ข้อความจาก กลุ่มประสานงานเพื่อการเตือนภัย(เขากะลา)(ปิดกระทู้)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย สุดใจเขากะลา, 9 สิงหาคม 2007.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. dalink

    dalink เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +2,436
    Dalink ก็มีข้อสงสัยอยากซักถามเหมือนกันค่ะ หลังจากได้อ่าน ข้อธรรมของพวกพี่ๆ แล้ว

    เมื่อเรารู้สึกว่า เวปลง และแยกแยะได้ว่านี่คือ เวป จิงๆ

    นะ ไม่อิงนิยาย แต่ปรากฏว่า


    ถ้าเรารู้ว่า พฤติกรรมที่จะทำสืบเนื่องจากเวป ลง มันผิดธรรมจรรยา เราควรทำหรือไม่อย่าง

    ไร จะเลือกทำข้อไหนดี ระหว่าง


    1. ปล่อยให้ ขันธ์ห้า ทำไป เนื่องจากเรารู้ว่านี่เวป ทำไปเถอะ เพราะเวปทำไม่ใช่เรา

    ทำ แต่อีกใจรู้อยู่ ว่าทำแล้วต้อง feedback มาในทางไม่ดีแน่ๆ แต่ช่างมัน คนอื่นทุกข์

    ก็ทุกข์ไป เราไม่ทุกข์ เพราะเราไม่ได้ยึดมัน เวปทำ


    2. ไม่ทำ ถึงแม้จะรู้ว่า เวปของแท้ไม่ใช่ความคิดเราเอง แต่สติมาเตือนว่า อย่าทำนะ ทำ

    แล้ว มีผลกระทบที่ไม่ดีต่ออื่นแน่ๆฯลฯ ไม่เชื่อฟังเวป ก็ไม่ทำ เพราะรู้ว่านี่แนะ

    เวปหลอกแน่ๆ

    สรุป คือ จะทำหรือไม่ทำก็ได้ ให้มีสติกำหนดรู้ก่อนทุกครั้ง หลังได้ได้ข้อมูลจาก

    เวป ใช่หรือเปล่า แล้วใช้ปัญญาในการตัดสินว่าจะทำหรือไม่ทำ เพราะทำก็ถูก

    ต้อง ไม่ทำก็ถูกต้อง

    ทุกคนมีสิทธิเลือกทำ หรือไม่ทำก้อได้ ไม่มีถูก ไม่มีผิด

    เพราะ มีเหตุปัจจัยให้เขาเลือก หรือไม่เลือก จริงใช่ไหมคะ



    วานท่านอาจารย์ และผู้รู้ช่วยตอบด้วยค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2009
  2. มองตน

    มองตน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +116
    สิ่งที่ อ.สุดใจ กล่าวไว้แล้วนั้น.....ถูกต้องที่สุด

    " ไม่ส่งจิตออกนอกไปตัดสินใคร "

    ดังนั้น นักปฎิบัติที่ดี จึงควรมีลักษณะดังนี้

    1. ไม่ควรไปเปรียบเทียบว่าของใครจริงหรือเท็จ ดีหรือไม่ดี ถูกหรือผิด เพราะจะทำให้เรายึดติดในอัตตาตัวตนของเรา
    2. ไม่ควรจะไปกล่าวว่าร้ายใคร เขาจะเป็นอย่างไรก็ช่างเขา เขาจะปฎิบัติอย่างไรก็ถูกต้องของเขา เราจึงไม่ควรไปกล่าวว่าร้ายเขาว่าเป็นเป็นเทพ เป็นมาร เป็นอสูร หรือเป็นยักษ์ เพราะจะทำให้กองทุกข์มาเกาะอยู่ที่ผู้กล่าวว่าร้าย แม้เป็นเพียวชั่วขณะก็ตามก็ได้ขึ้นชื่อว่าจมอยู่ในกองทุกข์
    3. ไม่ควรไปบังคับเขาให้ก้าวเดินตามเรา เพราะเส้นทางเดินไปสู่ฝั่งมีหลายเส้นทาง จะเดินตามเส้นทางที่ตรง หรือจะคต จะสั้นหรือจะยาว ก็เป็นเรื่องของเขา เพราะจริตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ภูมิรู้ภูมิธรรมก็แตกต่างกัน จึงไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกัน ทั้งนี้รวมถึงความคิดที่แตกต่างกันด้วย เพราะการมีความคิดที่แตกต่างก็ไม่ได้หมายความว่าผิด
    4. ไม่ต้องไปมองใครหรือมองคนอื่นที่ไหน กล่าวคือ ไม่ต้องส่งจิตออกนอกไปตัดสินใคร ให้ส่งจิตเข้าไปข้างใน ก็คือ ให้มองเข้าไปในตัวของตนเอง มองให้เห็นกองทุกข์ แล้วใช้ปัญญาในการพิจารณาดับทุกข์
     
