พวกดื้อรั้นจะให้จิตเป็นวิญญาณขันธ์ให้ได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 28 มกราคม 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ท่านไม่คิดทำอย่างนั้น ก็ดีแล้วถือเป็นสัจจะ ของท่าน
    วันใดหากมีเจตนาเป็นอื่น ก็ถือว่าผิดสัจจะ
    คนที่ทำผิดสัจจะวาจา บารมีจะเสื่อมทันตา
    เราหวังว่า ท่านธรรมภูติ จะไม่ทำให้คนเสื่อมศรัทธาในพระอภิธรรมปิฎก
    ที่ถือเป็นหนึ่งในพระไตรปิฎก การกระทำแสดงเจตนาได้ชัดกว่าคำพูด
    อย่าให้เป็นเหมือนดั่งคนที่ปากพูดอย่างหนึ่ง การกระทำส่ออีกอย่างหนึ่ง
    เราหวังว่าท่านธรรมภูติ จะกระทำดั่งที่ท่านแสดงเจตนาไว้เพื่อทราบ
    คือไม่ทำลายพระไตรปิฎก ไม่ตัดทอนพระไตรปิฎกจนกลายเป็น
    42000 พระธรรมขันธ์
     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เชิญพวกกบฏบุคคลทั่วไป 3 คน ที่พยายามกล่าวร้ายสมเด็จท่านให้เสียหาย
    เพียงเพื่อเอาชนะเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง
    พวกรู้มาก(จากความคิดที่ตกผลึกและตำรา) แต่กลับละเลยการปฏิบัติภาวนาอย่างจริงจัง จึงยังไม่เคยสัมผัสและเข้าถึงสภาวะธรรมอันเป็นภายในคือจิตที่แท้จริง
    สมเด็จท่านกล่าวไว้ชัดเจนแล้วนะ ไม่ต้องตีความใดๆทั้งสิ้น

    ;aa24​
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณขวัญ คุณจะคิดอะไรอย่างไงก็ได้เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่ผมเองก็มิอาจห้ามได้
    ส่วนที่ผมพูดนั้น ผมพูดจากความเป็นจริงที่ปรากฏให้เห็น ยืนอยู่บนหลักเหตุผลทั้งสิ้น

    ถ้าของจะเสื่อม มันเสื่อมเพราะตัวมันเอง ใครจะทำให้มันเสื่อมคงไม่ได้หรอก
    คนจะเสื่อมกับอะไรนั้น ก็เพราะของสิ่งนั้นที่ทำให้เสื่อมเอง ใครไหนเล่าที่จะทำให้เสื่อมได้

    แม้ท่านอรรถกถาจารย์เอง ท่านก็ยังวางหลักเกณฑ์ในการเชื่อที่มีต่อพระไตรปิฎกไว้
    คุณควรกล่าวหาท่านอรรถกถาจารย์มากกว่าผมนะ
    การที่จะยกความเสื่อมทั้งหลายว่าผมเป็นคนทำนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย

    เพราะอย่างน้อยท่านอรรถกถาจารย์ท่ายเองก็มีบทบาทมากกว่าผมซึ่งแค่คนธรรมดาตัวเล็กๆเท่านั้น
    ไม่มีอำนาจไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้หรอก เพราะไม่มีสิทธิอะไรที่จะไปแก้ไขพระไตรปิฎกเลย

    ท่านอรรถกถารจนาไว้ดังนี้

    ก็ปิฏก ๓ที่ยกขึ้นสู่สังคีติ ๓ ชื่อว่าสุตตะ ในปกิณณกะมีสุตตะเป็นต้น.
    ข้อที่เข้ากันได้กับกัปปิยะ ชื่อว่าสุตตานุโลม. อรรถกถา ชื่อว่าอาจริยวาท.
    ปฏิภาณของตน ตามความคาดหมายตามความรู้ ชื่อว่าอัตตโนมัติ
    .

    ในปกิณณกะเหล่านั้น สุตตะ ใครๆ คัดค้านไม่ได้ เมื่อคัดค้านสุตตะนั้น ก็เท่ากับคัดค้านพระพุทธเจ้าด้วย.
    ส่วนข้อที่เข้ากับได้กับกัปปิยะ ควรถือเอาเฉพาะข้อที่สมกับสุตตะเท่านั้น นอกนั้นไม่ควรถือเอา.

