สอบถามความสงสัยครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สราวุธ ลำพูน, 19 ตุลาคม 2010.

  1. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    ...ผมถามนิดนึง ตรงที่ ว่า ธรรมที่ปรากฎ อธิบายตามความเข้าใจได้ป่าวครับ

    หรือ ตรงที่การเลื่อนไปของจิต ตรงนี้ พี่สราวุธ หมายถึงธรรมที่ปรากฎ

    1คือธรรมที่ปรากฏอยู่ภายนอกตามธรรมชาติ ใบหน้า ต้นไม้ นกบิน แล้วจับกิ่งไม้ แล้วบิน เป้นต้น
    2.ธรรมภายในที่ จิตของผมส่งออกไปวิตกวิจารภายนอก แล้วนำอะไรติดมาให้คิดครับ
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อ่าฮะ ... งั้นขอทำความเข้าใจอีก นิด กับคำว่า
    วิตก วิจาร ของพี่ สราวุธครับ
     
  3. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    สติสัปชัญญะ-อายตน-ละสังขารขันธ์-ไตลักษณะ-มรรคมีองค์8<!-- google_ad_section_end -->

    ---------------------------------------------
    อายตน--->สติสัปชัญญะ--->มรรคมีองค์8-->ไตรลักษณะ-->ละสังขารขันธ์<!-- google_ad_section_end -->
     
  4. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    หมายถึงให้ผมอธิบายใช่ใหมครับ
    ความหมายของผมคือ เวลาจิตมันส่งออกไปในเรื่องนั้น นั่นคือวิตก ดังว่า ไปเห็น นก ก็นั้นหล่ะนก วิตก ส่วนวิจาร ก็หยิบนกมาดูว่ามันสวย มันไม่สวย
    มันบิน หรือ มันเทียบท่าอยู่ อันนี้มันภายนอก ส่วนภายในก็ใจมันไปเกาะยังไง ประหนึ่งว่าจืตเลื่อนออกกายไปหายังไง คือวิตก คือเลื่อนออกไป วิจารคือเลื่อนเข้ามา ครับ
     
  5. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    [​IMG]

    ท่าน โคโดโมะ 'พินา ด้วยครับ ผมขอประท้วงครับ
     
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อ๋อ พอเข้าใจ พอเข้าใจ ครับ เดี๋ยวผม มาต่อ สายๆ นะครับ พอดีมีงานด่วนต้องส่งงานแต่เช้า สายๆ จะมาต่อครับ ..ยินดีที่สนทนาครับ
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    อย่าไปคิดว่า จิตสั่งกาย มันจะกลายเป็นการสร้างภาพไปอีก

    ให้ลงไปที่ รู้สึกอะไร คิดอะไร เท่านั้นพอ

    เหตุแห่งทุกข์ ให้มองทุกข์ตามความจริงก่อน

    การที่เราไปมองว่า จิตสั่งกาย แล้ว กายไปจับใบไม้เอง อะไรต่อมิอะไร มันเป็นการปรุง

    เอาเรียบง่าย ธรรมดา และ สังเกตุสิ่งที่ทำให้เกิดประโยชน์ คือ สิ่งใดๆ ที่เราไม่พอใจ แล้วเราต้องการสงบระงับมัน สังเกตุตัวนั้นว่า เราคิดอะไร เรารู้สึกอะไร มันจึงเกิดอาการไม่พอใจ ไม่สบายใจ เพราะนั่นแหละ คือ ตัวทุกข์ เป็น ตัวแรกแห่งอริยสัจ

    แต่หากไปดูว่า ทำไมเราเอามือป้องตา ทำไมเราไม่สังเกตุนิ้ว ขยับเวลาพิมพ์คอมพิวเตอร์บ้างหละ

    มันสังเกตุในสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์

    ลองสังเกตุใหม่ตามที่บอก จะได้ เห็นอะไรได้ตรงจุด
     
  8. อภิราม

    อภิราม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    532
    ค่าพลัง:
    +9,005
    ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย
    ถูกผิดอย่างไร ขออภัยล่วงหน้าครับ

    ในตัวเรานั้น ทุกสิ่งเกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา มีเพียงจิตเท่านั้นที่ไม่ต้องเกิด-ดับ
    สติ คือ รู้ตัว หากมีสติอยู่ จิตจะสามารถรู้ตัวเองได้ในขณะนั้น
    หากขาดสติเมื่อไหร่ การรู้สึกตัวก็จะหายไป เมื่อสติกลับคืนมาเราจึงรู้สึกตัวอีกที

