จิตไม่มีตัวตนครับ เป็นไตรลักษณ์ ไม่มีจิตเที่ยง จิตต้องอาศัยปัจจัยในการเกิดคืออารมณ์ เมื่อไม่มีอารมณ์เกิดขึ้น จิตจะไม่เกิดขึ้น ที่ว่าจิตหลุดพ้น คือจิตเกิดความรู้ชัดว่าไม่มีสิ่งใดเป็นของเรา ไม่มีสิ่งใดเป็นตัวตน สุดท้ายย่อมรู้ว่าจิตก็ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของเราเช่นกัน เป็นเพียงธรรมธาตุหนึ่งซึ่งต้องอาศัยปัจจัยในการเกิดเช่นเดียวกับธรรมธาตุอื่น ๆ การถือเอาจิตเป็นตัวตนว่าเป็นเราว่าของเรา แสดงว่ายังมีการพอใจในจิตอยู่ นักปฏิบัติที่ทำเพื่อการถึงที่สุดพึงรู้ชัดว่า จิตไม่ใช่ตัวตน เป็นเพียงธรรมชาุติรู้ที่เกิดขึ้นตามปัจจัย เมื่อไม่มีปัจจัย จิตก็ไม่มีที่อาศัยในการเกิด แม้จิตของพระอรหันต์ก็ไม่ใช่ตัวตน ท่านไม่ถือจิตเป็นของท่าน ท่านเพียงรู้ถึงการมีอยู่ของจิตซึ่งเกิดดับตามเหตุปัจจัยเป็นธรรมดา จึงเสมือนว่าจิตพระอรหันต์มีจิตก็ไม่ใช่ ไม่มีจิตก็ไม่ใช่ มีจิตก็ไม่ใช่เพราะไม่ใช่ของท่านเพียงเกิดดับตามปัจจัยและท่านก็มิได้มีความพึงพอใจที่มีจิต จะว่าไม่มีจิตก็ไม่ใช่ เพราะมันมีอยู่โดยธรรมชาติ แต่ไม่ถูกยึดถือว่าเป็นของท่าน
ระวังอย่าประมาท เพราะการมีตำรามากอันเป็นเหตุให้ประมาทได้ทั้งสิ้น และเพราะการไม่อ่านตำราก็ยังเหตุให้ประมาท ดังนั้น ความไม่ประมาท คือ การโยนิโสมนสิการ โดยปัญญาว่า สิ่งใดคือกุศล สิ่งใดคือ อกุศล พึงระวังตน อันมีกาย วาจา ใจ ให้มีสติสัมปัชชัญญ รู้กาล รู้เวลา เมื่อไหร่เป็นแก้วเปล่าเมื่อไหร่เป็นแก้วเต็ม จักเป็นประโยชน์แก่ท่าน หากท่านศึกษาพระธรรมเพราะหวังมรรคผลนิพพาน ไม่ใช่เพื่อธรรมลวงในโลก คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ และอื่นๆอีกมาก อนุโมทนา
"ว่างๆ ว่างๆ แกไม่รู้จักสมาธิเลย!!!" มาดูกันว่า สมาธิของเอทัคคะทางปัญญา ผู้ที่พระพุทธองค์ยกฐานะให้เป็น ประธานเสมอพระพุทธองค์ได้นั้น ท่านมีการทำสมาธิอย่างไร เป็นพวกว่างๆ เอะอะอะไรก็ ปัดออกจากตัวให้ดู ว่างๆ ว่างๆ นั้น แท้จริงแล้วมีนัยยะทางสมาธิ ปรากฏหรือไม่ ลองพิจารณา http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y8839034/Y8839034.html
จากข้อความที่พระสารีบุตรผู้เลิศทางปัญญาเสมอพระพุทธองค์ แสดงต่อพระอานนท์ ผู้เลิสทางสติสัมปชัญญะทำให้ระลึกธรรมบทได้มาก หากดูเผินๆ ก็เหมือน พระสารีบุตร ปฏิเสธการทำฌาณใดๆ คือ ตั้งแต่รูปฌาณ จนถึง อรูปฌาณ ก็ไม่ล่วงเลยอยู่ในสัญญาอารมณ์จนเป็นอารมณ์สมาธิแต่อย่างใด หากจะปรักปรำแล้ว ย่อมไม่พ้นคำว่า พวกสอนโดยไม่มีหลักเกณฑ์ แต่การจะไป ปรักปรำเช่นนั้น หาทำได้ไม่ ดูเผินๆไปอีก ก็คล้ายๆ จะเป็นพวก อเนญชาทิฏฐิ มีทิฏฐิไม่เอาอะไรเลย หากจะปรักปรำแล้ว ย่อมไม่พ้นคำว่า พวกสอนโดยเอาแต่สบาย แต่การจะไป ปรักปรำเช่นนั้น หาทำได้ไม่ ดูเผินๆไปอีก ก็คล้ายๆ จะเป็นพวก อกริยาทิฏฐิ ไม่ต้องทำอะไรเลย ไม่รู้ จักการทำสมาธิเลยแม้แต่ตัวเดียว เป็นพวกว่างๆ ๆ มักง่าย ปานฉะนั้น หากจะปรักปรำแล้ว ย่อมไม่พ้นคำว่า พวกสอนโดยบรรลุ จบกิจเสียแต่ ยังไม่เพียรทำอะไรเลย แต่การจะไปปรักปรำเช่นนั้น หาทำได้ไม่ ที่เห็นกันอย่างนั้น เพราะความยึดในตรรกะ ของผู้ปฏิบัติธรรมะ และเป็น พวกยึดทิฏฐิแนวทางปฏิบัติแต่เฉพาะที่ตนรับมา