สนทนาภาคปฏิบัติธรรมที่ควรรู้ของ "หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ" สำหรับอนุชนรุ่นหลังๆ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย Follower007, 15 สิงหาคม 2011.

  1. Aimee2500

    Aimee2500 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,703
    ค่าพลัง:
    +1,765
    จริงค่ะ....ทุกวันนี้หาข้อมูลที่ถูกต้องตามปฏิปทาของครูบาอาจารย์ไม่ค่อยได้ เนื่องจากผู้มีศรัทธาในครูบาอาจารย์ทั้งหลายเหล่านั้น บางครั้งก็ไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลให้ดีเสียก่อน ที่จะนำมาเสนอ...เนื่องดัวยศรัทธาตามตลาดนิยม ศรัทธาแบบไม่มีสติงมงาย จึงทำให้ข้อมูลข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนไป
    ขอบคุญสำหรับขัอมูลค่ะ
    บุญรักษาค่ะ
    หลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่คุ้มครองค่ะ
    _/\_ _/\_ _/\_
     
  2. จงอาง

    จงอาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    2,537
    ค่าพลัง:
    +7,799
    [​IMG]

    เข้ามากราบหลวงปู่ และรับทราบข้อมูล ขอรับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นาถธรรม

    นาถธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +377
    สัทธา ทานัง อนุโมทามิ สัทธา ทานัง อนุโมทามิ สัทธา ทานัง อนุโมทามิ
    ขออนุโมทนาสาธุครับ
     
  4. naron

    naron เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2009
    โพสต์:
    2,515
    ค่าพลัง:
    +3,574
    กราบหลวงปู่อนุโมทนาสาธูบุญกับหลวงปู่ทุกๆกอบุญและกับทุกๆท่านครับผม สาธู
     
  5. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    ไม่คลุกคลี

    ไม่คลุกคลี



    ในการปฏิบัติธรรมนั้น ครูบาอาจารย์ล้วนให้หลักที่ตรงกันว่า "กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย ปรารภความเพียรให้มาก"
    สำหรับ เรื่องพูดน้อยนี้ เราสามารถจัดการตัวเองด้วยการไม่คลุกคลี หรือคลุกคลีกับคนอื่นให้น้อยที่สุด เท่าที่จำเป็น เพราะการคลุกคลีย่อมนำมาซึ่งการพูดมาก แล้วการพูดมากก็มักนำมาซึ่งการขาดสติ
    ในตอนไปปฏิบัติกับหลวงปู่ใหม่ ๆ ท่านมักพูดกระหนาบเพื่อไม่ให้เราเผลอไปคลุกคลีในระหว่างการปฏิบัติโดยให้โอวาทว่า
    "ให้ทำ (ปฏิบัติสมาธิภาวนา) ไม่ทำ ทำประเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวออกมาจับกลุ่มกันอีกแล้ว ทีเวลาคุยกัน คุยกันได้นาน"
    ถ้า หวังเอาดีทางธรรม เราต้องรู้จักให้เวลาตัวเองเพื่อปลีกวิเวกบ้าง งับปากตัวเองไว้ให้ได้นาน ๆ แล้วภาวนาให้ต่อเนื่อง เราก็จะสังเกตเห็นลมหายใจของตัวเองที่ละเอียดขึ้น ความรู้เนื้อรู้ตัวก็ชัดขึ้น แต่ถ้าเผลอไปคลุกคลีไปพูดไปคุย ไม่นานหรอก ลมปราณในร่างกายก็หยาบอีก เวลามานั่งภาวนาใหม่ กว่าลมจะละเอียดต้องใช้เวลานานทีเดียว
    กายไม่สงบ จิตก็เลยพลอยไม่สงบ
    แต่ ถ้ากายสงบ (กายวิเวก) ก็จะเป็นต้นทางพาให้จิตสงบ ดังนั้น จากกายวิเวก ก็พัฒนาสู่จิตวิเวก (จิตปราศจากนิวรณ์) จนกว่าจะพัฒนาให้ถึงที่สุดแห่งความวิเวก นั่นก็คือ อุปธิวิเวก (จิตปราศจากกิเลสเครื่องเสียดแทงใจ)
    การปฏิบัติ จะคว้าเอายอด (อุปธิวิเวก) เลยยังไม่ได้หรอก เอาเรื่องปากนี้ก่อน พูดให้น้อย ๆ คลุกคลีให้น้อย ๆ (คลุกคลีเท่าที่จำเป็น)
    หลายคน พอปฏิบัติเกิดปีติหน่อยแล้วอยากพูดอยากเล่า ก็ต้อง "งับปาก" ตัวเองไว้ ระลึกคำหลวงปู่ที่ว่า "เปิดหม้อแกงบ่อย ๆ แกงมันจะไม่หอม"
    ปฏิบัติ บ่อยครั้งเข้า เข้าถึงอาการปีติบ่อย ๆ ก็จะได้คำตอบให้ตัวเองโดยไม่ต้องถามใคร ถ้าต้องรอถามคนอื่นทุกเรื่อง เวลาครูอาจารย์ที่ท่านฝึกตัวในป่าในเขา ท่านจะไปถามใครเล่า ท่านก็ต้องอาศัยความชำนาญในการปฏิบัติดังโอวาทหลวงปู่ที่ว่า "หมั่นทำเข้าไว้" ประกอบกับการฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต ช่างพินิจพิจารณา ก็จะก้าวไป ๆ ไม่ขัดข้องอยู่นาน
    สุด ท้ายนักปฏิบัติก็ต้องหมั่นย้อนกลับมาทบทวนเรื่องพื้นฐานคือเรื่องการกินน้อย นอนน้อย พูดน้อย ปรารภความเพียรให้สม่ำเสมอ โดยอาศัยตัวช่วยคือการไม่เที่ยวหาเรื่องเข้าไปคลุกคลี หาเรื่องทำกิจกรรมภายนอก ฯลฯ จนละเลยการงานทางใจอันเป็นภารกิจหลักของพวกเราแต่ละคน ๆ



    ที่มา : Luangpudu.com / Luangpordu.com


     
  6. Nov18

    Nov18 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +180

    สาธุ
    กราบ กราบ กราบ หลวงปู่ดู่ ไม่เคยได้กราบท่านตอนดำรงค์ขันธ์
    อ่านคำสอน และ จริยาวัตร ของท่านก็รับรู้ได้ถึงความเมตตา และ ความพยายามให้คนเป็นคน คนเป้นพระ รุ้จักรักษาศีล ปฎิบัติชอบ

    กราบหลวงปู่อย่างสุดซึ้งด้วยใจบริสูทธิ์ ผมจะพยายามปฏิบัติตามคำสอนหลวงปู่ครับ

    ๑๖. สุดท้าย หลวงปู่บอกว่า “พระของข้า องค์เดียวก็พอ ...ปฏิบัติให้มันจริง”
    อยากได้พระของหลวงปู่ไว้ ระลึกถึงหลวงปู่ และใช้ปฎิบัตบ้างครับ
     
  7. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    จากหลวงพี่ ...สู่หลวงปู่ดู่

    จากหลวงพี่ ...สู่หลวงปู่ดู่

    เมื่อมาลำดับเรื่องราวของหลวงปู่ดู่ตั้งแต่เมื่อแรกเข้าวัด ผมจะได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับหลวงปู่ผ่านศิษย์หลวงปู่หลากหลายวัย