    ในข้อที่๑ เมื่อมองเห็นใบไม้ จิตยังมีสติอยู่จึงรู้ว่าสิ่งที่เห็นคือใบไม้
    ความคิดเกิดขึ้นว่าต้องการจะหยิบใบไม้ขึ้นมา ตรงนี้ สติดับไปแล้ว
    จึงไม่รู้สึกตัวขณะหยิบใบไม้ เมื่อหยิบขึ้นมาแล้วเกิดสติตามหลัง จึงมารู้สึกตัวว่าขณะนี้หยิบใบไม้ขึ้นมาแล้ว
    เรียกได้ว่า สติตามความคิดไม่ทัน ทำไปแล้วจึงเกิดสติ รู้ตัวตามมา

    ยกตัวอย่างเปรียบเทียบ ขณะเดินตามองเห็นถุง มีสติอยู่จึงรู้ว่าเป็นถุง ความคิดเกิดขึ้นอยากจะเก็บถุง
    ถ้าคนที่มีสติต่อเนื่อง มีสติรู้ว่าเป็นถุง ความคิดเกิดอยากจะเก็บถุง ขณะมีความคิดสติยังอยู่ก็ก้มลงไปเก็บถุง เก็บถุงแล้วคิดต่อไปอีกว่าข้างในจะมีอะไรก็เปิดดูในถุง คนที่มีสติต่อเนื่องจึงไม่สงสัยอะไรในสิ่งที่ตนเองได้กระทำ เพราะคิดก็รู้ตัว ทำ(คือเก็บถุง) ก็รู้ตัว
    คนที่มีสติไม่ต่อเนื่อง มีสติรู้ว่าเป็นถุง ความคิดเกิดอยากจะเก็บถุง ขณะมีความคิดสติดับไปแล้ว และได้ก้มลงไปเก็บถุง เก็บถุงขึ้นมาแล้วสติเกิด (สติตามหลังความคิด) เมื่อสติเกิดแล้วจึงสงสัยว่า ขณะที่เราหยิบถุงขึ้นมา ทำไมเราจึงไม่รู้สึกตัว เรียกได้ว่าสติไม่ต่อเนื่องนั่นเอง

    ในข้อที่๒ เมื่อได้ยินเสียงนกร้อง มีสติอยู่จึงรู้ว่าเสียงที่ได้ยินเป็นเสียงนก
    ความคิดเกิด (คิดอยากเห็นตัวนก) ร่างกายจึงหันไปมอง
    ถ้าในขณะคิดสติดับก็จะเหมือนกับข้อที่๑ หันไปมองแล้วจึงสงสัยว่าเราไม่ได้สั่งทำไมจึงหันไปมองได้ (การหันไปมองคือร่างกายทำตามความคิด คิดแล้วทำโดยอัตโนมัติ) แต่ถ้ามีสติต่อเนื่อง หันไปมองแล้วก็รู้ตัว จึงไม่สงสัยในการที่ร่างกายทำตามความคิด

    เมื่อหันไปมองนกบนฟ้า เห็นแสงกายจึงเอามือป้อง
    กายที่เอามือป้องเองอัตโนมัตินี้ ไม่ได้ทำตามความคิด แต่ทำตามสัญญา (ความจำได้หมายรู้)
    เพราะรู้ว่าแสงนั้น ทำให้แยงตา กายจึงกระทำเองโดยอัตโนมัติ

    ยกตัวอย่างเปรียบเทียบ ขณะเราเดินผ่านเตาและบนเตามีหม้อต้มน้ำร้อน
    ขณะเดินผ่านแขนเราไปถูกข้างหม้อ รู้สึกร้อน จิตเราไม่ได้สั่งว่าต้องถอย
    แต่ร่างกายมันถอยออกมาเองอย่างรวดเร็วเพราะรู้สึกเจ็บ
    ร่างกายทำเองตามสัญญา (จำได้หมายรู้) รู้ว่าอันตรายต้องถอย รู้ว่าแสงแยงตาต้องเอามือป้อง มองเห็นมะนาวก็รู้สึกถึงรสเปรี้ยวทันที ทั้งที่แค่มองเฉยๆ มองเปลวไฟก็รู้สึกถึงความร้อนทันที ทั้งที่กายยังไม่ได้สัมผัสไฟ