และใช้อยู่ จึงไม่สามารถ มองออกไปนอกกรอบได้ ทำให้เวลาเจออะไรที่ไม่เหมือนตน ก็เที่ยวสร้าง ทิฏฐิล้อมกรอบความคิด หรือ แนวทางตนไม่ให้ถูกกระทบ เริ่มสร้างมายาคติ ของตนมาล้อมกรอบความเป็น กลุ่มตน กลุ่มอาจารย์ตน แล้วปราวาณา ปกป้องโดยผู้เป็นอาจารย์มิได้สั่ง (ผู้พ้นแล้วย่อมไม่หวั่นไหวในโลกธรรม8) แต่ ตัวเองกลับอ้างฟ้าเพื่อรักษาอาจารย์ตน ดึงฟ้าลงต่ำเสียเอง แล้วสาด มายาคติ ที่ตนสร้างขึ้นมาไปให้คนอื่น กลายเป็นการรักษาประโยชน์ของกลุ่มตน ของตน แทนที่จะเป็น ของสงฆ์โดย ส่วนรวม เวลาจะทำอะไร ก็อ้างตนเป็นหลักของสถาบันทุกสถาบัน แทนที่จะ อ้างว่า สงฆ์ทั้งมวลคือหลักของสถาบันทุกสถาบัน กลายเป็นอาสวะที่ถ่ายทอด กันไปเป็นชั้นๆ จากบนสู่ล่าง สร้างความอ่อนแอแก่หมู่สงฆ์ทั้งหมด มาดูกันว่า หากเผิกแนวแทงของตน ของสาวกชั้นหลังผู้ได้ชื่อว่าเป็นอาจารย์ ที่ชอบร้อยกรองสัทธรรมขึ้นใหม่ออกไปทีชั้นๆ จากสัญญาไม่กี่ตัวว่าเป็นการ ทำสมาธิ เราจะรื้อฟื้นสัญญาให้ครบถ้วนทั้ง10ประเภท เพื่อความเป็นไปของ สมาธิ ได้หรือไม่ และเมื่อใดก็ตามที่ แนวทางของสมาธิมีโดยปริเฉท ครบถ้วนได้ดังเดิม ไม่ถูก ตัดรอนออกเพียงเพราะการอุปทานโดยอาศัยการเป็นผู้ปรากฏ ณ กึ่งพุทธกาล เป็นเหตุยึดว่า สมาธิมีแต่แนวทางผู้เป็นสาวกชั้นหลังประกาศเพียงเท่านั้น ความ ยืนยาวของพุทธศาสนาจะมีได้หรือไม่ได้อย่างไร ก็ขอให้พิจารณา
นิพพาน หมายถึง สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ "นิพพาน" จากบาลี Nibbāna निब्बान ประกอบด้วยศัพท์ นิ (ออกไป, หมดไป, ไม่มี) + วานะ (พัดไป, ร้อยรัด) รวมเข้าด้วยกันแปลว่า ไม่มีการพัดไป ไม่มีสิ่งร้อยรัด คำว่า "วานะ" เป็นชื่อเรียกกิเลสตัณหา กล่าวโดยสรุป นิพพานคือการไม่มีกิเลสตัณหาที่จะร้อยรัดพัดกระพือให้กระวนกระวายใจ อันเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา พระอนุรุทธาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์อภิธรรมมัตถสังคหะ ได้พรรณนาคุณของนิพพานว่า ปทมจฺจุตฺ มจฺจนฺตํ อสงฺขตมนุตฺตรํ นิพฺพานมีติ ภาสนฺติ วานมุตฺตามเหสโย "พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้พ้นแล้วจากตัณหาเครื่องร้อยรัด ทรงตรัสถึงสภาวะธรรมชาติหนึ่งที่เข้าถึงได้ เป็นธรรมชาติที่ไม่จุติ พ้นจากขันธ์ 5 ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยใด ๆ เลย หาสภาวะอื่นเปรียบเทียบไม่ได้ ว่าสภาวธรรมนั้นคือพระนิพพาน" คัมภีร์พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะกล่าวถึงนิพพาน 2 ประเภท คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุยังมีอุปาทิเหลือ ยังเกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ กล่าวคือดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุที่ไม่มีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ กล่าวคือดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่อีก นิพพาน - วิกิพีเดีย
พระพุทธเจ้า ท่านไม่ทรงสอนด้วยกิเลสของพระองค์ ท่านทางสอน ด้วยความเมตตา และถึงวาระจะบรรลุ ท่านจะเสด็จไปโปรดผู้นั้น เมื่อถึงเวลา เมื่อถูกกาล และหลวงตาท่านเทสน์ไว้ดีมาก ลองไปหาฟัง ดี 008- เรื่อง สงครามจิต สงครามขันธ์ ท่านกล่าวดีมากนะ อย่าได้กล่าวสภาวะนิพพาน หากยังไม่ได้สัมผัสเอง