    ลูก ศิษย์สูงวัย (โบราณ) ก็จะเรียกหรืออ้างถึงหลวงปู่ว่า "หลวงพี่" เช่นเรื่องราวของศิษย์สมัยเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๐๐ เศษ ๆ (ยุคที่ผู้คนมาวัดสะแกทางเรือ) ที่ภายหลังจากรับแผ่นโลหะที่หลวงปู่จารให้ไปเป็นเนื้อชนวนสร้างพระ ก็ปรากฏว่าแผ่นโลหะบาง ๆ นั้นกลับไม่ยอมหลอมละลาย จนเขาต้องพายเรือกลับมาวัดสะแกอีกครั้งเพื่อแจ้งปัญหากับว่า "หลวง พี่ดู่ครับ แผ่นเนื้อชนวนของหลวงพี่มันไม่ยอมละลายครับ กวนเท่าไร ๆ มันก็ไม่ยอมละลาย" หลวงปู่ท่านรับทราบแล้วก็ให้เขากลับไปใหม่อีกครั้ง ก็ปรากฏว่าแผ่นโลหะนั้นก็หลอมละลายโดยง่ายดาย

    บาง คนก็ได้รับการอบรมจากท่านอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่น คนที่จะไปหาปลาหากุ้ง หลวงปู่ท่านก็ให้เขาสมาทานศีลก่อน แต่เขาแย้งว่ามันเป็นอาชีพของเขา เดี๋ยวเขาก็ต้องไปหาปลาหากุ้งตามประสาของเขาแล้ว รับศีลไปจะมีประโยชน์อะไร หลวงปู่ท่านก็ให้เหตุผลว่ายังไงตอนนี้ (ซึ่งยังไม่ได้ทำบาป) ก็ให้มีศีลไว้ก่อน เผื่อเกิดไปตายเสียระหว่างทาง เช่น ไปโดนอสรพิษกัดตาย ก็จะได้ตายขณะมีศีล ชาวบ้านคนนั้นฟังคำหลวงปู่แล้วก็อึ้งและเห็นดีเห็นงามทำตามหลวงปู่ (หลวงพี่) สอน

    (ซึ่งเรื่องนี้ผมก็ได้เอาไปแทรกเป็นเกร็ดประวัติหลวงปู่ตั้งแต่เมื่อคราวทำหนังสือพระผู้จุดประทีปในดวงใจ)

    ต่อจากยุคหลวงพี่ก็มาถึงยุคหลวงพ่อ คือในราวปี ๒๕๒๕ ที่เริ่มมีคนกรุงเทพฯ เดินทางมาทางถนน (แทนทางเรือ) แม้หลวงปู่จะมีอายุใกล้ ๘๐ แต่ด้วย ความผ่องใสของท่าน ทุกคนจึงพอใจนิยมเรียกท่านว่า "หลวงพ่อ" สัดส่วนการสอนธรรมะก็เริ่มมากขึ้น แต่ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ก็ยังปรากฏเป็นปรกติ ไม่เฉพาะภายในประเทศไทยนี้ หากแต่ไปไกลถึงสิงคโปร์ ดังตัวอย่างลูกศิษย์คนหนึ่งของหลวงปู่ที่ไปธุระที่นั่น ด้วยความที่อยู่ในย่านที่ห่างจากตัวเมืองออกไปมาก ดังนั้น เมื่อเสร็จธุระจะหารถ Taxi เพื่อไปส่งสนามบิน ปรากฏหาไม่ได้เลย เขายืนข้างถนนมองหารถ Taxi อยู่ เป็นเวลาราวชั่วโมงครึ่งก็ยังไม่เห็นรถผ่านมาสักคัน จนจวนเจียนจะตกเครื่องบิน หมดหนทางแล้วจึงเอาพระหลวงปู่ที่ห้อยคอมาอธิษฐานขอให้มี Taxi ผ่านมาโดยเร็วด้วยเถิด ปรากฏไม่ถึง ๕ นาที ก็มี Taxi มา ที่แปลกกว่านั้นก็คือเป็น Taxi ที่วิ่งอยู่คนละฟากถนน ก็ยังอุตส่าห์ u-turn กลับมารับ
    ย้อนกลับมาเรื่องหลวงพี่และหลวงพ่อต่อ (ก่อนจะเลยเถิดไปไกล) ในยุคที่หลวงปู่เป็นหลวงพ่อ พระวัดสะแกรูปอื่น ๆ ที่เป็นศิษย์และมีอายุน้อยกว่าท่าน ก็มักถูกเรียกว่า "หลวงน้า" เช่น หลวง น้าสายหยุด หลวงน้าลำไย และหลวงน้าดำ เป็นต้น ซึ่งก็ฟังน่ารัก เป็นไทย ๆ และดูใกล้ชิดดี ซึ่งหลวงน้าหนึ่งในนั้นก็มีประสบการณ์การดั้นด้นไปกราบพระมหาวีระ (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) แล้วถูกอบรมกลับมาว่า อย่าข้ามครูบาอาจารย์ที่อยู่ใกล้ตัว คือหลวงพ่อดู่ เพราะท่านเป็นพระที่มีคุณธรรมสูง ให้กลับไปขอขมาท่านเสีย หลวงน้าท่านนั้นจึงกลับมา พร้อมกับยกหลวงพ่อไว้ในฐานะเสมือนเป็นพ่อ แล้วให้พระมหาวีระเป็นเหมือนแม่
    ก๊อก ๆ กลับมาเรื่อง "หลวงพ่อ" ต่อ ในขณะที่คนส่วนใหญ่ในยุคก่อน ๒๕๓๐ นิยมเรียก หลวงปู่ว่าหลวงพ่อ แต่สำหรับลุงยวงซึ่งเป็นหลานหลวงปู่ ก็จะเรียกตามความสัมพันธ์กับท่านว่า "หลวงลุง" ทำให้คนใกล้ชิดลุงยวง พากันเรียกท่านว่าหลวงลุงตามไปด้วย

    เมื่อถึงปี ๒๕๓๒ ด้วยวัย ๘๕ ปี สังขารขันธ์ของหลวงปู่เริ่มร่วงโรย ลูกศิษย์หลายคนก็เริ่มจูงลูกจูงหลานมากราบท่านมากขึ้น ในช่วงท้ายนี้ผู้คนจึงเริ่มเรียกท่านว่า "หลวงปู่" มากขึ้น
    สังขารขันธ์ของหลวงปู่ที่แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปนั้น เป็นดังที่หลวงปู่เคยกล่าวให้แง่คิดกับศิษย์ว่า "แกวันนี้ กับแกเมื่อวานก็ไม่เหมือนเก่า ...แกวันก่อนมันตายไปแล้ว" หลวงปู่ท่านเมตตาต่อทุก คนที่จะมาเอาธรรม หรืออย่างน้อยมีแววที่ท่านอาจให้ยึดโยงจากวัตถุมงคลหรือเรื่องปาฏิหาริย์มา สู่ธรรมในภายหน้าได้ แต่อย่างที่ว่า ปาฏิหาริย์ของหลวงปู่นั้นชัดเจน มาก ๆ ว่า มิได้เป็นไปเพื่อความหลง คือ มิได้เป็นไปเพื่อให้หลงเสียทรัพย์ไปกับพิธีกรรมต่าง ๆ หรือลุ่มหลงจมปรักหรือจิตฟูฟุ้งไปกับปาฏิหาริย์ หากแต่เป็นปาฏิหาริย์ชนิด "พระท่านทำให้เชื่อ" ทั้งสิ้น เมื่อเชื่อคุณพระพุทธฯ ก็เท่ากับว่าลดความลังเลสงสัยในการที่จะน้อมนำธรรมะมาปฏิบัติขัดเกลาตัวเอง ว่าจะเกิดผลดีแก่ตัวเองจริง ๆ

    มาบัดนี้ ยังมีคนบางกลุ่มเอาแต่เรื่องพิธีกรรม แล้วอ้างว่าหลวงปู่พาทำ แถมยังบอกว่าเป็นเรื่องทางปัญญา ก็ไม่รู้ว่าเป็นปัญญาพาตัว เองให้ได้ตนเป็นที่พึ่งแก่ตัวอย่างไร นอกจากพาตัวเองให้ต้องขึ้นกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลี้ลับ หรือขึ้นกับความวาดฝันในอานิสงส์สุดคณนาจากพิธีกรรมเหล่านั้น ซึ่งล้วนแต่เป็นช่องทางหาทรัพย์ทั้งเงินทองและอสังหาริมทรัพย์บนศรัทธาของผู้ไม่รู้ทันเท่านั้น

