พวกดื้อรั้นจะให้จิตเป็นวิญญาณขันธ์ให้ได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 28 มกราคม 2010.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    นิพพานมิใช่อัตตา มิใช่อนัตตา

    http://www.openbase.in.th/node/3012


    คำสอนของครูบาอาจารย์ลึกซึ้ง คำบางคำ บัญญัติบางประการท่านใช้ได้ เพราะบุญบารมี คุณธรรมท่านถึง

    ทีนี้หากคุณธรรมไม่ถึง แล้วไปใช้ อาจโดนผมเป็นฝ่ายค้านได้

    ปล. ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดนะ มีจุดค้านก็ค้าน อย่าโกรธกันนะ
     
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    555 ก็คำว่า อริยไซเบอร์ มันเป็นคำที่ อาจารย์ของคุณเรียก คนในเน็ตไม่ใช่หรือ
    นั่นแหละ ทำให้ ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จักจริง ปลอม
    เอาหละผม ขอตัว
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ค้านได้เต็มที่เลยจินนี่ I see you
    แล้วผมจะตอบเอง
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    QUOTE=ขันธ์;2922621

    1 เรื่องเงาของจิต เป็นคำพูด พระอรหันต์ ท่านหนึ่งกล่าวเอาไว้ [ ดู..อ้างธรรมคนอื่น ตัวเองไม่มี พุทธพจน์ก็มี ยื่นจ่อที่ปาก ยังริไปเอาคำของสาวกมาใช้ ]
    2 จิตเดิมแท้ จิตดวงเดิม หรือ จิตดั้งเดิม หรือ จิตหนึ่ง อะไรก็แล้วแต่จะเรียก มีความหมายเดียวกัน เรื่องนี้ ทำความเข้าใจไม่น่าจะยาก [ ก็แสดงไว้หมดแล้วว่า พุทธพจน์เป็นอย่างไร ร้อยพยัญชนะ เพื่อความเจริญของศาสนาไว้อย่างไร ยังจะไปเอา คำที่แต่งเติมมายกใช้ ]
    3 นิพพานเที่ยง ธรรมธาตุ เป็นคำเดียวกัน [ จะพูดทำไม อันนี้ใครๆ เขาก็พูด ผมก็พูด นี่ทำเป็นยก เพื่อเอาฐานะได้พูดเหรอ ประโยชน์แค่นี้เหรอที่อยากได้จากการอิงพุทธพจน์กิเลสอ้าง ]
    4 จิตเที่ยง เป็นเรื่องของพระอริยบุคคล เช่น ปิดอบายแน่นอน หรือ เที่ยงที่จะตรัสรู้ หรือ จิตพระอริยบุคคล 8 จำพวก เมื่อเคลื่อน เรียกว่า กิริยาจิต แต่จิตท่าน ไม่คล้อยไม่หลง จะไหวไปก็ไปในทางกิริยาของจิต ทั้งนี้ เพราะว่า จิตท่านเป็นพระอริยบุคคลแล้ว พูดถูกไม่ถูกปริยัติก็ไม่รู้ เพราะเป็นเรื่องของปฏิบัติ [ ตกลง จิตเที่ยง กร่อนลงไปอีก แทนที่ จิตเที่ยงคือนิพพาน แต่ชักทนไม่ไหว ยอมกร่อนคำสอนตน แต่หาที่ลงไม่ได้ ก็เลยลงไปเป็น จิตอริยะบุคคล8 ขึ้น แล้วขอโทษนะ หาก "พูดถูกไม่ถูกปริยัติก็ไม่รู้" คุณก็รู้อยู่ในจิตแล้ว เป็นว่ามีรสธรรมความรู้ไม่ถ้วนทั่วถึง แล้วยังจะพูดออกมาทำไม ในเมื่อยังไม่รู้ว่า ถูก หรือ ผิดนี่มันมีอะไรเจาะปากให้พูดเหรอ หรือว่า ต้องการได้ทีท่าว่าได้พูด ต้องการอาศัยอะไรจากการเอาธรรมะมาชูไว้ข้างหน้าเหรอ เงาบังตัวหรือไง ]

    นี่พูดให้ฟัง แล้วลองไปพิจารณาดู [ ก็คุณเล่นลงท้ายโจ้งๆ แล้วว่า ไม่รู้ว่าตรงปริยัติหรือไม่ ไม่มั่นใจ มันก็เป็นโมฆะว่าเปล่าไปแล้ว การกล่าวไม่เป็นประโยชน์หาประโยชน์ไม่ได้ไปแล้ว โมฆบุรุษอย่างคุณยังชักชวนให้ทำการพิจารณาอีกเหรอ ไม่ต้องหลอก ก็คุณพูดเองว่า ไม่รู้ว่าตรงหรือไม่ตรง แค่
    นี้ก็พิจารณาได้แล้วว่า ไม่ควรคิดพิจารณาตามแต่อย่างใด ]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2010
  5. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    จะกล่าวแก้อย่างไป ลองไปอ่านดูเสียก่อน ไม่ต้องรีบ ถือว่าเทียบบัญญัติหน่อย
     
  6. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    ยกธรรมของหลวงตามาให้พิจารณา

    จิตผ่องใส คือ อวิชชา

    หลวงตามหาบัวเทศน์โปรดคุณเพาพงา วรรธนะกุล ณ วัดป่าบ้านตาด

    เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๙





    ปกติจิตเป็นสิ่งที่ผ่องใส และพร้อมที่จะสัมผัสสัมพันธ์กับทุกสิ่งทุกอย่างอยู่เสมอ สภาพทั้งหลายเป็น “ไตรลักษณ์” ตกอยู่ในกฎแห่ง อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ด้วยกันทั้งนั้นไม่มีเว้น แต่ธรรมชาติของจิตที่แท้จริงนั้นไม่ได้อยู่ในกฎนี้ เท่าที่จิตเป็นไปตามกฎของ “อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ” ก็เพราะสิ่งที่เป็นไตรลักษณ์ คือสิ่งที่หมุนเวียนเข้าไปเกี่ยวข้องกับจิต จิตจึงหมุนเวียนไปตามเขา แต่หมุนเวียนไปด้วยธรรมชาติที่ไม่แตกไม่สลาย หมุนไปตามสิ่งที่มีอำนาจให้หมุนไป แต่ที่เป็นอำนาจของจิตอยู่โดยหลักธรรมชาตินั้น คือ “รู้และไม่ตาย” ความไม่ตายนี้แลเป็นสิ่งที่เหนือความแตก ความ ไม่แตกสลายนี้แลเป็นสิ่งที่เหนือกฎไตรลักษณ์และ “หลักสากลนิยม” ทั้งหลาย แต่ที่ไม่ทราบก็เพราะธรรมชาติที่เป็นสมมุติเข้าไปเกี่ยวข้องรุมล้อมจิตเสีย หมด จิตจึงกลมกลืนกับเรื่องเหล่านี้ไปเสีย

    ที่เราไม่ทราบว่าการเกิดตายเป็นของมีมาดั้งเดิมประจำจิตที่มีกิเลสเป็นเชื้อ ก็เพราะความไม่ทราบเป็นเรื่องของกิเลส ความเกิดตายเป็นเรื่องของกิเลส เรื่องเราจริงๆ เรื่องเราล้วนๆ คือเรื่องจิตล้วนๆ ไม่มีอำนาจเป็นตัวของตัวเองได้ อาศัย ของจอมปลอมมาเป็นตัวของตัวเรื่อยมา การแสดงออกของจิตจึงไม่ตรงตามความจริง มีการแสดงออกต่างๆ ตามกลมารยาของกิเลส เช่นทำให้กลัว ทำให้สะทกสะท้าน กลัวจะเป็นกลัวจะตาย กลัวอะไรกลัวไปหมด แม้ทุกข์น้อยทุกข์ใหญ่อะไรมาปรากฏก็กลัว อะไรกระทบกระเทือนไม่ได้เลยมีแต่กลัว ผลที่สุดในจิตจึงเต็มไปด้วยความหวาดความกลัวไปเสียสิ้น นั่น! ทั้งๆ ที่เรื่องความหวาดความกลัวเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องของจิตโดยตรงเลย แต่ก็ทำให้จิตหวั่นไหวไปตามจนได้

    เรา จะเห็นได้เวลาที่จิตชำระจนบริสุทธิ์ล้วน ๆ แล้ว ไม่มีอะไรเข้าไปเกี่ยวข้องได้แล้ว จะไม่ปรากฏเลยว่าจิตนี้กลัว กล้าก็ไม่ปรากฏ กลัวก็ไม่ปรากฏ ปรากฏแต่ธรรมชาติของตัวเองอยู่โดยลำพังหรือโดยหลักธรรมชาติตลอดเวลา “อกาลิโก” เท่านั้น นี้เป็นจิตแท้ จิตแท้นี้ต้องเป็น “ความบริสุทธิ์” หรือ “สอุปาทิเสสนิพพาน” ของพระอรหันต์ท่านเท่านั้น นอกจากนี้ไม่อาจเรียก “จิตแท้” อย่างเต็มปากเต็มใจได้ สำหรับผู้แสดงกระดากใจไม่อาจเรียกได้

    “จิต ดั้งเดิม” หมายถึงจิตดั้งเดิมแห่ง “วัฏฏะ” ของจิตที่เป็นอยู่นี่ ซึ่งหมุนไปเวียนมา ดังที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในหลักธรรมว่า “ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จิตเดิมแท้ผ่องใส” นั่น! “แต่อาศัยความคละเคล้าของกิเลสหรือกิเลสจรมา จึงทำให้จิตเศร้าหมอง” ท่านว่า

    “จิตเดิมแท้” นั้นหมายถึงเดิมแท้ของสมมุติต่างหาก ไม่ได้หมายถึงความเดิมแท้ของความบริสุทธิ์ เวลาท่านแยกออกมา ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ ภิกฺขเว” “ปภสฺสร” หมายถึง ประภัสสร คือความผ่องใส ไม่ได้หมายถึงความบริสุทธิ์ นี่ หลักเกณฑ์ของท่านพูดถูกต้องหาที่แย้งไม่ได้เลย ถ้าว่าจิตเดิมเป็นจิตที่บริสุทธิ์นั้นจะมีที่ค้านกันว่า “ถ้าบริสุทธิ์แล้วมาเกิดทำไม?” นั่น แน่ะ!

