เจตสิกธรรมไม่มี หรือ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฐาณัฏฐ์, 26 ธันวาคม 2011.

  1. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    พระนาคเสนกล่าวว่า มนสิการมีลักษณะยกขึ้น ปัญญามีลักษณะตัด ยกขึ้น ก็คือ ยกขึ้นพิจารณา
    เช่น ยกอารมณ์ขึ้นสู่วิปัสสนาวิถี คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วตัดกิเลสด้วยปัญญา
    เปรียบเหมือนคนเกี่ยวข้าวด้วยเคียว เอามือหนึ่งจับกอข้าว จับเคียวด้วยมืออีกข้างหนึ่ง แล้วตัดกอข้าวให้ขากจากกัน
    ข้าวที่ตัดแล้วย่อม ไม่งอกขึ้นอีก ฉันใด พระโยคาวาวรตัดกิเลสด้วยอรหัตตมรรคก็ฉันนั้น
    กิเลสที่ตัดได้แล้วเป็นสมุจเฉทปหาน ไม่เกิดขึ้นอีก เป็นอันตัดได้เด็ดขาด

    ด้วยเหตุนี้ โยนิโสมนสิการจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งประการหนึ่งในการปฏิบัติธรรมทั้งขั้นต้น และขั้นสูง ในขั้นต้น
    พระพุทธองค์แสดงว่า โยนิโสมนสิการ เห็นเหตุเกิดของสัมมาทิฏฐิ ส่วน อโยนิโสมนสิการ เป็นเหตุเกิดของมิจฉาทิฏฐิ



    สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก

    สัมมาสังกัปปะ หมายถึง ดำริชอบ หรือความนึกคิดในทางที่ถูกต้อง เป็นหนึ่งในมรรค 8 หรือ มรรคมีองค์แปด

    สัมมาสังกัปปะ มี 3 อย่าง ได้แก่
    ๑. ความดำริในการออกจากกาม (เนกขัมมะสังกัปปะ)
    ๒. ความดำริในการไม่พยาบาท (อพยาบาทสังกัปปะ)
    ๓. ความดำริในการไม่เบียดเบียน (อวิหิงสาสังกัปปะ) ​

    นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ธันวาคม 2011
  2. ไม่ใช่ใคร

    ไม่ใช่ใคร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +21
    ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

    เพิ่งรู้ แถวบ้านผม ก็มีฆราวาสบรรลุธรรมด้วย เห็นทางเวบเอามาลง คงต้องไปขอคุยเสียหน่อย อิอิ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ๔. อนิจจสูตรที่ ๒
    ว่าด้วยความเป็นไตรลักษณ์แห่งขันธ์ ๕

    พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
    สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
    ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
    เวทนาไม่เที่ยง ...
    สัญญาไม่เที่ยง ...
    สังขารไม่เที่ยง ...
    วิญญาณไม่เที่ยง...
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
    สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
    ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

    เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้
    ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้น (อดีต) ย่อมไม่มี
    เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้นไม่มี ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลาย (อนาคต) ย่อมไม่มี
    เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลายไม่มี ความยึดมั่นอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี.
    เมื่อความยึดมั่นอย่างแรงกล้าไม่มี จิตย่อมคลายกำหนัดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
    ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เพราะหลุดพ้น
    จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อมเพราะยินดีพร้อม
    จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น

    ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.

    อ่านต้นฉบับที่นี่

    ^
    ^
    พระพุทธพจน์ชัดๆไม่ต้องตีความตามมติสาวกภาษิต

    เมื่อไม่มีความยึดมั่นถือมั่นอย่างแรกกล้าในจิตนั้น

    จิตย่อมเบื่อหน่ายในรูปนามขันธ์๕(วิญญาณขันธ์) เมื่อเบื่อหน่ายจิตก็คลายกำหนัดในรูปนามขันธ์๕

    พระพุทธพจน์พระองค์ทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า จิตไม่ใช่วิญญาณขันธ์อย่างแน่นอน

    จิตย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย จิตจึงดำรงอยู่ ไม่ได้ดับตายหายสูญใช่หรือไม่?