    แม้อาจริยวาทเล่า ก็ควรถือเอาแต่ที่สมกับสุตตะเท่านั้น นอกนั้นไม่ควรถือเอา.
    ส่วนอัตตโนมัติเพลากว่าเขาทั้งหมด.
    แม้อัตตโนมัตินั้นก็ควรถือเอาแต่ที่สมกับสุตตะเท่านั้น นอกนั้นไม่ควรถือเอา.

    ก็สังคีติมี ๓ เหล่านี้คือ
    ปัญจสติกสังคีติ (สังคายนาครั้งที่ ๑)
    สัตตสติกสังคีติ (ครั้งที่ ๒)
    สหัสสิกสังคีติ (ครั้งที่ ๓).
    แม้สุตตะเฉพาะที่มาในสังคีติ ๓ นั้น ควรถือเอาเป็นประมาณ.
    นอกนั้นเป็นที่ท่านตำหนิ ไม่ควรถือเอา.

    จริงอยู่ บทพยัญชนะแม้ที่ลงกันได้ในสุตตะนั้น
    พึงทราบว่าลงกันไม่ได้ในพระสูตรและเทียบกันไม่ได้ในพระวินัย.

    อ่านทั้งหมดได้ที่นี่

    ;aa24
     
  4. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    กราบพระอนุรุทธเถระ ณ ที่นี้..

    ก็เห็นอยู่ว่าคุณธรรมภูติเป็นอย่างไร
    คิดเสียว่านำมาให้คนที่สนใจเข้าอ่านนะ

    พระอภิธรรมปิฎก เกิดจากการเขีัยนขึ้นใหม่ในภายหลัง จริงหรือ?

    PANTIP.COM : Y8848927 ?Ð̀ԸÃ?Ԯ? ࡔ??ҡ?҃࢕т??֩?㋁裹?‹ő? ?Ô?˃׍? []


    :boo:
     
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ต่อไปนี้เป็นคำเทศนาบางตอน ของพระเดชพระคุณพระธรรมวิสุทธิมงคล(หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) วัดป่าบ้านตาด เกี่ยวกับเรื่องพระอภิธรรมปิฎก
    ... คัดลอกมาบางตอนจากคำเทศนาเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2543 ...
    "" ...ศาสนาพุทธเรามีกฎมีระเบียบเรียบร้อย ไม่ว่าขั้นใดของประชาชนผู้เป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า ขั้นนี้ ๆ เป็นลำดับ ขั้นนี้เป็นแกงหม้อใหญ่ก็ควรให้เหมาะสมกับแกงหม้อใหญ่ อันนี้แกงหม้อเล็กก็เหมาะสมกับแกงหม้อเล็ก แกงหม้อจิ๋วก็เหมาะสมกับแกงหม้อจิ๋ว ธรรมพระพุทธเจ้าวางระเบียบเรียบไปหมดหาที่ต้องติไม่ได้

    แต่ผู้ทำลายธรรมพระพุทธเจ้าก็คือพวกเราเสียเอง สำคัญตรงนี้นะ ท่านสอนให้ทำอย่างนั้นกลับทำอย่างนี้ ให้ทำอย่างนี้กลับไปทำอย่างนั้น มันเป็นข้าศึกของศาสนาก็คือพวกเรา และมิหนำซ้ำก็จะตัดทอนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร ออกมาเป็นการประกาศไปก็ได้ มันเริ่ม ๆ มีแล้วเวลานี้ ที่จะทำลายศาสนาพระพุทธเจ้าด้วยวิธีการต่าง ๆ มีเยอะ เอ้า ภายในวัดก็ทำลายอีกแบบหนึ่ง ส่วนมากเป็นวัดเป็นผู้ที่จะชี้แจงแสดงอรรถธรรมออกสู่ประชาชน

    ถ้าทางวัดทางพระศึกษามาด้วยดี ปฏิบัติมาโดยชอบธรรมแล้วออกมาไม่ค่อยผิดพลาด ถ้าไปศึกษาเฉย ๆ ไม่สนใจกระทั่งว่าศีลเป็นยังไง ศีลเป็นยังไงไม่สนใจ มีแต่ศึกษาจับคำเอาเฉย ๆ คำพูด ๆ ศีลไม่มีสักตัว มันอาจจะลบว่าในพระไตรปิฎกนี้ไม่มีพระวินัยปิฎกก็ได้ เวลานี้ก็เริ่มปรากฏแล้วว่า อภิธรรมปิฎกไม่มีในพระไตรปิฎก ไตรแปลว่าอะไร ติ ออกจากสาม แปลสภาพมาเป็นไตร ปิฏก แปลว่า ภาชนะ ฟังให้ดีนะ นี่เรียนมาจะเอามหาออกเสียวันนี้ ปิฏก ภาษาบาลี เรามาแปลเป็นภาษาไทยว่า ปิฎก แปลว่า ภาชนะสำหรับรับรองปิฎกทั้งสาม ไตร นั่นน่ะสาม ภาชนะสำหรับรับธรรมทั้งสามประเภท

