สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุข สิ่งใดเป็นทุขไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ควรยึดจิตหรือไม่?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย albertalos, 17 สิงหาคม 2011.

  1. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์
    [๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    . ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    . เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    (โยนิโสมนสิการจากปฎิจจสมุปบาท และพระไตรลักษณ์ จะพบความจริงได้ด้วยตนเองในที่สุดว่า สุขทุกข์เพราะความไม่เที่ยง ย่อมเป็นทุกข์ในที่สุดทั้งสิ้น)
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?
    ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    (ในเมื่อรู้แล้วว่า มันเป็นตัวทุกข์ แล้วไปเก็บไปเอามันว่า เป็นของตัวของตนทำไมให้เป็นทุกข์)
    ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?
    ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?
    ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?
    ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?
    ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2011
  2. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

    พระสูตรที่กมาพระพุทธเจ้าตรัสแก่ปัญจวัคคี แก้ทิฐิ เรื่องของ รูป(กาย) และนาม(จิต)ก้คือกอง ขันธ์(จิต+เจตสิก)
    กองขันธ์ ทั้งหลาย มีความไม่เที่ยง เป็นทุข และเป็นอนัตตา ไม่ควรยึด

    ทุข ควรกำหนดรู้
    สมุทัย ควรละ
    มรรค ควรทำให้เกิด
    นิโรธ ทำให้แจ้ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2011
  3. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    จิต
    หมายถึงสิ่งที่เรียกว่าอยู่นอกเหนื่อความคิด เหตุผล ตรรกะ จิตสามารถเป็นสะพานเชื่อมระหว่างความคิด กับปัญญาญาณ

    พระพุทธศาสนา
    จำกัดความคำว่า จิต ไปในทางธาตุรู้หรือธาตุคิด ที่มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปตามองค์ประกอบหรือคุณภาพต่าง ๆ ที่เรียกว่า เจตสิก กระบวนการนี้เกิดดับไปตามแต่ที่จิตจะเหนี่ยวสิ่งใดขึ้นมาจับไว้ จิตจึงเป็นความคิดที่เกิด ๆ ดับ ๆ ในอภิธรรมกล่าวว่ามี 89 หรือ 121 คุณลักษณะ มีลักษณะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ตามการปรุงแต่งของเจตสิก ส่วนใหญ่ใช้คู่กับคำว่า ใจ
    แต่คำว่าใจเมื่อประสมกับคำอื่นมักจะบ่งถึงสภาพความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่าจะเป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดดับ ตัวอย่างเช่น เสียใจ บ่งสภาพความเศร้าโศก ดีใจบ่งสภาพความดียินดี ในที่นี้คำว่าใจจึงบอกถึงสภาพของสิ่งหนึ่ง ที่เป็นศูนย์กลางของความรู้สึกมากกว่าจะเป็นกระบวนการของความคิด เหมือนอย่างคำว่า จิต

    ในทางพระพุทธศาสนา
    ไม่ถือว่าจิตเป็นตัวตนที่แท้จริงแต่ถือว่าเป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่างทำให้เกิดขึ้น ตามกฎแห่งอนัตตา (ทุกสิ่งไม่ตัวตนที่จริงแท้) คือไม่มีตัวตนอันเป็นแก่น เหมือนต้นไม้ย่อมอาศัยดิน ราก ใบ แสงแดด อากาศ กิ่ง ทำให้มีตัวตนที่เรียกว่าต้นไม้ขึ้น สรรพสิ่งดูเหมือนมีตัวตนเพราะอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น เมื่อแยกออกก็ว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย เช่นเดียวกับจิตอย่างไม่มีข้อยกเว้น จิตดำรงอยู่ได้ด้วยการอิงอาศัยกันของสิ่งที่เรียกว่าเจตสิกอันเป็นองค์ประกอบของจิต
    ประกอบกันเป็นกระบวนการทำงานทั้ง7อย่างเรียกว่า ธรรมธาตุ๗ ที่กำเนิดขึ้นตามกลไกมหาปัฏฐาน (ปัจจัย๒๔) ที่เป็นไปตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาทโดยจะหมดเหตุแห่งกระบวนการทางจิตเมื่อกำจัดอวิชชาสังโยชน์ จิตเหมือนรถยนต์การที่จะเป็นรถขี่ได้ ๑ คัน
    กลไกต่างๆย่อมต้องอยู่ในที่ๆเหมาะสม หรือเหมือนคอมพิวเตอร์ย่อมอาศัยโปรแกรมหลายๆโปรแกรมประกอบกันขึ้น มหาปัฏฐานเหมือนโปรแกรม (ยกขึ้นเป็นตัวอย่างเท่านั้น) เพียงแต่กระบวนการทางธรรมชาติย่อมใช้เวลาให้กฎแห่งเหตุผลทางธรรมชาติ (กฎนิยาม) เกี่ยวเนื่องกัน สมบูรณ์ตามรูปแบบจิตเหมือนในคัมภีร์มหาปัฏฐานจนเหมาะสมที่จะเป็นกระบวนการทางจิตที่ซับซ้อนอันเป็นต้นกำเนิดของจิตอันเป็นบ่อเกิดให้มีการเวียนว่ายตายเกิด