คุณ ต้องยกมา ที่กล่าวว่า มีกลุ่มบุคคลพยายาม ยกเรื่องสมาธิเพียงบางส่วน ผมขอชี้แจงแทนคนเหล่านั้น ว่า ไม่มีใครยกเรื่องสมาธิบางส่วนตามแบบฉบับตนเท่านั้น แต่กำลัง ชี้แจง ให้มีความเห็นที่ถูกต้องกับการทำสมาธิที่เป็น สัมมาสมาธิ การยก พระสารีบุตรสูตร มา นั่นเป็น โลกุตระฌาณ อันเป็น วิธีการของพระอริยบุคคลพึงกระทำ เพราะว่า วิปัสสนาเห็น สภาพไตรลักษณ์ ใน สัญญาต่างๆมาดีแล้ว จะเอามาเหมารวมกับ วิธีการของ ปุถุชนทั่วไป ที่แม้แต่ สมาธิเบื้องต้นยังไม่มีเลย ได้อย่างไร
๔. มหาจุนทสูตร ว่าด้วยพระมหาจุนทะสอนภิกษุ [FONT=Tahoma,Tahoma][FONT=Tahoma,Tahoma][๒๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะ อยู่ที่ชาติวัน ในแคว้นเจตี [/FONT] [FONT=Tahoma,Tahoma]ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาจุนทะ เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโส ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายรับคำท่านพระมหาจุนทะแล้ว ท่านพระมหาจุนทะ ได้กล่าวว่า [/FONT] [FONT=Tahoma,Tahoma]ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้ ย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ ดังนี้ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย หากว่าโลภะย่อมครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ มัจฉริยะ ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โลภะจึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่. [/FONT] [FONT=Tahoma,Tahoma]ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดภาวนา การอบรม ย่อมกล่าวว่า เราเป็นผู้มีกายอบรมแล้ว มีศีลอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้ว มีปัญญาอบรมแล้ว ดังนี้ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย หากว่าโลภะย่อมครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ มัจฉริยะ ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โลภะจึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ โทสะ โมหะ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงครอบงำผู้นี้ตั้งอยู่. [/FONT] [FONT=Tahoma,Tahoma]ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้และภาวนาย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว ดังนี้ [/FONT] [FONT=Tahoma,Tahoma]ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย หากว่าโลภะครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ครอบง าภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โลภะจึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่. [/FONT] [FONT=Tahoma,Tahoma]ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเป็นคนยากจน พึงกล่าว อวดความมั่งมี เป็นคนไม่มีทรัพย์ พึงกล่าวอวดทรัพย์ เป็นคนไม่มีโภคะ พึงกล่าวอวดโภคะ บุรุษนั้น เมื่อกิจอันจำต้องทำด้วยทรัพย์อย่างใดหนึ่งเกิดขึ้น