    พระวินัยหนึ่ง พระสูตรหนึ่ง พระอภิธรรมหนึ่ง นี้คือปราชญ์ไปจดจารึกมา ออกเป็นพระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก ๑ พระสุตตันตปิฎก ๑ พระอภิธรรมปิฎก ๑ เรียกว่าสาม พระวินัยปิฎกนี้เรียกว่ากฎของพระ วินัยของพระ กฎหมายพระ พระสูตรนั้นพูดถึงเรื่องสัตว์เรื่องบุคคล ทำดีทำชั่ว ตกนรกไปสวรรค์อะไร มีอยู่ทั่วไป เรียกว่าพระสูตร บางแห่งธรรมที่สูงกว่านั้นเข้ามาเป็นพระสูตรก็มี เช่น ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร นี่อริยสัจนะนี่ เข้าในพระอภิธรรมปิฎกได้เลยไม่สงสัย จากนั้นก็พระอภิธรรม พระอภิธรรมปิฎก แปลว่าธรรมที่สูงสุดกว่าธรรมทั้งสองประเภทนี้

    พระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมาด้วยพระอภิธรรมปิฎก ด้วยจิตตภาวนา รากแก้วของพระอภิธรรมปิฎกคือภาวนา พระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นด้วยองค์ภาวนาล้วน ๆ เป็นศาสดาเอก เจริญอานาปานสติ เป็นยังไงที่ว่าพระอภิธรรมปิฎก จิต เจตสิก นิพพาน มีแต่เรื่องจิตล้วน ๆ นะ นี่ละท่านแสดงในอภิธรรมปิฎกไว้ นี่ก็ดูไม่ใช่มาพูดพล่าม ๆ นี่นะ ไม่ว่าพระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม เราดูมาทั้งนั้นก่อนที่จะออกปฏิบัติ เพราะฉะนั้นที่จะมาโกหกง่าย ๆ ไม่ได้นะ ควรตีปากตีเอาเลยเรานะ เราก็มีมือ เขามีปาก พูดออกมาเป็นการลบล้างอรรถธรรมตีปากเลย อยากว่าอย่างนั้นนะ ก็เรียนมาด้วยกัน เห็นมาด้วยกัน นี่แว่ว ๆ ทราบมาอย่างนั้นว่า พระอภิธรรมปิฎกนี้ไม่มีในพระไตรปิฎก มี ๒ ปิฎก คือพระวินัยปิฎกกับพระสุตตันตปิฎก

    พระอภิธรรมปิฎกคือหัวใจของพระ ถ้าอันนี้ไม่มีแล้วก็แสดงว่าศาสนาพุทธเราหมดเลย ไม่มี ศาสดาองค์เอกก็ขึ้นไม่ได้ ต้องขึ้นจากอภิธรรมนี้ พระอรหันต์ทุกองค์ขึ้นจากอภิธรรมปิฎกนี้ไม่ขึ้นจากไหน พระวินัยปิฎกนี้ท่านบัญญัติทีหลัง แต่ก่อนยังไม่มีพระวินัย เมื่อทำผิดทำพลาดก็ตั้งบัญญัติพระวินัย กฎหมายพระเข้าไป ๆ เรื่อย ๆ กฎหมายเป็นพื้นฐานแล้วก็ยังเป็นอนุบัญญัติ คือบัญญัติทีหลังปลีกย่อยไป อาบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้บัญญัติต่อไป ๆ นี้เรียกว่าพระวินัยปิฎก พวกพระสุตตันตปิฎก ใครก็ทราบดังที่พูดนั่นละ นิทานเรื่องนั้นเรื่องนี้ ส่วนมากออกจากพระสุตตันตปิฎก ส่วนพระอภิธรรมปิฎกนี้พูดถึงเรื่องจิตตภาวนาเป็นพื้นฐานเลยเทียว พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยพระอภิธรรม พระอรหันต์ตรัสรู้ด้วยพระอภิธรรม ถ้าพระอภิธรรมนี้ไม่มีในพระไตรปิฎกหรือไม่มีในศาสนาแล้ว ศาสนาก็หมดไปเลย นี่คือรากแก้วของศาสนาได้แก่พระอภิธรรม จะเป็นอะไรไป


    อ่านต่อเต็มๆที่นี่ http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/009978.htm
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [​IMG]
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    [​IMG]...[​IMG]

    กวนนุ : "ข้าจะไปกุดหัวแม่ทับกบฏโผกผ้าเหลือง แล้วกลับมาก่อนที่ชาจะเย็น..."