    สิ่งเหล่านี้ร่างกายจึงกระทำเองทันที ทั้งที่จิตยังไม่ได้สั่ง ไม่ได้ทำตามจิตหรือความคิด แต่ทำตามสัญญา ความจำได้ หมายรู้ในสิ่งที่เคยกระทำมาแล้ว

    พอจะสรุปได้ว่า
    ข้อที่๑ ที่ไม่รู้สึกตัวเพราะ ขณะเกิดความคิดอยากจับใบไม้ สติดับ ร่างกายก้มไปจับใบไม้ สติดับ จับใบไม้สำเร็จแล้ว สติเกิด จึงรู้สึกตัวเองว่าขณะนี้จับใบไม้อยู่ และสงสัยในการกระทำก่อนหน้านี้ (ในขณะที่สติดับจึงไม่รู้สึกตัว)

    ข้อที่๒ ร่างกายเอามือป้องเองโดยอัตโนมัติ ตามสัญญา จำได้หมายรู้ว่าแสงนั้น ทำให้แยงตา จึงกระทำเองในทันที
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2010
  9. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    กาลครั้งหนึ่งเมื่อตะกี้นี้เอง มีชายผู้หนึ่งถูกลูกศรอาบยาพิษ ยิงเข้าที่กลางอก
    เมื่อถูกนำส่งมารักษา แพทย์ก็จะผ่านำลูกศรนั้นออก แต่ชายผู้นั้นยังไม่ยอมถ้า
    เขายังไม่รู้ว่า ลูกศรอาบยาพิษนั้น ทำมาจากไม้อะไร ยาพิษนั้นเป็นพิษประเภทไหน
    ใครเป็นผู้ยิง ยิงเขาทำไม ถ้าตอบเขาไม่ได้เขาก็จะไม่ยอมผ่าเอาศรนั้นออกเด็ดขาด

    กิจที่ควรทำก่อนไม่ยอมทำ กิจที่เป็นอนุสัยจะรู้ได้เองแหละเมื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้ว
     
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    แวะมายามบ่าย คงไม่ว่ากันเน๊าะ นำ มาฝากครับ หากชอบฟัง แนะนำไฟล์ที่ 067-070 ครับ


     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 ตุลาคม 2010
  11. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    ความว่า ข้อที่๒ ร่างกายเอามือป้องเองโดยอัตโนมัติ ตามสัญญา จำได้หมายรู้ว่าแสงนั้น ทำให้แยงตา จึงกระทำเองในทันที
    ความนี้ คือถือได้ว่าจิตขาดสติ หรือเปล่าครับ
     
  12. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    ต้องขออภัยที่ผมผูดไปว่า ต้องพิจารณาก่อนถึงจะเชื่อ ด้วยเหตุผลที่ว่า
    แหล่งที่มาของความรู้ที่มีอยู่ว่า อย่าเชื่อเพราะ....
    แต่ผมก็ไม่ได้ปฏิเษส(เขียนอย่างนี้หรือเปล่าครับ) ว่าไม่เชื่อ แต่ต้องการให้ตัวเองคิดสักนิดหนึ่ง พิจารณาอีกนิดหนึ่ง ซึ่งจะจัดได้ว่าเป็นการรอบคอบ
    ได้เห็นเอง ถึงจะรู้เอง เมื่อนำความเหล่านั้นมาพิจารณาให้เข้าใจครับ
    แต่ก็ขออภัยถ้าผมขอดูสัก1-2วัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2010
  13. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    สติ คือ การระลึกรู้

    หากสภาวะเห็น กายขันธ์มันรักษาชีวิตินทีรย์ตามอัตภาพนี้ของมันเอง ตามกลไกชีวะภาพ
    ของมันเอง เราเพียงแต่เอา ธาตุรู้เข้าไปตามระลึกเห็นสภาพธรรมนั้นปรากฏ แล้วระลึกได้
    ว่านั้น มันเป็นธาตุ4ที่แปรปรวนไปตามปัจจัยของวิบาก(การเป็นมนุษย์) ของจริงมันไม่ได้
    พล่ามแบบนี้นะ มันจะแค่สะอึกรู้ ไม่ใช่บรรยายรู้ ถ้าบรรยายรู้จะเป็นรู้แบบบัญญัติ ถ้าสะอึกรู้
    นี่จะใกล้เคียงรู้ปรมัตถ์ ถ้ารู้แบบปรมัตถ์จริงๆจะต้องมีอุปจารสมาธิปรากฏร่วมด้วย จึงจะ
    ชื่อว่ารู้ตามความเป็นจริง และกล่าวว่า มีสติได้เต็มปากเต็มคำหน่อย
     
