ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    910
    ค่าพลัง:
    +4,284
    ปฐมกำเนิดรูปนามกายใจ
    และกาลเวลาแห่งจักรวาล



    ครั้งหนึ่ง มีผู้กราบเรียนถามหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระอัจฉริยอรหันตเจ้าผู้แทงตลอดในจิตและจักรวาลอย่างถูกต้องร่องรอยตามพุทธฏีกามากที่สุดแห่งวัดบูรพาราม สุรินทร์ว่า
    "ก่อนที่จิตจะมาจับให้เกิดรูป จิตมันมาอย่างไรขอรับ.???"
    หลวงปู่ดูลย์วิสัชนาอย่างละเอียดที่สุดว่า
    "จิตเกิดขึ้นในจักรวาล สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตมันก็อยู่ในจักรวาลนั้นเอง ซึ่งถ้ารวมแล้วก็มีรูปกับนาม ๒ อย่างเท่านั้นอยู่ในจักรวาล นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็นเหตุเกิดตัวอวิชชาเกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา.....และเกิดกาลเวลาขึ้น รูปย่อมมีการดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหวและหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ต้องมีนามความว่างกั้นหลังรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้
    เมื่อสภาวะธรรมขึ้นดังนี้ สรรพสิ่งของวัตถุสสาร มีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ เกิดดับสืบต่อ สืบเนื่องจิต ไม่ยอมหยุดนิ่งให้คงทนให้เป็นปัจจุบันได้ จิตก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล มันเกิดมาจากนี้จิต จิตก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาลนั้นเอง..." <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>




    "นาม(จิต)เดิม ก็คือความว่างของจักรวาล" <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    “ภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เหล่านี้ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น
    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราไม่ได้กล่าวถึงอายตนะนั้นว่าเป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยไม่ได้ ไม่ได้เป็นไป หาอารมณ์ไม่ได้ นั่นแลเป็นที่สุดแห่งทุกข์”


    “ที่จริง พระอรหันต์ทั้งหลายท่านไม่ได้รู้อะไรมากมายเลย เพียงแต่เจริญจิตให้รู้แจ้งในขันธ์ห้า แทงตลอดในปฏิจจสมุปบาท หยุดการปรุงแต่ง หยุดการแสวงหา หยุดกิริยาจิต มันก็จบแค่นี้ เหลือแต่บริสุทธิ์ สะอาด สว่าง ว่าง มหาสุญญตา ว่างมหาศาล”
    รู้’ (อัญญา) เป็นปกติจิตที่ “ว่าง สว่าง บริสุทธิ์ หยุดการปรุงแต่ง หยุดการแสวงหา หยุดกิริยาของจิต ไม่มีอะไรเลย ไม่ยึดถืออะไรสักอย่าง”
    "พระพุทธเจ้า พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนหรอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์ หรือนามขันธ์ ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดมาครอบงำอำพรางให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ ภาวะอันนั้นจะเรียกว่า มหาสุญญตา หรือจักรวาฬเดิม หรือเรียกว่าพระนิพพานอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เราปฏิบัติมาก็เพื่อเข้าถึงภาวะอันนั้นเอง"
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
     
  2. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    910
    ค่าพลัง:
    +4,284
    การสวดมนต์รักษาโรค
    (โพชฌงคปริตร)ในสมัยพุทธกาล

    "โพชฌงค์"
    เป็นหลักธรรมหมวดหนึ่งที่อยู่ในบทสวดมนโพชฌังคปริตร ถือเป็นพุทธมนต์ที่ช่วยให้คนป่วยที่ได้สดับตรับฟังธรรมบทนี้แล้วสามารถหายจากโรคภัยไข้เจ็บได้ ที่เชื่ออย่างนี้เพราะมีเรื่องในพระไตรปิฎกเล่าว่า
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหากัสสปะที่อาพาธ พระองค์ทรงแสดงสัมโพชฌงค์แก่พระมหากัสสปะ พบว่าพระมหากัสสปะสามารถหายจากโรคได้ อีกครั้งหนึ่งพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมบทนี้แก่พระโมคคัลลานะซึ่งอาพาธ หลังจากนั้น พบว่า พระโมคคัลลานะก็หายจากอาพาธได้
    ในที่สุด เมื่อพระพุทธองค์เองทรงอาพาธ จึงตรัสให้พระจุนทะเถระแสดงโพชฌงค์ถวาย ซึ่งพบว่าพระพุทธเจ้าก็หายประชวร

    พุทธศาสนิกชนจึงพากันเชื่อว่า โพชฌงค์นั้น สวดแล้วช่วยให้หายโรค ซึ่งในพระไตรปิฎกกล่าวว่า ธรรมที่พระองค์ทรงแสดง เป็นธรรมเกี่ยวกับปัญญา เป็นธรรมชั้นสูง ซึ่งเป็นความจริงในเรื่องการทำใจให้สว่าง สะอาดผ่องใส ซึ่งสามารถช่วยรักษาใจ เพราะจิตใจมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับร่างกาย เนื่องจากกายกับใจเป็นสิ่งที่อาศัยกันและกัน
    หลักของโพชฌงค์เป็นหลักปฏิบัติทั่วไปซึ่งไม่จำกัดเฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น เพราะโพชฌงค์แปลว่าองค์แห่งโพธิหรือองค์แห่งโพธิญาณเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ซึ่งเป็นเรื่องของปัญญา


    โพชฌังคปริตร
    โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
    วิริยัมปีติ ปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
    สะมาธุเปกขะโพชฌังคา
    สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา
    ภาวิตา พะหุลีกะตา
    สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
    เอกัสมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา
    โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
    เต จะ ตัง อะภินันทิตวา
    โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
    เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต
    จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตวานะ สาทะรัง
    สัมโมทิตวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
    ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
    มัคคาหะตะกิเลสาวะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา


    -คำแปล-
    โพชฌงค์ ๗ ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
    ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ และพระมหากัสสปะเป็นไข้ ได้รับความลำบาก จึงทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการ ให้ท่านทั้งสองฟัง ท่านทั้งสองนั้น ชื่นชมยินดียิ่ง ซึ่งโพชฌงคธรรม โรคก็หายได้ในบัดดล
    ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ ในครั้งหนึ่ง องค์พระธรรมราชาเอง (พระพุทธเจ้า) ทรงประชวรเป็นไข้หนัก รับสั่งให้พระจุนทะเถระ กล่าวโพชฌงค์นั้นนั่นแลถวายโดยเคารพ ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายจากพระประชวรนั้นได้โดยพลัน
    ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ ก็อาพาธทั้งหลายนั้น ของพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ องค์นั้น หายแล้วไม่กลับเป็นอีก ดุจดังกิเลส ถูกอริยมรรคกำจัดเสียแล้ว ถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ เทอญ.
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25> </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
     
  3. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับและขอโมทนาบุญในจิตอันเป็นกุศลครับ
     
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ก่อนอื่นต้องขอสวัสดี และโมทนาสาธุบุญกับ temmeko ด้วยครับ อย่างที่เคยแจ้งให้ทราบไว้แล้ว คณะกรรมการทุนนิธิฯ ทำงานด้วยใจ เอาบุญเป็นตัวตั้ง เมื่อตั้งใจทำงานกันแล้วอุปสรรคมีไว้ให้ข้าม และก็สัญญาว่าจะนำเงินของทุกท่านที่บริจาคมาพร้อมดอกผลในธนาคาร บริจาคให้แก่สงฆ์อาพาธในการรักษาพยาบาลและในกิจการของพระพุทธศาสนาทั้งหมดครับ หากไม่รังเกียจ ในวันอาทิตย์ที่ 27/9 นี้ เวลา 7.30 น.เชิญเข้าร่วมกิจกรรมที่ รพ.สงฆ์ด้วยกัน พร้อมกับผู้ร่วมสายบุญท่านอื่นๆ ครับ

    พันวฤทธิ์
    18/9/52


    [​IMG]




     
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097

    วิธีอาราธนาหลวงพ่ออุปคุต(มารับบาตร)

    [​IMG]


    ไม่รุ้ว่าใช้ได้จริงหรือเปล่านะครับ เพราะวันนี้ไปอ่านเจอมาจากเวปแดนพระนิพพานเลยเอามาให้พวกพี่ๆทุกคนมาร่วมอ่านและพิจารณากันครับ

    โดย "มาลินี โชติเลขา"

    ข้าพเจ้ากับคุณพ่อสุวรรณ คุณแม่จันทนา วีระพล และน้องๆ ได้มีโอกาสมากราบหลวงพ่อพระราชพรหมยาน เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๑๘ หลังจากข้าพเจ้าได้รับหนังสือ "ประวัติหลวงพ่อปาน" มาเล่มหนึ่งจากสามี(เพื่อนของสามีให้มา) หลังจากอ่านเกิดความเลื่อมใสในหลวงพ่อ "ฤๅษีลิงดำ" มากจึงส่งต่อให้น้องสาวอ่าน ก็มีอาการเดียวกัน ได้เล่าให้คุณพ่อสุวรรณและคุณแม่จันทนาฟัง ก็เกิดอาการเดียวกัน ทุกคนอยากจะกราบหลวงพ่อมาก จึงเพียรเสาะหาว่าหลวงพ่อองค์นี้อยู่ที่ไหน

    ในที่สุดอ่านเจอจากหนังสือสกุลไทยว่าหลวงพ่อมาอยู่ที่บ้านซอยลมข้าพเจ้า พร้อมด้วยคุณพ่อสุวรรณ คุณแม่จันทนาและน้องๆ ได้มากราบหลวงพ่อพระราชพรหมยานสมความปรารถนา ที่บ้านซอยสายลมในปีเดียวกันนั้นเอง ข้าพเจ้าและทุกคนปลื้มใจ สุขใจเกิดปีติมากจนพูดไม่ถูกบรรยายไม่ได้ ทั้งๆ ที่เพิ่งจะพบกันครั้งแรก และในวันนั้นเอง พวกเราทั้งคณะได้ร่วมทำบุญกับหลวงพ่อ

    หลวงพ่อเมตตาให้พรเป็นภาษาบาลีเสียยาว เสร็จแล้วท่านพูดว่า เออ! กลุ่มนี้สีขาวแล้วนะ ข้าพเจ้าอยากถามหลวงพ่อเหลือเกินว่าท่านหมายความว่าอะไร แต่ไม่กล้าถามท่าน ได้แต่ยิ้ม เพราะยังไม่เคยรู้จักท่าน เพิ่งจะเจอท่านครั้งแรก แต่พวกเราดีใจว่าท่านบอกว่าเราขาวแล้ว แสดงว่าใช้ได้(คิดเอาเอง) ถ้าบอกว่าดำคงต้องคิดหนัก เวลานั้นคุณพ่อสุวรรณได้นิมนต์หลวงพ่อไปฉันเพลที่บ้านทันที ในวันรุ่งขึ้น ซึ่งหลวงพ่อท่านเมตตารับนิมนต์ พวกเราทุกคนซาบซึ้งในความเมตตาของหลวงพ่อมาก ตั้งแต่ได้พบกันครั้งแรก จนถึงท่านมรณภาพไปในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ความเมตตาของท่านไม่เปลี่ยนแปลงนับเป็นโชคดีมหาศาลของพวกเราที่ได้มาพบเจอ ท่าน และศึกษาธรรมะจากท่าน

    หลังจากวันนั้น ข้าพเจ้าและครอบครัวจะมากราบท่านทุกเดือนเป็นประจำมิได้ขาดและมีโอกาสร่วม สร้างบุญสร้างกุศลร่วมกับหลวงพ่อตลอด ซึ่งเป็นโชคดีมหาศาลของพวกเรา

    หลวงพ่อเมตตาแนะนำพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแบบ ง่ายๆ ให้เราเข้าใจและนำไปปฏิบัติ ท่านสอนให้เห็นทุกข์ของการเกิด ความไม่เป็นแก่นสารของสรรพสิ่งในโลกนี้ ทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง หลวงพ่อแนะนำให้เราปฏิบัติให้หลุดพ้นเข้านิพพานในชาตินี้ คุณแม่จันทนาซาบซึ้งมาก แม้จะพูดภาษาไทยได้นิดหน่อยก็พยายามปฏิบัติตามตลอดเวลา จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

    ประมาณปี พศ. ๒๕๓๕ ข้าพเจ้าได้มากราบหลวงพ่อที่บ้านสายลมตามปกติ และนั่งสนทนากับคุณลุงปรุง ตุงคมณี อดีตกงศุลใหญ่ประจำฮ่องกง ในตอนหลังลุงปรุงเล่าว่า ท่านมีวิธีนิมนต์หลวงพ่ออุปคุตมารับบาตร ข้าพเจ้าฟังแล้วตื่นเต้น ก็ขอจดตำราไว้ก่อน เผื่อจะทำพิธีขอนิมนต์บ้าง ดังนี้....

    วิธีอาราธนาหลวงพ่ออุปคุต

    วันขึ้น ๑๒ ค่ำ ตอนหัวค่ำให้จุดธูป ๓ ดอก ปักที่สนามหญ้าหน้าบ้าน แล้วอธิษฐานขออาราธนาพระมหาเถระอุปคุตมารับบาตรในเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำที่จะถึงนี้

    วันหนึ่งลูกชายของข้าพเจ้า ซึ่งเวลานั้นบวชเป็นพระอยู่ที่วัดท่าซุง โทรศัพท์มาหาข้าพเจ้าที่บ้าน ถามว่าโยมแม่ได้ลองทำพิธีมนต์หลวงพ่ออุปคุตมารับบาตรหรือยัง ให้ลองดู ข้าพเจ้าก็เลยไปทำพิธีตามที่ได้จดไว้

    เช้าวันที่จะใส่บาตรหลวงพ่ออุปคุต ข้าพเจ้าจัดแจงเอาอาหารไปรอที่หน้าบ้าน ปกติแถวบ้านมีพระจากวัดใหล้ๆ มารับบาตรเหมือนกันประมาณ ๒ องค์ เท่าที่เคยเห็น จะมารับบาตรประมาณ ๖.๐๐ น.เศษ ซึ่งข้าพเจ้าได้ใส่บาตร ๒ องค์แล้ว แต่จัดอีกชุดต่างหากเฉพาะใส่บาตรหลวงพ่ออุปคุต จึงยืนรอไปเรื่อย ไม่มีพระมาอีกเลย

    จนกระทั่งเวลาประมาณ ๘.๐๐ น. ลูกชาย(สึกจากพระแล้ว) บอกให้ข้าพเจ้าเข้าบ้านได้แล้ว เพราะสายแล้ว ท่านคงไม่มาหรอก ส่วนข้าพเจ้ายังใจจ่อจดอยู่ ยังไม่อยากเข้าบ้าน จึงรีๆ รอๆ อยู่อีกสักครู่ จึงเดินไปที่ถนนหน้าบ้านซึ่งเป็นทางยาว มองซ้ายมองขวาไม่มีใครเดินมาเลยย จึงเดินเข้าบ้านตรงประตูเล็กตรงรั้วบ้าน

    พอหันกลับจะปิดประตูเล็ก มีพระองค์หนึ่งมายืนอยู่ตรงประตู ถือบาตรและมีดอกบัวสีชมพู ๑ ดอก องค์ท่านสูงสง่างามมาก ผิวขาวอมชมพู ใบหน้าของท่านงามมาก อธิบายไม่ถูก ยิ้มน้อยๆ ผมบนศีษระท่านเหมือนกับเพิ่งโกนใหม่ๆ ยังเห็นรอยโกนผมใหม่ แบบยังสีเขียวๆ อยู่เลย ข้าพเจ้ามองด้วยความตะลึง ในบาตรท่านไม่มีของอะไร

    เดิมตั้งใจว่าถ้าเจอท่านจะถามว่าจำพรรษาอยู่วัดไหน ท่านมาจากไหน และอีกหลายๆ คำถามปรากฏว่าข้าพเจ้าได้แต่จ้องมองท่านโดยไม่ได้ถามสักคำ จนท่านจากไปแล้ว จึงนึกได้ เอ้า เราลืมถามท่านไป จึงเดินออกไปยืนดูที่ถนนอีกครั้งเห็นท่านเดินเลี้ยวไปทางซอยขวามือ แล้วหายไป

    ทั้งหมดที่เล่ามานี้ จะใช่หลวงพ่ออุปคุตเมตตามาสงเคราะห์หรือไม่ก็ตาม ข้าพเจ้าไม่อาจจะยืนยัน แต่มีความปีติมากเป็นพิเศษ จึงขอเล่าเรื่องทั้งหมดนี้สู่กันฟัง อาจจะไม่ละเอียดเท่าที่ควร ก็ขออภัยด้วยเนื่องจากเรื่องนี้เกิดขึ้นนานมากแล้ว จนลืมรายละเอียดไปเยอะ ขอให้คิดว่าอ่านนิทานก็แล้วกัน

    หากเรื่องนี้จะมีประโยชน์บ้าง ขออุทิศถวายบูชาหลวงพ่ออุปคุต และหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ผู้มีพระคุณสูงสุดของข้าพเจ้าและครอบครัว...

