คุณชอบสวดมนต์บทใดมากที่สุด

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย onlyone, 6 พฤศจิกายน 2007.

  1. leia17

    leia17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    331
    ค่าพลัง:
    +1,368
    พาหุงมหากาฯ ธารณปริตร แผ่เมตตาพิสดาร

    บางวันก็สวดคาถาเงินล้าน พระมหาจักรพรรดิด้วย
     
  2. ณัฐภพ

    ณัฐภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +109
    คาถาเงินล้าน
    และชินบัญชรครับ
    อิอิ
     
  3. singhol

    singhol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,376
    ค่าพลัง:
    +1,940
    ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ....ผมสวดบูชาคุณพระรัตนตรัย...พาหุง..มหากา..ชินบัญชร..แผ่เมตตาครับ...ต่อด้วยนั่งสมาธิ 30 นาที....จากนั้นก็หลับสบาย
     
  4. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    อนุโมทนาค่ะ
    ไม่อยากเลือกเลยค่ะ
    เพราะชอบทุกๆบท
    แต่ที่สวดเพราะและมีปิติมาก จะเป็นยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกค่ะ
     
  5. pisan48

    pisan48 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +91
    สวดมนต์ (ถ้าสบายดี) ทุกวัน กรณียเมตตสูตร ขันธปริตร พระธารณะปริตร มงคลจักรวาฬ มงคลสูตร วัฏฏกปริตร อภยปริตร อังคุลิมาลปริตร อาฏานาฏิยปริตร โพชฌงคปริตร โมรปริตร รัตนสูตร ชัยมงคลคาถา ธรรมจักร อนัตลักษณะสูตร มหาสัมยสูตร ยอดกัณฑ์ไตรปิฏก อาการะวัตตาสูตร พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ และส่งเทวดากลับ ทั้งหมดสวดต่อวัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2009
  6. pisan48

    pisan48 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +91
    สวดมนต์ (ถ้าสบายดี) ทุกวัน กรณียเมตตสูตร ขันธปริตร พระธารณะปริตร มงคลจักรวาฬ มงคลสูตร วัฏฏกปริตร อภยปริตร อังคุลิมาลปริตร อาฏานาฏิยปริตร โพชฌงคปริตร โมรปริตร รัตนสูตร ชัยมงคลคาถา ธรรมจักร อนัตลักษณะสูตร มหาสัมยสูตร ยอดกัณฑ์ไตรปิฏก อาการะวัตตาสูตร พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ชินบัญชร และส่งเทวดากลับ ทั้งหมดสวดต่อวัน<!-- google_ad_section_end -->
     
  7. kaisorn

    kaisorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2009
    โพสต์:
    250
    ค่าพลัง:
    +220
    ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกครับ ถวายพรพระ อิติปิโส พุทธชัยมงคลคาถา ( พาหุง ) ชินบัญชร และคำอธิฐานแผ่ส่วนกุศล จะสวดทุกวัน สวดประมาณ ตี 1 ของทุกวัน
    บางทีสวดก็จะรู้สึกขนลุกตอนแผ่ส่วนกุศล
     
  8. lekbmw

    lekbmw Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2009
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +88
    ธัมจักรฯ ค่ะ มีคนแนะนำให้สวด
    สวดแล้วดีมาก ๆ ค่ะ
     
  9. king_6914

    king_6914 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    614
    ค่าพลัง:
    +18,384
    กิ่งชอบบทสวดธรรมจักร และคาถาชินบัญชรค่ะ

    และชอบสมาทานศีล
    และศีล 5 ค่ะ

    ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม
     
  10. vajrapaniputr

    vajrapaniputr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2006
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +340
    หลังสวดมนต์แล้วผมจะตั้งสัจจาธิษฐานดังนี้ครับ
    <!-- icon and title --> สัจจาธิษฐานหลังสวดมนต์
    <hr style="color: rgb(209, 209, 225); background-color: rgb(209, 209, 225);" size="1"> <!-- / icon and title --> <!-- message --><script type="text/javascript"><!-- google_ad_client = "pub-2321900323808895"; google_ad_host = "pub-2606800903002383"; google_ad_width = 300; google_ad_height = 250; google_ad_format = "300x250_as"; google_ad_type = "text_image"; google_ad_channel = ""; google_color_border = "F5F5FF"; google_color_bg = "E1E4F2"; google_color_link = "22229C"; google_color_text = "000000"; google_color_url = "22229C"; google_ui_features = "rc:6"; //--> </script> <script type="text/javascript" src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js"> </script><script>google_protectAndRun("ads_core.google_render_ad", google_handleError, google_</script>ข้าพเจ้าขอตั้งสัจจาธิษฐานเพื่อสร้างบารมีให้ชีวิต ดังต่อไปนี้