  3. juksawat

    juksawat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2008
    โพสต์:
    980
    ค่าพลัง:
    +3,507
    ขออภัย....มัวแต่อ่านเพลิน

    welcome4 welcome4welcome4

    ยินดีต้อนรับคุณมองตน เข้าสู่กลุ่มประสานงานเพื่อการเตือนภัย(เขากะลา) ครับ
    ;aa19;aa19;aa19
     
  4. p.apichart

    p.apichart เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    401
    ค่าพลัง:
    +4,041
    สงสัยผมงานจะเข้าซะแล้วละครับ เพิ่งคุยกับพี่สุดใจเมื่อกลางวัน “ฝากตอบข้อซักถามในกระทู้ด้วยนะ พี่สุดใจต้องเร่งทำข้อมูลลงเว็ปที่คุณพีทกำลังจะเปิด คงไม่ได้เข้ามาดูในกระทู้หรอกช่วงนี้” แหะๆ ค้าบได้ค้าบ

    จากที่คุณDarlink มีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องWAVE ผมจึงขออนุญาตเป็นผู้อธิบายขยายความในประเด็นนี้อย่างต่อเนื่องไปเลยก็แล้วกันนะครับ<O:p

    ความจริงแล้วการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องWAVEนี้นั้น ก่อนหน้านี้พี่สุดใจจะเรียกคนนั้น เชิญคนนี้ไปขยายระบบกันแบบตัวต่อตัว ตามสภาวะของแต่ละท่านแต่ละบุคคลที่พร้อมจะรับได้ในขณะนั้น และเป็นเรื่องที่นอกเหนือจากความเข้าใจของบุคคลที่เพิ่งเข้ามารับรู้รับทราบ ต้องใช้ระยะเวลาในการทำความเข้าใจกันนานมากพอควรเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผยแพร่ในกระทู้แห่งนี้ซึ่งถือว่าเป็นสาธารณะ ก็จะมีผู้ที่เพิ่งเข้ามาศึกษาพบเจอและมีข้อสงสัยกันอย่างต่อเนื่องและไม่จบสิ้น แต่มิได้หมายถึงผู้ที่ตอบปัญหาจะรู้สึกเบื่อหน่ายไม่ยินดีในการไขข้อข้องใจต่างๆ นะครับ เพียงแต่ผู้ที่มิได้เป็นคนระบบเข้ามาอ่านแล้วทำยังไงก็ไม่เข้าใจ เพราะไม่มีWAVEเพื่อการศึกษาไปลงเป็นตัวอย่างให้ดู เพียงแต่เป็นการมารับทราบข้อมูลตามที่พี่สุดใจเคยกล่าวไว้หลายครั้งในกระทู้นี้ว่า “แจ้งเพื่อทราบ” เท่านั้น<O:p

    ต้องขอเรียนตามตรงนะครับว่า บุคคลที่เป็นคนระบบโดยเฉพาะผู้ที่มีหมายเลขแล้วนั้น ระบบถือว่ายังเป็นนักเรียนอยู่ด้วยกันทั้งนั้น ไม่เว้นแม้แต่ผู้รับผิดชอบแผนกทั้ง 4 ท่าน เพราะว่าทุกคนยังมีกิจที่ต้องทำยังไม่เสร็จกิจ(ตามนัยยะของพระพุทธองค์) การปฏิบัติเพื่อความเจริญก้าวหน้าในธรรมถือว่าเป็นวิชชาใหม่สำหรับทุกคน (หมายถึงว่าถ้าปฏิบัติเสร็จแล้วไม่ต้องเรียนแล้วก็ต้องสำเร็จเป็นอริยะบุคคลในขั้นสูงสุดแล้ว) ดังนั้นเมื่อยังมีเวลาเหลืออยู่ในช่วงก่อนที่จะเกิดภัยพิบัตินี้ ระบบก็จะอัดจะเร่งหาทุกข์มาให้นักเรียนมาให้ได้ฝึกปล่อยวางกันทุกๆ วันในแต่ละคน<O:p