    มาลินี โชติเลขา(วีระผล)

    บ้านเลขที่ ๗๑ ซอยภาษี ๒

    ถ. เอกมัย แขวงคลองตันเหนือ

    เขตวัฒนา กทม. ๑๐๑๑๐



    จากนิตยสารธัมมวิโมกข์ ปีที่ ๒๘ ฉบับที่ ๓๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๐

    http://www.aupakut.com/index.php?mo=5&qid=347011
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    หากวันนี้ ท่านไม่รู้ว่าจะเช่าหาพระเครื่องของพระอริยสงฆ์รูปใดเพื่อมาสะสม หรือมาไว้คุ้มตัว วันนี้ก็ขอแนะนำให้ท่านเก็บพระเครื่องที่อธิษฐานจิตโดยพระอริยสงฆ์ที่ท่านหลวงตามหาบัวฯ ท่านเลือกให้มาฉันภ้ัตตาหารและเจริญพุทธมนต์ที่ ธ.ชาติ เมื่อ 10 ธ.ค. 2545 ก็แล้วกัน และหากเจอพระเครื่องที่ได้รับการอธิษฐานจิตในวันนั้นก็ยิ่งวิเศษใหญ่ ดูรายชื่อเอาก็แล้วกันครับ

    รายชื่อครูบาอาจารย์ที่รับนิมนต์ไปฉันภัตตาหารและเจริญพุทธมนต์
    ในงานครบรอบ 60 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย 10 ธันวาคม 2545
    (จัดเรียงลำดับตามอายุพรรษา)
    1.พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) วัดเกษรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) ต.บ้านตาด อ. เมือง จ.อุดรธานี
    2.สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ
    3.พระพุทธพจนวราภรณ์ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    4.พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) วัดป่าประชาคมวนาราม(ป่ากุง) ต.ศรีสมเด็จ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด
    5.พระอาจารย์ บุญมี ปริปุณฺโณ วัดป่าบ้านนาคูณ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
    6.พระอาจารย์ เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง ต.บ้านค้อ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
    7.พระอาจารย์ บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
    8.พระอาจารย์ ลี กุสลธโร วัดภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    9.พระครูการุณย์ธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ) วัดป่าสำราญนิวาส ต.ศาลา อ.เกาะคา จ.ลำปาง
    10.พระญาณวิศิษฏ์ (ทอง จนฺทสิริ) วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
    11.พระเทพเมธาภรณ์ (เอื้อม ชุตินฺธโร) วัดสนามพราหมณ์ อ.เมือง จ.เพชรบุรี
    12.พระอาจารย์ ปรีดา(ทุย) ฉนฺทกโร วัดป่าดานวิเวก อ.ปากคาด จ.หนองคาย
    13.พระอาจารย์ บัวเกตุ ปทุมสีโล วัดแม่ปาง ต.สันติคีรี อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
    14.พระอาจารย์ เผย วิริโย วัดถ้ำผาปู่ ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย
    15.พระอาจารย์ อุทัย สิริธโร วัดถ้ำพระภูวัว ต.โสกก่าม อ.เซกา จ.หนองคาย
    16.พระอาจารย์ ฟัก สนฺติธมฺโม วัดเขาน้อยสามผาน ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
    17.พระอาจารย์ อ้ม สุขกาโม วัดป่าภูผาผึ้ง ต.กกตูม อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร
    18.พระอาจารย์ อุ่นหล้า ฐิตธมฺโม วัดป่าแก้วชุมพล ต.ค้อใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    19.พระอาจารย์ ทองอินทร์ กตปุญฺโญ วัดผาน้ำทิพย์ ต.ผาน้ำย้อย อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด
    20.พระอาจารย์ บุญกู้ อนุวฑฺฒโน วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพฯ
    21.พระครูถาวรธรรมโกศล (พระอาจารย์ด้วง) วัดโยธานิมิตร อ.เมือง จ.อุดรธานี
    22.พระครูวิทิตศาสนกิจ(ไพโรจน์ วิโรจโน) วัดดอยปุย ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    23.พระวิสุทธิสังวรเถร (เลี่ยม ฐิตธมฺโม) วัดหนองป่าพง ต.บุ่งหวาย อ.วารินฯ จ.อุบลราชธานี
    24.พระอาจารย์ ประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่ ต.แม่แตง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    25.พระอาจารย์ สนอง กตปุญฺโญ วัดสังฆทาน ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี
    26.พระอาจารย์ อินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก วัดป่านาคำน้อย ต.บ้านก้อง อ.นายูง จ.อุดรธานี
    27.พระครูสมณกิจจาทร (สว่าง โอภาโส) วัดป่าศรีอุดมรัตนาราม อ.โนนสะอาด จ.อุดรธานี
    28.พระครูเกษมวรกิจ (วิชัย เขมิโย) วัดถ้ำผาจม อ.แม่สาย จ.เชียงราย
    29.พระอาจารย์ คูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง บ.ภูดิน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
    30.พระอาจารย์ เมือง พลวฑฺโฒ วัดป่ามัชฌิมวาส ต.ลำพาน อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
    31.พระอาจารย์ อ่ำ ธมฺมกาโม วัดป่าเขาเขียว ต.วังโพรง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
    32.พระอาจารย์ สำรวม สิริภทฺโท วัดไกลกังวล ต.บ้านเชี่ยน อ.หันคา จ.ชัยนาท
    33.พระอาจารย์ คลาด ครุธมฺโม วัดบางเตย ต.บางเตย อ.เมือง จ.พังงา
    34.พระอาจารย์ สุธรรม สุธมฺโม วัดป่าหนองไผ่ ต.ดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร
    35.พระอาจารย์ บุญทัน ฐิตสีโล วัดเขาเจริญธรรม อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์
    36.พระอาจารย์ กัณหา สุขกาโม วัดแพร่ธรรมาราม ต.เด่นชัย อ.เด่นชัย จ.แพร่
    37.พระอาจารย์ ณรงค์ อาจาโร วัดป่ากกสะทอน ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
    38.พระอาจารย์ สมหมาย อตฺตมโน วัดป่าสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี
    39.พระอาจารย์ สุชิน ปริปุณฺโณ วัดธรรมสถิต ต.สำนักทอง อ.เมือง จ.ระยอง
    40.พระครูสมุห์ พิชิต(โอ) ฐิตวีโร วัดจันทาราม(ท่าซุง) ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี
    41.พระอาจารย์ อุทัย(ติ๊ก) ฌานุตฺตโม วัดป่าบ้านห้วยลาด ต.สานตม อ.ภูเรือ จ.เลย
    42.พระอาจารย์ จีรวัฒน์ อตฺตรกฺโข วัดป่าไชยชุมพล ต.สะเดาะพง อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์
    43.พระอาจารย์ บุญช่วย ปญฺญวนฺโต วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
    44.พระอาจารย์ บุญมี ธมฺมรโต วัดป่าศรัทธาถวาย อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    45.พระอาจารย์ อนันต์ อกิญฺจโน วัดมาบจันทร์ ต.แกลง อ.เมือง จ.ระยอง
    46.พระอาจารย์ นิพนธ์ อภิปสนฺโน วัดป่าบ้านใหม่เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
    47.พระอาจารย์ วิสิทธิ์(ลาย) สนฺติงฺกโร วัดป่าภูสังฆารามฯ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    48.พระอาจารย์ สวัสดิ์ ปิยธมฺโม วัดป่าคูขาด ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม
    49.พระอาจารย์ เฉลิม ธมฺมธโร วัดป่าภูแปก ต.หนองงิ้ว อ.วังสะพุง จ.เลย
    50.พระอาจารย์ สงบ มนสฺสนฺโต วัดป่าสันติธรรม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
    51.พระอาจารย์ ชิต ฐิตจิตฺโต วัดป่าดงคล้อ ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์
    52.พระอาจารย์ อัครเดช(ตั๋น) ฐิรจิตฺโต สำนักสงฆ์บุญญาวาส ต.บ่อทอง อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี
    53.พระอาจารย์ นพดล นนฺทโน วัดป่าดอยลับงา อ.เมือง จ.กำแพงเพชร
    54.พระอาจารย์ ถาวร ฐานวโร วัดป่าเหวไฮ ต.หัวนาคำ อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี
    55.พระอาจารย์ ภูสิต(จันทร์) ขนฺติธโร วัดป่าหลวงตาบัว อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
    56.พระอาจารย์ สมเดช สิริจนฺโท วัดเขาถ้ำโบสถ์ ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
    57.พระอาจารย์ มานะ(หมู) ฉนฺทสาโร วัดป่าเทอดพระเกียรติสิริธร อ.นาแห้ว จ.เลย
    58.พระอาจารย์ สุนทร ฐิติโก วัดป่าหลวงตามหาบัวธรรมเจดีย์ (ร้อยก้อน) อ.หนองแสง จ.อุดรธานี
    59.พระอาจารย์ ทวีศักดิ์(เล็ก) สุจิตฺโต วัดถ้ำดอยลาน ต.สามเงา อ.สามเงา จ.ตาก
    60.พระอาจารย์ กุศล ฐิตกุสโล วัดหนองบัว อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์
    61.พระอาจารย์ พฤกษ์ สุทฺธิญาโณ วัดป่าเขาเขียว ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
    ************************
    หมายเหตุ : ครูบาอาจารย์ที่นิมนต์แล้ว ติดปัญหาเรื่องสุขภาพธาตุขันธ์ไม่อำนวย จึงไม่สามารถไปร่วมงานได้
    1. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม เขตพระนคร กทม.
    2. ท่านพระอาจารย์แบน ธนากโร วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
    3. ท่านพระอาจารย์จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร
    4. ท่านพระอาจารย์สังวาลย์ เขมโก วัดทุ่งสามัคคีธรรม อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี
    5. ท่านพระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร วัดถ้ำสหายธรรมนิมิตร อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    6. ท่านพระอาจารย์วันชัย วิจิตฺโต วัดภูสังฆาราม(ภูสังโฆ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    องค์ที่รายชื่อเป็นสีแดงนั้นได้ละสังขารไปแล้วเช่นกัน
     
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ใครอยากคันไม้คันมือ (มีเรื่อง) นี่ต้องแขวนเหรียญท่านองค์นี้ครับเฮี้ยวสะบัด


    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    วัดป่าอรัญญวิเวก บ้านข่า ศรีสงคราม นครพนม

