แต่ไม่ยอมปฏิบัติ พระองค์จะสงเคราะห์เราได้ เราจะต้องช่วยจิตของเราให้สงบปราศจากนิวรณ์ก่อน โดยเจริญอานาปานัสสติ ควบคำภาวนา ยิ่งจับกสิณภาพพระ หรือภาพพระนิพพานได้ก็ยิ่งดี ส่วนใหญ่พวกเรามักเผลอ จิตทิ้งพระจึงยังเอาดีกันไม่ได้

    ๗. ส่วนใหญ่ประมาทและขาดความเพียรชอบ พอทำได้หรือพอสัมผัสธรรมได้ แต่ยังไม่ชำนาญ ก็วางธรรมนั้นไปสนใจธรรมอื่น ๆ ต่อไป จะต้องเพียรปฏิบัติต่อไปให้เกิด ความชำนาญจนจิตชิน กลายเป็นฌาน ชินในอารมณ์นั้น ๆ แบบเพียรรักษาศีล จนศีลรักษาเราไม่ได้ผิดศีลอีก เป็นสีลานุสสติเพียรทำทาน โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากเพื่อพระนิพพานจุดเดียว เป็น จาคานุสสติ เพียรระวังจิตอย่าให้มันคิดชั่ว เพราะกลัวผลของกรรมชั่วจะเกิดกับจิตตน เป็น เทวตานุสสติ และยากที่สุด คือ เพียรรักษาพรหมวิหาร ๔ จนกระทั่งพ้นภัยจากอารมณ์จิตของเรา ทำร้ายจิตเราเอง ได้ทรงตัว ใครทำได้ก็พ้นภัยตนเอง ต้องทำให้ชินจนเป็นฌาน

    ๘. ทรงตรัสว่า การกำหนดรู้วาระจิตในทุกๆ ขณะจิตนั้นแหละ คือ จิตตานุสติปัฏฐาน ซึ่งตามปกติถ้าจิตยังเจริญไม่ถึง จักฟังสักเท่าไหร่ กี่ครั้งกี่หน ก็รู้ไม่ได้อยู่ดี จนกว่าถึงแล้วก็รู้เอง นี่คือการศึกษาปฏิบัติในหลักสูตรของพระพุทธศาสนา ซึ่งฟังแต่ปริยัติจักเข้าใจไม่ได้ จนกว่าจักปฏิบัติถึงแล้ว จึงจักเข้าใจ เพราะธรรมเป็น ปัจจัตตัง ถึงแล้วรู้เอง

    ๙. และการสอนให้ปฏิบัติมาตามนี้ ก็เป็นอยู่ในหลักสูตรของพระพุทธศาสนา การสอนให้เข้าถึงธรรมปัจจุบันอย่างนี้ เขาเรียกว่าสอนโดยพิสดาร สอนแล้วปฏิบัติมาก็ตรงแนวคำสอนเดิมอยู่ดี แตกต่างกันไปตามศัพท์แสง คำอธิบายเท่านั้น ซึ่ง ถ้าใช้ภาษาในอดีตคือต้นพุทธกาล พวกเจ้าก็จักเข้าใจยาก หรือยากที่จักเข้าใจ (จัดเป็นพระเมตตาของพระองค์อย่างหาประมาณมิได้)

    ๑๐. นักปฏิบัติพระกรรมฐาน ถ้าไม่รู้จุดนี้ จักปฏิบัติให้เข้าถึง อริยมรรค อริยผล เบื้องสูงได้ยาก แต่เมื่อรู้แล้วยังจักต้องปฏิบัติให้คล่องแคล่วชำนาญยิ่งๆ ขึ้นด้วย จึงจักมีมรรคผลเกิดขึ้นได้



    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี
     
  18. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    มาเจริญ "พรหมวิหาร4" กันให้มากๆ..