    จากหลวงพี่สู่หลวงพ่อ กระทั่ง มาเป็นหลวงปู่ คุณความดีที่ท่านสร้างไว้นั้นมากมาย แค่ทำให้คนหยาบคนพาลคนหนึ่งมาเป็นกัลยาณชนก็มีอานิสงส์มากมายเหลือประมาณ เพราะเท่ากับทำภพชาติของคนหลงให้สั้นเข้า ทุกข์และน้ำตาที่ต้องทิ้งไว้กับโลกก็น้อยลง ทำอย่างไรหนอ ปฏิปทาและคำสอนอันบริสุทธิ์ของหลวงปู่จะถูกเล่าขานออกไปอย่างไม่รู้จบ เพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่มาก


    [FONT=&quot]ที่มา: Luangpudu.com / Luangpordu.com[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
     
  8. zocora

    zocora เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +1,212
    อนุโมทนา สาธุ กราบองค์หลวงปู่ดู่และธรรมะที่ท่านชี้แนะ
     
  9. choke

    choke เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    938
    ค่าพลัง:
    +1,652
    ถ้ายังไม่มีพระหลวงปุ่เลย ลองติดต่อพี่ฉันทะนะครับ สำหรับองค์แรกของคุณพี่เขาให้แน่นอนครับ นำไปกำปฏิบัติธรรมนะครับ ขออนุโมทนาบุญล่วงหน้าครับผม
     
  10. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    เรื่องจริงที่ควรรู้ของ "หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ" สำหรับอนุชนรุ่นหลังๆ

    เรื่องจริงที่ควรรู้ของ "หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ" สำหรับอนุชนรุ่นหลังๆ

    <ins style="display: inline-table; border: medium none; height: 250px; margin: 0pt; padding: 0pt; position: relative; visibility: visible; width: 300px;"></ins><noscript>[​IMG]</noscript>[​IMG][​IMG]


    หลวง ปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับ การฝึกหัดอบรมพัฒนา ตนเองจากความเป็น ปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชน ตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียด ประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน

    หวัง เป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือนจะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวง ปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:TrackMoves/> <w:TrackFormatting/> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:DoNotPromoteQF/> <w:LidThemeOther>EN-GB</w:LidThemeOther> <w:LidThemeAsian>X-NONE</w:LidThemeAsian> <w:LidThemeComplexScript>X-NONE</w:LidThemeComplexScript> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:SplitPgBreakAndParaMark/> <w:DontVertAlignCellWithSp/> <w:DontBreakConstrainedForcedTables/> <w:DontVertAlignInTxbx/> <w:Word11KerningPairs/> <w:CachedColBalance/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> <m:mathPr> <m:mathFont m:val="Cambria Math"/> <m:brkBin m:val="before"/> <m:brkBinSub m:val="--"/> <m:smallFrac m:val="off"/> <m:dispDef/> <m:lMargin m:val="0"/> <m:rMargin m:val="0"/> <m:defJc m:val="centerGroup"/> <m:wrapIndent m:val="1440"/> <m:intLim m:val="subSup"/> <m:naryLim m:val="undOvr"/> </m:mathPr></w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-theme-font:minor-fareast; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-theme-font:minor-bidi;} </style> <![endif]--> [FONT=&quot]สำหรับผู้ศรัทธาในองค์หลวงปู่ดู่ที่ไม่ทันท่าน พวกเราเคยหยุดแล้วคิดทบทวนบ้างหรือเปล่า ว่าทำไมถึงได้ศรํทธาท่าน
    [/FONT]
    [FONT=&quot]คำตอบส่วนใหญ่ก็จะมี ศรัทธาเพราะตามตลาด คือใครว่าดีฉันก็ขอดีด้วยบ้าง ศรัทธาเพราะวัตถุมงคลของท่านกำลังดังในตลาดขณะนั้นบ้าง บ้างก็ศรัทธาเพราะองค์ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติชอบปฏิบัติดี
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ทึ่จริงแล้วไม่ว่าเราจะศรัทธาพระผู้ปฏิบัติชอบปฏิบัติดี องค์ใดรูปใดก็ตาม ขอให้มีความศรัทธาที่จริงจัง แต่ทุกคนก็จะพูดว่าฉันเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อ หลวงปู่องค์นั้นองค์นี้ แต่นึกบ้างหรือเปล่าว่าที่พูดออกไปเช่นนั้น เป็นการกล่าวที่ถูกต้องสมเหตุสมผลหรือเปล่า
    [/FONT]
    [FONT=&quot]คำว่า ศิษย์และอาจารย์ นี้มีความหมายที่ลึกซึ้ง เกินกว่าที่จะมากล่าวลอยๆ ว่าฉ้นเป็นศิษย์ของหลวงพ่อ หลวงปู่องค์นั้นรูปนี้
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ในความเห็นส่วนตัวแล้ว ตัวเองถ้าไม่ทันท่านแล้ว ถึงจะกราบไหว้บูชาอธิษฐานจิตขอเป็นศิษย์ แล้วก็ตามถ้ายังไม่ได้ประพฤติปฏิบัติชอบปฏิบัติดี ตลอดเวลาตามปฏิปทา ของท่านแล้วตัวเองก็ยังไม่กล้าจะไปพูดหรือบอกกับใครๆ ว่าเป็นศิษย์ของท่าน เพราะกระดากใจ ละอายใจ เพราะอาจจะเป็นการกระทำให้เสีย ชื่อเสียงละภาพพจน์ของท่าน ต่อผูัเห็นและรับรู้ ในการกระทำของตัวเราเอง เพราะฉะนั้นถ้าใครถาม ตัวเองก็พร้อมที่จะตอบอย่างภาคภูมิใจว่าเป็นเพียงแค่ ผู้ที่มีความศรัทธาในองค์ท่านอย่างจริงจัง เพราะส่วนตัวคิดว่าเหมาะสมกว่า และพยายามที่จะศึกษาข้อปฏิปทาและคำสั่งสอนของท่านแทัจริง อย่างผู้มีสติปัญญา ไม่ใช่อย่างงมงายและหลงเชื่อ ใครเขาว่าทางไหนก็ไปทางนั้น
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ทุกวันนี้ก็เห็นว่ามีทั้งศิษย์ที่ทันหลวงปู่ดู่ท่าน และไม่ทันสังขารขันธ์ท่านบ้าง [/FONT][FONT=&quot]บ้างก็[/FONT][FONT=&quot]ปฏิบัติตัวสมกับคำว่าศิษย์บ้าง [/FONT][FONT=&quot]บ้างก็[/FONT][FONT=&quot]กระทำตัวไม่เหมาะสม[/FONT][FONT=&quot]แถมที่หนักหนาสาหัสก็คือเอาครูบาอาจารย์มาทำมาหากิน สร้างศรัทธาชี่อเสียงให้กับตนเอง อย่างไม่ละอายใจหรือเกรงกลัวต่อบาปกรรม ทำตัวเป็นพวกมือถือสากปากถือศีลก็มาก จึงอยากจะฝากข้อคิดถึงพวกอนุชนรุ่นหลังๆ หรือผู้มีความศรัทธารุ่นหลังๆ ไม่ว่าจะในองค์หลวงปู่ดู่ก็ดี พระสุปะฏิปันโนองค์ใดรุปใดก็ดี ขอให้ศรัทธาอย่างมีสติปัญญา อย่าศรัทธาอย่างงมงายใครเฮไหนเราก็เฮนั่น[/FONT]