    โดย...อำพล เจน

    เคยได้ยินมานานแล้วว่า “นิสัย” เป็นของที่ใครก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ แม้พระอรหันตสาวกก็เปลี่ยนไม่ได้ คงมีแต่เพียงพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนนิสัยได้
    พระอรหันตสาวกองค์หนึ่ง ท่านสำรวมอินทรีย์งดงามตามพระวินัยบัญญัติทุกประการ แต่คราวหนึ่งท่านพบร่องน้ำขวางทาง ท่านกระโดดแผลวข้ามไปเฉยเลย
    พระพุทธเจ้าได้บอกว่า นั่นเพราะนิสัยเดิมในชาติก่อนยังติดตามมา
    ชาติก่อนท่านเป็นลิง
    สำหรับลิงแล้ว ร่องน้ำแค่นั้นสบายมาก ว่างั้นเถอะ
    หลวงปู่ตื้อ อจลธมโม คือพุทธสาวกอีกรูปหนึ่งที่ต้องบอกว่า “นิสัย” ของท่าน “มันส์” มากๆ ลีลาการเทศน์ของท่านไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน ท่านเป็นเจ้าของสำนวนเทศน์ “มงคลหมา และมงคลหมู” อันลือลั่น
    มุมมองหมาและหมูของท่าน
    กระทั่งเห็นหมาและหมูดีกว่าคนนั้นเป็นสิ่งที่ใครต่อใครฟังแล้วเถียงไม่ได้
    ตัวอย่าง
    หมาตื่นไวกว่าคน มีอะไรผิดปกตินิดเดียวหมาจะตื่นขึ้นทันที โดยไม่มีความง่วงงุนอาลัยการนอน หมาเป็นยอดกตัญญูรู้คุณผู้ให้ข้าวน้ำ อาศัยและตอบแทนด้วยการเฝ้าบ้าน เห่าขโมย และข้อดีของหมายังมีอีกมาก แต่ผมจำไม่ได้ ถ้าพูดไปจะผิดเปล่าๆ ส่วนข้อดีของหมู อย่าพูดเลย จะสะเทือนใจคนอีกหลายคน
    ครั้งหนึ่ง ที่วัดแห่งหนึ่ง ชาวบ้านไม่พอใจคำเทศน์กระทบกระแทกแสบใจของท่าน พากันประท้วง จะไม่ยอมใส่บาตร ท่านทราบแล้วกล่าวว่า
    “ญาติโยมไม่ใส่บาตรอาตมา อาตมาก็ไม่สนใจ อาตมาไปบิณฑบาตในเมืองก็ได้”
    แต่ท่านก็ไม่ได้เข้าเมืองบิณฑบาต เพราะชาวบ้านก็ยังใส่บาตรท่านเป็นปกติดี
    เรียกว่าทั้งรักทั้งชัง ทั้งชื่นชม และหมั่นไส้
    คำเทศน์อย่างไรหรือจึงทำให้ผู้คนประท้วงท่าน
    ยกตัวอย่างที่เบาสุดสุด
    “เอ้า..โยมผู้หญิงก็มา โยมผู้ชายก็มา กะเทยไม่ต้องมา...อีดอกทอง”
    สะอึกไหม
    กะเทยทั้งหลายอย่าสะเทือนใจ ขอให้ระลึกได้ถึงกรรมอันหนักที่ท่าพากันทำไว้แต่ชาติก่อนก็แล้วกัน
    พระ บาลีว่าคนที่ชอบผิดลูกผิดเมียคนอื่น ประพฤติต่ำช้าด้วยการล่วงประเวณีผู้หญิงที่มีเจ้าของเขาหวงต้องลงนรก พ้นนรกมาเกิดใหม่ จะต้องเป็นกะเทย เป็นบัณเฑาะก์ดูดกินน้ำกามคนอื่นจึงจะสงบความเร่าร้อนลงได้
    มิน่าเล่าท่านจึงว่า “อีดอกทอง”
    อย่าพาลมาโกรธผมด้วยเล่า ผมไม่ใช่หลวงปู่ตื้อหนา
    ในทางโลกชื่อว่าตื้อจะหาชื่อคู่กันได้ยาก แต่ในทางธรรมชื่อที่คู่กับตื้อคือ แหวน
    สมัยพุทธกาล พระสารีบุตรคู่กับพระโมคคัลลาน์ สมัยพระอาจารย์มั่น หลวงปู่แหวน คู่กับหลวงปู่ตื้อ เป็นคู่พระกรรมฐานที่เดินคู่เคียงกันมาโดยตลอด
    ถ้าคิดถึงหลวงปู่แหวน จะคิดถึงหลวงปู่ตื้อด้วย ในทางกลับกัน ถ้าคิดถึงหลวงปู่ตื้อ หลวงปู่แหวนก็ต้องคิดถึงด้วย เมื่อแก่เฒ่าลงไปด้วยกัน หลวงปู่แหวนไปอยู่ดอยแม่ปั๋ง หลวงปู่ตื้อกลับบ้านเกิดนครพนม และต่างฝ่ายต่างมรณภาพกันไปตามวาระแห่งสังขาร และป่านนี้บนโน้น..แดนพระนิพพาน ท่านคงได้อยู่คู่กันอีก,ใครจะไปรู้
    หากกระดูกของมนุษย์ที่แปรสภาพเป็นพระธาตุ หมายถึงสภาวะของพระอรหันต์ ผมจะพูดเต็มเสียงว่าทั้งสองท่านอยู่บนพระนิพพาน อัฐิธาตุของหลวงปู่แหวน ใครก็รู้ว่าเป็นพระธาตุไปแล้ว ส่วนหลวงปู่ตื้อ อัฐิธาตุของท่านแปรสภาพเป็นพระธาตุภายใน 3 เดือน หลังสังขารท่านถูกเผา
    ถ้าพระธาตุจากอัฐิไม่ได้แปลว่าอรหันต์ ที่พูดเต็มเสียงไปก็ผิด
    ผิดหรือถูกผมไม่สน ผมสนแต่ว่าท่านเหล่านั้นคือผู้ที่ชาวพุทธควรกราบไหว้บูชาอย่างสนิทใจเข้าไว้
    ความน่ารักของท่านทั้งสองขณะอยู่ด้วยกันนั้นมีอยู่มาก ที่จำมาเล่าได้นิดหน่อยก็มีอยู่ดังนี้
    ครั้งหนึ่ง ดูเหมือนจะเป็นที่วัดอรัญญวิเวก แม่แตง เชียงใหม่ (ที่ท่านอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป พำนักอยู่ในปัจจุบัน) ทั้งหลวงปู่แหวน และหลวงปู่ตื้อต่างพำนักอยู่ในวัดนี้ด้วยกัน หลวงปู่ตื้อกำลังปีนบันไดขึ้นไปซ่อมอะไรไม่ทราบ มีโยมท่านหนึ่งเดินมาสนทนาด้วย มาถามปัญหาธรรมะ หลวงปู่ตื้อได้บอกว่า
    “นู่น, ไปถามองค์นู้น องค์ที่พูดเสียงดังๆ น่ะ”
    ท่านบุ้ยไปที่หลวงปู่แหวน ซึ่งพูดเบาเหมือนกระซิบ
    น่ารักจริงๆ
    สหายธรรมแซวกัน
    ถ้าจะเปรียบไปแล้ว ผมอยากเปรียบท่านทั้งสองให้ละม้ายพระสารีบุตร และพระโมคคัลลาน์ ยุคพุทธกาล พระสารีบุตรเก่งแสดงธรรม พระโมคคัลลาน์เก่งแสดงฤทธิ์ ส่วนยุคกึ่งพุทธกาลนี้ หลวงปู่แหวนจะได้สนทนาธรรมแก่ผู้ข้องใจมากกว่า แต่ถ้าตรงไหนเฮี้ยนๆ หลวงปู่ตื้อจะได้ไปที่นั่น
    บทพิสูจน์ความเฉียบขาดของหลวงปู่ตื้อมีอยู่ในวัตถุมงคลรุ่นเก้า คือ เหรียญรูปคล้ายๆ หยดน้ำ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่ตื้อครึ่งองค์ ทำหน้าเฉียงๆ ค่อนไปทางหันข้าง ด้านหลังเป็นรูปเครื่องอัฐิบริขาร สร้างไว้โดยวัดศรีวิชัย และเป็นรุ่นสุดท้ายของท่าน เหรียญรุ่นนี้คุณพิพัฒน์ ไกรกาญจน์ เล่าว่า ได้นำไปถวายหลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ ให้ท่านดู แล้วบอกว่า
    “อย่าแขวนนะ ให้เก็บไว้ที่บ้าน ถ้าแขวนล่ะ เจี๊ยวแน่”
    คนนครพนมรู้จัดฤทธิ์เดชของหลวงปู่ตื้อดี ต่างพูดเสียน่ากลัวว่า แขวนหลวงปู่ตื้อแล้วมีแต่เรื่องบู๊
    อะไรจะขนาดนั้น
    สมัยหนึ่งพวกทหารอากาศไปนมัสการท่าน และคงมีเหตุไม่ชอบมาพากล หลวงปู่ตื้อผลุนผลันลุกขึ้นเดินไปฉี่ใส่ตอไม้ และกล่าวห้วนๆ กับพวกนั้นว่า
    “คนเราถ้ามันจะขลัง ต้องขลังกระทั่งเยี่ยว เอ้า..ยิง”
    พวกนั้นซัลโวใส่ตอไม้ไม่ออกสักนัด
    จะบู๊ หรือมีแต่เรื่องอย่างนี้หรือเปล่า? ถ้าใช่ ผมอยากแขวนติดคอเยอะๆ จะบอกให้
    หาแบบนี้มานานแล้ว
    หลวงปู่ตื้อท่านเบี้ยวเขาไปทั่ว “เบี้ยว” ของท่านมีธรรมะชั้นพิสดารสอดแทรกอยู่ด้วยเสมอ
    มีพฤติกรรมทางเบี้ยวของพระรูปหนึ่งปรากฏในประวัติของเจ้าคุณปู่จันทร์ เขมิโย วัดศรีเทพประดิษฐาราม นครพนม ซึ่งเจ้าคุณปู่จันทร์นั้น ได้ชื่อว่าเป็นนักเทศน์ที่จับหัวใจผู้ฟัง บางครั้งเทศน์จบแล้ว คนยังไม่ยอมให้ท่านลงจากธรรมาสน์ ขอร้องให้ท่านเทศน์ต่ออีกกัณฑ์ เพราะติดใจติดหู จึงอยากฟังเยอะ
    ครั้งหนึ่งในวัดศรีเทพฯ จะเป็นงานบุญอะไรผมก็เลือนไปแล้ว พระรูปนั้นได้ไปร่วมด้วย หลังจากเจ้าคุณปู่จันทร์เทศน์เสร็จ พระรูปนั้นได้กล่าวว่า
    “ฟังเทศน์หลวงปู่จันทร์ไปพระนิพพานไม่ได้หรอกโยม”
    ญาติ โยมที่ได้ยินหูผึ่งขนาดสองวา โกรธหน้าเขียว นึกอยากจะขัดท่าน แต่ท่านกลับออกไปจากวัดศรีเทพฯ เสียก่อน จึงผูกใจเจ็บไว้ว่าถ้าพอหน้าอีกจะซัดเสียให้รู้เรื่อง
    ต่อมาพระรูปนั้นได้กลับมาที่วัดศรีเทพฯ อีก บรรดาผู้พกหัวใจอาฆาตก็กรูกันเข้าไปล้อมท่าน และรุมซักว่า
    “คราวก่อนท่านมาที่นี่ ท่านว่าฟังเจ้าคุณปู่เทศน์แล้วไปนิพพานไม่ได้ใช่ไหม”
    “ใช่” ท่านตอบ
    ถ้าฟังเทศน์เจ้าคุณปู่ แล้วไปนิพพานไม่ได้ ฟังเทศน์ใครล่ะจะไปได้…ท่านรึ”
    “ใช่” ท่านตอบหน้าตาเฉย แล้วย้ำว่า “ฟังเทศน์ฉันนี่แหละ ไปนิพพานได้”
    พวกนั้นถึงขั้นเมาหมัด งงเหมือนโดนหมัดเข้าเต็มเปา
    “ทำไม”
    “ก็แค่ฉันตั้งนะโม คนก็ลุกออกไปนอกศาลาแล้ว 3 คน พอลงมือเทศน์ก็หายหมดทั้งศาลา เพราะว่าฟังเทศน์ฉันแล้วเกิดนิพพิทา (เบื่อหน่าย) จึงจะไปนิพพานได้ แต่ฟังเทศน์หลวงปู่จันทร์ มีแต่ติดอกจิตใจ ไม่เกิดนิพพิทา จะไปนิพพานได้ไง”
    เท่านั้นแหละยิ้มก็เปิดกว้างแก่มุมปากมุมใจของทุกคน
    พฤติกรรมนี้ในประวัติเจ้าคุณปู่ไม่ยอมบอกชื่อพระรูปนั้น ผมเชื่อว่าถ้าไม่ใช่หลวงปู่ตื้อ ก็ต้องเป็นท่านอาจารย์ทองรัตน์ เพราะมีแต่สองท่านที่มีพฤติกรรมเบี้ยวแสบได้
    วันหนึ่งผมและคุณปัญญา โกวิทธวงศ์ ได้ขึ้นไปกราบหลวงปู่สิมที่ถ้าผาปล่อง กราบเรียนถามท่านเพื่อหาความกระจ่างในเรื่องนี้ หลวงปู่สิมยิ้มๆ และบอกว่า
    “ท่านอาจารย์ทองรัตน์สู้ปู่ตื้อไม่ได้หรอก”
    พระนิรนามรูปนั้น ต้องเป็นหลวงปู่ตื้ออย่างไม่ต้องสงสัย เพราะคำบอกใบ้นั้นชี้นำไปที่หลวงปู่ตื้ออย่างชัดเจน
    หลวงปู่สิมตอกย้ำใส่ใจเราสองคนอีกว่า
    “หลวงปู่ตื้อเก่งนะ”
    รูปถ่ายหลวงปู่ตื้อก็ติดอยู่ข้างผนังถ้ำปล่อง ใครไปที่นั่นจะเห็นทุกคน
    ความเก่งของหลวงปู่ตื้อ พรรณนากันทั้งวันไม่หมด อย่างไรก็ตามมาฟังท่านอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป เล่าถึงหลวงปู่ตื้อให้ฟังดีกว่า ท่านเล่าเรื่องต่อไปนี้ให้ผมฟังนานนับปีแล้ว
    ท่านเล่าว่า
    “สมัยก่อนติดตามครูบาอาจารย์ไป เคยได้อยู่กับปู่แหวนและปู่ตื้อ เคยได้นวดถวายทั้งสองท่านเสมอ ครั้งหนึ่งได้นวดถวายปู่ตื้อ กำลังนวดอยู่ ท่านก็บอกว่า นั่น นั่น ยิงกันใหญ่แล้ว อาตมาสงสัยว่าอะไรยิงกัน ถามท่าน ท่านก็ว่าอิหร่านกับอิรักยิงกันใหญ่แล้ว ตอนนั้นยังไม่มีเรื่องอิหร่านกับอิรักยิ่งกัน (คราวรบกันครั้งแรก) พอรุ่งเช้าได้เห็นหนังสือพิมพ์ลงข่าว อิหร่านอิรักยิ่งกัน เหมือนที่ปู่ตื้อพูดไม่มีผิด ถามท่านว่าเห็นหรือ ท่าว่าอย่าว่าแต่อิหร่านอิรักเลย เห็นหมด ทั้งโลกก็เห็น
    ท่านอาจารย์เปลี่ยน บอกว่าความเห็นอันกระจ่างของท่านมีเพื่ออะไรไม่ทราบ แต่ท่านรู้สึกว่าครูบาอาจารย์กำลังกระตุ้นการประพฤติปฏิบัติของเรา ทำให้เราอยากเห็นอย่างท่านบ้าง
    “อีกคราวหนึ่งกำลังนวดท่านอยู่เหมือนกัน ท่านเอะอะว่า มาแล้ว มาแล้ว รถกระบะสีฟ้ากำลังเลี้ยวโค้ง(ออกชื่อโค้ง แต่ผมจำไม่ได้) มา อีก 15 นาทีจะมาชนเสาไฟฟ้าหน้าวัดตายสองรอดหนึ่ง ราว 15 นาทีต่อมา มีเสียงโครมลั่นอยู่หน้าวัด พระเณรพากันออกไปดู เห็นรถกระบะสีฟ้างอก่องอขิงอยู่กับเสาไฟฟ้าหน้าวัด ตายสองรอดหนึ่งจริงๆ”
    ท่านอาจารย์เปลี่ยนเคารพเลื่อมใสหลวงปู่ตื้อแค่ไหน ใครไปกราบท่านให้ถามดู
    นี่คือเก่งของหลวงปู่ตื้อ
    อีกคราวที่วัดหรือบ้าน งานอะไรสักอย่าง ผมจำสถานที่ไม่ได้ ถ้าจะสอบค้นก็จะได้ แต่ไม่มีเวลาพอ ดังนั้นจะเล่าเอาแต่เหตุการณ์ที่เกิดเหมือนเรื่องอื่นๆ ที่ได้เล่ามาแล้ว คือ หลวงปู่ตื้อได้ไปร่วมงานนั้นด้วย ท่านมีความสำคัญที่สุดในงาน และทุกคนจะต้องให้ท่านเป็นผู้เริ่มสวด แต่วันนั้นท่านอิดออดประวิงเวลาไว้โดยไม่มีใครเห็นสาเหตุที่แท้จริง อดรนทนไม่ได้ก็ถามท่าน ทำไมไม่เริ่มสวดสักที ท่านตอบว่า
    “รออีกสองคนก่อน กำลังจะเข้าเมืองเชียงใหม่แล้ว อีกเดี๋ยวก็มาถึงวัด”
    ครู่ใหญ่ๆ มีรถเก๋งซึ่งเดินทางไกลมาจากกรุงเทพฯ เลี้ยวพรึดเข้ามาจอดในวัด สองสามีภรรยากระหืดกระหอบลงจากรถมาร่วมงาน และถวายของแก่ท่านทันที เมื่อรับประเคนของแล้วท่านจึงลงมือสวด
    พระเณรที่อยู่ใกล้ชิด พอได้ยินท่านกล่าวให้รอ จึงพากันเข้าใจและทึ่งในความรู้เห็นอันแจ่มใสของท่าน
    นี่คือ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ที่ดูเหมือนว่าทุกวันนี้ผู้คนจะระลึกถึงท่านน้อยไปหน่อย...


    บทความจาก
    http://www.udon108.com
     
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    เอาล่ะ คราวนี้ก็มาถึงบทความประจำค่ำคืนวันศุกร์สุดสัปดาห์ในการแนะนำพระเครื่องดี พระอริยสงฆ์ดี กันอีกสัปดาห์หนึ่ง ในคราวนี้ขอแนะนำพระเครื่องที่เป็นเหรียญ และเข้าใจว่ามีความ "ขลัง" ในตัวเองมาก ซึ่งครั้งหนึ่งได้เคยอ่านเจอบทความของคุณอำพล เจน ในหนังสือ "ศักดิ์สิทธิ์" นานมาแล้วกล่าวถึงพิธีการเสกพระของท่านในถ้ำผาปล่องที่เชียงดาวว่า ทุกคนในคืนนั้น ต่างเห็นว่า ภายในถ้ำที่ท่านกำลังใช้กำลังสมาธิขั้นสูงเพื่ออธิษฐานจิตลงบนเหรียญทั้งหมด กลับมีดวงดาวปรากฏขึ้นวนเวียนระยิบระยับ วิ่งวนไปมา ชั่วครูก็หายไปหมด ทุกคนยกมือสาธุการเพราะเข้าใจว่า แม้แต่เทวดาที่มาร่วมพิธี ต่างก็รับรู้และอวยชัยให้พรในพิธีการครั้งนี้ด้วย และเช่นเดียวกันด้วยความอยากได้ จึงนึกว่าจะทำยังไงถึงอยากจะได้เหรียญนี้มาเชยชมบ้าง เหมือนกับอัศจรรย์ จู่ๆ ไม่นานหลังจากที่คิดในวันนั้น เพื่อนกันก็นำเหรียญเงินของท่านมาให้เหรียญนึงในโอกาสวันคล้ายวันเกิด โดยยื่นด้านหลังให้ก่อน พอผมพลิกมาด้านหน้า ต้องใช้คำว่า "เหลือเชื่อ" เพราะเป็นเหรียญ "วงศ์เข็มมา" ของหลวงปู่สิมที่เราอยากได้จริงๆ แถมเป็นเนื้อเงินเลี่ยมพลาสติกอย่างดีมาให้ซะด้วย แล้วอย่างนี้จะไม่ให้ผมนับถือท่านได้ยังไงกันครับ ทีนี้เรามาดูเหรียญรุ่นนี้กันดีกว่าว่ามีรูปแบบและมีการสร้างการเสกกันยังไง

    เหรียญ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร รุ่นวงศ์เข็มมา ชื่อนี้เป็นนามสกุลของหลวงปู่ท่านได้อนุญาตให้นำไปตั้งเป็นชื่อเหรียญรุ่น นี้ นับว่าไม่ธรรมดาแน่นอน ในที่สุดเวลาก็มาถึงราคาขยับขึ้นมาค่อนข้างแรงกว่าพิมพ์อื่นๆ


    วัตถุ มงคลของปู่สิมทุกรุ่นได้รับความสนใจจากเพื่อนนักสะสมกันอย่างกว้างขวาง อีกไม่นานของเก๊ต้องออกมาอย่างแน่นอน ณ.ขณะนี้ยังไม่พบเหรียญเก๊ อย่างไรก็ตามกันไว้ก่อนดีกว่า มาศึกษาเหรียญแท้กัน และก๊อปปี้รอยตัดขอบเหรียญวงศ์เข็มมากันผีออกมาหลอกหลอนกัน เมื่อไหร่ของเก๊ออกมาจะนำมาให้ศึกษากันอีกรอบครับ....


    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร รุ่น 21

    ที่มาของรุ่น วงศ์เข็มมา
    เนื่อง จากผู้สร้างได้นำเรื่องการบูรณะถาวรสถาน ขึ้นกราบเรียนพระกรรมวาจาจารย์ ของท่าน ก็คือ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร เพื่อขออนุญาตสร้างวัตถุมงคลซึ่งเป็นเหรียญรูปเหมือนของหลวงปู่สิม

    ท่าน ก็ประทานเมตตาอนุญาตให้สร้างและแนะนำให้จัดส่งไปยังสำนักต่างๆ ที่ยังมีงานก่อสร้างค้างอยู่ในขณะนี้ให้ลุล่วงก้าวหน้าไปด้วยดี พร้อมกันนี้
    ท่าน ยังเป็นผู้ตั้งชื่อเหรียญรุ่นนี้ให้เป็นพิเศษด้วย โดยใช้นามสกุลของท่านเองคือ วงศ์เข็มมา เรียกว่า **เหรียญวงศ์เข็มมา** หรือ เหรียญของตระกูลอันเกษม (จากวัฏฏะ)

    ซึ่งยังไม่เคยมีผู้ใด หรืออาจารย์องค์ใดที่ท่านให้ใช้นามสกุลของท่านใช้เป็นชื่อเหรียญและชื่อรุ่น มาก่อน แสดงว่าท่านเต็มใจเป็นอย่างยิ่งที่จะให้เหรียญรุ่นนี้มีความพิเศษ เหนือทุกๆ รุ่นที่ทำมาแล้ว

    เพราะท่านเห็นและเข้าใจผู้จัดสร้าง ซึ่งเป็นศิษย์โดยตรงของท่านเอง ว่ามีจิตบริสุทธิ์ต่อการทำงานบูรณะถาวรสถานครั้งนี้เพียงใด พร้อมกันนั้นท่านยังเป็นผู้เลือกหาแบบยันต์
    ด้านหลังเหรียญด้วยตัวเอง ยันต์นี้ไม่เหมือนรุ่นใดๆ ที่ทำกันมาแล้ว เรียกว่า "ยันต์เพชรหลีก" มีความหมายว่าหลีกพ้นจากวิบัติทั้งปวง เหรียญรุ่นนี้จึงพร้อมไปด้วยเมตตามหานิยม
    และแคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายใดๆ ทั้งปวง

    ผู้สร้าง.....
    - พระยงยุทธ นาถกโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่สิม

    วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง
    - สร้างศาลาการเปรียญที่วัดวังใหญ่ จ.นครสวรรค์ ซึ่งอาจารย์ทอง รองเจ้าอาวาสวัดอโศการามดูแลอยู่
    - โบสถ์วัดสันติสังฆาราม จ.สกลนคร ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านที่หลวงปู่สิมเอง ดูแลอยู่
    - อื่นๆ

    ผู้ออกแบบเหรียญ....
    -ช่างมือหนึ่งของประเทศไทย คือ นายช่างเกษม มงคลเจริญ ดีทั้งฝีมือ มารยาท ศีลธรรมภายในจิตใจ

    ชนวนมวลสาร....
    - ทางผู้สร้างได้นำแผ่นโลหะไปให้ท่านอาจารย์ต่างๆ สายพระอาจารย์มั่น ซึ่งถือเป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของท่านลงให้
    1. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
    2. หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
    3. หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี
    4. หลวงปู่สาม อกิญฺจโน วัดป่าไตรวิเวก จ.สุรินทร์
    5. พระอาจารย์จวน กุลเชษโฐ วัดภูทอก จ.หนองคาย
    6. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่

    จำนวนการสร้าง....
    - เหรียญทองคำ 9 เหรียญ
    - เหรียญเงิน 299 เหรียญ
    - เหรียญนวโลหะ 299 เหรียญ
    - เหรียญทองแดง
    - เหรียญเนื้อตะกั่วลองพิมพ์บางส่วน (ไม่มีจำหน่าย..แจกเฉพาะกรรมการ)

