สอบถามความสงสัยครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สราวุธ ลำพูน, 19 ตุลาคม 2010.

  1. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    ขอถามผู้ที่ผ่านจุดนี้มาแล้วครับ คือ
    เมื่อเราดำเนินชีวิตตามปกติมีสติอยู่ตลอดเละได้เกิดสมาธิทันดูเหตุดังนี้ไม่ว่าจะ
    เป็นข้อ1หรือข้อ2 ก็อาการเดียวกัน เกิดดับๆทั้งวันครับ คำถามคือ
    1.จิตให้มองรูปภายนอกเช่นใบไม้
    จิตก็สั่งกายให้หันมองใบไม้ แล้วมือของเราเองก็จับใบไม้ทันทีโดยที่เราไม่ได้สั่งให้ทำ เหตุการณ์มักจะเป็นอย่างนี้ ขอถามว่า ไอ้อาการอย่างนี้
    มีเหตุอะไรให้ทำ หรือจะเป็นความเคยชินหรือความไวของจิตสั่งให้ทำโดยอัตโนมัต
    2.เสียงที่ได้ยินเช่นนกร้อง จิตก็ให้กายมองไปยัง นก เมื่อเห็นนกที่บินอยู่บนฟ้า
    กายก็เอามือมาป้องแสงแดดไว้ ถามว่า การเอามือมาป้องแสงแดดนี้
    เพราะเราตั้งใจหรือย่างไร ความเคยชินหรืออย่างไร หรือมีเหตุให้เป็นอย่างนั้นได้อย่างไร จะเป็นอาการของรูป คือร่างกายทำงานอัตโนมัติหรือมีจิตสั่งให้ทำก่อนแล้วสั่งกายให้ทำ.หรือไม่
    ทั้งนี้ผมควรมอง สนใจ หรือปล่อยมันไปแค่รู้ แล้วละไม่ต้องสนใจมัน หรือท่านอื่นจะว่ากะไรครับ
     
  2. guaregod

    guaregod เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    962
    ค่าพลัง:
    +1,009
    Untitled Document
    น่าจะมีคำตอบ
     
  3. guaregod

    guaregod เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    962
    ค่าพลัง:
    +1,009
  4. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    สัญชาตญาณในการปกป้องรู้รักษาตัว

    ไม่ใช่ตัวสติ

    ตัวสติ รู้อะไร ก็โน้มมาไว้ที่ใจ

    ละที่ใจ สำเร็จแล้วที่ใจ

    ทุกอย่างดีหมด
     
  5. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    ตาเห็นรูป เกิด จักขุวิญญาณ ส่งมาที่ ใจ เกิด มโนวิญญาณ
    หูได้ยินเสียง เกิด โสตวิญญาณ ส่งมาที่ ใจ เกิด มโนวิญญาณ

    ใจเมื่อรับรู้แล้ว ก็จะเกิดการปรุงแต่งของจิต ไปในทิศทางต่างๆ
    เป็นไปตามจิตขณะนั้น ว่าจิตเป็นกุศลหรือจิตเป็นอกุศลหรือจิตว่างจากกุศลและอกุศล

    ส่วนอาการที่มือไปจับใบไม้ และขึ้นมาป้องแสง นั้น เป็นอาการที่จิตได้ปรุงไปแล้ว
    จิตยอมเร็วกว่าที่เราจะมาคิดสั่งให้ทำอะไรได้ เกิดจากการกระทำที่มาในอดีตชาติ
    และปัจจุบันและจะส่งไปอีกในอนาคต สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็น อนิจจัง ไม่สามารถบังคับบัญชาได้
     
  6. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    หากพูดเฉพาะตรงจุดที่กล่าวมานี้
    ดูภายนอกก็อย่างที่กล่าวนั่นแหละครับ
    ส่วนการดูภายในก็ดูตรงที่ความสงสัยที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากเหตุปัจจัยใด และดับไปด้วยเหตุแห่งความเสื่อมหรือด้วยประการใด ซึ่งจะมีความแตกต่างจากการค้นหาคำตอบด้วยการหาว่าทำไม เพียงแต่วิปัสสนานั้นเป็นการเฝ้าดูการเกิดดับจนเกิดการรู้แจ้งเห็นจริงของสภาวะนั้นๆ สรุปโดยย่อคือการฝึกไปเพื่อค้นหาหัวข้อใหญ่ในลักษณะอาการนั้นๆ เช่นเมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมดับลงแปรเปลี่ยนไปเป็นอื่นอยู่ร่ำไป ก็ควรเฝ้าสังเกตอย่างเบาๆไม่ต้องไปเพ่งเขม็งจนถึงขั้นทุกกระเบียดต้องรู้ๆๆๆ และลดมานะลงบ้างปล่อยให้เป็นอัตโนมัติ