    ท่านผู้ชำระจิตบริสุทธิ์แล้วท่านไม่ได้มาเกิดอีก ถ้าจิตบริสุทธิ์แล้วชำระกันทำไม มันมีที่แย้งกันตรงนี้ จะชำระเพื่ออะไร? ถ้าจิตผ่องใสก็ชำระ เพราะความผ่องใสนั้นแลคือตัว “อวิชชา” แท้ไม่ใช่อื่นใด ผู้ปฏิบัติจะทราบประจักษ์ใจของตนในขณะที่จิตได้ผ่านจากความผ่องใสนี้ไปแล้วเข้าถึง “วิมุตติจิต” ความผ่องใสนี้จะไม่ปรากฏตัวเลย นั่น! ทราบได้ตรงนี้อย่างประจักษ์กับผู้ปฏิบัติ และค้านกันได้ก็ค้านกันตรงนี้ เพราะความจริงนั้นจะต้องจริงกับใจของบุคคล เมื่อใครทราบใครรู้ก็ต้องพูดได้เต็มปากทีเดียว

    ฉะนั้น จิตของพวกเรากำลังตกอยู่ในวงล้อม ทำให้หวาดให้กลัว ให้รักให้ชัง ให้เป็นทุกสิ่งทุกอย่างชื่อว่าเป็นอาการของสมมุติ เป็นอาการของกิเลสโดยสิ้นเชิง ตัวเราเองไม่ได้พลังจิตเป็นของตนเอง มีแต่พลังของกิเลสตัณหาอาสวะ มันผลักมันดันอยู่ทั้งวันทั้งคืน ยืน เดิน นั่ง นอน แล้วเราจะหาความสุขความสบายมาจากที่ไหน เมื่อธรรมชาตินี้ซึ่งเป็นของแปรสภาพอยู่ตลอดเวลา ยังมายั่วยุจิตให้เป็นไปตามอีกด้วยโดยที่เราไม่รู้สึก

    โลกนี้จะหาความสุขที่ไหน หาไม่ได้ ถ้า ไม่ได้ถอดถอนธรรมชาติเหล่านี้ออกจากจิตใจโดยสิ้นเชิงเสียเมื่อไร จะหาความทรงตัวอยู่อย่างสบายหายห่วงไม่ได้เลย จะต้องกระดิกพลิกแพลงหรือต้องเอนโน้นเอนนี้ ตามสิ่งที่มาเกี่ยวข้องยั่วยวนมากน้อย ฉะนั้นท่านจึงสอนให้ชำระจิต ซึ่งเป็นการชำระความทุกข์ทรมานของตนนั้นแล

    ไม่ มีผู้ใดที่จะหยั่งถึงหลักความจริงได้อย่างแท้จริงดั่งพระพุทธเจ้า มีพระองค์เดียวที่เรียกว่า “สยัมภู” โดยไม่ต้องได้รับการอบรมสั่งสอนจากผู้หนึ่งผู้ใดเลย ในการแก้กิเลสออกจากพระทัยของพระองค์ ทรงทำหน้าที่ทั้งเป็นนักศึกษาทั้งเป็นครูไปในตัวลำพังพระองค์เดียว จนได้ตรัสรู้ถึงขั้น “ยอดธรรม ยอดคน ยอดศาสดา”

    ส่วน ทางสมาธิด้านความสงบนั้น ท่านคงได้ศึกษาอบรมมาบ้างเหมือนกันกับดาบสทั้งสอง ไม่ปฏิเสธ แต่นั่นไม่ใช่ทางถอดถอนถึงความเป็น “สัพพัญญู” ได้ เวลาจะเป็น “สัพพัญญู” ก็เสด็จออกจากดาบสทั้งสองไปบำเพ็ญลำพังพระองค์เดียว และทรงรู้เองเห็นเองโดยไม่มีครูสั่งสอนเลย แล้วนำธรรมนั้นมาสั่งสอนโลก พอได้รู้บุญรู้บาป รู้นรกสวรรค์ ตลอดนิพพานมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ หากไม่มีใครมาสั่งสอนเลย สัตว์โลกก็จะแบกแต่กองเพลิงเต็มหัวใจไม่มีวันเวลาปล่อยวางได้เลย เมื่อเป็นเช่นนี้ควรจะเห็นคุณค่าแห่งธรรมที่ท่านนำมาสอนโลกได้โดยยาก ไม่มีใครในโลกสามารถทำได้อย่างท่านเลย

    เวลานี้อะไรเป็นเครื่องหุ้มห่อจิตใจ หาความ “ผ่องใส” และ “ความบริสุทธิ์” ไม่ได้ ทั้งๆ ที่เราต้องการหาความบริสุทธิ์ด้วยกันทุกคน อะไรเป็นเครื่องปิดบังอยู่เวลานี้? ถ้าพูดตามหลักธรรมชาติแล้ว ก็มีขันธ์ห้าเป็นที่หนึ่ง ส่วน “จิตอวิชชา” นั้นยกไว้ก่อน เอา แต่ที่เด่นๆ คือขันธ์ห้านั้นเป็นที่หนึ่ง และที่เป็นสหายกันนั้นก็คือรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส ซึ่งติดต่อสื่อสารกันกับตา หู จมูก ลิ้น กาย และเข้าไปประสานกับใจ จากนั้นก็เป็น “ความสำคัญ” ขึ้นมาอย่างนั้นอย่างนี้จากรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส แล้วนำเอาอารมณ์ที่ผ่านไปแล้วนั้นแล เข้ามาผูกมัดวุ่นวาย หรือมาหุ้มห่อตัวเองให้มืดมิดปิดตาไปด้วยความรัก ความชัง ความเกลียด ความโกรธ และอะไรๆ เต็มไปหมด ซึ่งได้มาจากสิ่งดังกล่าวทั้งนั้น

    ส่วนที่ฝังอยู่ลึกก็คือขันธ์ของเรานี้ เราถือว่าเป็นตัวเป็นตนของเรามา ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์กาลไหนๆ ทุกชาติทุกภาษา แม้จะเป็นสัตว์ก็ต้องถือว่าเรานี้เป็นของเรา นี้เป็นสัตว์ เป็นตัวของสัตว์ เป็นตัวของเรา จะเป็นกายทิพย์ ร่างกายทิพย์ก็เป็นตัวของเรา จะเป็นเปรต เป็นผีเป็นอะไรก็ตามเถอะ สิ่งที่อาศัยอยู่ร่างหยาบร่างละเอียด ต้องถือว่าเป็นเราเป็นของเราด้วยกันทั้งนั้น จนกระทั่งที่มาเป็นมนุษย์ที่รู้จักดีรู้จักชั่วบ้างแล้ว ก็ยังต้องถือว่า “นี้เป็นเราเป็นของเรา” ในขันธ์ห้า รูปก็เป็นเรา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นเราเป็นของเรา เหล่านี้ยังฝังอยู่อย่างลึกลับ

    ฉะนั้นท่านจึงสอนให้พิจารณา การพิจารณาก็เพื่อจะให้รู้ชัดเจนตามความจริงของมัน แล้วถอนความยึดมั่นถือมั่นสำคัญผิดว่าตน เพื่อความเป็นอิสระนั่น เองไม่ใช่เพื่ออะไร ตามปกติของเขาแล้วจะพิจารณาเขาทำไม? รูปก็เป็นรูป เสียงเป็นเสียง กลิ่นเป็นกลิ่น รสก็เป็นรส เครื่องสัมผัสต่างๆ เป็นธรรมชาติของเขาอยู่ดั้งเดิม เขาไม่ได้ว่าเขาเป็นข้าศึกอะไรต่อเราเลย ไปพิจารณาเขาทำไม?

    การ พิจารณาก็เพื่อให้ทราบความจริงของสิ่งนั้นๆ ตามความเป็นจริงของเขา แล้วทราบความลุ่มหลงของตนด้วยการพิจารณานี้ และถอนตัวเข้ามาด้วยความรู้ การที่จิตเข้าไปจับจองยึดขันธ์ว่าเป็นตนเป็นของตน ก็เพราะความลุ่มหลงนั่นเอง

    เมื่อ พิจารณาเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นอะไรอย่างชัดเจนแล้ว จิตก็ถอนตัวเข้ามาด้วยความรู้ความเข้าใจด้วยปัญญา หมดกังวลกับสิ่งเหล่านั้น การพิจารณาอันใดที่เด่นชัดในบรรดาขันธ์ห้านี้ ไม่ต้องไปสำคัญมั่นหมาย คือคาดคะเนว่าเราไม่ได้พิจารณาขันธ์ห้าโดยทั่วถึง คือทุกขันธ์ไปโดยลำดับ ไม่ต้องไปทำความสำคัญ ขอแต่ว่าขันธ์ใดเป็นที่เด่นชัดซึ่งควรพิจารณาในเวลานั้น และเหมาะสมกับจริตนิสัยของเรา ก็ให้พิจารณาค้นคว้าในขันธ์นั้นให้ชัดเจน เช่น รูปขันธ์ เป็นต้น

    ใน รูปขันธ์ มีอาการใดเด่นในความรู้สึกของเรา ที่เกิดความสนใจอยากจะพิจารณามากกว่าอาการอื่นๆ เราพึงจับจุดนั้น กำหนดพิจารณาให้เห็นความจริงของมันว่า “ทุกฺขํ คืออะไร?”

    ตามหลักธรรมท่านกล่าวไว้ว่า “ทุกฺขํ” คือความทนไม่ได้ มันไม่ค่อยสนิทใจเราซึ่งเป็นคนมีนิสัยหยาบ จึงชอบแปลแบบลางเนื้อชอบลางยาเป็นส่วนมากว่า “ทุกฺขํ คือความบีบบังคับอยู่ตลอดเวลานี้แล” นี่เหมาะกับใจเราที่หยาบมาก ดังธรรมบทว่า “ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺขํ” นี้ตรงกับคำที่ว่านี้ คือปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมใจก็เป็นทุกข์ เป็นทุกข์คืออะไร? ก็คือบีบคั้นตัวเองนั้นแล หรือเกิดความไม่สบายนั่นแล้ว ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็ไม่สบาย ปรารถนาสิ่งใดแม้ได้แล้ว แต่สิ่งนั้นพลัดพรากจากไปเสียก็เป็นความทุกข์ขึ้นมา ความทุกข์อันนี้เข้ากันได้กับคำว่า “มันบีบบังคับ” ความบีบบังคับนั้นแลคือความทุกข์ความทนไม่ได้ เมื่อทนไม่ได้ก็เป็นไปตามเรื่องของเขา ไปยุ่งกับเขาทำไม! ความจริงจะเป็นขันธ์ใดหรือไตรลักษณ์ใดก็ตาม ใจของเราไปยึดไปถือเขาต่างหาก จึงต้องมาพิจารณาให้ชัดเจนในขันธ์

    รูป ขันธ์ อาการใดดูให้เห็นชัดเจน ถ้ายังไม่ทราบชัดใน “ปฏิกูล” ซึ่งมีอยู่ในรูปขันธ์ของเรา ก็ให้ดูป่าช้าในตัวของเรานี้ให้เห็นชัดเจน คำว่า “เยี่ยมป่าช้า” ให้เยี่ยมที่นี่ แม้เยี่ยมป่าช้านอกก็เพื่อน้อมเข้ามาสู่ป่าช้าในตัวของเรา “ป่าช้านอก” คนตายในครั้งพุทธกาล มันป่าช้าผีดิบทิ้งเกลื่อน ไม่ค่อยจะเผาจะฝังกันเหมือนอย่างทุกวันนี้ ท่านจึงสอนให้พระไปเยี่ยมป่าช้า ที่ตายเก่าตายใหม่เกลื่อนกลาดเต็มไปหมดในบริเวณนั้น เวลาเข้าให้เข้าทางทิศนั้นทิศนี้ ท่านก็สอนไว้โดยละเอียดถี่ถ้วน ด้วยความฉลาดแหลมคมของพระพุทธเจ้าผู้เป็น “สยัมภู” หรือ “ผู้เป็นศาสดาของโลก” ท่านสอนให้ไปทางเหนือลม ไม่ให้ไปทางใต้ลม จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะกลิ่นซากศพที่ตายเก่าตายใหม่นั้นๆ

