อยากบรรลุธรรมเข้ามา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย newamazing, 13 ธันวาคม 2012.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    นั่นๆ อัตตาในการปกป้องตัวตน มันเริ่มสยายปีก เข้ามาบังความจริงแท้เสียแล้ว

    ก็ผมบอกไปแล้ว ว่าคำถามท่านนั้นหนะ เป็นคำถามวัดศีลธรรม

    มันเป็นตัวชี้วัด ว่า ภูมิธรรมคุณระดับไหน พร้อมจะสั่งสอนผู้อื่นได้จริงหรือเปล่า

    ในฐานะของผู้ที่จะดึงคนอื่นเข้ามาทางธรรมะหนะนะ ถ้าคุณไม่สามารถแสดงข้อนี้ได้ ก่อนหน้านี้ที่คุณแสดงมาทั้งหมด มันก็กลายเป็นโมฆะ

    ถ้าคุณเห็นประโยชน์ต่อสาธารณะชน อีกทั้งเป็นพระอริยเจ้าจริง

    ย่อมเข้าใจว่า อดีตที่ผ่านไปแล้ว แก้ไขไม่ได้ สิ่งที่ผม post ไป และมีคนอ่านไปเป็นสิบคนแล้ว แก้ไขไม่ได้


    การตัดสินใจในปัจจุบัน ที่จะทำให้เอื้อประโยชน์ในอนาคตมากที่สุด ต่อตนเอง และสาธารณชน ที่จะได้รับธรรมะจากคุณ คือการตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมา ไม่ใช่โบ้ยให้เป็นความผิดของผู้ตั้งกระทู้สนเท่ห์คุณ!!!!!!! อันนั้นมันความคิดแบบโลกๆ ของปุถุชน ผู้ไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน!!!!!
     
  2. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ข้ามให้ได้ ในสั้นมียาว ในยาวมีสั้น ในดีมีเสีย ในเสียมีดี ข้ามได้ก็ถือว่าชนะแล้ว ในโลกนี้มีอะไรมากมายที่คุณไม่รู้
     
  3. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    มาถึงขั้นนี้แล้ว คุณจะเล่นแลกขุน กับ เบี้ย ผมก็ได้นะ

    ผมไม่ตอบคำถามคุณ ผมเสียเบี้ย
    คุณไม่ตอบคำถามผม คุณเสียขุน

    เลือกเอาตามสบายนะจ๊ะ...
     
  4. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    นักวิปัสนาชั้นยอดข้ามไม่ได้ซะแล้ว
     
  5. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ทรงบอกวิธีแกไขความผิดเพี้ยนในคําสอน
    ๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กลาวอยางนี้วา ผูมีอายุ ! ขาพเจาไดสดับรับมาเฉพาะ
    พระพักตรพระผูมีพระภาควา “นี้เปนธรรม นี้เปนวินัย นี้เปนคําสอนของพระศาสดา”...
    ๒. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กลาวอยางนี้วา ในอาวาสชื่อโนนมีสงฆอยูพรอมดวย
    พระเถระ พรอมดวยปาโมกข ขาพเจาไดสดับมาเฉพาะหนาสงฆนั้นวา “นี้เปนธรรม
    นี้เปนวินัย นี้เปนคําสอนของพระศาสดา”...
    ๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กลาวอยางนี้วา ในอาวาสชื่อโนนมีภิกษุผูเปนเถระอยู
    จํานวนมาก เปนพหุสูต เรียนคัมภีร ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ขาพเจาไดสดับมา
    เฉพาะหนาพระเถระเหลานั้นวา “นี้เปนธรรม นี้เปนวินัย นี้เปนคําสอนของพระศาสดา”...
    ๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กลาวอยางนี้วา ในอาวาสชื่อโนนมีภิกษุผูเปนเถระอยู
    รูปหนึ่ง เปนพหุสูต เรียนคัมภีร ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ขาพเจาไดสดับมา
    เฉพาะหนาพระเถระรูปนั้นวา “นี้เปนธรรม นี้เปนวินัย นี้เปนคําสอนของพระศาสดา”...
    เธอทั้งหลายยังไมพึงชื่นชม ยังไมพึงคัดคานคํากลาวของผูนั้น พึงเรียนบทและ
    พยัญชนะเหลานั้นใหดี แลวพึงสอบสวนลงในพระสูตร เทียบเคียงดูในวินัย
    ถาบทและพยัญชนะเหลานั้น สอบลงในสูตรก็ไมได เทียบเขาในวินัยก็ไมได
    พึงลงสันนิษฐานวา “นี้มิใชพระดํารัสของพระผูมีพระภาคพระองคนั้นแนนอน และ
    ภิกษุนี้รับมาผิด” เธอทั้งหลาย พึงทิ้งคํานั้นเสีย
    ถาบทและพยัญชนะเหลานั้น สอบลงในสูตรก็ได เทียบเขาในวินัยก็ได พึงลง
    สันนิษฐานวา “นี้เปนพระดํารัส ของพระผูมีพระภาคพระองคนั้นแนนอน และ
    ภิกษุนั้นรับมาดวยดี” เธอทั้งหลาย พึงจํามหาปเทส... นี้ไว.
    มหา. ที. ๑๐/๑๔๔/๑๑๓-๖
     