    เพราะหากการดูจิตนั้นดูเฉยๆ ไม่ร่วมวงลงเล่นไปกับเขา แต่รู้ทุกอย่าง จึงจะเรียกว่าเป็นเพียงผู้รู้ ครับ

    สมาธิก็ฝึกบ้างอย่าปล่อยให้ขาด วิปัสสนาบ้าง อย่าพล่องอย่าเกิน บางทีถ้าพิจารณาธรรมที่มันซับซ้อนจนเกินไป

    อนุโมทนาครับ
     
  7. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ตามหลักการ หาก เผิกสงสัยออกไปก่อน แล้ว ตามรู้ไปเช่นนั้น ก่อน ก็จะให้ผลดีกว่า

    แต่....จขกท ได้รวบรวมเหตุการ สองเหตุ เอามาแทงตลอด เรื่อง รูป-นาม และตั้งข้อ
    สังเกตเสียแล้ว ก็คงต้องอธิบายนิดหน่อย

    ถ้า ระงับสงสัยไม่ได้ แต่ ประสงค์จะระงับ เพื่อให้ จิตดำเนินการเห็นให้ชัดกว่านี้
    ตั้งมั่นในการรู้ให้ละเอียดลงไปอีกนิด จ่อลงไปอีกนิด แคบลงไปอีกนิด เพื่อให้สันตติ
    มันแตก ฆนะมันแตก ก็ต้องช่วยมันดู

    ให้พิจารณา อนัตตาของรูป ซึ่งหมายถึง อริยาบทของกายที่แปรเปลี่ยนไป จะอย่าง
    ไรยกไว้ ให้ยกดูรวมๆเข้าไว้ อย่าจี้ดูรายละเอียดว่าสายคำสั่งมาจากที่ใด แต่ให้ดูรวมๆ
    ไปเลยทั้งรูปกายเป็นอริยาบทที่แปรเปลี่ยนไป ด้วย ตัวของรูปเอง ไม่ใช่โดยเรา เรา
    เป็นเพียงผู้สังเกตุ(แยกผู้รู้ แยกใจ ออกจาก รูป-นาม)

    ทีนี้ ถ้าทำไม่ได้ ยิ่งฟังแบบนี้ไปแล้ว ยังนมสิการไม่ได้ ก็ให้เห็น ความอนิจจังของรูป
    ที่แปรเปลี่ยนไป โดยที่มันมีเหตุปัจจัยกระทบจาก ผัสสะ ภายนอก แล้ว จิตและกาย
    ก็แปรเปลี่ยนไปตามปัจจัยภายนอก ก็จะเห็นว่า ชีวิตนี้มันไม่ได้ตอบสนองต่อความเป็น
    เรา แต่มันเ็นสภาวะธรรมที่ตอบสนองต่อโลกอย่างมืดบอด แปรปรวนไปตาม ปัจจัย
    กระทบ ซึ่ง ปัจจัยภายนอกเองก็แปรปรวนไปตามวัฏจักร แต่ เรากลับเคลื่อนไหวชีวิต
    อินทรีย์นี้ไปตาม ใบไม้ ใบหญ้า อย่างน่าขัน

    ถ้าใช้ อนัตตาก็แล้ว อนิจจังก็แล้ว ช่วยมันพิจารณา หากจิตไม่เกิดการตั้งมั่น รู้จม
    ลงไปในการรู้แบบ ปรมัตถ์ธรรม( รู้แคบลง จ่อลง บีบวงลงไปสู่ วิสังขาร) แบบนี้ก็
    คงต้องฝึกไปก่อน

