ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. sophon2009

    sophon2009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    64
    ค่าพลัง:
    +1,311
    ขอร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ<!-- google_ad_section_end -->

    ผมโสภณ ศิริดำรงค์ศักดิ์ และครอบครัว และ นางธนิดา พันธุ์อุคำ
    ขอร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธครับ

    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="95%" align=center bgColor=#bdc9d5 border=0><TBODY><TR bgColor=#ffffff><TD width="32%" bgColor=#ffffff>บัญชีผู้โอน</TD><TD width="34%">
    5381011891 ​
    </TD><TD width="34%" bgColor=#ffffff>
    SOPHON ​
    </TD></TR><TR bgColor=#ffffff><TD>บัญชีผู้รับโอน</TD><TD>
    Monk Donate ​
    </TD><TD bgColor=#ffffff>
    PRATOM F. ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD background=/krungsri_thai/pic_ib/bullet/dot_18.gif>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="59%">
    จำนวนเงินที่ต้องการโอน​
    </TD><TD width="41%">
    1,500.00 บาท ​
    </TD></TR><TR><TD>
    ค่าธรรมเนียมการโอนข้ามเขต​
    </TD><TD>
    0.00 บาท ​
    </TD></TR><TR><TD>
    ค่าคู่สาย​
    </TD><TD>
    0.00 บาท ​
    </TD></TR><TR><TD>
    หมายเลขอ้างอิง​
    </TD><TD>
    bayi10353043​
    </TD></TR><TR><TD>
    วัน / เวลา​
    </TD><TD>
    03/09/2009 06:36:26 PM​
    </TD></TR><TR><TD></TD><TD>
    </TD></TR><TR><TD>
    </TD><TD>
    </TD></TR><TR><TD>
    </TD><TD>
    </TD></TR><TR><TD>
    </TD><TD>
    </TD></TR><TR><TD>
    </TD><TD>
    </TD></TR><TR><TD>
    </TD><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097

    ต้องขอรวบยอดเลยทีเดียวทั้ง 6 ท่านตามข้างต้นนี้ครับ (ไม่รวมของคุณโสระ เพราะคนกันเอง) ก็ต้องขออนุโมทนาและสาธุบุญกับทุกๆ ท่านด้วยครับ คณะกรรมการฯ เห็นอย่างนี้แล้วก็ชื่นใจ ทุกท่านย่อมตระหนักดีในผลบุญ ผลกุศลนั้นอยู่แก่ใจอยู่แล้ว คณะกรรมการฯ ก็ต้องไม่ให้ท่านต้องผิดหวังเป็นอันขาด เพราะรู้อยู่แล้วว่าผลกรรมนั้นสาหัสเพียงใดพี่ใหญ่เคยบอกว่า "มึงเอ๊ยใช้หนี้กันไม่หวาดไม่ไหว ไม่รู้กัปปรู้กัลป์ กันทีเดียวน๊ะมึง" ทุกวันก็เลยพยายามทำเกินๆ เข้าไว้ห้ามขาดโดยเด็ดขาด ขอโมทนาอีกครั้ง ขอให้ทุกๆ คน ได้รับกุศลผลบุญตามที่ได้ตั้งใจไว้ด้วยครับ นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ.

    [​IMG]








     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2009
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    สักการะพระแก้วมรกตด้วยปัญญา

    [​IMG]



    ทุกปี ผมจะหาโอกาสสักครั้งที่จะไปเคารพสักการะ"พระแก้วมรกต"
    ณ วัดวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อความเป็นสิริมงคลส่วนตัว
    และเยี่ยมชมพุทธลักษณะที่นับว่า ทุกสายตาผมจะแชชินไปกับ
    สถาปัตยกรรมตึกแท่งสี่เหลี่ยมทรงเรียวยาว ที่แทบจะในโครงสร้าง
    หลักจะดูไม่ต่างกันมากนัก
    ผมมักเรียกกิจกรรมเยี่ยมชมตึกรามบ้านช่อง ไปยลแลสิ่งที่สะท้อน
    ความเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ
    เมื่อก่อน ถ้าหากว่ามีโอกาสได้เยือนถิ่นกรุงเทพมหานคร คร่าใด
    สิ่งหนึ่งที่นึกได้และต้องไปให้เห็นกับตา นั่นก็คือ พระแก้วมรกต
    (ด้วยส่วนหนึ่งเพราะความซื่อแบบคนต่างจังหวัดที่ไม่ซึบซับต่อแหล่งบันเทิงใดใด)

    พระแก้วมรกตนั้น ว่ากันว่า แต่ละตำนานที่กล่าวอ้างถึง ล้วนแล้ว
    แต่แตกแขนงไปตามหลากหลายลักษณะความเชื่อ ศรัทธาและอิง
    ประสบการณ์ท้องถิ่น อยู่ไม่น้อย
    ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยพระราชนิพนธ์
    ว่าฝีมือช่างผู้ทำนั้น ถือเป็นช่างเอกอุ จะอ้างว่ามาจากฝีมือช่างแถบ
    อินเดียแขกรามัญหรือจีน เขมรแขกมอญ หาเป็นไปได้ยากไม่

    "เมื่อพิจารณาเทียบเคียงดู ก็เห็นเป็นฝีมือช่างที่เอกทีเดียวในครั้งหนึ่งคราวหนึ่ง"
    ......เมื่อเปรียบเทียบไปโดยละเอียด ดูเหมือนว่าจะเป็นฝีมือช่างลาวเหนือโบราณข้างเมืองเชียงแสน
    เห็นคล้ายคลึงมากกว่าฝีมือช่างเมืองอื่น แลถึงจะเป็นช่างที่เมืองลาวก็จะเป็นช่างดีช่างเอกทีเดียวมิใช่เลวทราม
    ด้วยเป็นของงามดีเกลี้ยงเกลามากอยู่ไม่หยาบคาย”

    แน่นอนครับว่า สิ่งที่เราได้รับรู้และเห็นสัมผัสได้ตัวตาย่อมไม่อาจปฏิเสธ
    ถึงความงดงามของช่างผู้รังสรรค์ผลงานชิ้นเอกนี้ได้ยาก
    แม้แต่ตัวผมเอง แม้จะได้มาโอกาสได้เข้าสักการะอยู่จนเอานิ้วมือ
    มานับแทนจำนวนได้ยากยิ่ง ก็มักใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งชั่วโมง
    ค่อยๆลำดับโดยอาศัยจินตนาการส่วนตน ย้อนนึกความพยายามใน
    การจัดสร้างองค์พระพุทธรูปนี้ โดยอิงประกอบกับเงื่อนไขที่นอก
    กรอบวิธีแบบปัจจุบัน ทั้งในเรื่องเอกลักษณ์เฉพาะด้าน ในแง่ส่วนผสม
    ความโดดเด่นจากลายลักษณะของพระพุทธรูปองค์อื่นๆ
    ระยะเวลาการจัดสร้างท่ามกลางพื้นฐานความเจริญจากการเป็น
    องค์ศาสนูปถัมภก การแสวงหาวัตถุดิบในองค์พุทธปฏิมา เป็นต้น
    ส่วนผสมทั้งหมดล้วนกลั่นสร้างออกเป็นงานฝีมืออย่างที่เราได้
    เห็นและเป็นสิ่งคู่บ้าน คู่เมือง ของพระราชอาณาจักรสยาม



    มีโอกาสได้อ่านหนังสือ "พระแก้วมรกต" ของสนพ.ศิลปวัฒนธรรม ย้อนหลัง
    (ต้องเรียกว่าเช่นนั้น เพราะซื้อมาตั้งแต่งานสัปดาห์หนังสือเสียนานจน
    ไม่อาจบอกได้ว่าปีไหน) ยิ่งทำให้เราเห็นถึงความศรัทธาจากพื้นที่สาธารณะ
    จากความหลากหลายทางความเชื่อแต่ละมุมมอง
    แต่พูดว่าหลากหลาย เพราะมีแหล่งอ้างอิงจากหลักฐานเอกสารโบราณ
    จากหลายสำนัก ที่บอกเล่าสิ่งที่ได้รับรู้จากแหล่งข้อมูลส่วนตน มารจนา
    ถ่ายทอดเพื่อเป็นหลักฐานแก่อนุชนรุ่นหลัง
    อาทิ โคลงนิราศหริภุญชัย พระรัตนปฏิมา ตำนานพระแก้วมรกต พระรัตนปัญญาเถระ
    แต่งเป็นภาษาบาลี โคลงเรื่องมังทรารบเชียงใหม่
    รัตนพิมพวงศ์ ตำนานพระแก้วมรกต พระยาธรรมปโรหิต (แก้ว)
    รัตนพิมพวงศ์ ตำนานพระแก้วมรกต พระพรหมราชปัญญา แต่งเป็นภาษาบาลี
    ตำนานพระแก้วมรกต ฉบับหลวงพระบาง ตำนานพระแก้วมรกต ฉบับกัมพูชา
    อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเวียงจันลงมากรุงธนบุรี จากจดหมายเหตุความทรงจำ
    ของกรมหลวงนรินทรเทวี เรื่องอัญเชิญพระแก้วมรกตจากเวียงจันลงมากรุงธนบุรี
    พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    หมายรับสั่ง เรื่องโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์
    เสด็จขึ้นไปรับพระแก้วมรกต ที่ท่าเจ้าสนุก จังหวัดสระบุรี เป็นต้น

    จากหลักฐานที่มากมายและข้ามชาติพันธ์วงศ์นี้ หมายความว่าอย่างไร
    มันน่าจะหมายถึง ในแง่"ความหมาย" ที่ข้ามพ้นเส้นแบ่งทางด้านภูมิประเทศ
    อธิปไตย และเขตปักบันที่แบ่งเขาเป็นเราจนหลายครั้งเป็นการกระทบกระทั้ง
    จนทวีความรู้สึกชาตินิยมไปจนไม่รู้ตัว เพราะพื้นที่ในสำนึกของพระแก้ว
    บ่งบอกถึงสาธารณศรัทธา ที่ปรากฎหลักฐานทั้ง ลาว กัมพูชา มอญ ในรูปของ
    ภาษาที่แตกต่างแต่กับมีวิธีคิดที่มีต่อองค์พระพุทธรูปนี้ แทบไม่ต่างกัน
    แม้จะมีเรื่องฤทธิ์ปฏิหารย์บ้าง แต่ก็ถือเป็นจารีกในการเขียนที่ปรากฎให้ได้อ่าน
    อยู่เสมอ ตราบใดที่ยังคงมีเรื่องของศรัทธาในแง่สิ่งปกปักรักษาคู่"ศรี"บ้าน"ศรี"เมือง
    แม้กระทั่ง เอกสารตำราพิชัยสงคราม อายุกว่าสองร้อยปี ที่เพิ่งค้นพบ
    ใน จ. เพชรบูรณ์ คาดว่าเป็นสมัยต้นรรัตนโกสินทร์ ก็มีการอ้างถึง
    การอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่กรุงธนบุรีอยู่ด้วย ซึ่งคิดว่า
    ต่อไปคงมีให้อ่าน ผ่านทางนิตยสารศิลปวัฒนธรรมในอีกไม่กี่เล่มถัดไป
    (ซึ่งก็จะไปยืนอ่านหน้าอ่านเช่นเคย) ซึ่งอาจเป็นได้ว่า พิชัยยุทธฯเล่มนี้
    อ้างเรื่องราวมาจาก เอกวารอัญเชิญพระแก้วมรกตจากเวียงจันลงมากรุงธนบุรี
    ก็เป็นได้ (ไอ้นี้ผมคิดเอง)

    ถึงแม้ผมไม่อาจฟันธง ถึงความน่าเชื่อถือว่าเอกสารใดจะเป็นหลักฐาน
    ทีแท้จริงของการสร้างพระแก้วมรกตก็ตาม (แต่ที่แน่ๆ อ. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
    คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เชื่อว่า พระพุทธรูปหินทราย สกุลช่างพะเยา
    เพราะเนือ้งานมีลักษณะใกล้เคียงกันสายสกุลช่างนี้เป็นอย่างมาก)
    แต่ผมก็ถือเป็นมนต์เสน่ห์ของพระแก้วมรกต ที่ยังเป็นปริศนาให้ได้ถกเถียง
    และมีการพิสูจน์ อันจะนำไปสู่สายแขนงความรู้อื่นเทียบเคียงกับ
    ภาพรวมทางประวัติศาสตร์อีกมากมาย
    เส้นทางของการอัญเชิญพระแก้วมรกต ที่กว่าจะมาประจำประดิษฐาน
    ยังวัดพระศรีรัตนศาสดารามก็ฟันผ่าต้องอุปสรรคนานาประการ
    ผมเชื่อว่าใครได้อ่านตอนนี้ ก็ยิ่งสนุกกว่าการผจญภัยไหนๆ
    แต่ที่ไม่เอามาเล่า เพราะเนื้อเรื่องมันยาว เชื่อมติดกับลายละเอียด
    ปลีกย่อยค่อนข้างมาก เว้นสิ่งหนึ่งสิ่งใดไป คงได้มีการจองเวรเป็นแน่แท้
    ฐานะบุคคลที่ปล่อยวาง(สิ่งหนึ่งสิ่งใด)ในประวัติศาสตร์
    ดังนั้น ยิ่งได้มาอ่านก็ยิ่งเสริมสร้างพลังความศรัทธาภายในมากขึ้น
    ทุกครั้ง เพราะครั้งนี้ได้มี"ปัญญา" พกมาติดตัว แบบไม่ต้องพกกล้องมาถ่าย
    ก็สุขอุราอิ่มเอมใจกว่าทุกคร่า..............................................