  14. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    แสดงว่าผมไม่ควรไปวิตกวิจารเน้นขนาดนั้นหรืออย่างไรครับ
     
  15. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    เมื่อพูดถึง ตัวสมาธิแล้ว ก็ขอเพิ่มเติมอีกหน่อย

    จากที่เห็น คนหลายคนทีภาวนามาจวนจะเป็นสมาธิ โดยที่ใช้วิปัสสนาประกอบงาน
    พอมาเห็นเข้า จะเกิดอาการ งง ไก่ตาแตก บางคนถึงขนาด ทำทุกอย่างเพื่อล้มครู
    ผู้สอน ก็เพราะเกิดการเปรียบเทียบมุมของการเห็น สมาธิ

    โดยแต่เดิม หากเคยทำสมาธิมาก่อน จนจิตพอจะแน่นหนามั่นคง ก็จะปักหมุดเอาไว้
    ว่านี่คือ อุปจารสมาธิ ถึง อัปปนาสมาธิ

    แต่หากคนๆนั้น ยังไม่คล่องในสมาธิ แล้วมาเดิน วิปัสสนาประกอบ จิตจะวิ่งเข้าสภาวะ
    มีสมาธิเหมือนกัน แต่รสชาติต่างกันอยู่

    เท่าที่สังเกตุ จะชอบใช้คำว่า แน่นหนา มั่นคง สมาธิปึ๊ก บ้าๆ บอๆ แล้วแต่จะสมมติ

    เจ้าคำว่า แน่นหนา มั่นคงนี้เลยมาหลอกหลอน เพราะ มันเป็น การปักหมุด เอาไว้

    หรือ ยึดมั่นถือมั่นเอาไว้ ทำให้ พอวิปัสสนามาเจอสัมมาสมาธิอีกด้านหนึ่ง ซึ่ง
    มันจะคล้ายๆคนพร้อมจะลม เพราะสมาธิในวิปัสสนานั้นธรรมชาติของมันคือเป็น
    ขณะๆ จะไม่กี่ขณะจิต จะไม่เหมือนสมถะนำที่มันจะเนิ่นนานหลายขณะจิต ด้วย
    การยึดมั่นถือมั่นคำว่า แน่นหนา แน่นปึ๊ก ขาไม่เดี้ยง ก็เลยเข้าใจผิด คิดว่า จะต้อง
    เห็นสมาธิเนิ่นนาน จะต้องเห็น วิปัสสนาญาณปรากฏนานๆ อย่างเช่น เห็นนิพพทาญาณ
    ก็จะคิดว่า จะต้องเกิดอารมณ์เบื่อหน่ายรูปนามนานๆ เกิดภยภูติญาณก็เข้าใจว่าจะต้อง
    สะดุ้งต่อรูปนามเด๊งแล้วเด๊งอีก จริงๆแล้ว เข้าใจผิด วิปัสสนาญาณมันจะปรากฏเป็น
    ขณะจิตเหมือนกัน มันปรากฏแป็บเดียวเพื่อให้ระลึก ซึ่งจะต้องยกมาระลึกให้เหมือนรูป
    นามอื่นๆ ดูไปจนกว่าจะไม่มีนิวรณ์มาแทรก เมื่อดูจนไม่มีนิวรณ์มาแทรกก็เรียกว่า ดูจนอิ่ม
    กินข้าวอิ่ม ข้าวออกรวง ว่างั้น

    เพราะความเข้าใจผิดคิดว่า ต้องเกิดนานๆ(เชิงสมาบัติ) แทนที่จะเข้าใจว่า ต้องหมั่นประกอบไปจนกว่า
    นิวรณ์จะสิ้น(ตาลยอดด้วน) ไม่ขัดการเห็น มันก็จะเป็นการเห็นจนอิ่ม ตรงนี้มีมากที่ ลุกขึ้นมา คว่ำครูบา
    อาจารย์กัน เป็นกันทุกสาย สายไหนครูบาอาจารย์มีลูกศิษย์มีพยานมากหน่อย ก็จะทู้ซี้
    ร่ำเรียนไปมาหาสู่ ถามไถ่ ทักท้วงกันต่อได้ แต่ถ้าเป็น ครูบาอาจารย์ยังไม่มีพยาน ก็มัก
    จะลาจาก หรือไม่ก็ ทำทุกอย่างให้ครูคนนั้นล้มหายตายจากไป