    อุปกรณ์ของมนุษย์ต่างดาวที่พี่สุดใจเคยกล่าวถึง และเคยมีตัวอย่างมาให้เห็น มาให้เล่าสู่กันฟังนั้น ตอนนี้ระบบเอาเก็บซ่อนไว้ก่อนยังไม่แจกให้ใคร ยกเว้นบางท่านที่ต้องใช้ฤทธิ์ใช้เดชในการสร้างความน่าเชื่อถือตามความจำเป็นเท่านั้น แต่เครื่องมือของระบบที่ใช้เป็นอุปกรณ์การสอนของระบบเป็นอย่างดีก็คือWAVE ก็อย่างที่ผมเคยกล่าวแล้วอีกเช่นกันว่าเมื่อถึงช่วงเวลาที่จะต้องทำงานจริง WAVEของแต่ละคนแต่ละขันธ์นั้นจะไม่มีความผิดพลาด แต่ถ้าเป็นWAVE ที่ลงมาเพื่อการเรียนนั้น จะมีอาการที่เรียกว่าจริงบ้าง หลอกบ้าง ตามสภาวะความพร้อมของผู้เรียนคนนั้นๆ<O:p

    อย่างกรณีของคุณDalink ผมขอตอบสั้นนิดเดียวครับว่าถ้าจับได้ไล่ทันว่าเป็นWAVE แล้ว อย่าไปเชื่อ อย่าไปทุกข์ แต่ถ้าสุดท้ายแล้วมีWAVE FLOWลงมาให้เราพูด หรือไปไหน ทำอะไรนั้น อย่างนี้ถือว่าถูกต้องครับ มันคืองานของระบบจริงๆ ไม่มีผิดถูกดีชั่ว เพราะนอกเหนือจากเจตนาของเราที่คิดว่าเป็นเจ้าของขันธ์ห้าของเราแล้ว<O:p

    พูดซะยาว แต่ตอบสั้นนิดเดียวเองน้อ<O:p</O:p
     
  5. bebneekormeduy

    bebneekormeduy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=lbl_highlight>พระวิหารบาลโพธิสัตว์ หรือ พระสังฆารามโพธิสัตว์ (伽藍菩薩)</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=lbl_normal> พระวิหารบาลโพธิสัตว์ มีความหมายคือ พระโพธิสัตว์ผู้ปกปักษ์รักษาพระวิหารอาราม ตามอารามบางแห่งจะประดิษฐานพระวิหารบาลโพธิสัตว์เคียงคู่กับพระเวทโพธิสัตว์หน้าพระประธาน ซึ่งท่านจะมีพระพักตร์สีเขียวบ้าง ดำบ้าง น้ำตาลบ้าง มีหนวดเคราบ้าง ไม่มีบ้าง ทรงถืออาวุธเป็นง้าว ขวาน ฯลฯ ตามแต่ผู้สร้างจะจินตนาการหรือต้องการเนื่องจากพระวิหารบาลโพธิสัตว์นั้นมีจำนวนมากมายมหาศาล กล่าวคือไม่ว่าเทพเจ้าที่อยู่ประจำพื้นที่นั้นมาก่อนที่จะก่อสร้างอารามหรือหลังจากนั้นก็ดี ครั้นเมื่ออารามได้ก่อตั้งแล้ว เทพเจ้าหรือเจ้าที่ที่เกิดศรัทธาปสาทะ ได้รับพระพุทธบารมีจากการที่มีอารามตั้งอยู่ในพื้นที่ของตน และจากการที่บรรดาพุทธบริษัทสาธยายพุทธมนต์แผ่เมตตาอุทิศให้โดยนิจสิน ทั้งมีการประกอบกิจกุศลบำเพ็ญธรรมในพื้นที่ก็ดี ยังให้บรรดาเทพเจ้าอนุโมทนายินดีและเกิดจิตเมตตาจะปกปักษ์อารามนั้นให้ปลอดภัยจากมารทั้งปวง เราก็บูชาท่านในนามของพระวิหารบาลโพธิสัตว์หรือผู้ที่มีอุปการะคุณต่ออารามตั้งแต่เมื่อคราที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อวายชนม์ไปแล้วก็ได้รับการยกย่องเป็นพระวิหารบาลโพธิสัตว์ทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเทพเจ้ากวนอู เป็นต้น ที่เมื่อคราที่พระองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ ทรงได้อุปถัมภ์บวรพระพุทธศาสนา ค้ำจุนภิกษุสงฆ์ ยังให้พระศาสนาเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก แลเมื่อคราที่พระองค์เสด็จทิวงคตไปแล้ว บรรดาพุทธศาสนิกชนก็พร้อมใจกันยกย่องพระองค์ในฐานะผู้อุปถัมภ์พระศาสนา แล้วสร้างรูปเคารพของพระองค์ไว้ในอาราม เพื่อสวดมนต์ระลึกถึงคุณงามความดีของพระองค์ อันจะสังเกตได้ว่ามีอารามที่จัดสร้างพระวิหารบาลโพธิสัตว์ เป็นเทพเจ้ากวนอูก็มีอยู่มิน้อยพระวิหารบาล ชาวพุทธมหายานให้ความยกย่องว่าท่านคือพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งเหมือนกัน เนื่องจากท่านมีจิตตั้งมั่นต่อการปกป้องพระศาสนาและผู้ที่บำเพ็ญธรรมยิ่งนัก อันเป็นปฏิปทาเดียวกันกับพระโพธิสัตว์ทั้งปวง สาธุชนทั้งหลายจึงสมควรกราบไหว้บูชาด้วยสำนึกในพระคุณของพระวิหารบาลทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล.