    เมตตาคุ้มครองโลก
    เท่ากับ เมตตาอัปมาโณ เท่ากับ ธัมโมอัปมาโณ​


    สมเด็จองค์ปฐมทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ ดังนี้

    เพื่อนผู้ร่วมปฏิบัติธรรมกับผม ท่าน ธัมมวิจัยว่า อภัยทานตัวจริง จะต้องทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ครบทั้ง ๔ ตัว และทรงตัวเป็นปกติ และบุคคลที่ยังมีอารมณ์ ๒ อยู่ ก็เพราะยังตัดสังโยชน์ ๔ และ ๕ ไม่ขาด สมเด็จองค์ปฐมก็มีพระเมตตาตรัสสอนว่า

    ๑. จริงของเจ้าที่ว่าอภัยทานจักเกิดแก่จิตของผู้ใด บุคคลผู้นั้นจักต้องทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ครบ ๔ ตัวอยู่ตามปกติ แต่จักทำได้ไฉนเล่า นี่แหละคือเหตุที่ตถาคตจักต้องนำมากล่าวในที่นี้

    ๒. พรหมวิหาร ๔ เป็นสมบัติของพรหมธรรม นอกเหนือจากพรหมที่เกิดด้วยกำลังฌาน พรหมวิหาร ๔ เป็นพี่เลี้ยงของศีล - สมาธิ - ปัญญาให้ตั้งมั่นพรหมวิหาร ๔ เป็นตัวปัญญาอันเกิดขึ้นได้ด้วยการพิจารณา ใคร่ครวญถึงเหตุผลของที่ตั้งได้ของพรหมวิหาร ๔ ทั้ง ๔ ตัวนี้ การใคร่ครวญทำดังนี้

    ๓. จริงๆ แล้วการปฏิบัติในศีลได้เป็นปกติ เพราะอำนาจหิริ - โอตตัปปะ กลัวบาป เกรงผลของบาปจักให้ผล เป็น เทวธรรม ที่ทำให้สงบจิต เว้นจากการทำบาป กลัวตกนรกและจัดว่าเป็นอำนาจของพรหมวิหาร ๒ ประการเบื้องต้น

    ๔. การงดเว้นจากการกระทำกรรมชั่ว ๕ อย่าง ก็เป็นเมตตากับกรุณาอยู่ในตัวเสร็จสรรพ เหมือนคนกินแกงส้ม แต่ไม่รู้จักชื่อแกงส้ม นี่ก็เช่นกัน ประพฤติปฏิบัติตามแบบฉบับของเมตตา - กรุณา แต่ไม่เคยคิดถึงชื่อเมตตา - กรุณาเลย คือ ปฏิบัติโดยไม่คิดถึงชื่อสมมุติบัญญัติ ให้ลงพิจารณาไล่ดู หากขาดเมตตา - กรุณา - มุทิตา - อุเบกขาทีละข้อๆ ว่า ขาดแล้ว การกระทำ (กรรม) ของกาย - วาจา - ใจจักออกมาในรูปใด คิดให้ออก คิดให้บ่อยๆ แล้วจักเข้าใจได้เอง

    ๕. เมื่อเข้าใจแล้ว ให้คิดกลับกันว่า หากมีเมตตา - กรุณา - มุทิตา - อุเบกขา ทีละข้อๆ แล้ว การกระทำทางกาย - วาจา - ใจ จักออกมาในรูปใด>

    ๖. ขั้นต่อไป ก็ให้พิจารณาคิดเทียบไปกับอารมณ์กระทบของอายตนะภายนอกและภายใน เริ่มจากพบตา - ห ู- จมูก - ลิ้น - กาย และธรรมารมณ์ตามลำดับ ทีละข้อ ๆ โดยตั้งคำถามกับจิตว่า ตาเห็นรูป รูปดีหรือรูปไม่ดี หากมีพรหมวิหาร ๔ กับไม่มีพรหมวิหาร ๔ กาย - วาจา - ใจจักเป็นอย่างไร ซึ่งคนฉลาดพิจารณาเพียงอย่างเดียว หากได้คำตอบแล้วอีก ๕ ข้อก็จะมีอารมณ์เหมือนๆ กันทั้งสิ้น

    ๗. เรื่องสัมผัสทางกาย ตถาคตหมายถึงทุกอย่างที่เข้ามาสัมผัสด้วยกาย แม้กระทั่งร่างกายกระทบอากาศร้อน - หนาว กระทบเสื้อผ้าอาภรณ์ และสิ่งอื่นๆ ที่มากระทบร่างกาย ก็ให้ปฏิบัติแบบในข้อ ๖ ทั้งสิ้น เช่น เสียงจากโลกธรรม ๘ คือ เสียงนินทา - สรรเสริญ, เสียงผู้ไม่มีศีล - เสียงผู้ไม่มีกรรมบถ ๑๐ ก็ให้พิจารณาโดยใช้หลักเดียวกัน