    ให้สดับธรรมเพิ่ม แล้วสังเกตดีๆว่า โลกส่วนใดที่เราติดข้อง โลกส่วนที่ติดข้องนำพา
    เราไปเป็น ให้เห็นเป็นเรา ให้เราเคลื่อนไหวรูป เพื่อยังชีวิตในสังสารวัตรที่เป็นเพียง
    มายานี้ มีอะไรบ้าง ค่อยๆ พิจารณา ค่อยๆ เห็น ซึ่งระวังนิดหน่อยตรงที่ ช่วงนี้
    จะเป็นช่วงที่ใจจะเบา กายจะเบา หากคนที่มีอัตตาอยู่ จะเกิดการหวงอัตตา กลัว
    ตัวตนหายไป ซึ่งส่วนมาก ก็จะลุกขึ้นมาด่าว่าครูบาอาจารย์ ที่ดูเหมือนสอนตนให้
    หมดความเป็นตัวตน ทั้งๆที่ การสิ้นไปของสักกายทิฏฐินั้นแหละคือทาง

    * * *

    ถ้าทำได้ดี จะเห็นเลยครับว่า ปล่อยแค่รู้(จิตรู้) ไปตามสิ่งที่เข้ามาให้รู้(อารมณ์) โดยไม่ต้อง
    เติมบัญญัติ จิตเราจะค่อยๆพัฒนารู้อารมณ์ปรมัตถ์ได้ขึ้นเรื่อยๆ อย่างตั้งมั่น เป็นกลาง(สัมมาสมาธิ)
    [ ตรงนี้หากพอเห็นชัด จะเข้าใจเรื่อง รู้ กับ สิ่งที่ถูกรู้ หรือ จิต(รู้) กับ อารมณ์(สิ่งที่ถูกรู้) ได้]

    ก็จะเริ่มเห็นว่า สติ ที่ทำให้ แหวกอาสวะออกไปรู้อะไรแบบปรมัตถ์ตามความเป็นจริง
    นั้นเป็นอย่างไร แบบไหนคือการรู้แบบจมสมมติ ตรงไหนคือพอดี ตรงไหนคือ ฐานรู้
    ที่เป็นการรู้ของ "ธาตุจิต" ซึ่งไม่มีอะไรตรงไหนเลยที่เป็น คน สัตว์ เรา เขา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2010
  8. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    อัศจรรย์ไหมครับ กายที่มีวิญญาณถือครอง รูปขันธ์นามขันธ์ทำงานรวมกันนะครับ

    ลองนึกถึงกายที่ไม่มีวิญญาณถือครองดู มันก็เป็นแค่ซากซากหนึ่งเท่านั้น มีประโยชน์คือแค่เป็นปุ๋ย เป็นซากพืชซากสัตว์

    รูปนามทั้งปวงตลอดจนกระบวนการเกิดดับแห่งทุกข์ ถ้าดูทันส่วนที่บังคับบัญชาไม่ได้ย่อมมี ส่วนที่บังคับบัญชาได้ย่อมมี

    การที่แขนจับใบไม้ไป หรือบังแดดไป เป็นการทำไปตามความรู้สึกหรือความเคยชิน เคยจับใบไม้เล่นก็จับไป มือบังแดดเพราะมีประสบการณ์จากความจำหรือเวทนากระทบ รู้ว่ามันร้อน เรามีประสบการณ์แบบนี้มาจนเป็นอนุสัย

    เป็นการทำงานร่วมกันของนามขันธ์รูปขันธ์ ถ้ามีสติดี ๆ จะเป็นได้ตลอดในการส่งต่อกันของขันธ์ รวมไปถึงเหตุของมันนั่นคือการปรุงแต่งด้วยกิเลสทั้งปวง

    ความสงสัยที่เกิดขึ้นในส่วนนี้ เห็นไม่ทันก็ไม่เป็นไรครับ เอาเวลาไปเพียรปฎิบัติตามรูปแบบดีกว่า สมาธิทำให้ได้ สติจะไวขึ้น อำนาจความเห็นจะพัฒนา เอาให้เห็นทุกข์ เห็นสมุทัย ประจักษ์นิโรธ รู้มรรค กันไปเลย

    แต่ถ้าจะหมั่นทำความรู้สึกตัวตลอดทุกอิริยาบทได้นั่นดียิ่งกว่า แต่มันก็ต้องใช้กำลังมากขึ้นไปอีก