  6. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    สติปัฏฐานบริบูรณ์
    ย่อมทำโพชฌงค์ให้บริบูรณ์
    ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคล
    เจริญแล้ว ทำาให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำาโพชฌงค์ทั้ง ๗
    ให้บริบูรณ์ได้ ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เห็นกายในกาย
    อยู่เป็นประจำาก็ดี; เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
    อยู่เป็นประจำาก็ดี; เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำาก็ดี;
    เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำาก็ดี; มี
    ความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำาอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกออกเสียได้; สมัยนั้นสติที่ภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว
    ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง.

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้ง
    ไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง, สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์
    ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว; สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญ
    สติสัมโพชฌงค์; สมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า
    ึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ; ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติ
    เช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการ
    ใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา.

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่
    ทำาการเลือกเฟ้น ใคร่ครวญธรรมนั้นอยู่ด้วยปัญญา, สมัยนั้น
    ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว,
    สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์, สมัยนั้น
    ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่ง
    การเจริญ. ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรม
    นั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน ชื่อว่าเป็น
    ธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว.

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ความเพียรไม่ย่อหย่อน
    อันภิกษุผู้เลือกเฟ้น ใคร่ครวญในธรรมนั้นด้วยปัญญา,
    สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว,
    สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์, สมัยนั้น
    วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
    ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้ว ปีติอันเป็นนิรามิส
    ก็เกิดขึ้น.

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ปีติอันเป็นนิรามิส เกิดขึ้น
    แก่ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว, สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์
    ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว, สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อม
    เจริญปีติสัมโพชฌงค์, สมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุ
    ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ. ภิกษุนั้น เมื่อมีใจ
    ประกอบด้วยปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ.

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิต
    ของภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำางับ, สมัยนั้น
    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว,
    สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์, สมัยนั้น
    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่ง
    การเจริญ. ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันรำงับแล้ว มีความสุขอยู่
    จิตย่อมตั้งมั่น.

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกาย
    อันรำางับแล้วมีความสุขอยู่ ย่อมตั้งมั่น, สมัยนั้น สมาธิ-
    สัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว, สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์, สมัยนั้นสมาธิ-
    สัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
    ิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้ว
    อย่างนั้นเป็นอย่างดี.

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่ง
    เฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี, สมัยนั้น
    อุเบกขสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว,
    สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์, สมัยนั้น
    อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่ง
    การเจริญ.