    พิธีพุทธาภิเษก....
    - ให้หลวงปู่แหวนทำพิธีอธิษฐานจิตให้ก่อนที่วัดดอยแม่ปั๋ง ในตอนเช้า
    - ทำพิธีใหญ่อีกครั้งที่ถ้ำผาปล่อง ตั้งแต่เวลาค่ำจนถึงสว่าง
    - พระสวดพุทธาภิเษก 4 รูป , สวดธาตุต่างๆ 4 รูป, สวดพระปริตมงคล 9 รูป, พระที่นั่งปรก 9 รูป
    - นำโดยหลวงปู่สิม, หลวงปู่สาม, หลวงพ่อคำแสน และพระอาจารย์อื่นๆ สายอาจารย์มั่น ทั้งภาคเหนือและอีสานอีกคับคั่ง
    - หลวงปู่ขาว, หลวงปู่แหวน ได้แผ่เมตตาให้อีกครั้งหนึ่ง
    <hr class="hrcolor" size="1" width="100%"> [​IMG]

    [​IMG]

    พร้อมนี้ ขอแนะนำต่ออีกรุ่นนึงครับ

    สุดยอดพิธี เหรียญกนกข้างหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ปี 2520
    จัด สร้างในปี 2520 มี 2 เนื้อได้แก่ 1. เนื้อเงิน จำนวน 19 เหรียญ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายในหลวง จำนวน 2 เหรียญในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ปี 2521 2.เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 5000 เหรียญ หลวงปู่ได้อธิตฐานจิตเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ๆ และผู้สร้างยังได้นำไปให้เกจิอาจารย์อีกหลายรูปอธิตฐานจิต ซึ่งได้แก่ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อแพร วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อเส่ง, หลวงพ่อนอ วัดท่าเรือ, หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม ฯลฯ เหรียญนี้เป็นเหรียญอีกรุ่นของหลวงปู่ที่ไม่ควรมองข้าม
    <hr class="hrcolor" size="1" width="100%"> [​IMG]
    ขอขอบคุณ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2009
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    วันนี้อ่านข่าวเจอข่าวนึง คือข่าวเรื่องผีกระสือ หลายคนสงสัยว่ามีจริงมั๊ย วันนี้เลยขอลงนำมาให้ดูกันครั ดูแล้วก็ใช้วิจารณญาณกันเอง ส่วนผมเองนั้นเชื่อในจิตตานุภาพ และกุศลผลบุญต่างๆ ที่เราทำ โดยเฉพาะทำบุญกับสงฆ์อาพาธที่ท่าน อ.อุทัย ลูกศิษย์ท่าน อ.มหาบัว ที่วัดป่าเขาใหญ่ท่านเมตตาเล่าให้ฟังถึงอานิสงค์แห่งบุญนี้ ว่ามีขอบเขตบุญที่ประมาณไม่ได้จริงๆ และให้ผลได้ในชาตินี้โดยไม่ต้องรอชาติหน้า ซึ่งเราอาจจะเสวยชาติที่ไม่ใช่มนุษย์ก็ได้
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=rYDQy2fdK40&feature=related"]YouTube - กระสือ (Krasue)[/ame]
     
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    อานิสงค์แห่งบุญช่วยสงฆ์อาพาธ

    อานิสงส์การบริจาคเงินบำรุงโรงพยาบาลสงฆ์หรือโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาลภิกษุสามเณรอาพาธ

    ๑. ชื่อว่าเสมือนอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า "ผู้ใดต้องการอุปัฏฐากเราตถาคต ผู้นั้นจงไปอุปัฏฐากภิกษุไข้เถิด"
    ๒. อกุศลกรรมในอดีตชาติ จะเปลี่ยนจากหนักเป็นเบา จากเบาเป็นสูญ ถือเป็นการสเดาะเคราะห์อย่างหนึ่งได้
    ๓. เจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติ เมื่อได้รับส่วนบุญนี้จะเลิกจองเวรจองกรรม ช่วยให้พ้นเวรพ้นกรรม
    ๔. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง เทวดารักษา สรรพวิญญาณเมตตาปราณี
    ๕. เหล่าวิญญาณร้ายไม่อาจเบียดเบียนบีฑาได้
    ๖. จิตใจสงบร่มเย็น ปวงภัยไม่เกิด ฝันร้ายไม่มี มีสง่าราศีผ่องใส สุขภาพเเข็งเเรง กิจการงานเป็นมงคลแก่ตัว อายุยืนยาว ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย
    ๗. คุณธรรมเจริญมั่นคง ปฏิบัติธรรมก้าวหน้า ปัญญาเกิด
    ๘. ไม่พลัดพรากจากคนรัก ของรัก ก่อนเวลาอันควร
    ๙. ชื่อว่าได้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้มั่นคง ยั่งยืน
    ๑๐. ถือเป็นการทำสังฆทานอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการถวายการอุปัฏฐากบำรุงแก่พระภิกษุสงฆ์จำนวนมาก
    ๑๑. จะไม่ไร้ญาติขาดมิตร เวลาแก่ เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยจะมีคนคอยดูเเล ไม่ถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว
    ๑๒. มีเดชบารมีมาก มียศวาสนา เป็นใหญ่เป็นโต ไม่มีใครข่มขี่เบียดเบียนได้
    ๑๓. จะเป็นที่รักแก่คนทั้งปวง ไปที่ใดจะมีผู้คอยช่วยเหลือเกื้อหนุน ไม่ถูกปล่อยให้ขัดข้องในเรื่องทั้งปวง
    ๑๔. จะมีสมบัติมาก และสมบัติจะไม่ถูกทำลายโดยราชภัย โจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย ฯลฯ
    ๑๕. จะได้พบพระอริยสงฆ์ ได้พบพระอรหันต์ ได้พบพระดี ได้พบพระเครื่องพระบูชาที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ไม่เจอพระปลอม ไม่เจอพระเก๊ พระทุศีล
    ๑๖. จะได้ฟังธรรมจากพระอริยเจ้า และเข้าถึงธรรมได้โดยง่ายดาย
    ๑๗. จะได้เจอครูบาอาจารย์และเพื่อนที่ทรงคุณธรรม
    ๑๘. ด้วยบุญที่อุปัฏฐากภิกษุอาพาธนี้จะเป็นปัจจัยแก่สวรรค์และนิพพาน
    ๑๙. ด้วยบุญที่อุปัฏฐากภิกษุอาพาธนี้ สามารถอธิษฐานให้เป็นปัจจัยแก่การบรรลุเป็นพระมหาสาวก พระอัครสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอนาคตกาลได้<!-- google_ad_section_end --> <fieldset class="fieldset"><legend>รูปขนาดเล็ก</legend> [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </fieldset>
     
  11. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    เมื่อกระสือมีจริง ความศักดิืสิทธิ์ก็มีจริง "พิธีจุดเทียนมหาระงับ" [ame="http://www.youtube.com/watch?v=XyPsBtyB2mA&feature=player_embedded#t=18"]YouTube - ounamilit & 7 karat2[/ame]
     
  12. รับโชค

    รับโชค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,131
    ค่าพลัง:
    +11,878
    สาธุ ครับท่าน กระผมเพ่ิงเข้ามาครับ
    กระผมจะขอร่วมบุญด้วยครับ
    จะพยายามโอนไปทุกเดือนครับ
    เดือนล่ะ 500 บาท ครับผม
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    หมามันโง่

    <!-- Main --><style>body{background: black}></style>
    <center><embed src="http://www.leiyu668.com/flash/material/scenery/scenery_122.swf" wmode="transparent" border="0" height="350" width="500"></center>


    <center>หลวงพ่อเรียกเด็กวัดมา...
    บอกให้ไปเอาเนื้อจากโรงครัวมาก้อนหนึ่ง...แล้วเอาเชือกมาด้วย...
    หลวงพ่อจัดการ...เอาเนื้อ...ผูกติดกับหลังหมา...

    ผูกเสร็จ...ก็ปล่อยหมา ...
    หมาเห็นเนื้ออยู่บนหลัง...ก็ไล่งับ...
    พอหัวโดดงับ...ตัวก็ขยับหนี...
    เพราะหมามันกัดหลังตัวเองไม่ถึง...
    ยิ่งโดดงับเร็ว...ก้อนเนื้อก็หนีเร็ว...
    โดดไม่หยุด...เนื้อก็หนีไม่หยุด...น่าสงสารหมามาก...

    หมาโดดอยู่นาน...งับเท่าไหร่...เนื้อก็ไม่เข้าปากสักที...
    ผู้คนบนศาลา...พากันหัวเราะชอบใจ...
    หัวเราะเยาะหมา...ว่าทำไมมันถึงโง่ยังงี้...
    ไล่งับ...จะกินเนื้อ...ที่ตัวเองไม่มีทางไล่ตามทัน ตลอดชีวิต...

    หลวงพ่อ...มองดูด้วยความสนุกสนานจนหนำใจแล้ว...
    ก็แก้เชือกออกมากหลังหมา...
    แล้วหันมาพูดกับญาติโยมว่า...

    มนุษย์เรา...มีความรู้สึกว่า...ตัวเองพร่อง...ตัวเองยังไม่เต็ม...
    ต้องเติมตลอดเวลา...เติมไม่หยุด...เพื่อให้ตัวเองเต็ม...

    เราอยากสวย...อยากทันสมัย...
    ไปหาซื้อเสื้อผ้าที่สวยที่สุด...ทันสมัยที่สุดใส่...
    ดีใจได้เดือนเดียว...มีรุ่นใหม่ออกมาอีกแล้ว...สวยกว่า...ทันสมัยกว่า...
    อยากได้โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่...
    ซื้อเสร็จ ๓ เดือน...รุ่นใหม่ก็โผล่มาอีกแล้ว...

    ซื้อคอมพิวเตอร์ทันสมัยที่สุด...
    ๒ เดือนต่อมา...มีรุ่นใหม่กว่าออกมา...ของเราตกรุ่น...

    ซื้อรถเบนซ์...ทันสมัยที่สุด...แพงมาก...
    ขับได้ ๖ เดือน...มีรุ่นใหม่ออกมาอีกแล้ว...
    ทันสมัยกว่า...แพงกว่า...ของเรากลายเป็นเชย...

    เราต้องก้มหน้าก้มตา...ทำงานทั้งวัน ทั้งคืน...หาเงินมา...
    เพื่อมาทำให้ตัวเองทันสมัย...
    ซื้อเสื้อผ้าใหม่...มือถือใหม่...คอมพิวเตอร์ใหม่...รถยนต์คันใหม่...
    เหน็ดเหนื่อยแสนสาหัส...
    เพื่อไม่ให้ตัวเองตกรุ่น...

    ปัจจุบัน...
    เรากำลังไล่งับความทันสมัย...เหมือนหมาที่ไล่งับเนื้อบนหลังของมัน...
    ทั้งที่รู้ว่า...ต่อให้ไล่งับทั้งชีวิต...ก็ไม่มีทางตามทัน...
    น่าสงสารไหมโยม...


    คนเต็มศาลา...เมื่อกี้หัวเราะครึกครื้น...
    ด่าว่า...หมามันโง่...
    ตอนนี้เงียบสนิท...เหมือนไม่มีคนอยู่...

    ไม่รู้ว่า...กำลังสงสารหมา...
    หรือ...
    กำลังทบทวนความโง่ของตัวเอง

    </center>
    [​IMG]


    Bloggang.com :
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2009
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    เมื่อตอนสองทุ่มได้เชิญเทพเทวาทุกชั้นฟ้าชั้นดิน อีกทั้งสรรพจิต สรรพชีวิต สรรพวิญญาณ เปรติ ผี อสูรกาย สัมภเวสีทั้งหลาย รวมถึงผีที่ใช่ญาติและไม่ใช่ญาติทั้งหลาย ทั้งเจ้าที่ พระภูมิฯลฯ ให้มาช่วยกันสวดอิติปิโส รวม 108 จบ ต่อหน้าโต๊ะหมู่บูชาที่บ้าน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงประชวรอย่างเงียบๆ อยู่ ณ เวลานี้ เป็นที่เรียบร้อย พร้อมกับพิธีที่รู้กันในกลุ่มกรรมการทุนนิธิฯ และพิธีที่วัดพระพุทธบาทสี่รอย ที่ เชียงใหม่ ที่อริยสงฆ์เจ้าทั้งหลายท่านกำลังช่วยกันอยู่ในขณะนี้ หากใครมีทิพยญาณ ก็คงรู้ว่าป่านนี้เทพเทวาทั้งหลายท่านคงผุดลุกผุดนั่งกันแน่ ในฐานะข้าในพระองค์เราทั้งหลายควรทำความดี ไม่ว่าจะทำบุญอะไร ไม่ว่าจะใส่บาตรครั้งใด ช่วยอุทิศความดีของท่าน ถวายเป็นพระราชกุศลในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน...ในนามทุนนิธิฯ ขอโมทนาบุญกับทุกท่านล่วงหน้า้ด้วยครับ

    พันวฤทธิ์
    18/9/52
     
  15. BD

    BD เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +419
    พละ 4

    [229] พละ 4 (ธรรมอันเป็นกำลัง, ธรรมอันเป็นพลังทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่หวั่นต่อภัยทุกอย่าง — strength; force; power)ffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>
    1. ปัญญาพละ (กำลังปัญญา — power of wisdom)<O:p></O:p>
    2. วิริยพละ (กำลังความเพียร — power of energy or diligence)<O:p></O:p>
    3. อนวัชชพละ (กำลังสุจริต หรือ กำลังความบริสุทธิ์, ตามศัพท์แปลว่า กำลังการกระทำที่ไม่มีโทษ คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมบริสุทธิ์ เช่นมีความประพฤติและหน้าที่การงานสุจริต ไม่มีข้อบกพร่องเสียหาย พูดจริง มีเหตุผล มุ่งดี ไม่รุกรานให้ร้ายใคร ทำการด้วยเจตนาบริสุทธิ์ — power of faultlessness, blamelessness or cleanliness)<O:p></O:p>
    4. สังคหพละ (กำลังการสงเคราะห์ คือ การยึดเหนี่ยวน้ำใจคนและประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี — power of sympathy or solidarity) สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ 4 คือ<O:p></O:p>
    4.1 ทาน (การให้ปัน โดยปกติหมายถึง ช่วยเหลือในด้านทุนหรือปัจจัยเครื่องยังชีพ ตลอดจนเผื่อแผ่กันด้วยไมตรี อย่างเลิศหมายถึงธรรมทาน คือ แนะนำสั่งสอนให้ความรู้ความเข้าใจ จนเขารู้จักพึ่งตนเองได้ — gift; charity; benefaction)<O:p></O:p>
    4.2 เปยยวัชชนะ (พูดจับใจ, = ปิยวาจา คือ พูดด้วยน้ำใจหวังดี มุ่งให้เป็นประโยชน์และรู้จักพูดให้เป็นผลดี ทำให้เกิดความเชื่อถือ สนิทสนม และเคารพนับถือกันอย่างเลิศหมายถึง หมั่นแสดงธรรม คอยช่วยชี้แจงแนะนำหลักความจริง ความถูกต้องดีงาม แก่ผู้ที่ต้องการ — kindly or salutary speech)<O:p></O:p>
    4.3 อัตถจริยา (บำเพ็ญประโยชน์ คือ ช่วยเหลือรับใช้ ทำงานสร้างสรรค์ ประพฤติการที่เป็นประโยชน์ อย่างเลิศหมายถึง ช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเชื่อถือถูกต้อง (สัทธาสัมปทา) ให้ประพฤติดีงาม (สีลสัมปทา) ให้มีความเสียสละ (จาคสัมปทา) และให้มีปัญญา (ปัญญาสัมปทา) — friendly aid; doing good; life of service)<O:p></O:p>
    4.4 สมานัตตตา (มีตนเสมอ คือ เสมอภาค ไม่เอาเปรียบ ไม่ถือสูงต่ำ ร่วมสุข ร่วมทุกข์ด้วย อย่างเลิศหมายถึง มีความเสมอกันโดยธรรม เช่น พระโสดาบันมีตนเสมอกับพระโสดาบัน เป็นต้น — equality; impartiality; participation)<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    พละหมวดนี้ เป็นหลักประกันของชีวิต ผู้ประพฤติธรรม 4 นี้ย่อมดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ เพราะเป็นผู้มีพลังในตน ย่อมข้ามพ้นภัยทั้ง 4 คือ<O:p></O:p>
    1. อาชีวิตภัย (ภัยเนื่องด้วยการครองชีพ — fear of troubles about livelihood)<O:p></O:p>
    2. อสิโลกภัย (ภัยคือความเสื่อมเสียชื่อเสียง — fear of ill-fame)<O:p></O:p>
    3. ปริสสารัชชภัย (ภัยคือความครั่นคร้ามเก้อเขินในที่ชุมนุม — fear of embarrassment in assemblies)<O:p></O:p>
    4. มรณภัย (ภัยคือความตาย — fear of death)<O:p></O:p>
    5. ทุคคติภัย (ภัยคือทุคติ — fear of a miserable life after death)<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ดู [186] สังคหวัตถุ 4<O:p></O:p>
    A.IV.363. องฺ.นวก. 23/209/376.<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>

     
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ข้อคิดธรรมะในวันสุดสัปดาห์ สำหรับผู้ที่ชอบธรรมะปฏิบัติ แต่สำหรับผู้ที่ชอบพระเครื่องดูจะยาวไปสักนิด แต่หากจะลองหันมาศึกษาในเรื่องนี้ดู ก็เชิญอ่านได้ นับว่าไม่เสียหลายที่เข้ามาเสาะหาพระเครื่องแล้วได้ธรรมะและข้อคิดต่างๆ กลับไป

    [​IMG]

    บารมี ยิ่งยวด หรือ ยิ่งใหญ่
    โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)



    ให้ธรรม-ให้ทุน

    ขอเจริญพร วันนี้ ก็เช่นเดียวกับครั้งก่อนๆ คือคณะคุณโยมมิสโจ พร้อมด้วยญาติมิตรลูกศิษย์ท่านที่เคารพนับถือ ได้ทำบุญถวายภัตตาหาร สำหรับวันนี้เป็นรายการประจำเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531