    จิต๘๙หรือ๑๒๑ จำแนกตามอภิธรรม
    อภิธรรมจัดจิตตามคุณภาพหรือคุณลักษณะ ที่ เจตสิกเข้ามาประกอบ มี 89 หรือ 121
    กามาวจรจิต๕๔

    [กุสลจิต๒๔

    • จิตที่สหรคต (เป็นไปกับเวทนา) ด้วยโสมนัสหรืออุเบกขา
    • สัมปยุต (ประกอบกับสังขารเจตสิก) ญาณหรือปราศจากญาณ (หรือปัญญา)
    • สสังขาริก (มีใครชักชวน) หรืออสังขาริก (เกิดเองไม่มีใครชักชวน)
    รวมเป็นกุศล ๘ และกุศลเช่นไร กิริยา และวิบากเป็นเช่นนั้น รวมเป็น๒๔
    อกุสลจิต๑๒

    โลภมูลจิต๘

    • จิตที่สหรคต (เป็นไปกับเวทนา) ด้วยโสมนัสหรืออุเบกขา
    • สัมปยุต (ประกอบกับสังขารเจตสิก) ทิฏฐิหรือปราศจากทิฏฐิ
    • สสังขาริก (มีใครชักชวน) หรืออสังขาริก (เกิดเองไม่มีใครชักชวน)
    โทสมูลจิต๒

    • จิตที่สหรคต (เป็นไปกับเวทนา) ด้วยโทมนัส
    • สัมปยุต (ประกอบกับสังขารเจตสิก) ด้วยปฏิฆะ
    • สสังขาริก (มีใครชักชวน) หรืออสังขาริก (เกิดเองไม่มีใครชักชวน)
    โมหมูลจิต๒

    • จิตที่สหรคต (เป็นไปกับเวทนา) ด้วยอุเบกขา
    • สัมปยุต (ประกอบกับสังขารเจตสิก) ด้วยอุทธัจจะหรือวิจิกิจฉา
    อเหตุกจิต๑๘

    กุศลวิบาก๘

    • จักขุวิญญาณ สหรคตด้วยอุเบกขา
    • โสตวิญาณ สหรคตด้วยอุเบกขา
    • ฆานวิญญาณ สหรคตด้วยอุเบกขา
    • ชิวหาวิญญาณ สหรคตด้วยอุเบกขา
    • กายวิญญาณ สหรคตด้วยอุเบกขา
    • สัมปฏิจฉันนจิต สหรคตด้วยอุเบกขา
    • สันตีรณจิต สหรคตด้วยอุเบกขา
    • สันตีรณจิต สหรคตด้วยโสมนัส
    อกุศลวิบาก๗

    • จักขุวิญญาณ สหรคตด้วยอุเบกขา
    • โสตวิญาณสหรคตด้วยอุเบกขา
    • ฆานวิญญาณสหรคตด้วยอุเบกขา
    • ชิวหาวิญญาณสหรคตด้วยอุเบกขา
    • กายวิญญาณสหรคตด้วยทุกข์
    • สัมปฏิจฉันนจิตสหรคตด้วยอุเบกขา
    • สันตีรณจิตสหรคตด้วยอุเบกขา
    อเหตุกิริยา๓

    • ปัญจทวารวัชชนจิต (จิตที่เป็นไปในทวาร๕)
    • มโนทวารวัชชนะจิต (จิตที่เป็นไปในมโนทวาร)
    • หสิตุปาทจิต (จิตร่าเริง)
    มหัคคตจิต