    ไหน ๆ สนใจทางนี้แล้ว ก็น่าจะรู้ระลึกรู้ดูว่าความสงสัยที่เกิดมันก่อประโยชน์หรือไม่ ถ้าไม่ก่อประโยชน์ก็ทำความรู้จักแล้วปล่อยว่ามันไป ถ้าความคิดใดที่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อถอดถอนความทุกข์ทั้งหลาย นั่นก็วินิจฉัยต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2010
  9. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว มาฟัง ข้อปัญาหาไว้บ้างก็ดี

    ก่อนอื่น ที่แสดงต่อไปนี้ ขอให้ จขกท อย่าได้ไป หยิบสภาวะธรรมในอดีตมา
    ใส่คะแนนตัวเองเพื่อให้สอดคล้องกับที่อธิบายไป ขอให้ท่านพิจารณาเอาเฉพาะหน้า
    ที่กำลังเกิดในปัจจุบันเป็นหลักเท่านั้น ( ตรงนี้ กรุณาอ่าน บททิ้งท้ายด้วย)

    ตอนที่เรา มองนก แล้ว เอามือป้องแสง

    ตรงนี้แล้วแต่คนๆนั้น จะมีสมาธิมามากแค่ไหน จะฝึก รู้ลงที่กายใจตน ได้มาก
    แค่ไหน ถ้ายังเริ่มใหม่ๆ จะเป็นดังนี้

    ภาพ นกบินกลางอากาศ ปรากฏเป็น สภาพธรรมที่เกิดความพอใจ เห็นการบิน
    ของนกที่เป็นรูปตัวแทนของความอิสระ ความสบาย ความเบาใจ เสร็จแล้ว ความ
    พอใจนี้พาให้จิตติดข้อง จึงส่ายสายตามองตาม ทะว่า แสงเกิดสาดส่องเข้ามาแยง
    ตา ตรงนี้หาก ภาพนกบินเกิดจากรากเง้าของความพอใจ การปิดตาป้องแสงนั้น
    เป็นไปเพื่อการ รักษาภาพที่ติดข้องให้คงอยู่ (เป็นเอามากก็จะชโงกหน้า ตัวตามแบบ
    ลืมตัวลืมตนไปเลย อาจตกเก้าอี้ หรือ โดนรถชนไปเลย ก็มี)

    สภาวะข้างบนเรียกว่า ส่งจิตออกนอก ไม่ได้เรื่อง โหล่ยโถ่ย ภาวนาได้โหลยโถ่ย
    แต่ก็ดีกว่าไม่ภาวนา เพราะ เมื่อยกเอาอาการนี้มาดูบ่อยๆ จะทำให้เห็นสภาวะธรรมที่
    ชือ พอใจ ไม่พอใจ หรือ เห็น ตัณหา หรือ เห็นสภาวะ จิตอยู่ข้างนอก จิตอยู่
    นอกๆ นอกกายนอกใจตน ส่งจิตไปเป็นนก หากตายลงก็จะไปเกิดเป็นนก

    ครั้นเข้าใจ สภาวะส่งจิตออกนอกได้แล้ว ทันสภาวะจิตอยู่ข้างนอก มันก็จะทัน ตัณหา
    ละตัณหาความ พอใจ ไม่พอใจ ออกไปจาก สภาพธรรมที่ปรากฏ ตัณหาดับไป

    เมื่อตัณหาดับไป คราวนี้จะเปลี่ยนใหม่ สภาวะเอามือปิดป้อง เป็นการรักษารูปกายของ
    เราเอง คือ กลัวตาจะบอด กลัวตาจะเคือง กลัวตาจะเสีย จะเห็นว่า เป็นการรักษากาย
    ตน ไม่ใช่รักษารูปนกบินที่สวยงามน่าพึงใจนั้น แบบนี้คือมันย้อนเข้ามารู้กายรู้ใจ ตรง
    นี้เรียกสัมปชัญญะเกิด สติเกิด อันเกิดจาก ละตัณหาออกไป แล้วเข้ามาพิจารณาสภาพ
    ธรรมที่ทำให้รุปกายเคลื่อนแทน เมื่อพิจารณาได้แบบนี้ ก็จะมีสภาวะ "รู้กาย ก็รู้จิต" ,
    "รู้เวทนาก็รู้จิต รู้กาย", "รู้กาย เวทนา จิต ก็รู้ธรรม" เข้ามาหมุนวนการรู้ การอบรม