    เมื่อจิตสามารถปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในรูป-นามขันธ์๕(วิญญาณขันธ์)ได้แลัว

    แสดงว่าจิตไม่ใช่วิญญาณขันธ์อย่างแน่นอน เพราะวิญญาณขันธ์เป็นหนึ่งในขันธ์๕ใช่หรือไม่?

    จิตจะกลับมาเขลายึดมั่นในตนเองอีกทำไมหละ? เมื่อจิตเบื่อหน่าย ก็คลายกำหนัดในขันธ์๕ใช่หรือไม่?

    การปฏบัติอริยมรรคมีองค์๘ เป็นการปฏิบัติทางจิต เป็นทางเดินของจิตสู่ความเป็นอริยะ

    เพื่อให้จิตรู้จักการสลัดคืน การปล่อยวางความยึดมั่นในรูปนามขันธ์๕ ซึ่งรวมวิญญาณขันธ์อยู่ด้วย

    ภิกษุนั้น เอาอะไรมารู้ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว"

    ถ้าไม่ใช่จิตรู้แล้วเอาอะไรมารู้ (วิญญาณนะแจ้งในอารมณ์)

    ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

    นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

    เวทนาไม่เที่ยง ... สัญญาไม่เที่ยง ... สังขารไม่เที่ยง ... วิญญาณไม่เที่ยง...

    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

    สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น

    ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

    นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

    พระพุทธชัดๆมากขนาดนี้ แล้วเอา จิต เจตสิก มายำรวมจะเละเทะไปหมดเลยนะ

    มีตรงไหนในพระสูตรที่ยกมาให้อ่าน มีตรงไหนพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า

    จิต เจตสิก ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของ

    เล่นสอนกันเกินกว่าที่พระบรมครูสอนไว้ ก็แย่นะสิ ธรรมของพระองค์เสียหายหมด

    กลับทิฐิกันเสียใหม่เถอะยังไม่สายนะ ต้องยืนอยู่บนหลักเหตุผลตามความเป็นจริง จึงจะเข้าถึงธรรมได้

    เจริญในธรรมทุกๆท่านในวันขึ้นปีใหม่2555
     
  4. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    แปลว่า สหายท่านนี้ ว่าจิตเป็นเรา เจตสิกเป็นของเรา อย่างนั้นหรือ

    พึงเข้าใจว่า ดับสูญ กับ กับ ความไม่ใช่เรา ของเรา มันคนละเรื่องกัน ^^

    ขอ ถาม ๔ ข้อ

    - ช่วยอธิบายลักษณะ ธรรมชาติ วิญญาณขันธ์ จิต และ เจตสิก พอเข้าใจหน่อยสิ ^^

    - ใครกันหนอ ที่ดับรอบ

    - สิ่งที่ท่านเข้าใจว่า ด้วยภาวะตัดดับ หรือ สว่างโพรง ราวกับโลกทั้งโลกมีแต่จิตนั้น ไม่มีอุปทานใดแล้ว

    ขณะเข้าใจว่า ละอุปทานขันธ์นั้น จนเหลือแต่จิตที่รู้อยู่นั้น ไม่ข้องอยู่ในการปรุงแต่งแล้ว

    ถามว่า ขณะนั้นมีคิดไหม มีจำได้ไหม รู้ตัวไหมว่ากำลังเรากำลังรู้ ความรู้สึกที่แสดงออกเป็นดุจน้ำที่ไม่กระเพื่อมมีไหม

    สหายท่านนี้คิดว่า สิ่งนี้ใช่เราหรือไม่ เป็นเราหรือไม่ ออกจากความไม่รู้แน่แล้วหรือ ^^

    - ข้อสุดท้าย อกุศลจิต กุศลจิต มรรคจิต ผลจิต เป็นจิตดวงเดียวกันหรือไม่

    สวัสดีปีใหม่ ^^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 มกราคม 2012
  5. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    จะเชื่อหรือไม่ก็ตาม