    จะยินดีเป็นผู้ให้ จะไม่หดหู่เศร้าหมอง ไม่จองหองเย่อหยิ่ง จะนิ่งทำจิตให้สงบ จะคบคนดีเป็นมิตร ไม่คิดยกตนข่มท่าน การงานจะไม่คั่งค้าง จะวางตนให้เหมาะสม ข่มจิตใจไม่ลุ่มหลง คงมั่นและกล้าหาญ ความเกียจคร้านจะงด จะอดใจไม่ผูกโกรธ โปรดการรักษามารยาท ความประมาทจะไม่มี ความตระหนี่จะขจัด ปฏิบัติจะไม่ลำเอียง หลีกเลียงการวิวาทด้วยสติและปัญญา อัตตาจะไม่ยึดติด ไม่คิดผูกพยาบาท สงเคราะห์ญาติตามสมควร ขนขวายการทำบุญ เกื้อกูลบุตรและภรรยา (สามี) ใช้วาจา(วจี)ที่ก่อประโยชน์ ตระหนักโทษอบายมุขทั้งปวง ไม่ล่วงเกินและเบียดเบียน เรียนให้รู้ซึ้งอริยสัจ ศึกษาศิลปศาสตร์ให้หลากหลาย ว่านอนสอนง่ายเป็นนิจ ไม่ยึดติดในลาภสักการ์ ริษยาจะไม่มี พรหมวิหารสี่อยู่ที่ใจ ไม่ฝักฝ่ายคนพาล จะทำงานด้วยอิทธิบาท ใจปราศจากมัวเมา เอาการวางเฉยด้วยสติเป็นที่ตั้ง ฟังธัมมะเป็นประจำ คุณธรรมจะไม่บกพร่อง ยึดครรลองแห่งอริยมรรค ดำรงรักษ์ยุติธรรม์ แบ่งปันลาภที่ได้มา ตลอดเวลาจะดำรงสัมปชัญญะ จะละมายาให้สิ้น รักษาศีลห้าเป็นเนืองนิจ กิจเป็นบาปจะไม่ยุ่ง มุ่งปัจจุบันยิ่งกว่าอดีตและอนาคต อดทนให้ได้ในสภาพที่เป็นอยู่ จะเลี้ยงดูพ่อแม่ให้ถ้วนครบ ผู้ที่ควรเคารพจะไหว้กราบ จะสุภาพและอ่อนโยน ทำตนดีสม่ำเสมอ จะไม่เผลอลืมสติ ปิยวาจาจะรักษา ภาวนาเป็นเนืองนิจ จะเลี้ยงชีวิตให้พอเหมาะ จะบ่มเพาะความซื่อตรง จะมั่นคงต่อหิริโอตัปปะ ประหยัดทรัพย์ที่หาได้ จะไม่โกรธเพื่อชนะโกรธ จะไม่โปรดเอาแต่ขอ ไม่ก่อและจองเวร ไม่เป็นคนฟุ้งซ่าน จะยึดมั่นพระตถาคต จะงดทุจริตทั้งปวง หลีกให้พ้นบ่วงทิฏฐิมานะ จะวิริยะในทางที่ถูก จะปลูกปัญญาด้วยศีลสมาธิ ปรารถนาดีและจริงใจ มั่นคงอยู่ในทางสายกลาง ไม่เหินห่างจากวินัย ทำจิตให้แจ่มใสเป็นนิจ คิดพอใจในสิ่งที่มีอยู่ จะต่อสู้เพียรเผากิเลส ขอให้รุ่งเรืองเดชและบารมี
     
  11. กวงสี่อิม

    กวงสี่อิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +517
    ต้องพระคาถา โพธิบาท กับพาหุง สิขอรับ แน่นอนสุด สาธุ
     