    ๘. หากจิตพิจารณาตามหลักเหล่านี้ดีแล้ว พรหมวิหาร ๔ ก็จะเริ่มทรงตัวอยู่กับจิต เมื่อกระทบกับเสียงที่ไม่ดีทั้งหลาย เมตตา - กรุณาก็จักรักและสงสารว่าเขาไม่น่าทำอย่างนั้นเลย การผิดศีล, ละเมิดกรรมบถ ๑๐ จะต้องตกเป็นเหยื่อของอบายภูมิ มีมุทิตาคือจิตอ่อนโยน อภัยในความชั่วของเขา คือ ไม่เก็บความชั่วของเขามาไว้ในจิตของเรา หากเตือนได้ก็เตือนด้วยเหตุด้วยผล ถ้าเตือนไม่ได้ก็เรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา อย่าเก็บเอามาให้ กาย - วาจา - ใจ เราเดือดร้อน อุเบกขา คือ มีจิตปล่อยวางในเสียงนั้น เพราะพิจารณาเห็นเป็นธรรมดาของเขา เป็นปกติของผู้ไม่มีศีล ไม่มีกรรมบถ ๑๐ มันก็เป็นธรรมดาอย่างนี้แหละ

    ๙. นี่แหละคือการใคร่ครวญถึงพรหมวิหาร ๔ ทั้ง ๔ ประการ จักต้องคิดไว้ ใคร่ครวญไว้ ใช้ปัญญาตามรู้เข้าไว้ จุดนี้เป็นวิปัสสนาญาณและให้คิดจบลงตอนท้ายทุกๆ ข้อว่า หากเราตายตอนนี้จิตเราจักไปไหน หากมีพรหมวิหาร ๔ กับไม่มีพรหมวิหาร ๔ ให้ปริปุจฉาถาม - ตอบในจิตตนเองให้เป็นปกติ

    ๑๐. พวกเจ้าจงอย่าละความเพียร ใช้ฌานเป็นกำลังของจิตควบกับคำภาวนา สลับกับการพิจารณาอยู่อย่างนี้อย่าให้ขาด เช่นเดียวกับในอดีตธรรมที่ใคร่ครวญเรื่องของศีล ทำได้เมื่อใด เมื่อนั้นแหละจิตของพวกเจ้าจักรู้ว่ามีพรหมวิหาร ๔ ครบทั้ง ๔ ประการ เจริญอยู่ในจิตตราบนั้น และจักเป็นของแท้ พระอริยเจ้า ท่านได้แล้วได้เลย เข้าถึงแล้วก็รู้ว่าเข้าถึง ไม่มีอันใดที่จักมาโยกคลอน เปลี่ยนแปลงจิตของท่านได้อีก ขอให้โชคดีนะ

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน



    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี
     
  19. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    การประทักษิณเวียนเทียนเนื่องในวันมาฆบูชา

    การที่ต้องเดินประทักษิณเวียนเทียน เป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ เป็นพลังเร้นลับ คนไม่รู้ก็จะถามว่า เวียนทำไม มีประโยชน์อะไร

    การเวียน ก็เพื่อให้เกิดพลังบุญ เกิดสวัสดีโชคลาภ พร้อมทั้งคลายทุกข์โศกโรคภัย และเวรต่างๆ

    เวียนอะไร ที่ไหน ก็คือเวียนปูชนียวัตถุสูงสุด มีต้นศรีโพธิพฤษ์ พระเจดีย์บรมธาตุ พระพุทธรูปปฏิมากรเป็นต้น ปูชนียวัตถุเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้าๆเป็นเนื้อนาบุญของโลกอันหาได้ยาก เกิดขึ้นยากในโลกเหมือนกับว่า หน่อแก้ว หน่อคำ หน่อเงิน เกิดขึ้นในป่า ไม่ใช่ของใคร คนใดพบแล้วในป่า ไม่รีบเก็บโกยเอาก็โง่เต็มที