    รูปาวจรจิต๑๕

    • ปฐมฌาน มีองค์ญาน๕คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    • ทุติยฌานมีองค์ญาน๔คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    • ตติยฌานมีองค์ญาน๓คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
    • จตุตถฌานมีองค์ญาน๒คือ สุข เอกัคคตา
    • ปัญจมฌานมีองค์ญาน๒คือ อุเบกขา เอกัคคตา
    รวมเป็น กุศล ๕ กุศลเช่นไร กิริยา และวิบากเป็นเช่นนั้น รวมเป็น๑๕
    อรูปาวจรจิต๑๒

    • อากาสานัญจายตนะ
    • วิญญาณัญจายตนะ
    • อากิญนัญจายตนะ
    • เนวสัญญานาสัญญายตนะ
    รวมเป็น กุศล ๔ กุศลเช่นไร กิริยา และวิบากเป็นเช่นนั้น รวมเป็น๑๒
    โลกุตตรจิต๘

    • โสดาปัตติมรรค เป็นกุศล
    • โสดาปัตติผล เป็นวิบาก
    • สกทาคามิมรรค เป็นกุศล
    • สกทาคามิผล เป็นวิบาก
    • อนาคามิมรรค เป็นกุศล
    • อนาคามิผล เป็นวิบาก
    • อรหัตตมรรค เป็นกุศล
    • อรหัตตผล เป็นวิบาก
    จัดตามฌาน๕จะรวมเป็น๔๐
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2011
  4. chunhapong

    chunhapong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +731
    อถ โข ในกาลครั้งนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อได้ทรงทราบอาการแห่งพระผู้เป็นเจ้าคิริมานนท์ ดังนี้แล้ว จึงตรัสแก่ข้าฯ อานนท์ ว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ ท่านจงกลับคืนไปสู่สำนักของ ท่านคิริมานนท์โดยเร็ว แล้วพระองค์ตรัสต่อไป ว่า วิสุทฺธิ จิตฺติ อานนฺท เทว สญฺญา สุตฺวาโส อาพาโธ ฐาน โส ปฏิปสฺสมฺเภยฺย ดังนี้

    ดูกร อานนท์ เมื่อท่านไปถึงสำนักพระคิริมานนท์แล้ว ท่านจงบอก สัญญา ๒ประการ คือ รูปสัญญา๑ นามสัญญา๑ คือ ว่ารูป ร่างกายตัวตนทั้งสิ้นก็ดี คือ นาม ได้แก่ จิต เจตสิกทั้ง หลายก็ดี ให้ปลงธุระเสีย อย่าถือว่า รูปร่างกาย จิต เจตสิกเป็นตัวตน และอย่าเข้าใจว่า เป็นของ ๆ ตนทุกสิ่งทุกอย่าง ความจริงเป็นของภายนอกสิ้นทั้งนั้น

    ดูกร อานนท์ หากว่า รูปร่างเป็นตัวตนเราแท้ เมื่อเขาแก่เฒ่าชรา ตามัว หูหนวก เนื้อหนังเหี่ยวแห้ง ฟันโยกคลอน เจ็บปวดเหล่านั้น เราก็จะบังคับได้ตามประสงค์ ว่าอย่าเป็นอย่างนั้น ว่าอย่าเป็นอย่างนี้ นี่เราบังคับไม่ได้ตามประสงค์ เขาจะเจ็บ จะไข้ จะแก่ จะตาย เขาก็เป็นไปตามหน้าที่ของเขา เราไม่มีอำนาจที่จะไปบังคับบัญชาได้ เมื่อตายเราจะพาเอาไปสักสิ่งสักอันก็ไม่ได้ ถ้าเป็นตัวตนของเราแล้ว เราก็คงจะพาเอาไปได้ตามความปรารถนา