    ภิกษุทั้งหลาย ! สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญ
    แล้ว ทำาให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำาโพชฌงค์ทั้ง ๗
    ให้บริบูรณ์ได้.
     
  7. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธิ์ทั้งหลายเหล่านี้ มีอยู่ห้าอย่าง ห้าอย่างอย่างไรเล่า ห้าอย่างคือ รูปปาทานขันธิ์ เวทนูปาทานขันธิ์ สัญญูปาทานขันธิ์ สังขารูปาทานขันธิ์ วิญญูปาทานขันธิ์ ภิกษุทั้งหลายเมื่อใด อริยสาวก รู้ชัดแจ้งตามที่เป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น (สมุทัย) ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้(อัตถังคมะ) ซึ่งรสอร่อย(อัสสาทะ)ซึ่งโทษอันต่ำทราม(อาทีนวะ) และซึ่งอุบายเครื่องออก(นิสรณะ) แห่งอุปาทานขันธิ์ทั้งห้าเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า---ขนธ.สํ.17/196/296..:cool:
     
  8. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภิษุทั้งหลาย อินทรีย์หกเหล่านี้มีอยู่ หกเหล่าใหนเล่า หกคือ จักขุนินทรียื โสตินทรียื ฆานินทรีย์ ชิวหนินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดอริยสาก รู้ชัดแจ้งตามที่เป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น(สมุทัย) ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้(อัตถังคมะ) ซึ่งรสอร่อย(อัสสาทะ) ซึ่งโทาอันต่ำทราม(อาทีนวะ) และอุบายเคืรื่องออก(นิสรณะ) แห่งอินทรียืหกเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย อริยะสาวกนี้ เราเรียกว่าเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป้นธรรมดาเป็นผู้เที่ยงแท้ ต่อพระนิพพาน จักตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า---มหาวาร.สํ.19/271/902..:cool:
     
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .............ดี...ที่ จขกท ยกมา สติปัฎฐานสี่ คือ มีความเพียร เผากิเลสมีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้....ความเพียรเผากิเลส ความเพียร(สัมมาวายามะ)----คือละอกุศล เจริญกุศล ส่วน สติปัฐฐานสี่นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้(ยินดีและยินร้าย พอใจ ไม่พอใจ)....ส่วน การเสพกาม ที่จขกท ว่ามาของพระอริยะ นี่ไม่ค่อยเข้าเค้าเลย การละสังโยชน์ไม่ได้ ย่อมไม่ได้หมายความว่ามี ความพอใจในกาม...คงยังต้องเดินตามมรรค ต่อไปด้วยความเพียร (เจริญกุศล ละอกุศล) ช่าย ม้าย:cool:
     
  10. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ อุเทสแห่งสัมมาวายามะ" ภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะ เป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลายภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป้นบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งจิตไว้ เพื่อละอกุศลธรรมอันเป้นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวายามะ---มหา.ที.10/348/299...:cool:
     