    พระพุทธเจ้า เป็นบ่อทิพย์บ่อธรรมอันอุดมเป็นที่ไหลออกแห่งความสมหวังทุกประการ
    การเวียนๆ ไปหนึ่งก้าวย่าง ย่อมเป็นบุญอันเลิศ เกิดขึ้นทุกก้าวย่าง ถ้าหากจะกล่าวเป็นทรัพย์ย่างไปก้าวหนึ่ง ทรัพย์ก็ไหลออกมาให้แสนหนึ่ง ถ้าเดินไปหลายๆ ก้าวย่าง เพียงแค่ ๑๐ ก้าว ก็จะเป็นทรัพย์ออกมาเป็นล้าน ถ้าเราเดินให้มาก ความสมหวังอันไหลออกมา ก็ย่อมเพียงพอ คือเหลือกิน เหลือใช้ ก็จะเป็นคนไม่มีทุกข์ เวียนรอบสิ่งอื่น ที่ไม่ใช่ปูชนียวัตถุพุทธเจ้าจะเป็นบุญหรือไม่ การเวียนรอบสิ่งอื่นที่ไม่ใช่พุทธนั้นเป็นบุญก็มี ไม่เป็นบุญก็มี แต่คงไม่ใช่บุญเลิศ เพราะว่าพระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณอันไม่บกพร่องใหญ่หลวง เป็นอัปปมาโณพุทโธ คือคุณนั้นกว้างใหญ่จนหาประมาณมิได้ เหลือประมาณได้

    การเดินรอบ จะเป็นรอบกว้างหรือรอบแคบ ก็ย่อมอยู่ในกฏเกณฑ์เดียวกันคือ กฎวงจักร ๑๐๘ องค์เหมือนกัน เริ่มที่ใดเวียนมาถึงที่เดิมนั้นก็เป็น ๑๐๘ และกฎจำกัดอีกประการก็ คือ ต้องเวียนขวา ซึ่งหมายถึงเวียนไปทางใต้ เพราะการเริ่มเราต้อองเริ่มทิศด้านใต้ เนื่องจากว่าทิศด้านใต้เป็นทิศต่ำ กล่าวโดยตรง ก็คือ เราจากที่ต่ำไปหาที่สูง ที่สูงคือด้านทิศเหนือ ณ ที่นี้ เราอุปมาเหมือนมี ๒ ทิศ ทิศขวา กับทิศซ้าย
    ทิศซ้าย หมายถึง ทิศเหนือแห่งโลกเรา ทิศขวา หมายถึง ทิศใต้แห่งโลกเรา โลกเราทิศเหนือสูง ทิศใต้ต่ำ
    ว่าถึงที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์ และเมืองพรหมนั้นอยู่ทิศเหนือของโลกเรา

    ทิศใต้โลกเราคือ ชมพูทวีป เป็นเมืองมนุษย์ๆอยู่ติดสมุทรน้ำเค็ม เทวโลกอยู่เหนือเขาสุเมรุ ซึ่งเขาสุเมรุเป็นที่สูงกว่าภูเขาทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ ยอด ส่วนเมืองพรหมนั้นสูงกว่าสูงกว่าสวรรค์ ๖ ชั้นไปอีกเมื่อเราเวียนๆ ไปหนึ่งรอบก็เท่ากับว่าเราเวียนไปรอบโลก เราไปหนึ่งโลก พร้อมทั้งเทวโลกและพรหมโลก ด้วย แต่เพราะเราเวียนไป ๓ รอบจึงเป็นของเทวโลก ๑ รอบ ของพรหมโลกอีก ๑ รอบ

    เวียนเทียนฯ
    เวลาทำประทักษิณเวียนเทียน เราจะทำใจอย่างไร จะเอาอะไรมาเป็นอารมณ์

    ให้เอามรรคมีองค์แปด ในพระธัมจักรมาเป็นอารมณ์บทนำ มรรค คือ ทางแปด มีสัมมาทิฏฐิเห็นชอบเป็นต้น

    รอบแรกเดินไปว่าไป

    (ใช้ทำนองสวด)

    ทางเอก มีแปดอย่าง ทางสายกลาง วิสุทธี เป็นเอก อื่นบ่มี เป็นเอกที่ พ้นทุกข์ภัย
    เห็นเกิดแก่เจ็บตาย ลับเลือนหาย ห่วงโหยไห้ เป็นเพลิง ผลาญเผาไหม้ เห็นแจ้งใจ สวัสดีฯ


    สัมมาทิฎฐิ สัมมาสังกัปโป

    สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต

    สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม

    สัมมาสติ สัมมาสมาธิฯ

    ปทักขิณัง กายกัมมัง ปทักขิณัง วาจากัมมัง

    ปทักขิณัง มโนกัมมัง ปทักขิณังมโนกัมมันติฯ

    อิติปิโส ภควา อรหัง สัมมา สัมพุทโธ; วิชชาจรณสัมปันโน สุคโตโลกวิทู; อนุตตโรปุริสธัมมะ สารถิ ศรัทธา เทวมนุสสานัง พุทโธ ภควา ติ ฯ