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. bebneekormeduy

    bebneekormeduy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=lbl_highlight>พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ (大勢至菩薩)</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=lbl_normal> พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์อัครสาวกของพระอมิตาภะพุทธเจ้า เคียงคู่กับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระองค์มีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า “ไต่ ซี้ จี(大勢至) หรือ เต็ก ไต่ ซี้(得大勢)บางแห่งเรียก ไต่ ซี จู้(大勢主)” ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน อันมีความหมายของพระนามดังนี้
    มหา (大) แปลว่า ยิ่งใหญ่,มหาศาล
    สถามะ(勢) แปลว่า เดชานุภาพ,พละกำลัง
    ปราปต์(至) แปลว่า เข้าถึงแล้ว,บรรลุแล้ว

    ดังนั้นพระนามของพระองค์จึงคือ พระโพธิสัตว์ผู้ทรงบรรลุแล้วซึ่งเดชาพละยิ่งใหญ่พระมหาสถามปราปต์ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ที่แสดงถึงพระพลาธิคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวง คล้ายกับพระมัญชุศรีที่ทรงเป็นองค์แทนแห่งพระปัญญาธิคุณ พระอวโลกิเตศวรทรงเป็นองค์แทนแห่งพระกรุณาธิคุณพระจุณฑิทรงเป็นองค์แทนแห่งพระบริสุทธิคุณเป็นต้น พระมหาสถามปราปต์จะทรงถือดอกปัทมาในพระหัตถ์บางครั้งจะทรงประณมหัตถ์ไว้ที่พระอุระ บางครั้งจะทรงถึงวัชระ จึงทำให้พระองค์มีอีกพระนามว่า พระวัชรหัตถ์ บางแห่งเรียก พระวัชรปาณี(金剛手) ก็มี ในพระสุขาวดีวยูหสูตร(無量壽經) กล่าวว่าเมื่อครั้งสมัยที่พระอมิตาภะพุทธเจ้ายังทรงเสวยพระชาติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิเมื่อกาลก่อนทรงมีพระโอรส ๑,๐๐๐ พระองค์ มีพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์เป็นพระโอรสองค์โต และมีพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์เป็นพระโอรสองค์รอง ทั้ง ๓ พระองค์ทรงประกาศมหาปณิธานจะช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้ถึงที่สุด ณ เบื้องพระพักตร์แห่งพระรัตนครรภ์พุทธเจ้า (寶藏佛) ส่งผลให้ทั้ง ๓ พระองค์ทรงเป็นพระโลกนาถเจ้าแห่งสุขาวดีโลกธาตุ และยังทรงเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณาคุณปกแผ่ไพศาลมา เพื่อโปรดสรรพสัตว์ยังโลกทั้งปวงไม่เว้นแม้แต่โลกแห่งความทุกข์ที่นี้ด้วยในพระศูรางคมธารณีสูตร (楞嚴經) กล่าวว่า พระมหาสถามปราปต์กราบทูลต่อพระพุทธเจ้าถึงปฏิปทาแนวทางปฎิบัติของพระองค์ว่า ในจิตของพระองค์มีแต่น้อมระลึกและเรียกขานแต่พระนามของพระอมิตาภะพุทธเจ้าอยู่ตลอดลมหายใจ และทรงปฏิบัติเช่นนี้มาตลอดนานนับหลายอสงไขยกัลป์ แม้นในปัจจุบันที่พระองค์ทรงได้บรรลุเป็นพระมหาโพธิสัตว์แล้วก็ยังทรงภาวนาถึงพระอมิตาภะอยู่ทุกวาระจิตเช่นเคย ซึ่งพระมหาสถามปราปต์ทรงให้เหตุผลว่า ประดุจบุตรร้องเรียกหาผู้เป็นมารดาตลอด แล้วผู้เป็นมารดาจะทอดทิ้งบุตรผู้นั้นได้อย่างไร (เปรียบเทียบว่าพระพุทธเจ้าทรงรักและเมตตาสรรพสัตว์ทั้งปวงดุจมารดาอาทรต่อบุตร) ด้วยอานิสงค์แห่งการระลึกถึงพระคุณแห่งพระอมิตาภะพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าทั้งปวงนั้นยิ่งใหญ่ไพศาลปานฉะนี้ ดังนั้นสาธุชนที่ได้ทราบแล้วสมควรปฏิบัติตามแนวทางภาวนาแห่งพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์เจ้าเถิด