ไม่อาจจะนำทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทองออกใช้จ่ายได้คนทั้งหลายพึงรู้บุรุษนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นคนยากจน ย่อมกล่าวอวดความมั่งมี เป็นคนที่ไม่มีทรัพย์ ย่อมกล่าวอวดทรัพย์ เป็นคนไม่มีโภคะ. ย่อมกล่าวอวดโภคะ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านผู้นี้ เมื่อกิจอันจำต้องทำด้วยทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ไม่อาจจะน าทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทองออกใช้จ่ายได้ ฉันใด [/FONT] [FONT=Tahoma,Tahoma]ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อกล่าวอวดความรู้และอวดภาวนา ย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอันอบรมแล้ว มีศีลอัน อบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว ดังนี้ ดูก่อน[/FONT][FONT=Tahoma,Tahoma]อาวุโสทั้งหลาย หากว่าโลภะครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โลภะจึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงครอบงำท่าน ผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่. [/FONT] [FONT=Tahoma,Tahoma]ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้ ย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ ดังนี้ หากว่าโลภะไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โลภะจึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความ ปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่. [/FONT] [FONT=Tahoma,Tahoma]ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดภาวนา ย่อมกล่าวว่า เราเป็นผู้มีกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว ดังนี้ หากว่าโลภะไม่พึงครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โลภะจึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ. . . . ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ .... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่. [/FONT] [FONT=Tahoma,Tahoma]ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้และอวดภาวนา ย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรบแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว ดังนี้ หากว่าโลภะไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอัน ชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอัน บุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โลภะจึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ.... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัดฉันนั้น เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุ นี้ตั้งอยู่. [/FONT] [FONT=Tahoma,Tahoma]ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเป็นคนมั่งคั่ง พึงกล่าว อวดความมั่งคั่ง เป็นคนมีทรัพย์ พึงกล่าวอวดทรัพย์ เป็นคนมีโภคะ พึงกล่าวอวดโภคะ บุรุษนั้น เมื่อกิจที่จำต้องทำด้วยทรัพย์อย่างใดอย่าง หนึ่งเกิดขึ้น พึงอาจนำเอาทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทองใช้จ่ายได้ คนทั้งหลายพึงรู้บุรุษนั้นว่า ท่านผู้มีเป็นคนมั่งคั่ง จึงกล่าวความมั่งคั่ง เป็นคนมีทรัพย์ จึงกล่าวอวดทรัพย์ เป็นคนมีโภคะ จึงกล่าวอวดโภคะ [/FONT][FONT=Tahoma,Tahoma]ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านผู้มีอายุนี้ เมื่อกิจที่จำต้องทำด้วยทรัพย์ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ย่อมอาจนำเอาทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือ ทองออกใช้จ่ายได้ ฉันใด ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน [/FONT] [FONT=Tahoma,Tahoma]เมื่อกล่าวอวดความรู้และอวดภาวนา ย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรมนี้ เราเห็น ธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรม แล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว ดังนี้ หากว่าโลภะไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะไม่มีแก่ ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โลภะจึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่. [/FONT] [FONT=Tahoma,Tahoma]จบมหาจุนทสูตรที่ ๔ [/FONT] [FONT=Tahoma,Tahoma]ขอนำธรรมมาให้อ่านเพื่อให้เกิดปัญญา ละวางได้ พิจารณาได้ ผมก็ไม่รู้ความหมายของพระสูตรบทนี้เท่าไหร่หรอกครับ ขอท่านทั้งหลายช่วยพิจารณาด้วยจะเป็นการดีครับ[/FONT] [FONT=Tahoma,Tahoma]อนุโมทนาครับ[/FONT] [/FONT]
ของมันแปลก แม้พระสูตร จะระบุชัดอยู่แล้วว่า นี่เป็นการ ถามถึงวิธีทำสมาธิ ผู้ที่ตอบ ย่อมตอบวิธีการทำสมาธิ ให้กับผู้ที่ยังไม่มีสมาธิ น้อมไปฝึก คงไม่ ใช่เป็นการที่ พระสารีบุตร จะพรรณาโลกุตรฌาณให้พระอานนท์ฟังเล่นๆ แต่ จะต้องเป็นไปเพื่อการสอนให้ พระอานนท์น้อมการทำสมาธิชนิดนี้ไปฝึก นี่ก็เท่ากับ ผู้กล่าวแก้ ยังยึดมั่นแต่วิธีการเกิดสมาธิ เท่าที่ตนรู้จัก ไม่อาจมอง ออกได้ว่า พระสารีบุตรกับลังสอนการทำสมาธิ เพื่อให้เข้าถึงความหลุดพ้น แล้วปรักปรำว่า พระสารีบุตรกล่าวสิ่งที่ไม่ก่อประโยชน์ต่อพระอานนท์ ไปปรัก ปรำว่า พระสารีบุตรเป็นโมฆบุรุษ สอนสิ่งที่น้อมไปปฏิบัติไม่ได้ และปรักปรำ ว่า พระสารีบุตรเป็นผู้แสดงธรรมไม่ก่อประโยชน์แก่ผู้อื่น การตอบเป็นเพียงการ อวดอ้างสมาธิของตนโดยเอาประโยชน์เพียงเท่านั้น ก็อย่ากระนั้นเลย เช่นไรแล้ว ท่านๆทั้งหลายก็พิจารณาลงไปเถิดว่า พระสารีบุตร กำลังสอนวิธีการทำสมาธิอยู่หรือไม่ เพื่อความรู้เพิ่มเติม มาดูกันว่า พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงการทำสมาธิของพระสารีบุตร ไว้ในลักษณะอย่างไร เจริญการปฏิบัติแบบนี้แล้วจะได้สมาธิมาอย่างไร เจริญการปฏิบัติ แบบนี้แล้วจะล่วงพ้นกิเลสด้วย ธรรม ประการใด อาการอย่างไร ก็ลองพิจารณา <!-- end content -->