    [FONT=&quot]XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX[/FONT]

    [FONT=&quot]หลวงปู่สอนให้ทวนกระแสแต่ไม่ให้ต้านกระแส[/FONT][FONT=&quot]
    หลวง ปู่สอนให้ทุกคนทวนกระแสกิเลสของตน แต่ไม่ให้ไปคิดต้านหรือเปลี่ยนกระแสโลก หรือคิดเปลี่ยนใคร ๆ เช่นอย่างที่วัดสะแก ชาวบ้านชาววัดเขาชอบจัดมหรสพตามธรรมเนียมนิยมของคนแถบนั้นซึ่งมักส่งเสียง รบกวนการทำภาวนาของท่านและศิษย์ที่กำลังปฏิบัติธรรม ท่านก็ไม่ให้ถือเป็นอารมณ์ คงให้ทำภาวนาไปให้ได้คล้ายฝึกทำภาวนาในท่ามกลางตลาดสด เพราะจะให้คนวัดมีศรัทธาในการปฏิบัติเหมือนกันหมดทุกคนก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ ใครเอา (สนใจปฏิบัติ) หลวงปู่ก็เมตตาชี้แนะให้ ใครไม่เอา หลวงปู่ก็ไม่ยัดเยียด เว้นแต่จะส่อแวว ประกอบกับมีช่องมีจังหวะที่พอสอดแทรกให้แง่คิดแก่ผู้ทุกข์ผู้ยากบ้างเท่า นั้น
    ท่านให้หลักว่า แก้ที่ตัวเราเป็นเรื่องธรรม มัวคิดแก้คนอื่น ปรับปรุงคนอื่น ปรับปรุงเรื่องนอก ๆ นั้นเป็นเรื่องโลก แก้ ที่ตัวเรามีวันจบ (วันที่ชำระจิตจนหมดโกรธ โลภ หลง) แต่การแก้ที่ภายนอก (แก้ไขเรื่องโลก ๆ) นั้นไม่มีวันจบสิ้น เพราะโลกนั้นพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่มีสิ่งใดสมบูรณ์แบบเลย การเข้าไปมีส่วนแก้ไขปรับปรุงภายนอกนั้นก็ยังอาจเป็นสิ่งที่ต้องทำตามแต่ บทบาท เพียงแต่ต้องทำใจว่าแก้อย่างไรก็ไม่มีวันจบสิ้น ไม่มีวันบอกได้ว่าแก้ไขจนดีที่สุดแล้ว และที่สำคัญที่สุด ต้องไม่ละเลยการแก้ไขปรับปรุงตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้การเกิดมาชาติหนึ่งของเรานั้นไม่เป็นโมฆะ[/FONT]
    [FONT=&quot]หลวงปู่ให้ใช้ประโยชน์จากพระเครื่อง แต่ไม่ได้สอนให้ลุ่มหลงจมจ่อมในพระเครื่อง [/FONT][FONT=&quot]
    หลวง ปู่มีอุบายสร้างพระไว้สำหรับแจกให้ลูกศิษย์เอาไปใช้เป็นสื่ออาราธนาพระและ ให้กำไว้ในมือขณะนั่งปฏิบัติสมาธิภาวนา เพื่อเป็นเครื่องเหนี่ยวนำจิตให้มีพุทธานุสสติเพื่อให้เข้าสู่ความสงบตั้ง มั่นได้โดยเร็ว พระกำนั่งมีหลากหลายรูปทรง แต่ที่มีมากกว่าเพื่อน ดูเหมือนจะเป็นพิมพ์สมเด็จวัดระฆัง นอกจากพระกำนั่งที่แจกให้ฟรี ๆ แล้ว ก็ยังมีพระในส่วนของวัดสะแกที่ทางวัดจัดสร้างเพื่อหารายได้บำรุงวัด แล้วก็ส่วนของลูกศิษย์ที่พากันสร้างมาขออนุญาตหลวงปู่ให้ช่วยอธิษฐานจิตให้ แล้วนำไปแจกจ่ายกันเองก็มีไม่น้อย บางคนเทพิมพ์พระพรหมมา ๓ ปี๊บ หลังจากหลวงปู่อธิษฐานให้เสร็จแล้ว ก็อาจแบ่งถวายหลวงปู่ ๒ ปี๊บ นำกลับไปปี๊บหนึ่ง เป็นต้น
    หลวง ปู่ท่านสอนไม่ให้สุดโต่งในเรื่องวัตถุมงคล กล่าวคือ ในเบื้องต้น สำหรับผู้ที่ยังใหม่อยู่ ยังไม่พร้อมจะรับธรรมคำสอนที่เป็นแก่นสารสาระโดยตรง ท่านก็ว่าให้มาติดวัตถุมงคลก็ยังจะดีกว่าให้ไปติดวัตถุอัปมงคล แต่พอมีใจโน้มเอียงเข้าในทางปฏิบัติมากขึ้น แล้วยังหาเช่าพระมาก ๆ ท่านก็จะดุว่าจะเอาไปขายหรือยังไง พระของท่านน่ะ ทำ (ปฏิบัติ) ให้มันจริง มีองค์เดียวก็พอแล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot]หลวงปู่บอกว่า “พระของข้า องค์เดียวก็พอ ...ปฏิบัติให้มันจริง”[/FONT]
    [FONT=&quot]รักษาคำสอนมิให้วิปริต [/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]
    ที่มา: Luangpudu.com / Luangpordu.com[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 สิงหาคม 2011
  11. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    [FONT=&quot]ความผิดต่อคำสอนนั้นมีได้ ๒ แบบ คือ ๑. การประพฤติที่วิปริตไปจากคำสอน และ ๒. การทำคำสอนให้วิปริต [/FONT][FONT=&quot]

    การ ประพฤติที่วิปริตจากคำสอน ถือเป็นความผิดที่รุนแรงน้อยกว่าประการหลัง เพราะถือเป็นความผิดเฉพาะที่ตัวเรา ส่วนคำสอนต่าง ๆ ไม่ถูกกระทบหรือทำให้มัวหมอง

    ส่วน การทำคำสอนให้วิปริตไปนี้ จัดเป็นความผิดที่รุนแรงกว่าข้อแรกอย่างมาก เพราะทำให้เนื้อตัวของคำสอนผิดเพี้ยนไป ส่งผลกระทบกับคนจำนวนมาก เพราะทำให้หลงทางหรือเสียโอกาสในสิ่งที่ควรได้ควรถึง เพราะไปหลงยึดเอาคำสอนที่ผิดมาปฏิบัติ

    บุคคล หรือคณะบุคคลที่ยุ่งเกี่ยวกับการเผยแพร่ธรรมะคำสอน ต้องตระหนักในเรื่องความผิดพลาดทั้งสองประการข้างต้นให้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประการหลัง ไม่อย่างนั้นบุญจะไม่คุ้มบาป และถือว่าขาดความเคารพครูบาอาจารย์ เพราะบางครั้งเอาคำพูดของเราไปอ้างว่าเป็นคำพูดของครูบาอาจารย์ ชนิดที่ว่า “เอาคำของเราไปใส่ปากครูอาจารย์” ทำ ให้คนฟังเข้าใจผิดคิดว่าเป็นคำพูดออกจากองค์ท่านจริง ๆ ซึ่งถึงแม้จะมีเนื้อหาเป็นธรรม (ตามทัศนะของเรา ณ วันนี้) แต่ก็จัดว่าเป็นการกระทำที่ขาดความเคารพและไม่ซื่อสัตย์ต่อครูอาจารย์