  11. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ (สัมมาทิฎฐิเป็นผู้นำในการละมิจฉัตตะ)" ภิกษุทั้งหลาย ในบรรดาองค์แห่งมรรคเหล่านั้น สัมมาทิฎฐิ เป็นองค์นำหน้า นำหน้าอย่างไร ภิกษุทังหลาย---สัมมาสังกัปปะ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มีสัมมาทิฎฐิ--สัมมาวาจา ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มีสัมมาสังกัปปะ--สัมมากัมมันตะ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มีสัมมาวาจา----สัมมาอาชีวะ ย่อมมีเพีงพอ แก่ผู้มีสัมมากัมมันตะ---สัมมาวายามะ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มีสัมมาอาชีวะ----สัมมาสติย่อมมีเพียงพอแก่ผู้มีสัมมาวายามะ สัมมาสมาธิ ย่อมมีเพียงพอแก่ผู้มี สัมมาสติ-----สัมมาญานะ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มีสัมมาสมาธิ-----สัมมาวิมุติ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มี สัมมาญานะ---ภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล พระเสขะ ผู้ประกอบด้วยองค์แปด ย่อมเป็นพระอรหันต์ด้วยองค์10.............ภิกษุทั้งหลาย ในบรรดาองค์แห่งมรรคเหล่านั้น สัมมาทิฎฐิเป้นองค์นำหน้า นำหน้าอย่างไร............ภิกษุทั้งหลาย มิจฉาทิฎฐิ ของผู้มีสัมมาทิฎฐิ ย่อมสลายไปไม่มีเหลือ และบาปอกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเอนกที่เกิดมีขึ้น เพราะมิจฉาทิฎฐิเป็นปัจจัยของผู้นั้น ก็พลอยสลายไปไม่มีเหลือด้วย และกุศลธรรมเป็นเอนก ที่มี สัมมาทิฎฐิเป็นปัจจัย ก็จะถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งการงอกงามขึ้นมาด้วย(ในกรณีเกี่ยวกับ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกันจนกระทั่งถึง)---ภิกษุทั้งหลาย มิจฉาญานะ ของผู้มีสัมมาญานะ ย่อมสลายไปไม่มีเหลือ และบาปอกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเอนกที่เกิดมีขึ้นเพราะมิจฉาญานะ เป็นปัจจัยของผู้นั้นก็พลอยสลายไปไม่มีเหลือด้วย และกุศลธรรมทั้งหลายเป้นเอนก ที่มีสัมมาญานะเป็นปัจจัย ก็จะถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งการงอกงามขึ้นนมาด้วย.....................ภิกาุทั้งหลาย มิจฉาวิมุติติ ของผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมสลายไปไม่มีเหลือ และบาปอกุศลธรรมทั้งหลายเป้นเอนก ที่เกิดมีขึ้นเพราะมิจฉาวิมุติเป็นปัจจัยของผู้นั้น ก็พลอยสลายไปไม่มีเหลือด้วย และกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเอนกที่มีสัมมาวิมุติเป้นปัจจัย ก็จะถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งการงอกงามขึ้นมาด้วย..............ภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล ธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งกุศล มีปริมาณยี่สิบ ธรรมเป็นฝักฝ่ายแห่งอกุศลมีปริมารยี่สิบ ธรรมปริยายมีประมารสี่สิบ อันกว้างขวาง เป็นธรรมปริยายอันเราให้หมุนแล้ว อันสมระหรือ พราห์ม หรือเทพ หรือมาร หรือพรหม หรือใครใครในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้--อุปริ.ม.14/187/279-280..:cool:..
     
  12. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    สงสัยโดนกระแทกแรงไปหน่อย

    ตอนแรกๆ แกเล่นมุข ข้ามาคนเดียว แสดงธรรมเดี่ยวๆ โดดๆ ไม่ยกความดีให้พระพุทธองค์ ขนาดผมตามทวงว่า ธรรมะเอามาจากใคร ก็ยังอิดๆ ออดๆ

    ตอนนี้ น้องเหมียวสมองโดนกระทบกระเทือนจนเบลอ ร้องเรียก พระพุทธองค์ช่วยด้วย ยกแต่คำสอนพระพุทธองค์อย่างเดียวซะแล้ว
     
  13. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    แน่นอนการเสพกามทั้งหลายนั้นไม่ควรยินดีดังคำสอน แต่การที่ละยังไม่ได้นั้น ก็สามารถเสพได้แน่นอน และการเสพนั้นก็ไม่ใช่เรื่องผิดเสียหายจนทำใจยอมรับมันไม่ได้ เพราะผู้มีปัญญานั้นเสพเพราะเหตุผลอะไรและไม่ยึดติดอย่างไรและเห็นโทษอย่างไร เพศฆราวาสแตกต่างจากบรรพชิต แม้แต่เพศบรรพชิตยังมีทางออกเลย
     