    พระสุตันปิฏก ในพระไตรปิฏก เป็นเรื่องราวเหตุการณ์มีความเกี่ยวเนื่องกับสถานที่ และ บุคคล

    สำนวน เนื้อความ มีการยกสมมุตติ การเปรียบเทียบวัตถุ บุคคล อาชีพ เพื่อใช้เทศนาให้บุคคลเข้าถึงธรรม

    บางบท ก็ทรงสมมุตติตามชาวโลกที่พึงเข้าใจได้

    ส่วนพระอภิธรรม ว่าด้วย เรื่องปรมัตถ์ธรรม เป็นส่วนขยายธรรมในสุตันปิฏกอีกที




    ทีนี้ ทิฏฐิเข้าป่า ตีความตามที่เข้าใจ หรือเห็นมาผิด ทำให้เข้าใจผิด จนแตกนิกายมากมาย

    ก็ใน กถาวัตถุ มีการอธิบายชี้แจง จำแนกทิฏฐิใดเป็นมติเถรวาท ที่ตรงต่อสังคยนาครั้งที่ ๑ โดยอรหันต์สาวก ผู้ทรงปฏิทาในพุทธกาล

    และ ทิฏฐิใดที่เกิดขึ้นภายหลัง


    และข้อสังเกตุอีกอย่าง ขอให้ขันธ์๕ดับหมด แต่ขออย่างเดียวจิดไม่เที่ยง ไม่ใช่เรา รับไม่ได้นั้น

    เข้าทาง อาตมัน หรือไม่ มันเฉือนกันนิดเดียวเอง ^^
     
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ........ปัญหาน่าจะอยู่ที่การใช้คำ.... ถ้าใช้คำว่า "วิมุติ" คง จบ ... เราคงไม่อยากบัญญัติอะไรให้ไขว้เขวไปจากคำสอนเดิม ใช่ใหมครับ...ถ้าใครเข้าถึงก็คง รู้ เอง ถ้า ใคร ไม่ เข้าถึง เขาก็คงไม่สามารถ รู้ได้ ไม่ว่า อธิบายยังไง...กำหนดรู้ตรงนี้ ดีกว่าครับผมว่า ทำไว้ในใจ:cool:
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    พระพุทธพจน์ชัดออกขนาดนี้ ยังพยายามต้องตีความกันให้วุ่นวายไปอีกทำไมล่ะจ๊ะ

    จึงไม่สดุ้ง ใครไม่สดุ้ง? เมื่อไม่สดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น

    ตนคือภิกษุนั้นใช่หรือไม่? แล้วอะไรของภิกษุนั้นล่ะที่ไม่สดุ้ง?

    แล้วอย่าลืมตอบ ให้ชัดเจนพอเข้าด้วยนะ และพยายามให้อยู่ในประเด็นด้วยก็จะดีมาก


    ^
    ^

    เมื่อถามถึงลักษณะ ก็ต้องถามกับว่าต้องการรู้ลักษณ์ธรรมชาติของอะไร?

    ถามลอยๆแบบนี้ไม่ได้ เช่นลักษณะธรมชาติของเสือ ชอบอาศัยอยู่ในที่ห่างไกลผู้คน ดุร้ายฯลฯ

    ลักษณ์ของวิญาญาณขันธ์ เป็นอาการของจิตอย่างหนึ่งคือรู้แจ้งอารมณ์ทางอายตนะ

    จิตคือธาตุรู้ เมื่ออยู่ในโลกมีธรรมชาติรู้รับอารมณ์ รู้อะไรเป็นยึดสิ่งนั้น

    ส่วนเจตสิกนั้นจนด้วยเกล้าจริงๆเพราะ รจนาจนกลายไปอะไรก็ไม่รู้ที่ไม่สามารถเข้าอธิบายให้ชัดเจนได้

    คำอธิบายที่มีอยู่นั้นก็ขัดกันเองจนหา ไม่สามารถชี้แจงได้เช่น เจตสิกคือสิ่งประกอบจิต ต้องอาศัยจิตจึงเกิดมีขึ้นมาได้