    ( กบฏธรรมภูติหมายจะเด็ดอภิธรรมปิฏกออกจากศาสนาพุทธ เพราะเมื่อทำลายอภิธรรมได้
    ศาสนาพราหมณ์จะกลับมายิ่งใหญ่ เพราะอภิธรรมเป็นธรรมบทเดียวที่ลึกเกินกว่าเรื่องนิโรธนจากฌาณ

    การกุดหัว ก็หมายถึง ตัดทิฏฐิ นาคราบ แต่ถ้าจำเป็นต้องขุดหัวมันโปเตโต้ ข้าเอง)

    [music]http://203.145.117.124/sound/temp/o002.mp3[/music]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2010
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ( กบฏธรรมภูติหมายจะเด็ดอภิธรรมปิฏกออกจากศาสนาพุทธ เพราะเมื่อทำลายอภิธรรมได้
    ศาสนาพราหมณ์จะกลับมายิ่งใหญ่ เพราะอภิธรรมเป็นธรรมบทเดียวที่ลึกเกินกว่าเรื่องนิโรธนจากฌาณ

    การกุดหัว ก็หมายถึง ตัดทิฏฐิ นาคราบ แต่ถ้าจำเป็นต้องขุดหัวมันโปเตโต้ ข้าเอง)

    ผมคิดว่า ทฤษฎีสมรู้ร่วมคิด ที่ คุณนิวรณ์ คุณขวัญ และ วิษณุ สร้างขึ้นมา
    จะติดนิสัยมาจาก ทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดในการล้มล้าง สสตธ

    เพ้อเจ้อ มันไม่มีใครอุตริ คิดไปทำอะไรแบบนั้น นอกจาก คนสมรู้ร่วมคิดแล้วผลักดันให้เกิดกระแสไปเอง

    นี่ต้องระวังให้มาก เรื่อง conspiracy theory เนี่ย
     
  9. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ... จะกล่าวอะไรก็พิจารณาดีดีครับ ทฤษฎีสมรู้ร่วมคิด ใครทำอะไรไว้ก็รับไปเองครับ

    กรณีคุณขวัญ คุณนิวรณ์ ไม่ได้มาสมรู้ร่วมคิดกับผม การเสนอข้อความเพื่อได้รับข่าวสารพึงสมควร ไม่ได้เกิดจากการรวมหัว
     
  10. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    คุณ วิษณุ สมรู้ร่วมคิด นี้มันคือ กระแส มันไม่จำเป็นจะต้องมารวมหัวจับมือทำสัญญากันหรอก
    เรียกว่า กระแสแบบผิดๆ คิดเอง เออเอง ตั้งเป็นทฤษฎีขึ้นมา โดยไม่มีความจริงอะไร
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    <TABLE border=0 width=450 bgColor=blue height=36><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG] ความคิดเห็นที่ 16</TD><TD vAlign=top align=right>[​IMG] <!--InformVote=16--><SCRIPT language=JavaScript>MsgStatus(Msv[16], 16);</SCRIPT>[​IMG]
    <!--MsgIDBody=16-->ชอบเข้ามาอ่านทั้งคนตั้งกระทู้ทั้งคนมาตอบส่วนตัวเองชอบมาตอบมากกว่าขอนุญาตบอกอีกครั้งนะ พระพุทธศาสนาไม่ได้ไปไหน และไม่เป็นอะไรอะไรจะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สามอย่างนี้เหมือนเดิม พร้อมกับคำสอน 48,000 พระธรรมขันธ์ยังเหมือนเดิม พระไตรปิฏกก็เหมือนเดิน คนเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไม่ว่าสมัยไหนก็ตาม...จริงใหม





    </TD></TR></TBODY></TABLE><!--MsgFile=16--><TABLE border=0 cellSpacing=1 bgColor=blue><TBODY><TR><TD vAlign=top width=75>จากคุณ</TD><TD>: <!--MsgFrom=16-->มหาประโยค 4 (watnongkanak) [​IMG] [​IMG] </TD></TR><TR><TD vAlign=bottom width=75>เขียนเมื่อ</TD><TD vAlign=bottom>: <!--MsgTime=16-->7 ก.พ. 53 12:27:36 <!--MsgIP=16-->[​IMG] </TD></TR><TR><TD id=xscore16 vAlign=top width=75>ถูกใจ</TD><TD id=score16>: [FONT=Tahoma,Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif]PIWAT, kongsilp2000[/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    อันนี้ ตัวอย่าง การเสนอความเห็นของคนในเว็บไซท์หนึ่ง