  14. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    เมื่อเรามีสติอยู่กับลมหายใจอย่างตั้งมั่นเรียกว่ามีสติ(เรียกว่าสติสัมโพชฌงค์)และเมื่อมีการเลือกเฝ้นธรรมพิจารณาให้ความจริงจนเห็นความจริงคือไตรลักษ(เรียกว่าธรรมวิจยะ)เมื่อตั้งมีความเพียรพยายามเฝ้นธรรมนั้นเรียกว่าความเพียรชอบ เมื่อความเพียรชอบสมบูณณ์ปีติย่อมเกิดอิมเิอิบในธรรม เมื่อปีติเกิดสมบูรณ์ปัสสัทธิย่อมเกิดทั้งกายละใจ เมื่อปัสสัทธิสมบูรณ์ทำให้สมาธิเกิด เมื่อสมาธิสมบูรณ์ย่อมทำอุเบกขาเกิดขึ้น ทำให้โพชฌงค์สมบูรณ์ จนทำให้เกิดวิมุติ นี่คือการปฎิบัติสติปัฎฐาน4 ซึ่งใช้อานาปานสติอย่างที่แน่นำตามคำสอน
     
  15. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    อินทรบุตรการที่ข้าพเจ้ามาแสดงถึงทางที่ทำให้เราหายสงสัยในธรรมนั้น มันมีวิธีที่แตกต่าง ข้าพเจ้าคงยังไม่ได้ยกพุทธวจนอะไรนั้นมีเหตุของตัวข้าพเจ้าเองไม่ใช่ว่าข้าพเจ้ามาคนเดียวและไม่เคารพในธรรมของพุทธเจ้า ท่านอธิบายหน่อยซิ ท่านเสพกามยังไง อย่างเช่นเสพเมถุน หรือท่านเลิกได้แล้ว
     
  16. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    นั่น ไปคว้าเอากระโถนน้ำลายตัวเอง ที่เคยคายทิ้งไว้ เอามากลืนลงคอไปซะแล้ว!!!!!
     