  12. nong_mook

    nong_mook เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    4,101
    ค่าพลัง:
    +8,060
    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
    เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ
    ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ฯ
    ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
    ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟัง และพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ
    เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติให้หนักไปในส่วนที่สุด ๒ อย่าง คือ
    โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค *โน (ถ้ามีการตรวจคำหยาบ..ตรงนี้ให้ออกเสียงว่า ฮีโน..นะครับ) คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต
    การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อแสวงหาความสุขอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่าปรารถนา ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ต้องมีบ้านเรือน เป็นธรรมของคนผุ้ครองเรือนผู้หนาไปด้วยกิเลส ไม่ใธรรมอันจะนำจิตใจออกจากกิเลส ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย นี่อย่างหนึ่ง
    โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
    และอีกอย่างหนึ่ง คือ การประพฤติปฏิบัติด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก ซึ่งมีแต่ทำให้ใจเป็นทุกข์ทรมานอย่างเดียว ไม่เป็นทางนำจิตใจออกจากกิเลส และไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจท้งหลาย ฯ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ เร่งหักโหมปฏิบัติธรรมจนเกินกำลัง เพื่อหวังจะได้บรรลุมรรคผลเร็ว ๆ )
    เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้รู้ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง โดยไม่เข้าไปใกล้ส่วนที่สุด ๒ อย่างนั้นแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น สามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ฯ
    กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น คือการปฏิบัติอย่างไร?
    อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ
    ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ คือ ทางนำไปสู่ความไกลจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย มี ๘ อย่าง ฯ
    เสยยะถีทัง
    ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ
    - สัมมาทิฏฐิ
    ปัญญาอันเห็นชอบ ( คือ เห็นอริยสัจ )
    - สัมมาสังกัปโป
    ความดำริชอบ ( คิดจะออกจากกาม ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่คิดเบียดเบียน )
    - สัมมาวาจา
    วาจาชอบ ( ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล )
    - สัมมากัมมันโต
    การงานชอบ ( เว้นจากการทุจริต เช่น โกงแรงงานเขาเป็นต้น และทำการงานที่ไม่มีโทษ )
    - สัมมาอาชีโว
    การเลี้ยงชีวิตชอบ ( หากินโดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี )

    - สัมมาวายาโม

    ความเพียรชอบ ( เพียรละชั่ว ประพฤติดีเพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจ และเพื่อให้ได้คุณธรรมสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป )
    - สัมมาสะติ
    การระลึกชอบ ( ระลึกนึกถึง อนุสสติ ๑๐ ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด และระลึกในมหาสติปัฏฐาน ๔ )
    - สัมมาสะมาธิ ฯ
    การตั้งจิตไว้ชอบ ( การทำสมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นในอนุสสติ ๑๐ ประการนั้น ) ฯ
    ( หรือกล่าวโดยย่อ มรรค ๘ ประการนี้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา )
    อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางเหล่านี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ
    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาวะเหล่านี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ
    - ชาติปิ ทุกขา
    ความเกิดก็เป็นทุกข์
    - ชะราปิ ทุกขา
    เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์
    - มะระณัมปิ ทุกขัง
    เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์
    - โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา
    เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์
    - อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
    เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์
    - ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
    เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์
    - ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
    และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์
    - สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ
    กล่าวโดยย่อแล้วก็คือ การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเราของเขานั่นแล เป็นตัวทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง ฯ
    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้แลเป็นต้นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง
    โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา
    คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์
    ภะวะตัณหา
    สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์
    วิภะวะตัณหา
    และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก ฯ
    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ
    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตไว้ชอบ คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์ได้อย่งแท้จริง ฯ
    อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจ เป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริงนั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ตลอดเวลา" ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่งแท้จริงนี้นั้นแล เราได้หยั่งรู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว" ฯ
    อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้ เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องละให้ขาด" ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะ*นันติ (ให้อ่านว่า ปะฮีนันติ..Amine) เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ละขาดไปจากใจแล้ว" ฯ
    อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง" ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา" ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้แจ้งในใจอยู่ตลอดเวลาแล้ว" ฯ
    อิทัง ทุกขะนิโรธคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ เป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง" ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา" ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว" ฯ
    ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจริง ๔ อย่าง อันทำให้ใจ*งไกลจากกิเลสนี้ ถ้าหากเรายังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ

    ( อาการ ๑๒ รอบนี้ เรียกว่า ญาณ ๓ คือ

    1. สัจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดในความจริงแต่ละอย่างในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็นทุกข์แท้จริง , ตัณหาคือเหตุเกิดทุกข์แท้จริง , การดับตัณหาคือการดับทุกข์ได้แท้จริง , มรรคคือ ทาง ๘ ประการเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง

    2. กิจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดว่า จะต้องทำอย่งไรกับความจริงแต่ละอย่างนั้น ว่า ตัวทุกข์ควรต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา , ตัณหาต้องละให้ขาด , การดับตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา , มรรค ๘ เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา และ