    [​IMG]


    http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://mblog.manager.co.th

     
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    หยาดฝน แม่น้ำ สายธารธรรม พระนิพพาน


    [​IMG]

    โมหะเหมือนสายฝน หลั่งตกลงอยู่บนจิตใจ
    ตัณหา ก็เปรียบดังน้ำหยดเล็กๆ ของหยาดฝน เม็ดเล็ก เม็ดใหญ่ มีมากมายสุดประมาณ ดุจความหลงของจิตใจ
    ติดอยู่กับกามกิเลส อันมีมากในจิตขันธสันดาน
    น้ำหยดเล็กๆรวมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดเป็นแม่น้ำ คืออุปาทาน
    อุปทานที่ยึดมั่นถือมั่น ก็คือการรวมตัวกันของหยดน้ำ
    หยดน้ำที่มากจนกลายเป็นแม่น้ำไหลลงเป็นกระแสน้ำอันเชี่ยว
    กระแสน้ำอันเชี่ยวก็เปรียบดั่ง อวิชชา


    ความใหลเชี่ยวของแม่น้ำ นำพาทั้งหยดน้ำ ทั้งแม่น้ำ ทั้งการรวมตัวกันของหยดน้ำ และสิ่งที่อาศัยอยู่ในน้ำ ถูกพลัดพานำไป สิ่งที่อาศัยอยู่ในน้ำ ณ.ที่นี้ หมายถึงจิตใจของหมู่สัตว์ ทั้งหลาย ที่หลงเข้าใจผิดเหมือนอย่างเด็กหลงเห็นว่าน้ำที่ไหลอยู่ น่าสนุกลงเล่น พลาดคิดเข้าใจผิดไปอย่างนั้น หมู่สัตว์ก็เปรียบเหมือนถูกอวิชชานำไปอยู่อย่างนั้น ก็ล่องอยู่กับกิเลสทั้งหลาย ยากที่ใครจะต้านทาน ยากที่ใครก้าวขึ้นสู่ฝั่งได้ อวิชชาความไม่รู้ได้ปกปิดบังความจริง หลงลวงให้จิตใจใหลไปตามกระแส และติดอยู่ในสังสารวัฏนานอยู่ตราบนั้น


    พระ พุทธองค์เปรียบดังบุรุษมีกำลังอันดีมีจิตเมตตา โยนสิ่งช่วยเหลืออันมีเชื่อก บ่วง ห่วงเป็นต้น มุ่งหวังให้ผู้นั้น ได้เกาะจับยึดถือไว้ เมื่อรับไว้แล้ว ถูกต้องแล้วขอให้จับยึดเกาะให้มั่น และ เมื่อยังไม่ถึงฝั่งก็ไม่ควรประมาท ขาดสติเสีย พึงมุ่งมั่น เพียรไม่ท้อถอย อย่าทิ้งพระพุทธเจ้า อย่าทอดทิ้งการปฏิบัติธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

    เมื่อถึงขึ้นฝั่งโดยสวัสดีแล้ว จักพบบรมสุข คือพระนิพพาน

    Bloggang.com :
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2009
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ความพิการอยู่ที่สายตาของผู้มอง


    [​IMG]

    <!-- Main -->ฝรั่ง ซึ่งเป็นโปลิโอคนหนึ่งเขียนว่า My handicap is in your mind (ความพิการของฉันอยู่ที่ความนึกคิดหรือมุมมองของคุณเอง) เขาต้องการบอกว่าเขาไม่ได้รู้สึกว่าเป็นคนพิการเลย หากใครจะเห็นว่าเขาพิการนั้นก็เป็นเรื่องของคนมอง เมื่อคิดได้เช่นนี้เขาก็ไม่รู้สึกเดือดร้อนอะไรกับสังขารของตัวเอง

    ปัญหา ก็คือคนส่วนใหญ่ชอบเอาตัวเองไปผูกติดกับสายตาของคนอื่น จึงหวั่นไหวไปกับคำพูดหรือมุมมองของคนทั่วไป ทุกข์เมื่อเขาตำหนิ สุขเมื่อเขาชม และดังนั้นจึงแสวงหาความชื่นชมและการยอมรับจากผู้อื่น คนที่คิดเช่นนี้ย่อมยากที่จะหาความสุขได้ และจะรู้สึกพร่องตลอดเวลา เพราะได้รับคำชมเท่าไรก็ไม่พอ ได้รับเกียรติยศชื่อเสียงหรืออำนาจเท่าไรก็ไม่รู้จักพอเสียที เพราะมักจะเห็นคนอื่นได้มากกว่าตนอยู่เสมอ


     
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    แนะนำพระเครื่องดีวันนี้ ขอแนะนำคร่าวๆ พอเป็นกระสายก่อนครับ เห็นว่าท่านเก่งมาก ไม่อยากละเลยให้หลุดกระทู้ไป ลองดูกันครับ อภิญญาจิต อย่างท่านนี่หายากจริงๆ ครับ



    ฤทธิ์หลวงปู่ดี ฉันโน
    หลวงปู่ดี ฉันโน เป็นพระอาจารย์กรรมฐานที่เชี่ยวชาญทางกสิณ 10 อย่างเยี่ยมยอด พระอาจารย์โชติ อาภัคโค วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี กล่าวยืนยันว่า เรื่องฤทธิจิตสำแดงปาฏิหาริย์แล้วละก็ พระอาจารย์ดีเป็นยอดไม่แพ้ สำเร็จลุน ผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือในยุคนั้นทีเดียว ผู้ชำนาญทางกสิณเท่านั้น ถึงจะเก่งกล้าทางฤทธิจิตหรือทรงอภิญญา พระอาจารย์โชติเล่าว่า วันหนึ่งท่ามกลางพระเณรและญาติโยมทั้งหลายเต็มศาลาวัด หลวงปู่ดีชี้มือ ไปที่สามเณรรูปหนึ่งแล้วว่า “ เอ้า...เณรมึงเป็นไข้จับสั่นให้กูดูซิ ” พอท่านพูดขาดคำเท่านั้นสามเณรรูปนั้นก็ล้มตึง เกิดอาการหนาว สั่นพั่บๆ ขึ้นมาทันทีทันใด ตาเหลือกตาตั้ง ทำท่าจะตายเอา พอเห็นเช่นนั้น หลวงปู่ดีก็ร้องขึ้นว่า “ เอ้า...หยุดๆๆ” สามเณรก็หยุดสั่นลุกขึ้นนั่งได้ทันทีตีสีหน้า บ้องแบ๊วงุนงง นี่ไม่ใช่เล่นมายากล แต่เป็นการใช้ฤทธิจิตอันแรงกล้าจริงๆ
    อีกครั้งหนึ่ง หลวงปู่ดี ฉันโน พาพระภิกษุสามเณรไปเที่ยวธุดงค์หน้าแล้ง อากาศร้อนมากเดินธุดงค์ไปในที่ทุรกันดาร ไม่มีน้ำเลย น้ำในกาพระเณร ทุกรูปก็หมดสิ้น ต่างมีความกระหายน้ำกันเหลือสติกำลัง หลวงปู่ดีจึงหยุดที่ภูเขาหัวโล้นลูกหนึ่ง ท่านจึงสั่งให้พระเณรช่วยกันเอาหญ้า เอาใบไม้ ขุดทรายออกจากร่องหินภูเขาหัวโล้น
    “ เอาละโว้ย ทีนี้กูจะเรียกฝนให้ตกลงมา พวกมึงคอยรองเอาน้ำ ใส่กาใส่กระติกจากร่องน้ำนะโว้ย อาบกินกันให้สนุก ” หลวงปู่ดี ฉันโนประกาศขึ้นด้วยภาษาสำนวนลูกทุ่งที่ท่านเคยปาก ต่อจากนั้น ท่านก็นั่งลงเพ่งกสิณเรียกลมเรียกฝน เพียงชั่วแพล็บเดียว ท้องฟ้าหน้าแล้งจัดจ้าด้วยแดด พลันก็มืดครึ้มก้อนเมฆ สีเทาเข้ม ก็ม้วนไปม้วนมาปั่นป่วนเต็มท้องฟ้า ชั่วครู่ต่อมา ฝนก็เทกระหน่ำตกลงมา ตรงเฉพาะภูเขาหัวโล้นลูกนั้น ที่อื่นไม่ตก เมื่อฝนตกลงมาเต็มที่ พระเณรก็ร่าเริงกัน ช่วยกันตักน้ำจากหลุม และร่องน้ำกัน จนเต็มกระติกเต็มกาใส่น้ำ และอาบน้ำเล่นน้ำกัน เป็นที่รื่นเริงเย็นสบาย


    อีกครั้ง หลวงปู่ดีพาพระ เณร ออกบิณฑบาตในฤดูหนาว ท่านเห็นชาวบ้านก่อไฟกองใหญ่ มีคนนั่งล้อมวงผิงไฟ กันอยู่เต็มใต้ต้น มะพร้าวที่ออกลูกดกเต็มต้น หลวงปู่ดีนึกสนุกก็ร้องบอกพวกชาวบ้าน ว่าให้รีบหนีไปจากกองไฟให้หมด ลูกมะพร้าวมันจะตกหล่นใส่หัวแตกตาย ชาวบ้านก็เชื่อฟังท่าน ต่างก็รีบหนีออกมาจากใต้ต้นมะพร้าว พอทุกคนออกมาพ้นหมดแล้ว มะพร้าว ก็หล่นพรูลงมาจากจั่นจนหมดต้น สร้างความตกตะลึงขนพองสยองเกล้าให้ชาวบ้านไปตามๆ กัน เมื่อมะพร้าวหล่นลงมาหมดแล้ว ชาวบ้านก็ช่วยกันนำเอามะพร้าวอ่อน ทั้งหมดมาถวายหลวงปู่ดีและพระเณร นับตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านทุกหนทุกแห่งในถิ่นนั้น พอเอ่ยชื่อ พระอาจารย์ดี ฉันโน ต่างก็ยกมือไหว้ท่วมหัว ด้วยความกลัวแสยง สยองในฤทธิ์เดชของท่านไปตาม ๆ กัน

    หลวงปู่ดี ฉันโน
    วัดภูเขาแก้ว
    ต.พิบูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี

    .."การภาวนาธรรม มีสติกับจิตนี้แหละ คือ พุท-โธ ที่แท้จริง ท่านแปลว่า ผู้รุ้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

    ถ้าไม่มีสติ จิตใจก็ไม่อยุ่ที่ จะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานไม่ได้ จะกลายเป็นความโง่ เซ่อเท่านั้น

    ขอรักษาสติกับจิตจงดีๆ จะเกิดภูมิปํญญาธรรมขึ้นเอง.."


    [​IMG]

    [​IMG]


    ลองไปตามหาพระเครื่องของท่านดูเอาเองครับ หรือจะเอาพระเครื่องในบรรดาศิษย์ของท่านก็ได้ ก็ท่านอาจารย์โชติ อาภัคโค ท่านหลวงปู่เนย หรือหลวงปู่จาม ฯ นั่นเองลูกศิษย์อาจารย์ท่านนี้ความขลังแท้แน่นอนทุกองค์ครับ เพราะสายนี้ชอบด้านกสิณมากเป็นพิเศษนั่นเอง (นั่นเป็นเพราะหลวงปู่มีของดีมาแต่อดีตชาติครับ)

    เนื้อเรื่องและรูปภาพ นำมาจาก
    ฤทธิ์หลวงปู่ดี ฉันโน
    คำสอนของท่าน นำมาจาก
     
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <center> การระลึกชาติของ..หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต



    </center>

    <center>[​IMG]</center>


    สารบัญ...
    ระลึกชาติ.. เกิดสมัยพุทธกาล
    สู้รบกับยักษ์... หวิดตาย
    แสงธรรมสว่างไสว ทั่วโลกธาตุ
    หลวงปู่มั่นได้พบกับครูบาศรีวิชัย
    การปฏิบัติธรรมในขั้นสุดท้าย
    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
    สอนชาวเขาตามหา "พุทโธ"
    เดินทางกลับอีสาน
    รู้วาระจิต
    กายทิพย์มาขอฟังธรรม
    อานุภาพพระพุทธมนต์
    กำลังใจ
    ปัจฉิมสมัย


    <dd> ตามประวัติได้เล่าว่า หลวงปู่มั่น ท่านได้เที่ยวปลีกวิเวกธุดงค์ไปป่าตามจังหวัดต่างๆ ผ่านอุบลราชธานี ดงพญาเย็น ภูเขาหลายลูก ในวันหนึ่งเกิดนิมิตถึง ถ้ำสิงห์โต หรือ ถ้ำไผ่ขวาง อยู่บนเขาพระงาม จ.ลพบุรี

    </dd><dd>ถ้ำไผ่ขวางอยู่ข้างน้ำตก มีลักษณะเป็นป่าทึบ อากาศเย็นสบาย อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่านานาชนิดอาทิ ช้าง เสือ งูเห่า สถานที่แทบจะไร้ผู้คนอาศัย ระหว่างทางเดินขึ้นเขา ชาวบ้านเห็นมีพระภิกษุต่างถิ่นรูปหนึ่งสะพายบาตรกลดกิริยามารยาทเคร่งครัดใน พระธรรมวินัย จึงตรงเข้ามาสอบถามด้วยความเป็นห่วงว่า

    “หลวงพ่อจะไปไหน”
    หลวงปู่มั่นตอบว่า “จะไปบำเพ็ญสมณธรรมในเขาลูกนั้น”

    </dd><dd>ชาวบ้านฟังแล้วตกใจ รีบยกมือไหว้ท่านแล้วกราบนิมนต์ว่า “อย่าเข้าไปเลยหลวงพ่อ เพราะพระที่เข้าไปในถ้ำนี้ตายไปแล้ว 6 องค์ ขอให้อยู่กับพวกฉันที่บ้านไร่นี้เถิด อย่าเข้าไปเลย”

    </dd><dd>หลวงปู่มั่นรับความปรารถนาดีของชาวบ้านเอาไว้ในใจแล้วตอบว่า “เออ.. โยม ขอให้อาตมาเป็นองค์ที่ 7 ก็แล้วกัน”

    </dd><dd>จากคำพูดของชาวบ้าน ก็พอทำให้หลวงปู่มั่นเข้าใจสภาพของถ้ำบนภูเขาในป่าได้ดี จิตใจไม่มีหวาดกลัวกลับเต็มไปด้วยความเด็ดเดี่ยวยอมสละชีวิตเพื่อธรรมะ พอถึงถ้ำไผ่ขวางจัดแจงวางสัมภาระ เก็บปัดทำความสะอาดบริเวณที่พัก พอตกค่ำบำเพ็ญภาวนาตามวิสัย

    </dd><dd>รุ่งเช้าเดินลงเขาบิณฑบาตอย่างนี้ผ่านเดือนอ้าย เดือนยี่จนล่วงใกล้เข้าคืนเพ็ญเดือน 3 อันเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา ทำให้หลวงปู่มั่นระลึกถึงสมัยพุทธกาล ช่วงที่พระพุทธเจ้าบำเพ็ญภาวนาต่อสู้กับกิเลสมารจนบรรลุธรรม ท่านได้ปรารภว่า

    </dd><dd>“เราบำเพ็ญสมณธรรมมาถึงบัดนี้ก็เป็นเวลา 12 ปี ทุกอย่างพร้อมแล้ว ที่จะทำสุดแห่งทุกข์ในวัฏสงสารในคืนเพ็ญนี้” การตัดสินใจเช่นนี้แบบทิ้งทวนแลกชีวิตกับธรรมะ

    </dd><dd>ยามเช้า... เช่นเดียวกับทุกๆ วัน หลวงปู่มั่นหลังจากฉันเช้าเรียบร้อยเพียงพอแก่สังขารให้บำเพ็ญธรรมะได้ จากนั้นจึงบำเพ็ญสมาธิภาวนา พอนั่งได้ไม่นานเกิดไม่สบายกาย อาหารที่ฉันเข้าไปไม่ย่อย ทำให้อาหารเป็นพิษ ส่งผลให้ท้องร่วง อาเจียนอย่างหนัก ท่านจึงหวนนึกถึงคำพูดของชาวบ้าน พรางรำพึงกับตนเองว่า

    </dd><dd>“ตัวเราเองก็เห็นจะตายแน่เหมือนพระเหล่านั้น” แต่คำปรารภนี้ล้วนไม่ใช่วิสัยนักรบแห่งกองทัพธรรม หลวงปู่มั่นจึงออกเดินสำรวจมองหาสถานที่นั่งสมาธิ และแล้ว..