    โดยสรุป ในการเผยแพร่คำสอนของหลวงปู่หรือครูอาจารย์ท่านใดก็ตาม เราควรต้องรักษาความบริสุทธิ์ในคำพูดคำสอนของท่าน โดย จะไม่คิดเอาเอง หรือเอาความรู้ในทางนิมิตมาเผยแพร่ เพราะมันสุ่มเสี่ยงว่าจะมีอุปาทานแทรกซ้อนได้ แม้จะมีเจตนาที่บริสุทธิ์ หรือข้อความดังกล่าวแลดูเป็นอรรถเป็นธรรมก็ตาม (ถ้าแลดูเป็นอรรถเป็นธรรม ก็เผยแพร่ได้แต่ควรเผยแพร่กับบุคคลใกล้ตัวเท่านั้น มิใช่เผยแพร่กับสาธารณะ รวมทั้งต้องบอกที่มาที่ไปที่ชัดเจน ว่าไม่ได้มาจากปากท่านในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ หากแต่เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นที่จิตเรา)
    นอก จากนี้ หากเป็นคำสอนที่จำสืบ ๆ กันมา แต่เข้ากันไม่ได้กับคำสอนโดยรวมของท่าน เราก็ต้องละไว้ ไม่นำมาเผยแพร่ โดยให้สันนิษฐานว่ามีการจดจำและเล่าสืบ ๆ กันมาจนเกิดความคลาดเคลื่อน หรืออาจเป็นคำสอนเฉพาะบุคคลจริง ๆ ซึ่งไม่เหมาะจะเผยแพร่เป็นสาธารณะ เพราะอาจทำให้คนหมู่ใหญ่สับสน

    บ่อย ครั้งที่ข้าพเจ้าเห็นคำสอนของหลวงปู่ทวด หรือสมเด็จโตฯ เผยแพร่ออกมาเป็นล่ำเป็นสัน พอสืบค้นไปแล้วพบว่ามีที่มาจากสำนักทรงบ้าง จากการนั่งสมาธิของใครบางคนบ้าง การเผยแพร่อย่างนี้หากเป็นไปอย่างกว้างขวางมากขึ้นก็จะทำให้คำพูดแท้ ๆ ของหลวงปู่กับคำพูดผ่านนิมิตของใคร ๆ มาปะปนกันจนแยกไม่ออก ไม่รู้อันไหนเป็นคำสอนจริง ๆ ของท่าน ซึ่งจริง ๆ แล้ว โอวาทของหลวงปู่ทวดนั้นจะมีมาเผยแพร่ได้อย่างไร ในเมื่อท่านละสังขารไปตั้งกว่า ๔๐๐ ปีมาแล้ว ขนาดว่าพระดำรัสของพระมหากษัตริย์ไทยในยุคนั้นก็ยังไม่มีเหลือถึงปัจจุบัน เลย

    ดัง นั้น หากเราคิดว่าหลวงปู่เป็นครูบาอาจารย์เรา และเป็นดั่งพ่อแม่ของเรา ก็โปรดช่วยกันรักษาความบริสุทธิ์ในคำสอนของท่าน และพิจารณากลั่นกรองให้ดีก่อนเผยแพร่ออกไป หากเป็นคำสอนที่ผุดรู้ขึ้นในจิตของผู้ปฏิบัติกรรมฐาน และอยากที่จะเล่าเพราะเห็นว่ามีเนื้อหาที่เป็นประโญชน์ ก็ให้เล่าเฉพาะหมู่เพื่อนใกล้ตัว รวมทั้งควรบอกที่มาที่ไปให้ชัดเจน ไม่ควรให้คนอื่นเขาเข้าใจผิด

    ใน สมัยหลวงปู่มีชีวิต เวลานักปฏิบัติได้นิมิตหลวงปู่มาสอนธรรมะ และเขานึกอยากจะเล่าให้หมู่เพื่อนใกล้ตัวฟังเพื่อเจริญศรัทธา เขาก็มักจะเริ่มต้นคำพูดว่า “ถ้าผมไม่เพี้ยนไป หรือไม่เป็นเพราะปรุงแต่งจิตไปเอง เมื่อคืนในขณะที่ผมปฏิบัติกรรมฐาน ผมได้ยินหลวงปู่มาสอนว่า....................................” เป็นต้น

    หาก ลูกศิษย์ไม่ว่าทันหรือไม่ทันท่าน ละเลยต่อการรักษาความบริสุทธิ์ในคำสอนของหลวงปู่ พากันเอาความรู้ภายในหรือทางนิมิตมาถ่ายทอดปะปนให้คนเข้าใจว่าเป็นคำสอนของ หลวงปู่จริง ๆ อีกหน่อยสำนักทรงต่าง ๆ ก็คงถ่ายทอดว่าหลวงปู่ดู่สอนว่าอย่างนั้น สอนว่าอย่างนี้ เหมือนกับที่ทำกับหลวงปู่ทวด หรือสมเด็จโตฯ

    จาก ปฏิปทาหลวงปู่ซึ่งเป็นผู้มักน้อยสันโดษ รวมทั้งเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน วางตัวเป็นพระบ้านนอก เทศน์ไม่เป็น เป็นแต่ให้คติแง่คิดสั้น ๆ ภาพ ของหลวงปู่ที่เกิดจากโอวาทแปลกปลอมก็อาจจะกลายเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่หลงตัว อวดตัว พูดจาทำนองได้วางหลักธรรมและวิชชาพิสดารต่าง ๆ ขึ้นมากมาย สุดท้ายคนที่เสียประโยชน์ก็คือคนยุคหน้าที่ไม่ทันทั้งสังขารของหลวงปู่ และไม่ทันทั้งคำสอนที่บริสุทธิ์ของหลวงปู่

    ดัง นั้น หากเคารพรักหลวงปู่ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ก็ ควรช่วยกันรักษาความบริสุทธิ์ในโอวาทของท่าน และในกรณีที่ไม่แน่ใจเพราะไม่เคยได้ยินได้ฟังคำสอนหลวงปู่ด้วยตนเอง ก็อาจอาศัยความเข้าใจจากการศึกษาปฏิปทาและคำสอนของหลวงปู่จาก ”หนังสือตามรอยธรรม ย้ำรอยครู หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ” ที่จะช่วยให้เราพอเห็นภาพรวมปฏิปทาและบุคลิกภาพของท่านตามสมควรในระดับที่พอจะวินิจฉัยได้ว่าคำสอนใดน่าจะใช่ คำสอนน่าจะไม่ใช่ เช่น

    · คำสอนที่ขัดกับหลักการพึ่งตนเอง
    กล่าว คือมัวแต่พึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือมนต์วิเศษ เพราะตลอดชีวิตของท่าน ท่านมีแต่จะกระตุ้นให้ลูกศิษย์ไปทำงาน (ทำกรรมฐาน) ด้วยความวิริยะอุตสาหะ ท่านพูดเสมอว่าท่านเป็นเพียงผู้ชี้ทาง พวกเราต้องขวนขวายทำเอาเองจึงจะได้) จะโมทนาอย่างเดียว หรือเอาแต่สวดมนต์อ้อนวอนขอร้องไม่ได้

    · คำสอนที่ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ
    กล่าวคือ ทำให้อยู่ยาก กินยาก ชิวิตที่เรียบง่ายหายไป กลายเป็นชีวิตที่ติดสุขหรือติดสิ่งอำนวยความสะดวก


    · คำสอนที่พาให้หลงวนเวียนในเรื่องบุญหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือพลังงานลึกลับ
    กล่าว คือสอนให้หมกมุ่นอยู่แต่ในเรื่องทาน เรื่องศรัทธา หรือเรื่องปาฏิหาริย์จนไม่มีเวลาให้กับสิ่งที่เป็นคุณค่าสูงสุดนั่นคือการ ปฏิบัติในหลักแห่งศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อจะให้มีตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