    3. กตญาณ : การหยั่งรู้ว่าได้ทำหน้าที่ทุกอย่างในความจริงแต่ละอย่างนั้นได้โดยบริบูรณ์แล้ว คือ ทุกข์รู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว , ตัณหาได้ละขาดไปจากใจแล้ว , การดับตัณหาได้ทำให้แจ้งในใจตลอดเวลาแล้ว , มรรค ๘ ได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว )
    เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เพียงนั้น ว่าเราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือ ของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ
    ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ความจริง ๔ อย่ง อันทำให้ใจ*งไกลจากกิเลสนี้ เราได้รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์หมดจดแล้ว ฯ
    อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงกล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เฉพาะว่า เราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ
    ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
    ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า "กิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายไม่สามารถจะกำเริบขึ้นมาได้อีกแล้ว จิตของเราได้หลุดพ้นจากกิเลสโดยวิเศษแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว บัดนี้ไม่มีภพเป็นที่เกิดสำหรับเราอีกแล้ว" ฯ
    อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ
    ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความจริง ๔ อย่างอันประเสริฐ อันทำให้ใจ*งไกลจากกิเลสอย่างนี้แล้ว ฯ
    อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
    พระภิกษุปัจจวัคคีย์เหล่านั้น ก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ฯ
    อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน
    ก็ในเมื่อขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิศดารแห่งความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอยู่นั่นแล
    อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ "ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ" ฯ
    ดวงตาคือ ปัญญาอันเห็นธรรม ซึ่งปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแล้วแก่ท่านโกณทัญญะ ผู้มีอายุอย่างนี้ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้น ๆ ทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" ฯ
    ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก
    ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงประกาศวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแล้วนั่นแล
    ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
    ภูมิเทวดาทั้งหลาย ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า
    "เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
    "นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้"
    ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวดา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
    จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
    ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
    ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
    ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
    นิมมานะระ*ง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
    ปะระนิมมิตะวะสะวัต*ง เทวานัง สังททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
    เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า
    "เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
    "นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึง เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้" ฯ
    อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ
    และโดยขณะเดียวเท่านั้น เสียงก็ดังขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยอาการอย่างนี้ ฯ
    อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ
    และเสียงนี้ได้สะท้านสะเทือนหวั่นไหว ดังสนั่นไปตลอดทิศทั้ง ๔ ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ฯ
    อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
    อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ
    อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ "อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ" ฯ
    ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า "โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ" ฯ (อัญญาสิ : ได้รู้แล้ว)
    อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
    เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นมาอย่างนี้แล นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นแหละ ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ
    ///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

    ชอบสวดมนต์ทุกบทค่ะ สวดเป็นประจำทุกวัน 1 ทุ่มถึง 3 ทุ่มครึ่ง นั่งสมาธิด้วย และสวดมนต์จีนด้วยค่ะ สวดมนต์แล้วได้สมาธิ ปัญญา รู้จักคิด ไม่ฟุ้งซ่าน ได้บุญด้วย จริงๆนะคะ ใครเห็นด้วยยกมือขึ้นค่ะ
     
  13. nachaleeti

    nachaleeti สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +4
    กรรมฐานคืนบุญมีผลคุ้มครองอัศจรรย์ทั้งการเงิน การงานความรัก ฯลฯ