    แต่พออธิบายไปๆ ถ้าเจตสิกดับ จิตก็ต้องดับด้วย ฟังไปแล้วขาดเหตุผลเป็นเด็กขายขนมไปเลย

    เมื่อต้องอาศัยจิต และเป็นเพียงสิ่งที่มาประกอบจิตเท่านั้น

    เมื่อสิ่งที่มาประกอบและสิ่งที่มาอาศัยหายไป

    จำเป็นด้วยหรือที่สิ่งที่ให้อาศัย หรือให้ประกอบต้องหายตามไปด้วย

    แล้วในครั้งต่อไปๆล่ะ จะเอาอะไรมาอาศัย เอาอะไรมาประกอบล่ะ

    ก็เพราะไปเชื่อตามๆกันมาตามตำราว่า จิตที่เป็นธาตุรู้ เป็นแม่ธาตุ๑ใน๖ธาตุนั้น

    ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญทางพระพุทธศาสนา ว่าเป็นเรื่องเหลวไหล เป็นของเหลวไหลไป

    ทั้งที่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ที่ได้ทรงอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ ล้วนทรงตรัสสอนให้

    "ชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย" เหมือนกันทุกๆพระองค์

    ถ้าจิตเป็นเรื่องเหลวไหลเสียแล้ว จะชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดไปเพื่ออะไรกันล่ะ จะไม่เสิยเวลาไปเปล่าใช่หรือไม่?

    มีพระพุทธพจน์รับรองในเรื่องจิตคือเรา จิตเป็นเรา ซึ่งไม่เกี่ยวกับว่าต้องยึดหรือไม่ยึด

    จะยึดหรือไม่ยึด จิตของภิกษุนั้น ก็ต้องเป็นจิตของภิกษุนั้นอยู๋ดี

    ที่ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.ใช่หรือไม่?

    เมื่อภิกษุนั้นกล่าวคาถานี้กับใครก็ตาม ต้องบอกให้รู้ชัดว่า"จิตของเราไม่ใช่จิตของใครอื่นเลย"

    มีพระบาลีชัดเจนในปฐมพุทธอุทานว่า "วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคาแปลว่า

    จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหา"

    ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งเหตุผล ที่ตริตรองตามความเป็นจริงได้(พิสูจน์ได้)

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  8. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    เมื่อยังไม่เข้าใจคำว่าเจตสิกก็อย่าเพิ่งด่วนปฏิเสธเสียเลยทันที จะกลายเป็นมิจทิฎฐิเสียเปล่าๆ
    เราต้องทำความเข้าใจว่า เจตสิก ที่พูดกันมาบ่อยครั้งนั้นมีที่มาอย่างไร เป็นคำสอนของใคร
    จงเปิดใจให้กว้างอย่าปิดกั้นความรู้ให้กับตัวเอง พยายามหาความรู้ใส่ตน ก็เพื่อประโยชน์ตน
    จงพยายามถามตัวเองเสียก่อนว่าเราศึกษาคำสอนนั้นเพื่ออะไร อย่ามัวหลงไหลอยู่กับความคิดที่ฝังแน่นมาแต่เดิม

    คำสอนของพระพุทธองค์นั้นมีมากมายล้วนแล้วเป็นคำสอนที่ถูกต้องทั้งสิ้น
    สามารถนำไปปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ คือวัฏฏะได้อย่างแท้จริงดูอีกหน่อย แถมกฏแห่งกรรมอีกนิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2012
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ไม่เคยปฏิเสธอะไรง่ายๆเพราะอาศัยหลักกาลามสูตรที่ว่า

    อย่าเพิ่งรีบเชื่อ ให้ตั้งใจศึกษาและฟังด้วยดี

    แล้วนำมาสมาทานอย่างเต็มที่

    ถ้าเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์

    ผู้รู้ไม่ติเตียน ค่อยเชื่อสิ่งนั้น ก็ยังไม่สาย

    เมื่อคำถามไปไม่เคยได้คำตอบที่ชัดๆ แต่กลับเอามิจฉาทิฐิมาขู่ให้กลัวเป็นประจำ

    แบบนี้ใครหน้าไหนยังจะให้ความไว้วางใจได้อีกล่ะ

    ในพระสูตรสำคัญๆชั้นต้นที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เช่นธรรมจักรฯ อนัตตฯ มหาสติฯ ฯลฯ

    ไม่เห็นพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ หรืออธิบายไว้ที่ไหนแบบชัดๆเลย

    แล้วจะมายัดเยียดกันง่ายๆแบบนี้ ไม่เข้าหลักสวากขาตธรรมแล้ว

    เจตสิกธรรมคืออะไร? มาจากไหน? พระพุทธพจน์ตรัสไว้ตรงไหนที่ชัดเจน?