    · คำสอนที่เน้นให้ยึดมั่นถือมั่นในตัวอาจารย์
    กล่าว คือ ท่านจะไม่สอนให้เรายึดตัวบุคคลหรือยึดตัวครูอาจารย์ หากแต่ให้ยึดที่ธรรมะ ดังที่ท่านกล่าวว่า ธรรมที่ท่านให้ไว้น่ะ จงรักษาเท่าชีวิต เพราะจะเป็นที่พึ่งได้ในภายหน้า และท่านยังสอนว่าการจะไปสวรรค์นิพพาน เราต้องทำเอาเอง ท่านส่งใครไปไม่ได้ ท่านเป็นเพียงผู้ชี้ทางเท่านั้น

    · คำสอนที่มุ่งหาทางลัดตรง
    กล่าว คือ มุ่งจะเอาธรรมะชั้นสูง โดยมองข้ามธรรมะพื้นฐาน คล้ายจะสร้างยอดเจดีย์โดยไม่สร้างฐานเจดีย์ให้แข็งแรงเสียก่อน หลวงปู่ทั้งสอนทั้งให้กำลังใจว่า “เบื้องต้นก็จะขึ้นยอดตาล มีหวังตกลงมาตาย หรือแข้งขาหักเท่านั้น” และ “หมั่นทำเข้าไว้ ๆ” เราจะมัวพูดถึงหรือจินตนาการในสมบัติหรือผลการปฏิบัติของครูอาจารย์ โดยที่เมื่อล้วงเข้าไปในกระเป๋าเราแล้ว กลับพบว่าแทบไม่มีเงิน (ศีล สมาธิ และปัญญา) ติดกระเป๋าเลยนั้น ถือว่าตั้งอยู่ในความประมาทมาก

    · คำสอนที่ทำให้ตั้งอยู่ในความประมาทและเพื่อความเนิ่นช้า
    เช่น พาให้หลงหมกมุ่นอยู่กับเครื่องเล่นต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลพลอยได้ทางสมาธิหรือแม้กระทั่งวัตถุมงคลต่าง ๆ จน แทบไม่เหลือเวลาให้กับการภาวนาละกิเลส รวมไปถึงคำสอนที่ทำให้หลงสำคัญตนว่าเป็นผู้สั่งสมบุญบารมีมาแต่เก่าก่อน ชาตินี้ทำพอเป็นนิสัยปัจจัยเพื่อรอจะไปบรรลุธรรมในยุคพระศรีอาริย์ทีเดียว ซึ่งเป็นทัศนะที่น่ากลัวที่สุด ซึ่งผู้ที่ทันหลวงปู่จะรู้ดีว่า หลวงปู่ห่วงลูกศิษย์ของท่านขนาดไหน แม้ขยันภาวนาอยู่กับท่านทุกวัน ท่านก็ยังไม่รับรองว่าจะพ้นนรกหรืออบายภูมิเลย คำสอนของท่านมีจุดหมายปลายทางที่การเตรียมตัวตายเพื่อให้สามารถตายอย่างผู้ มีชัย ด้วยการขวนขวายสร้างภูมิสมาธิและปัญญาให้พอตัว หรือปฏิบัติให้ถึงหนึ่งในสี่ (อริยบุคคลเบื้องต้น) อันเป็นเป้าหมายที่ท่านให้ลูกศิษย์ทุกคนยึดหลักนี้ไว้ให้ชัดเจน เพื่อความเที่ยงแท้แน่นอนว่าจะไม่ลงอบาย โดยท่านไม่เคยสอนใครเลยว่า ปฏิบัติพอเป็นนิสัยปัจจัย เพื่อจะไปบรรลุธรรมในยุคพระศรีอาริย์ มีแต่สอนให้ปฏิบัติให้เต็มที่ หากไม่ได้ไม่ถึง อย่างน้อยสิ่งที่สั่งสมไว้ดีแล้วนี้จะช่วยให้เราได้ไปเกิดในยุคพระศรีอาริย์ มิใช่มัวประมาทกินบุญเก่าอยู่

    หมายเหตุ โดยปรกติ หลวงปู่จะเรียกตัวเองว่า “ข้า” และเรียกคู่สนทนาว่า “แก” ไม่ใช่ “มึง หรือ เอ็ง” อย่างที่ปรากฏเผยแพร่ในบางแห่ง

    ที่มา: Luangpudu.com / Luangpordu.com[/FONT]
    [FONT=&quot]หลวงปู่ท่านเมตตาต่อทุก คนที่จะมาเอาธรรม หรืออย่างน้อยมีแววที่ท่านอาจให้ยึดโยงจากวัตถุมงคลหรือเรื่องปาฏิหาริย์มา สู่ธรรมในภายหน้าได้ แต่อย่างที่ว่า ปาฏิหาริย์ของหลวงปู่นั้นชัดเจน มาก ๆ ว่า มิได้เป็นไปเพื่อความหลง คือ มิได้เป็นไปเพื่อให้หลงเสียทรัพย์ไปกับพิธีกรรมต่าง ๆ หรือลุ่มหลงจมปรักหรือจิตฟูฟุ้งไปกับปาฏิหาริย์ หากแต่เป็นปาฏิหาริย์ชนิด "พระท่านทำให้เชื่อ" ทั้งสิ้น เมื่อเชื่อคุณพระพุทธฯ ก็เท่ากับว่าลดความลังเลสงสัยในการที่จะน้อมนำธรรมะมาปฏิบัติขัดเกลาตัวเอง ว่าจะเกิดผลดีแก่ตัวเองจริง ๆ[/FONT][FONT=&quot]

    [/FONT][FONT=&quot]มา บัดนี้ ยังมีคนบางกลุ่มเอาแต่เรื่องพิธีกรรม แล้วอ้างว่าหลวงปู่พาทำ แถมยังบอกว่าเป็นเรื่องทางปัญญา ก็ไม่รู้ว่าเป็นปัญญาพาตัว เองให้ได้ตนเป็นที่พึ่งแก่ตัวอย่างไร นอกจากพาตัวเองให้ต้องขึ้นกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลี้ลับ หรือขึ้นกับความวาดฝันในอานิสงส์สุดคณนาจากพิธีกรรมเหล่านั้น ซึ่งล้วนแต่เป็นช่องทางหาทรัพย์ทั้งเงินทองและอสังหาริมทรัพย์บนศรัทธาของ ผู้ไม่รู้ทันเท่านั้น[/FONT][FONT=&quot]

    [/FONT][FONT=&quot]จาก หลวงพี่สู่หลวงพ่อ กระทั่ง มาเป็นหลวงปู่ คุณความดีที่ท่านสร้างไว้นั้นมากมาย แค่ทำให้คนหยาบคนพาลคนหนึ่งมาเป็นกัลยาณชนก็มีอานิสงส์มากมายเหลือประมาณ เพราะเท่ากับทำภพชาติของคนหลงให้สั้นเข้า ทุกข์และน้ำตาที่ต้องทิ้งไว้กับโลกก็น้อยลง ทำอย่างไรหนอ ปฏิปทาและคำสอนอันบริสุทธิ์ของหลวงปู่จะถูกเล่าขานออกไปอย่างไม่รู้จบ เพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่มาก[/FONT][FONT=&quot]


    ที่มา: Luangpudu.com / Luangpordu.com[/FONT]
     