    เมื่อไปเจอซากศพเช่นนี้เข้าแล้ว ความรู้สึกเป็นอย่างไร แล้วให้ไปดูซากศพชนิดนั้นๆ ความรู้สึกเป็นอย่างไร ให้ประมวลหรือ “โอปนยิโก” น้อม เข้ามาสู่ตัวเองซึ่งเป็นซากอันหนึ่ง ท่านสอนให้พิจารณาอย่างนี้ เมื่อเราได้สักขีพยานคือตัวเราเอง ว่าซากศพที่อยู่ในป่าช้าภายนอกนั้นเป็นอย่างไรแล้ว น้อมเข้ามาสู่ป่าช้าภายในคือตัวเราเอง เมื่อได้หลักเกณฑ์ที่นี่แล้ว การเยี่ยมป่าช้านั้นก็ค่อยจางไป ๆ แล้วมาพิจารณาป่าช้านี้ให้เห็นชัดเจนขึ้นโดยลำดับ คือกายนี้เป็นบ่อปฏิกูลน่าเกลียด ต้องชะล้างอาบสรง ทำความสะอาดอยู่ตลอดเวลา

    ทุก สิ่งทุกอย่างที่มาเกี่ยวข้องกับทุกส่วนของร่างกายเรานี้ มีอะไรที่เป็นของสะอาด แม้เครื่องอุปโภคบริโภคเมื่อนำมาบริโภคก็กลายเป็นของปฏิกูล นับแต่ขณะเข้าทางมุขทวารและผ่านลงไปโดยลำดับ เครื่องนุ่งห่มใช้สอยต่างๆ มันก็สกปรก ต้องไปชะล้างซักฟอกยุ่งไปหมด ที่บ้านที่เรือนก็เหมือนกัน ต้องชะล้างเช็ดถูปัดกวาดอยู่เสมอ ไม่เช่นนั้นก็จะกลายเป็นป่าช้าขึ้นที่นั่นอีก เพราะความสกปรกเหม็นคลุ้งทั่วดินแดน มนุษย์ไปอยู่ที่ไหนต้องทำความสะอาด เพราะมนุษย์สกปรก แน่ะ! ในตัวเราซึ่งเป็นตัวสกปรกอยู่แล้ว สิ่งที่มาเกี่ยวข้องกับตัวเรามันจึงสกปรก แม้แต่อาหารหวานคาวที่มีรสเอร็ดอร่อยน่ารับประทาน สีสันวรรณะก็น่าดูน่าชม พอเข้ามาคละเคล้ากับสิ่งสกปรกที่มีอยู่ภายในร่างกาย เช่น น้ำลาย เป็นต้น ก็กลายเป็นของสกปรกไปด้วย อาหารชนิดต่างๆ ที่ผ่านมุขทวารเข้าไปแล้ว เวลาคายออกมา จะนำกลับเข้าไปอีกไม่ได้ รู้สึกขยะแขยงเกลียดกลัว เพราะเหตุไร? ก็เพราะร่างกายนี้มีความสกปรกอยู่แล้วตามหลักธรรมชาติของตน อันใดที่มาเกี่ยวข้องกับร่างกายนี้จึงกลายเป็นของสกปรกไปด้วยกัน

    การพิจารณาอย่างนี้เรียกว่า “พิจารณาป่าช้า” “พิจารณา อสุภกรรมฐาน”

    เอ้า กำหนดเข้าไป ในหลักธรรมชาติของมันเป็นอย่างไร ดูทุกแง่ทุกมุมตามความถนัดใจ คือปกติเมื่อเราดูในจุดนี้แล้ว มันจะค่อยซึมซาบไปจุดนั้นๆ โดยลำดับ ถ้าสติกับความรู้สึกสืบต่อกันอยู่แล้ว ปัญญาจะต้องทำงานและก้าวไปไม่ลดละ จะมีความรู้สึกซาบซึ้งในการรู้จริงเห็นจริงโดยลำดับ นี่เป็นปัญญาระดับแรกของการพิจารณา

    เมื่อ พิจารณาในขั้น “ปฏิกูล” แล้ว พิจารณาความเปลี่ยนแปรสภาพของร่างกาย คือความปฏิกูลก็อยู่ในร่างกายนี้ ป่าช้าผีดิบก็อยู่ในร่างกายนี้ ป่าช้าผีแห้งผีสดผีร้อยแปดอะไรก็รวมอยู่ในนี้หมด เวลานำไปเผาไปต้มแกงในเตาไฟ ไม่เห็นว่าเป็นป่าช้ากันบ้างเลย แต่กลับว่า“ครัวไฟ” ไปเสีย ความจริงก็คือป่าช้าของสัตว์นั่นแหละ และขนเข้ามาเก็บเอาไว้ที่นี่ (ท้องคน) ในหลุมในบ่ออันนี้เต็มไปหมด นี่ก็คือที่ฝังศพของสัตว์ต่างๆ เราดีๆ นั่นแลถ้าคิดให้เป็นธรรม คือให้ความเสมอภาค เพราะศพใหม่ศพเก่าเกลื่อนอยู่ที่นี่ เมื่อพิจารณาอย่างนี้แล้วจะไม่เกิดความสะอิดสะเอียน ไม่เกิดความสังเวชสลดใจแล้วจะเกิดอะไร? เพราะความจริงเป็นอย่างนั้นแท้ๆ

    พระ พุทธเจ้าทรงสอนให้ถึงความจริง เพราะความจริงมีอยู่อย่างนี้ ถ้าเราไม่ปีนเกลียวกับความจริง ใครๆ ก็จะได้ปลดเปลื้องความยึดมั่นถือมั่นความสำคัญผิด อันเป็นความโง่เขลาเบาปัญญาของตนออกได้เป็นลำดับๆ จิตใจจะมีความสว่างกระจ่างแจ้ง ฉายแสงออกมาด้วยความสง่าผ่าเผยองอาจกล้าหาญต่อความจริง ที่สัมผัสสัมพันธ์กับตนอยู่ตลอดเวลา พอใจรับความจริงทุกแง่ทุกมุมด้วยความเป็นธรรมไม่ลำเอียง แม้ยังละไม่ขาดก็พอมีความเบาใจ มีที่ปลงที่วางบ้าง ไม่แบกหามอุปาทานในขันธ์เสียจนย่ำแย่ตลอดไป แบบภาษิตท่านว่า “คนโง่นั้นหนักเท่าไรยิ่งขนเข้า” “ปราชญ์ท่านเบาเท่าไรยิ่งขนออกจนหมดสิ้น!”

    เมื่อ พิจารณาอย่างนี้แล้ว จงพิจารณาความแปรสภาพของขันธ์ ขันธ์แปรทุกชิ้นทุกอันทุกสัดทุกส่วนบรรดาที่มีในร่างกายนี้ แม้แต่ผมเส้นหนึ่งไม่ได้เว้นเลย แปรสภาพเหมือนกันหมด อันไหนที่เป็นเรา อันไหนที่เป็นของเรา ที่ควรยึดถือ?

    คำว่า “อนตฺตา” ก็เหมือนกัน ยิ่งสอนย้ำความไม่น่ายึดถือเข้าไปอย่างแนบสนิท

    อนตฺตาก็อยู่ในชิ้นเดียวกัน ชิ้นเดียวกันนี่แหละที่เป็นอนตฺตา ไม่ใช่เรา! และของใครทั้งสิ้น! เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง ๆ ที่คละเคล้ากันอยู่ตามธรรมชาติของตน ๆ ไม่สนใจว่าใครจะรักจะชัง จะเกลียดจะโกรธ จะยึดถือหรือปล่อยวาง

    แต่ มนุษย์เรานั้นมือไวใจเร็ว อะไรผ่านมาก็คว้ามับ ๆ ไม่สนใจคิดว่าผิดหรือถูกอะไรบ้างเลย มือไวใจเร็วยิ่งกว่าลิงร้อยตัว แต่มักไปตำหนิลิงว่าอยู่ไม่เป็นสุขกันทั้งโลก ส่วนมนุษย์เองอยู่ไม่เป็นสุข ทุกอิริยาบถเต็มไปด้วยความหลุกหลิก คึกคะนองน้ำล้นฝั่งอยู่ตลอดเวลา ไม่สนใจตำหนิกันบ้างเลย “ธรรม” ที่ท่านสอนไว้ จึงเปรียบเหมือนไม้สำหรับตีมือลิงตัวมือไวใจคะนองนั้นแล!

    “ไตรลักษณ์” มี อนตฺตา เป็นต้น ท่านขู่ไว้ตบไว้ ตีข้อมือไว้ “อย่าไปเอื้อม!” ตบไว้ตีไว้ “อย่าไปเอื้อมว่าเป็นเราเป็นของเรา” นั่น! คำว่า “รูปํ อนตฺตา” ก็อุปมาเหมือนอย่างนั้นเอง “อย่าเอื้อม” “อย่าเข้าไปยึดถือ!” นั่น! ให้เห็นว่ามันเป็นอนตฺตาอยู่แล้ว นั่นแน่ะ! ธรรมชาติของมันเป็นอนตฺตา ไม่เป็นของใครทั้งหมด “อนตฺตา ไม่เป็นตน” ก็บอกอยู่แล้ว นี่คือการพิจารณาร่างกาย

    เอา ละที่นี่กำหนดให้มันสลายไป จะสลายลงไปแบบไหนก็เอาตามความถนัดใจ อันนั้นเปื่อยลง อันนี้เปื่อยลง อันนั้นขาดลง อันนี้ขาดลง กำหนดดูอย่างเพลินใจด้วยปัญญาของตน อันนั้นขาดลง อันนี้ขาดลง ขาดลงไปจนขาดลงไปทุกชิ้นทุกอัน ตั้งแต่กะโหลกศีรษะขาดลงไป กระดูกแต่ละชิ้นละอันเมื่อหนังหุ้มมันเปื่อยลงไปแล้ว เนื้อก็เปื่อยลงไปแล้ว เส้นเอ็นที่ยึดกันขาดเปื่อยลงไปแล้ว มันทนไม่ได้ต้องขาดไป ๆ เพราะมีชิ้นติดชิ้นต่อกันอยู่อย่างนี้ด้วยเอ็นเท่านั้น เมื่อเส้นเอ็นเปื่อยลงไป ส่วนต่างๆ ต้องขาดลงไป ขาด ลงไปกองอยู่กับพื้น และเรี่ยราดกระจัดกระจายเต็มบริเวณ มิหนำยังกำหนดให้แร้งกาหมากินและกัดทิ้งไปทั่วบริเวณ ใจจะมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง

    เอ้า กำหนดดู! ส่วนที่เป็นน้ำมันก็กระจายลงไป ซึมซาบลงไปในดินด้วย เป็นไอขึ้นไปบนอากาศด้วย แล้วก็แห้งเข้าไป ๆ จนไม่ปรากฏสิ่งที่แข็ง เมื่อแห้งเข้าไปแล้วก็กลายเป็นดินตามเดิม ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ซอย ลงไป อันใดก็ตามในธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟนี้ เป็นสิ่งประจักษ์ในทางสัจธรรมด้วยกันทั้งนั้น เราไม่ต้องคิดว่าเราพิจารณาดินชัด แต่ส่วนนั้นไม่ชัดส่วนนี้ไม่ชัด ไม่ต้องว่า พิจารณาให้มันชัดไปส่วนใดส่วนหนึ่งก็ตาม มันต้องทั่วถึงกันหมด เพราะดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นที่เปิดเผยอยู่แล้วในสายตาของเราก็เห็น ภายในร่างกายนี้น้ำเราก็มีอยู่แล้ว ลมคือลมหายใจ เป็นต้น ก็มีชัดๆ เห็นชัดๆ อยู่แล้ว แน่ะ! ไฟคือความอบอุ่นในร่างกายเป็นต้น แน่ะ! ต่างก็มีอยู่แล้วภายในร่างกายนี้ ทำไมจะไม่ยอมรับความจริงของมันด้วยปัญญาอันชอบธรรมเล่า เมื่อพิจารณาหลายครั้งหลายหนมันต้องยอมรับ ฝืนความจริงไปไม่ได้ เพราะต้องการความจริงอยู่แล้วนี่

    พิจารณาลงไป ค้นหาชิ้นใดว่าเป็นเราเป็นของเรา หาดูซิไม่มีเลยแม้แต่ชิ้นเดียว ! มันเป็นสมบัติเดิมของเขาเท่านั้น คือดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นสมบัติเดิมของธาตุต่างๆ นี่ อันหนึ่ง ดูอย่างนี้ จิตสงบแน่วลงไปได้ และไม่ใช่อารมณ์ที่พาให้จิตฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมคะนอง แต่เป็นธรรมที่ทำให้ใจสงบเย็นต่างหาก ท่านจึงสอนให้พิจารณาเนืองๆ จนเป็นที่เข้าใจและชำนาญ

    เมื่อจิตได้เห็นประจักษ์ด้วยปัญญาแล้ว จิตจะเป็นอื่นไปไม่ได้ ต้องถอนตัวเข้าไปสู่ความสงบแน่วแน่อยู่ภายใน ปล่อยความกังวลใดๆ ทั้งหมด นี่เป็นขั้นหนึ่งในการพิจารณาธาตุขันธ์!

    เอ้า วาระต่อไปพิจารณาทุกขเวทนา เฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่เจ็บไข้ได้ป่วย หรือขณะที่นั่งมากๆ เกิดความเจ็บปวดมาก เอาตรงนี้แหละ ! นักรบต้องรบในเวลามีข้าศึก ไม่มีข้าศึกจะเรียกนักรบได้อย่างไร อะไรเป็นข้าศึก? ทุกขเวทนาคือข้าศึกของใจ เจ็บไข้ได้ป่วยมีทุกข์ตรงไหน นั้นแหละคือข้าศึกอยู่แล้ว ถ้าเราเป็นนักรบเราจะถอยไปหลบอยู่ที่ไหน? ต้องสู้จนรู้และชนะด้วยความรู้นี้

    เอ้า เวทนามันเกิดขึ้นจากอะไร? ตั้งแต่เกิดมาจนเราเริ่มนั่งทีแรกไม่เห็นเป็น แต่ก่อนเรายังไม่เริ่มเป็นไข้ ไม่เห็นปรากฏทุกขเวทนาขึ้นมา นี่เวลาเราเจ็บไข้ได้ป่วย ทุกขเวทนาจึงปรากฏขึ้นมา แต่ก่อนนี้มันไปหลบซ่อนอยู่ที่ไหน? ถ้าเป็นตัวของเราจริง จิตเรารู้อยู่ตลอดเวลา ทุกขเวทนาชนิดนี้ทำไมไม่ปรากฏอยู่ตลอดเวลา ทำไมจึงมาปรากฏในขณะนี้? ถ้าทุกขเวทนาเป็นเรา เวลาทุกขเวทนาดับไปทำไมจิตจึงไม่ดับไปด้วย ถ้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจริงๆ ต้องดับไปด้วยกัน จิตยังมีความรู้สึกอยู่ตราบใด ทุกขเวทนาก็ควรจะมีอยู่ตราบนั้น ถ้าเป็นอันเดียวกันแล้วไม่ควรดับไป ต้องพิจารณาดูให้ชัด และแยกดูกายด้วย ขณะที่ทุกข์เกิดขึ้น เช่น เจ็บแข้งเจ็บขา ปวดกระดูกชิ้นนั้นชิ้นนี้ จงกำหนดดูกระดูก ถ้ามันปวดกระดูกเจ็บกระดูกมากๆ ในเวลานั้น

    “กระดูกนี้หรือเป็นตัวทุกข์?” เอ้าถามดู และถามที่ตรงไหนให้จ่อจิตลงที่นั่นด้วยนะ อย่าถามแบบเผอเรอไปต่างๆ ให้ถามด้วย “จ่อจิตเพื่อรู้ความจริง” จ่อจิตแน่วอยู่กับทุกข์ จ้องอยู่ กับกระดูกชิ้นนั้นท่อนนั้นที่เข้าใจว่าเป็นตัวทุกข์ ดูให้ดีว่ากระดูกชิ้นนี้หรือเป็นทุกข์ กำหนดดูเพื่อเป็นข้อสังเกตด้วยปัญญาจริงๆ ถ้ากระดูกนี้เป็นทุกข์จริงๆ แล้ว เวลาทุกข์ดับไปทำไมกระดูกนี้ไม่ดับไปด้วย นั่น! ถ้าเป็นอันเดียวกันจริง เมื่อทุกข์ดับไปกระดูกนี้ต้องดับไปด้วยไม่ควรจะยังเหลืออยู่ แต่นี่เวลาโรคภัยไข้เจ็บหายไป หรือเวลาเราลุกจากที่นั่งภาวนาแล้ว ความเจ็บปวดมากๆ นี้หายไป หรือทุกข์นี้หายไป กระดูกทำไมไม่หายไปด้วยถ้าเป็นอันเดียวกัน นี่แสดงว่าไม่ใช่อันเดียวกัน เวทนาก็ไม่ใช่อันเดียวกันกับกาย กายก็ไม่ใช่อันเดียวกันกับเวทนา กายกับจิตก็ไม่ใช่อันเดียวกัน ต่างอันต่างจริงของเขา แล้วแยกดูให้เห็นชัดเจนตามความจริงนี้ จะเข้าใจความจริงของสิ่งเหล่านี้โดยทางปัญญาไม่สงสัย

    เวทนา จะปรากฏเป็นความจริงของมัน ผลสุดท้ายการพิจารณาก็จะย่นเข้ามา ๆ ย่นเข้ามาสู่จิต เวทนานั้นจะค่อยหดตัวเข้ามา ๆ จากความสำคัญของจิต คือจิตเป็นเจ้าตัวการ จิตเป็นเจ้าของเรื่อง เราก็จะทราบ ทุกขเวทนาในส่วนร่างกายก็ค่อยๆ ยุบยอบ ค่อยดับไป ๆ ร่างกายก็สักแต่ว่าร่างกาย มีจริงอยู่อย่างนั้นตั้งแต่ทุกขเวทนายังไม่เกิด แม้ทุกขเวทนาดับไปแล้ว เนื้อ หนัง เอ็น กระดูก ส่วนไหนที่ว่าเป็นทุกข์ ก็เป็นความจริงของมันอยู่อย่างนั้น มันไม่ได้เป็นทุกข์นี่ กายก็เป็นกาย เวทนาก็เป็นเวทนา ใจก็เป็นใจ กำหนดให้เห็นชัดเจนตามเป็นจริงนี้ เมื่อจิตพิจารณาถึงความจริงแล้วเวทนาก็ดับ นี่ประการหนึ่ง

    ประการที่สอง แม้ เวทนาไม่ดับก็ตาม นี่หมายถึงเวทนาทางกาย แต่ก็ไม่สามารถทำความกระทบกระเทือนให้แก่จิตได้ สุดท้ายใจก็มีความสงบร่มเย็น สง่าผ่าเผยอยู่ในท่ามกลางแห่งทุกขเวทนาซึ่งมีอยู่ภายในร่างกายของเรานี้ จะเป็นส่วนใดหรือหมดทั้งตัวก็ตามที่ว่าเป็นทุกข์ ใจของเราก็ไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึงอะไรทั้งหมด มีความเย็นสบาย เพราะรู้เท่าทุกขเวทนาด้วยปัญญาในเวลานั้น นี่คือการพิจารณาทุกขเวทนาที่ปรากฏผลอีกแง่หนึ่ง

    การ พิจารณาทุกขเวทนา ยิ่งเจ็บปวดมากเท่าใดสติปัญญาเราจะถอยไม่ได้ มีแต่ขยับเข้าไปเรื่อยๆ เพื่อรู้ความจริง ไม่ต้องไปตั้งกฎเกณฑ์ ตั้งความสำคัญมั่นหมายขึ้นว่า “ให้ทุกขเวทนาดับไป” ด้วยความอยากของตนนั้น จะเป็นเครื่องช่วยเสริมทุกขเวทนาให้หนักขึ้นโดยลำดับ ความจริงก็พิจารณาให้เห็นความจริงเท่านั้น ทุกข์ จะดับหรือไม่ก็ตาม ขอให้ทราบความจริงที่เป็นทุกข์หรือเกิดทุกข์ขึ้นมา ด้วยการรู้เท่าทางปัญญาของเราเป็นที่พอใจ เรากำหนดที่ตรงนั้น และสิ่งเหล่านี้มันเกิดมันดับอยู่อย่างนั้นภายในขันธ์

    กายมันเกิดขึ้นมาเป็นเวลาชั่วกาลชั่วระยะก็แตกสลายลงไป ที่เรียกว่า “แตกดับ” หรือ “ตาย” ทุกขเวทนาเกิด ร้อยครั้งพันครั้งในวันหนึ่ง ๆ ก็ดับร้อยครั้งพันครั้งเหมือนกัน จะจีรังถาวรที่ไหน เป็นความจริงของมันอย่างนั้น เอาให้ทราบความจริงของทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนด้วยปัญญาอย่าท้อถอย เลื่อนลอย สัญญามันหมายอะไรบ้าง สัญญานี่เป็นตัวการสำคัญมาก พอสังขารปรุงแพล็บเท่านั้นแหละ สัญญาจะยึดเอาเลย แล้วหมายนั้นหมายนี้ยุ่งไปหมด ที่ว่าพวกก่อกวนพวกยุแหย่ให้เกิดเรื่องนั้นให้เกิดเรื่องนี้ขึ้นมา ก็คือพวกนี้เอง คือพวกสังขารกับพวกสัญญา ที่ สำคัญมั่นหมายว่านั้นเป็นเรานั้นเป็นของเรา หรือนั้นเป็นทุกข์ เจ็บปวดที่ตรงนั้นเจ็บปวดที่ตรงนี้ กลัวเจ็บกลัวตาย กลัวอะไรๆ ไปเสียทุกสิ่งทุกอย่าง กลัวไปหมด คือพวกนี้เป็นผู้หลอกให้กลัว จิตก็เลยหวั่นไปตามและท้อถอยความเพียรแล้วแพ้ นั่น! ความแพ้ดีละหรือ? แม้ แต่เด็กเล่นกีฬาแพ้ เขายังรู้จักอับอายและพยายามแก้มือ ส่วนนักภาวนาแพ้กิเลสแพ้ทุกขเวทนา ไม่อายตัวเองและกิเลสเวทนาบ้าง ก็นับจะด้านเกินไป