    </dd><dd>ที่หน้าผาเหวลึก.. มีก้อนหินใหญ่อยู่บนปากเหว พอให้คนไปนั่งได้ หลวงปู่มั่นไปขึ้นไปยืนบนก้อนหินใหญ่ แล้วหยิบก้อนหินอันเล็กๆ โยนลงไปในเหว ใช้เวลานานพอควรจึงจะได้ยินเสียงกระทบของก้อนหิน หลังจากดูทำเลเป็นที่เรียบร้อยหลวงปู่มั่นกล่าวปณิธานว่า

    </dd><dd>“เอาล่ะ.. ถ้าเราไม่รู้แจ้งเห็นจริง ก็จะไม่ลุกจากที่นั่งนี้เป็นอันขาด ถ้าเราจะต้องตายขอให้ตายตรงนี้ ขอให้หล่นลงไปในเหวนี้ จะได้ไม่เป็นที่วุ่นวายแก่ใครๆ ซึ่งจะต้องกังวลทำศพให้เรา”

    </dd><dd>คืนนั้น ท่ามกลางขุนเขาแสงจันทร์กระจ่างเป็นสักขีพยานเฝ้าดูการบำเพ็ญภาวนาของหลวง ปู่มั่น จิตของท่านสว่างไสวดุจกลางวัน เห็นกระจ่างชัดแม้เม็ดทรายเล็กๆ

    </dd><dd>จิตโอภาสประภัสสรเห็นชัดในนิมิตที่เข้ามา รวมถึงการพิจารณากายคตาตอลดจนธรรมะต่างๆ นาน 3 วัน 3 คืน โดยไม่ลงไปบิณฑบาต ไม่ฉันอาหาร เกิดนิมิตปรากฏเห็นบุตรสาวของโยมที่อุปัฎฐาก มายืนร้องเรียกความรักจากท่าน จิตของหลวงปู่มั่นไม่ได้หวั่นไหวไปตาม จิตไม่ได้ยินดียินร้ายกับสาวงามนั้น ท่านพิจารณาว่า

    </dd><dd>“อันเรื่องเกิด แก่ เจ็บ ตาย เราก็พิจารณามาอย่างช่ำชองแล้ว จะมาหลงอีกหรือ”

    </dd><dd>ฉับพลันภาพหญิงสาวนั้นก็แก่เฒ่าและล้มตายลงเหลือแต่กองกระดูกหายไปในแผ่นดิน จิตจึงถอนออกมา

    <<< กลับสู่สารบัญ

    <center>ระลึกชาติ.. เกิดสมัยพุทธกาล</center>
    </dd><dd>ขณะนั้นจิตมีปีติซาบซ่านเข้าถึงเอกัคคตาญาณ กายเบาจิตใจมีความสงบระงับ จิตเดินเข้าสู่ปฐมฌาน ทุติยฌาน และจตุตถฌานโดยลำดับ พักอยู่ในจตุตถฌานนานพอควรแล้วถอยออกมาจนถึงปฐมฌานจึงหยุด ในลำดับนี้หลวงปู่มั่นท่านว่าเกิดปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือรู้อดีตชาติ เกิดนิมิตภาพลูกสุนัขกินนมแม่

    </dd><dd>หลวงปู่มั่นรู้ด้วยใจว่า ลูกสุนัขก็คือตัวท่านเองในอดีตชาติที่เกิดเป็นสุนัขนับชาติไม่ถ้วน สาเหตุมาจากลูกสุนัขมีความพอใจในอัตภาพของมัน จงส่งผลให้เกิดเป็นสุนัขจึงติดอยู่ในภพนี้หลายชาติ สร้างความสลดสังเวชให้กับท่านเป็นอย่างมาก จากนั้นหลวงปู่มั่นได้ค้นลงหาถึงต้นสายปลายเหตุพบว่า

    </dd><dd>“เราปรารถนาพระสัมมาสัมโพธิญาณ” จากนั้นภาพในอดีตชาติสมัยพุทธกาล หลวงปู่มั่นเกิดเป็นเสนาบดีได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าศากยมุนีขณะที่พระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาถึงมหาสติปัฎฐานสูตร หลวงปู่มั่นได้ตั้งจิตอธิษฐานต่อหน้าเบื้องพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าว่า

    </dd><dd>“ขอให้ข้าพเจ้าพึงได้เป็นพระพุทธเจ้าเช่นพระองค์เถิด”

    </dd><dd>นับจากวาระจิตนั้น หลวงปู่มั่นดำรงอยู่โพธิสัตว์ธรรมบำเพ็ญพระโพธิญาณมาหลายร้อยชาติ เมื่อได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณทำให้หลวงปู่ระลึกถึงชาติภพต่างๆ มาพอสมควร เห็นความน่ากลัวของสังสารวัฏ และหากปรรถนาจะบรรลุพระนิพพานในชาตินี้ จะต้องละเสียจาก “พระโพธิญาณ”

    </dd><dd>ก่อนที่หลวงปู่มั่นจะตั้งจิตถอนจาก “โพธิญาณ” ท่านได้เดินสมาธิเฝ้าย้อนรำลึกในอดีตชาติว่า ท่านเพิ่งจะเริ่มตั้งจิตปรารถนาต่อพุทธภูมิต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้าศากย โคดมเท่านั้น เส้นทางบำเพ็ญเพียรเพียงแค่กึ่งพุทธกาล อีกทั้งในอดีตชาติที่ผ่านมา ท่านระลึกได้ถึงความยากลำบากของการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฎ

    </dd><dd>ท่านสลดสังเวชแม้ท่านจะบำเพ็ญบารมีเพียงใดยังเคย เกิดเป็นหมาขี้เรื้อนถึง 500 ชาติ ทำให้หลวงปู่มั่นมองดูสรรพสัตว์ในสังสารวัฎที่ยังคงหลับไหล เขาเหล่านั้นยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่รู้ว่าจะต้องเผชิญกับชะตากรรมเช่นไรเมื่อสิ้นชีวิตลงไป

    </dd><dd>ครั้นหลวงปู่มั่นจะละถอนจาก “โพธิญาณ” ก็ให้สงสารสัตว์เหล่านั้น แต่เมื่อมองดูท่ามกลางสรรพสัตว์ทั่วไตรภพ ยังมีขบวนพระมหาโพธิสัตว์มีจำนวนมากที่ได้พยากรณ์จากพระพุทธเจ้าว่าเป็น นิตยโพธิสัตว์ (พระโพธิสัตว์ที่จักได้รับการบรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต) และยังมีพระโพธิสัตว์อีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการพยากรณ์อยู่ในสังสารวัฎ เพื่อบำเพ็ญบารมีช่วยขนสรรพชีวิตให้พ้นทุกข์ เมื่อพิจารณาดังนี้หลวงปู่มั่นจึงอธิษฐานจิตละจากพระโพธิญาณ

    <<< กลับสู่สารบัญ

    <center>สู้รบกับยักษ์... หวิดตาย</center>
    </dd><dd>คืนจันทร์สว่างฟ้า พระจันทร์เต็มดวงมีธรรมชาติจะทรงกลดยามเที่ยงคืน ..เป็นภาพที่งดงาม สงบสงัด มีแต่สรรพเสียงของป่าเป็นเพื่อน ขณะที่หลวงปู่มั่นเดินจิตภาวนาใหม่ ปรากฏแสงสว่างเมื่อจิตรวมแล้ว..

    </dd><dd>เกิดเรื่องอันน่าสะพรึงกลัว.. ภูเขาทั้งลูกสั่นสะเทือนราวกับมีใครเอามือมาเขย่า เสียงลมพัดโหมกระหน่ำผ่านราวป่า เสียงไม้หักโค่นเกรียวกราว..แต่หลวงปู่มั่นดำรงในสมาธิไม่หวั่นไหวกับเสียงอึกทึกรอบค้าง ท่านบอกว่า

    </dd><dd>“แรงสั่นสะเทือน ราวกับภูเขาจะพลิกค่ำ” บรรยากาศอันน่ากลัวรอบข้างทำเอาท่านเกือบลืมตา ..แต่ระลึกได้ถึงคำอธิษฐานจิตถึงธรรมะ หลวงปู่มั่นจึงพิจารณาภาวะธรรมะที่เกิดขึ้น

    </dd><dd>ยิ่งพิจารณาธรรมเท่าไร ความโหดร้ายของสภาพรอบตัวยิ่งทวีความรุนแรงไม่มีท่าทีว่าจะหยุด แต่สติของท่านมั่นคงกว่าขุนเขาที่นั่งไม่อาจโยกคลอนได้ ขณะที่เฝ้าดูอาการของ “สติ-สมาธิ” ที่มั่นคงไม่หวั่นไหวกับสิ่งรอบข้างอยู่นั้น ..

    </dd><dd>จู่ๆ มียักษ์สูงร่างสูงใหญ่ทะมึนสูงเท่าต้นไม้ ถือตะบองเหล็กส่องรัศมีเหมือนเปลวไฟ เดินย่างสามขุมตรงมายังหลวงปู่มั่น พร้อมตวาดลั่นสะท้านป่าว่า

    </dd><dd>“จงลุกจากที่นี้เดี๋ยวนี้ มิฉะนั้นจะต้องตาย” พูดจบยักษ์เงื้อตะบองขึ้นสุดแขน เพื่อหวดฟาดหลวงปู่มั่นเต็มกำลัง

    </dd><dd>หลวงปู่มั่นเกือบเผลอลืมตาขึ้นมอง แต่อำนาจสติได้ตามรู้ทันจึงระงับไว้ได้ ตลอดเวลาเกือบ 3 เดือนที่เจริญสติจนกลายเป็นมหาสติไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ให้ปรุงแต่งเคลื่อนจิตให้สะท้านกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแม้แต่น้อย ท่านตอบยักษ์ไปว่า “เราไม่ลุก”

    </dd><dd>ทันใดนั้นเอง... ยักษ์ฟาดตะบองลงมายังร่างของท่านเต็มพละกำลังอันมหาศาล จนร่างหลวงปู่มั่นจมลึกลงในดินราว 10 วา แต่ร่างของท่านลอยขึ้นมาเหนือพื้นดิน เจ้ายักษ์ทมิฬหันลีหันขวาง เห็นต้นตะเคียนขนาด 10 คนโอบ ตรงเข้าไปถอนขึ้นมาทั้งต้น รากของต้นไม้ขาดจากดิน เศษดินยังกระเด็นมาโดนร่างหลวงปู่มั่นที่นั่งสมาธิด้วย

    </dd><dd>ยักษ์ใหญ่แค้นมองร่างหลวงปู่มั่นตัวจิ๋วด้วยความโกรธ ตาแดงเป็นไฟ เงื้อต้นตะเคียนฟาดมาที่ร่างหลวงปู่มั่นจนแบนไปกับก้อนหิน จนก้อนหินไม่สามารถต้านทานได้แหลกละเอียดไปในพริบตา ในวินาทีนี้หลวงปู่มั่นเกือบจะลืมตาขึ้นดูสภาพรอบข้าง แต่กำลังของมหาสติดำรงมั่น เป็นตัวกำกับพิจารณาอารมณ์อันละเอียดอ่อนที่ปรากฏเกิดขึ้นในใจ

    </dd><dd>ค้นพบว่าแท้จริงแล้วใจของท่านมีอาการพะว้าพะวังของการปรารถนาพระโพธิญาณ ซึ่งเรื่องนี้ซึ่งนี้เป็นธรรมชาติของหน่อเนื้อพุทธะ ทันทีที่ว่านเมล็ดพันธุ์โพธิจิตลงในเนื้อนาใจ ต้นไม้แห่งโพธิจะแทงหน่อเติบโต ต้นไม้นี้ย่อมเป็นที่พึ่งพาอาศัยของสัตว์ทั้งปวง คุณธรรมแลความรอบรู้ในขอบข่ายของพุทธะอันประมาณมิได้นี้ จะหลั่งไหลเข้าสู่จิต

    </dd><dd>ตลอดเส้นทางพระโพธิญาณ หลวงปั่มั่นได้สร้างสมทศบารมี เพื่อให้บริบูรณ์พร้อมที่จะสั่งสอนอบรมสรรพชีวิตให้เหมาะสมตามนิสัย แลตลอดแตกฉานในอุบายเพื่อสอนให้ผู้อื่นให้เข้าถึงธรรมได้ง่าย และรวดเร็วตามกำลังบุญของแต่ละคน เมื่อมหาสติทราบชัดถึงเครื่องกางกั้นชั้นสุดท้าย สิ่งที่ติดค้างในใจของท่านก็หมดลง

    <<< กลับสู่สารบัญ

    <center>แสงธรรมสว่างไสว ทั่วโลกธาตุ</center>
    </dd><dd>“ภพเบื้องหน้าเราไม่มีแล้ว พรหมจรรย์เราได้จบแล้ว” หลวงปู่มั่น ภูริฑัตโต ณ. กาลเวลานี้ เมื่อได้สละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่าง หลวงปู่มั่นอธิบายว่า “ทุกอย่างในโลกนี้มีสภาพเป็นอันเดียวดุจหน้ากลองชัย โลกนี้ราบลงหมด คือสว่างเตียนโล่ง ร่างกายของเราประมวลเข้าดังเดิม”

    </dd><dd>ยักษ์สูงทะมึนมองเห็นเหตุการณ์พลิกผัน ได้กลายร่างเป็นมนุษย์แล้วเข้ามากราบขอขมาลาโทษ แล้วหายไปในที่สุด ...ขณะนั้นเสียงไก่ขัน... ดังเป็นระยะๆ บอกเวลาว่าใกล้รุ่ง คะเนว่าน่าจะราวตี 3-4 ความเงียบสงบของราตรีกลับมาบรรเลงอีกครั้ง ราวกับเตรียมเฉลิมฉลองในวาระพิเศษของการกำเนิดสัตตบุรุษในรอบพันปี

    </dd><dd>หลวงปู่มั่นเจริญสมาธิก้าวลงสู่ทุติยฌาน ตติยฌานและจตุตถฌาน พอล่วงดึกจิตก็พักเอากำลังในฌาน ส่วนปฐมฌานคือการพิจารณาวิปัสสนาญาณ เมื่อจิตใช้กำลังพิจารณาข้อธรรมแล้วย่อมพักในฌานเพื่อให้เกิดกำลังต่อไป
    พอจิตพักในจตุตถฌานจนมีกำลัง จิตได้ถอยออกมาสู่ปฐมฌาน เกิดวิปัสสนาญาณรู้เห็นความเป็นไปของชาติภพของสัตว์โลก จากนั้นได้พิจารณาต้องต้นสายปลายเหตุของชาติภพในหมู่สัตว์ทั้งปวง หลวงปู่มั่นค้นลงได้ความตามปฏิจสมุทรบาทว่า

    </dd><dd>หลวงปู่มั่นแทงตลอดลูกโซ่ของภพชาติได้อริยมรรค อันเป็นเครื่องตัดกิเลส จึงพิจารณาในดวงจิตพบว่า
    </dd><dd>“เมื่ออวิชชาไม่เกาะเกี่ยวได้แล้ว อวิชชาดับ สังขารก็ดับ สังขารดับวิญญาณก็ดับ ตลอดจน ฯลฯ ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายสะก็ดับหมด”