    เข้ามารบกับกองกิเลสในกายหนาคืบกว้างศอกนี้ ไม่เกินเลยออกไป ไม่ส่งนอก และ
    ไม่ส่งใน ส่งในมากๆ จะยังเห็น ภาพนกบินอยู่ ยังเยิ้มๆเคลิ้มอยู่ อันนั้น แม้รูปนก
    บินจริงๆดับไป แต่ไปติดธรรมารมณ์ภายใน ส่งใน ไปสู่นิมิต --- การน้อมเห็นนิมิต
    แล้วยกขึ้นเป็นกรรมฐาน มันก็ได้สมถะในรูปแบบหนึ่ง แต่ถ้าจะเอาสัมมาสมาธิ อย่า
    ให้เห็นนิมิต ให้ทันตัณหาภายในที่ยังมีอยู่ ก็จะพักการส่งใน ไม่ใช้จ่ายกำลังจิตออก
    ไป แต่จะอยู่ที่การฝึก สัมมาสมาธิ ไปตรงๆ (จะเห็นว่า ตัณหานั้น มีแบบหยาบ มี
    แบบกลาง นี่ยังไม่ถึงขั้น ละเอียด -- ให้พิจารณาว่า มันมีหลายซับหลาบซ้อน ยัง
    ไม่เห็นตัณหาได้ง่ายๆ )


    บทส่งท้าย

    การที่ นักปฏิบัติ จะได้รับการชี้แจงรายละเอียดแบบนี้ หรือที่เรียกว่า การสอน
    ให้ดูสภาวะธรรม นักปฏิบัติสายสมถะยานิก จะเล็งเห็น อาการพุ่งไปข้างหน้าของ
    จิตในการ "อยากทำให้เหมือนกับที่ได้รับการบรรยายมา" นักสมถะยานิกจึงเกลียด
    พวกที่ส่งจิตไปข้างหน้าเพื่อรอดูสภาวะว่า พวกหมาเห่าใบตองแห้ง พวกขี้ลอยน้ำ
    เพราะมันจะกระเดินไปข้างหน้า เบาๆ ลอยๆ จิตไม่มีกำลัง เรียกอีกอย่างว่า ฝุ้งซ่าน

    ตรงนี้ ก็แล้วแต่ว่า คุณคุยกับใคร หากคุยกับนักสมถะยานิก ก็ให้รับฟังการชี้
    แจงนั้นอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย อย่าไปปฏิเสธ จะทำให้เสียฐานจิตได้

    หากคุยกับวิปัสสนายานิก ก็อย่าคุยกันเรื่องสภาวะธรรมกันจนเพลิน คุยเพลินมัน
    ก็เสีย จะทำให้สภาวะล้ำไปข้างหน้าของปัญญามันมีมากขึ้น เสียฐานจิตเหมือนกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2010
  10. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า ท่าเราไม่มีสติสัมปชัญญะ แล้วจะรู้ว่าจิตกับกายทำงานยังไงที่ไปกระทบกับรูป และผลจะเป็นยังไงตอมาได้อย่างไร ถ้าจะละได้คือการที่เบื่อหรือไม่เบื่อหรือไม่ส่งจิตไปหาอีกที่จะดูในสิ่งที่เกิด เพียงแต่รู้เท่านั้น เท่านี้คือคำว่าละใช่หรือไม่ครับ
     
  11. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    ข้าพเจ้าขอถามว่า แล้วการที่ไม่บังคับบัญชาได้ คือการที่ขาดสติสัมปชัญญะใช่หรือไม่ที่ไม่ทันจะดูว่าจิตเร็วแค่ไหน หรือเป็น สิ่งที่ยากที่จะเข้าไปถึงไปบังคับ
    หรือ
     
  12. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    ในหัวข้อธรรมนี้คือการเฝ้าสังเกตุเบาๆ ไม่ยึดเข้าไป ไม่เจาะทะลุจนเกินไป
    หรือการที่นพูดว่า ไม่ร่วมลงเล่นนั้น คือไม่ต้องไปตระหนัก ไม่ส่งจิตไปติดสิ่งที่ออกไป ใช่หรือไม่ครับ
     