    สังเกตุว่า รูปประโยค ร้อยขึ้นเพื่อแสดง ความคิดรวบยอด ไม่ใช่การ
    พูดเชิงอธิบาย

    การที่มีการ เสนอความคิดรวบยอด ก็คือ เสนอหลักการ

    การที่มีการเสนอหลักการ แปลว่า มีการดำเนินงานแล้ว

    และเป็นคนกลุ่มไหน ก็ไม่ต้องคิดอะไรมาก เพราะเริ่มเห็นบ่อยขึ้น
    อย่างกรณี คุณกบฏธรรมภูติ คำที่เขาใช้เป็นกลยุทธิติดปากคือ

    "พระอภิธรรมปิฏก เขียนขึ้นทีหลัง" เชื่อว่าทุกท่านย่อมได้ยิน แต่ใคร
    จะถือข้างปฏิเสธว่าไม่เคยได้ยินก็ตามใจ

    แต่ประโยคที่ว่า "พระอภิธรรมปิฏก เขียนขึ้นทีหลัง" นี้หากพิจารณาตาม
    คำชี้แจงของหลวงตามหาบัว ก็จะพบว่า ขัดแย้งกันอย่างชัดเจน เพราะ
    หลวงตาชี้ตรงๆเลยว่า พระอภิธรรมเกิดขึ้นเป็นส่วนแรก โดยให้เหตุผล
    ที่ว่าพระพุทธองค์ปฏิบัติด้วยวิธีจิตภาวนามาโดยตรง

    และคนที่ใช้ อภิธรรม เรียนคนแรก ก็คือ พระพุทธองค์ ส่วนพระสูตรซึ่ง
    มีชื่อสาวกทั้งหลายนั้น เป็นเรื่องที่พระพุทธองค์สอนหลังจากสำเร็จการ
    เรียอภิธรรมต่างหาก ส่วนพระวินัยนั่นก็บัญญัติเฉพาะที่จำเป็น บางข้อก็
    เกิดจากสาวกที่สำเร็จอรหันต์จบกิจการศึกษาแต่กระทำผิดต่อการสร้าง
    ศรัทธาเพราะความลำพองด้วยซ้ำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2010
  12. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ดูพวกโจรกบฏนิวรณ์ พูดเพื่อทำลายล้มล้างพระพุทธพจน์ชัดๆสิ
    สิ่งใดที่พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงกล่าวไว้ พวกเราเหล่าสาวกก็ไม่ควรกล่าวเอง

    พวกกบฏมีพฤติกรรมที่เลียนแบบกันมาตั้งแต่ต้นแบบยันปลายแถวคือ
    ชอบแอบอ้างว่านี่เป็นคำกล่าวของพระตถาคต นี่ของพ่อแม่ครูบาอาจารย์
    ทั้งที่เป็นคำพูดของตนเองแท้ๆ แต่กลับแอบอ้างเป็นของท่านเหล่านั้น

    ที่กบฏนิวรณ์พูดว่า"และคนที่ใช้ อภิธรรม เรียนคนแรก ก็คือ พระพุทธองค์"นั้น
    ขอหลักฐานด้วย พวกกบฏมีนิสัยเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือชอบพูดอะไรลอยๆขึ้นมา
    โดยไม่มีที่มาที่ไป เช่น
    กล่าวหาคนอื่นลอยๆ มีแต่ข้อกล่าวหา แต่หลักฐานที่กระทำผิดไม่มี
    หลุดพ้นแบบลอยๆ มีการหลุดพ้น แต่ผู้หลุดพ้นไม่มี
    มีแต่สภาวะเท่านั้น แต่สิ่งที่รองรับสภาวะกลับไม่มี

    ผมมีหลักฐานจากพระพุทธพจน์ที่ทรงกล่าว
    ให้เทียบเคียงคำสอนกับพระสูตรและพระวินัยเท่านั้น ดังปรากฏในมหาประเทศ ๔ ดังนี้

    ถ้าสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
    ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้

    พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน
    และภิกษุนี้จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย

    ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
    ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้
    พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน
    และภิกษุนี้จำมาถูกต้องแล้ว