ใครกล้าคิดอย่างนั้นก็โง่เต็มทนแล้วพี่ พระพุทธเจ้าก็สอนพระอานนท์เหมือนกับที่พระสารีบุตรสอนพระอานนท์นั่นแหละครับ เพื่อชี้ให้เห็นบางอย่างของการทำสมาธิเท่านั้น ว่าเป็นเพียงสัญญารมณ์หนึ่งๆเท่านั้น ผมก็เห็นในพระสูตรก่อนสารีปุตสูตรเขียนไว้ น่าจะสมาธิสูตรอะไรประมาณนั้นแหละครับ พระสารีบุตรไม่ได้อวดอ้างครับ เพราะพระสารีบุตรเล็งประโยชน์แล้วว่าแบบนี้พระอานนท์จะนำไปพิจารณาอย่างแน่นอน เราต้องเข้าหาหลักใหญ่ใจความของการทำสมาธิให้ได้ว่า คืออะไร ความสงบนั้นๆ มันคืออะไร แล้วความสงบนั้นๆนำมาซึ่งอะไร ผมมองว่าเป็นอย่างนั้นมากกว่า ครับ อีกอย่างขณะนั้นพระอานนท์ยังเป็นเพียงพระโสดาบันอยู่เลย แต่ความละเอียดอ่อนของจิตก็มากกว่าปุถุชนก็จริง แต่ประโยชน์ที่เล็งเห็นคือ เป็นไปเพื่อสัญญาเท่านั้น เพื่อพิจารณาในสัญญารมณ์เท่านั้น ไม่ให้ยึดไว้อย่างที่ใครหลายๆคนเข้าใจกันครับ
คุณ สรุปเอาเอง ทั้งนั้น คุณคิดว่า พระสารีบุตรจะสอน คนที่ยังไม่มีสมาธิหรือ เอาตามความเป็นจริงง่ายๆ คุณอ่านแล้วทำได้ไหม พุทธศาสนิกชน ทั่วไป มาอ่านแล้ว เข้าใจไหม ก็ตอบว่าจะไปเข้าใจได้อย่างไร ในเมื่อ อนิจสัญญา ยังไม่เกิดกับตน แล้วพระสูตรที่ คัดมาอีกฉบับนี้ ก็จะเห็นได้ชัดว่า ท่านสอนใคร ให้ดูที่ว่า การล้างอวิชชา การดับทุกข์ คนทั่วไปเขาทำกันได้หรือ นี่เป็นพระสูตรให้เทียบว่า มรรค และ สัมมาสมาธิ อัน ผู้ที่เจริญวิปัสสนามาดีแล้ว จะเอามาเทียบกับความรู้ของตน ว่า ไม่ต้องไปทำฌาณ ไม่ได้ ฌาณ คือ ผล ที่ทำสมาธิและเจริญสติเป็น ดังนั้น ต้องฝึกสมาธิตามแนวทาง สมถะ กันให้ได้เสียก่อน
หลวงตามหาบัว เวลากล่าว ถึงกรณีถกเถียงกันของ พระกับพระ พระกับฆารวาส ก็จะยกคำว่า โรคตาแดง มาหนึ่งคำ และถ้ามายาคติเกิดชัด คำว่าโรคตาแดง ไม่อาจทำให้เกิดสติรำงับแล้ว ก็จะใช้คำ ว่า เรื่องของขี้ มาอีกหนึ่งคำ คำสองคำนี้สอดคล้องกัน โรคตาแดง ก็คือ อิจฉาเขา ความอิจฉาเขาเกิด ขึ้นได้อย่างไร เกิดขึ้นต่อภิกษุได้อย่างไร ก็ขอให้ ทบทวนในพระสูตรที่มีการ ยกไว้ใน #250 แล้วคำว่า "ขี้!" คืออะไร ไม่ใช่หรอกที่ว่า เรื่องการทะเลาะกัน มันเป็นเรื่องของขี้ แต่คำว่า ขี้ นี้มาจากคำว่า ขี้อิจฉา นั่นแหละ เรามาดูกันว่า โดยปรกติ พระสารีบุตร มีปฏิปทาในการสอนอย่างไร ก็ขอยกตัว อย่าง กรณีที่พระสารีบุตรสอนภิกษุองค์หนึ่งจนบรรลุอรหันต์แล้ว แต่ว่า พระสารีบุตร ยังเทศนาไม่เลิก จนพระพุทธองค์ต้องมาทัก กรณีนี้ เป็นที่ขบขันกันมากของพวกศรัทธา และ วิริยะมาก โดยยกเหตที่พระสารีบุตร ไม่มีทิพย์จักขุ และใช้ประเด็นนี้ในการหว่านล้อมให้คนไปทำสมาธิให้ถึงฌาณ ให้แคล่ว คล่อง โดยอาศัยการกดข่มปฏิปทาของพระสารีบุตรว่าไม่ใช่พวกมีสมาธิ แต่สิ่งที่พวกเขาลืมไปคือ พระสารีบุตรมีเจโตปริญาณ และใช้เจโตปริญาณนั้นในการ พรรณาธรรมบทไปเรื่อยๆ ตามสภาวะธรรม เรียกภาษาปากว่า เดาสุ่มๆ ไป ตามสภาพ ธรรมไปเรื่อยๆ แสดงธรรมไปเรื่อยๆ แต่ ถึงแม้จะเป็น กถาที่พร่ำไปเรื่อยๆ คล้ายการ พูดธรรมะแบบนกแก้วนกขุนทอง คล้ายเป็นพวกดึงจากสัญญาความจำ คล้ายพวกพุทธ พจน์กิเลสอ้าง คล้ายพวกหมาเห่าใบตองแห้ง เจอสภาวะธรรมอะไรก็ทักไปเรื่อยๆ เดา ไปเรื่อยๆ แต่ถึงแม้จะเรื่อยๆ ก็ทำให้ พระอรหันต์ปรากฏต่อโลกได้ ตรงนี้ต่างหากที่ควรเห็นว่า ถึงแม้จะพร่ำสอนแบบนกแก้วนกขุนทอง ทักไปตามเจโตปริญาณอันมีโดยธรรมชาติเป็น ญาณลาภี ไม่ได้จงใจเจตนาจะใช้ จะอวดว่ามี แต่โดยธรรมชาติของสงฆ์ท่านมีเจโตปริ ญาณอยู่โดยปรกติ ผู้ไม่รู้ก็อาจจะปรักปรำปรับอาบัติปราชิกแก่พระสารีบุตรเอาได้ เพราะ ไม่รู้ความเป็นธรรมชาตินั้นมีอยู่ ใช้ตรรกะตนเข้าอ้าง แล้วยกโทษแก่พระสารีบุตรผู้สอน ธรรมะเรื่อยๆ เจื่อยๆ แต่ทำให้คนถึงความเป็นอรหันต์ได้ว่า เป็นพวกอวดอุตรมนุษยธรรม หากเป็นพวกไม่รู้ก็จะทำอย่างนั้น ส่วนพวกรู้มาก รู้แต่ทางตน ก็จะปรักปรำว่า พระสารีบุตรไม่มีสมาธิ ไม่มีวสี ไม่มีฌาณ ไม่มีฃฤทธิ์ใดๆ สอนธรรมะไม่ได้เรื่อง สวนทางกับพระพุทธองค์ที่ยกย่องว่า พระสารี บุตรคือบุคคลที่เสมอพระพุทธองค์ พระสารีบุตรคือผู้ที่มี เทศนาปาฏิหาร์ยยอดเยี่ยม