  13. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    ในความข้างต้นนี้ ความรู้สึกในตอนนั้นทั้ง2อย่างที่พูดออกไป คือเหมือนกับเราขับร่างกายอัตโนมัตอยู่ เห็นว่ากายกำลังทำอะไร มันจะเดินหรือมันจะมอง
    มันก็มองในสิ่งที่มาสัมผัส ไม่ไช่ สิ่งที่อยากจะมอง จะมีเงื่อนไขว่าไม่อยาก(จะมอง)ก็ไม่เชิง เป็นเหมือนว่า เราอยู่ในส่วน อก จะว่าอกก็ไม่เชิง ของร่างกาย
    เพียงแต่เห้นว่า หุ่นตัวนี้ มันอัตดนมัติอยู่ เท่านั้น
    ปัญหาที่ข้าพเจ้าอยากจะถามคือ นักปฏิบัติสายสมถะยานิก หรือ ทั่วไป
    กว่าจะรู้ว่าตัวเองถูกหลอกให้วิ่งตามก็เลยโกรษ ว่าขี้ม๋าพาไป ใช่หรือไม่
    คำว่า
    จะทำให้สภาวะล้ำไปข้างหน้าของปัญญามันมีมากขึ้น เสียฐานจิตเหมือนกัน กับ คำว่าฟุ้งซ่านก็ตัวเดียวกัน ถูกต้องหรือไม่
     
  14. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    อย่าลืมนะครับ ขอย้ำไว้เลยว่า อย่าหวลไปให้ค่าว่า ในอดีตนั้นเราเห็นอย่างนั้นอย่างนี้

    การที่เรา เอาสภาวะธรรมในอดีตมาคุยกัน กับดักอันหนึ่งคือ ความคิดที่เป็นจริง

    หมายถึง ในอดีตนั้นเราไม่ได้เห็นเป็นปัจจุบัน คือ ขณะนั้นไม่เห็น หากเห็นก็คงจะ
    พูดออกมาแต่แรก แต่เมื่อเรามาเล่าสภาวะธรรมในอดีตกัน มันจะมีตัวความคิด
    ตัวหนึ่งไปผลิกอาการเห็นขึ้นมา ทำให้เกิดการบรรยายได้ว่า ตอนนั้นเราเห็นอย่าง
    นั้นด้วย ตอนนั้นเราเห็นอย่างนี้ด้วย สุดท้ายคุยไปคุยมา กลายเป็นว่า ในอดีตตอนนั้น
    แจ้งธรรมแล้ว

    อันนี้แหละ มันเป็นกับดักตัวหนึ่งเลย เวลาเราสนทนาเรื่อง สภาวะธรรม พระที่เน้น
    การปฏิบัติเขาจะปฏิเสธการบรรยายเลยหละ เพราะว่า มันจะย้อนไปใส่แต้มให้คะแนน
    การภาวนาในอดีตไปเรื่อยๆ สุดท้าย งงตัวเองว่า ทำไมตอนนั้นสงสัย แต่ตอนนี้กลับ
    รู้เรื่องหมด

    เอาเป็นว่า การที่คุณบรรยายมาในโพสแรก อันนั้น ถือว่า น่ายินดีที่ได้รับฟังการภาวนา

    แต่หลังจากการโต้ โดยส่วนตัว ผมจะขอปฏิเสธการเล่าความในอดีตว่าคุณทำอย่างนั้น
    อย่างนี้ได้ด้วยเป็นเรื่อง ว่างเปล่า โมฆะ หมด

    ต่อไป ขอให้ลองหยิบสภาวะธรรมใหม่ๆ มากาง มาพูด มาถก มาถามกัน เอาที่สดๆร้อนๆ
    หน่อย สักไม่เกิน 3 วัน แบบนี้จะน่าสนทนากว่า

    หากอะไรก็ตามที่ผ่านพ้น 3 วันไปแล้ว ให้ทิ้งให้หมด

    ถ้าภาวนาเก่งขึ้น จำนวนวันนี้จะต้องน้อยลง เหลือเป็น ไม่เกินหนึ่งวัน

    และถ้าวันไหน เข้าใจ รูป-นาม ตามความเป็นจริง ช่วงการเล่าสภาวะธรรม
    จะต้องไม่เกิน สามชั่วลมหายใจ