    ตอบชัดๆ อย่ากำกวมหรือเบี่ยงประเด็นออกไป

    ที่ว่าพูดบ่อยๆนั้น เป็นการพูดแบบเข้าใจกันไปเอง ซึ่งขาดเหตุผลที่น่าเชื่อถือ
     
  10. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    คิดว่าคงเข้าใจอะไร ๆ ยาก ท่านรู้จักพระไตรปิฎกไหม พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม
    กามามสูตรเป็นสูตรที่แสดงใน พระสูตร
    จิต เจตสิก รูป นิพพาน หรือเรียกว่า ปรมัตถธรรม ๔ ที่ไม่กล่าวถึงบุคคลเป็นปรมัตถ์ล้วนๆ
    แสดงไว้ใน พระอภิธรรม ที่ไปแสดงโปรดพระพุทธมารดา และเทวดาชั้นดาวดึงส์
    พร้อมกันนั้นก็แสดงให้แก่พระสารีบุตรที่อุตตรกุรุทวีป

    เอาว่าพูดกันง่ายๆว่าเคยได้ยินได้ฟังบ้างไหมว่า ในพรรษาที่ ๗ พระพุทธองค์ไปเทศนาที่ชั้นดาวดึงส์
    ถ้ารู้ก็ควรศึกษาต่อไป ถ้าไม่รู้คงต้องยุติ เพราะเสียยังไง ๆ พูดไปก็เหนี่อยเปล่าก็คงรู้ไม่ทั่วถึง

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2012
  11. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    รบกวน ธรรมภูติ ต่ออีก ๒ ข้อด้วยครับ
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    บางคนเขายึดแต่พระสูตร ไม่เอาพระอภิธรรมก็มี นะอาแปะแปะ
    พูดกับเขาไปก็เหนื่อยเปล่า ไม่รู้ว่าคุณธรรมภูติเขาเปลี่ยนทิฏฐิเรื่องพระอภิธรรมหรือยัง
    แต่อาแปะแปะ ก็มีความรู้สึกไวดีนะ ^.^
    ความรู้ใดๆที่เกิดขึ้นในโลกเราเชื่อทันทีก็งมงาย ไม่เชื่อในทันทีก็ประมาท
    การศึกษาด้วยความรอบคอบไม่ละทิ้งความรู้จนกว่าจะพิสูจน์ความรู้นั้นได้ด้วยตนเอง
    จึงเรียกได้ว่าไม่ประมาท

    ถ้ารู้ก็ควรศึกษาต่อไป ถ้าไม่รู้คงต้องยุติ เพราะเสียยังไง ๆ พูดไปก็เหนื่อยเปล่าก็คงรู้ไม่ทั่วถึง :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2012
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ได้ถามไปเพื่อการความจริง ที่ปฏิบัติตามได้

    เรื่องอภิธรรมนั้น ใครๆที่สนใจในพุทธศาสนาย่อมรู้จักดี

    เพื่อความไม่มาทจึงต้องสอบเทียบ เทียบเคียงว่าลงกันได้หรือไม่?

    เมื่อถามว่า เจตสิกคืออะไร? มาจากไหน? มีพระสูตรไหนกว่าถึงบ้าง?

    ต้องการคำตอบจริงๆ ที่ตริตรองตามเหตุตามผลความเป็นจริงได้

    จึงจะเรียกว่า ผู้ใฝ่ใจศึกษาใช่หือไม่?
     