    ดูกร อานนท์ ถึงเจตสิก ก็ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของ ๆ ตน หากว่า จิต เจตสิกเป็นเรา เป็นของ ๆ เรา เราก็จักบังคับได้ตามประสงค์ว่า จิตของเรา จงเป็นอย่างนั้น จงเป็นอย่างนี้ จงสุขสำราญทุกเมื่อ จงอย่าทุกข์อย่าร้อนเลย ดังนี้ ก็จักพึงได้ตามปรารถนา นี่หาเป็นเช่นนั้นไม่ เขาจะคิดอะไรเขาก็คิดไป เขาจะอยู่จะไปก็ตามเรื่องของเขา เพราะเหตุ ร่างกาย-จิตใจ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของ ๆ ตนให้ปลงธุระเสีย อย่าเข้าใจว่า เป็นตัวตน แลของ ๆ ตนเถิด

    ดูกร อานนท์ ท่านจงไปบอกซึ่งสัญญา ทั้ง ๒ ประการ คือ รูปและนามนี้ โดยเป็น อนัตตา ไม่ ใช่ตัวตนแลไม่ใช่ของ ๆ ตน ให้พระคิริมานนท์แจ้งทุกประการ เมื่อพระคิริมานนท์แจ้งแล้ว อาพาธความเจ็บปวดแลทุกขเวทนา ก็จักหายจากสรีระร่างกาย แห่งพระคิริมานนท์สิ้นเสร็จหาเศษบ่มิได้ จักหายโดยรวดเร็วด้วย

    ภนฺเต อริยกสฺสป ข้าแต่พระอริยะกัสสปผู้เป็นประธานในสงฆ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแก่ข้า ฯ ผู้ชื่อว่าอานนท์ ด้วยประการ ดั่งนี้แล

    พระสูตรนี้จับใจครับ..ขออนุโมทนาสาธุ
     
  5. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710

    ชัดเจนเลยครับ โมทนาครับ
     
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ...................ที่ควรไม่เอาคือความยึดมั่น...............................................
     
  7. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    แผนผังขันธ์ 5
    ................... .........
    .................................[​IMG].. .......[​IMG].. .. .......[​IMG]
    ........................................รูป รูปขันธ์.............เวทนาขันธ์. สัญญาขันธ์. สังขารขันธ์......วิญญานขันธ์

    อนุโมทนาครับ
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2011
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ๔. อนิจจสูตรที่ ๒
    ว่าด้วยความเป็นไตรลักษณ์แห่งขันธ์ ๕

    พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
    สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
    ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
    เวทนาไม่เที่ยง ...
    สัญญาไม่เที่ยง ...
    สังขารไม่เที่ยง ...
    วิญญาณไม่เที่ยง...
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
    สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
    ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.


    เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้
    ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้น (อดีต) ย่อมไม่มี
    เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้นไม่มี ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลาย (อนาคต) ย่อมไม่มี
    เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลายไม่มี ความยึดมั่นอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี.

    เมื่อความยึดมั่นอย่างแรงกล้าไม่มี จิตย่อมคลายกำหนัดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
    ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เพราะหลุดพ้น
    จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่
    จึงยินดีพร้อมเพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น
    ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.

    อ่านเต็มๆที่นี่
    ^
    ^
    พระพุทธพจน์ชัดๆไม่ต้องตีความตามมติสาวกภาษิต
    เมื่อไม่มีความยึดมั่นถือมั่นอย่างแรกกล้าในจิตนั้น
    จิตย่อมเบื่อหน่ายในรูปนามขันธ์๕ เมื่อเบื่อหน่ายจิตก็คลายกำหนัดในรูปนามขันธ์๕
    จิตย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย จิตจึงดำรงอยู่ ไม่ได้ดับตายหายสูญใช่หรือไม่?

    เมื่อจิตสามารถปล่อยวางความยึดมั่นในรูป-นามขันธ์ได้แลัว
    จิตจะกลับมาเขลายึดมั่นในไปตนเองอีกทำไม?
    การปฏบัติอริยมรรคมีองค์๘ เป็นการปฏิบัติทางจิต
    เพื่อให้จิตรู้จักการสลัดคืน การปล่อยวางความยึดมั่นในรูปนามขันธ์

    ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
    เวทนาไม่เที่ยง ...
    สัญญาไม่เที่ยง ...
    สังขารไม่เที่ยง ...
    วิญญาณไม่เที่ยง...
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
    สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
    ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.