    ถ้าเข้าใจการภาวนาโดยรวมแล้ว จะไม่พูดสิ่งที่ล่วงเกินไปกว่า หนึ่งลมหายใจ

    สรุป

    รู้อะไรก็ตาม ให้ทิ้งรู้นั้น เพื่อความไม่ยึดมั่นถือมั่น และไม่ใช่การแกล้งลืมนะครับ

    มันจะเกิดจาก อิทธิบาท4 ไม่ใช่เชิง พรหมวิหารที่มีมิจฉาทิฏฐิเจือ

    * * * *

    ผมขออนุญาติตอบบางอย่าง

    จิตนั้นรวดเร็ว สามารถไปสุดขอบมหาจักรวาลได้โดยไม่ต้องอาศัยเวลา

    นั่นแปลว่า รู้ นั้นย่อมเร็วปานนั้น

    การที่คุณ เห็นความ รู้ เป็นเรื่องต้องใช้เวลา นั้นแปลว่า คุณเข้าใจ รู้ ผิดตัว

    พอเข้าใจ รู้ผิดตัว คุณก็ผลิกไปเรื่องของ การทำให้รู้ ทั้งที่ รู้หนะมันไวที่สุด
    จนไม่อาจเป็นการทำ การทำให้รู้ เป็นเรื่องผิดพลาด เพราะ ธาตุรู้มันรู้ไว
    โดยไม่อิงเวลาครับ *** อันนี้เป็นเรื่องของ ธาตุรู้นะครับ คนที่จะรู้ได้แบบ
    ที่บรรยายนั้น จะมีได้แค่หนึ่งคน ที่เหลือย่อมต้องอาศัยเวลาบ้าง

    อันนี้ลองหาเรื่อง ความไวของจิต ที่พระพุทธองค์บรรยายเปรียบ
    เทียบระหว่าง พระสัมมาสัมพุทธฯ พระปัจเจก และ สาวก

    ที่บรรยายตรงนี้ ก็เพื่อ ปรับเรื่อง การบังคับบัญชา นั้นเป็นเรื่อง
    ของการอบรมครับ ไม่ใช่เรื่อง ของรู้ เพราะ รู้นั้นมันเร็วของมัน
    โดยธรรมชาติไม่ต้องไปบังคับมันครับ แต่ใครจะเอาสมรรถนะของ
    การรู้เร็วแบบนั้นมาใช้ได้ ก็เป็นเรื่องของแต่ละคน ที่สะสมวาสนาบารมี
    มานานหรือมีคุณภาพต่างกันมา

    * * * *

    หลักการภาวนาของคุณ น่าจะเข้าใจมาก ศึกษามามาก ต่อไปเหลือ
    การเอา สภาวะปัจจุบันมาพิจารณามามากๆ แล้วจะหายสงสัยไปเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2010
  15. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    งั้นอดีตคืออดีต อนาคตก็ยังคงไม่ต้องพูด ส่วนความรู้ที่ผุดขึ้นมาในสภาวะทีหลัง ก็ยังถือเป็นอดีต
    ต้องให้เห็นในปัจุบันเท่านั้น ไม่ส่งจิตออก แล้วสภาวะธรรมที่ผุดขึ้นมาทีหลังเมื่อกลับมาพิจารณาว่าเหตุอันนี้แต่ก่อน แท้จริงอย่างนี้ ล่วงเกินเวลามามาก ความนี้จะพึงกล่าวได้ว่า มันเป็นกับดักตัวหนึ่งเลย เวลาเราสนทนาเรื่อง สภาวะธรรม อย่างที่ท่านได้พูดมาหรือไม่
    หรือว่าส่วนหนึ่งในการพิจารณาแบบนี้ เป็นความฉลาดของจิตที่ยังไม่เข้มแขงพอที่จะทันท่วงที แต่จะมีโอกาศเห็นได้โดยหมั่นทำให้ยิ่งกว่านี้
    อนุโมทนาที่ช่วยตอบข้อข้องใจอันนี้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2010
  16. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    ข้าพเจ้าขออนุโมทนาบุญกับทุกคำตอบ โดยไม่ปฏิเศษผู้ใดผู้หนึ่ง
    ซึ่งส่วนย่อยของคำตอบเหล่านี้ และข้าพเจ้าก็ยังจะขอไม่เชื่อ ทุกคนที่ได้ไขออกมา จนกว่าข้าพเจ้าจะพิจารณา และเอาไปไตรตรองดูก่อน สุดท้าย ถ้าข้าพเจ้ายังมีข้อข้องใจอื่นไดนอกจากนี้ ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับคำชี้แนะจากท่านทั้งหลายอีกต่อไปครับ
    .................สาธุ.
     