    รอบที่สองก็เหมือนรอบแรก เปลี่ยนจากอิติปิโส มาเป็นสวาขาโตฯ

    รอบที่สามก็เหมือนรอบแรก ใช้มรรคแปดเป็นอารมณ์ บทนำแล้วก็ ตอนท้ายเปลี่ยนมาเป็นสุปฎิปันโนฯ

    คำว่ารู้วางว่างอยู่ ถอดเอามาจากมรรคมีองค์ ๘ ข้างต้น ซึ่งหมายถึงเห็นชอบ ทำสมาธิชอบ อันเป็นคู่แรกยอดเยี่ยม

    ๑. คู่แรก รู้วางว่างอยู่ คือ นิพพานสมบัติฯ
    ๒. คู่รองถัด เข้าอู่ดูไข คือ พรหมสมบัติฯ
    ๓. คู่ที่สาม พูดงามเพียรดี คือ เทวสมบัติฯ
    ๔. คู่ที่สี่ กัมดีกินใส คือ มนุษย์สมบัติ
    แต่ละคู่ จะมีว่าง ๔ ว่าง รวมมีว่าง ๑๖ ว่าง


    ๑. ว่างขั้นยอดคู่่เอก มี ๔ ว่างจากสังขารปรุงแต่ง, ว่างจากราคะ ,ว่างจาก โทสะ, ว่างจากโมหะ,
    ๒. ว่างขั้นรอง คู่โท มี ๔ ว่างจากการครองเรือน, ว่างจากพยาบาท, ว่างจากเบียดเบียน, ว่างจาก อิฏฐารมณ์
    ๓. ว่างขั้นสาม คู่ตรี มี ๔ ว่างจากพูดเท็จ , ว่างจากพูดคำหยาบ, ว่างจากพูดส่อเสียดเพ้อเจ้อ ,ว่างจากบาปอกุศล,
    ๔. ว่างขั้นสี่ คู่จัตวา มี ๔ ว่างจากฆ่าสัตว์, ว่างจากลักของเขา , ว่างจากผิดทางกาม, ว่างจากมิจฉาชีพ,


    การที่ต้องเดินประทักษิณ


    ได้กล่าวข้างต้นแล้ว ว่าเดินประทักษิณ เป็นที่ไหลออกแห่งคุณ คือ พระพุทธคุณ เหมือนฝนหลั่งลงมาจากฟ้าหรือแสงสว่างหลั่งออกมาจากดวงจันทร์ย่อมให้สรรพสิ่งสรรพสัตว์ในโลกอุดมสมประสงค์ คือให้แก่คนที่กระทำถ้าคนเราใครเคลื่อนไหว ผู้นั้นก็ย่อมจะเจริญอุดมสมประสงค์


    ถ้าไม่เจริญ ไม่เคลื่อนไหว ไม่สมประสงค์ จะเป็นอย่างไร ผลก็คือตกต่ำ ตกถอย เหมือนคนตกรถตกเรือ ย่อมจะไม่มีบุญเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง ย่อมจะมีแต่บาปเป็นเครืองหล่อหลอมจะมีแต่ทุกข์ทรมานฝ่ายเดียว เพราะจิตวิญญาณมิใช่ว่าจะสุดลงแก่ความตายในโลกนี้เท่านั้น


    แผ่นดินเรา ที่ยังไม่เป็นแผ่นเหล็กทองแดงดังถ่านไฟ ก็เพราะมีน้ำฝนลงมาจากฟ้า และแสงจันทร์เปล่งกระจายมาจากฟ้า ก็เพราะความเคลื่อนไหวนั่นเอง มนุษย์ เราจึงมีอาหารกินอุดมสมบูรณ์ ที่มีอยู่อาศัยร่มเย็น มีป่าไม้ลำธารเอิบอาบหล่อเลี้ยง


    ความเคลื่อนไหว ก็คือความหมุนไปของโลกที่เรียกว่าเวียนขวาเพราะฉนั้น ประทักษิณ เวียนปูชนียวัตถุ มีโพธิพฤษ์ พระเจดีย์ธาตุ เป็นต้น จึงเป็นที่ไหลออกแห่งบุญอันเลิศ