    </dd><dd>คราวนี้จิตรวมใหญ่แต่จิตไม่พักเหมือนที่ผ่านมา เกิดมีญาณขึ้นมาว่า
    “ภพเบื้องหน้าเราไม่มีแล้ว พรหมจรรย์เราได้จบแล้ว กิจอันเราควรทำ เราได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่ควรไม่มีอีกแล้ว ญาณชนิดนี้เรียกว่า "อาสวักขยญาณ" คือความรู้ว่าความสิ้นไปแห่งอาสวะพร้อมกับอวิชชาก็หายไป ไม่ก่อนไม่หลังตะวันขึ้นมาและเดือนก็ตกไป รวมความว่า ญาณเกิดขึ้น อวิชชาหายไป พระอาทิตย์ขึ้นมา พระจันทร์ตกไป อปุพพํ อจิรมํ ไม่ก่อนไม่หลัง

    </dd><dd>เมื่อญาณเกิดขึ้นแล้วก็ไม่ได้ขับไล่ไสส่งอวิชชา เจ้าผู้มีอวิชชาเอ๋ย เจ้าเป็นผู้ไม่รู้ไม่เห็น เจ้าจงหนีไปอยู่กับเราไม่ได้แล้ว อวิชชาก็ไม่ได้บอกกล่าวอำลาว่า ญาณผู้แจ้งผู้เห็นจริง เจ้าเป็นผู้รู้ผู้เห็นเอ๋ย ข้าอยู่กับเจ้าไม่ได้แล้ว ข้าขอลาเจ้าไปก่อน ต่างไม่ได้ขับไล่ แต่ท่านว่าความมืดและพระอาทิตย์ก็เหมือนกัน พระอาทิตย์ขึ้นมาความมืดก็หายไป

    </dd><dd>พระอาทิตย์ก็ไม่ได้ขับไล่ไสส่งความมืดหรือพระ จันทร์จะว่า เจ้าผู้มืดผู้ดำเอ๋ย เจ้าอยู่กับข้าไม่ได้แล้ว เจ้าจงหนีไป ความมืดก็ไม่ได้บอกกล่าวอำลา หรือไม่ได้ว่าพระอาทิตย์ผู้แจ้งสว่าง ผู้มีเดชอันกล้าเอ๋ย ข้าอยู่กับเจ้าไม่ได้แล้ว ข้าขอลาเจ้าไปก่อน หาใช่อย่างนั้นไม่ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นมาความมืดก็หายไปฉันใดก็ฉันนั้น”

    <<< กลับสู่สารบัญ

    <center> หลวงปู่มั่นได้พบกับครูบาศรีวิชัย</center>
    </dd><dd>(ขอเพิ่มเติมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับ ครูบาศรีวิชัย อ้างอิงเนื้อหาจากหนังสือบูรพาจารย์ ซึ่งเป็นหนังสือกล่าวถึงหลวงปู่มั่นกับบรรดาลูกศิษย์ต่าง ๆ ที่เป็นครูบาอาจารย์ในสมัยต่อ ๆ มา และมีกล่าวถึง ครูบาศรีวิชัย ด้วยครับ)

    </dd><dd>ในสมัยที่หลวงปู่มั่นท่านจาริกไปอยู่เชียงใหม่ ท่านทราบว่ามีสุปฏิบันโนสงฆ์อยู่คือครูบาศรีวิชัย ในขณะเดียวกันท่านครูบาศรีวิชัยท่านก็ได้ชื่อเสียงของหลวงปูมั่นเช่นกัน ต่างมีความนับถือกันมากแม้ไม่ได้พบหน้า

    </dd><dd>มีคราวหนึ่งที่ท่านทั้งสองได้พบกัน (ไม่ทราบว่าด้วยวาระอะไร) หลวงปู่มั่นท่านกล่าวชวนครูบาศรีวิชัยว่า "มาปฏิบัติกับผมไหม" ครูบาศรีวิชัยตอบว่า "ผมไปไม่ได้ ผมได้รับพุทธทำนายแล้ว"นั่นหมายความว่าท่านปราถนาพุทธภูมิ และความปราถนานั้นจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้แล้ว เพราะได้รับการทำนายจากพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง แล้วในอดีตที่ผ่านมา ดังนั้นท่านมีแต่จะต้องบำเพ็ญบารมีต่อไปจนเต็มภูมิ ซึ่งการบำเพ็ญของท่านก็มักจะมีภูมิลึกลับคอยช่วยเสมอ ๆ

    </dd><dd>ส่วนหลวงปู่มั่นเองตามประวัติที่เขียนโดย หลวงตามหาบัว ท่านกล่าวว่าหลวงปู่มั่นในช่วงปฏิบัติช่วงหนึ่งเกิดติดขัด ไปต่อไม่ได้ จิตอาลัยอาวร กล่าวคือท่านก็ปราถนาพุทธภูมิเช่นกัน แต่ท่านอธิฐานละพุทธภูมินั้นเสียและขอรวมบารมีที่ได้สั่งสมไว้ดีแล้วนั้นถ้า เต็มบารมีสาวกภูมิก็ขอให้บรรลุมรรคผลนิพพานในชาตินี้ (เพราะท่านเจริญสมาธิจนรู้ได้ ว่าท่านเคยเกิดเป็นสุนัขอยู่ 500 ชาติ เกิดสลดสังเวช ไม่อยากเกิดอีกแล้ว)

    </dd><dd>หลังจากอธิษฐานละแล้วการปฏิบัติก็ก้าวหน้าเป็น ลำดับ ท่านหลวงตามหาบัวได้แสดงความเห็นแทรกไว้ว่าการที่ท่านละได้นั้นเพราะความปรา ถนาท่านยังไม่ถึงขั้นพุทธทำนาย จึงยังมีโอกาสละและประมวลบารมีทั้งหมดให้มามีผลในปัจจุบันได้ เมื่อสำเร็จสาวกภูมิในชาตินี้แล้วความรู้อันเป็นของพุทธภูมิหรืออุปนิสัย ความสามารถในทางพุทธภูมิ คือการถ่ายทอดสอนคนอื่นต่อจึงมีความสามารถมาก รู้แยกแยะสอนสั่งผู้อื่นได้ชำนาญ

    <hr>
    <center>[​IMG]</center>
    </dd><dd>ในตอนท้ายที่สุดนี้ จะขอนำเรื่องที่เล่าไว้ในหนังสือประวัติหลวงปุ่มั่น ซึ่งมีข้อมูลคล้ายๆ กัน แต่ก็จะมีสำนวนที่เล่าลึกลงไปในรายละเอียดบ้างดังต่อไปนี้

    <<< กลับสู่สารบัญ

    <center> การปฏิบัติธรรมในขั้นสุดท้าย </center>
    </dd><dd>หลวงปู่มั่นได้หาที่ที่น่าหวาดเสียวที่สุด เห็นว่าริมปากเหวเหมาะที่สุดที่จะนั่งบำเพ็ญเพียร ท่านตั้งใจแน่วแน่ว่า “หากจะตายขอตายตรงนี้ ขอให้ร่างกายหล่นลงไปในเหวนี้ จะได้ไม่ต้องเป็นที่วุ่นวายเดือดร้อนแก่ใครๆ ” ตั้งแต่บัดนั้น หลวงปู่มั่น ได้ตั้งปณิธานแน่วแน่ว่า “ถ้าไม่รู้แจ้งเห็นจริงในธรรม ก็จะไม่ลุกจากที่นั่งนี้เป็นอันขาด”

    </dd><dd>หลวงปู่ได้นั่งสมาธิอยู่ ณ จุดนั้นติดต่อกันเป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืนโดยไม่ขยับเขยื้อนและไม่ลืมตาเลย หลวงปู่เริ่มกำหนดจิตต่อจากที่เคยดำเนินการครั้งหลังสุด ได้เกิดการสว่างไสวดุจกลางวัน ความผ่องใสของจิตสามารถเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามต้องการ แม้จะกำหนดดูเม็ดทรายก็เห็นได้อย่างชัดเจนทุกเม็ด แม้จะพิจารณาดูทุกอย่างที่ผ่านมา ก็แจ้งประจักษ์ขึ้นในปัจจุบันหมด

    </dd><dd>ในขณะที่จิตของท่านดำเนินไปอย่างได้ผล ก็ปรากฏเห็นเป็นลูกสุนัขกำลังกินนมแม่ ท่านพิจารณาใคร่ครวญดู ว่าทำไมจึงเกิดมีนิมิตมาปน ทั้งๆ ที่จิตของท่านเลยขั้นที่จะนิมิตแล้ว เมื่อกำหนดจิตพิจารณาก็เกิดญาณรู้ขึ้นว่า “ลูกสุนัขนั้นก็คือตัวเราเอง เราเคยเกิดเป็นสุนัขอยู่ตรงนี้มานับอัตภาพไม่ถ้วน เวียนเกิดเวียนตายเป็นสุนัขอยู่หลายชาติ ”

    </dd><dd>เมื่อพิจารณาโดยละเอียดได้ความว่า "ภพ" คือความยินดีในอัตภาพของตน สุนัขก็ยินดีในอัตภาพของมัน จึงต้องเวียนอยู่ในภพของมันตลอดไป เมื่อหลวงปู่มั่น ทราบความเป็นไปในอดีตชาติของท่านก็ได้ถึงความสลดจิตเป็นอย่างมาก

    </dd><dd>ความสว่างไสวในจิตของท่านยังคงเจิดจ้าอยู่ แต่ทำไมยังมีการห่วงหน้าพะวงหลังอยู่ ไม่สามารถพิจารณาธรรมให้ยิ่งขึ้นไปได้ เมื่อตรวจสอบดูก็พบความจริงที่ท่านไม่เคยทราบมาก่อน นั่นคือ “การปรารถนาพระสัมมาสัมโพธิญาณ” ของท่าน โอ ! แล้วจะต้องเวียนตายเวียนเกิดไปอีกกี่หมื่นกี่แสนชาติ จึงจะถึง คิว ได้เป็นพระพุทธเจ้าสมความปรารถนา

    </dd><dd>หลวงปู่มั่น ได้ย้อนพิจารณาถึงภพชาติในอดีตปรากฏว่า ท่านเคยมีตำแหน่งเป็นเสนาบดีเมืองกุรุรัฐ (กรุงเดลฮี ในปัจจุบัน) พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดชาวกุรุรัฐ พระองค์ทรงแสดงมหาสติปัฏฐานสูตร หลวงปู่ในชาตินั้นก็ได้เจริญสติปัฏฐาน แล้วยกจิตขึ้นอธิษฐานว่า “ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นพระพุทธเจ้าเช่นพระองค์เถิด”

    </dd><dd>ได้ความว่า หลวงปู่มั่นได้ปรารภโพธิญาณมาตั้งแต่บัดนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านต้องชะงักในการพิจารณาอริยสัจเพื่อทำจิตให้หลุดพ้นได้ ต้องสร้างบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ไปอีกชั่วกัปชั่วกัลป์ ถ้าไม่ปล่อยวางความปรารถนานั้น

    </dd><dd>หลวงปู่มั่น ยังเห็นต่อไปอีกว่า หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เคยเป็นหลานชายของท่านในชาติที่เป็นเสนาบดีเมืองกุรุรัฐ นั้น ภายหลังเมื่อหลวงปู่เทสก์ตามท่านไปอยู่ที่เชียงใหม่ หลวงปู่เคยบอกหลวงปู่เทสก์ว่า “เธอเคยเกิดเป็นหลานเราที่กรุงกุรุรัฐ ฉะนั้น เธอจึงดื้อดึงไม่ค่อยจะฟังเรา และสนิทสนมกับเรายิ่งกว่าใคร”

    </dd><dd>ต่อจากนั้น หลวงปู่มั่น ได้ระลึกถึง หลวงปู่ใหญ่เสาร์ พระอาจารย์ของท่าน ก็ปรากฏว่า หลวงปู่ใหญ่ก็ได้เคยปรารถนาเป็นพระปัจเจกโพธิญาณ (พระปัจเจกพุทธเจ้า) จึงไม่สามารถที่จะกระตือรือร้น ที่จะทำจิตให้ถึงที่วิมุตติได้

    </dd><dd>หลวงปู่มั่นตั้งใจไว้ว่าจะต้องหาโอกาสไปกราบอาราธนาให้หลวงปู่ใหญ่เสาร์ได้ละวางความปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในชาตินี้ให้ได้ นี่คือความกตัญญูส่วนหนึ่งของท่าน

    </dd><dd>หลังจากที่ได้ใคร่ครวญสิ่งต่างๆ แล้ว หลวงปู่มั่น รู้สึกสลดใจที่เคยเกิดเป็นสุนัขนับอัตภาพไม่ถ้วน และยังจะต้องเวียนวายตายเกิดเพื่อสร้างบารมีต่อไปอีกนานแสนนาน ท่านจึงได้อธิษฐานจิตหยุดการปรารถนาพระโพธิญาณ ตั้งใจแน่วแน่ที่จะขอบรรลุธรรมในชาติปัจจุบัน

    </dd><dd>ต่อจากนั้น หลวงปู่มั่น ได้พิจารณาธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ จึงระลึกได้ว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ที่ทรงแสดงในปฐมเทศนาเป็นทางบรรลุที่แท้จริง พระองค์ทรงแสดงจากความเป็นจริงที่พระองค์ได้ทรงรู้ แล้วนำออกแสดงโปรดพระปัญจวัคคีย์ ทรงแสดงถึง อริยสัจ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และทรงย้ำว่า

    </dd><dd>ปริเญยฺยนฺ เม ภิกฺขเว ทุกข์พึงกำหนดรู้ ปริญาตนฺ เม ภิกฺขเว เราได้กำหนดรู้แล้ว ปหาตพฺพนฺติ เม ภิกฺขเว สมุทัยควรละ ปหีนนฺติ เม ภิกฺขเว เราได้ละแล้ว สทฺฉกาตพฺพนฺติ เม ภิกฺขเว นิโรธควรทำให้แจ้ง เราทำให้แจ้งแล้ว ภาเวตพฺพนฺติ เม ภิกฺขเว มรรคควรเจริญให้มาก ภาวิตนฺติ เม ภิกฺขเว เราก็เจริญให้มากแล้ว

    </dd><dd>เมื่อได้ระลึกถึงธรรมะอันเป็นหัวใจของพระธัมมจัก กัปปวัตนสูตรคือ อริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ ควรกำหนดรู้ สมุทัย ควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง และ มรรค ควรเจริญให้มาก ดังนี้แล้ว หลวงปู่มั่นก็ได้พิจารณาอริยสัจไปตามลำดับ

    </dd><dd>หลวงปู่ได้พิจารณากายคตาสติ โดยยกเอาการระลึกชาติที่เกิดเป็นสุนัขมาเป็นตัวทุกข์ จนกระทั่งเกิดความแจ่มแจ้งขึ้นในจิต กลายเป็นญาณ คือ การหยั่งรู้ที่เกิดจากการดำเนินทางจิตจนพอเพียงแก่ความต้องการ (อิ่มตัว) ไม่ใช่เกิดจากการนึกเอาคิดเอา หรือน้อมเอาเพื่อให้เป็นไป แต่เกิดจากการพิจารณาโดยความเป็นจริงแห่งกำลังของจิตที่ได้รับการฝึกอบรมมาพอแล้ว