ไร้เหตุผล คิดเองเออเอง ทั้งสิ้น เรื่องของพระไตรปิฎกนี้ ผมเคยบอกแล้วว่า พระสูตรแต่ละพระสูตรนั้น ถ้าคนปฏิบัติตรงจะเห็นตรงๆ ไม่ต้องตีความ ไม่ต้องหานัยยะที่แฝงอยู่ ซึ่ง ก็ไม่ว่าหากใครจะตีความ แต่มันต้องมีเหตุผลกว่านี้หน่อย คุณ ตีความไปขนาดว่า ไปรู้วาระจิตพระสารีบุตรว่า เดาๆสุ่มไปตามสภาพธรรม ผมคิดว่า คุณอย่าเอาตัวเองไปเปรียบเทียบ เอกตทัคคะทางด้านปัญญา แบบนั้นจะดีกว่า เพียงเพราะ ต้องการกู้หน้าตนเอง หาใช่แก้ต่างให้อาจารย์ตนด้วยความกตัญญูไม่ ถึงกับ ยอมทรยศ พระสูตร และ พระศาสดา เลยหรือ
น่าหัวเราะจริงๆ ว่า พระสารีบุตร เดาสุ่มๆ ไปตามสภาพธรรม ถ้าเช่นนั้นแล้ว ปัญญาต่างๆ ก็ต้องเรียกว่า เดาสุ่มไปทั้งหมด ตามภาษาปากหรือ เม็ดฝน ตกทั่วบนท้องฟ้า เจ็ดวันเจ็ดคืน พระสารีบุตร ก็นับได้ทุกเม็ด พูดมาได้ว่า ภาษาปากบอกว่า เดาสุ่ม แต่ผมจะไม่เถียงเลยหากว่า คุณบอกว่า คุณนั้นเดาสุ่ม อาจารย์ของคุณนั้นเดาสุ่ม แบบนี้พอพูดได้ แต่อย่าดึงฟ้าลงต่ำ มาเทียบตน
ผมว่าใกล้เคียงนะครับ ผมพิจารณาง่ายๆ และง่ายมากๆ เพราะธรรมเริ่มจากความไม่รู้และไล่ลำดับเรียงกันไป แล้วใครรู้บ้างว่าพระอานนท์ฝึกสมาธิถึงขั้นไหน ไม่มีใครรู้แต่เราทุกคนรู้ว่าพระอานนท์เป็นพระโสดาบันอริยะบุคคล นั่นคือมรรคเกิดแล้ว มีแล้วแต่ยังไม่มาก แต่จากพระสูตรนั้นท่านพระอานนท์น่าจะมีสมาธิขั้นสูงแล้ว แต่ก็เรียงลำดับอีกนั่นแหละ ดิน ไปจนถึง สัญญาเนวะสัญญา เลย และในดินก็คงมีถึง จตุตถฌานเลยทีเดียว จนถึงที่สุดแล้วเมื่อพิจารณาแล้วก็เป็นเพียงสัญญารมณ์ ไม่ใช่เหรอครับพี่ แต่เท่าที่เห็นก็ไม่ได้กำหนด เออว่าแต่พี่คงไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องฝึกสมาธิใช่ไหมครับ คือ ผมก็งงว่าพระสูตรนี้มีตรงไหนเหรอที่ไม่ต้องฝึกสมาธิ แต่เป็นสิ่งที่จะนำมาต่อยอดหรือดูคล้ายกับการแก้อารมณ์กรรมฐานของพระอานนท์ยังไงยังงั้น คือ ดูๆจากในพระสูตรนี้ครับ
ผมเข้าใจได้ว่าจินนี่ได้รู้ชัดแล้ว ว่ากาย-ใจ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของเรา ร้อนคือเรื่องของร้อน เย็นคือเรื่่องของเย็น แก่คือเรื่องของกายสังขาร เด็กก็คือเรื่องของกายสังขาร ไม่ว่าเราจะดำรงค์อยู่ในกายเช่นใด ก็เพียงสักแต่กายที่ปรุงแต่งตามผลของกรรมที่ทำไว้ มีเพียงจิตหรือใจดวงใหม่ ๆ ที่รับการถ่ายทอดสืบต่อเนื่องกันเป็นสันตติจนบดบังความเป็นจริงคิดไปว่ามันต่อเนื่องกันจนไม่เคยเกิดดับเลยและทึกทักเอาว่าจิตมีความคงตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าอะไรที่เราเห็นล้วนเกิดขึ้นมาด้วยเหตุปัจจัยทำให้มี แล้วก็ดับไปเป็นธรรดา ไม่มีตัวตนที่คงอยู่ได้ตลอดไป แม้แต่สิ่งที่ปุถุชนยังถือเอาขันธ์ทั้งหลายมาเป็นของตน แม้ธรรมชาติที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์หรือจิต