    ;aa24
     
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    มหาประเทศ ๔

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงโภคนครแล้ว
    ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ อานันทเจดีย์ ในโภคนครนั้น ณ ที่นั้น
    พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาประเทศ ๔ เหล่านี้
    พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีภาคแล้ว
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังต่อไปนี้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
    อาวุโสข้อนี้ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
    นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้
    พวกเธอไม่พึงชื่นชมไม่พึงคัดค้าน คำกล่าวของภิกษุนั้น
    ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
    แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย

    ถ้าสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
    ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้
    พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน
    และภิกษุนี้จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย

    ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
    ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้
    พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน
    และภิกษุนี้จำมาถูกต้องแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่หนึ่งนี้ไว้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
    สงฆ์พร้อมทั้งพระเถระ พร้อมทั้งปาโมกข์ อยู่ในอาวาสโน้น
    ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า
    นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้
    พวกเธอไม่พึงชื่นชมไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น
    ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
    แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย

    ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
    ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้
    พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน
    และภิกษุสงฆ์นั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย

    ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
    ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้
    พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน
    และภิกษุสงฆ์นั้นจำมาถูกต้องแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สองนี้ไว้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
    ภิกษุผู้เป็นเถระมากรูปอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว
    เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
    ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า
    นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้
    พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น
    ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
    แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย

    ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตรเทียบเคียงในพระวินัย
    ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้
    พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่านี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน
    และพระเถระเหล่านั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย

    ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
    ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้
    พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน
    และพระเถระเหล่านั้น จำมาถูกต้องแล้ว

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สามนี้ไว้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
    ภิกษุผู้เป็นเถระอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว
    เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
    ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระนั้นว่า
    นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้
    พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น
    ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
    แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย

    ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
    ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้
    พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน
    และพระเถระนั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้นพวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย

    ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
    ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้
    พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน
    และพระเถระนั้นจำมาถูกต้องแล้ว

    ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สี่นี้ไว้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศทั้ง ๔ เหล่านี้ไว้ ฉะนี้แล ฯ
    ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ อานันทเจดีย์ในโภคนครนั้น
    ทรงกระทำธรรมีกถานี้แหละเป็นอันมากแก่พวกภิกษุว่า
    อย่างนี้ศีล อย่างนี้สมาธิ อย่างนี้ปัญญา

    สมาธิอันศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
    ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
    จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะโดยชอบ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ฯ

    ;aa24
     
  14. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    มันก็จริงนี่นา หลวงตาบัวก็บอกเอาไว้แล้วว่า พระอภิธรรมนั้นมาก่อนนานแล้วเพียงแต่พระพุทธเจ้านั้นนำมาสอนทีหลังเพราะยากเกินกว่ามนุษย์หรือเทวดาอินทร์พรหมยมยักษ์ผู้มีอินทรีย์ธรรมไม่กล้าจะเข้าใจและปฏิบัติตามได้ จนบรรลุมรรคผลนิพพาน ถ้าจะบอกว่า สิ่งทั้งหมดที่ผิดคือ ความยึดมั่นถือมั่นว่าต้องเป็นอย่างนั้นต้องเป็นอย่างนี้เท่านั้นแหละ จึงถูกหรือจึงผิด นี่แหละตัวกิเลสของแท้ อ่านคำสอนหลวงตาแล้วอ่านยังไงๆก็เป็นความคิดพระอรหันต์คือ ไม่สร้างความแตกแยกสร้างความเข้าใจ ไม่เลือกที่รักไม่มักที่ชัง แม้เป็นพระอริยะบุคคลเบื้องต้น จะไม่เหมือนแต่สิ่งทั้งหลายก็เบาบางลงพอที่จะชักนำหรือพาผู้อื่นให้ละ ลด เลิก ความหลงในกิเลสตัณหาต่างๆนานาได้ ดังนั้น การสอนอะไรจึงต้องพิจารณาดีๆการพูดอะไรก็ควรต้องพิจารณาดีๆ เอามาคะคานกันทั้งที่ผิดหรือถูกนั้นไม่รูชัด มันไม่น่าจะได้อะไร เป็นการนำธรรมปฏิรูปมาเสนอเท่านั้นคิดพิจารณาเอาแต่ตนเองและกลุ่มคณะ ไม่พิจารณารวมว่าความแตกต่างนั้นเพราะอะไร บางคนก็เอาคำพูดที่ไม่ใช่ของพระอริยะเจ้ามาแล้วบอกว่าเป็นพระอริยะเจ้าพูดก็มี นี่แหละหนทางแห่งความเสื่อม หรือธรรมในตนเองนั่นเสื่อม เมื่อธรรมในตนเองเสื่อม ธรรมที่สืบทอดมาก็จะเสื่อมเพราะไม่อาศัยยึดหลักปฏิบัติหรือพิจารณา เอาความคิดคนเป็นใหญ่กลายเป็นธรรมปฏิรูป ธรรมที่เป็นธรรมแท้จะค่อยๆเสื่อมสูญไป ตามธรรมชาติของการไม่ใช้ กลับมาพิจารณาธรรมกันให้ดีๆเถอะครับ มานะทิฐิ อย่าได้มี แล้วพิจารณาว่า เป็นแบบนั้นเพราะอะไรไม่เป็นแบบนั้นเพราะอะไร และบางเรื่องก็ไม่ใช่เรื่องพิจารณาได้ง่ายๆ ต้องอาศัยการฝึกฝน และบ่มหรือสะสมพลังหรือกำลัง หวังว่าคงเข้าใจ และที่สำคัญเลยเราชอบไปคิดแทนพระศาสดา อย่าไปคิดแทนท่านสิครับ เพราะเมื่อปฏิบัติแล้วจะรูเองว่าแบบไหนเหมาะสมกับตนเอง และแบบไหนที่พระศาสดาสอนไว้เพื่อตัวเรา แต่ต้องมีการบ่มหรือสะสมพลังหรือกำลัง อย่างที่ว่า
    อนุโมทนาครับ
     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ธารแห่งธรรม
    หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
    คัดลอกจาก: จันทสาโรนุสรณ์