    </dd><dd>(ตัวอย่างเช่น ผลไม้ มันจะต้องพอแก่ความต้องการของมันจึงจะสุกได้ ไม่ใช่นึกเอาคิดเอา หรือ ข้าว จะสุกได้ก็ต้องได้รับความร้อนที่พอแก่ความต้องการของมัน)

    </dd><dd>ในการพิจารณากาย ที่เป็นตัวทุกข์ก็เช่นกัน กว่าจะกลับกลายเป็นญาณ ขึ้นมาได้ ก็ต้องอาศัยการพิจารณาทางจิต จนเพียงพอแก่ความต้องการ คือ อิ่มตัวในแต่ละครั้ง จะเกิดเป็นนิพพิทาญาณ คือความเบื่อหน่าย จะตั้งอยู่ในใจได้ ก็เมื่อการพิจารณากายได้เห็นชัดด้วยความสามารถแห่งพลังจิต...
    </dd><dd>“การพิจารณาทุกข์เป็นเหตุให้เกิด นิพพิทาญาณ ถ้าเกิดความเพียงพอแห่งกำลังเข้าเมื่อใด ญาณนั้นจึงจะเป็นกำลังตัดกิเลสได้”

    </dd><dd>โดยย่นย่อ หลวงปู่มั่นได้พิจารณาอริยสัจ ๔ จนเกิดญาณรู้แจ้งขึ้นในจิตโดยลำดับ ในวาระสุดท้าย หลวงปู่ได้กำหนดทบทวนกระแสจิตกลับมาหา ฐีติภูตํ คือ ที่ตั้งของจิต จนปรากฏตัว “ผู้รู้ - ผู้เห็น” และ “ผู้ไม่ตาย” ท่านพิจารณาทบทวนกลับไปกลับมา จนหมดความสงสัยทุกอย่างโดยสิ้นเชิง

    </dd><dd>ความจริงมีเรื่องราวการพิจารณาธรรมของหลวงปู่มั่นต่อไปอีกหลายอย่าง ครั้นจะนำเสนอในที่นี้ก็จะยาวและออกนอกเรื่องมากไป

    </dd><dd>(ท่านที่ต้องการทราบเพิ่ม เติม โปรดอ่านได้ที่หนังสือ “หลวงปู่มั่นภูริทตโต : ประวัติ ข้อวัตรและปฏิปทา” โครงการหนังสือบูรพาจารย์เล่ม ๑” หรือถ้าต้องการอ่านรายละเอียดอย่างพิสดาร โปรดอ่านได้ที่หนังสือ ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เขียนโดย หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร วัดธรรมมงคล สุนมวิท ๑๐๑ พระโขนง กรุงเทพฯ)

    </dd><dd>เมื่อออกจากถ้ำไผ่ขวาง หลวงปู่มั่น ไปพักบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำสิงโต เขาช่องลม หรือที่เรียกว่า เขาพระงาม จังหวัดลพบุรี ในปัจจุบันประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๖ พ ศ ๒๔๕๗ หลวงปู่มั่น ได้รับการขอร้องจาก ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ให้ลงมาจำพรรษาที่กรุงเทพฯ เพื่อโปรดพระเณรและประชาชนที่สนใจในธรรมปฏิบัติ ท่านพักจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม

    </dd><dd>พ.ศ. ๒๔๕๘ หลวงปู่มั่น อายุ ๔๗ ปี อายุพรรษา ๒๕ ได้เดินทางกลับอิสาน พักจำพรรษาที่ วัดบูรพาราม ในเมืองอุบลฯ มีช่วงหนึ่งขณะที่ท่านกำลังพิจารณาว่า “ใครหนอจะเป็นผู้ควรแก่การสั่งสอน” ก็พอดีกับหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม เข้าไปกราบถวายตัวเป็นศิษย์

    </dd><dd>หลวงปู่มั่น ทักทายเป็นประโยคแรกว่า “เราได้รอเธอมานานแล้ว ที่อยากจะพบและต้องการชักชวนให้ปฏิบัติธรรมด้วยกัน”

    </dd><dd>หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม (วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา) องค์นี้จึงเป็นศิษย์รุ่นแรก ได้ติดตามปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น ได้รับความไว้วางใจและมอบหมายให้เป็นผู้ปกครองดูแลพระภิกษุสามเณรสายกรรมฐาน แทน เมื่อครั้งหลวงปู่มั่นท่านปลีกตัวไปอยู่ภาคเหนือนานถึง ๑๒ ปี และหลวงปู่สิงห์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรม

    </dd><dd>ในปีเดียวกันนั้นหลวงปู่มั่น ได้ไปโปรดโยมมารดาจนเกิดศรัทธาแก่กล้า ลาลูกหลานออกบวชชีจนตลอดชีวิต ปี พ.ศ. ๒๔๕๙ หลังออกพรรษา หลวงปู่มั่น ได้ธุดงค์ไปหาหลวงปู่ใหญ่เสาร์ พระอาจารย์ของท่านซึ่งทราบว่าจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำภูผากูด บ้านหนองสูง อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม (ในขณะนั้น)
    </dd><dd>เพื่อหาโอกาสให้สติหลวงปู่ใหญ่ได้วางการปรารถนาพระปัจเจกโพธิ ทำให้หลวงปู่ใหญ่ได้ปฏิบัติก้าวหน้าต่อไป จนบรรลุ หมดความสงสัยในพระธรรม สำเร็จคุณธรรมสูงสุดในพระพุทธศาสนาดังใจปรารถนา

    <hr>
    <<< กลับสู่สารบัญ

    <center> ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย </center>

    </dd><dd>ท่านกำเนิดในสกุล แก่นแก้ว บิดาชื่อ คำด้วง มารดาชิ่อ จันทร์ ปู่ของท่านชื่อ "เพี้ยแก่นท้าว" นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน

    </dd><dd>ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดีมาแต่กำเนิด ฉลาดเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอมอ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะ มีความทรงจำดีและขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา

    </dd><dd> เมื่อท่านอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักบ้านคำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนา มีสวดมนต์และสูตรต่างๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปราณีมาก เพราะเอาใจใส่ในการเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้าน ท่านได้ลาสิกขาออกไปช่วยงานบิดามารดาเต็มความสามารถ

    </dd><dd>ท่านเล่าว่า เมื่อลาสิกขาไปแล้วยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่เคยลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัยในทางบวชมาแต่ก่อนหนหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า “เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก” คำสั่งของยายนี้คอยสกิดใจอยู่เสมอ

    </dd><dd>ครั้นอายุท่านได้ ๒๒ ปี ท่านเล่าว่า มีความยากบวชเป็นกำลัง จึงอำลาบิดามารดาบวช ท่านทั้งสองก็อนุมัติตามประสงค์ ท่านได้ศึกษา ในสำนักท่านอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ วัดเลียบ เมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับอุปสมบทกรรมเป็นภิกษุภาวะในพระพุทธศาสนา ณ วัดศรีทอง(วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

    </dd><dd>พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌายะ มี พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาย์ และพระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ พระอุปัชฌายะขนานนามมคธ ให้ว่า ภูทตฺโต เสร็จอุปสมบทกรรมแล้ว ได้กลับมาสำนักศึกษาวิปัสสนาธุระ กับ พระอาจารย์เสาร์ กันตศีลเถระ ณ วัดเลียบต่อไป

    </dd><dd>เมื่อแรกอุปสมบท ท่านพำนักอยู่วัดเลียบ เมืองอุบลเป็นปกติ ออกไปอาศัยอยู่วัดบูรพาราม เมืองอุบลบ้าง เป็นครั้งคราว ในระหว่างนั้น ได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้น อันเป็นส่วนแห่งพระวินัย คือ อาจาระ ความประพฤติมารยาท อาจริยวัตร แล้อุปัชฌายวัตร ปฏิบัติได้เรีบยร้อยดี จนเป็นที่ไว้วางใจของพระอุปัชฌาจารย์ และได้ศึกษาข้อปฏิบัติอบรมจิตใจ คือ เดินจงกลม นั่งสมาธิ สมาทานธุดงควัตร ต่างๆ

    </dd><dd>ในสมัยต่อมา ได้แสวงหาวิเวก บำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่างๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจ้ง หุบเขาซอกห้วย ธารเขา เงื้อมเขา ท้องถ้ำ เรือนว่าง ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบ้าง ฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ในกรุงเทพฯ จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมวนาราม หมั่นไปสดับธรรมเทศนา กับ เจ้าพระคุณพระอุบาลี (สิริจันทเถระ จันทร์) ๓ พรรษา

    </dd><dd>แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือ ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงาม แล ถ้ำสิงห์โต ลพบุรี จนได้รับความรู้แจ่มแจ้ง ในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัย ในสัตถุศาสนา จึงกลับมาภาคอีสาน ทำการอบรมสั่งสอน สมถวิปัสสน าแก้สหธรรมิก และอุบาสกอุบาสิกาต่อไป มีผู้เลื่อมใสพอใจปฏิบัติมากขึ้น โดยลำดับ มีศิษยานุศิษย์แพร่หลาย กระจายทั่วภาคอีสาน

    </dd><dd>ในกาลต่อมา ได้ลงไปพักจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ อีก ๑ พรรษา แล้วไปเชียงใหม่กับ เจ้าพระคุณอุบาลีฯ (สิริจันทรเถระ จันทร์) จำพรรษาวัดเจดีย์หลวง ๑ พรรษา แล้วออกไปพักตามที่วิเวกต่างๆ ในเขตภาคเหนือหลายแห่ง เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในที่นั้นๆ นานถึง ๑๑ ปี จึงได้กลับมา จังหวัดอุบลราชธานี พักจำพรรษาอยู่ที่ วัดโนนนิเวศน์ เพื่ออนุเคราะห์สาธุชนในที่นั้น ๒ พรรษา

    </dd><dd>แล้วมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร จำพรรษาที่ วัดป่าบ้านนามน ตำบลตองขอบ อำเภอเมืองสกลนคร (ปัจจุบันคือ อำเภอโคกศรีสุพรรณ) ๓ พรรษา จำพรรษาที่ วัดหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอเมืองพรรณานิคม ๕ พรรษา เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในถิ่นนั้น มีผู้สนใจในธรรมปฏิบัติ ได้ติดตามศึกษาอบรมจิตใจมากมาย ศิษยานุศิษย์ของท่าน ได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ยังเกียรติคุณของท่าน ให้ฟุ้งเฟื่องเลื่องลือไป

    <<< กลับสู่สารบัญ

    <center>สอนชาวเขาตามหา "พุทโธ"</center>
    </dd><dd> ครั้งหนึ่งหลวงปู่มั่น ไปพักอยู่ที่ชายเขาห่างจากหมู่บ้านชาวเขาประมาณ ๒ กิโลเมตร ตอนเช้ามาบิณฑบาตในหมู่บ้าน ชาวเขาถามท่านว่า “ ตุ๊เจ้ามาทำอะไร ” ท่านบอกว่ามาบิณฑบาตข้าว เขาถามว่าเอาข้าวสุกหรือข้าวสาร ท่านบอกว่าข้าวสุก แล้วเขาก็บอกกันให้หาข้าวสุกมาใส่บาตรให้ท่าน

    </dd><dd>แม้ว่าชาวบ้านจะใส่บาตรกันบ้างแต่ก็ไม่ไว้วางใจ ท่าน โดยสงสัยว่าท่านเป็นเสือเย็นที่ปลอมตัวมาคอยหาโอกาสทำร้ายชาวบ้าน พวกเขาจึงเตือนกันให้คอยระมัดระวังและส่งคนไปแอบสังเกตดูท่านแล้วกลับมา รายงาน พวกชาวบ้านที่คอยไปสังเกตดูท่านนานเป็นเดือนก็กลับมารายงานว่า ท่านไม่น่ามีพิษภัยอันใด เวลาที่ไปเฝ้ามองสังเกตดูก็เห็นแต่ท่านนั่งหลับตานิ่ง บางทีก็เดินมาเดินไป ไม่รู้ว่าท่านเดินหาสิ่งใด ทางที่ดีพวกเราควรเข้าไปถามท่านให้ได้ความเสียจะดีกว่า

    </dd><dd> จึงได้ส่งคนไปถามท่านว่า ท่านนั่งหลับตาและเดินไปมานั้น “ ตุ๊เจ้านั่งและเดินหาอะไร ” ท่านบอกว่า “ พุทโธของเราหาย ” ชาวบ้านถามท่านต่อว่าพุทโธหน้าตาเป็นยังไง ? กันผีได้ไหม ? พวกเราช่วยหาได้ไหม ? และอื่นๆ อีกหลายคำถาม ท่านก็ตอบคำถามเขาไปและบอกกับเขาว่าถ้าจะช่วยหาพุทโธก็ให้พากันนั่งนิ่งๆ หรือ เดินไปเดินมา นึกในใจว่า พุทโธ พุทโธ อย่าส่งจิตออกไปนอกกาย ให้รู้อยู่กับคำว่าพุทโธ เท่านั้น ถ้าทำอย่างนี้ไม่แน่ว่าเขาอาจหา "พุทโธ" เจอก่อนท่านก็ได้

    </dd><dd>พอพวกชาวบ้านได้ความแล้วก็นำไปเล่าสู่กันฟัง ต่างคนต่างนึก "พุทโธ" ตามคำที่ท่านบอก ตั้งแต่หัวหน้าหมู่บ้านไปจนถึงลูกบ้านไม่เว้นแม้แต่เด็กและผู้ใหญ่ ในเวลาไม่นานนักก็มีชายผู้หนึ่งรู้ธรรมเห็นธรรมตามท่านเขาถึงได้ทราบว่าที่ แท้ก็เป็นอุบายธรรมอันฉลาดของท่านนั่นเอง เขามีความรู้ในธรรมและยังสามารถรู้จิตของผู้อื่นได้อีกด้วย

    </dd><dd>ท่านอยู่สั่งสอนชาวเขาหมู่บ้านนั้นอยู่นานถึง ๑ ปี กับอีก ๒ เดือน ท่านจึงได้อำลาจากพวกเขาไป วันที่ท่านจะจากไปพวกเขาออกมาส่งท่านกันหมดทั้งหมู่บ้านด้วยความอาลัยอาวรณ์ ไม่อยากให้ท่านจากพวกเขาไป พอท่านเดินไปได้เพียงสองสามก้าวเท่านั้น พวกเขาก็พากันวิ่งมาฉุดชายสบงจีวรของท่านไว้ไม่ยอมให้ท่านไปเสียงร้องไห้ดัง ระงมไปทั่วทั้งผืนป่า

    </dd><dd>ท่านต้องชี้แจงเหตุผลให้ฟังจนพวกเขาเข้าใจ แต่พอท่านเดินออกมาเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นอีก พวกเขาวิ่งมาแย่งเอาอัฐบริขารของท่านไว้จะไม่ยอมให้ท่านไป ทำให้ท่านต้องแสดงธรรมและทำความเข้าใจกับพวกเขาอยู่นาน กว่าจะจากหมู่บ้านแห่งนั้นมาได้