    ที่ไหนได้ ขุดนรกไว้สำหรับตน

    อันนี้ ก็เขียนให้ดูลอยๆ

    มีอีกนิด ...การเข้าสมาธิทางด้านวิปัสสนา จะมีรสความเสียวๆ ความโหวงเหวง
    ปรากฏ อันเนื่องมาจากสมาธิที่เข้าเป็นด้านนาม หรือ อรูป อาการเสียวๆนั้นจึง
    ปรากฏในฐานะของนิวรณ์ชนิดหนึ่ง หากเห็นสภาวะเสียวๆ ซ่านๆ เสียดๆ แทงๆที่
    ใจบ้าง ที่ฐานของจิตบ้าง(หากใครเดินสมาธิไม่มีที่ตั้งก็จะไม่รู้ว่ามันเสียดตรงไหน
    แต่มันมีอัตตาปรากฏเป็นเหมือนม่าน เป็นเหมือนหมอก) ก็ให้ยกตัวนี้ดูในฐานะนิวรณ์
    ที่เข้ามาขวาง จะทำให้สมาธิแน่นปึกขึ้นมาเอง แล้วจะเห็นว่า มันออกมาจากความ
    ว่าง มาจากสุญญตา นักวิปัสสนายานิกจึงมักพูดว่า หยิบยืมมาจากโลก คือ สมาธิขันธ์
    เองก็หยิบยืมมาจากโลก ไม่รู้สึกว่าได้ประกอบขึ้น เพราะมันออกมาจากสุญญตานั่นเอง
    [ สมถะยานิก และ วิปัสสนายานิก ก็จะทะเลาะกันตรง รสสมาธินี่แหละ คุยยังไงก็
    ไม่รู้เรื่อง เพราะมันคนละรสกัน คนหนึ่งบอกว่า ต้องทำ ต้องอยาก อีกคนก็จะบอก
    ว่า ไม่ต้องทำ ไม่ต้องอยาก ]

    เล่าให้ฟังไว้จะได้ไม่ ตื่นเต้นจนวิ่งเต้นล้มครู เหมือนพวกที่พลาดไปแล้วทั้งหลาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2010
  16. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    ต้องขอขอบคุญ และอนุโมทนาบุญกับทุกท่านครับ ผมก็หาธรรมแบบนี้และสนใจที่จะหา
    โดยไม่ติเตียนหรือลบหลู่ผู้หนึ่งผู้ใดเลย รังเห็นแต่ผู้ที่เข้ามาช่วยกันตอบ ก็ดีใจเหลือเกินครับ งั้นตามความเข้าใจของผม ผมขอสรุปว่า
    ช่วงนี้ผมไม่ควรไปหนัก เน้นดูที่มาที่ไปเกี่ยวกับอากับกริยาของกายให้ถึงขนาดนั้น ว่ามาจากแห่งได แต่ควรจะมีสติจับเบาๆตลอดวันที่จะพึงกระทำได้ และดูการไหลของจิตว่ามันออกไปยังไง แค่เห็นว่าออกไป และเข้ามายังไง เท่านี้จะเป็นการสมควรหรือไม่อย่างไรครับ
     
  17. อภิราม

    อภิราม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    532
    ค่าพลัง:
    +9,005
    ข้อที่๒ นี้ ถือว่ายังมีสติอยู่ครับ

    อย่างการขาดสติในข้อที่๑ ตามองเห็นใบไม้ แต่ขณะก้มเก็บใบไม้ไม่รู้สึกตัว
    เมื่อเก็บใบไม้ได้แล้วค่อยรู้สึกตัว จึงสงสัยว่าเราก้มเก็บใบไม้ไปแล้วหรือ


    แต่ข้อที่๒ เมื่อมองไปบนฟ้าแล้วเห็นแสง ขณะยกมือป้องแสงยังรู้สึกตัว
    จุดที่เราสงสัย จึงไม่สงสัยว่าเรายกมือป้องแสงไปแล้วหรือ
    แต่ไปสงสัยว่าเรายกมือป้องแสงได้อย่างไร ทั้งที่จิตไม่ได้สั่ง และไม่ได้เกิดความคิดอยากเอามือป้องแสง