  14. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เมื่อขอมา ก็ต้องใช้ความพยายามที่จะหาคำตอบให้

    แต่ขอรู้หน่อยได้มั้ยว่า เป็นคำถามของใคร ต้นทางมาจากไหน?

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ู^
    ^
    ไม่แปลกใจจริงกับพวกที่มีทิฐิชอบยัดข้อหาให้

    รู้ได้อย่างไรว่าไม่เอาอภิธรรม?

    อะไรที่ขาดเหตุผล หรือลงไม่ได้กับพระสุตตันตะ ควรเชื่อง่ายๆหรือ?

    แม้อรรถกถาจารย์ท่านยังให้เชื่อสุตตะไว้ก่อนเลย

    ทำไมต้องเปลี่ยนทิฐิเรื่องอภิธรรมด้วยล่ะ?

    แบบนี้ไม่เป็นการลบหลู่อรรถกถาจารย์ท่านหรือ?

    ท่านให้ฟังสุตตะ๓ หรือเทียบเคียงกับสุตตะ๓ นอกนั้นให้ปัดทิ้ง(มีหลักฐาน)

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    มันเป็นสัญญาเก่านะ ฝังใจไปแล้วแก้ไขเปลี่ยนแปลงยาก นอกจากจะมีอะไร
    เป็นชิ้นเป็นอัน หรือมีการกระทำที่แสดงออกถึงทิฏฐิที่เปลี่ยนไป
    เรื่องยอมรับคำสอนในพระอภิธรรมหรือไม่ ก็มีท่านรู้อยู่แก่ใจ
    เราก็ตามดูการกระทำและการแสดงออกทางความคิดของท่านเท่านั้น
    ถ้าท่านบอกว่ายังเอาพระอภิธรรม ก็ตามนั้น
    ความจริงเรื่องนี้ก็ไม่มีอะไร เรากล่าวหาท่าน ท่านก็ตอบให้หนักแน่นว่าศรัทธาในพระอภิธรรม
    หรือไม่ศรัทธา เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับพระอภิธรรม ก็จบแล้ว หรือว่าเราเข้าใจอะไรท่านผิด
    ก็แก้ให้ถูกไป ก็ไม่มีอะไร คนอื่นก็จะได้เข้าใจท่านได้ถูกต้องตามจริง

    นะ

    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ธรรมภูต
    คุณขวัญ ผมไม่แปลกใจเลยทำไมคุณถึงคุยกับใครไม่รู้เรื่องแม้แต่คนใกล้ตัวคุณเอง
    เท่าทีผมระลึกได้ ผมเคยกล่าวไว้ว่า อภิธรรมเอาไว้ว่าเรียนกัน และก็มีส่วนที่น่าจนใจอยู่ในนั้น
    ส่วนเรื่องความน่าเชื่อถือหรือไม่น่าเชื่อถือนั้น ผมจะไปทำลายได้ยังไง ถ้าไม่ใช่เป็นยังงั้นจริงๆ

    ถ้าไม่จริงตรงไหนที่ผมเคยพูดไว้ก็เชิญเอามาแย้งสิ ไม่ใช่พูดลอยๆแบบนี้ มันไม่งามนะ
    การที่ผมจะกล่าวหาอะไรใคร ผมมักจะยกหลักฐานที่เขาเคยพูดไว้มายันเสมอ
    และเอาที่ผมจะแย้งมาวางเทียบเคียงให้พิจารณา ไม่เคยคิดกล่าวหาใครลอย เช่นบางคนที่ชอบทำเสมอๆ

    คุณเองก็เลิกเดาสวดได้แล้วครับ ในครั้งปฐมสังคยนานั้น เป็นการสังคยนาแบบมุขปาฐะ จำไว้นะ
    ส่วนเรื่องที่ผมเคยแสดงความคิดเห็นไว้เกียวกับพระธรรมขันธ์นั้น
    เท่าที่ระลึกได้ ผมบอกไว้ว่าได้มีนักปราช์ญนิรนามท่านหนึ่ง ท่านเคยได้ลองนับดู ได้เพียง๔๒,๐๐๐เท่านั้น