    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p> </o:p>
    มีผลคุ้มครองอัศจรรย์ทั้งการเงิน การงานความรัก ฯลฯ<o:p></o:p>
    หมายเหตุพระคาถาคำสวดนี้ กรรมฐานนี้ทำได้ทั้งนั่ง นอน ยืน เดิน ทุกอริยบถ <o:p></o:p>
    ผู้มีบุญญาธิการจะเข้าถึงได้ไม่ยาก หรือผู้ที่ไม่มีบุญญาธิการไม่จำเป็นต้องอธิบายมากทำสมาธิอ่านไปอธิษฐานขอกรรมมัฐฐานนี้จะเกิดอานุภาพสว่างมีสายใยบุญ ไป จะเชื่อมและสามารถทำกรรมมัฐฐานนี้ได้เองโดยอัศจรรย์ <o:p></o:p>
    มีผู้สวดท่องประยุกต์ตามความเชื่อลัทธิของตัวเองแล้วประสบผลดีเป็นอัศจรรย์ทั้งด้านการเงิน การงาน ครอบครัว สัมมาอาชีวะ ความรัก แล้วหลายราย ทั้งยังช่วยส่งวิญญาณให้สำเร็จบรรลุธรรมพ้นนรกภูมิด้วย ตลอดสุขสมหวังทั้งทางโลกทางธรรม<o:p></o:p>
    กรรมฐานนี้ทำได้ทั้งนั่ง นอน ยืน เดิน ทุกอริยบถ ทำงาน นั่งรถเมล์ ขับรถ อาศัยจังหวะจิตนิ่งชั่วขณะทำสักสองถึงสิบนาทีก็ได้ ทำได้บ่อยๆ ตลอดเวลา อาบน้ำ ทำกับข้าว เดินห้าง ไปเที่ยว ไปสัมมนา ดูหนังกับแฟนก็ทำได้ หรือทุกเวลาตลอด ยี่สิบสี่ชั่วโมง สะสมเวลาทำเอา มีผลเหมือนกัน <o:p></o:p>
    ( ใช้คำสั้นๆขึ้นต้นลงท้ายในการอธิษฐาน ทุกครั้ง ว่า<o:p></o:p>
    ขอบุญฤทธิ์ ธรรมฤทธิ์สิทธเฉียบขาดพระนิพพานทั่วธาตุทั่วธรรม”<o:p></o:p>
    แทนพลังฤทธิ์ของทุกพระองค์)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    ตั้งจิตอธิษฐาน อัญเชิญ บุญฤทธิ์ ธรรมฤทธิ์ สิทธิเฉียบขาดของพระธรรมกายแห่งพระนิพพานทั่วธาตุทั่วธรรม ทั้งภาคโปรดสรรพสัตว์คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้านับมหาอสงไขยพระองค์ไม่ถ้วนและภาคปราบมารคือพระธรรมกายของพระจักรพรรดินิพพานทั่วธาตุทั่วธรรม พระธรรมกายแห่งพระบรมศาสดาทุกศาสนา ( ไม่ว่า เยซูคริสต์ อัลลอห์ เต๋า เซียน บาไฮ โยเรเซไคคิวเซเคียว สหจโยคะ หรือ เซนฯลฯ) พระธรรมกายแห่งพระผู้เป็นเจ้า พระพุทธะโพธิสัตว์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของทุกชาติ ศาสนาทุกวรรณะ ทุกภาษา ดวงญาณคู่แก้ว คู่รักศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 6พระองค์ซึ่งรวมเป็นสามคู่รักอันมีรหัสหมายถึงพระไตรสรณคมณ์คือองค์ธรรมกายแห่งตรีมูรติ ซึ่งมีจิตพระโพธิสัตว์มรรค ทุกญาณให้รวมเป็นญาณเดียว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ตลอดนมัสการต่อพระธรรมกายแห่งองค์พระศรีอาริยอวโลกิเตศะวะโพธิสัตว์มหานามะศรีเมตไตรยะอวโลกิเตศวร ท่องสัมมาอะระหัง 3 จบ หรือพระโพธิสัตว์กวนอิมปางพันมือพันกร (หรือพุทโธ หรือ อาเมน หรือ นะโม หรือรหัสคาถาของชนชาติลัทธิความเชื่อของตน อย่างละสามจบ) <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขอบุญญฤทธิสิทธิ ธรรมฤทธิสิทธิเฉียบขาด พระธรรมกาย แห่งทุกพระองค์รวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระนิพพานทั่วธาตุทั่วธรรม ขออำนาจพระรัตนตรัย เปิดผังชีวิตให้แก่ข้าพเจ้าด้วย<o:p></o:p>
    (ต้องขึ้นต้นและลงท้ายทุกครั้ง)<o:p></o:p>
    1. ขอให้ทุกกายทุกญาณชนะกิเลสพญามารเบ็ดเสร็จเด็ดขาดไม่ถอยหลังกลับในการเป็นสัมมาทิฐฐิ<o:p></o:p>
    2. ขอบารมีสิทธิเฉียบขาดทั่วธาตุทั่วธรรม ซ้อนกายในกลางพระตรีมูรติ และคู่รักศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 6 พระองค์และพระธรรมกายของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกพระองค์<o:p></o:p>
    3. ขอให้บรรพบุรุษที่อยู่ในนรก เจ้ากรรมนาย<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:smarttags" /><st1:personName w:st="on" ProductID="เวร ที่อาฆาตพยาบาท">เวร ที่อาฆาตพยาบาท</st1:personName> ทวยเทพ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทุกพระองค์ ให้ชนะกิเลสพญามารตลอดสายใยวิญญาณ ไม่มีโลภ โกรธ หลง ให้สำเร็จพระพุทธโพธิสัตว์ อายุมั่นขวัญยืน ร่ำรวยมีสมบัติจักรพรรดิตักไม่พร่อง หมดเคราะห์หมดโศกหมดโรคหมดภัย ให้เป็นสัมมาทิฐฐิไม่ถอยหลังกลับ สุข สำเร็จสมปรารถนาทั้งทางโลกทางธรรมเป็นอัศจรรย์ มีบารมีเต็มเเปี่ยมเต็มธาตุ เต็มธรรม ตลอดจนสายใยวิญญาณทุกชาติทุกธาตุทุกธรรม เจ้ากรรมนายเวรให้มารับทราบส่วนบุญนี้ และอนุโมทนาบุญนี้ ขอให้อโหสิกรรมให้กันและกัน ไม่เว้นแม้แต่ชีวิตและจิตวิญญาณเดียว<o:p></o:p>