    การยกมือป้องแสงก็คือการป้องกันตัวเอง
    เหมือนกับถ้ามีใครขว้างปาก้อนหินใส่หน้าเรา ถ้าเราไม่มีสติ หรือเราคิดเรื่องอื่นใดอยู่
    หินก็จะลอยมาถูกหน้าเราโดยที่เราไม่ทันได้ป้องกันตัวเองเลย
    แต่ถ้าเรามีสติ เห็นเขายกมือขว้างหินมา เกิดสัญญาจำได้ว่านี่เป็นอันตราย
    กายจึงยกมือขึ้นมาป้องใบหน้าไว้ทันที โดยที่จิตไม่ได้สั่ง และไม่ได้เกิดความคิดใดๆครับ
     
  18. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241

    ได้ๆ การเห็นการไหล โดยทางอภิธรรมแล้ว คือ ดูวิเศษลักษณะของ โมหะมูลจิต

    ดูมันเกาะ ดูมันว่องไว เนิบๆ เยิ้มๆ เป็นการเห็นธรรมชาติของจิตไปตรงๆ(ประภัสสรหรือไม่ประภัสร) ของเห็นยากเอามา
    ทำให้เห็นเหมือนดั่งตาเห็นรูปได้ก็จะสำเร็จไวขึ้น คนอื่นเขาใช้โทษะอันนั้นเพราะ
    มันดูง่ายแต่ขาดทุนถึงชีวิต โลภะนี้ก็ดูยากขึ้นมาหน่อยแต่ก็ง่ายกว่าโมหะ การขาดทุน
    อันนี้ก็แค่ป่นปี้ แต่ถ้าดูโมหะได้นะก็แค่รบกับความสงสัย อย่างมากคนก็ว่าเราโง่แค่นั้น
    เอง(ท่านพุทธทาสเรียกว่า คนบ้าวิสามัญ)

    อ้อ...อีกนิด

    อย่าไปสับสนกับคำว่า ต้องทำรูปฌาณก่อน ถึงจะทำอรูปฌาณได้

    ตรงนี้ พระคึกฤทธิ์ท่านตรวจสอบพระไตรปิฏกแล้ว ท่านระบุว่าไม่มี
    การระบุว่า ต้อง 1 แล้ว 2 แล้ว 3

    โดยความเป็นจริง 1 2 3 ต่างเป็น ชนิดของ สมาธิ ที่เป็นเอกเทศน์กัน

    คนชำนาญมากๆ ก็จะรับตรงนี้ เพราะ วสีในการเข้านี่ มันจะไปยังไง
    ก็ได้ นั้นก็แปลว่า มันไม่ใช่ ต้องเข้าแบบเกียร์ 1 2 3

    ดังนั้น อรูป หากมีปฏิภาณไหวพริบ (มีอินทรีย์ภาวนาเป็นทุนอยู่แล้ว)
    ก็จะลัดข้ามไปเลย ไม่สนใจที่มหาภูติรูปทั้งหลาย หากจะต้องการเห็น
    จะรู้สึกเลยว่าต้องลดกำลังอินทรีน์ลง ก็จะน้อมไปได้ไม่ยาก(ขึ้นกับ
    ปฏิภาณในสมาธิ)

    ยังไง ก็หมั่นประกอบเยอะๆนะ การต้องใส่ใจ ภาวนาซ้ำๆ ทุกเมื่อเชื่อปี
    ไม่ได้ก็ไม่เลิก จวนจะตายก็ไม่เลิกหลอก ..เนาะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2010
  19. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    งั้นจะเรียกได้ว่า สัญญากับ รูปทำงานโดยไม่ผ่านสังขาร เพราะขันธ์5 เหล่านี้
    ต่างจำแนกคนละหน้าที่กัน บางครั้งอาจจะไม่ข้องพร้อมกันทั้งหมด ถูกหรือผิดอย่างไรครับ
     
  20. อภิราม

    อภิราม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    532
    ค่าพลัง:
    +9,005
    จะว่าใช่ก็ได้ครับ บางครั้งร่างกายคนเราทำงานโดยไม่ได้ผ่านความคิด
    เช่น อาการตกใจ บางคนตกใจแล้วเอามือไปจับที่อก บางคนตกใจแล้วอุทานคำบางคำเฉพาะออกมา บางคนเขิลอายแล้วเกาหัว บางคนเขิลอายแล้วก้มหน้า
    สิ่งเหล่านี้ร่างกายทำเองโดยที่ไม่ได้เกิดจากสังขารความคิด อาจเกิดจากสัญญาหรืออุปนิสัยความเคยชินของแต่ละคนครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...