    ถ้าคิดจะยัดเยียดข้อหาอะไรให้ใครเพราะอคติธรรมแล้วละก้อ ช่วยยกหลักฐานมาด้วย
    ผมกล้ายืนยันและรับผิดชอบในสิ่งที่ผมทำขึ้นเสมอ ผิดก็คือผิด ต้องยอมรับผิดแน่นอน
    ถ้าไม่ผิด แล้วพวกคุณมาช่วยกันยัดเยียดความผิดให้ด้วยอคติธรรมเพราะขาดเหตุผลที่ชอบธรรม
    ผมว่าพวกคุณสมควรกลับไปพิจารณาตนเองกันบ้างนะ ว่ายังเป็นชาวพุทธที่ตรงต่อจอมศาสดาหรือไม่?

    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89.224807/page-18
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2012
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    (ขยายความเข้าใจเรื่อง สุตตะ)

    หลักธรรมอันเป็นคำสอนของพุทธศาสนาที่รวมเรียกว่า “พระธรรมวินัย” นั้นหากนำมาจัดเป็นประเภทแล้ว ท่านแยกไว้ถึง 9 ประเภท เรียกว่า“นวังคสัตถุศาสตร์” ซึ่งแปลตามรูปศัพท์ว่า คำสอนของพระศาสดา คือ พระพุทธเจ้ามีองค์ 9 ประการ ซึ่งมีรายละเอียดต่อไปนี้

    1. สุตตะ คือ พระสูตร แปลว่า ด้าย หมายความว่า เรื่องที่นำมาผูกร้อยกรองเข้าด้วยกัน ได้แก่ อุภโตวิภังค์ นิเทส ขันธกะ ปริวาร และสูตรต่าง ๆ

    ในสมัยพุทธกาล คำว่า “สุตตะ” นี้ พระพุทธเจ้าทรงหมายถึง กฎ หลัก หรือหัวข้อธรรมสั้น ๆ มีตอนเดียวจบ และมีความสมบูรณ์ในตัว ซึ่งมักจะเอาเฉพาะตัวกฎปาติโมกข์ในพระวินัยปิฎก มีข้อความปรากฏในจุลลวรรคว่า หลักธรรมของพระพุทธเจ้าได้รวมอยู่ในรูปสุตตะอันภิกษุทั้งหลายต้องสวดทุก ๆ กึ่งเดือน และมีหัวข้อหนึ่งในพระวินัยปิฎก คือ “สุตตวิภังค์” เป็นหัวข้อที่แสดงและวิเคราะห์ความหมายของคำและเนื้อหาในตัวหลักพระปาติโมกข์อย่างละเอียดซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับอรรถกถา เมื่อคำว่า “วิภังค์” แปลว่า การวิเคราะห์ แยกแยะ ดังนั้น คำว่า “สุตตะ” ในที่นั้นก็จะต้องหมายถึง ตัวหลักปาติโมกข์นั่นเอง

    คำว่า “สุตตะ” ในนวังคสัตถุศาสตร์นี้ ไม่ได้มีความหมายเหมือนกับคำว่า “สุตตันตะ” กล่าวคือ คำว่า “สุตตันตะ” มาจากคำว่า สุตตะ+อันตะ แปลว่า ที่สุดหรือตอนปลายของสุตตะ คือ ส่วนที่อธิบายขยายความในสุตตะให้ละเอียดยิ่งขึ้น

    นวังคสัตถุศาสน์ | กลุ่มจุดตะเกียง
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 59