    นอกจากเลี้ยงภัตตาหารแล้ว คราวนี้ คุณโยมยังได้ทำทานพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือได้ชักชวนญาติมิตรร่วมกันสร้างหนังสือ “พุทธธรรม” สำหรับถวายแก่วัดต่างๆ แก่พระสงฆ์ และญาติโยม สาธุชนที่สนใจใฝ่ธรรมทั้งหลาย ซึ่งเมื่อกี้นี้อาตมาก็ได้อนุโมทนาไปครั้งหนึ่งแล้ว ในตอนที่คุณศุภนิจ คุณศุภวรรณ และคุณสุจินต์ ได้มาถวายหนังสือนี้ไว้ก่อน นอกจากได้สร้าง คือทำให้มีขึ้นมาแล้ว ก็ได้นำมาถวายอาตมาสำหรับไปแจกต่ออีกด้วย

    โดยสรุปก็คือ การบริจาคทรัพย์สร้างหนังสือ “พุทธธรรม” นี้ เป็นการทำบุญ 2 ชั้น ทั้งเผยแพร่ธรรม และถวายทุนการศึกษาแก่พระเณร คือว่า หนังสือนี้โยมได้สร้าง โดยไปจัดหามาจากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งได้พิมพ์หนังสือนี้ขึ้น เพื่อจะหาทุนมาให้การศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร

    มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนี้ เรียกกันว่าเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ มีพระเณรเรียนอยู่ประมาณ 1,500 องค์ นับว่าเป็นจำนวนมาก พระเณรเหล่านี้พักอยู่ตามวัดต่างๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร ตลอดจนจังหวัดใกล้เคียง ไปถึงเมืองนนท์ เมืองปทุมธานี พระเณรเหล่านี้ไม่ใช่เป็นพระที่อยู่เฉพาะในกรุงเทพฯ หรือจังหวัดใกล้เคียง แต่เป็นพระเณรที่มาจากทั่วประเทศ คือมาจากทุกภาคเกือบจะทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย ซึ่งมาเล่าเรียนศึกษา เรียนนักธรรม เรียนบาลี เช่นได้เปรียญต่างๆ แล้ว ก็มาเรียนเพิ่มเติมในมหาวิทยาลัยสงฆ์อีก

    ทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์นี้ ก็จะต้องหาทุนมาจัดการศึกษา แต่ไม่ค่อยจะมีทุนรอน จึงต้องหาวิธีที่จะได้รับความอุปถัมภ์มาจากด้านต่างๆ ก็เลยพิมพ์หนังสือนี้ขึ้นเป็นสื่อในการที่จะหาทุน และนอกจากหาทุนแล้ว ก็จะได้เป็นการเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปด้วยพร้อมกัน

    เพราะฉะนั้น เมื่อญาติโยมไปจัดหาซื้อหนังสือนี้มา ในขั้นที่หนึ่ง ก็ได้ช่วยให้ทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร ซึ่งเป็นการบริจาคทานที่มอบแก่ส่วนรวม จึงเรียกว่าเป็นสังฆทาน เมื่อเป็นสังฆทาน ก็เป็นทานที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญมาก ว่ามีผลยิ่งใหญ่ อันนี้ก็เป็นทานขั้นที่หนึ่ง พอเริ่มซื้อก็ได้ทำบุญไปแล้ว

    ขั้นที่สอง เมื่อนำหนังสือนี้มาแจกแก่ญาติโยม รวมทั้งนำมาถวายอาตมาให้ไปแจกต่อด้วย ก็เรียกว่าเป็นธรรมทาน ที่เป็นยอดของทาน เมื่อกี้เป็นสังฆทานก็เป็นทานยิ่งใหญ่แล้ว พอมาเป็นธรรมทานก็เป็นทานชั้นเลิศอีก ดังที่โยมก็คงเคยได้ยินพุทธภาษิตบทหนึ่งที่ว่า

    สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
    แปลว่า การให้ธรรมชนะการให้ทั้งปวง


    ให้ธรรม คือยอดทาน

    ธรรมทานนี้ชนะทานทุกอย่าง เพราะเป็นการให้แสงสว่างแก่ชีวิต คนที่ได้ธรรมะไปแล้วก็รู้จักที่จะดำเนินชีวิตของตนให้ถูกต้อง โดยมีจิตใจที่มีความสุข และประพฤติตัวดี บำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น ช่วยให้สังคมมีความสุข มีความเจริญ และก้าวหน้าในธรรม การที่จะปฏิบัติธรรมถูกต้อง ไม่ว่าจะเจริญศีล สมาธิ หรือปัญญาอย่างไรก็ตาม ก็จะต้องรู้จักธรรมะ เพราะฉะนั้นการให้ธรรมะก็คือให้ทางปฏิบัติและทางดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง

    แม้แต่จะไปทำทานอื่น หรือการที่คนจะไปช่วยเหลือกัน จะทำความดีอะไรๆ ก็เพราะเข้าใจธรรมะ หรือเคยได้ยินได้ฟังคำสอนที่ถูกต้อง ถ้าได้รู้จักคำสอนที่ถูกต้อง คือธรรมะนี้แล้ว ก็จะสามารถทำความดีได้ทุกอย่าง แต่ถ้าไม่รู้จักธรรมะ ก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไรจึงจะถูกต้อง ก็อาจจะประพฤติผิดพลาดได้มากมาย พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า

    “การให้ธรรมเป็นการให้ที่เลิศประเสริฐสุด”

    เมื่อโยมและญาติมิตรมาแจกหนังสืออย่างนี้ คือ สร้างหนังสือนี้มอบให้แก่ที่อื่นหรือแก่บุคคลอื่น ก็เท่ากับว่าแจกจ่ายธรรมะ เป็นการให้ทานที่ประเสริฐที่สุด และเป็นการทำบุญที่สำคัญ

    ทำไมโบราณว่า จารึกธรรมหนึ่งอักษร
    เท่ากับสร้างพระพุทธปฏิมาหนึ่งองค์


    มีคติแต่โบราณบอกว่า การสร้างพระธรรม แม้แต่หนึ่งตัวอักษร ถือว่ามีคุณค่าเท่ากับได้สร้างพระพุทธรูปหนึ่งองค์ โบราณถือกันมาอย่างนี้ เพราะถ้าได้ทำบุญสร้างอักษรจารึกพระธรรมไปแล้ว ก็จะทำให้คนได้รู้เข้าใจว่า จะประพฤติปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้อง

    แม้แต่เราจะรู้จักปฏิบัติต่อพระพุทธรูปถูกต้อง เราก็ต้องรู้จักพระธรรมด้วย เพราะพระพุทธรูปนั้น เป็นแต่เพียงวัตถุที่สร้างเป็นรูปเปรียบของพระพุทธเจ้า ถ้าเราไม่รู้จักธรรมะ ไม่รู้จักคำสอน เราก็ไม่รู้ว่าจะมีพระพุทธรูปไปทำไม แล้วเราควรจะทำอย่างไรต่อพระพุทธรูปนี้

    การที่เราได้นึกถึงพระพุทธรูป และไปหาพระพุทธรูปมา หรือไปไหว้พระพุทธรูป ก็เพราะว่า เราได้รู้จักพระธรรม ได้รู้จักคำสอนว่า อ๋อ พระพุทธรูปนี้ เป็นองค์แทนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ามีพระคุณอย่างนั้นๆ เราจึงได้แสดงความเคารพนับถือพระองค์ อย่างนี้เรียกว่ารู้จักพระพุทธคุณด้วยอาศัยธรรมะ เพราะฉะนั้น การให้ธรรมะจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

    นอกจากนั้น เวลาเราไหว้พระพุทธรูป เราจะทำใจอย่างไรถูกต้อง ก็ต้องอาศัยพระธรรมมาสอนอีกเหมือนกัน ว่าเวลาไหว้พระนะ จะต้องทำจิตใจให้สงบ ให้ผ่องใสเบิกบานอย่างนั้นๆ ระลึกพระคุณอย่างนั้นๆ การที่เราปฏิบัติถูกต้อง ก็เพราะอาศัยพระธรรม

    พระธรรมมีความสำคัญอย่างที่กล่าวมา ท่านจึงถือว่าการสร้างพระธรรม แม้แต่เพียงตัวอักษรหนึ่ง มีค่ามากเท่ากับสร้างพระพุทธรูปหนึ่งองค์ แล้วถ้าสร้างหลายตัวอักษร ก็ยิ่งมีค่ามากขึ้น คำสอนธรรมะนี้จารึกข้อธรรมที่สำคัญทุกอย่างไว้ เป็นเครื่องสืบต่อพระศาสนา

    อันนี้ก็เป็นสาระสำคัญที่แสดงถึงประโยชน์หรืออานิสงส์ที่เกิดขึ้นจากการสร้างหนังสือธรรมะ หรือคัมภีร์ขึ้นมาเผยแพร่


    ทำบุญให้ดี ทำทีเดียวได้ครบทั้งทาน-ศีล-ภาวนา

    การที่โยมมาทำบุญวันนี้ อย่างที่ทำกันมาทุกๆ เดือน ถวายทานแล้วมาสังสรรค์กันในหมู่ญาติมิตร แล้วก็มาบำเพ็ญธรรมทานอย่างนี้ ทั้งหมดนั้นก็เป็นการบำเพ็ญบุญกิริยา คือการทำบุญตามหลักพระพุทธศาสนา ซึ่งเราได้ทำกันในด้านต่างๆ ดังที่ได้เคยกล่าวมาแล้วหลายครั้ง โดยเฉพาะที่เห็นชัดๆ ก็คือทาน

    ตอนแรกก็ถวายทาน ถวายภัตตาหาร แล้วก็รักษาศีล ดังที่ได้สมาทานศีลกันเมื่อกี้นี้ แล้วก็ได้ภาวนา คือทำจิตใจและสติปัญญาให้เจริญงอกงามขึ้น ทำจิตให้เจริญด้วยการทำใจให้สงบ ให้เบิกบานผ่องใส แล้วก็เจริญปัญญาด้วยการฟังธรรม เมื่อฟังธรรมะไปแล้ว ใจคอสบาย เกิดความสว่าง เข้าใจธรรมะ รู้ว่าอะไรจริง อะไรถูกต้อง อะไรดีงาม มีความรู้ความเข้าใจในหลักคำสอนมากขึ้น ก็เจริญปัญญา แม้จะยังไม่ได้บำเพ็ญสมาธิอะไรก็เรียกว่าเป็นภาวนา

    รวมแล้วก็คือปฏิบัติตามหลัก 3 ประการที่เรียกว่าเป็นบุญกิริยา คือ ทาน ศีล และภาวนา ถ้าเราปฏิบัติถูกต้อง มาทำบุญกันในวันนี้ ก็ได้ครบทั้ง 3 อย่าง ได้ทั้งทาน ทั้งศีล และภาวนา


    ทำบุญสูงขึ้นไป กลายเป็นบารมี

    ว่าถึงการทำบุญนี้ แยกได้เป็นหลายระดับ คือในขั้นต้นๆ นี้เราอาจจะทำพอเป็นพื้นฐานสำหรับการปฏิบัติธรรมขั้นต่อไป เช่นว่า ในการบำเพ็ญทานเราก็อาจจะแบ่งปันบริจาคบำรุงต่างๆ พอเป็นพื้นฐานสำหรับความมั่นคงงอกงามของการรักษาศีลและสำหรับการบำเพ็ญภาวนา หรือในการรักษาศีล ก็รักษาพอเป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์ในสังคมที่ดีงาม สูงขึ้นไปก็เป็นพื้นฐานในการบำเพ็ญสมาธิอะไรต่างๆ เหล่านี้ เรียกว่าเป็นการบำเพ็ญกุศลทำความดีในขั้นพื้นฐาน สำหรับการก้าวไปสู่ธรรมะขั้นสูงขึ้นไป

    อีกระดับหนึ่ง บางทีเราอาจจะอยากปฏิบัติให้ยิ่งกว่านั้น จึงมีการทำดี ในขั้นเป็น “บารมี” ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจขั้นหนึ่ง คือบางท่านไม่ได้คิดแต่เพียงว่า ทำบุญ หรือทำความดีเป็นพื้นฐานเบื้องต้นเท่านั้น แต่อยากจะทำให้เป็นบารมี ซึ่งเป็นคำสำคัญอย่างหนึ่ง ผู้ใดต้องการจะทำความดีให้ยวดยิ่งให้เป็นพิเศษ ก็ทำให้ถึงขั้นเป็นบารมี

    ในขั้นบารมี ถามว่าบารมีเป็นอย่างไร คำว่า “บารมี” นั้นก็คล้ายๆ กับคำที่เราเคยได้ยินบ่อยๆ เราเคยได้ยินคำที่พูดว่า บรม หรือปรม คำว่าบรมหรือปรมนี้เป็นคำชุดเดียวกับบารมี และคำว่าบารมีนั้น ก็มาจากคำว่าบรมหรือปรมนั่นเอง

    บรมหรือปรมแปลว่าอย่างยิ่ง เช่นบรมสุข ก็แปลว่าความสุขอย่างยิ่ง หรือเราเรียกบุคคลที่สูงสุด อย่างที่นำมาใช้กับสมเด็จพระราชินี ก็เรียกพระบรมราชินี ใช้กับบุคคลก็ตาม ใช้กับอะไรก็ตาม ก็ใช้ในระดับสูงอย่างยิ่ง หรือสูงสุด

    คำว่าบรม ก็มาเป็นบารมี “บารมี ก็คือธรรมะ หรือ คุณธรรมที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อจะบรรลุจุดหมายที่สูงส่ง”

    จะเห็นว่าเป็นเรื่องสูงทั้งนั้น การปฏิบัติและคุณธรรมที่ปฏิบัตินั้น ก็บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด และบำเพ็ญไปก็มีจุดหมายที่จะบรรลุถึงสิ่งที่ดีงามสูงสุด เช่นเพื่อจะเป็นพระพุทธเจ้า

    ยกตัวอย่างพระพุทธเจ้าของเรานี้ แต่ก่อนก็เป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งได้บำเพ็ญธรรมะต่างๆ ธรรมะที่พระองค์บำเพ็ญนั้น มีจุดหมายสูงยิ่งว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า ก็เลยบำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เหนือกว่าที่คนธรรมดาจะทำได้ จึงเรียกว่าเป็น “บารมี”

    บารมีทำได้หลายอย่าง และมีหลายขั้น

    ธรรมะต่างๆ ที่สามารถจะบำเพ็ญให้เป็นบารมีได้ก็มีมาก อย่างพระพุทธเจ้าของเรานี้ ต้องบำเพ็ญคุณธรรมสำคัญที่เป็นหลักถึง 10 ประการ ขอยกเอาแต่ชื่อธรรมนั้นๆ พอให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าของเราบำเพ็ญบารมีอะไรบ้าง ดังนี้

    ทาน การให้ ในที่นี้เน้นการให้ด้วยน้ำใจเสียสละอย่างยิ่ง

    ศีล การรักษากายวาจาให้อยู่ในวินัยและวัตรปฏิบัติที่สูงขึ้นไป

    เนกขัมมะ การสลัดความสุขส่วนตัว การเสียสละเรื่องทางโลกทั่วไป เช่นที่ปรากฏเป็นการออกบวช

    ปัญญา ความรู้เข้าใจสังขาร หยั่งเห็นสัจธรรม

    วิริยะ ความเพียร

    ขันติ ความอดทน

    สัจจะ ความจริง จริงใจ จริงวาจา จริงกาย (ทำจริง)

    อธิษฐาน ความตั้งใจมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว

    เมตตา ความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ สัตว์ร่วมโลกทั้งหลาย

    อุเบกขา ความวางใจเป็นกลางได้ ความดำรงอยู่ในธรรมไม่หวั่นไหวเอนเอียง

    นี่คือคุณธรรมต่างๆ ที่ว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญอย่างยิ่งยวด

    แม้บารมีนี้เอง ก็ยังแบ่งเป็นขั้นๆ ที่จริงเป็นบารมีก็ยิ่งยวดอยู่แล้ว แต่ยิ่งยวดก็ยังแบ่งเป็นยิ่งยวดขั้นธรรมดา ยิ่งยวดขั้นสูงขึ้นไป และยิ่งยวดขั้นสูงสุด

    ยิ่งยวดขั้นธรรมดา เรียกว่าบารมีเฉยๆ ถ้ายิ่งยวดสูงขึ้นไปอีก ขั้นจวนสูงสุด เรียกว่าอุปบารมี และบำเพ็ญยิ่งยวดขั้นสูงสุดทีเดียว เรียกว่าปรมัตถบารมี

    ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นจะบำเพ็ญทาน พระพุทธเจ้าเมื่อยังเป็นพระโพธิสัตว์ก็บำเพ็ญเอาจริงเอาจังมาก ทำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าทำในขั้นต้น เป็นบารมีธรรมดา ก็คือสละทรัพย์สินสิ่งของมากมายช่วยเหลือมนุษย์ทั้งหลาย เห็นคนยากจน คนตกยากลำบากมีความทุกข์อะไรต่างๆ ก็พยายามช่วยเหลือ ขั้นนี้เรียกว่าทานบารมี

    ถ้าเสียสละขั้นสูงขึ้นไป บางคราวมีเหตุจำเป็นต้องถึงกับเสียสละอวัยวะของตน ก็สละให้ได้ การเสียสละขั้นนี้ เรียกว่าอุปบารมี

    ในบางครั้ง เช่นว่าจะรักษาธรรมะ รักษาความถูกต้องดีงาม รักษาสัจธรรมไว้ ต้องเสียสละอย่างสูงสุด ถึงกับเสียสละชีวิตก็ต้องทำ อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงเคยเสียสละชีวิต ในตอนที่เป็นพระโพธิสัตว์ ทานที่บำเพ็ญถึงขั้นนี้ เรียกว่าปรมัตถบารมี เป็นบารมีขั้นสูงสุดในด้านทาน