    4. ช่วยนำธรรมกายบอกบุญ วิญญาณบรรพบุรุษ พ่อเก่าแม่หลัง บุพการี ปู่ย่าตาทวด ครูอุปัชฌาอาจาย์ อธิษฐานให้เป็นการสำเร็จ พ้นทุกข์ ขอให้มีบัลลังก์ วิมานเพื่อนั่งกลั่นกัมมัฏฐานปราบมารกันทั่วโลกทั่วภพสามโลกันตร์ ปรกโปรดอภัยโทษปลดเคราะห์กรรมแผ่เมตตาและให้อโหสิกรรมซึ่งกันและกันไม่เว้นแม้แต่ชีวิตและจิตญาณเดียว<o:p></o:p>
    5. ขอให้เจ้ากรรมนายเวร อโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วย และเมื่อได้รับส่วนบุญนี้แล้วขอให้อโหสิกรรมให้ด้วย สรรพวิญญาณ เจ้าที่สัมภเวสี ผีไร้ญาติ หากมีทุกข์ขอให้พ้นทุกข์ พบความสุขสมหวัง มีรักให้มีวิมานมีราชรถอลังการมีของบุญญาธิการอยู่ครบ มีมนุษย์สมบัติ ทิพยสมบัติ นิพพานสมบัติ ให้ชนะกิเลสพญามาร สำเร็จพระพุทธโพธิสัตว์ไม่ถอยหลังกลับ ให้มีที่สุดแห่งมหากรุณาธารณีแห่งจิตพระแม่องค์ธรรมมารดาและกวนอิมพันมือ และขอส่งผลบุญนี้ให้แก่คู่รักทุก ๆ คู่ ตลอดสายประคำด้วยเถิด<o:p></o:p>
    6. ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งของเราและของเขา อโหสิกรรมซึ่งกันและกัน ขอให้อนุโมทนาบุญซึ่งกันและกัน ให้ชนะกิเลสพญามาร ตลอดจนบรรพบุรุษของลูกทั้งสอง เจ้ากรรมนายเวร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้มีศรัทธาในพระรัตนตรัย ขอบุญพระนิพพาน ไม่มีโลกียวิสัย<o:p></o:p>
    7. ช่วยถอนอัปมงคล อาถรรพ์ ไสยเวทย์ เสกมนต์ดำ คำสาปแช่ง พลัง อุปสรรค จากตัวลูกและคู่แก้วตลอดสายประคำ<o:p></o:p>
    8. อธิษฐานให้ธรรมทั้งสามภาคคือ ต้นธาตุต้นธรรมดำ เทา ขาวทั้งสามภาคที่ปราบรบชิงกันอยู่นี้รวมเป็นธรรมอันหนึ่งเดียวกันกับที่สุดแห่งพระมหากรุณาธารณี ให้ดับการเวียนว่ายตายเกิด ดับอเวจี โลกันตมหานรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ให้ทุกสรรพญาณพบพระที่สุดแห่งนิพพานธรรมกายในจิตญาณและกายสังขารแห่งตนอายุยืน หมดเคราะห์ หมดโศก หมดโรค หมดภัยให้มีแดนพระโพธิสัตว์มรรคอภัยโทษปลดเคราะห์กรรมให้สรรพจิตญาณทั้งปวง ให้ทำสัมมาสมาธิปราบมารประหารกิเลศสร้างบารมีปฎิบัติบูชาต่อสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายได้ทั้ง ตลอดทุกกายทุกญาณ <o:p></o:p>
    9. หลังจากนี้ให้น้อมถวายบุญจากการทำกรรมฐานดังนี้คือ<o:p></o:p>
    บุญบังเกิดขึ้นเพียงใดขอประมวลรวมเป็นดวงแก้ว ลูกน้อมถวายแด่พระธรรมกายแห่งพระนิพพาน ภาคโปรดสัตว์ และปราบมาร คุมบุญถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สรรพชีวิต สรรพญาณทั้งปวง ถวายบุญให้แด่คู่รัก 6 พระองค์ ให้ชนะกิเลสพญามารไม่ถอยหลังกลับ ขนรื้อสัตว์ให้เข้าถึงพระนิพพานกตราบที่สุดแห่งมหากรุณาธารณีธรรมเทอญ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผู้จะทำกรรมฐานนี้ได้ผลดีจะต้องมีสัมมาอาชีวะ มีศีลห้า ถือ ไตรสรณคมณ์ ถ้าทำมังสวิรัติเป็นอาชีพยิ่งดีใหญ่ ให้มีเมตตาธรรม กตัญญูธรรม หมั่นสร้างกุศล<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถ้ามีวิบากต้องทำอาชีพทั้งห้า ที่พระพุทธเจ้าห้าม ก็ทำได้แต่ให้อธิษฐานขอเปลี่ยนอาชีพให้สำเร็จ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การทำกรรมฐานนี้ให้<o:p></o:p>
    หมั่นเจริญใน ทาน ศีล ภาวนา <o:p></o:p>
    หมั่นปล่อยไถ่ชีวิตสัตว์ที่กำลังจะถูกฆ่ากลางตลาดสด เพราะการทำกรรมฐานนี้จะย่นย่อภพชาติได้อัศจรรย์ จะมีการใช้กรรมในกรรมฐานซึ่งปลอดภัยที่สุดให้รู้ว่า อาการกรรมจะเกิดบ้าง เช่นท้องเสีย ปวดเนื้อ ปวดตัวหรือเป็นไข้ให้ไปหาหมอตามอาการ และทำกรรมฐานนี้ต่อไป <o:p></o:p>
    บางครั้งจะฝันเห็นญาติหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือคนตายหรือบรรพบุรษมาหาให้ทำกรรมฐานต่อไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หมายเหตุ ใครประสบปาฎิหาริย์แห่งการทำกรรมฐานคืนบุญนี้ให้ส่งเรื่องราวมาเป็นวิทยาทานธรรมทานด้วยจักได้บุญมากกรรมฐานคืนบุญ<o:p></o:p>
    มีผลคุ้มครองอัศจรรย์ทั้งการเงิน การงานความรัก ฯลฯ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
     