    พระพุทธชัดๆขนาดนี้ยังจะเอา จิต เจตสิก มายำจนเละเทะไปหมดเลยนะ
    มีตรงไหนในพระสูตรที่ยกมา พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า
    จิต เจตสิก ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของ เล่นสอนกันเกินพระบรมครู
    แบบนี้ก็แย่สิ ธรรมะดีๆเพื่อความหลุดพ้นเสียหายหมด
    กลับทิฐิเสียใหม่ก็ยังไม่สาย หัดยืนอยู่บนหลักเหตุผล
    ที่ตริตรองตามความเป็นจริงบ้างก็ดีนะ
     
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต ....
    แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยฆานะ ....
    แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยชิวหา ....
    แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วกาย ....
    แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน
    ผ่านมาสู่คลองใจของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้
    ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย
    จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้
    เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และ
    ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น

    �����ûԮ�������� � - ����Թ�»Ԯ�������� �

    ....................................
    ^
    ^
    ใครหรืออะไรควรยึดจิต?

    พระไตรลักษณ์(อนัตตลักขณสูตร)ไม่ได้ร่วมเอาจิตเข้าไปด้วย

    ชัดๆนะ เช่นนั้น วันหลังจะยกพระสูตรนี้มาอ้างนั้น

    ควรยกในส่วนที่ต่อเนื่องกันมาอ้างด้วยนะ

    พระสูตรนี้ชี้ชัดเจนในตัวเองอยู่แล้วนะว่า จิตข้าพเจ้ารู้อยู่เห็นอยู่ถึงความเกิดดับของ...

    การที่อ่านพระสูตรไม่เข้าใจเอง จึงตีความตามมติชอบใจของตน

    หรือเชื่อตามๆกันมาโดยที่ไม่เคยพิจารณาให้รอบคอบถ่องแท้เสียก่อนเลย

    ถ้าเป็นพระอรหันต์จริง ท่านย่อมไม่กล่าวขัดแย้งกันเองหรือขัดแย้งกับพระพุทธพจน์ของพระพุทธองค์นะ

    จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวแล้ว จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้

    ยังจะให้จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวที่อารมณ์เจือติดไม่ได้นั้นเกิด-ดับอีกหรือ?

    ตามความเป็นจริงแล้วควรเป็นอารมณ์ใช่มั้ยที่เจือติดไม่ได้จึงเกิด-ดับ?

    เพราะจิตของภิกษุนั้น อันอารมณ์เจือติดจิตไม่ได้ ครอบงำจิตของภิกษุนั้นไม่ได้

    ความเกิดและความดับไป ควรเป็นอารมณ์ต่างๆนั้นที่เจือติดจิตไม่ได้เหล่านั้นใช่มั้ย?

    จิตของภิกษุนั้น(ไม่ใช่จิตของภิกษุรูปอื่น)

    ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ(อารมณ์)ของจิตนั้นใช่มั้ย?

    ทำไมต้องจิตของภิกษุนั้น เพราะเราจะไปรู้จิตของภิกษุอื่นไม่ได้ จิตใครจิตมันใช่มั้ย?

    ตรงไหนที่พระพุทธองค์ตรัสว่าจิตเกิด-ดับ ของแบบนี้คิดเองเออเองไม่ได้หรอกนะ

    อ่านพระสูตรหัดพิจารณาด้วยจิตใจที่เป็นธรรมด้วย อย่าเอนเอียงไปตามความเชื่อสิ

    พระสูตรกล่าวถึงอารมณ์ต่างๆนั้น เช่นสัททารมณ์ คันธารมณ์ฯลฯ

    ที่ไม่สามารถครอบงำจิตของภิกษุนั้น หรือเจือติดที่จิตของภิกษุนั้นได้

    แต่เวลาเกิด-ดับกลับเมโมกันเอาเองให้จิตเกิด-ดับ เพราะเชื่อตามๆกันมาเท่านั้น

    ทั้งที่เห็นๆอยู่ว่าที่เกิด-ดับไปนั้น ล้วนเป็นอารมณ์ต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นใช่หรือไม่?

    ยังมีพระสูตรยืนยันอีกนะครับว่า เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วจิตยังดำรงค์อยู่

    ต้องรู้จริงๆว่าเจตสิกคือตัวอะไร?

    อยู่ๆเจตสิกธรรมโผล่มาจากไหน?
     