    พระธรรมจักร ๑๐๘ หรือ จักร อันมีองค์ ๘ ที่หมุนได้เคลื่อนไหวได้ก็เพราะแรงแห่งรูปธรรม นามธรรมผสมกัน ก็ทำให้จักร คือ โลกหมุนไป, ตราบใดถ้าแรงแห่งรูปธรรม นามธรรมถอยลง โลกเราก็จะมีอันตราย คือทุกข์มาก สุขน้อย เบียดเบียนกันมาก ฆ่าฟันกันมาก เมื่อแรงรูปธรรม นามธรรมหมดลง โลกก็จะแตกทำลาย

    เทศนาธรรม เนื่องในวันมาฆบูชา โดยท่านพระคุณเจ้าดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต
     
  20. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,086
    ค่าพลัง:
    +10,246
    ...พระพุทธเจ้าท่านทรงกล่าวเป็นพระบาลีว่า "อัตตนา โจทยัตตานัง" จงเตือนตนด้วยตนเองอยู่เสมอ

    อย่าไปเที่ยวนั่งเตือนชาวบ้านเขา เตือนตัวเองแหละเป็นสำคัญ ให้ตัวรู้ตัวไว้ว่า เวลานี้เราทำอะไร เวลานี้เราต้องการอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลานี้เราเจริญอานาปานุสสติกรรมฐาน หรือแม้กรรมฐานกองอื่นๆ ก็เหมือนกัน จะต้องเตือนตนเองไว้เสมอให้เรารู้ตัวเองว่า เวลานี้เรารู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออก เราต้องการรู้ลมกระทบฐานไหนบ้าง ลมเข้าออกกระทบฐานไหนบ้าง นี่เราเตือนตน และบังคับจิตไว้เสมอ ทีนี้ผลที่จะพึงได้รับพระพุทธเจ้าท่านทรงกล่าวไว้ว่า..

    "อัตตา หิ อัตตโน นาโถ" ตนแลย่อมเป็นที่พึ่งแห่งตน

    "โกหิ นาโถ ปโรสิยา" บุคคลอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งเราได้

    "อัตตนา หิ สุทันเตนะ" เมื่อเราฝึกฝนตนของเราดีแล้ว

    "นาถัง ลภติ ทุลภัง" เราจะได้ที่พึ่ง อันบุคคลอื่นพึงได้โดยยาก

    คือเป็นอันว่า ผลของการเจริญสมาธิภาวนาวิปัสสนาญาณ พระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่า เราเท่านั้นที่ทำตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

    หมายความว่า ในเมื่อเรารับคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ต้องปฏิบัติตามด้วยตนเอง ไม่ใช่จะไปนั่งอ้อนวอนให้ครูบาอาจารย์ช่วยบ้าง ขอบารมีคนนี้ช่วย ขอบารมีพระพุทธเจ้าช่วย ขอบารมีพระปัจเจกพุทธเจ้าช่วย ขอบารมีพระอรหันต์ช่วย ขอบารมีเทวดาพรหมช่วย เป็นต้น.. เรานึกน้อมถึงความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และท่านอื่นๆ ที่กล่าวมานั้นเป็นของดี แต่ทว่าอย่านึกว่า จะมาให้พระพุทธเจ้าทำจิตเราให้เป็นสมาธิ อันนั้นไม่ได้

    พระพุทธเจ้าทรงยืนยันไว้แล้ว ว่าใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็น ค่อยๆ คิด ค่อยๆ นึก เห็นตามความจริง เราเรียนหาความจริงกันในหลักพระพุทธศาสนา ไม่ใช่จะมานั่งโกหกมดเท็จตนเอง ถ้าเห็นตัวเราแล้วก็เห็นบุคคลอื่น ดูหาความเป็นจริงให้พบ

    จนกระทั่งจิตสลด คิดว่าร่างกายของคนและสัตว์เต็มไปด้วยความสกปรกจริง ๆ ร่างกายของคนและสัตว์มีทุกข์จริง ๆ ร่างกายของคนและสัตว์หาความเที่ยงไม่ได้จริง ๆ มันมีการสลายตัวไปในที่สุด ไม่มีใครจะบังคับบัญชาร่างกายให้มีสภาพทรงตัว ไม่มีใครกล้าจะแสดงว่าเราเป็นเจ้าของร่างกายจริงจัง โดยการบังคับให้ทรงตัวได้ ในเมื่อร่างกายมันไม่ดีอย่างนี้ เราจะไปเมามันเพื่อประโยชน์ในโลกีย์วิสัยทำไม...

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)

    Credit : Facebook BuddhaSattha
     

แชร์หน้านี้

Loading...