    จงทราบว่าเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอาการหนึ่งๆ ของจิตที่แสดงออกเท่านั้น เกิดขึ้นแล้วก็ดับ “สญฺญา อนตฺตา” นั่น ! มันก็เป็นอนตฺตาอย่างนั้นเอง แล้วไปถือมันยังไง ไปเชื่อมันยังไงว่าเป็นเราเป็นของเรา ว่าเป็นความจริง จงกำหนดตามให้รู้อย่างชัดเจน ด้วยสติปัญญาอันห้าวหาญชาญชัย ใจเพชรเด็ดดวงไม่ย่อท้อง้อกิเลสและเวทนาทั้งมวล สังขารความปรุง เพียง ปรุงแพล็บๆๆ “ขึ้นมาภายในใจ” ใจกระเพื่อมขึ้นมา “แย็บๆๆ” ชั่วขณะ เกิดขึ้นในขณะไหนมันก็ดับไปขณะนั้น จะเอาสาระแก่นสารอะไรกับสังขารและสัญญาอันนี้เล่า

    วิญญาณเมื่อ มีอะไรมาสัมผัส ก็รับทราบแล้วดับไป ๆ ผลสุดท้ายก็มีแต่เรื่องเกิดเรื่องดับเต็มขันธ์อยู่อย่างนี้ ไม่มีอันใดที่จีรังถาวรพอเป็นเนื้อเป็นหนังแก่ตัวเราอย่างแท้จริงได้เลย หาชิ้นสาระอันใดไม่ได้ในขันธ์อันนี้ เรื่องปัญญาจงพิจารณาให้เห็นชัดโดยทำนองนี้ จะเห็น “ธรรมของจริง” ดังพระพุทธเจ้าสอนไว้ไม่เป็นอื่นมาแต่กาลไหนๆ ทั้งจะไม่เป็นอื่นไปตลอดกาลไหนๆ อีกเช่นกัน

    เมื่อ พิจารณาจนถึงขนาดนี้แล้ว ทำไมจิตจะไม่หดตัวเข้ามาสู่ความสงบจนเห็นได้ชัดเจนเล่า ต้องสงบและต้องเด่น ความรู้สึกที่จิตนี้ต้องเด่นดวงเพราะหดตัวเข้ามา เพราะความเห็นจริงในสิ่งนั้นๆ แล้ว จิตต้องเด่น เวทนา จะกล้าแสนสาหัส ก็จะสลายไปด้วยการพิจารณาเห็นประจักษ์อยู่กับจิตแล้วตามความจริง ถ้าไม่ดับก็ต่างคนต่างจริงใจ ก็มีความสง่าผ่าเผยอาจหาญอยู่ภายในไม่สะทกสะท้าน ถึงกาลจะแตกก็แตกไปเถอะ ไม่มีอะไรสะทกสะท้านแล้ว เพราะเรื่องแตกไปนั้นล้วนแต่เรื่องของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งนั้น ไม่ใช่เรื่องผู้รู้คือใจนี้แตกไป ไม่ใช่ผู้รู้คือใจนี้ตายไป! มีแต่สิ่งเหล่านั้นเท่านั้นที่แตกดับสลายลงไป มีความสำคัญมั่นหมายของใจที่หลอกตนเองนี้เท่านั้นทำให้กลัว ถ้าจับจุดแห่งความสำคัญมั่นหมายนี้ว่าเป็นตัวมารยาที่ไม่น่าเชื่อถือแล้ว จิตก็ถอยตัวเข้ามาไม่เชื่อสิ่งเหล่านี้ แต่เชื่อความจริงเชื่อปัญญาที่พิจารณาโดยตลอดทั่วถึงแล้ว

    เอ้า เมื่อจิตพิจารณาหลายครั้งหลายหนไม่หยุดไม่ถอย ความชำนิชำนาญในขันธ์ห้าจะปรากฏขึ้น รูปขันธ์จะถูกปล่อยไปก่อนด้วยปัญญาในขั้นเริ่มแรกพิจารณารูปขันธ์ ปัญญาจะรู้เท่าก่อนขันธ์อื่นและปล่อยวางรูปได้ จาก นั้นก็ค่อยปล่อยเวทนาได้ สัญญาได้ สังขารได้ วิญญาณได้ในระยะเดียวกัน คือรู้เท่า พูดง่ายๆ พอรู้เท่าก็ปล่อยวาง ถ้ายังไม่รู้เท่ามันก็ยึด พอรู้เท่าด้วยปัญญาแล้วก็ปล่อย ปล่อยไปหมด เพราะเห็นแต่จิตกระเพื่อมแย็บๆๆ ไม่มีสาระอะไรเลย คิดดีขึ้นมาก็ดับ คิดชั่วขึ้นมาก็ดับ คิดอะไรๆ ขึ้นมาขึ้นชื่อว่าสังขารปรุงแล้วดับด้วยกันทั้งนั้นร้อยทั้งร้อย ไม่มีอะไรตั้งอยู่ได้นานพอจะเป็นสาระแก่นสารให้เป็นที่ตายใจได้เลย

    แล้ว มีอะไรที่คอยป้อนหรือผลักดันสิ่งเหล่านี้ออกมาเรื่อยๆ เดี๋ยวผลักดันสิ่งเหล่านี้และสิ่งเหล่านั้นออกมาหลอกเจ้าของอยู่เรื่อย นี่แหละท่านว่า “ประภัสสรจิต” จิตเดิมแท้ผ่องใส ภิกษุทั้งหลาย แต่อาศัยความคละเคล้าของกิเลส หรือความจรมาของกิเลส มาจากรูปเสียงกลิ่นรส จากเครื่องสัมผัสต่างๆ จรมาจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ความสำคัญมั่นหมายต่างๆ ไปกว้านเอามาเผาลนตัวเองนี่แหละ ที่มาทำให้จิตเศร้าหมอง เศร้าหมองด้วยสิ่งเหล่านี้เอง

    ดัง นั้นการพิจารณา จึงเพื่อจะถอดถอนสิ่งเหล่านี้ออกเพื่อเปิดเผยตัวจิตขึ้นมาด้วยปัญญาอย่าง ประจักษ์ จึงจะเห็นได้ว่า ในขณะจิตที่ยังไม่ได้ออกเกี่ยวข้องกับอารมณ์ใดๆ เพราะเครื่องมือคืออายตนะยังไม่สมบูรณ์ ยังอ่อนอยู่ จิตประเภทนี้ย่อมสงบตัวและผ่องใส ที่เรียกว่า “จิตเดิมเป็นจิตผ่องใส” แต่เป็นจิตเดิมของ “วัฏจักร” เช่นจิตเด็กแรกเกิดนั้นแล ซึ่งความเคลื่อนไหวต่างๆ ยังไม่สมบูรณ์พร้อมพอรับอารมณ์ต่างๆ ได้เต็มที่ ไม่ใช่จิตเดิมของวิวัฏจักรที่บริสุทธิ์เต็มที่แล้ว

    ที นี้เวลาพิจารณารอบไปโดยลำดับแล้ว อาการของกิเลสที่เคยเพ่นพ่านจะรวมตัวเข้าสู่จุดนั้น เป็นความผ่องใสขึ้นมาภายในใจ และความผ่องใสนี้แล แม้แต่เครื่องมือประเภท “มหาสติ มหาปัญญา” ก็ยังต้องลุ่มหลงความผ่องใสในระยะเริ่มแรกที่เจอกัน เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่เคยพบมาก่อนเลย นับแต่วันเกิดและเริ่มแรกปฏิบัติ จึงเกิดความแปลกประหลาดและอัศจรรย์ ดูเหมือนสง่าผ่าเผยไม่มีอะไรจะเปรียบเทียบได้ในขณะนั้น ก็จะไม่สง่าผ่าเผยยังไง เพราะเป็น “ราชาแห่งวัฏจักร” ทั้งสามโลก คือกามโลก รูปโลก อรูปโลก มาแล้วเป็นเวลานานแสนกัปนับไม่ได้โน่นน่ะ เป็นผู้มีอำนาจเหนือจิต ครอบครองจิตอยู่ตลอดมา ในเวลาที่จิตยังไม่มีสติปัญญาเพื่อ ถอนตัวออกจากใต้อำนาจนั้น ก็จะไม่สง่าผ่าเผยยังไง! จึงสามารถบังคับถูไถจิตให้ไปเกิดในที่ต่างๆ โดยไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ แล้วแต่อำนาจแห่ง “วิบากกรรม” ที่ตนสร้างไว้มากน้อย เพราะกิเลสประเภทนางบังเงาเป็นผู้บงการ ความที่สัตว์โลกเร่ร่อนเกิดตายอยู่ไม่หยุด ก็เพราะธรรมชาตินี้แลทำให้เป็นไป

    เมื่อ เป็นเช่นนั้นจึงต้องพิจารณาให้เห็นชัด ความจริงแล้ว “ความผ่องใส” กับ “ความเศร้าหมอง” เป็นของคู่กัน เพราะต่างก็เป็นสมมุติด้วยกัน ความผ่องใสเพราะการรวมตัวของกิเลสต่างๆ นี้ จะเป็นจุดให้เราทราบได้อย่างชัดเจนว่า “นี้ คือจุดแห่งความผ่องใส” เมื่อมีความเศร้าหมองขึ้นมา ตามสภาพของจิตหรือตามขั้นภูมิของจิต ก็จะเกิดความทุกข์อันละเอียดในลักษณะเดียวกันขึ้นมาในจุดที่ว่าผ่องใสนั้นแล ความผ่องใส ความเศร้าหมอง และความทุกข์อันละเอียด ทั้ง สามนี้เป็นสหายกัน คือเป็นคู่กัน เพราะฉะนั้นจิตที่เป็นความผ่องใสนี้ จึงต้องมีความพะวักพะวนระมัดระวังรักษาอยู่ตลอดเวลา กลัวจะมีอะไรมารบกวนให้กระทบกระเทือน และทำให้จิตที่ผ่องใสนี้เศร้าหมองไป แม้จะเป็นความเศร้าหมองอันละเอียดเพียงใด แต่เป็นเรื่องของกิเลสที่ผู้ปฏิบัติทั้งหลายไม่ควรนอนใจทั้งนั้น จำต้องพิจารณาด้วยปัญญาอยู่ไม่หยุดหย่อน

    เพื่อให้ตัดภาระกังวลลงไปโดยเด็ดขาด จงตั้งปัญหาถามตัวเองว่า “ความผ่องใสนี้คืออะไร?” จงกำหนดให้รู้ ไม่ต้องกลัวความผ่องใสนี้จะฉิบหายวายปวงไป แล้ว “เราที่แท้จริง” จะล่มจมฉิบหายไปด้วย การ พิจารณาจงกำหนดลงไปในจุดนั้นให้เห็นชัดเจน ความผ่องใสนี้ก็เป็น “อนิจจลักขณะ ทุกขลักขณะ อนัตตลักขณะ” เหมือนกันกับสภาพธรรมทั้งหลายที่เราเคยพิจารณามาแล้วไม่มีอะไรผิดกันเลย นอกจากมีความละเอียดต่างกันเท่านั้น จึงไม่ควรไว้ใจกับอะไรทั้งสิ้นขึ้นชื่อว่า “สมมุติ” แล้ว ปัญญาให้ฟาดฟันลงไป กำหนดลงไปที่ตัวจิตนี่แหละ สิ่งจอมปลอมแท้ๆ มันอยู่ที่ตัวจิตนี้เอง ความผ่องใสนั่นแหละคือตัวจอมปลอมแท้ ! และ เป็นจุดเด่นที่สุดในเวลานั้นแทบไม่อยากแตะต้องทำลาย เพราะเป็นสิ่งที่รักสงวนมากผิดสิ่งอื่นใด ในร่างกายนี้ไม่มีอะไรที่จะเด่นยิ่งไปกว่าความผ่องใสนี้ จนถึงกับให้เกิดความอัศจรรย์ ให้เกิดความรักความสงวนอ้อยอิ่งอยู่ภายใน ไม่อยากจะให้อะไรมาแตะต้อง นั่นน่ะ จอมกษัตริย์คืออวิชชา !