  10. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    1 พุทธพจที่คุณ ธรรมภูติยกมานั้นชัดเจนในตัวนะครับ
    ขันธ์ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

    สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
    ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

    และจากตรงจุดนี้

    จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่
    จึงยินดีพร้อมเพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น

    แต่เป็นเพราะจิตหลุดพ้นแล้วซึ่งอวิชา ท่าจิตยังไม่หลุดพ้นแสดงว่าจิตดำรงอยู่เช่นกันแต่มีอวิชาครอบงำยังไห้ เกิด แก่ เจ็บ และตาย

    งั้นต้องแยกแยะก่อนนะครับว่า พุทะพจประโยคนี้กล่าวถึงจิต ที่ไม่เที่ยงตัวเดียวกันแต่สองสภาวะ
    1สภาวะที่หมดสิ้นแล้วซึ่งกิเลส และยังคงดำรงอยู่
    2สภาวะของจิตปกติที่มีอวิชาครอบงำ ที่มีกันอยู่ปกติ

    ประเดนคือ ทั้งจิตที่มีอวิชา และจิตที่ไม่มีอวิชา ต่างไม่เที่ยง ป็นทุข และเป็นอนัตตาธรรม ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น



    2 ยกมาจากคุณธรรมภูติ
    พระพุทธชัดๆขนาดนี้ยังจะเอา จิต เจตสิก มายำจนเละเทะไปหมดเลยนะ
    มีตรงไหนในพระสูตรที่ยกมา พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า
    จิต เจตสิก ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของ เล่นสอนกันเกินพระบรมครู
    แบบนี้ก็แย่สิ

    ในพุทธพจนี้ก้กล่าวถึงความไม่เที่ยงและไม่ควรยึดว่าจิตไม่ใช่เรา

    รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
    สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
    ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.


    3 ธรรมะดีๆเพื่อความหลุดพ้นเสียหายหมด
    กลับทิฐิเสียใหม่ก็ยังไม่สาย หัดยืนอยู่บนหลักเหตุผล
    ที่ตริตรองตามความเป็นจริงบ้างก็ดีนะ

    หากทิฐิไหม่นั้นถูกต้องก้ยินดีน้อมรับไปพิจารนาและปรับปรุงครับหากทิฐินั้นยังไม่ตรงก้ขอให้ท่านช่วยพิจารนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2011
  11. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ควรชี้แจงและตั้งคำถามเป็นข้อๆ หากต้องการอทิบายหรือมีเมตตาในการแสดงธรรม ท่าไม่ใช่เพื่อเป็นประโยชใดๆทั้งเมตตา หรืออทิบายใดๆ คำพูดรวมๆนั้นมันคือ กิเลศในใจที่ออกมาเป็นตัวอักษรเท่านั้นเอง
     
  12. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เธอก็ยังเหมือนเดิมนะ

    อ่านก่อนหรือเปล่าหละก่อนที่จะพูดออกมา

    ทั้งสรุปชี้แจงในพระพุทธพจน์ที่ยกมาให้อ่าน

    และตั้งคำถามเป็นข้อๆให้ชัดเจนอยู่แล้ว

    ถ้าไม่คิดจะตอบคำถาม ก็ไม่มีใครว่าอะไร

    แต่ไม่ต้องแอบโชว์หรอกนะ เพราะยิ่งทำให้รู้ว่าไม่รู้จริง...
     
  13. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    คนดีนั้นชอบแก้ไขนะครับ ทุกคนต่างก้ฝึกและเรียนรู้การเป็นคนดี อะไรที่เห็นไม่ตรงกันคุยกันได้ แต่จะต้องเริ่มจากสิ่งที่ดี ความคาดหวังที่ดี
     