  17. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    เอามาฝาก
    ความกำหนัด กิเลสหรือกามราคะ กามราคะหรือกิเลสตัวอื่นๆไม่ได้แตกต่างกันเลย มันเหมือนๆกัน เพียงแต่ว่า สติจะรู้เท่าทันได้หรือไม่เท่านั้นเอง
    ตำราถึงได้เขียนเอาไว้ว่า กามราคะคือ ความยินดีหรือความพอใจ ปฏิฆะ คือ ความยินร้ายหรือความไม่พอใจ ความหงุดหงิดใจ
    ส่วนความกำหนัดในกามที่นำมาพูดๆกัน ล้วนเป็นตัวกิเลสของกามราคะ ความกำหนัด คือ การกำเริบทางกิเลสที่ค่อนข้างมีกำลังกว่ากิเลสกามราคะตัวอื่นๆ
    แล้วแต่เหตุของแต่ละคนด้วย บางคนจึงมีสภาวะกามราคะรุนแรงคือ มีมาก แต่บางคนมีน้อย แต่ไปมีกิเลสในสภาวะอื่นๆที่มีกำลังมากกว่าตัวความกำหนัดตัวนี้ เนื่องจากเหตุที่ทำมาแตกต่างกันไป
    เหตุใดบางคนต้องปลงอสุภะ ใช้อุบายในการพิจรณา เพื่อกดข่มกิเลสเอาไว้ เหตุใดบางคนไม่ต้องปลงอสุภะ ทุกอย่างล้วนเกิดจากเหตุที่ทำมาทั้งสิ้น นี่แหละ ทุกสรรพสิ่งล้วนมีและเป็นตามเหตุปัจจัยของสิ่งๆนั้น
    วิธีการจึงมีหลากหลายรูปแบบ อุบายในการรักษาจิตและถ่ายถอนอุปทานของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไปเพราะเหตุนี้ ไม่มีวิธีใดวิธีหนึ่งที่เหมาะแก่คนใดคนหนึ่ง ทุกๆสภาวะแปรเปลี่ยนตลอดเวลา ตามเหตุปัจจัยที่แต่ละคนทำมา
    จึงไม่มีรูปแบบที่ตายตัวหรือเที่ยงแท้แน่นอน ที่แน่นอนที่สุดคือ ตัวสติ สัมปชัญญะ มีสองสภาวะนี้อยู่ที่ไหน การเห็นตามความเป็นจริงได้ ย่อมมีอยู่ที่นั่น
    ฉะนั้น จงเป็นผู้มีสติอยู่เถิด อย่าได้ไปว่ากล่าวผู้ใดอีกเลย ไม่มีอะไรถูกหรือผิด ที่ผิดคือ ผิดไปจากวิธีที่ตัวเองทำมาหรือได้เรียนรู้มานั่นเอง ผิดที่ตัวเอง เพราะยังมีความไม่รู้อยู่ คนอื่นๆไม่ได้ทำให้ผิดเลย
    ยิ่งว่าคนอื่นๆมากเท่าไหร่ มีถูกหรือผิดมากเท่าไหร่ เท่ากับสะสมกิเลสไว้ในใจมากขึ้นเท่านั้น เท่ากับก่อภพก่อชาติไม่รู้จบกับคนอื่นๆมากเท่านั้น จงอย่าได้เบียดเบียนกันอีกเลย เพราะมันจะมีแต่เหตุไม่รู้จักจบสิ้น
    ใครทำอะไร ยังไง ปฏิบัติยังไง รู้ยังไง นั่นคือเหตุของเขา หากเขาทำไม่เหมือนเราหรือมีความคิดเห็นแตกต่างไปจากเรา นั่นก็คือเหตุของเขา ของตัวเราเองก็คือเหตุของเรา
    ใครเชื่อใคร ใครไม่เชื่อใคร ล้วนเกิดจากเหตุที่แต่ละคนทำมาทั้งสิ้น ไม่ใช่ไปว่าเขาทำถูกหรือผิด ว่าเขามากเท่าไหร่ ติติงเขามากเท่าไหร่ เท่ากับสะสมกิเลสในใจไว้มากขึ้นเท่านั้น ก่อภพก่อชาติไม่รู้จบมากขึ้นเท่านั้น
    เราว่าเขา เขาก็ว่าเรา เราไม่ว่าเขา หากเขายังว่าเรา นั่นคือเหตุที่เราเคยทำเอาไว้ เมื่อเหตุยังไม่หมด ผลที่ได้รับย่อมยังไม่หมด เหตุหมดเมื่อไหร่ ผลจบลงเมื่อนั้น เราจึงต้องหมั่นรู้อยู่ในกายและจิตให้บ่อยๆ เพื่ออยู่กับปัจจุบัน
    ไม่ใช่เพื่อที่จะได้อะไรหรือเป็นอะไร มันมีแต่กิเลส อยู่กับปัจจุบันได้ทัน คือ การดับเหตุทั้งปวงได้ในระดับหนึ่ง เหตุทั้งปวงที่เกิดขึ้นจากตัวเราเป็นผู้ลงมือกระทำให้เกิดขึ้นเอ
     
  18. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ฮึ่ย ไอ้กระผมมันมนุษย์ปุถุชนปกติ ไม่ใช่พระอริยเจ้า และไม่เคยบอกว่าตัวเองเป็น ดังนั้น ผมจึงมีสิทธิ์ เสพได้ตามปกติ ครับท่าน :cool:

    ไอ้การที่ท่านอยู่ดีๆ มาถามผมแบบนี้ ผมว่าสมองท่านมันเริ่มบวมๆ แล้วนะ?
     
  19. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ นังฟังพระกันเถอะเช้าๆ http://watnapp.com/ สดๆเลย
     
  20. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    อ้าวท่านแล้วท่านจะรู้ได้ไงว่าอริยะทำอะไรไม่ได้
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...