  12. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    ศิษย์ดื้อ

    ศิษย์ดื้อ

    เรื่องความดื้อนี่ เข้าใจว่าเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ คงต้องมีกันบ้างไม่มากก็น้อย
    สมัยที่หลวงปู่ยังหนุ่ม หลวงปู่มีศิษย์ในความสงเคราะห์เลี้ยงดู (ชนิดอยู่ประจำที่วัด) ที่เด่นชัดก็เห็นจะเป็นลุงแกละ (ปัจจุบันเสียแล้ว) ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ลุงแกละจากไปตั้งแต่ลุงแกละยังเล็ก ๆ มีคนแนะนำให้มาอาศัยอยู่กับหลวงปู่
    ลุงแกละเล่าให้ฟังว่า หลวงปู่ตอนหนุ่ม ๆ นี่ดุเอาการ ขนาดลุงแอบหนีไปเที่ยว กลับเข้าวัดกลางคืน หลวงปู่จับได้ โดนตีซะหลายที แต่ด้วยความดื้อ จึงไม่ค่อยจะหลาบจำ
    สมัยนั้น หลวงปู่ท่านตั้งใจสอนหนังสือให้ด้วยตนเอง ทั้งลุงแกละและเด็กวัดคนอื่น ๆ ทั้งการเขียนหนังสือและการคิดเลข ฯลฯ ซึ่งก็เป็นแบบไทย ๆ ในยุคนั้น ที่วัดคือศูนย์กลางการศึกษา
    พอมาในยุคที่มีผู้เริ่มรับธรรมได้ ศิษย์ดื้อก็ต้องปะปนอยู่เป็นธรรมดา ท่านสอนว่าอย่า ก็จะทำ ท่านสอนให้ทำก็ไม่ค่อยจะทำ
    เป็นต้นว่า ท่านว่าห้ามไปสำนักทรง ศิษย์ดื้อก็แอบไปเพราะอยากรู้อยากเห็น จนบางทีถึงขนาดเสียท่าถูกของเข้าตัว ผ่านอาหารและเครื่องดื่มที่นำมาเลี้ยงกัน
    หลวงปู่ห้ามไม่ให้คุยเสียงดังในวัดในวา ให้สงบสำรวม ศิษย์ดื้อก็ยังพากันสนทนาเสียงดังไม่ต่างจากที่บ้าน หลวงปู่ส่งสายตาทีก็เงียบที
    หลวงปู่ห้ามเรี่ยไร ศิษย์ดื้อก็ไม่หยุด เพราะชอบ และคิดว่าจะเป็นบุญใหญ่หรือเป็นหนทางให้ได้บริวารมาก ๆ (ไม่ได้ทำบุญมุ่งจาคะละกิเลสตัวตระหนี่ถี่เหนี่ยว)
    หลวงปู่ไม่ชอบให้จัดมหรสพในวัด เพราะเสียงดังรบกวนการปฏิบัติสมณธรรมของพระเณร ศิษย์ดื้อก็ยังคงจัดมหรสพ เพราะทำกันมาตั้งแต่ไหน ๆ เลิกได้อย่างไร ชาวบ้านเขาชอบกัน
    ฯลฯ
    ในทางกลับกัน หลวงปู่ให้พากันทำความเพียรให้สม่ำเสมอ ศิษย์ดื้อก็ทำ ๆ หยุด ๆ แต่เวลาถามปัญหาธรรมะ จะถามปัญหาธรรมชั้นสูง (เพราะอ่านและจำมาได้มาก) แล้วมักถามอะไรที่ไกลตัว ไม่ใช่ปัญหาการขูดกิเลสตัวเอง
    หลวงปู่แนะนำให้ไปโรงเรียนธรรมะ คือ โรงพยาบาล เพื่อดูเกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้มันถึงใจ ศิษย์ดื้อก็ชอบไปดูหนังดูละครมากกว่า
    หลวงปู่บอกว่าให้ทำจริง ๆ (เพื่อจะได้เห็นผล เป็นกำลังใจแก่ตนเองในการปฏิบัติให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป) ศิษย์ดื้อก็ทำเล่น ๆ แต่อยากได้ผลจริง ๆ เมื่อไม่ทันใจก็มองหาทางลัดที่จะให้ผลมาแบบง่าย ๆ สบาย ๆ หรือไม่ก็เปลี่ยนแนวทาง เปลี่ยนครูบาอาจารย์ไปเรื่อย ๆ ปฏิบัตินิดหน่อยไม่เห็นผล ก็ว่าไม่ถูกจริต (ไม่เคยรู้ว่าครูบาอาจารย์ท่านต้องทดลองปฏิบัติจริง ๆ จัง ๆ กันเป็นหลาย ๆ เดือน หรือเป็นปี ก่อนจะบอกว่าไม่ถูกจริต)
    หลวงปู่บอกว่าพระของข้า องค์เดียวก็พอ ศิษย์ดื้อก็ห้อยพระซะเต็มคอ บางคนห้อยตั้งสองสามเส้น แถมในมือยังใส่แหวนเต็มสองมือ แทบจะเป็นแคตาล็อกแหวนเคลื่อนที่
    หลวงปู่บอกว่าให้ดูความก้าวหน้าในการ ปฏิบัติจากโกรธ โลภ หลงที่ลดลง พร้อม ๆ กับศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่มากขึ้น ศิษย์ดื้อก็จะมุ่งแต่เรื่องการเห็นนิมิต เรื่องลึกลับที่หาพยานไม่ได้ ส่วนความศรัทธาในพระ แทนที่จะศรัทธาในเรื่องหลัก ๆ เช่น ศรัทธาเชื่อมั่นในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า กลับไปศรัทธาแบบพระเป็นเหมือน เทพเจ้า คือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดลบรรดาลความสำเร็จให้ เมื่อทำพระให้เป็นเทพ ก็ไม่พ้นพิธีกรรมบวงสรวงเทพ ในที่สุดก็แยกทำพุทธ-พรหมณ์ไม่ออก ทิ้งหลักการพุทธที่ว่าเป็นหลักพึ่งตนเอง ไม่ใช่พึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอก
    สุดท้ายหลวงปู่บอกว่าเวลาเหลืออีกไม่ มาก ให้รีบพากันปฏิบัติ ศิษย์ดื้อก็ไม่เคยนึกว่าวันพรุ่งนี้อาจเป็นวันสุดท้ายของชีวิต แม้ขณะกำลังจะตาย ก็ยังไม่คิดว่าจะต้องตายจริง ๆ
    ผมขอสารภาพว่าผมก็เป็นหนึ่งในศิษย์ดื้อครับ จึงได้ไปไม่ถึงไหน
    [FONT=&quot]ที่มา:[/FONT] Luangpudu.com / Luangpordu.com
     
  13. paitoon01

    paitoon01 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,480
    ค่าพลัง:
    +4,160
    ขอฝากตัวเป็นศิษย์รุ่นหลังด้วยคนหนึ่ง
    กราบหลวงปู่ดู่ครับ
     
  14. kang_som

    kang_som เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    11,853
    ค่าพลัง:
    +27,807
    สาธุ สาธุ สาธุ กราบหลวงปู่ดู่

    ทุกวันก่อนนอนก็จะสวดมนต์ ขอบารมีครูบาอาจารย์ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ หลวงปู่ดู่

    นะโม โพธิสัตโต พรหมปัญโญ
    นะโม โพธิสัตโต พรหมปัญโญ
    นะโม โพธิสัตโต พรหมปัญโญ
     