หรือเรียกว่าวิญญาณ ที่เกิดขึ้นตามอายตนะต่าง ๆ ไม่เว้นแม้แต่ความนึกรู้ขึ้นมาทางใจไม่ผ่านอวัยวะใดของร่างกาย ธรรมชาติที่กล่าวมานี้นักปฏิบัติที่ยังพึงพอใจในความมีอยู่ของจิตก็ยังถือเอาว่าจิตเป็นเรา ซึ่งที่จริงแล้วไม่มีสิ่งใดเลยแม้แต่จิตที่จะทึกทักเอาว่าเป็นเรา จิตก็เป็นเหมือนเพียงแต่ลม เกิด ๆ ดับ ๆ ไปตามปัจจัยเช่นกัน ที่จินนี่้ยกเรื่องนิพพานมาแสดง ผมเข้าใจได้ว่าจินนี่น่าจะเข้าใจแล้วเห็นชัดอยู่ในอายตนะนิพพานนั้น ว่าเป็นอายตนะที่ไม่มีทุกข์เจือเข้าถึงเลย เพราะสว่างด้วยความรู้ชัดว่าไม่ม่สิ่งใดจะชักจูงให้มีการเวียนไปในภพทั้งหลาย เพราะสลัดออกแล้วซึ่งความที่เคยถือไว้ แม้แต่สิ่งที่ถูกเรียกว่าใจหรือจิตก็ตาม จนถอนอุปาทานออกได้หมด แม้เราจะเป็นอย่างไร แม้เราจะอยู่ในสภาวะใด เราก็เสมือนยืนดูสภาพนั้นด้วยความเห็นในความธรรมดาของสิ่งนั้น เป็นธรรมดา
กรณีนี้ เป็นที่ขบขันกันมากของพวกศรัทธา และ วิริยะมาก โดยยกเหตที่พระสารีบุตร ไม่มีทิพย์จักขุ และใช้ประเด็นนี้ในการหว่านล้อมให้คนไปทำสมาธิให้ถึงฌาณ ให้แคล่ว คล่อง โดยอาศัยการกดข่มปฏิปทาของพระสารีบุตรว่าไม่ใช่พวกมีสมาธิ ความดังกล่าวข้างต้น ไม่ใช่เรื่องที่ผมคิดเอง แต่เป็นความที่ปรากฏมาเนิ่นนาน หา อ่านได้ในเว็บต่างๆ ถึง กรณีขบขันการสอนธรรมของพระสารีบุตร ที่เหมือนคนสอน แบบสุ่มๆ เดาสวด ผมก็ยก กรณีของพระสารีบุตรขึ้นมา กล่าว เพื่อเสนอเป็นข้อพิจารณาเท่านั้น จะมาปรักปรำว่า ผมกำลังทำการสรุปความ ก็หาใช่เรื่องไม่ พวกที่ทิฏฐิมาก พยาบาทมาก จิตก็จะแล่นไปในเรื่องโลกๆที่ตนสาระวนอยู่ แทนที่จะดูที่ธรรม กลับมาดูเรื่องของคน แทนที่จะดูที่ธรรม กลับมาดูเรื่องของคน อยู่อย่างนี้ แทนที่จะดูที่ธรรม กลับมาดูเรื่องของคน อยู่อย่างนั้น แทนที่จะดูที่ธรรม กลับมาดูเรื่องของคน ไม่สิ้นกลิ่น สอนวลีนี้ให้กำคนอื่น แต่ตัวเองเป็นเสียเอง สิ่งที่เสนอ ใช่ธรรมหรือไม่ใช่ธรรม ก็ขอให้พิจารณาไปตามแต่วิจารณญาณ เลิกเสียที ที่จะยัดเยียด หรือ กล่าวเพ่งเล็งมาที่บุคคล หรือ ลักลั่นไปในเรื่องโลกๆ อันสกปรกอยู่ในหัวของตน
คุณ นิวรณ์ การ เพ่งที่ตัวบุคคล นั้นคนละเรื่องกับ การชี้ให้เห็น ผมจะให้คุณดูว่า คำว่า เดาสุ่ม นั้นเป็นคำพูดของ อาจารย์ของคุณ ที่บอกว่า เจโตปริยญาณ ที่ท่านมีนั้น เป็นการเดาสุ่มไปอย่างนั้นเอง มาวันนี้ คุณหยิบยก พระสารีบุตร มาบอกว่า พระสารีบุตรก็เดาสุ่ม คุณยังจะให้คนอื่นทบทวนตัวเองอีกหรือ สำหรับ การเพ่งคนอื่น ผมจะแยกให้ดูว่า การเพ่งคน คือ การบอกว่า คนนั้นเป็นแบบนั้นคนนี้เป็นแบบนี้ โดยไม่ได้ดูธรรมเลย นี่ผมยกธรรมมาชี้บอกคุณ ว่าคุณ ผิด คุณทำไม่ถูก คุณยังจะยกข้ออ้างแบบผิดๆ มาอ้างอีกหรือ พระศาสดากล่าวว่า การฝึกม้านั้น ต้องมีทั้งหนักและเบา แต่หากฝึกไม่ได้ให้ฆ่าทิ้ง คำว่า ฆ่าทิ้งคือ การไม่ว่ากล่าวตักเตือนใดๆ ทั้งสิ้น ผมเห็นว่า คุณยังฝึกได้ ผมก็พูดไป และ ถ้าแน่จริงก็ยกเหตุผลที่ เกี่ยวกับเนื้อธรรม ให้ได้ ไม่ใช่อ้างคำคนอื่น
ตนเอง ยกพระสูตรมา เพื่อสนับสนุน วิถีของตนอย่างไม่ละอาย และ เกรงกลัวต่ออรรถต่อธรรม ยังจะมาบอกว่า ความผิดตกอยู่ที่ คนเตือน นี่ หิริโอตตัปปะ และ อัตตนัง โจทยัตตานัง ไม่มีในตนเลย