    คุณธรรมอื่นๆ ก็เหมือนกัน ก็แบ่งเช่นนี้ คือ ชั้นยิ่งยวดธรรมดาเป็นบารมี ขั้นสูงเป็นอุปบารมี และขั้นสูงสุด เป็น ปรมัตถบารมี


    ทำความดีขนาดไหน จึงจะได้เป็นบารมี

    เราชาวพุทธหรือผู้ศึกษาธรรมทั้งหลายนี้ ถ้าต้องการปฏิบัติธรรมให้เป็นบารมี ก็ต้องตั้งใจจริงจัง โดยมีจุดหมายสูงสุด

    มีจุดหมายสูงสุดคืออะไร ก็เช่นตั้งเป้าหมายจะเป็นพระพุทธเจ้า หรือแม้แต่ตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นพระมหาสาวก จะบรรลุธรรม เป็นพระอรหันต์ผู้หมดกิเลส คือมีเป้าหมาย ไม่ใช่บำเพ็ญอย่างเลื่อนลอย นี่เป็นประการที่หนึ่ง ซึ่งเป็นลักษณะของบารมี คือมีจุดมุ่งหมาย ไม่ใช่ทำอย่างเลื่อนลอย

    ประการที่ 2 ทำอย่างจริงจังสม่ำเสมอ ไม่ใช่ทำๆ หยุดๆ ต้องเอาจริงเอาจัง อย่างพระพุทธโพธิสัตว์ในชาติหนึ่งๆ ก็จะมีบารมีที่เป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งว่าจะบำเพ็ญคุณความดีข้อนี้ แล้วก็ทำอย่างจริงจัง เช่น ในพระชาติใดถือสัจจะคือความจริง ก็ตั้งมั่นอยู่ในความจริงมั่นคง ซื่อสัตย์สม่ำเสมอตลอดไปไม่ยอมทำให้คลาดเคลื่อนจากความจริง ถ้าทำได้อย่างนี้ก็อยู่ในระดับบารมี

    ประการต่อไป ลักษณะของบารมี คือมีการสะสม เพิ่มพูนมากขึ้นๆ เรื่อยๆ จนกระทั่งมีลักษณะหนึ่งคือ เกิดความเคยชิน คนที่บำเพ็ญคุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นประจำสม่ำเสมอและสั่งสมมามาก จะมีความเคยชินในการประพฤติปฏิบัติสิ่งนั้น จนกระทั่งกลายเป็นการแสดงออกอย่างอัตโนมัติเป็นไปเอง

    เหมือนคนที่บำเพ็ญเมตตา มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่นอยู่เสมอ ตั้งใจที่จะช่วยเหลือคนทั้งหลาย ก็จะมีอาการแสดงออกเป็นความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลพร้อมที่จะช่วยเหลือด้วยความ ยิ้มแย้มแจ่มใส เมื่อทำเป็นประจำสม่ำเสมอเอาจริงเอาจัง ต่อมาก็จะเป็นนิสัยประจำตัว มีการแสดงออกเป็นอัตโนมัติ โดยไม่ต้องตั้งใจ

    คนอ่อนแอ ไปไม่ถึงบารมี

    แม้แต่คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติกันโดยทั่วไปนี้ ก็ต้องระลึกไว้ว่า ไม่ใช่ทำนิดๆ หน่อยๆ ก็จะเห็นผล บางคนพอปฏิบัติธรรมสักอย่างไปนิดหน่อย ก็นึกแต่จะเอาผล ชอบเรียกร้องว่าทำไมจึงยังไม่ให้ผล บางทีก็เกิดความท้อใจ แต่ที่แท้ตัวเองมิได้ปฏิบัติอย่างจริงจัง

    ยกตัวอย่างเช่นคนบางคน ตั้งร้านค้าขึ้นมาร้านหนึ่ง ทำการค้าขายโดยสุจริต แต่ไม่ค่อยได้กำไร เกิดความรู้สึกว่าเมื่อค้าขายตรงไปตรงมาไม่ค่อยได้ผล ก็ชักจะท้อใจ

    แต่ถ้าเขามีความมั่นคงในงานซื่อสัตย์สุจริตนั้น ทำไปทำมาจนกระทั่งในที่สุดคนรู้แพร่หลายกระจายกว้างขวางถึงระดับหนึ่ง คนทั่วไปก็เกิดมีความเชื่อถือ พอนึกถึงหรือพูดถึงคนนี้หรือร้านนี้แล้ว เขาก็รู้กันทั่วไปเข้าใจทันทีว่า เจ้านี้ละตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์สุจริต จนกระทั่งว่าถ้าเข้าร้านนี้แล้วไม่ต้องต่อราคาเลย อย่างนี้ก็เรียกว่าพอจะอยู่ในระดับเป็นบารมีได้ คือทำอย่างจริงจังและเป็นประจำสม่ำเสมอ มีความคงเส้นคงวา จนทำให้เกิดความเชื่อถือ

    พูดง่ายๆ ว่า บุคคลบางคนบำเพ็ญคุณธรรมบางอย่างเป็นประจำ จนกระทั่งคุณธรรมนั้นปรากฏออกมาในกิริยาอาการลักษณะทั่วไป คนไหนเห็นแล้วก็รู้จักคนนั้นในลักษณะของคุณธรรมข้อนั้นไปเลย นี่เรียกว่าเป็นการบำเพ็ญในระดับที่เรียกว่าเป็นบารมี


    นึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง จะได้ไม่ท้อใจ

    ฉะนั้น ขอให้เรานึกถึงพระพุทธเจ้า จะได้ไม่ท้อใจ เพราะถ้าเราไม่มีตัวอย่าง เราก็จะท้อใจว่า ได้บำเพ็ญธรรมะข้อนี้ไปแล้วก็ยังไม่เห็นผลอะไร เลยท้อใจคิดว่าจะเลิก อย่าทำดีกว่า คนอื่นเขาไม่เห็นต้องลำบากอย่างนี้ บางคนทำไม่ดีกลับได้ผล ก็ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติก้าวหน้าไปได้

    แต่ถ้านึกถึงพระพุทธเจ้าและมองไปตามพระประวัติของพระองค์ ได้คิดว่าบางครั้งพระองค์ทำความดีแล้วต้องประสบความทุกข์ ถูกคนอื่นข่มเหงรังแกเดือดร้อนมากมาย แต่พระองค์ก็ไม่เคยยอมท้อถอยเลย ประวัติของพระพุทธเจ้าครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ เป็นแบบนี้มาก แต่พระองค์ก็ยืนหยัดในความดีนั้น จนประสบความสำเร็จจากการทำความดีของตนเอง แต่ต้องอาศัยกาลเวลายาวนาน และมีความมั่นคง มีความอดทนเป็นอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น คุณธรรมที่บำเพ็ญในระดับบารมีจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

    การที่เรายึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง เป็นที่ระลึก ก็เพราะจะได้เป็นเครื่องส่งเสริมกำลังใจของตนเองด้วย

    อย่างเรามีพระพุทธรูปไว้นี้ นอกจากระลึกถึงพระพุทธคุณที่สวดกันว่า
    อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควา พุทฺธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ

    หรือ สวดบทยาวเป็นพุทธคุณ ๙ ประการว่า
    อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ฯลฯ แล้ว

    ซึ่งเรามักระลึกถึงพระคุณทั่วๆ ไป แบบนึกกว้างๆ ลางๆ แต่บางทีเราก็ไม่ได้แยกแยะให้ลึกซึ้งในแต่ละด้าน ความจริงนั้นถ้าเราแยกออกไปให้ละเอียด เราจะเห็นพระคุณแต่ละข้อๆ ว่าพระองค์ได้ฝึกพระองค์มาอย่างไร พัฒนาตนเองมาอย่างไร ได้บำเพ็ญคุณธรรมมาลำบากลำบนเสียสละแค่ไหน ประสบความยากลำบากแค่ไหน ถ้าเราได้เห็นปฏิปทาของพระองค์อย่างนั้นแล้ว จะได้มาเป็นเครื่องเตือนใจให้เรามีความเข้มแข็งอดทนในความดี

    แม้แต่ในชาติปัจจุบันเราก็ยังเห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงมีความเสียสละเป็นอย่างยิ่ง การที่จะได้ตรัสรู้นี้ไม่ใช่ง่ายๆ ต้องเสียสละชีวิตที่มีความสุขสำราญในรั้วในวัง สละทรัพย์สมบัติทุกสิ่งทุกอย่างออกไปอยู่ป่า และตอนที่ไปอยู่ในป่าพระองค์ต้องลำบากทุกข์ยากขนาดไหน อดๆ อยากๆ ถูกคนที่เขามาล้อมาเลียน มาทำอะไรต่างๆ โดยที่ว่าพระองค์ไม่ถือสา ต้องผจญกับความหวาดกลัวต่างๆ แล้วก็จาริกไปศึกษาเล่าเรียนในสำนักต่างๆ ปฏิบัติทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ จนในที่สุดประสบความสำเร็จด้วยความเพียรของพระองค์ อย่างพุทธภาษิตที่ว่า

    วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ
    คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร

    หมายความว่า จะประสบความสำเร็จพ้นจากความทุกข์ได้ก็ด้วยความเพียร อันนี้เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า

    ถ้าเราได้ศึกษาประวัติของพระพุทธเจ้าในแง่ด้านต่างๆ ได้เห็นตัวอย่างการทำความดีของพระองค์แล้ว ก็จะมาเป็นเครื่องเตือนใจ และเป็นแบบอย่างแก่เราทั้งหลาย ทำให้เรามีความเข้มแข็งอดทน มีกำลังใจในการที่จะทำความดี ไม่ท้อถอย ไม่หวั่นระย่อต่ออุปสรรคและความทุกข์ยากต่างๆ

    ระลึกถึงการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้า
    แล้วน้อมบารมีเข้ามาสู่ตัวของเรา


    นอกจากนั้น ในเวลาที่บำเพ็ญคุณธรรมความดีเหล่านั้น แม้จะมีความทุกข์ความลำบากในภายนอก แต่จิตใจมีความสุข คือ มีความสุขในการที่จะทำความดี มีความปลาบปลื้มใจอยู่เสมอ นี้ก็เป็นคติอย่างหนึ่งที่เราควรจะได้จากการบำเพ็ญคุณธรรมขั้นยิ่งยวดที่ เรียกว่าบารมี

    ในแง่หนึ่งก็คือ การมองบารมีจากตัวอย่างการปฏิบัติของพระพุทธเจ้า แล้วโยงมาสู่การที่จะสร้างให้เป็นบารมีของตัวเราเอง

    เพราะฉะนั้น ท่านผู้ใดที่ต้องการจะปฏิบัติธรรม ในขั้นที่ว่าให้เป็นพิเศษขึ้นไป โดยมานึกว่า เราจะไม่หยุดอยู่เพียงการปฏิบัติคุณธรรมขั้นพื้นฐาน หรือเพียงเป็นบันไดขั้นต่อไปๆ เท่านั้น แต่เราจะบำเพ็ญคุณธรรมในระดับที่เรียกว่าเป็นบารมี คือการบำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายที่สูงส่ง ก็จะเป็นการประพฤติปฏิบัติธรรมอีกระดับหนึ่ง ซึ่งจะนำผลดีมาให้ในระยะยาว นำไปสู่คุณประโยชน์อย่างกว้างขวางและสูงส่งแก่โลก

    ที่ได้กล่าวมาในวันนี้ เป็นการพูดถึงการปฏิบัติธรรมอีกแบบหนึ่ง ในชุดที่เรียกว่าบารมี ซึ่งมีความหมายดังที่ได้กล่าวมา การที่พูดนี้ก็เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญาของญาติโยม ให้เข้าใจเรื่องการปฏิบัติธรรมที่เรียกว่าบารมี นับว่าเป็นขั้นที่ 1 คือพูดพอเป็นความรู้ความเข้าใจ และถ้าจะให้ได้ผลยิ่งขึ้นไป ก็คือท่านผู้ใดเห็นว่าเราน่าจะทำในขั้นนั้นบ้าง ก็นำมาประพฤติปฏิบัติตามอย่างจริงจัง บารมีก็จะเกิดขึ้นในตัวของเรา


    บารมีแบบไทย เสี่ยงภัย ต้องระวัง

    ในภาษาไทยนั้น เรานำคำว่าบารมีมาใช้กันผิดมากถูกน้อย โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน เดี๋ยวนี้คำว่าบารมีมีความหมายเพี้ยนไป เราเห็นว่าคนไหนมีอิทธิพล มีเงินมีอำนาจ ยิ่งใหญ่ ก็เรียกว่าเขามีบารมี เวลาพูดว่าคนนี้มีบารมีมาก ก็หมายความว่ามีพวกพ้องบริวารมาก หรือมีอิทธิพลมาก สามารถจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ได้ เรียกว่าเป็นบารมี ความหมายที่เพี้ยนไปนี้คือไปมองที่ผล เอาผลที่เกิดขึ้น แต่ของพระท่านมองที่เหตุ คือ การทำเหตุ “การทำความดีที่เป็นตัวเหตุ เรียกว่าเป็นบารมี”

    แต่คนไทยเรามามองที่ผล ว่าคนที่มีกำลังมีอิทธิพลอย่างนั้นแล้วเรียกว่าเป็นบารมี ก็เลยเป็นความหมายที่เคลื่อนคลาดไป ถ้าจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา จะต้องไปเน้นที่ตัวการประพฤติปฏิบัติ หรือตัวคุณธรรมที่จะบำเพ็ญนั้น แล้วทำ “เหตุ” สำเร็จแล้ว ก็จะเกิดเป็น “ผล” ขึ้นเอง และเป็นผลที่ดีงาม เป็นคุณแท้จริง ไม่ใช่อิทธิพลที่ส่งผลร้ายคุกคามข่มขี่คนอื่น

    ถ้าเราตั้งใจทำความดีอย่างจริงจัง ก็จะเกิดเป็นบารมีขึ้นมาอย่างที่ว่า คนที่ทำความดีจนกระทั่งเห็นกันชัดๆ คนรู้กันทั่วไป เป็นที่เชื่อถือในเรื่องนั้นๆ ได้รับความเคารพนับถือในระดับนั้นๆ ก็เพราะเขาได้สั่งสมบารมีมามาก เราก็เลยเรียกสั้นๆ ว่า เขามีบารมีมาก ก็คือเขามีคุณธรรมความดีที่ได้สั่งสมมามากนั่นเอง

    เราจะต้องพยายามทำความเข้าใจในเรื่องบารมีให้ถูกต้อง พยายามตรวจสอบกันอยู่เสมอ ในภาษาไทยนี้คำศัพท์ต่างๆ ทางธรรมะที่นำมาใช้นั้น ความหมายคลาดเคลื่อนไปไกลก็มีมากมาย ศัพท์ประเภทนี้คนนำมาใช้ต่อๆ ตามๆ กัน แล้วความหมายก็เลือนไป


    คำศัพท์ธรรมในภาษาไทย
    ต้องสะสางความเข้าใจกันให้ดี


    ตัวอย่างง่ายๆ คำหนึ่ง คือ “สังเวช” คำว่าสังเวชนี้ ภาษาไทยนำมาใช้กลายเป็นเสียเลย คือมักมาเข้าใจกันไปว่า สลดหดหู่ใจ ถ้าสังเวชอย่างนี้ก็เป็นกิเลส เป็นนิวรณ์ ทำให้ใจไม่เข้มแข็ง ไม่มีกำลังใจที่จะปฏิบัติธรรม

    ขอให้ระลึกว่า ในการปฏิบัติธรรม ต้องมีจิตใจเข้มแข็ง มีกำลังใจแกล้วกล้า ถ้าไปหดหู่ท้อถอยก็ไม่เป็นธรรมะ เพราะฉะนั้น ก็ไม่เป็นกุศล

    สังเวชนี้ คำเดิมหมายถึง “เร้าใจให้ได้สำนึก” หรือ "เร้าใจให้ได้คิด" คือ ให้ฉุกใจได้คิดถึงคุณความดีว่า เราอย่ามัวประมาท เราต้องเร่งขวนขวายทำความดีนะ ถ้าเห็นเหตุการณ์อะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง เหตุการณ์นั้นเร้าใจเราให้เกิดความคิด ให้หยุดยั้งความชั่วร้ายเหลวไหล และหันมาสู่ความถูกต้องดีงาม หรือว่าเรากำลังมีความมัวเมา ลุ่มหลงอะไรอยู่ เหตุการณ์นั้นสิ่งนั้นกระตุกหรือกระตุ้นใจ ทำให้เราหยุดชะงักแล้วหันมาคิดในทางที่ดี เกิดกำลังที่จะหันมาสร้างสรรค์ความดี ความรู้สึกอย่างนั้น เรียกว่าเกิดความสังเวช

    เพราะฉะนั้น เรื่องศัพท์ธรรมะในภาษาไทยนี้จะต้องมีการตรวจสอบกันหลายคำ ที่พูดมานี้เป็นเพียงตัวอย่าง วันนี้อาตมามุ่งไปพูดคำว่าบารมีก็พอสมควรแก่เวลา

    ที่พูดนี้ก็เป็นการเริ่มต้น ถ้าหากจะมีการสนทนาธรรมกัน บางทีโยมอาจจะมีข้อสงสัยอะไร แม้แต่ในเรื่องศัพท์แสงต่างๆ ก็นำมาเสนอต่อไปได้

    ตอนนี้ อาตมาก็ขออนุโมทนาคุณโยมมิสโจ พร้อมทั้งญาติมิตร ลูกศิษย์ ท่านที่เคารพนับถือ ที่ได้ทำบุญถวายภัตตาหารในวันนี้ และได้บำเพ็ญธรรมทาน ด้วยการสร้างหนังสือธรรมะในพระพุทธศาสนาแจกจ่ายกันไป เพื่อให้เกิดความรู้ เกิดแสงสว่างแห่งปัญญาให้ก้าวหน้าในธรรมต่อไป