    ธรรมทั้งหลายที่ดำรงอยู่ของข้าพเจ้า
    ข้าพเจ้าเรียนมาจากพระพุทธเจ้า ๘๒,๐๐๐
    จากพระภิกษุ ๒,๐๐๐ รวมเป็น ๘๔,๐๐๐
    พระธรรมขันธ์.*
    บรรดาพุทธพจน์เหล่านั้น พระสูตรมีอนุสนธิหนึ่ง เรียกว่า ธรรมขันธ์
    หนึ่ง.พระสูตรใดมีหลายอนุสนธิ ก็นับจำนวนธรรมขันธ์ตามอนุสนธิในพระสูตร
    นั้นในการประพันธ์เป็นคาถา การถามปัญหาเป็นธรรมขันธ์หนึ่ง การวิสัชนาก็
    เป็นธรรมขันธ์หนึ่ง. ในพระอภิธรรม การจำแนกติกะและทุกะแต่ละหมวด
    และการจำแนกวารจิตและอย่างก็เป็นธรรมขันธ์หนึ่ง. ในพระวินัยมีวัตถุ
    มาติกา บทภาชนีย์ อาบัติ อนาบัติ อันตราบัติ การกำหนดติกะ ธรรมที่
    เป็นอเตกิจฉะที่เป็นสเตกิจฉะ ในวัตถุเป็นต้นเหล่านี้ แต่ละส่วนพึงทราบว่า
    เป็นธรรมแต่ละธรรมขันธ์. ว่าโดยพระธรรมขันธ์ พึงทราบว่าเป็นพระธรรม
    ขันธ์ ๘๔,๐๐๐ ธรรม ด้วยอาการอย่างนี้.

    พระพุทธพจน์ในเวลาทำปฐมสังคีติ

    พระพุทธพจน์แม้ทั้งหมดนั้น โดยประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ
    อันหมู่สงฆ์ผู้มีวสีมีพระมหากัสสปะเป็นประมุข เมื่อจะสังคายนาในเวลาทำ
    ปัญจสติกสังคีติ ได้สังคายนากำหนดประเภทชัดลงไปดังนี้ว่า นี้เป็นปฐม-
    พุทธจน์ นี้เป็นมัชฌิมพุทธพจน์ นี้เป็นปัจฉิมพุทธพจน์ นี้เป็นวินัยปิฎก นี้
    เป็นสุตตันตปิฎก นี้เป็นอภิธรรมปิฎก นี้เป็นทีฆนิกาย ฯลฯ นี้เป็นขุททกนิกาย
    เหล่านี้เป็นนวังคสัตถุศาสน์ซึ่งมีสุตตะเป็นต้น เหล่านี้เป็นพระธรรมขันธ์ มี
    ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ดังนี้. อนึ่ง พระเถระเหล่านั้นมิได้กำหนดเพียง
    ประเภทที่กล่าวนี้เท่านั้น ยังได้กำหนดประเภทสังคหะแม้อื่น ๆ ซึ่งปรากฏอยู่
    * ขุ. เถร. ๒๖.๓๙๗/๔๐๕
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    การพูดหรือแสดงออกใดๆ เพื่อทำให้เกิดความไขว้เขว ไม่แน่ใจในพระสูตร หรือพระอภิธรรม
    หรือเป็นการกล่าวเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือ ทำลายศรัทธาต่อคำสอนหมวดใด ก็ต้องดูกันที่เจตนา
    หรือกล่าวยกพระสูตรหนึ่งมาแย้งกับพระอภิธรรมหรือพระสูตรใดๆ ก็ต้องดูที่เจตนาอีก
    คนที่รู้ที่มาที่ไปย่อมไม่เป็นปัญหา แต่คนไม่รู้รับความคิดแล้วไปบอกต่อเล่าต่อผิดๆ
    ย่อมเป็นเหตุทำให้เกิดความเสื่อม(คนเสื่อมจากพระธรรมคำสอน)
    หรือคนบิดเบือนคำสอนทำให้เข้าใจผิดได้ว่านี้เป็นคำสอนอันนั้นแต่งเติมภายหลัง
    ทั้งหมดแต่เดิมตั้งแต่ปฐมสังคายนา ก็มี 84,000 พระธรรมขันธ์
    การพูดถึง 42,000 พระธรรมขันธ์ ทำให้คนไม่รู้ไขว้เขวได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2012
  20. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    คำถามนายหลงนี่แหละ

    รบกวนไม่ต้องไปค้นที่ไหนหรอก

    ให้คำตอบนั้นเกิดจากปัญญาที่พิจารณาสภาพธรรมนั้นๆจริงๆจะดีกว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 มกราคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...