    <<< กลับสู่สารบัญ

    <center> เดินทางกลับอีสาน</center>
    </dd><dd>หลังจากที่ท่านจาริกแสวงธรรม อยู่ทางภาคเหนือนานถึง ๑๒ ปี ท่านจึงได้เดินทางกลับมายังภาคอีสานตามคำอาราธนานิมนต์ของลูกศิษย์ลูกหา พอกลับมาถึงภาคอีสานท่านได้เข้าพักที่วัดป่าสาลวัน เมืองโคราช จากนั้นท่านได้โดยสารรถไฟต่อไปยัง จ.อุดรธานี

    </dd><dd>ที่ จ.อุดรธานีนี้ท่านได้เข้าพักที่วัดโพธิสมภรณ์ และวัดป่าโนนนิเวศน์ จนกระทั่งมีคณะศรัทธาจาก จ.สกลนคร มานิมนต์ให้ท่านไปโปรดพวกเขา ท่านจึงรับคำนิมนต์ โดยได้ไปพักอยู่ที่วัดป่าบ้านโคก (วัดป่าวิสุทธิธรรม ) อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร ที่สำนักป่าบ้านโคกแห่งนี้นี่เองที่ ท่านหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี ได้เดินทางไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์และรับข้อวัตรจากท่านมาปฏิบัติ

    </dd><dd> หน้าแล้งในพรรษาหนึ่งก็ได้มีคณะศรัทธาจากบ้านหนองผือนาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เดินทางมานิมนต์ท่านไปสั่งสอนธรรม ท่านจึงรับนิมนต์และย้ายจาก อ.โคกศรีสุพรรณ ไปยังบ้านหนองผือนาใน และที่วัดป่าบ้านหนองผือแห่งนี้นี่เองเป็นสถานที่ที่ท่านพระอาจารย์มั่น จำพรรษาอยู่นานถึง ๕ พรรษา จนถึงวาระสุดท้ายปลายแดนแห่งปฏิปทาของท่าน


    <center> รู้วาระจิต</center>
    </dd><dd> เป็นที่ทราบกันว่า ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านสามารถทราบวาระจิตความนึกคิดของผู้อื่นได้ อย่างน่าอัศจรรย์ แม้เรื่องแสดงฤทธิ์ต่างๆท่านก็สามารถทำได้ แต่ท่านก็ไม่ได้นำไปแสดงโอ้อวดใคร ท่านมีไว้เพื่อเป็นเครื่องมือปราบลูกศิษย์หัวดื้อ และผู้ที่คิดไปลองดีท่านเท่านั้น ขอยกตัวอย่างเรื่องรู้วาระจิตของท่านสักสองสามเรื่อง

    </dd><dd> เรื่องแรก เกี่ยวกับท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล แห่งวัดป่าแสนสำราญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ท่านเป็นพระน้องชายของพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม วันหนึ่งท่านพระมหาปิ่น ปัญญาพโลเกิดความรู้สึกดูหมิ่นดูแคลนหลวงปู่มั่นว่า “ ท่านพระอาจารย์มั่น มิได้ร่ำเรียนปริยัติธรรมมามากเหมือนเรา ท่านจะมีความรู้กว้างขวางได้อย่างไร เราได้ร่ำเรียนมาถึงเปรียญธรรม ๕ ประโยค จะต้องมีความรู้กว้างขวางมากกว่าท่าน และที่ท่านสอนเราอยู่เดี๋ยวนี้ จะถูกหรือมิถูกประการใดหนอ ”

    </dd><dd> ขณะนั้นหลวงปู่มั่นอยู่ที่กุฏิของท่าน คนละมุมวัด ได้ทราบวาระจิตของท่านพระมหาปิ่น ว่ากำลังคิดดูถูกท่าน อันเป็นภัยแก่การบำเพ็ญธรรมอย่างยิ่ง ท่านจึงลงจากกุฏิ เดินไปเอาไม้เท้าเคาะฝากุฏิของท่านพระมหาปิ่น แล้วพูดเตือนสติว่า “ ท่านมหาปิ่นเธอจะมานั่งดูถูกเราด้วยเหตุอันใด การคิดเช่นนี้เป็นภัยต่อการบำเพ็ญสมณธรรมจริงหนา..ท่านมหา ”

    </dd><dd> ท่านพระมหาปิ่นตกใจเพราะคาดไม่ถึง รีบลงจากกุฏิมากราบขอขมาท่านว่า “ กระผมกำลังนึกถึงท่านอาจารย์ในด้านอกุศลจิต กระผมขอกราบเท้าโปรดอโหสิให้กระผมเถิด ตั้งแต่นี้ต่อไป กระผมจะบังคับจิตมิให้นึกถึงสิ่งที่เป็นอกุศลจิตอย่างนี้ต่อไป ”

    </dd><dd> เรื่องที่สองนี้เกิดขึ้นกับพระอาจารย์มหาอินทร์ ถิรเสวี แห่งวัดศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ท่านเล่าว่าท่านเคยไปอยู่ศึกษาธรรมกับหลวงปู่มั่น ที่วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ วันหนึ่งหลวงปู่มหาอินทร์คิดในใจว่า “ นรกสวรรค์น่ะ มีจริงไหมหนอ ทำยังไงจะได้รู้จะได้เข้าใจบ้าง เราน่าจะไปกราบเรียนถามท่านพระอาจารย์มั่นนะ ”

    </dd><dd> ขณะนั้น หลวงปู่มหาอินทร์ นั่งสมาธิอยู่ทางด้านตะวันออกของเจดีย์ ส่วนหลวงปู่มั่นนั่งอยู่ทางด้านตะวันตก พอคิดว่าจะไปเรียนถามท่านพระอาจารย์มั่นดีกว่า ก็ลุกขึ้นเดินไปได้ครึ่งเจดีย์เท่านั้น ท่านก็รู้ด้วยอำนาจจิตของท่าน ท่านพูดขึ้นดังๆว่า

    </dd><dd> “ถ้าหากมีคนละก็ ต้องมีแน่นอน เรื่องนรกเรื่องสวรรค์น่ะ ถ้าไม่มีคน นรกสวรรค์ก็ไม่มี ไม่ต้องถามถึงหรอก นรกสวรรค์น่ะเป็นเรื่องของคน ถ้าเป็นพระอริยบุคคลหมดโลก นรกก็ดี สวรรค์ก็ดี หมดไม่มีเหลือ ”

    </dd><dd> พอได้ยินเสียงท่านพูดจบรู้สึกเหมือนกับว่ามีใครเอาน้ำเย็นรดซู่จากศรีษะลงมาถึงปลายเท้า ความสงสัยเป็นอันว่าหมดไป

    </dd><dd> เหตุการณ์นี้เกิดกับท่านพระอาจารย์ดี ฉันโน แห่งวัดป่าสุนทราราม อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ หลวงปู่ดีได้เดินทางขึ้นไปจังหวัดสกลนครและนครพนม โดยให้นายมี วงศ์เสนา ผู้เป็นน้องชายติดตามและถือเงินไปด้วย ๒ ชั่ง จุดประสงค์ก็เพื่อจะไปเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติม และหาเหล็กไหล ขณะนั้นได้เข้าไปพักที่วัดป่าบ้านสามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ทำให้ได้พบหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตที่วัดนี้

    </dd><dd> พอตกเย็นหลวงปู่ดีได้เข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ท่านพระอาจารย์มั่น ได้ทักขึ้นก่อนว่า “ เดี๋ยวนี้ผมรู้ในญาณแล้วว่าท่านได้ให้น้องชายถือเงิน ๒ ชั่งมาด้วย เพื่อที่จะมาหาวิชาอาคม หาของดีเหล็กไหลใช่ไหม ” และหลวงปู่มั่นได้พูดต่อไปว่า “ ท่านอยู่ที่วัดบ้านกุดแห่นั้น ก็ได้ฆ่าหนังทำอานม้า ทำเข็มขัด กระเป๋าขายด้วย ของเหล่านี้ไม่ใช่กิจของสงฆ์ที่จะประพฤติปฏิบัติ มันเป็นบาป ขอให้ท่านมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเสียเถิด จะแนะแนวทางให้ เห็นว่ากุศลหนหลังของท่านเคยเกิดเป็นศิษย์พระมหากัสสปะเถระมาแต่ชาติปางก่อน อยู่นะ ”

    </dd><dd> หลวงปู่ดี ฉันโน เกิดอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่ง คิดว่าท่านพระอาจารย์มั่นคงมีหูทิพย์ตาทิพย์เป็นแน่จึงรู้ได้ ทั้งๆที่ไม่เคยพบเห็นหรือรู้จักกันกับท่านมาก่อน จึงเกิดศรัทธาตัดสินใจฝากตัวเป็นศิษย์ทันที

    <<< กลับสู่สารบัญ

    <center> กายทิพย์มาขอฟังธรรม</center>
    </dd><dd>สถานที่บางแห่งจะมีพวกเทวดา หรือ พญานาคมาฟังธรรมกับหลวงปู่มั่น ส่วนมากจะมาตอนกลางคืนดึกสงัด พอมาถึงก็พากันทำประทักษิณ ๓ รอบ แล้วนั่งเป็นระเบียบเรียบร้อย จากนั้นท่านก็แสดงธรรมให้ฟัง เมื่อจบแล้วเหล่าเทพก็พากันสาธุการ ๓ ครั้ง เสียงบันลือโลกธาตุ ผู้มีหูทิพย์จะได้ยินทั่วกัน แล้วพร้อมกันทำประทักษิณ ๓ รอบ พอออกไปพ้นเขตวัดหรือที่หลวงปู่พักแล้ว เหล่าเทวดาก็พากันเหาะขึ้นสู่อากาศ เหมือนปุยนุ่นลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าฉะนั้น

    </dd><dd> มีพระกราบเรียนถามท่านว่า เวลาพญานาคมาหาท่านเขามาในร่างแห่งงูหรือร่างอะไร ท่านบอกว่าพวกนี้เอาแน่เอานอนไม่ได้ ถ้าเป็นพญานาคก็มาในร่างแห่งกษัตริย์ มีบริวารห้อมล้อม การสนทนาก็เหมือนพระสนทนากับกษัตริย์ ใช้ราชาศัพท์กันเป็นพื้น เขามีความเคารพกันมากกว่าพวกมนุษย์ ขณะนั่งฟังธรรมไม่มีใครแสดงอาการกระดุกกระดิกเลย จนเป็นที่เข้าใจหมดความสงสัยแล้วก็พากันลากลับ


    <center> อานุภาพพระพุทธมนต์ </center>
    </dd><dd>คราวหนึ่งท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พักอยู่บนดอยปะหร่อง ได้มีเทพพวกหนึ่งจากเขาจิตรกฎ มาเรียนถามท่านว่า “ เสียง สาธุ สาธุ อะไร สะเทือนสะท้านทุกวัน พวกเทพทั้งหลายได้ฟังแล้วมีความสุขไปตามๆกัน ” ท่านจึงนำมาพิจารณาก็ระลึกได้ว่า ตอนเช้าหลังจากที่ชาวเขาตักบาตรท่านแล้ว ท่านก็ให้พรพวกเขาและสอนให้เขากล่าวคำว่า “ สาธุ ” พอรับทราบแล้ว พวกเทพก็ว่าเขาก็พากันสาธุการด้วย

    </dd><dd> ท่านพระอาจารย์มั่น จึงพิจารณาต่อว่า การสาธยายพระพุทธมนต์ ใครสวดก็ตาม เพียงแต่ระลึกในใจ มีอานุภาพแผ่ไปได้หมื่นจักรวาล พูดออกเสียงพอฟังได้มีอานุภาพแผ่ไปได้ถึงแสนจักรวาล สวดเต็มเสียงสุดกู่มีอานุภาพแผ่ไปได้เป็นอนันตจักรวาล แม้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหานรกอเวจี ยังได้รับความสุขเมื่อแว่วเสียงพระพุทธมนต์ </dd><dd></dd>



    http://www.tamroiphrabuddhabat.com/xmb/viewthread.php?tid=466
    <dd>
    </dd><dd>
    </dd><dd></dd>
     
  10. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    มาชมของแปลกครับ
    [​IMG]

    [​IMG]


    งูหลามปากเป็ด


    แปลกแต่จริง งูหลามปากเป็ด เทพเจ้าผู้ให้ลาภ
    (โดย.. สันยาสี)

    เมื่อ พ.ศ.2539 ผมได้ติดตามรับใช้หลวงพ่อดำ(สยบโรค) ซึ่งผมได้พบและรู้จักท่านที่วัดแห่งหนึ่ง จังหวัดจันทบุรี ที่บอกว่าวัดแห่งหนึ่งเพราะผมจำได้ไม่ถนัด จะเป็นวัดไทรน้อย ไทรทอง หรือไทรงาม หรือบางไทร….
    ที่โด่งดังทางพระเครื่องชายแดนอะไรนี่แหละ เหตุที่รู้จักเพราะคนที่ได้รับการรักษาโรคโดยพลังจิต จากท่านแล้วหายเป็นผู้พาไป เมื่อติดตามดูก็ทำให้ผมทึ่งจึงติดตามดูอย่างใกล้ชิด ไปนอนเรื้อรังเฝ้าดูอยู่วัดท่านเลยทีเดียว เมื่อรู้จักกันดีขึ้นมากแล้ว วันหนึ่งท่านได้นำผอบใบหนึ่งมาเปิดให้ดู เห็นตัวอะไร 2 ตัวคล้ายไส้เดือนขดเป็นวงอยู่ในผอบนั้น ซึ่งมีแป้งอยู่ด้วย เมื่อท่านใช้ก้านธูปเกลี่ยเอาแป้งที่พอกออกแล้วเอากล ้องส่องพระให้ส่องดูก็เห็นลายสวยงามเป็นตารางเล็ก ๆ ไขว้ไปมาทั่วตัวสิ่งนั้น ท่านถามว่าเคยเห็นมั้ย จึงตอบว่าไม่เคยเห็น เมื่อถามท่านว่าเป็นตัวอะไร
    ท่านบอกว่า งูหลามปากเป็ด จึงว่า เอ๊ะ งูอะไรตัวเล็กนิดเดียว เป็นลูกมันหรือ ท่านว่ามันโตแค่นี้แหละ จึงถามว่า แล้วมันดีอย่างไรจึงใส่ผอบราวกับเป็นพระสารีริกธาตุ ท่านว่าเป็นสัตว์ที่บันดาลให้ผู้ครอบครองประสบโชคลาภ เงินทองหลั่งไหลเทมาไม่ขาด จึงถามว่าได้มาอย่างไร ท่านว่าได้มาไม่กี่วันนี่แหละ มันมาอยู่ที่ตีนบันได เห็นสีดำๆ
    จึงเอาไฟฉายส่องดู จึงรู้ว่าเป็นงูหลามปากเป็ด เมื่อเอาก้านธูปเขี่ยใส่ถาดได้ครู่หนึ่งมันก็ตาย จึงเอาใส่ผอบแล้วเอาแป้งโรยไว้ เพราะต้องบูชาด้วยแป้งหอม จึงถามท่านว่าต้องทำพิธีหรือกล่าวคำบูชาอะไรหรือเปล่ าจึงสัมฤทธิ์ผล ท่านว่าไม่ต้อง แค่ใส่แป้งวางไว้ในที่อันสมควรเท่านั้น ตั้งแต่ได้มา โยมก็มาสัมภาษณ์ลงหนังสือ จนผู้คนหลั่งไหลเข้ามาหานี่แหละ
    ซึ่งเป็นเรื่องจริงที่ว่าตั้งแต่ผมนำเรื่องของท่านลง หนังสือโลกลี้ลับก็ทำให้ท่านโด่งดังจนแทบไม่มีเวลาพั กผ่อน ลาภสักการะก็เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณหรือหลาย ๆ คูณ วันหนึ่ง ๆ เงินทองหลั่งไหลมาหาท่านเป็นหมื่น ต่อมาผมก็นิมนต์ท่านมารักษาคนป่วยที่ชมรมปฏิบัติธรรม โลกทิพย์ ซ.สถานทูตจีน ถ.รัชดาภิเษก ห้วยขวาง ผู้คนยิ่งหลั่งไหลมาหาท่าน เรื่องราวของท่านที่ผมเขียนติดต่อกันทุกฉบับก็ถูกพิม พ์เป็นเล่ม ผู้คนก็ยิ่งรู้จักท่านเพิ่มขึ้น จนสามารถสร้างกุฏิและอุโบสถวัดท่ายาง อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช
    ต่อมาผมมีธุระกิจรัดตัวก็ไม่สามารถไปมาหาสู่ท่านได้ เรียกว่านาน ๆ เจอกันที เจอกันครั้งสุดท้ายเมื่อถามถึงงูหลามปากเป็ด ท่านบอกว่าคนขโมยไปเสียแล้วทั้ง 2 ตัว และตั้งแต่นั้นมาชีวิตของท่านก็ค่อนข้างอับเฉาลงเรื่ อย ๆ