    เคย เห็นไหม? ถ้าไม่เคยเห็น เมื่อปฏิบัติมาถึงจุดนี้ ก็จะหลงเองแล้วก็จะรู้เอง ไม่มีใครบอกก็รู้เมื่อสติปัญญาพร้อมแล้ว นี่แหละท่านเรียกว่า “อวิชชา” คือตรงนี้ที่เป็นอวิชชาแท้ ไม่ใช่อะไรเป็นอวิชชาแท้ อย่าพากันวาดภาพ “อวิชชา” เป็นเสือโคร่งเสือดาว หรือเป็นยักษ์เป็นมารไป ความจริงแล้วอวิชชา ก็คือนางงามจักรวาลที่น่ารักน่าหลงใหลใฝ่ฝันของโลกดีๆ นี่เอง อวิชชาแท้กับความคาดหมายผิดกันมากมาย เมื่อเข้าถึงอวิชชาแท้แล้ว เราไม่ทราบว่าอวิชชาคืออะไร? จึงมาติดกันอยู่ที่ตรงนี้ ถ้าไม่มีผู้แนะนำสั่งสอน ไม่มีผู้ให้อุบาย จะต้องติดอยู่เป็นเวลานานๆ กว่าจะรู้ได้พ้นได้ แต่ถ้ามีผู้ให้อุบายแล้วก็พอเข้าใจและเข้าตีจุดนั้นได้ ไม่ไว้ใจกับธรรมชาตินี้ การพิจารณาต้องพิจารณาเช่นเดียวกับสภาวธรรมทั้งหลาย

    เมื่อ พิจารณาด้วยปัญญาอันแหลมคมจนรู้เห็นประจักษ์แล้ว สภาพนี้จะสลายตัวลงไปโดยไม่คาดฝันเลย ขณะเดียวกันจะเรียกว่า “ล้างป่าช้าของวัฏจักรของวัฏจิตสำเร็จเสร็จสิ้นลงแล้วใต้ต้นโพธิ์ คือความรู้แจ้งเห็นจริง” ก็ไม่ผิด เมื่อธรรมชาตินี้สลายตัว ลงไปแล้ว สิ่งที่อัศจรรย์ยิ่งกว่าธรรมชาตินี้ซึ่งถูกอวิชชาปกปิดเอาไว้ จะเปิดเผยขึ้นมาอย่างเต็มตัวเต็มภูมิทีเดียว นี้แลที่ท่านว่า “เหมือนโลกธาตุหวั่นไหว” กระเทือนอยู่ภายในจิต เป็นขณะจิตที่สำคัญมากที่ขาดจาก “สมมุติ” ระหว่าง “วิมุตติกับสมมุติขาดจากกัน” เป็นความอัศจรรย์สุดจะกล่าว ที่ท่านว่า “อรหัตมรรคพลิกตัวเข้าถึงอรหัตผล” หมายความถึงขณะจิตขณะนี้เอง ขณะที่อวิชชาดับไปนั้นแล! ท่านเรียกว่ามรรคสมบูรณ์เต็มที่แล้ว ก้าวเข้าถึงอรหัตผล “อันเป็นธรรมและจิตที่สมบูรณ์แบบ” จากนั้นก็หมดปัญหา

    คำ ว่า “นิพพานหนึ่ง” ก็สมบูรณ์อยู่ภายในจิตดวงนี้ ขณะที่อวิชชากำลังสลายตัวลงไปนั้น ท่านเรียกว่า “มรรคกับผลก้าวเข้าถึงกัน” ซึ่งเป็นธรรมคู่ ถ้าเปรียบกับการเดินขึ้นบันได เท้าข้างหนึ่งกำลังเหยียบอยู่บันไดขั้นสุด เท้าอีกข้างหนึ่งก้าวขึ้นไปเหยียบบนบ้านแล้ว แต่ยังไม่ได้ก้าวขึ้นไปทั้งสองเท้าเท่านั้น พอก้าวขึ้นไปบนบ้านทั้งสองเท้าแล้ว นั้นแลเรียกว่า “ถึงบ้าน” ถ้าเป็นจิตก็เรียกว่า “ถึงธรรม” หรือบรรลุธรรมขั้นสุดยอด ขณะเดียวกับการบรรลุธรรมสิ้นสุดลง” ท่านเรียกว่า “นิพพานหนึ่ง” คือเป็นอิสระอย่างเต็มที่แล้ว ไม่มีกิริยาใดที่แสดงอีกต่อไปในการถอดถอนกิเลส นั่นท่านเรียกว่า “นิพพานหนึ่ง” จะว่า “อรหัตผล” ก็ได้ เพราะไม่มีกิเลสตัวใดมาแย้งแล้ว “นิพพานหนึ่ง” ก็ได้ แต่เมื่อจะแยกให้เป็นสมมุติโดยสมบูรณ์ตามหลักธรรมชาติ ไม่ให้มีความบกพร่องโดยทางสมมุติแล้ว ต้องว่า “นิพพานหนึ่ง” ถึงจะเหมาะเต็มภูมิ “สมมุติ” กับ “วิมุตติ” ในวาระสุดท้ายแห่งการล้างป่าช้าของ “จิตอวิชชา”

    พระพุทธเจ้าท่านว่า “นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ” สุขอื่นนอกจากความสงบไม่มี นี้หมายถึงความเป็นผู้สิ้นกิเลสของผู้ได้ “สอุปาทิเสสนิพพาน” ซึ่งยังทรงขันธ์อยู่ ดังพระอรหันต์ท่าน

    การ ปฏิบัติศาสนาคือการปฏิบัติต่อจิตใจเราเอง ใครเป็นผู้รับทุกข์รับความลำบาก เป็นผู้ต้องหาถูกจองจำอยู่ตลอดเวลา คือใคร? ใครเป็นผู้ถูกจองจำถ้าไม่ใช่จิต! ใครเป็นผู้จองจำจิตถ้าไม่ใช่กิเลสอาสวะทั้งปวง! การแก้ก็ต้องแก้ที่ตัวของข้าศึกที่มีต่อจิตใจนั้นด้วยปัญญา มีปัญญาอันแหลมคมเท่านั้นที่จะสามารถแก้กิเลสได้ทุกประเภท จนกระทั่งสลายตัวเองไปดังที่กล่าวมาแล้ว หมดปัญหาใดๆ ทั้งสิ้น !

    เรื่องรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นแต่เพียงอาการ ๆ เท่านั้น ไม่อาจมากระทบกระเทือนจิตใจให้กำเริบได้อีกเลย รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส ก็เช่นเดียวกัน ต่างอันต่างจริง ต่างอันต่างว่า “มี ก็มี ไม่มีก็ไม่มีปัญหาอะไร มีแต่จิตไปสำคัญมั่นหมายเพราะความโง่เขลาของตน เมื่อจิตฉลาดพอตัวแล้ว จิตก็จริง สภาวธรรมทั้งหลายทั้งในและนอกก็จริง ต่างอันต่างจริงไม่ขัดแย้งกัน ไม่เกิดเรื่องกันดังที่เคยเป็นมา

    เมื่อ ถึงขั้นต่างอันต่างจริงแล้วก็เรียกได้ว่า “สงครามกิเลสกับจิตเลิกรากันแล้ว ถึงกาลสลายก็สลายไป เมื่อยังไม่ถึงกาลก็อยู่ไปดังโลกๆ เขาอยู่กัน แต่ไม่โกรธกันเหมือนโลกเขาเพราะได้พิจารณาแล้ว

    คำว่า “อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา” ถ้าไม่หมายถึงขันธ์ที่เรารับผิดชอบนี้จะหมายถึงอะไร? เราก็เรียนจบแล้ว คือจบ “ไตรลักษณ์” ไม่ใช่จบพระไตรปิฎก แต่พระไตรปิฎกก็คือพระไตรลักษณ์อยู่นั่นเอง เนื่องจากพระไตรปิฎกพรรณนาเรื่องของพระไตรลักษณ์ตลอดเรื่อง

    อนิจฺจํ คือความแปรสภาพ ทุกฺขํ อนตฺตา ก็ไม่ใช่เราอยู่แล้ว ยังอยู่ก็ไม่ใช่เรา ตายแล้วจะไปยึดอะไร เมื่อทราบความจริงอย่างนี้แล้วก็ไม่หวั่นไหวพรั่นพรึง ทั้งความเป็นอยู่แห่งขันธ์ ทั้งความสลายไปแห่งขันธ์ จิตเป็นแต่เพียงรู้ไปตามอาการที่ขันธ์เคลื่อนไหวและแตกสลายไปเท่านั้น ธรรมชาตินี้ไม่ได้ฉิบหายไปตามธาตุขันธ์ จึงไม่มีอะไรที่น่ากลัวในเรื่องความตาย เอ้า จะตายเมื่อไรก็ตายไปไม่ห้าม ยังอยู่ก็อยู่ไปไม่ห้าม เพราะเป็นความจริงด้วยกัน

    การ เรียนให้จบเรื่องความตายเป็นยอดคน คือยอดเรา ผู้เรียนจบเรื่องความตายแล้วไม่กลัวตาย ยังเป็นอยู่ก็อยู่ไป ถึงวาระที่ตายก็ตายไป เพราะได้กางข่ายด้วยปัญญาไว้รอบด้านแล้ว เราจะไม่หวั่นไหวต่อความจริงนั้นๆ ซึ่งรู้อยู่กับใจทุกวันเวลานาทีอยู่แล้วโดยสมบูรณ์


    ที่มาอ้างอิง Luangta.Com -
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192

    ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ

    ในความหมายคำว่า “จิตเที่ยง” ที่เข้าข่ายสัสสตทิฐินั้น หมายถึง
    ผู้ที่มีความเชื่อไปว่า เคยเกิดมาเป็นอย่างไร
    เมื่อตายไปแล้ว ก็จะกลับมาเกิดเป็นอย่างนั้นเหมือนเดิมอีก
    ไม่ว่าจะเกิด-ตายอีกกี่หนกี่ครั้ง(กี่ภพ กี่ชาติ)ก็ตาม
    ก็จะกลับเกิดมาเป็นอย่างเดิมไม่มีเปลี่ยนแปลง
    โดยที่บาปบุญคุณโทษไม่มีผลต่อการเกิดในแต่ละครั้ง
    ซึ่งเป็นมิจฉาทิฐิ ฝ่ายสัสสตทิฐิ