  14. ☻Mocca☻

    ☻Mocca☻ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2010
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +23
    ร่วมด้วยคนจ้า

    :cool:บ ท ส ว ด ป รั ช ญ า ป า ร มิ ต า ห ฤ ทั ย สู ต ร

    อายาวะโลกิติซัวราโบดิสัตจัว กรรมบิรัม ปรัชญาปารมิตาจารัม จารา มาโน

    วียาวะโลกิติสมา ปัญจะสกันดา อะสัตตัสจา ซัวปาวะสูญนิยะ ปาสัตติสมา

    อีฮา สารีบุทรา รูปังสูญญะสูญนิยะตา อีวารูปา

    รูปานา เวทะสูญนิยะตา สูญญา นายะนา เวทะ ซารูปัง

    ยารูปังสา สูญนิยะตะยา สูญนียะตา ซารูปัง

    อีวา วีดานา สังญาสัง สการา วียานัม

    อีฮาสารีบุทรา ซาวาดามา สูญนิยะตะ ลักษาณา

    อานุภานา อานิรูตา อะมะระ อะวิมะลา อานุนาอาปาริปุนา

    ทัสมาต สารีบุทรา สูญนิยะตายะ นารูปัง นาวิยานา นาสังญานา สังสการานาวียานัม

    นา จักษุ โสตรา กรรณนา ชิวหา กายา มะนา ซานะรูปัง

    สัพพะ กันดา รัสสัสสปัตตะ วียา ดามา

    นาจักษุ ดาตุ ยาวะนา มะโนวีนยะนัม ดาตุ นาวิดียา นาวิดียาเจียโย

    ยาวัดนา จาระมา ระนัม นะจาระมา ระนัม เจียโย

    นาตุขา สมุดา นิโรดา มาคานายะนัม นาประติ

    นาอะบิส สะมะยัง ตัสมาตนะ ปรัตติถา โพธิสัตวะนัม

    ปรัชญาปารมิตา อาสริดะ วิหะรัชชะ จิตตา อะวะระนา

    จิตตา อะวะระนา จิตตา อะวะระนา นัสติตวะนะ ทรัสโส

    วิปาริยะซา อาติกันดา นิสทรา เนียวานัม

    ทรียาวะ เรียววะ สิทธะสาวา บุดดา ปรัชญา ปารมิตา

    อาสวิชชะ อะนุตตะระ สัมยัก สัมโบดิม อะบิสัมโบดา

    ทัสมาต เนียทาวียา ปรัชญา ปารมิตา มหามันทรา

    มหาวิทยะ มันทราอะนุตตะระ มันตรา อสมา สมาธิ มันทรา

    สาวา ตุขา ปรัชสา มานา สังญา อามิเจียจัว

    ปรัชญา ปารมิตา มุขา มันทรา ตะติติยะ

    คะเต คะเตปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สวาหา

    คำแปลปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร

    พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรผู้ประกอบด้วยโลกุตรปัญญาอันลึกซึ้ง

    ได้มองเห็นว่า โดยธรรมชาติแท้แล้วขันธ์ทั้งห้านั้นว่างเปล่า

    และด้วยเหตุที่เห็นเช่นนั้น จึงได้ก้าวล่วงพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้

    สารีบุตร รูปไม่ต่างจากความว่าง ความว่างก็ไม่ต่างไปจากรูป

    รูปคือความว่างนั่นเอง และความว่างก็คือรูปนั่นเอง

    เวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็เป็นดังนี้ด้วย

    สารีบุตร ธรรมทั้งหลายมีธรรมชาติแห่งความว่าง ไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้ดับลง

    ไม่ได้สะอาดและไม่ได้สกปรกไม่ได้เพิ่มขึ้นไม่ได้ลดลง

    ดังนั้น ในความว่างจึงไม่มีรูป ไม่มีเวทนาหรือสัญญา ไม่มีสังขาร หรือวิญญาณ

    ไม่มีตาหรือหู ไม่มีจมูกหรือลิ้นไม่มีกายหรือจิต ไม่มีรูปหรือเสียง ไม่มีกลิ่นหรือรส