    แม้ตัวผมเองก็ไม่ได้เขียนถึงอีก และไม่มีเวลาไปมาหาสู่เลย จนต่อมาทราบว่าท่านก็ไม่ได้ไปรักษาคนป่วยที่ชมรมปฏิบ ัติธรรมโลกทิพย์อีก จะเป็นด้วยเหตุใดนั้นผมไม่ทราบรายละเอียด และไม่ทราบว่าท่านได้ไปนั่งรักษาคนป่วยที่ไหนอีกหรือ เปล่า และต่อมาทราบว่าท่านมรณภาพเมื่อปี 2547 โบสถ์ที่ท่านสร้างก็ไม่เสร็จ

    ช่วงปี พ.ศ. 2539 นั่นเอง ผมไปเที่ยวสำนักสงฆ์ถ้ำเสือน้อย อ.อ่าวลึก เพื่อเยี่ยมคารวะพระคุณเจ้าที่รู้จักและนับถือกัน เมื่อคุยกันถึงเรื่องงูหลามปากเป็ด พระคุณเจ้ารูปหนึ่งที่นั่นเล่าให้ฟังว่า โยมที่อ่าวลึกคนหนึ่งก็มี 3-4 ตัว เมื่อก่อนแกก็ไม่มีอะไร พอได้งูนี้มาก็รวยเอา ๆ จนมีรถตั้งหลายคัน ถือว่าเป็นคนมีฐานะดีคนหนึ่งของอ่าวลึก จึงสอบถามลักษณะของงูว่าจะเหมือนกันหรือไม่ ท่านว่าท่านเห็นมาแล้ว และท่านเล่าให้ฟังก็ตรงกับลักษณะที่ผมเห็นของหลวงพ่อ ดำนั่นเอง

    ผมเคยถามหลวงพ่อดำว่างูชนิดนี้จะให้โชคเฉพาะคนที่เขา มาหา หรือว่าใครก็ได้ที่ครอบครองเขา ท่านว่าใครก็ได้ที่ได้เขาไปครอบครองล้วนมีผลเท่ากัน เพราะถือว่าคนที่ได้มานั้นเป็นผู้มอบให้แล้ว แต่ของอย่างนี้มันไม่ใช่จะเป็นที่ต้องการของใคร ๆ เพราะดู ๆ มันก็เหมือนไส้เดือน คนไม่มีบุญมองแล้วก็ไม่เลื่อมใสจึงไม่อยากได้ แต่คนมีบุญเมื่อเห็นก็เลื่อมใสอยากได้ อยากเป็นเจ้าของ แต่มันก็ไม่ใช่ของที่จะหาได้มาง่าย ๆ เหมือนเหล็กไหลไง หายาก และเป็นเจ้าของยาก แม้พบบางทีก็เอาไม่ได้ เพราะไม่มีบุญที่จะได้ครอบครอง เพียงแต่เหล็กไหลจะอยู่กับคู่บุญของเขา คนอื่นเอาไปก็หนีกลับไปอยู่กับเจ้าของ ส่วนงูนี้ไม่ได้หายไปไหน ถ้าไม่โดนคนขโมย หรือยกให้เขาไปมันก็ยังอยู่กับตัวเรา คนที่ได้รับไปอีกทอดหนึ่งก็สามารถครอบครองได้โดยของไ ม่หนีไปไหน เพราะฉะนั้นเมื่อครอบครองต้องรักษาให้ดี ไม่งั้นถูกขโมย

    ปรากฏว่าเป็นจริง ด้วยความคันไม้คันมือของผมที่นำเรื่องนี้ไปเขียนลงหน ังสือ จึงทำให้มีมือดีมาขโมยงูวิเศษของท่านไป จนทำให้ชีวิตของท่านผันแปรไปอย่างไม่น่าเชื่อ ท่านเคยปรารภกับผมว่าจะให้งูหลามปากเป็ดไว้สักตัว จะได้ตั้งตัวได้กับเขาสักที แต่ก็ไม่เห็นท่านให้สักที และผมก็ไม่เคยขอ ไม่เคยทวงถาม เพราะคิดว่าของอย่างนี้มันขึ้นอยู่กับบุญนำกรรมแต่ง เมื่อมันจะเป็นของเราเดี๋ยวก็มาเองจนได้

    ปรากฏว่าเป็นเรื่องจริงอีกเช่นกัน เมื่อผมย้ายไปอยู่ต่างจังหวัด และไปเช่าบ้านหลังหนึ่งซึ่งสวยงามมาก เป็นบ้านไม้ชั้นเดียว ยกพื้นสูงประมาณ 1 เม็ด มีรั้วรอบขอบชิด มีอาณาบริเวณประมาณ 2 งาน อยู่ติดถนนดำ ตั้งอยู่เชิงเขาราว ๆ กับบ้านในรีสอร์ท อากาศเย็นสบาย ไปที่อื่นร้อนอบอ้าวเมื่อกลับมาถึงบ้านหลังนี้แล้วปล อดโปร่งเหลือเกิน เมื่อผมไปอยู่ก็ค่อยถากถางหญ้าที่รกรุงรัง ปลูกต้นไม้ต้นยา บ้านก็ยิ่งน่าอยู่น่าดูขึ้นอีกมาก จนคืนหนึ่งผมก็พบตัวสีดำ ๆ เลื้อยอยู่ตีนบันไดบ้าน ดูคล้ายไส้เดือน แต่ดูใกล้ ๆ ก็ไม่ใช่ จึงเอาไฟฉายส่องดูก็เห็นแปลก จึงนึกถึงงูหลามปากเป็ดขึ้นมา เมื่อเอาไม้เขี่ยใส่ถาดได้ไม่นานมันก็ตาย จึงเอาแว่นขยายส่องดูก็เห็นลายแบบเดียวกับที่เห็นของ หลวงพ่อดำ จึงทราบว่าเป็นงูหลามปากเป็ดจริง ๆ และผ่านมาอีก 2 วันผมก็ได้เพิ่มมาอีกตัว ณ ที่เดิม ผ่านมาอีก 3 วันก็ได้เพิ่มมาอีกตัวหนึ่ง รวมทั้งหมด 3 ตัว ก็เอาใส่ผอบไว้ ต่อมาเมื่อมาเปิดดูปรากฏว่าหายไปตัวหนึ่ง คงเหลือเพียง 2 ตัว เอ๊ะ นี่แสดงว่าหายตัวได้ ที่หลวงพ่อเล่าให้ฟังก็ไม่จริงเสียทั้งหมด พอวันที่ 20 มีนาคม 2545 อยากซื้อเลขกับเขาดูบ้าง แต่จะซื้ออะไรดี เอ..ลองดูงูปากเป็ดเขาจะให้โชคบ้างหรือเปล่า จึงไปเปิดผอบดู ก็เห็นขดเป็นเลข 66 สักครู่หนึ่งอีกตัวหนึ่งขดตัวกลมกลายเป็นเลข 0 ผมจึงตี 66 และ 606 เมื่อยามบ่ายแล้วไปธุระที่อำเภอ เขาพูดกันว่าเลขท้าย 3 ตัวบนออก 999 เออ..ผมก็ไม่ได้คิดว่าเลข 6 มันจะเป็นเลข 9 นี่แสดงว่าโชคยังมาไม่เต็มที่ ต้องรออีกสักนิด และคงไม่ใช่โชคลาภลอยก็ได้ ธุระกิจของผมคงกลับเฟื่องฟูเหมือนเดิม ผมก็ใส่ผอบไว้ แต่ไม่ได้เอาใจใส่เท่าไรนัก แต่ปีนั้นผมก็ระเหระหน ย้ายไปนั่นนี่อยู่เสมอ การเงินไม่ดีนัก ต่อมาก็เอาผอบงูหลามไปไว่ที่ไหนก็หลงลืมไป
    จนมาถึง พ.ศ.2547 เมื่อผมไปเช่าบ้านหลังหนึ่งที่เมืองแพร่ งูหลามปากเป็ดก็มาหาผมอีก 2 ตัว ตอนนั้นผมตั้งร้านขายยาที่บ้านนั้นแล้ว ผมก็กลับเฟื่องฟูขึ้นอีกเพราะจำหน่ายว่านขันหมาก มีรายได้เดือนละไม่ต่ำกว่าแสนบาทต่อเดือน จนซื้อที่ ซื้อรถเก๋ง รถกะบะ รถมอเตอร์ไซด์ ติดกันทุกเดือน จนชาวบ้านซุบซิบกันว่าผมถูกหวย บางคนก็ว่าผมค้ายาบ้า ผมเอางูหลามปากเป็นใส่ในโถไม้ทรงสูง เอาดินและทรายใส่ไว้ให้เขา ก็ตั้งไว้อย่างนั้นแหละ ไม่ได้บูชาอะไร ต่อมาเอามาดู ปรากฏหายไปทั้งสองตัว ไม่รู้ออกไปได้อย่างไร

    เมื่อผมได้มารู้จักกับองค์พ่อ ๑๖ (ท้าวเวสวัณ) และองค์พ่อจิตรา (ท้าวกุเวร) จึงทูลถามท่านเรื่องงูชนิดนี้ว่าสามารถบันดาลทรัพย์ไ ด้จริงหรือไม่ พระองค์ท่านทั้งสองตรัสตอบว่าได้จริง ผมถามว่า ทำไมสัตว์ดิรัจฉานตัวเท่าไส้เดือนจึงมีฤทธานุภาพถึงข ั้นบันดาลทรัพย์ได้ พระองค์ท่านท้าวเวสวัณตรัสตอบว่า เขาเป็นเทวดาชั้นที่ 7 ถูกสาปลงมาเกิดใช้เศษกรรม แต่เขาก็ยังมีฤทธิ์อำนาจอยู่บางประการ ที่สามารถช่วยเหลือมนุษย์บางคนที่มีบุญบารมีพอที่จะร ับอำนาจของเขาได้
    ผมทูลถามว่า เมื่อเราได้เขามาจะต้องทำอย่างไรกับเขา
    เสด็จพ่อท้าวเวสวัณตรัสว่า ต้องนำเขาใส่ผอบไว้ และเมื่อจะบูชาหรือเลี้ยงเขา ให้นำผอบไปในครัว แล้วนำเศษเนื้อ หรือไข่ ชิ้นเล็ก ๆ เชื้อเชิญให้เขากิน เสร็จแล้วก็นำไปเก็บไว้ที่เดิม
    งูเหลือมปากเป็ด ตัวเท่าก้านธูป
     
  11. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ค ลื่ น ก ร ะ ท บ ฝั่ ง :หลวงพ่อชา สุภัทโท

    [​IMG]

    ค ลื่ น ก ร ะ ท บ ฝั่ ง
    พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
    วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี


    เรื่องทุกข์เรื่องไม่สบายใจนี่
    มันก็ไม่แน่หรอกนะ มันเป็นของไม่เที่ยง


    เราจับจุดนี้ไว้ เมื่ออาการเหล่านี้มันเกิดขึ้นมา
    เรารู้มันเดี๋ยวนี้ เราวางกำลังอันนี้จะค่อยๆเห็นทีละน้อยๆ
    เมื่อมันเกิดขึ้น มันข่มกิเลสได้เร็วที่สุด


    ต่อไปมันเกิดตรงนี้ มันดับตรงนี้
    เหมือนกับน้ำทะเลที่กระทบฝั่ง
    เมื่อขึ้นมาถึงฝั่งมันก็ละลายเท่านั้น
    คลื่นใหม่มาอีก มันก็ละลายต่อไปอีก
    มันจะเลยฝั่งไปไม่ได้


    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    คือฝั่งทะเลอารมณ์ทั้งหลายที่ผ่านเข้ามา
    มันก็เท่านั้นแหละ




    (ที่มา : เหมือนกับใจ คล้ายกับจิต รวบรวมคำอุปมาของ หลวงพ่อชา สุภัทโท (พระโพธิญาณเถร), หน้า ๑๑๖)

    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=23991
     
  12. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    วิปัสสนานี้มีผลอานิสงส์ยิ่งใหญ่...(หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล)

    [​IMG]


    หากต้องการภาพขนาดใหญ่ เพื่อทำ Wallpaper
    Download Wallpaper Link...