    อำนาจไตรลักษณ์ที่บุคคลชำนิชำนาญแล้ว ไม่มีเวลาดับ สว่างเรื่อยๆ เพราะกำจัดมืดคืออวิชชา
    กำจัดมืดเป็นสมบัติของพระอริยเจ้า จิตคงที่ จิตไม่กลับกลอก เพราะท่านมีญาณและมีปัญญา ผลิมาจากไตรลักษณ์

    อมตจิตของพระอรหันต์ นิพพานธาตุตายไปแล้ว ตัวอมตะยังมีอยู่
    ดุจบุคคลเขียนตัวอักษรไว้ในที่มืด จุดประทีปเสียก่อนเขียนแล้วดับไฟ
    มืดอยู่ก็จริง ตัวอักษรนั้นยังมีอยู่ฉันใด สิ่งที่รู้ด้วยปัญญาเอง เป็นอมตธรรม สติก็เรียกได้
    เรียกนิพพานก็ได้ ต่อตายดับไปอมตธรรมยังมีอยู่


    ;aa24
     
  16. alila

    alila สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    พอดีมาอ่านหลังๆ เห็นถกเถียงกันใหญ่โต

    คุณธรรมภูตทำไมถึงรู้สึกว่า จิตเกิดดับหรือไม่สำคัญนะครับ
     
  17. sangtian9

    sangtian9 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2011
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +16
    นี่กระมังครับ ท่านเรียกว่า การรู้เห็นด้วยปัญญา ไม่มีลบเลือนตลอดกาล
    สาธุ..:cool:
     
  18. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    ลองหาหลักฐานที่พระพุทธเจ้าตรัสเรื่อง พระอภิธรรม ได้มาแค่นี้เองครับ