  15. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303

    นะโม โพธิสัตโต พรหมปัญโญ

    เมื่อปวารณาตัวก็ขอถือโอกาสนี้ชี้แจงซะเลยนะครับ ว่า "นะโม โพธิสัตโต พรหมปัญโญ" นั้นไม่ใช่คำอาราธนาที่หลวงปู่บัญญัติ แต่เป็นลูกศิษย์ชั้นหลังได้มาบัญญัติใหม่จนเกิดความสับสนเพราะต่างจากของ เดิมที่ศิษย์สมัยท่านจำนวนมากได้พากันระลึกจดจำ (ซึ่งไม่มีคำว่า "โพธิสัตโต")
    จริง ๆ แล้ว หากว่าโดยความหมายแล้วก็ไม่เสียหายอะไร ประเด็นสำคัญกลับอยู่ที่ว่า "เรากล้าที่จะบัญญัติให้ต่างจากสิ่งที่หลวงปู่ บัญญัติ" เชียวหรือ
    ถ้ากล้า ในเรื่องหนึ่ง ก็มีแนวโน้มที่จะกล้าในเรื่องที่สองที่สาม แล้วถ้ากล้าไปเติมอะไร ๆ เข้าไปในโอวาทธรรมของหลวงปู่เล่า ผลจะเป็นอย่างไร (ซึ่งก็เริ่มปรากฏให้เห็นแล้ว)
    ที่พระสูตรของมหายานบางนิกายไม่สามารถ ใช้อ้างอิงได้ ก็เพราะเหตุทำนองเดียวกันนี้แหละ เขาอยากจะแต่งพระสูตรขึ้นใหม่ เขาก็ว่าเอาเองเลยว่า "ดูก่อน อานนท์ ....." บรรยายเหมือนจำลองตัวเองเป็นพระพุทธเจ้าเลย กระทั่งเป็นเหตุให้เกิดการสังคายนาพระไตรปิฎกหลายครั้งหลายหน โชคดีที่ทางเถรวาทยึดหลักอนุรักษ์นิยม ทำให้คงรักษาพุทธวจนะเดิมไว้ได้สมบูรณ์ที่สุด
    วกมาเรื่องคำว่า "โพธิสัตโต" ข้างต้นนั้น ย่อมขัดกับปฏิปทาหลวงปู่ ซึ่งเป็นพระที่ผู้อ่อนน้อมถ่อมตน จึงเป็นไปไม่ได้ที่หลวงปู่จะไปเที่ยวบอกใคร ๆ ว่าฉันเป็นพระโพธิสัตว์นะ แล้วท่านก็จะไม่ตีเสมอครูอาจารย์และพระพุทธเจ้าเด็ดขาด
    ดังนั้น จึงอยากแนะนำให้ช่วยกันรักษาของเดิมของหลวงปู่ไว้จะดีกว่า โดยไม่ ทำโอวาทหรือสิ่งที่หลวงปู่บัญญัติต้องคลาดเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นกรณีเติมแทรกเข้าไป หรือตัดทอนออก เช่น หลวงปู่สอนว่า "ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต" หากเราไปตัดทอนเหลือเพียงว่าหลวงปู่สอน "ให้หมั่นดูจิต" เท่านี้ก็คลาดเคลื่อนใหญ่หลวงมาก
    เพราะในหมวดธรรมต่าง ๆ ต้องมีเรื่องปัญญากำกับเสมอจึงจะไม่ผิดทาง
    หมวดอิทธิบาทสี่ก็ต้องมีวิมังสา หมวดพรหมวิหารสี่ก็ต้องมีอุเบกขา หมวดพละห้าก็ต้องมีปัญญา เป็นต้น แม้ในหมวดดูจิตนี้ก็ต้องมี "รักษาจิต" อันเป็นการทำงานของปัญญาที่จะข่มจิตในยามที่ควรข่ม ประคองจิตในยามที่ควรประคองจิต ปลุกปลอบจิตในยามที่ควรปลุกปลอบหรือให้กำลังใจ และวางเฉยในยามที่ควรวางเฉย เป็นต้น
    ถ้าไม่มีปัญญากำกับจะเป็นอย่างไร
    อิทธิบาทสี่ที่ขาดวิมังสา โน่นจะไปทางเหนือกลับวิ่งลงใต้เต็มกำลัง
    พรหมวิหารสี่ที่ขาดอุเบกเขา เป็นโทษหลายอย่าง เช่นเมตตาคนอื่นจนพาครอบครัวล่มจมไปด้วย หรือไม่ก็สงเคราะห์คนพาลจนชีวิตมีแต่เรื่องเดือดร้อน
    ดูจิตแต่ขาดการรักษาจิต มันก็ไม่ได้ผลงาน ไม่ได้การชำระจิต ดูจิตดูอารมณ์อยู่ มันก็ลากเราไปต่อหน้าต่อตา ถ้าขาดการรักษาจิต
    ยกเหตุที่คุณ ronram อ้างอิงถึง "โพธิสัตโต" ที่ผมเชื่อเหลือเกินว่าคุณ ronram ก็คงไม่ทราบมาก่อนว่าเป็นสิ่งที่บัญญัติเพิ่มจากสิ่งที่หลวงปู่บัญญัติ ดังนั้น ไม่เป็นไรครับ ความไม่รู้ย่อมมาก่อนความรู้ เมื่อรู้แล้วจะได้ช่วยกันรักษาของเดิม
    เพราะการรักษาของเดิมก็คือ "การเคารพเอื้อเฟื้อต่อธรรม" หมายความว่าเราจะไม่ไปบัญญัติเพิ่ม และไม่ไปตัดทอน ไม่ว่าคำของพระพุทธเจ้า หรือคำของครูบาอาจารย์ หากจะเขียนเสริมก็ให้ชัดเจนว่าส่วนนี้เป็นความเห็นเพิ่มเติมของผู้เขียน จึงจะเหมาะควร
    เขียนไปเขียนมาชักจะยาว ยังไงก็ยินดีที่มีสมาชิกใหม่เข้ามาในเรือนธรรมแห่งนี้ และหวังให้ได้ประโยชน์ตนกันทุก ๆ คน
    ขอบารมีหลวงปู่จงนำทางให้พวกเราทุกคนตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิ และสัมมาปฏิบัติตลอดทุกภพทุกชาติตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน


    ที่มา : Luangpudu.com / Luangpordu.com

     
  16. kang_som

    kang_som เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    11,853
    ค่าพลัง:
    +27,807
    ต้องกราบขอขมาต่อหลวงปู่ดู่ครับ ผมเองก็ไม่รู้มาก่อนว่าบัญญัติแต่เดิมกล่าวว่าอย่างไร อ่านในหนังสือเจอก็เลยถือคำนั้นเป็นคำท่องภาวนา......

    รบกวนคุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->Follower007 ช่วยแนะนำ สิ่งที่ถูกต้องให้ด้วยครับ จะได้ปฏิบัติได้ตามที่ครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอน.....

    ขอบคุณครับ
     
  17. dns

    dns เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +248
    แจ่มแจ้ง....
     
  18. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    ต้องขอออกตัวก่อนลยว่า ตัวเองก็เป็นผู้ที่มีความศรัทธาในองค์หลวงปู่ดู่รุ่นหลัง เพียงแต่เคยเสียเวลาหลงทางไปกับหลายๆ เว็ปที่ชี้แนะและเผยแพร่เรื่องราวของหลวงปู่ ทำให้เกิดความข้าใจที่ไม่ตรงกับปฏิปทาของท่าน และได้ไปพบเว๊ปที่เขาดำรงรักษา คำสอนและปฏิปทาของหลวงปู่อย่างแท้จริง ก็เลยไม่อยากให้ท่านอื่นไปหลงทางเสียเวลาเหมือนตัวเอง ก็เลยตั้งใจอยากมีส่วนร่วมด้วย ช่วยกันทำหน้าที่จรรโลงพระพุทธศาสนา รักษาและเผยแพร่คำสอนของครูบาอาจารย์ในลักษณะที่มุ่งหมายให้เป็นแบบ "รักษาคำสอนมิให้วิปริต" และจะทำตามกำลังเล็กๆ เท่าที่มีอยู่
    ขออนุโมทนากับคุณ kang_som และขอให้กุศลผลบุญช่วยุให้คุณ kang_som เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
     
  19. kang_som

    kang_som เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    11,853
    ค่าพลัง:
    +27,807

    สาธุ.....

    ขอบคุณมากครับ พอจะแนะนำได้มั้ยครับว่าเวบไหนที่ดำรงรักษา คำสอนและปฏิปทาของหลวงปู่อย่างแท้จริง
     
  20. คนกันเอง

    คนกันเอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    7,441
    ค่าพลัง:
    +8,977
    กราบนมัสการหลวงปู่ดู่ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...