    (กดปุ่มเมาส์ด้านขวา เลือก Save Target As)


    ผลงานในบทความและรูปภาพทั้งหมดข้างต้นนี้ ต้องขอขอบคุณ
    คุณลูกโป่งเป็นที่สุดครับ และขออนุญาตที่จะพยายามนำผลงานและ
    บทความที่ได้ทำไว้มาลงในกระทู้นี้ทั้่งหมดด้วยครับ

    http://www.dhammajak.net

     
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    เหรียญรวมใจ

    [​IMG]



    [​IMG]


    <table id="ipb-attach-table-5673-0-16017200-1252164533" style="display: inline; width: auto;" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td></tr></tbody></table>[​IMG]

    เหรียญรวมใจครับ ข้าราชบริพารร่วมกันสร้างคราวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร

    เหรียญนี้แสดงถึงความจงรักภักดี ความห่วงใย ความสามัคคี และที่พึ่งทางใจของคนโบราณ คนรุ่นก่อนเราผ่านสัญลักษณ์ และ ภาพวัตถุไว้

    เหรียญรุ่นนี้ เรียกว่า เหรียญรุ่นรวมใจ มีเหตุให้ได้จัดสร้างเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงพระประชวร คราเสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ

    มีใจความดังเดิมของเหรียญนี้ไว้ว่า

    "ข้าราชบริพาร ทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งได้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ จำนวน ๑๐๗,๙๙๙ บาท ทูลเกล้า ฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อเป็นทุนสร้างอุโบสถวัดเจดีย์สถาน อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร ณ จ.เชียงใหม่ เมื่อ ๑๙ มกราคม ๒๕๑๘ และ ต้องการให้มีเครื่องหมายเพื่อเป็นการแสดงถึงความสามมัคคี ความห่วงใย ความภักดี และเพื่อเป็นที่พึ่งทางใจ สำหรับยึดเหนี่ยวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จึงได้จัดสร้างจัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ขึ้นในปี ๒๕๑๘ "

    จำนวนการสร้างทั้งสิ้น ประมาณสี่แสนเหรียญ

    @@@จะเห็นได้ว่าความจงรักภักดีของคนโบราณ ไม่วุ่นวาย ไม่เดือดร้อน หัวใจของคนทั้งชาติจึงถูกหล่อหลอมให้เป็นเหรียญรุ่นนี้ และอีกหลายๆรุ่นต่างกรรม ต่างวาระกัน

    @@@เราคนรุ่นต่อมาจึงควรมีใจรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ดังคนรุ่นเก่าก่อนทำมา ไม่วุ่นวายกัน ไม่เดือดร้อน เชื่อในกรรม เชื่อในผลของกรรม


    ขอขอบคุณ
    สวนขลังดอทคอม
     
  17. ไชยชุมพล

    ไชยชุมพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +1,873
    วันนี้เวลาประมาณ 9.30 น. คุณแม่โอนเงินร่วมทำบุญกับทุนนิธิฯ ประจำเดือนนี้แล้วครับ 500 บาท โมทนากับทุกท่านด้วยครับ
     
  18. boradcard186

    boradcard186 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    265
    ค่าพลัง:
    +760
    วันที่ 7 เวลา 12.10 น.ผมได้โอนเงินผ่าน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำนวน 500 บาท เพื่อร่วมทำบุญกับพระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธ เข้า บัญชี "ศ. ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร" บัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาถนนวิภาวดีรังสิต (ซันทาวเวอร์ส) บัญชีออมทรัพย์ หมายเลข 348-1-23245-9
     
  19. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    [​IMG]
    ไหว้ 5 ครั้ง
    ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
    วัดเทพศิรินทราวาส
    ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ไม่ว่าเวลาใด ตามแต่เหมาะ ต้องไหว้ให้ได้ 5 ครั้งเป็นอย่างน้อย ในคราวเดียวกัน ถ้ามีดอกไม้ ธูปเทียน ก็บูชา ถ้าไม่มีก็มือ 10 นิ้วและปากกับใจ ควรไหว้จนตลอดชีวิต คือ ครั้งที่ 1 พึงนั่งกระโหย่งเท้าประนมมือว่า นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสฺมพุทฺธสฺส ฯ 3 หน
    แล้วว่าพระพุทธคุณ คือ อิติปิ โส ภควา อรห<SUP>°</SUP> สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสาน<SUP>° </SUP>พุทฺโธ ภควาติ ฯ
    หยุดระลึกถึงพระปัญญาคุณทรงรู้ดีรู้ชอบสิ้นเชิง พระบริสุทธิคุณทรงละความเศร้าหมองได้หมด พระกรุณาคุณทรงสงสารผู้อื่นและสั่งสอนให้ปฏิบัติตาม ของพระพุทธเจ้า จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ
    ครั้งที่ 2 ว่าพระธรรมคุณ คือ สฺวากฺขาโต ภควตา ธฺมโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺ จตฺต<SUP>°</SUP> เวทิตพฺโพ วิญฺญหีติ ฯ
    หยุดระลึกถึงคุณพระธรรมที่รักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ
    ครั้งที่ 3ว่าสังฆคุณ คือ สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสฺงโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสฺงโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสฺงโฆ ยทิทฺ จฺตตาริ ปุริสยุคานิ อฏฐ ปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสฺงโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนฺยโย ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลิกรณีโย อนุตฺตรฺ ปุญฺญกฺเขตตฺ โลกสฺสาติ ฯ
    หยุดระลึกถึงคุณ คือ ความปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบของพระอริยสงฆ์ จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ
    นั่งพับเพียบประนมมือ ตั้งใจถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ไม่ถือสิ่งอื่นยิ่งกว่าจนตลอดชีวิต ว่าสรณคมน์ คือ
    พุทฺธ<SUP>°</SUP> สรณ<SUP>°</SUP> คจฺฉามิ
    ธมฺม<SUP>°</SUP> สรณ<SUP>°</SUP> คจฺฉามิ
    สงฺฆ<SUP>°</SUP> สรณ<SUP>°</SUP> คจฺฉามิ ฯ
    ทุติยมฺปิ พุทฺธ<SUP>°</SUP> สรณ<SUP>°</SUP> คจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ ธมฺม<SUP>°</SUP> สรณ<SUP>°</SUP> คจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ สงฺฆ<SUP>°</SUP> สรณ<SUP>°</SUP> คจฺฉามิ ฯ
    ตติยมฺปิ พุทฺธ<SUP>°</SUP> สรณ<SUP>°</SUP> คจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ ธมฺม<SUP>°</SUP> สรณ<SUP>°</SUP> คจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ สงฺฆ<SUP>°</SUP> สรณ<SUP>°</SUP> คจฺฉามิ ฯ

    ครั้งที่ 4 ระลึกถึงคุณมารดาบิดาของตน จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ
    ครั้งที่ 5 ระลึกถึงคุณของบรรดาท่านผู้มีอุปการคุณแก่ตน เช่น พระมหากษัตริย์ และครูบาอาจารย์เป็นต้นไป จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    ต่อนี้ไปไม่ต้องประนมมือ ตั้งใจพิจารณาเรื่องและร่างกายของตนว่า จะต้องแก่ หนีความแก่ไปไม่พ้น จะต้องเจ็บ หนีความเจ็บไปไม่พ้น จะต้องตาย หนีความตายไปไม่พ้น จะต้องพลัดพราก จากของรัก ของชอบใจทั้งสิ้น มีกรรมเป็นของตัว คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงไม่แน่นอน เป็นทุกข์ลำบากเดือดร้อน เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของตน ฯ ครั้นพิจารณาแล้ว พึงแผ่กุศลทั้งปวงมีการกราบไหว้เป็นต้นนี้ อุทิศให้แก่ท่านผู้มีคุณ มีบิดามารดาเป็นต้น ตลอดจนชั้นสูงสุด คือ พระมหากษัตริย์ ทั้งเทพดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายว่า จงเป็นสุข ๆ อย่ามีเวรมีภัยเบียดเบียนกันและกัน รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ<O:p</O:p



    การไหว้ 5 ครั้งนี้ ถ้าวันไหนขาด ให้ไหว้ใช้หนี้ 5 ครั้งในวันรุ่งขึ้น ถ้านั่งกระโหย่งเท้าไม่ได้ ก็นั่งพับเพียบ ถ้าไม่ได้ ก็นอนไหว้ เมื่อยอมือไม่ขึ้นก็ปากกับใจ ถ้าทำได้อย่างนี้ เป็นเครื่องหยุดตนให้เป็นคนดีไม่ให้เป็นคนชั่ว และให้ตั้งอยู่ในที่ดีไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ถ้าผู้ใดประพฤติได้เสมอจนตลอดชีวิต ผู้นั้นจะอุ่นใจในตัวของตัวเอง มีความเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่งๆ ขึ้นเสมอทุกคืนทุกวัน คุ้มครองป้องกันภยันตรายปราศจากความเสียหายที่ไม่เหลือวิสัย และตั้งตัวได้ในทางคดีโลกและทางคดีธรรม เต็มภูมิเต็มชั้นของตน ฯ ทุกประการ จบเท่านี้ ฯ
    ...........................................................................................
    suanklang.com
    ;aa32
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2009
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    บทกลอนเพื่อชีวิตเรื่องไก่



    พระเทพวิสุทธิเมธี ป.ธ.9 (เจ้าคุณเที่ยง) เจ้าคณะภาค 11 วัดระฆังโฆสิตาราม



    ๐ เอ๊กอิเอเอ้กเสียงนี้มีความหมาย เป็นจุดขายเงินตรามหาศาล

    มันคือไก่ขุมทองของรัฐบาล ยอดอาหารคู่โลกโภคภัณฑ์

    กะต๊ากกะต๊ากแซ่เสียงแม่ไก่ ยามออกไข่ถ่ายฟองเป็นของขวัญ

    ให้เราท่านทั่วถิ่นได้กินกัน รสนิ่มมันทอดปรุงบำรุงพลัง

    ไก่ธุรกิจทำเงินเกินคาดหมาย เรื่องซื้อขายกำไรสมใจหวัง

    เสี่ยโกเฮงซีพีเศรษฐีดัง บ้านดุจวังเพราะขายไก่ได้ราคา

    ๐ เป็นเศรษฐีเพราะไก่สมใจนึก ทุกคนคึกอยากรวยด้วยตัณหา

    ปลูกโรงไก่เล้าไก่เต็มไร่นา เป็นสินค้าขายออกทั้งนอกใน

    ต่างคนต่างอยากรวยฉวยโอกาส จิตหมายมาดมุ่งรับทรัพย์ลื่นไหล

    เงินทองสะดวกโดยโกยกำไร เศรษฐีไก่สมอยากบ่ยากเย็น

    บางคนโง่ซื่อบื้อเรื่องซื้อขาย พบฉิบหายฉับพลันทันตาเห็น

    จนเพราะการค้าน้ำตากระเด็น ช้ำลำเค็ญร้องว่าไก่ฆ่ากู

    ไข้หวัดนกระบาดอนาถจิต ไก่เกิดติดโรคร้ายตายจมหู

    ถูกฝังเผาเป็นล้านบานตะกู เป็ดห่านหมูเนื้ออร่อยพลอยล้มตาย

    ๐ โรคห่าล่าชีวิตให้ปลิดปลด ไก่กำสรดอยู่ไปไร้ความหมาย

    โรคแลคนรุมล่าฆ่าวอดวาย ทารุณร้ายสุดอนาถชาติไก่เอย

    ไก่กับคนผูกพันกันนานมา ครั้งปู่ย่าเราท่านขานเฉลย

    เห็นไก่อยู่กับไก่ไม่ห่างเลย ทุกคนเคยเลี้ยงไก่กินไข่แดง

    ไก่เป็นอาหารเป็นเพื่อนเตือนให้คิด ขันสะกิดรับสุรีย์ทอสีแสง

    จ้องดูเราดุจแม่พ่อคอตะแคง คล้ายชี้แจงความเป็นมิตรนิจนิรันดร์

    อรุณรุ่งเรืองรองท้องฟ้าใส นกกาไก่เกาะกลุ่มชุมนุมขัน

    บ้านหรือวัดเซ็งแซ่แต่ละวัน สัตว์คู่ขวัญชีวิตจิตวิญญาณ

    ๐ มันมองเราเรามองมันด้วยหรรษา คนเมตตาหยิบโปรยโรยอาหาร

    มีของกินผลไม้ให้เป็นทาน ร้องเรียกขานคุ้นปากจากดวงใจ

    สัตว์บ่เคยเป็นญาติกันนั้นบ่มี พระชินสีห์ชี้แจงแถลงไข

    ภพภูมิแห่งสงสารเนิ่นนานไกล สัตว์เล็กใหญ่ล้วนญาติชาติผ่านมา

    สันนิวาสเป็นญาติแต่ชาติก่อน อดีตย้อนผูกใจใฝ่ปรารถนา

    เกิดสำนึกมั่นหมายร่วมชายคา แรงตัณหาอยากหวังฝังรูปนาม

    ๐ ฆ่าเป็ดกินเป็ดตายเกิดเป็นเป็ด ผลชั่วเผล็ดร้องก๊าบบาปแห่หาม

    เวรกรรมรุมประชิดรุกติดตาม คอยคุกคามเข่นฆ่าน้ำตานอง

    คนฆ่าไก่กินไก่เกิดเป็นไก่ บาปล่าไล่สู่ปูมภูมิสยอง

    เกิดตายเท่าขนไก่ไร้ต่อรอง ฆ่าหมูต้องเป็นหมูคู่เวรกัน

    เกิดเป็นหมูหมากาไก่ให้ประโยชน์ แต่ทุกข์โทษคุกคามนามรูปขันธ์

    ยิ่งเกิดยิ่งพอกโง่จมโลกันต์ บาปโมหันธ์มืดมิดปิดทางเดิน

    สมองหมูหมากาไก่ไร้คุณภาพ แต่เอิบอาบด้วยคลื่เบาตื้นเขิน

    ขาดสติยับยั้งพลังเกิน งมงายเพลินโลกแล่นแดนอบาย.......

    ๐ จุติสู่ภพภูมิปูมนรก ดุจดาวตกพุ่งลับแสงดับหาย

    มืดมิดมหัศจรรย์สุดบรรยาย ยมทูตร้ายล้อมรุมอุ้มแห่ไป

    ต้องทนทุกข์ทรมานเนิ่นนานช้า มิรู้ว่าสุดกู่อยู่หนไหน?

    คุกนรกสุดสยองล้วนกองไฟ ร่างเผาไหม้เกิดใหม่ใช้โทษทัณฑ์

    มรสุมเวรกรรมกระหน่ำหนัก ภูติผีทักหมาเห่าเขย่าขวัญ

    วิญญาณไก่เป็ดห่านขานพร้อมกัน เซ็งแซ่ลั่นโจทก์จี้ทวงหนี้บุญ

    ญาติปู่ย่าตายายที่ตายไป เกิดเป็นไก่หมาหมูอยู่ใต้ถุน

    ผลวิบากกรรมโหดโทษทารุณ ลูกหลานขุ่นฆ่าขายหมายเงินทอง

    ๐ อันเวรกรรมทำไว้ในไตรจักร์ เบาหรือหนักพอกพูนคูณสนอง

    ปราศจากมิตรศัตรูผู้ปกครอง คอยจับจ้องล้างผลาญสถานเดียว

    กรรมที่สร้างไว้เสร็จสำเร็จผล ควบคุมคนผู้สร้างอย่างแน่นเหนียว

    อยู่ทิศไหน?เคียงข้างไม่ห่างเชียว เกาะกุมเกี่ยวแสดงผลให้ยลยิน

    พลังเวรพลังกรรมทรงอำนาจ ไม่คลาคลาดตามติดนิจสิน

    ถึงเวลารุกถล่มร่างจมดิน ไม่สุดสิ้นชาติภพจบไม่เป็น

    ยุติคำกลอนเรื่องไก่ไว้เท่านี้ ขอน้องพี่ทั้งหลายคลายทุกข์เข็ญ

    พ้นจากความอดอยากยากลำเค็ญ ได้พบเห็นพวกไก่ให้เมตตา ฯ.......

    (จาก นสพ.ธรรมะ สาส์นสวรรค์ ประจำวันที่ 1-30 เมษายน 2547)


    ขอขอบคุณที่มา <!-- m -->http://www.o2blog.com/myblog/blog.ph
     

แชร์หน้านี้

Loading...