    ผลการค้นหา คำว่า “ พระอภิธรรม ” :-<center></center>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ <center></center>พวกเธอจักวินิจฉัยพระวินัยกัน ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ทรงพระอภิธรรม ท่านก็แต่งตั้งเสนาสนะ <center></center>รวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า พวกเธอจักสนทนาพระอภิธรรมกัน ภิกษุเหล่าใด <center></center>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ <center></center>หรือพระอภิธรรมไปก่อนเถิด ภายหลังจึงค่อยเรียนพระวินัย ดังนี้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ <center></center>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ <center></center> ยังภิกษุให้ทำโอกาสในพระวินัย แล้วถามพระสูตร หรือพระอภิธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์. <center></center> ยังภิกษุให้ทำโอกาสในพระอภิธรรม แล้วถามพระสูตร หรือพระวินัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์. <center></center>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ <center></center> เมื่อพระสุตตันตะ และพระอภิธรรมเลอะเลือนไปก่อน <center></center>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘ ปริวาร <center></center> พระอภิธรรม ๑ ซึ่งมีคุณมาก อย่างนี้ พระสัทธรรมจะเป็นไปได้ ผิว่า <center></center>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค <center></center>น่ารัก มีความปราโมทย์ยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคน <center></center>ใคร่ในธรรมเจรจาน่ารัก มีความปราโมทย์ยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย นี้ก็ <center></center>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส <center></center>เป็นผู้ทรงจำพระอภิธรรม ด้วยเหตุนั้น ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน- <center></center>*ปัจจัยเภสัชบริขาร. เธอหวังได้ลาภก็เล่าเรียนพระอภิธรรม เพราะเหตุแห่งลาภ เพราะปัจจัยแห่ง <center></center>ไม่หวังได้ลาภ ย่อมเล่าเรียนพระสูตร ย่อมเล่าเรียนพระวินัย ย่อมเล่าเรียนพระอภิธรรม เพื่อ <center></center>จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ... พระสูตร ... พระวินัย ... พระอภิธรรม ... <center></center>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส <center></center>คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร น้อมใจไปในพระสูตร น้อมใจไปในพระวินัย น้อมใจไปในพระอภิธรรม <center></center>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ <center></center> พิสดาร ฉะนั้น เราเป็นผู้ฉลาดในนัยแห่งพระอภิธรรม เป็นผู้ฉลาดในความ <center></center> สูตร พระอภิธรรม และพระพุทธพจน์อันมีองค์ ๙ ทั้งสิ้นนี้ เป็นธรรม <center></center>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก <center></center> อาสน์ ทรงจำพรรษาอยู่ ณ ดาวดึงส์นั้น ทรงแสดงพระอภิธรรม<center></center>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์ <center></center><center class="n">พระอภิธรรมปิฎก </center>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์ <center></center><center class="n">พระอภิธรรมปิฎก </center>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๓ ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์ <center></center><center class="n">พระอภิธรรมปิฎก </center>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์ <center></center><center class="n">พระอภิธรรมปิฎก </center>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๘ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๕ ยมกปกรณ์ ภาค ๑ <center></center><center class="n">พระอภิธรรมปิฎก </center>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๙ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๖ ยมกปกรณ์ ภาค ๒ <center></center><center class="n">พระอภิธรรมปิฎก </center>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๐ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ <center></center><center class="n">พระอภิธรรมปิฎก </center>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๑ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๘ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๒ ปัจฉิมอนุโลมติกปัฏฐาน <center></center><center class="n">พระอภิธรรมปิฎก </center>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๒ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๙ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓ <center></center><center class="n">พระอภิธรรมปิฎก </center>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๓ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑๐ ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔ <center></center><center class="n">พระอภิธรรมปิฎก </center>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑๑ ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๕ <center></center><center class="n">พระอภิธรรมปิฎก </center>
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑๒ ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๖ <center></center><center class="n">พระอภิธรรมปิฎก </center><center></center><center>พระอภิธรรมปิฎก จบ. </center>

    <table width="90%" align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td vspace="0" hspace="0" align="right">[​IMG]
    [​IMG]</td></tr><tr><td vspace="0" hspace="0" width="100%" bgcolor="goldenrod">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
     
  19. bamrung

    bamrung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2006
    โพสต์:
    834
    ค่าพลัง:
    +1,524
    เห็นด้วยกับเจ้าของกระทู้ บางคนบอกถึงขนาดว่า จิตหลุดพ้นแล้ว ต้องดับจิตที่หลุดพ้นนั้นอีกที ถ้าเป็นยังงั้นก็ไม่ต้องมีคำว่านิพพานแล้ว เพราะต้องเข้าไปดับนิพพานอีกจะได้ไม่เหลืออะไรเลย อย่างที่เข้าใจกัน
    จิตที่หลุดพ้นแล้วมันจะไปดับตรงไหนกันอีก เพราะมันไม่มีอะไรจะให้ดับแล้ว มันหมดตัวตนแล้ว จบกิจแล้ว ไม่มีอะไรต้องทำอีก มันไม่เคยเกิด มันเป็นเช่นนั้นเอง มาตลอดอนันตกาลเช่นนั้นอยู่แล้ว ไม่มีความหมายของการมา การไป การเพิ่มการลด การเกิดการดับ ความทุกข์ ความสุข หรืออะไรทั้งนั้น
    จิตหลุดพ้นแล้ว ความจริงก็คือไม่เหลืออะไรแล้ว ในความหมายของความเป็นอัตตลักษณะ คือในจิตนั้นมันไม่เหลือความเป็นตัวตนของเรา ของเราหรือของใครแม้แต่นิดเดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2011
  20. โทสะ

    โทสะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +466
    เป็นจริงตามที่ เจ้าของกระทู้แสดงความเห็นไว้

    จิต มิได้ เกิด ดับ ๆๆ

    จิต ดวงเดียว เที่ยวไปไม่เคยตาย
     

แชร์หน้านี้

Loading...