    ไม่มีโผฏฐัพพะหรือธรรมารมณ์ไม่มีโลกแห่งผัสสะ หรือวิญญาณ

    ไม่มีอวิชชา และไม่มีความดับลงแห่งอวิชชาไม่มีความแก่และความตาย

    และไม่มีความดับลงซึ่งความแก่ และความตายไม่มีความทุกข์

    และไม่มีต้นเหตุแห่งความทุกข์ไม่มีความดับลงแห่งความทุกข์

    และไม่มีมรรคทางให้ถึงซึ่งความดับลงแห่งความทุกข์

    ไม่มีการประจักษ์แจ้งและไม่มีการลุถึงเพราะไม่มีอะไรที่จะต้องลุถึง
    พระโพธิสัตว์ผู้วางใจในโลกุตรปัญญาจะมีจิตที่เป็นอิสระจากอุปสรรคสิ่งกีดกั้น

    เพราะจิตของพระองค์เป็นอิสระจากอุปสรรคสิ่งกีดกั้น

    พระองค์จึงไม่มีความกลัวใดๆก้าวล่วงพ้นไปจากมายาหรือสิ่งลวงตา

    ลุถึงพระนิพพานได้ในที่สุด พระพุทธในอดีตปัจจุบัน และอนาคต

    ผู้ทรงวางใจในโลกุตรปัญญาได้ประจักษ์แจ้งแล้วซึ่งภาวะอันตื่นขึ้น

    อันเป็นภาวะที่สมบูรณ์และไม่มีใดอื่นยิ่งดังนั้น จงรู้ได้เถิดว่า โลกุตรปัญญา

    เป็นมหามนต์อันศักดิ์สิทธิ์เป็นมนต์แห่งความรู้อันยิ่งใหญ่

    เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นยิ่งกว่าเป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นใดมาเทียบได้ซึ่งจะตัดเสียซึ่งความทุกข์ทั้งปวง

    นี่เป็นสัจจะเป็นอิสระจากความเท็จทั้งมวล ดังนั้น จงท่องมนต์แห่งโลกุตรปัญญา

    คะเต คะเตปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สวาหา

    ไป ไป ไปยังฟากฝั่งโน้น ไปให้พ้นอย่างสิ้นเชิงลุถึง การรู้แจ้งความเบิกบาน

    ..........................................................................................

    อานิสงส์ที่จากการสวดมนต์ภาวนาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร

    1.เพื่อเพิ่มพูนสติปํญญาให้สามารถเห็นแจ้งในธรรมะ
    2.เพื่อการบรรลุภาวะการเป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรม"คะ

    3.เพื่อการตรัสรู้และการบรรลุนิพพานโลกธาตุในที่สุด

    สำหรับผู้ที่มีเวลาน้อยเดินทางเสี่ยงต่ออันตราย หรือ เผชิญภาวะฉุกเฉิน

    และต้องการตั้งสติขจัดความตื่นกลัวออกไปโดยเร็ว ควรบริกรรมโดยใช้บทสวดมนต์ย่อว่า

    "คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิสวาหา"
    ซ้ำหลาย ๆครั้ง ท่านหลวงจีนเฮียงจั๋ง (พระถังซำจั๋ง)ท่านกล่าวว่า
    ท่านสวดบทนี้เมื่อท่านอยู่ในภาวะคับขันในการเดินทางข้ามทะเลทราย
    ท่านเชื่อว่าทำให้มีสติตั้งมั่นเกิดปํญญา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง

    ขอบคุณคำแปลจากเว๊บ มนตราเทวีนะคะ (f)

    มีเป็นเพลงสวดของธิเบต - จีน -ไทย แล้วนะคะ ของVr.ธิเบตไพเพราะมาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มกราคม 2010
  15. aun1971

    aun1971 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +273
    ทุกบทครับ เพราะเป็นบทสรรเสริญคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ครับ
     
  16. สตธศร

    สตธศร Namo Amithapho

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    707
    ค่าพลัง:
    +1,537
  17. Sopasiri

    Sopasiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    449
    ค่าพลัง:
    +912
    อิติปิโสย้อนหลังค่ะ ^^
     
  18. เดือนยี่

    เดือนยี่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    783
    ค่าพลัง:
    +1,377
    เป็นคนขี้เกียจแต่ชอบสวดชินบัญชรค่ะ
     
  19. ดอกไม้แก้ว

    ดอกไม้แก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    87
    ค่าพลัง:
    +453
    สวดมหาเมตตาใหญ่ค่ะ
     
  20. metus.chol

    metus.chol Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2009
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +35
    ผมชอบบทสวดกรณียเมตตสูตร
     

แชร์หน้านี้

Loading...