    ขอให้พลังกุศลนี้ ประกอบเข้ากับอานุภาพของคุณพระรัตนตรัย จงเป็นปัจจัยอภิบาลรักษาทุกท่านให้มีความร่มเย็นเป็นสุข เจริญด้วยจตุรพิธพรชัย มีกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา ในการที่จะดำเนินชีวิต และทำกิจหน้าที่การงาน ให้ประสบความก้าวหน้า และความสำเร็จ และจงงอกงามในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดกาลนาน เทอญ

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=12684
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    พระดีที่คนไม่คุ้นหู

    วัดจงกลม
    เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลคลองสระบัว อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันเป็นวัดร้างอยู่ห่างจากฝั่งตะวันตกของคลองสระบัวประมาณ ๒๐๐ เมตร เยื้องจากวัดพระรามหรือวัดพระงาม หรือวัดชะรามขึ้นไปทางเหนือ วัดจงกลมมีขอบเขตพื้นที่โบราณสถานโดยประมาณ ๔ ไร่ ๒ งาน ๔๗ ตารางวา รอบวัดติดกับที่ดินของชาวบ้านที่เช่าจากกรมศาสนา ด้านทิศเหนือใกล้วัดพระยาแมน ด้านทิศใต้ใกล้วัดพระรามหรือวัดพระงาม หรือวัดชะราม ด้านทิศตะวันตกเป็นบริเวณทุ่งขวัญ ด้านตะวันออกเป็นถนนทางเข้าวัดซึ่งสร้างทับลงบนถนนอิฐสมัยโบราณที่ตัดตรงมาจากคลองสระบัว
    ไม่ปรากฏหลักฐานประวัติความเป็นมาของวัดจงกลม แต่พบเรื่องราวเกี่ยวกับวัดจงกรม ในเอกสารประวัติศาสตร์เรื่อง พระตำราบรมราชูทิศเพื่อกัลปนาสมัยสมเด็จพระเพทราชาว่า พระธรรมสารเถร อธิการวัดจงกรม ได้เข้าร่วมถวายพระพรสมเด็จพระเพทราชา ณ พระที่นั่งบรรยงต์รัตนาสน์ ในพระบรมมหาราชวังใน พ.. ๒๒๔๒ ซึ่งนับเป็นข้อสันนิษฐานได้ว่า วัดจงกลม เป็นวัดเดียวกับวัดจงกรมในเอกสารประวัติศาสตร์ดังกล่าว แต่ต่อมาภายหลังการสะกดคลาดเคลื่อนไปเพราะคำว่าจงกลมนั้นไม่มีความหมาย แต่คำว่า จงกรม หมายถึง อาการที่เดินไปมาในที่กำหนดอย่างพระเจริญกรรมฐานเดิน เรียกว่า เดินจงกรม ซึ่งอาจเปรียบเทียบได้กับภาพการเดินวนทักษิณาวัตรของพระพุทธรูปปางลีลาในซุ้มจระนำรอบเจดีย์ประธานวัดจงกลม ซึ่ง น. ณ ปากน้ำ จิตรกรผู้สนใจในการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะ กล่าวไว้ในหนังสือ ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยาหนังสือที่รวมเรื่องราวการสำรวจโบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๒๕๑๐
    วัดจงกลมสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นสืบเนื่องมาจนไม่กี่สิบปีที่แล้วจึงได้ร้างไป ทำให้วัดจงกลมชำรุดทรุดโทรมปรักหักพังลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งกรมศิลปากรเข้าไปดำเนินการขุดค้น ขุดแต่งทางโบราณคดี ในปีงบประมาณ ๒๕๔๒ วัดจงกลมน่าจะเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในบริเวณทุ่งขวัญริมคลองสระบัว ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอดจนกระทั่งร้างไปในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดจงกลมเป็นโบราณสถานของชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๖๐ ตอนที่ ๓๙ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.. ๒๔๘๖
    พระพิมพ์พระประธานกรุวัดจงกลม
    [​IMG][​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    พระพิมพ์พระประธานกรุวัดจงกลมนี้ เป็นพระที่กำเนิดขึ้นในสมัยอยุธยา พระกรุนี้ปรากฏพบเมื่อหลายสิบปีก่อน และมีการพบพระพิมพ์นี้กันเรื่อยมา พุทธลักษณะ เป็นพระทรงห้าเหลี่ยม องค์พระประทับนั่งปางสมาธิอยู่บนฐานผ้าทิพย์ทรงสูง ด้านข้างเป็นเสารองรับซุ้มเรือนแก้ว องค์พระค่อนข้างใหญ่ บางองค์ด้านล่างจะมีรูคล้ายรอยเสียบไม้ เนื้อพระค่อนข้างหยาบ บางองค์ลงรักปิดทองล่องชาดไว้ พระพิมพ์นี้แตกกรุออกมาไม่มากนัก จึงไม่ค่อยพบเห็นกัน จัดว่าเป็นพระที่หาชมได้ยากอีกพิมพ์หนึ่ง

    ขอขอบคุณ
    http://www.pinprapa.com


     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    พระดีที่ถูกลืม พระนางพญา สก. และพระสมเด็จจิตรดาอุณาโลม (ประวัตินี้พิมพ์โดยคุณกิตติ ในเว็บอมูเล็ทดอทคอม)

    <!--แนบไฟล์:
    <div class="attachcontent">--> <!--คำอธิบาย: พระนางพญา สก.ด้านหน้า
    --> พระนางพญา สก.ด้านหน้า

    [​IMG]

    <!-- 3_1149361395.jpg [ 56.4 KiB | เปิดดู 1005 ครั้ง ] -->

    <!--แนบไฟล์:
    <div class="attachcontent">--> <!--คำอธิบาย: พระนางพญา สก. ด้านหลัง
    --> พระนางพญา สก. ด้านหลัง

    [​IMG]

    <!-- 3_1149361655.jpg [ 54.73 KiB | เปิดดู 1004 ครั้ง ] -->



    เมื่อ ครั้งทางวัดบวรนิเวศวิหารได้รื้อกระเบื้องมุงพระอุโบสถที่ชำรุดจนใช้การไม่ ได้เพื่อเปลี่ยนใหม่นั้น ทางสภามหามกุฏฯได้ขอส่วนหนึ่งเก็บเอาไว้เพื่อเป็นที่ระลึกและเป็นมงคล ทั้งนี้เพราะพระอุโบสถเป็นที่กระทำสังฆกรรมและมีพิธีการต่างๆเป็นประจำ รังสีแห่งพลังจิตย่อมพวยพุ่งขึ้นจับอยู่ในทุกอณูของกระเบื้องเป็นแน่แท้ .เมื่อได้รวบรวมอิทธิวัสดุไว้ได้พอสมควรแล้วทางสภามหามกุฏจึงกราบทูลขอ อัญเชิญพระบรมนามาภิไธยแห่งสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถมาประทับไว้ด้าน หลังของพระนางพญาซึ่งทางสภามหามกุฏได้สร้างขึ้นพร้อมกับพระสมเด็จอุณาโลม .พระนางพญานี้ทางมหามกุฏได้ถวายพระนามว่า”พระนางพญา ส.ก.” และพระสามเหลี่ยมที่มีพระพุทธประทับนั่งบนอาสานะบัวสองชั้นว่า พระสมเด็จอุณาโลม โดยพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า”กระเบื้องมุงหลังคาพระ อุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้นน่าจะทำประโยชน์ได้บ้าง เนื่องจากเป็นของเก่า และสมเด็จพระสังฆราชเคยประทับอยู่วัดนี้ถึง ๓ พระองค์ หากนำไปทำพระผงคงจะดีไม่น้อย”.
    สำหรับวัตถุประสงค์ในการสร้างนั้นเพื่อนำรายได้จากการบูชาพระสมเด็จและนาง พญา ส.ก.ไปใช้ในการศึกษาของพระและเณรที่วิทยาลัยสงฆ์ ที่อำเภอวังน้อย จังหวัดอยุธยา ซึ่งมีความอัตคัต เนื่องจากวิทยาลัยสงฆ์นั้นอยู่ในที่ราบต่ำ น้ำท่วมทุกปี จึงต้องมีการขุดคันดินกั้นน้ำและยังต้องขุดสระเพื่อนำดินไปถมที่ ในหน้าแล้งน้ำในสระก็ใช้ไม่ได้เนื่องจากน้ำเปรี้ยว และการออกบิณฑบาตรก็ลำบาก เพราะอยู่ไกลจากชาวบ้าน.มูลนิธิส่งเสริมพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้เห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้สร้างสมเด็จนางพญา ส.ก.เพื่อนำรายได้ไปใช้ในกิจการนี้ โดยนำมาตั้งเป็นทุนมูลนิธีเพื่อนำดอกผลมาบำรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ และยังได้ขอพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไชยย่อ”ส.ก.”มาประดิษฐานไว้ ด้านหลังของพระสมเด็จนางพญา ส.ก.
    พระนางพญา ส.ก.นั้นได้จำลองมาจากแบบมาจากพระนางพญาเสน่ห์จันทร์ของกรุตาเถรขึงหนัง สุโขทัย ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งมารวิชัย ด้านล่างมีอักขระขอมอยู่ว่า” เอ ตัง สะ ติง”อันเป็นหัวใจของกรณียเมตตาสูตร ด้านหลังเป็นพระบรมนามาภิไธยว่า ส.ก.อยู่ใต้พระมหามงกุฎ

    <!--แนบไฟล์:
    <div class="attachcontent">--> <!--คำอธิบาย: พระสมเด็จอุณาโลม ด้านหน้า
    --> พระสมเด็จอุณาโลม ด้านหน้า

    [​IMG]

    <!-- 3_1149362280.jpg [ 39.15 KiB | เปิดดู 1001 ครั้ง ] -->

    <!--แนบไฟล์:
    <div class="attachcontent">--> <!--คำอธิบาย: พระสมเด็จอุณาโลม ด้านหลัง
    --> พระสมเด็จอุณาโลม ด้านหลัง

    [​IMG]

    <!-- 3_1149362394.jpg [ 41.15 KiB | เปิดดู 998 ครั้ง ] -->


    พระ สมเด็จอุณาโลมนั้นด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิอยู่บนอาสนะบัวสอง ชั้นในทรงกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่วคล้ายพระสมเด็จจิตรลดา ด้านหลังมีอักขระจารึกว่า เอตังสะติง พะมะนะอะกะสะนะทะอะ สะ อะ
    ขนาดพระมีสองพิมพ์คือพิมพ์ใหญ่ สูง ๓ ซม. กว้าง ๒ ซม. หนา ๐.๕ ซม. ส่วนพิมพ์เล็กสูง ๒.๕ ซม. พระเครื่องพิมพ์นี้เป็นพระเครื่องเนื้อผงพุทธคุณ สีแบบอิฐเผา พิมพ์ได้จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ องค์

    รายการมวลสาร (บางส่วน)

    1.ผงดอกไม้พระราชทาน เมื่อ ๕ พ.ย.๒๕๑๗
    2.ผงธูปพระราชทาน
    3.ผงดอกไม้ที่ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ทรงบูชาพระพุทธชินสีห์ ในเทศกาลเข้าพรรษา ๒๕๑๗
    4. ผงดอกไม้ที่ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ทรงบูชาพระพุทธชินสีห์ ในคราวเสด็จแปรพระราชฐานทักษิณนิเวศน์ ๒๕๑๗
    5.ผงธูปและดอกไม้ หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี
    6. ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
    7.ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม สกลนคร
    8. ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์เปล่ง(แปลง) วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
    9. ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์อุทัย วัดป่าขอนแก่น
    10. ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์สาม วัดไตรวิเวกการาม สุรินทร์
    11. ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์แว่น วัดสุทธาวาส สกลนคร
    12. ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์สุวัจน์ วัดถ้ำศรีแก้ว สกลนคร
    13. ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์อุ่น วัดป่าบ้านโคก สกลนคร
    14. ผงธูปและดอกไม้ จากพระอุโบสถวัดราชบพิธ
    15. ผงธูปและดอกไม้ จากพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
    16. ผงธูปและดอกไม้ จากที่บูชาของสมเด็จพระญาณสังวร
    17.ผงดอกไม้ จากพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    18. ผงธูปและดอกไม้ จากที่บูชาของสมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธ
    19.ผงดอกไม้ จากห้องปฎิบัติกรรมฐาน ณ สภาการศึกษาฯ
    20.ผงดอกไม้ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
    21.ผงดอกไม้ จากพระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส
    22.ผงดอกไม้ จากพระอุโบสถวัดพระเชตุพน และวัดอัมพวา
    23.ผงดอกไม้ผงธูป บูชาในเจดีย์มันดุท อินโดนีเซีย
    24.ผงนพปดลมงคลเศวตฉัตร พระศรีศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร
    25.ผงพระสมเด็จโต วัดระฆังโฆสิตาราม
    26.ผงพระอาจารย์ลี วัดอโศการาม
    27.ผงพระหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
    28.ผงกะเทาะจากองค์พระธาตุเจดีย์นครพนม
    29.ผงปูนกะเทาะจากองค์พระทอง วัดไตรมิตร
    30.ผงพระสมเด็จบางขุนพรหม
    31.ผงพระสมเด็จวัดสามปลื้ม
    32.ผงพระหลวงปู่โต๊ะ วัดโพธินิมิตร
    33.ผงพระหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    34.ผงธูป-ทอง ศาลกรมหลวงชุมพรอุดมศักดิ์ ปากน้ำชุมพร
    35.ผงธูป-ทอง พระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี
    36.ผงกระเบื้องหลังคาวิหาร พระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี
    37.ผงสะเก็ดพระสมัยศรีวิชัย พระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี
    38.ผงสะเก็ดพระสมัยทวาราวดีได้จากฐานอุโบสถวัดเกาะจาก นครศรีธรรมราช
    39.ผงดอกไม้ ๙๙ วัดดอนรัก สงขลา
    40.ผงว่าน ๙๙ วัดดอนรัก สงขลา
    41.ผงวิเศษจากถ้ำเสือ กระบี่
    42.ผงธูป พระธาตุลำปางหลวง
    43.ผงอิฐ พระธาตุลำปางหลวง
    44.ผงกระเบื้อง พระธาตุลำปางหลวง
    45.ผงอิฐโบราณ พระปรางค์ลพบุรี
    46.ผงพระเครื่องเกจิอาจารย์จาก ๑๖ วัด
    47.ผงเข้าพิธีเสาร์ห้า ๒๕๑๓ วัดเทพศิรินทราวาส ท่านธัมมวิตักโก ปลุกเสก
    48.ผงดอกไม้ จากพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตร
    49.ผงธูป ดอกไม้ จากพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
    50.ผงพระ ๒๕ พุทธศตวรรษ
    51.ผงกะเทาะจากองค์พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
    52.ผงตะไคร่จากองค์พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
    53.ผงว่าน ๑๐๘ ของ นครศรีธรรมราช
    54.ผงเกจิอาจารย์ จากวัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช
    55.ผงกะเทาะองค์พระ ในด้านบริเวณพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
    56.ผงธูป จากพระพุทธบาทสระบุรี
    57.ผงธูป จากพระพุทธฉาย สระบุรี
    58.ผงธูป จากที่บูชาพระพวย วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
    59.ผงธูป จากที่บูชาพระปัญญา วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
    60.ผงธูป จากที่บูชาพระศรีอาริย์ วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
    61.ผงทอง จากองค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
    62. ผงทอง จากพระพุทธบาทสระบุรี
    63.ผงทอง จากองค์พระนอนใหญ่ วัดพระเชตุพนฯ
    64. ผงทอง จากพระพุทธฉาย สระบุรี
    65.ผงกะเทาะ จากพระนลาฎ องค์พระหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม
    66.ผงกระเบื้องกะเทาะ จากองค์พระปฐมเจดีย์ นครปฐม
    67.ผงอิฐ-ปูน-รัก-ทอง จากฐานพระประธานในพระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร
    68.ผงเม็ดพระศกหลวงพ่อโต ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
    69.ผงพระสมเด็จ ธัมมวิตักโก
    70.ผงเข้าพิธีมาแล้ว คือ 1.วัดราชบพิธ ปี ๒๕๑๒–๑๓–๑๔
    2.วัดหัวลำโพง ปี ๒๕๑๓
    3.วัดราชสิทธาราม ปี ๒๕๑๒–๑๓
    4.วัดธาตุหลวง ปี ๒๕๑๓
    5.วัดชิโนรส ปี ๒๔๑๒–๑๓
    6.วัดอัมพวา ปี ๒๕๑๒–๑๓
    7.วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี ปี ๒๕๑๓
    71.ผงนพดลมงคลเศวตฉัตรพระพุทธชินสีห์ ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
    72.ผงกระจก-รัก จากฐานพระหลวงพ่อโต ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
    73.ผงทอง จากองค์พระหลวงพ่อโต ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
    74.ผงบัวเสา พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
    75.ผงลายรวงผึ้ง หน้าพระพุทธชินสีห์ ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
    76.ผงกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร
    77.ผงกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร
    78.ผงดินทราย พระพุทธสิหิงค์ ซึ่งในหลวงทรงเททอง ณ วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช ๒๕๑๗
    79. ผงกระจก-ปูน-รัก-ทอง จากเสาพระอุโบสถ วัดราชบพิธ
    80.ผงกระจกหน้าบัน หน้าพระอุโบสถ วัดราชบพิธ
    81.ผงธูปพระไสยาสน์ วัดพระเชตุพนฯ
    82.ผงธูป ศาลลูกศร ลพบุรี
    83.ผงใบลานชาญวิชา ๑๐๘ คัมภีร์ วัดบวรนิเวศวิหาร
    84.ผงอิฐ ฝาผนังพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
    85.ผงเกจิอาจารย์ วัดราชาธิวาส
    86.ผงทรายแก้ว เกาะหมู ตรัง
    87.ผงไม้กลายเป็นหิน สุรินทร์
    88.ผงตะกั่วในพิธี ๑๐๐ ปี วชิรญาณานุสรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ๒๕๑๕
    89.ผงดินใจกลางเมืองหงสาวดี
    90.ผงอิฐจากฐานพระพุทธบาท วัดบวรนิเวศวิหาร
    91.ผงหินทราย ใบพัทธสีมาพระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร
    92.ผงปูน-ทราย เสาพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนฯ
    93.ผงจากสังเวชนียสถาน ๔แห่งในอินเดีย(ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา ปรินิพพาน)
    94.ผงทองของเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์ ซึ่งเจ้าคุณนรฯได้ประกอบพิธีปลุกเสก ปี๒๕๑๓
    95.ผงธูป จากศาลพระกาฬ ลพบุรี
    96.ผงธูป หลวงพ่ออี๋ สัต***บ
    97.ผงหิน-ทราย จากภูเวียง ขอนแก่น มีธาตุยูเรเนียม
    98.ผงหินดาน ลึก ๒,๒๒๐ ฟุต จากเชียงใหม่
    99.ผงนิลจากกาญจนบุรี
    100.ผงตะกั่ว ในพิธี ๕๐ ปี(พระมหาสนณานุสรณ์ปี ๒๕๑๘ วัดบวรนิเวศวิหาร)
    101.ผงหอย ๗๕ ล้านปี กระบี่
    102.ผงทองพระมงคลนิมิต ซึ่งในหลวงทรงเททองปี ๒๕๑๔ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
    103.ผงสะเก็ดระเบิดภูเขาไฟลาวา ฟิลิปปินส์
    104.ผงกะเทาะจากองค์พระเจดีย์ วัดราชผาติการาม
    105.ผงทองพระขาว วัดเกาะจาก ปากพนัง นครศรีธรรมราช
    106.ผงเขี้ยวหนุมาน นครศรีธรรมราช
    107.ผงโมกุล ลำนารายณ์ ลพบุรี และผงโป่งขาม
    108.ผงพระสมเด็จแสน วัดพระเชตุพนฯ
    109.ผงดอกไม้ ๑๐๘ จากวัดโพธิ์แมน
    110.ผงหินพระบรมธาตุเจดีย์บุโบบุโธ อินโดนีเซีย
    111.ผงพระสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม(สมเด็จวัดพลับ)
    112.ผงพระสมเด็จโต และผงเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ ซึ่งมีผู้สะสมไว้ตั้งแต่ปี ๒๕๐๓–๒๕๑๗
    113.ผงเมล็ดพระศรีมหาโพธิ์พุทธคยา อินเดีย
    114.ผงขี้เถ้า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ๑๐๐ ปี วัดบวรนิเวศวิหาร
    115.ผงทอง พระแท่นศิลาอาสน์ อุตรดิตถ์
    116.ผงธูป ดอกไม้ และผงวิเศษอาจารย์เทศน์(พระนิโรธรังษี) วัดหินหมากเป้ง หนองคาย
    117.ผงทอง-ธูป พระพุทธชินราช พิษณุโลก
    118.ผงธูป จากพระอุโบสถ วัดราชาธิวาส
    119.ผงหินพระบรมธาตุเจดีย์มันดุท อินโดนีเซีย
    120ผงธูปว่าน ๑๐๘จากภาคอีสาน
    121.ผงปลุกเสกโดย---หลวงปู่แหวน เชียงใหม่ นาน ๑ เดือน
    หลวงปู่ขาว อุดรธานี เวลา ๓ เดือน
    หลวงปู่บุญ อุดรธานี เวลา ๑ เดือน
    อาจารย์ฝั้น สกลนคร เวลา ๑ เดือน
    อาจารย์จวน วัดภูทอก หนองคาย เวลา ๑ เดือน
    122.ผงธูป-ทอง หลวงพ่อโสธร ฉะเชิงเทรา
    123.ผงใบพระศรีมหาโพธิ์ จากอินเดีย
    124.ผงหินทรายลึก ๖๐๐ ฟุตวังน้อย อยุธยา
    125.ผงของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
    126.ผงของหลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาป่อง เชียงใหม่
    127.ผงหินน้ำมัน ใต้ทะเลลึก ๑๐,๐๐๐ ฟุต
    128.ผงดิน-หิน บนยอดเขาอินทนนท์ เชียงใหม่
    129.ไมก้าและข้าวตอกฤษี ที่อ่างกา ดอยอินทนนท์ เชียงใหม่
    130.ผงธูปและทราย พระธาตุดอยตุง เชียงราย
    131.ผงอิฐ ใต้ฐานพระประธานในพระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร
    132.ผงดอกไม้ ซึ่งปลุกเสกโดยหลวงปู่ขาว
    133.ผงธนบัตร ๒,๐๐๐ล้านบาท
    134.ผงอิฐ ยอดเจดีย์ยักษ์ นครศรีธรรมราช
    135.เส้นพระเกษา สมเด็จพระสังฆราช หลายพระองค์
    136.เส้น เกษา สมเด็จพระญาณสังวร และสมเด็จพระวันรัตและพระอาจารย์ต่างๆอันมี พระอาจารย์ฝั้น พระอาจารย์ แหวน พระอาจารย์ชอบ พระอาจารย์จวน พระอาจารย์มหาบัว และ พระอาจารย์ขาว เป็นต้น
    137.ผงอิฐและกระเบื้อง พระอุโบสถ วัดราชาธิวาส
    138.ผงอิทธิเจ หลวงปู่โต๊ะ
    139.ผงเข้าพิธีเสด็จพระราชดำเนินพุทธาภิเษก สมเด็จพระนเรศวร ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ๘ พ.ย.๒๕๑๘
    140.ฉัตรพระธาตุช่อแฮ จ.แพร่
    141.ผงดอกไม้อีก ๑๐๐ชนิด
    142.ผงว่านต่างๆอีก ๑๐๐ ชนิด
    143.ผงตะไตร่ขูดจากเจดีย์ ๑๐๘ วัด
    144.ผงธูปในพระอุโบสถ ๑๐๘ วัด
    145.ผงอิฐเจดีย์ จากพระธาตุจอมกิตติ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
    146.ผงอิฐรากฐาน จากพระธาตุพนม
    147.กระเบื้องพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    148.ปูนหน้าบ้าน พระอุโบสถ วัดเทพศิรินทราวาส
    149.ผงประหลาดโบราณในถ้ำ อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
    150.ผงดอกไม้ ณ ที่บูชาสมเด็จและเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทราวาส

    ผง ทั้งหมดนี้ ก่อนที่จะนำไปผสมสร้างพระสมเด็จนางพญา ส.ก. ได้ประกอบพิธีปลุกเสกผงด้วยคาถาชินบัญชร ๑๐๘ คาบและอิติปิโส ๑๐๘ คาบ ณ พระอุโบสถ วัดมกุฏกษัตริยาราม.สำหรับพระผงสมเด็จพระอุณาโลม ซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างตามแบบพระผง”จิตรลดา”ขนาดเท่า ของจริงทุกประการ และได้ใช้ผงชนิดเดียวกับพระสมเด็จนางพญาส.ก.
    รายการ ผงวัตถุมงคลดังกล่าวนี้สภามกามกุฏฯได้รวบรวมบดเป็นผงละเอียด ส่วนกระเบื้องมุงหลังคานั้นบริษัทกระเบื้องกระดาษไทยจำกัด ได้รับหน้าที่ดำเนินการเข้าเครื่องบดให้ทั้งหมดโดยไม่คิดค่าตอบแทน
    เมื่อ สร้างเสร็จเป็นองค์พระแล้ว ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกขึ้นอีก ๗ วัน ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหารฯเมื่อวันที่ ๕–๑๑ กค.๒๕๑๙
    รายนามพระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    ๑.วันจันทร์ ๕ กค. ๒๕๑๙ เวลา ๑๗.๐๐ น.
    สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
    พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
    หลวงพ่อเมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ฯ นครราชสีมา
    พระเทพวราลังการ(หลวงปู่ศรีจันทร์) วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย
    พระสุทธิสารโสภณ วัดศรีโพแท่น จ.เลย
    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
    โดยมีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ เจริญพุทธมนต์ ๑๐รูป
    ๑.สมเด็จพระวันรัต วัดสังเวชวิศยาราม
    ๒.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา
    ๓.สมเด็จพระพุทธิวงศมุนี วัดเบญจมบพิธ
    ๔.พระพรหมคุณากรณ์ วัดสระเกศ
    ๕. พระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม
    ๖.พระธรรมวิสุทธาจารย์ วัดพิชัยญาติการาม
    ๗.พระธรรมธีรราชมหามุนี วัดปากน้ำ
    ๘.พระราชสารมุนี วัดเขมาภิรตาราม
    ๙.พระปริยัติเมธี วัดมกุฎกษัตริย์
    ๑๐.พระอุดมศีลคุณ วัดบุรณศิริมาตยาราม
    ๒.วันอังคาร ๖ กค. ๒๕๑๙
    พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
    พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร
    หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย
    หลวงพ่อมา วัดวิเวกอาศรม ร้อยเอ็ด
    พระโพธิสังวรเถร(หลวงพ่อฑูรย์) วัดโพธินิมิต ธนบุรี
    พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง(ท่านผู้นี้ไม่ได้ เอนกายลงจำวัดเป็นเวลานานปี)
    ๓.วันพุธ ๗ กค. ๒๕๑๙
    พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร
    พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
    หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย
    หลวงพ่ออ่อน วัดประชานิยม กาฬสินธุ์
    หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด
    หลวงพ่อชา วัดศรีแก่งคร้อ ชัยภูมิ
    หลวงพ่อชม วัดป่าบ้านบัวค่อม อุดรธานี
    หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต
    หลวงพ่อมา วัดวิเวกฯ ร้อยเอ็ด
    ๔.วันพฤหัสบดี ๘ กค.๒๕๑๙
    พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
    หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด
    หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต
    พระอาจารย์สาม วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์
    หลวงพ่อจ้อย วัดสุวรรณประดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี
    หลวงพ่อบุญรักษ์ วัดคงคาวดี สิชล นครศรีธรรมราช
    หลวงพ่อเหรียญ วัดป่าอรัญญบรรพต หนองคาย
    พระอาจารย์บัวพา วัดป่าพระสถิต หนองคาย
    ๕.วันศุกร์ ๙ กค.๒๕๑๙
    พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
    หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา
    หลวงพ่อโชติ วัดภูเขาแก้ว อุบลฯ
    หลวงพ่อพั่ว วัดบ้านนาเจริญ อุบลฯ
    พระอาจารย์สมชาย วัดเขาสุกิม จันทบุรี
    หลวงพ่อจันทร์(อายุ ๑๐๒ปี) วัดนามะตูม ชลบุรี
    ๖.วันเสาร์ ๑๐ กค. ๒๕๑๙
    สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
    พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
    หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
    หลวงพ่อเก็บ วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
    หลวงพ่อสนิท วัดศีลขันธาราม อ่างทอง
    หลวงพ่อซ้วน วัดลาดใต้ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
    ๗.วันอาทิตย์ ๑๑ กค.๒๕๑๙
    ตอนกลางวัน(เวลา ๑๓–๑๖ น.) หลวงปู่ธูป วัดสุทรธรรมทาน(วัดแค) กทม.นั่งปรกบริกรรมภาวนาเดี่ยว ๔ ชั่วโมงเต็ม
    ในตอนค่ำ สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
    พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    หลวงพ่อซ้วน วัดลาดใต้ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
    พระอาจารย์ผ่อง วัดสามปลื้ม กทม.
    หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ ธนบุรี
    หลวงพ่อสา วัดราชนัดดา กทม.
    พระครูสงัด วัดพระเชตุพนฯ กทม.

    ใน วันที่ ๑๒ กค.๒๕๑๙ รายนามพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์เจริญชัยมงคลคาถา ๑๐ รูป ในการทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเจิมสมเด็จนางพญา ส.ก.และพระสมเด็จอุณาโลม ในเวลา ๑๖.๐๐ น. ณ พระอุโบสถ
    คณะรังษี วัดบวรฯ
    ๑.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดราชผติการาม
    ๒. พระสาสนโสภณ วัดเทพศิรินทราวาส
    ๓. พระพุทธพจน์วราภรณ์ วัดราชบพิธ
    ๔. พระญาณวโรดม วัดบวรราชนิเวศ
    ๕.พระธรรมปาโมกข์ วัดราชประดิษฐ์
    ๖.พระธรรมเสนานี วัดพระเชตุพนฯ
    ๗. พระธรรมวราภรณ์ วัดนรนาทสุนทริการาม
    ๘.พระเทพวราภรณ์ วัดบุรณศิริมาตยาราม
    ๙.พระเทพปัญญากวี วัดราชาธิวาส
    ๑๐. พระเทพกวี วัดบวรฯ
    ในพิธีพุทธาภิเษกทั้ง ๗ วันนั้นหลวงปู่โต๊ะปลุกเสกพิธีทั้ง ๗ วัน


    <!--แนบไฟล์:
    <div class="attachcontent">--> [​IMG]
    <!-- prapart.jpg [ 47.5 KiB | เปิดดู 999 ครั้ง ] -->



    ..หมายเหตุ... ปัจจุบันนี้ยังมีพระตกค้างอยู่ที่สำนักงานฌาปนกิจสถาน วัดมกุฏกษัตริย์ กทม. (ข้อมูลเมื่อ ต.ค.51)


    ขอขอบคุณ
    หน้าแรก

     
  19. merits

    merits สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2009
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +10
    ขออนุโมทนาครับ อยากขออนุญาตนำไปบอกต่อ เพื่อเป็นอีกทางหนึ่ง ในการช่วยประชาสัมพันธ์ครับ
     
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097

    วันนี้ในช่วง บ่ายคณะกรรมการทุนนิธิฯ ครบองค์พร้อมน้องๆ สักขีพยาน ได้มาประชุมกัน เพื่อเตรียมการจัดกิจกรรมประจำเดือนกันยายน โดยพิจารณาในเรื่องดังนี้

    1. เห็นควรพิจารณาคงการจัดกิจกรรมในวันอาทิตย์ที่ 27/9 นี้หรือไม่ เพราะทับซ้อนกับการจัดกิจกรรมประจำปีของ รพ.สงฆ์แต่เป็นคนละเวลากัน ( รพ.สงฆ์ถวายภัตตาหารเพล แต่ทุนนิธิฯ ถวายภัตตาหารเช้า)

    ข้อสรุป
    ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ให้่คงการจัดกิจกรรมไว้ในตารางแผนงานเดิมข้างต้น แต่ย้ายการประชุมหลังถวายภัตตาหารเช้าที่ตึกกัลยาฯ มาที่โรงอาหารของ รพ.สงฆ์แทน

    2. เห็นสมควรช่วยเหลือ รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จ.เลย โดยการบริจาคเข้าสมทบกับกองทุนฯ ตามข้างบน แต่เจาะจงเฉพาะสงฆ์อาพาธตามพันธกิจของทุนนิธิฯ เป็นการประจำหรือไม่

    ข้อสรุป
    ที่ประชุมมีมติเอกฉัีนท์ให้สมควรช่วยเหลือเป็นการประจำ โดยให้บริจาคเป็นรายเดือนๆ 5,000.- เช่น รพ.อื่นๆ โดยผ่านกองทุนฯ ได้ แต่หากมีการรักษาสงฆ์อาพาธเพิ่มขึ้น อาจพิจารณาเพิ่มความช่วยเหลือเหมือน รพ.อื่นได้เช่นกัน เช่น ค่าโลงบรรจุศพ ค่าผ้าไตรบังสกุล ค่ารับ-ส่งศพ หรือช่วยเหลือค่าเดินทางของพระที่ขัีดสนในปัจจัยในการเดินทางกลับวัด ฯลฯ

    3. เรื่องการโพสท์ใบอนุโมทนาบัตรและยอดเงินในบัญชีทุนนิธิฯ ที่มียอดคงเหลือ ณ วันที่ 20/9

    ข้อสรุป
    ในที่ประชุมขอให้นายสติในฐานะเหรัญญิกช่วยทยอยโพสท์รายละเอียดทั้่งหมดมาลงในกระทู้เพื่อให้ผู้บริจาคได้ทราบต่อไป

    4. เรื่องอื่นๆ
    4.1 ขอให้ผมช่วยเตรียมแผนการบริจาคผ้าห่มหนาว และเสื้อในของพระสงฆ์ที่อาพาธ รวมถึงบริขารต่างๆ ที่ใช้เช่นผ้าปูเตียง ปลอกหมอน สำหรับหน้าหนาวที่จะเริ่มมาถึงในเดือนหน้านี้
    4.2 ขอให้กรรมการฯ ทุกคนที่ร่วมประชุมมีส่วนช่วยร่วมกันคิดแผนงานและรูปแบบกิจกรรม เนื่องในโอกาสที่ทุนนิธิฯ ครบรอบ 2 ปี ของการก่อตั้งในเืดือน ธันวาคม ที่จะถึงนี้ ต่อไปด้วย


    สำหรับจำนวนพระสงฆ์ที่จะถวายภัตตาหารในเดือนนี้ จะประชาสัมพันธ์ให้ทราบช่วงวันศุกร์ตอนเย็นครับ ส่วนเรื่องการบริจาคในเดือนนี้ จะได้เบิกเงินและทยอยบริจาคไปยัง รพ.ต่างๆ รวมทั้ง รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ที่จะเริ่มบริจาคในเดือนนี้เป็นเดือนแรก รวมเป็น รพ.ที่ทุนนิธิฯ ให้ความช่วยเหลือทั้งหมดเป็น 8 แห่งต่อไป

    พันวฤทธิ์
    20/9/52


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...