    ส่วนพวกที่เข้าใจว่า เมื่อตายลงไปแล้วนั้น
    จิตที่บันทึกกรรมครั้งสุดท้ายที่มาประชิดจิต เป็นคติเครื่องไปสู่ภพภูมิต่างๆ
    ตามกรรมดี กรรมชั่ว ที่บันทึกลงที่จิตในวาระสุดท้ายก่อนตาย
    จิตที่ไปเกิดนั้น ก็เป็นจิตใครจิตเค้าที่ทำกรรมดี กรรมชั่ว
    เป็นคติเครื่องไปของสัตว์(ผู้ข้องในอารมณ์)ทั้งหลาย
    ความเข้าใจอย่างนี้ย่อมเป็น สัมมาทิฐิ

    เหมือนน้ำที่สะอาดได้รับการปนเปื้อนจากสิ่งต่างๆ
    ถ้าน้ำปนเปื้อนสิ่งที่ดี ก็ได้อยู่ในที่ๆหรือภาชนะที่ดี
    ถ้าปนเปื้อนสิ่งสกปรกโสมม ก็ต้องอยู่ที่ๆหรือภาชนะที่ไม่ดี(ไม่ประณีต)

    ส่วนความเข้าใจที่ว่า การไปเกิด เป็นจิตดวงใหม่
    ที่ได้รับการสืบต่อจากจิตดวงเก่า เพื่อไปเกิดใหม่นั้น
    เป็นพวกมิจฉาทิฐินอกพุทธศาสนา

    ขอถามว่า การจะสืบต่อได้นั้น ถ้าพิจารณาตามหลักความเป็นจริงแล้ว
    จิตดวงเก่าต้องยังไม่ดับในทันที เพื่อรอจิตดวงใหม่มาเกิดก่อน
    จึงจะส่งต่อหรือสืบต่อกรรมดี กรรมชั่วให้ได้

    เมื่อเรามาพิจารณาให้ดีแล้ว เป็นการพูดขัดแย้งกันเองว่า
    “จิตใจอัตภาพร่างกายนี้เกิดแล้วดับไป เกิดจิตอีกดวงนึงในร่างกายใหม่
    คนละดวงกัน ไม่ใช่ดวงเดิม แต่มันสืบเนื่องกันไป”


    เมื่อจิตเกิด-ดับไปแล้วจะเอาช่วงเวลาตรงไหน มาถ่ายทอดกรรมดี กรรมชั่วกันล่ะ
    ก็อย่างที่บอกไว้ในตอนต้นว่า จิตดวงเก่ายังจะดับไปไม่ได้หรอก
    ต้องรอจิตดวงใหม่เกิดขึ้นมาก่อน จึงสืบต่อกรรมดี กรรมชั่วกันได้
    ซึ่งก็เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะจะมีจิตพร้อมกัน ๒ ดวงในเวลาเดียวกันไม่ได้



    อีกเหตุผลนึงที่รองรับว่า จิตมีดวงเดียวเท่านั้นของใครของเค้า
    เพราะ อวิชชาจะเกิด-ดับไปตามจิตไม่ได้
    อวิชชาจะดับได้เพียงสถานเดียวเท่านั้น คือต้องปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา
    จนกระทั่งจิตเกิดปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง
    เมื่อวิชชาเกิดขึ้น อวิชชาจึงจะดับไปครับ
    ถ้าจิตเกิด-ดับจริง อวิชชาก็ต้องเกิดดับไปตามจิตด้วยสิ ซึ่งเป็นไปไม่ได้

    ดังมีพุทธวจนะรับรองไว้ว่า จิตไม่เคยดับตายหายสูญ
    มีพุทธพจน์ในมหาปรินิพพานสูตร ว่าไว้ดังนี้:

    “จตุนฺนํ อริยสจฺจานํ ยถาภูตํ อทสฺสนา,
    สงฺสริตํ ทีฆมทฺธานํ ตาสุตาเสว ชาติสุ
    ความเวียนว่ายของเรา
    เข้าไปในชาติน้อยใหญ่ทั้งหลายอันยาวนานนับไม่ถ้วนนั้น
    เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ดังนี้”


    หมายความว่า
    จิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เข้าไปเวียนว่าย
    จากพระชาติหนึ่งไปยังอีกพระชาติหนึ่งติดต่อกันไปหลายพระชาติ
    เป็นเวลาอันยาวนานนับไม่ถ้วนก่อนทรงตรัสรู้
    และจิตของพระองค์ได้ยืนตัวเป็นประธานทุกชาติ
    ไม่ว่าจะเปลี่ยนพระชาติไปกี่ครั้งกี่หนก็ตาม.


    ทั้งนี้แสดงว่า จิตเป็นสภาพธรรมที่ไม่ได้ดับตายหายสูญ
    พระพุทธองค์ทรงระลึกพระชาติได้ทุกพระชาติก่อนที่จะตรัสรู้
    เป็นการแสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า
    จิตดวงเดียวกันนี้ที่เวียนว่ายเข้าไปสู่ภพน้อยใหญ่อันยาวนานนับไม่ถ้วน
    ถ้าเป็นจิตคนละดวงแล้ว พระองค์จะทรงระลึกชาติของจิตดวงอื่นได้หรือครับ???


    ;aa24
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ตลกเฝื่อน

    อยู่ดีๆ ก็ไปปรักปรำลอยๆว่า "อริยไซเบอร์" เป็นคำของคนๆนั้น
    เป็นคำของคนๆนี้ นี่คุณจะให้ผมหัวเราะ กับความไร้ขื่อไร้แปที่
    คุณทำอย่างงั้นเหรอ
     
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อีกเหตุผลนึงที่รองรับว่า จิตมีดวงเดียวเท่านั้นของใครของเค้า
    เพราะ อวิชชาจะเกิด-ดับไปตามจิตไม่ได้
    อวิชชาจะดับได้เพียงสถานเดียวเท่านั้น คือต้องปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา
    จนกระทั่งจิตเกิดปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง
    เมื่อวิชชาเกิดขึ้น อวิชชาจึงจะดับไปครับ
    ถ้าจิตเกิด-ดับจริง อวิชชาก็ต้องเกิดดับไปตามจิตด้วยสิ ซึ่งเป็นไปไม่ได้

    ดังมีพุทธวจนะรับรองไว้ว่า จิตไม่เคยดับตายหายสูญ
    มีพุทธพจน์ในมหาปรินิพพานสูตร ว่าไว้ดังนี้:

    “จตุนฺนํ อริยสจฺจานํ ยถาภูตํ อทสฺสนา,
    สงฺสริตํ ทีฆมทฺธานํ ตาสุตาเสว ชาติสุ
    ความเวียนว่ายของเรา
    เข้าไปในชาติน้อยใหญ่ทั้งหลายอันยาวนานนับไม่ถ้วนนั้น
    เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ดังนี้”

    หมายความว่า
    จิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เข้าไปเวียนว่าย
    จากพระชาติหนึ่งไปยังอีกพระชาติหนึ่งติดต่อกันไปหลายพระชาติ
    เป็นเวลาอันยาวนานนับไม่ถ้วนก่อนทรงตรัสรู้
    และจิตของพระองค์ได้ยืนตัวเป็นประธานทุกชาติ
    ไม่ว่าจะเปลี่ยนพระชาติไปกี่ครั้งกี่หนก็ตาม.

    ทั้งนี้แสดงว่า จิตเป็นสภาพธรรมที่ไม่ได้ดับตายหายสูญ
    พระพุทธองค์ทรงระลึกพระชาติได้ทุกพระชาติก่อนที่จะตรัสรู้
    เป็นการแสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า
    จิตดวงเดียวกันนี้ที่เวียนว่ายเข้าไปสู่ภพน้อยใหญ่อันยาวนานนับไม่ถ้วน
    ถ้าเป็นจิตคนละดวงแล้ว พระองค์จะทรงระลึกชาติของจิตดวงอื่นได้หรือครับ???

    คลิกอ่านเต็มๆได้ที่นี่ครับ
    ดูจิตโดยไม่รู้จักจิตที่แท้จริงแล้ว ย่อมเข้าใจผิดคิดว่าจิตเป็นปูเสฉวน

    มีตัวอย่างบทความที่ขัดแย้งกับพระพุทธวจนะ
    แถมยังกล่าวร้ายพระพุทธพจน์ให้เสียหายว่าเป็นมิจฉาทิฐิ ชื่อว่าสัสสตทิฐิ

    ใครกันแน่ที่เป็นมิจฉาทิฐิ ชื่อว่าสัสสตทิฐิ

    แถมยังเปรียบเทียบเกิด-ตายของจิตเป็นเช่นปูเสฉวน
    โดยไม่พิจารณาให้รอบคอบว่าเป็นไปได้มั้ย???


    ;aa24
     
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เมื่อจิตเกิดดับ ไม่คงทน ตกอยู่ในไตรลักษณ์
    ดังนั้น จะยึดถือเอา จิต เป็นตนไม่ได้ ตามพระสูตรด้านล่างนี้
    [๒๓๐] ท่านแสดงไม่ให้ยึดรูป เป็นตน (โดยย่อ)
    [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    **ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า

    แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่**
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง

    สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อม

    ปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้น

    นั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ

    โดย : ยังหวังดี วันที่: 26 มกราคม 2553 เวลา: 19:54:55 น.
    ................................
    ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ
    การยกพระสูตรมา โดยไม่เคยเทียบเคียงกับพระสูตรอื่น ย่อมทำให้เข้าใจผิดพลาด
    พระสูตรก็ชัดเจนอยู่แล้วว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ ปุถุชนผู้มิได้สดับ ปุถุชนผู้มิได้สดับๆๆๆๆๆ

    ในพระสูตรต่างๆที่กล่าวถึงปุถุชนนั้น ย่อมต้องกล่าวถึงพระอริยะสาวกเป็นคู่เทียบทุกครั้งไป
    แต่ในพระสูตรนี้ กล่าวถึงแต่ปุถุชนยึดเอากายที่ประชุมด้วยธาตุ๔นี้ดีกว่ายึดจิตเป็นตน ก็ไม่แปลกอะไร?
    เพราะกายนี้เห็นได้ง่าย เมื่อมีการเปลียนแปลงไป ส่วน"จิต"ในพระสูตรนั้นหมายถึงจิตสังขาร

    ส่วนพระสูตรไม่ได้ทรงกล่าวถึงพระอริยะสาวกนั้น เพราะว่าจิตไม่ต้องยึดอะไรกับมัน
    จิตก็มีอยู่ในคนทุกๆคน มีกันคนละดวง ไม่มีใครที่มีจิตเกินกว่าหนึ่งดวงแน่นอน
    และจิตก็ยืนตัวรู้ เห็นอาการของจิตที่เกิดดับไปตามอารมณ์ต่างๆที่เข้ามาครอบงำจิต

    จิตเป็นต้นนั้น ความหมายที่ทรงแสดงเช่นเดียวกับน้ำเป็นต้นนั้น
    เช่น น้ำแกงบ้าง น้ำแดงบ้าง ต้มยำบ้างฯลฯ น้ำเป็นต้นนั้น น้ำเหล่านี้ล้วนเป็นน้ำที่ถูกผสมแล้วทั้งนั้น
    แล้วน้ำบริสุทธิ์ที่ไม่มีสิ่งอื่นปนเปื้อนเป็นตัวยืนหละอยู่ไหน ใช่อยู่ในน้ำเป็นต้นนั้นมั้ย?