  14. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เราและไม่ใช่เรา อะไรกันนะที่ทำให้เราเป็นเราถ้าไม่ใช่ความหลงยึดมั่นถือมั่น จิตที่พระศาสดาบอกว่าไม่ใช่เรานั้นไม่ได้หมายความว่าจิตตามที่หลายๆคนเข้าใจกันสักหน่อย พิจารณาดีๆแล้วมันเป็นจิตตัวนั้นจิตตัวนี้แสดงว่ามันมีหลายๆตัวแต่ละตัวนั้นมันเกิดขึ้นและดับไปไม่ได้อยู่อย่างนั้นตลอดไป และจิตที่คนบางคนเข้าใจว่าจะอยู่อย่างนั้นตลอดไปนั้นถ้าพิจารณาดีๆก็พบว่าไม่จริงอีกนั่นแหละเพราะเมื่อเราในที่นี้เปลี่ยน หมายถึงเปลี่ยนจากภพหนึ่งไปอีกภพหนึ่งความเป็นเราของภพนั้นๆก็หมดไป หากเรายังยึดถือเอาว่ามาภพนี้ก็ยังเป็นเราอีกมันก็จะไม่มีวันสิ้นสุด เป็นวัฏสงสารอันยาวนาน ดังนั้นไม่ว่าจะพระสูตรไหนๆแม้แต่พระอภิธรรมก็ตามทีจะเห็นความสิ้นสุดของจิตเสมอคือความไม่ยึดมั่นถือมั่น เหลือไว้เพียงรู้ แต่ไม่ยึดไว้ บางทีนะบางคนด้วยเข้าใจผิดเห็นว่าไม่มีอะไรเหลือเลยคิดว่านั้นสิ้นสุดคือกลายเป็นโง่ไปเลยเพราะว่าไม่รู้ว่าขณะนั้นจิตคืออะไร มันไม่มีความปรุงแต่งหาที่มาที่ไปไม่ได้ดูมันเหมือนเที่ยงแท้แน่นอน แต่ที่จริงมันคนละอันกันและเข้าไม่ถึงจิต เพียงแต่ดูอยู่ข้างนอกนั้นจึงเห็นเป็นแบบนั้น ก็ยังงงๆอยู่ว่าแล้วทำไมไม่เข้าไปดูมันให้เห็นจริงๆไปเลยว่าข้างในความว่างนั้น มันมีอะไรอยู่กันแน่จะได้จบสิ้นข้อสงสัยกันเสียที กลัวอะไรกัน แปลกจริงๆ
    สาธุคั๊บ
     
  15. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ผมว่ารู้เหมือนๆกันนั่นแหละ แต่อย่ามาตั้งคำถามใส่ผมนะครับเพราะผมไม่ได้มาเข้าสอบชิงทุนเรียนปริยัติธรรมครับ
    ขอบคุณคั๊บ
     
  16. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    :cool::cool: ยินดีที่สนทนาครับ
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อย่าแยกแยะธรรมแบบคิดเองเออเองคนเดียวสิ นิสัยเปลี่ยนยากจริงๆ

    เล่นกล่าวตู่พระพุทธพจน์แบบนี้ก็แย่นะสิ

    มีพระพุทธพจน์ตรงไหนในพระสูตรที่ทรงตรัสว่า จิต ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

    แต่ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า

    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาธรรมใช่หรือไม่?

    ก็เล่นคิดเองเออเองว่า จิตเป็นวิญญาณขันธ์ ก็เลยเหมารวมเอาจิตเข้าไปด้วยใช่หรือไม่?

    ไม่เคยมีพระสูตรไหนในพระธรรมและวินัยเลย ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า วิญญาณหลุดพ้นจากอาสวะ

    สรุปเองแบบนี้ เพื่อเอาดีใสตัวเอาเรื่องมั่วๆให้คนอื่น ควรยกหลักฐานชัดๆจากพระสูตรนี้มาว่ากัน

    อย่าสรุปเองเออเองเองแบบนี้โดยขาดหลักฐานที่มารับรองสิ

    รู้หรือเปล่าว่า มีพระพุทธพจน์รับรองไว้ชัดๆว่า

    "สิ่งใดเป็นอนัตตา พวกเธอจงละสิ่งนั้นเสีย"

    ถ้าแม้พระนิพพานยังเป็นอนัตตาธรรมด้วยแล้ว จบกัน ขัดกับพระพุทธพจน์ชัดๆ

    มีพระพุทธพจน์รับรองเรื่องจิตไว้ดังนี้

    พราหมณวรรค

    ๑. พรหมายุสูตร

    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบพราหมณ์ด้วยพระคาถาว่า
    ผู้ใดรู้ระลึกชาติก่อนๆ ได้ เห็นสวรรค์และอบาย บรรลุถึงความสิ้นชาติ
    ผู้นั้นชื่อว่าเป็นมุนีผู้รู้ยิ่งถึงที่สุด
    มุนีนั้นย่อมรู้ จิตอันบริสุทธิ์ อันพ้นแล้วจากราคะทั้งหลาย
    โดยประการทั้งปวง เป็นผู้ละชาติและมรณะได้แล้ว
    ชื่อว่ามีคุณครบถ้วนแห่งพรหมจรรย์ ชื่อว่าถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
    บัณฑิตกล่าวบุคคลผู้เช่น นั้นว่าเป็นพุทธะ.
    ^
    ^
    พระพุทธพจน์ชัดๆขนาดนี้ยังจะกล้าเดาสวดอวดภูมิธรรมอีกหรือ?