  17. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ถ้าอย่างนั้น มีเรื่องมาให้ พี่ สราวุธ ลำพูน วิเคราะห์เล่นๆ

    อาจจะเคยได้ยิน ได้ฟังมา ที่ว่า ทำสมาธิ เพื่ออะไร
    เพื่อ สู้กับกิเลส หรือเปล่า
    หรือเพื่อ มีพลังความวิเศษหรือเปล่า
    หรือเพื่อ อะไร?
    หากมีความเข้าใจว่าเพื่อสู้กับกิเลส
    คราวนี้ !!!
    เมื่อ.. เราผ่านการทำสมาธิมาพอสมควร
    เราจะสู้กับกิเลส ตอนไหน
    กิเลสมันมาตอนไหน
    อะไร ที่ทำให้เห็นกิเลส
    อะไรที่ทำให้ชนะกิเลส




     
  18. สราวุธ ลำพูน

    สราวุธ ลำพูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +302
    ผมขอตอบแบบตามความเข้าใจครับ อาจจะโง่ไปหรือเปล่าก็ไม่ทราบว่า
    ทำสมาธิเพื่อ พักเหนื่อยของจิต
    ไม่สู้กับกิเลส
    เพื่อพลังของจิตที่เข้มแข็งทนอยู่กับตัวได้นาน
    จะสู้กับกิเลสก็ต่อเมื่อ เอาสติสัมปชัญญะมาตั้ง+สมาธิเล็กน้อย+ธรรมที่ปรากฏหรือการเลื่อนไปของจิต ก็จะเห็นกิเลส+พิจจารณาไตรลักษณ์
    เอาชนะกิเลส โดยไม่สงสัยสิ่งนั้นอีก ไม่ติดใจ วิตกวิจารแล้วดับพร้อม
    ทั้งหมดมันเป้นความรู้สึกส่วนตัวที่เกิดขึ้นในปัจุบันครับ ตามประสาคนยังมีกิเลสอยู่
    หรือท่านมีข้อท้วงติงให้ข้าพเจ้าได้รู้ยิ่ง ก็ขอให้ท่านช่วงสอดส่องให้ผมหน่อยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2010
  19. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846


    ทำสมาธิเพื่อ พักเหนื่อยของจิต

    ...ตรงนี้ก้เข้าใจตรงกันครับ หากคำว่า สมาธินี้หมายเอา ความสงบในความนิ่ง

    ไม่สู้กับกิเลส
    เพื่อพลังของจิตที่เข้มแข็งทนอยู่กับตัวได้นาน




    จะสู้กับกิเลสก็ต่อเมื่อ เอาสติสัมปชัญญะมาตั้ง+สมาธิเล็กน้อย+ธรรมที่ปรากฏหรือการเลื่อนไปของจิต ก็จะเห็นกิเลส+พิจจารณาไตรลักษณ์

    ...ผมถามนิดนึง ตรงที่ ว่า ธรรมที่ปรากฎ อธิบายตามความเข้าใจได้ป่าวครับ

    หรือ ตรงที่การเลื่อนไปของจิต ตรงนี้ พี่สราวุธ หมายถึงธรรมที่ปรากฎ


    เอาชนะกิเลส โดยไม่สงสัยสิ่งนั้นอีก ไม่ติดใจ วิตกวิจารแล้วดับพร้อม
    ทั้งหมดมันเป้นความรู้สึกส่วนตัวที่เกิดขึ้นในปัจุบันครับ ตามประสาคนยังมีกิเลสอยู่
    หรือท่านมีข้อท้วงติงให้ข้าพเจ้าได้รู้ยิ่ง ก็ขอให้ท่านช่วงสอดส่องให้ผมหน่อยครับ..

    ....ตรงนี้พักไว้ก่อน เดี๋ยว สนทนาส่วนข้างบนก่อนครับ
     
  20. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...