    ;aa24


     
  11. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    อนุโมทนา พี่วิสุทโธ อนุโมทนาสาธุ หลวงตาบัว

    ด้วยปัญญาน้อยขนาดเรา เห็นสายดับแค่

    อวิชชาดับ สังขารจึงดับ
    สังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    นามรูปดับ ทุกข์จึงดับ(นิพพาน)

    สักครั้ง ก็บุญโขแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2010
  12. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    [๔๐๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ จิตตภาวนาท่านได้ฟังมาแล้ว
    อย่างไร?

    สัจจกนิครนถ์ อันพระผู้มีพระภาคตรัสถามในจิตตภาวนา ไม่อาจทูลบอกได้.
    ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกะสัจจกนิครนถ์ดังนี้ว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ กายภาวนา
    ก่อนนั้นท่านเจริญแล้ว แม้กายภาวนานั้น ไม่ประกอบด้วยธรรมในอริยวินัย ท่านยังไม่รู้จักแม้
    กายภาวนา จักรู้จักจิตตภาวนาแต่ไหน

    ดูกรอัคคิเวสสนะ บุคคลที่มีกายมิได้อบรมแล้ว มีจิตมิได้
    อบรมแล้ว และที่มีกายอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้ว เป็นได้ด้วยเหตุอย่างไร
    ท่านจงฟังเหตุนั้นเถิดจงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว.
    สัจจกนิครนถ์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

    [๔๐๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ ก็บุคคลที่มีกายมิได้อบรม มีจิตมิได้
    อบรม เป็นอย่างไร?
    ดูกรอัคคิเวสสนะ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้มิได้สดับ
    มีสุขเวทนาเกิดขึ้น เขาถูกสุขเวทนากระทบเข้าแล้ว มีความยินดีนักในสุขเวทนา
    และถึงความเป็นผู้ยินดีนักในสุขเวทนา
    สุขเวทนาของเขานั้นย่อมดับไปเพราะสุขเวทนาดับ ก็มีทุกขเวทนาเกิดขึ้น
    เขาถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ก็เศร้าโศก ลำบากใจ รำพัน คร่ำครวญ ตบอก ถึงความหลงไหล
    แม้สุขเวทนานั้นเกิดขึ้นแก่เขาแล้ว ก็ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่มิได้อบรมกาย
    แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้นแล้วก็ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่มิได้อบรมจิต
    ดูกรอัคคิเวสสนะ แม้สุขเวทนาเกิดขึ้นแก่ปุถุชนคนใดคนหนึ่ง ก็ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่มิได้อบรมกาย
    แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ก็ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่มิได้อบรมจิตทั้งสองอย่างดังนี้
    ดูกรอัคคิเวสสนะ บุคคลที่มีกายมิได้อบรม มีจิตมิได้อบรม เป็นอย่างนี้แหละ.

    ดูกรอัคคิเวสสนะ ก็บุคคลที่มีกายอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้วเป็นอย่างไร?
    ดูกรอัคคิเวสสนะ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ
    มีสุขเวทนาเกิดขึ้น เขาถูกสุขเวทนากระทบเข้าแล้ว ไม่มีความยินดีนักในสุขเวทนา
    และไม่ถึงความเป็นผู้ยินดีนักในสุขเวทนา สุขเวทนาของเขานั้นย่อมดับไป
    เพราะสุขเวทนาดับ ก็มีทุกขเวทนาเกิดขึ้น เขาถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว
    ก็ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน คร่ำครวญ ตบอก ไม่ถึงความหลงไหล
    แม้สุขเวทนานั้นเกิดขึ้นแก่อริยสาวกแล้ว ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้อบรมกาย
    แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้นก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้อบรมจิต

    ดูกรอัคคิเวสสนะ แม้สุขเวทนาเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ใดผู้หนึ่ง ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้อบรมกาย
    แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้นก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้อบรมจิตทั้งสองอย่างนี้ ดังนี้

    ดูกรอัคคิเวสสนะ บุคคลที่มีกายอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้วเป็นอย่างนี้แหละ.
    สัจจกนิครนถ์ทูลว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อพระโคดม เพราะพระโคดม
    มีกายอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้ว.

    อ่านทั้งหมดได้ที่นี่

    ......................
    ^
    ^
    ไม่เคยปรากฏในพระสูตรไหนเลย ที่พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสว่า "ให้อบรมวิญญาณเลย"

    ;aa24
     
  13. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    การพิจารณานามรูป ดับ เปรียบได้กับการพิจารณาขันธ์๕

    เพราะขันธ์๕ ก็คือ นามกับรูป

    การดับ คือ การดับกิเลสภายในจิต หมายถึง อุปทานการยึดมั่นถือมั่นในจิต

    ไม่ใช่ จิตดับ แต่เป็นกิเลสดับ

    เจริญในธรรม คุณจินนี่ และทุกท่าน
     
  14. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ถ้าจิตใจอย่างนี้เป็นพระอริยะหรือคิดว่าดีกว่าผู้อื่นแล้ว ผมว่านรกในใจท่านก็ผ่านให้ได้ก่อน ค่อยมากำหนดกรรมให้ผมนะครับ ท่านอริยะหลงผู้ไร้สติที่สุดเท่าที่เคยพบเจอไม่ว่าจะภพไหนๆ มีแต่ท่านนี่แหละที่รู้ทั้งรู้ว่าใจตนเป็นเช่นไร ยังจะมีหน้ามากำหนดกรรมของผู้อื่นอีก อีกทั้งปัญญาระดับท่านและจิตใจแบบท่าน โพธิสัตว์ก็ไม่ใช่เป็นแค่ผู้บำเพ็ญสาวก ยังหลงอยู่อีกไกลแล้วยังจะมากำหนดกรรมผู้ไม่ควรกำหนดอีก อย่างไหนหรือมันจะใกล้นรกกว่ากัน แค่เตือนไว้เห็นว่าอายุมากแล้วในอัตภาพนี้ ขอให้พิจารณาใหม่อีกครั้งเถอะ ว่าจิตตนเองนั่นแหละสะอาดหรือสกปรกนะครับ
    ต้องเอาทั้งตัวและใจไปด้วยขอแต่ตัวแต่ใจชะเง้อรออยู่มันจะทุกข์ได้
     
  15. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    และวิญญาณกับจิตนั้นก็บอกแล้วไงว่า มันเป็นทางเชื่อมต่อสู่ความเป็นจิตเพราะมีเพียงสัญญาจริงๆเลย จึงคิดว่า พระพุทธเจ้าไม่เคยบอกให้อบรมวิญญาณ แน่นอนพระพุทธองค์ไม่ได้ตรัส แต่ทรงตรัสว่าพึง มีสติ และสติมีได้เพราะมีวิญญาณธาตุต่างๆก็ดี วิญญาณขันธ์ก็ดีอันฝึกดีแล้ว จึงจะพิจารณาเห็นจิตและความเป็นจิตและความไม่มีตัวตนของจิตตลอดจนละวางสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นๆได้ ถ้าจะบอกว่ามันแล้วแต่คนจะมอง ก็ไม่ผิดเพราะมองแบบสัญญาว่าตามกันมาก็เป็นแบบนั้นแหละ มันมาลอยๆ อยู่ๆมันก็กลายเป็นจิต จะดวงเดียว หรือร้อยหรือพันดวง มันก็จะไม่เคยเกิดขึ้นเองโดยไม่มีเหตุปัจจัย และมันจะรู้ได้ก็อาศัยสิ่งต่างๆเหล่านั้น ผมมองว่าเมื่อวิญญาณธาตุดับหมดมันก็ไม่ควรจะมีอะไรเหลือแต่การจะดับได้นั้นน่าจะต้องมีมากกว่าที่ทราบเพราะไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นยังไง ผมรู้เพียงว่าจิตจะไม่ตั้งอยู่ลอยๆโดยไม่มีเหตุปัจจัยใดมาเกี่ยวข้อง และถูกของหลายท่านเพราะดับกิเลสได้ ละความยึดมั่นถือมั่นสิ่งต่างๆได้ เมื่อเป็นอย่างนั้นมันก็...
    อนุโมทนาครับกับท่านที่พิจารณาละวางความยึดมั่นถือมั่นและทำได้ด้วยปัญญาอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะ ขันธ์ทั้งหลาย (กาย เวทนา จิต ธรรม)
    ขออนุโมทนาด้วยครับที่รู้จักละวางความยึดมั่นถือมั่น
     
  16. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    จะค้่านอะไรอีกไหม ยกมาได้
     
  17. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    แล้วถ้าไม่พิจารณา เอาแต่ต่อว่าและกล่าวแต่คำสบประมาทผู้อื่นกันอยู่อย่างนี้คงจะมีสองฝ่ายใช่ไหม ผมไม่เลือกฝ่ายไหนทั้งสิ้นระหว่างผู้บำเพ็ญบารมีทั้งสอง แต่ผมจะพิจารณาธรรมของท่านทั้งสอง ไม่ว่าท่านจะอยุ่ตรงจุดไหน ไม่ว่ากิริยาท่านทั้งหลายจะเป็นอย่างไร ก็จงทราบไว้ด้วยว่า ความหลงในความยึดมั่นในธรรมทั้งหลาย ไม่มีในอริยะมรรคและอริยะผล มีแต่จะทำให้จางคลายไปตามกำลังของตนเท่านั้น และเรื่องสักกายะทิฐิ นั้นก็พิจารณาให้ถี่ถ้วนด้วย เพราะตัววัดมันอยู่ตรงนั้น แต่ผมได้พิจารณาแล้วว่าไม่ควรจะมีแก่อริยะบุคคลแต่ประการใด จึงต้องเตือนสติ ในความลุ่มหลงของบัญญัติจนขาดสติพิจารณาตามเป็นจริงในธรรมทั้งหลายได้ หากท่านยังเชื่อว่าเพราะลักษณะจิตเช่นนี้เป็นทางแห่งความพ้นทุกข์ก็สุดแล้วแต่ท่านเถิด และผู้กำลังบำเพ็ญบารมี ทั้งหลาย ก็จงใช้ปัญญาพิจารณา ด้วย โยนิโสมนสิการ ในอันจะปฏิบัติตามสิ่งนั้น แต่ต้องนำมาเพียงธรรมนั้นๆ ไม่ถือหรือก่อให้เกิดอกุศลในจิตขึ้น กรรมอันใดล้วนเป็นของบุคคลนั้นเสมอ ขอให้สร้างจิตด้วยสติให้มีกุศลให้มากสาธุ
    อนุโมทนาครับทุกท่าน
     
  18. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    เริ่มเข้มข้นทุกหน้า
     
  19. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    มึงไม่ต้องมายุ่งกับกู ดีที่สุด
    เพราะคนเอาดีไม่ได้ กูไม่เสวนาด้วย
     
  20. โป

    โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +256
    ท่านเข้าใจผิดครับ...................

    เขาหมายความถึง.............การยึดว่าจิตตัวเองเป็นอมตะ

    ยึดว่ามี....เรา.....ในทุกๆที่ เราเป็นอมตะไม่มีวันตายครับ

    พระโสดาบันท่านมีความเห็น................ว่า ไม่มีเราในที่ใดใดครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...