    จงมาช่วยกันทำให้เว็บไซด์นี้ เป็นสังคมคุณภาพออนไลน์กันเถอะ

    ถามมาตอบไป ใช่ก็ตอบว่าใช่ ถ้าไม่ใช่ ไม่ใช่เพราะอะไร ชี้แจงเหตุผลด้วย

    ที่ใช่เป็นยังไงตอบชัดๆด้วย ถึงไม่ตอบก็ไม่มีใครว่าอะไร แต่อย่าเบียงประเด็นออกไป

    อย่าเอาแต่เดาสวด อวดภูมิธรรมที่ไม่มีในตน อย่างที่มีให้เห็นเกลื่อนไปในเว็บบอร์ดนี้.
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    *อย่าพูดลอยไปลอยมาเป็นแม่พวงมาลัยสิ พูดว่าไม่ควรยึด อะไรหรือใครที่ไม่ควรยึด?

    ยกมาเองยังผิดเลย ที่ต้องการพูดคือ ไม่ควรยึดว่าจิตเป็นเราใช่หรือไม่?

    จะยึดหรือไม่ยึดจิต จิตก็เป็นของใครก็ของมันอยู่แล้วคนละดวงใช่หรือไม่?

    มีพระพุทธพจน์รับรองไว้ว่า(สัลลัตถสูตร)

    "ธรรมส่วนที่น่าปรารถนา ย่อมไม่ย่ำยีจิตของอริยสาวกนั้น"

    จิตของอริยสาวกนั้น เมื่อพระอริยสาวกท่านเป็นผู้กล่าวเอง ท่านต้องกล่าวว่า

    "ธรรมส่วนที่น่าปรารถนา ย่อมไม่ย่ำยีจิตของเรา"ใช่หรือไม่?

    จงมาช่วยกันทำให้เว็บไซด์นี้ เป็นสังคมคุณภาพออนไลน์กันเถอะ

    ถามมาตอบไป ใช่ก็ตอบว่าใช่ ถ้าไม่ใช่ ไม่ใช่เพราะอะไร ชี้แจงเหตุผลด้วย

    ที่ใช่เป็นยังไงตอบชัดๆด้วย ถึงไม่ตอบก็ไม่มีใครว่าอะไร แต่อย่าเบียงประเด็นออกไป

    อย่าเอาแต่เดาสวด อวดภูมิธรรมที่ไม่มีในตน อย่างที่มีให้เห็นเกลื่อนไปในเว็บบอร์ดนี้
     
  19. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผมขอกล่าวเพียงเล็กน้อยนะครับ ว่าด้วยเรื่องจิต และ วิญญาณ

    อันจิตนั้นไม่มีรูปร่างตายตัว รูปร่างจะแปลเปลี่ยนไปตามอารมณ์ แปลเปลี่ยนไปตามเหตุ ปัจจัย

    ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงคำว่าวิญญาณ ซึ่งวิญญาณเป็นรูปร่างที่จิตปรุงแต่งขึ้น เมื่อเกิดในภพภูมิหนึ่งรูปร่างของจิตก็แปลเปลี่ยนไปในรูปแบบหนึ่ง

    ผู้ที่เห็น จิต แล้ว ก็สามารถระลึกดูได้ ถึงอาการที่จิตปรุงแต่ง อย่างเช่นตัวอย่างที่ผมจะกล่าวนี้

    เวลาที่มีความโกรธ จิตจะมีสีแดงเข้ม มีรูปร่างดุร้ายน่ากลัว

    เวลาที่ใกล้ตาย จิตจะมีสีเทาเข้มจนเกือบดำ มีรูปร่างอิดโรย

    และรูปร่างที่กล่าวให้รับรู้นี้ นี่เองที่เรียกว่า วิญญาณ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ<!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...