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. bebneekormeduy

    bebneekormeduy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=lbl_highlight>พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ (地藏王菩薩)</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=lbl_normal> พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ แปลว่า พระโพธิสัตว์ผู้เป็นครรภ์แห่งแผ่นดิน หรือเป็นนัยยะว่าพระองค์ทรงสถิตอยู่ใต้พื้นพิภพ เพราะพระองค์มีมหาปณิธานว่า “ตราบใดที่ยังมีสัตว์หลงเหลือในนรกภูมิแม้เพียงหนึ่งพระองค์จะมิทรงเข้าสู่พระพุทธภูมิ” ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าสัตว์ในนรกนั้นมีจำนวนมากมายกว่าประชากรบนสวรรค์และโลกมนุษย์มาก เนื่องจากคนทำชั่วมีมากกว่าคนทำดี ด้วยพระองค์ทรงประกาศมหาปณิธานที่ยิ่งใหญ่และยากยิ่งนักที่จะสำเร็จได้ สาธุชนจึงสดุดีพระองค์ว่า “พระมหาปณิธานโพธิสัตว์” (大願菩薩) และมีพระวจนะหนึ่งของพระองค์ที่เป็นที่ซาบซึ้งประทับใจสรรพสัตว์ทั้งปวงว่า “หากเรามิเข้าสู่นรกภูมิแล้วไซร้ ผู้ใดเล่าจะเป็นผู้เข้านรกภูมิ”ตามประวัติพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ทรงวิภูษณะอาภรณ์ประดุจมหาบุรุษ แต่ในสมัยหนึ่งเจ้าชายเมือง “ซินหลอ 新羅國” (ปัจจุบันคือ ประเทศเกาหลี) พระนามว่า “กิมเคียวกัก 金喬覺” ทรงเบื่อหน่ายในโลกียวิสัย แล้วเสด็จออกผนวช ธุดงค์มาถึงประเทศจีนบนภูเขาเก้ายอด(九華山) พร้อมกับสุนัขสีขาวชื่อซ่านทิง (善聽) แล้วสั่งสอนสาธุชนอยู่ ณ ที่นั้น จนเมื่อมรณภาพให้ปรากฎมีเปลวเพลิวพวยพุ่งออกจากหลุมพระศพเป็นอัศจรรย์ ทำให้เชื่อว่าพระองค์เป็นนิรมาณกายของพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ลงไปฉุดช่วยสรรพสัตว์ในนรกภูมิด้วยเหตุผลนี้เราจึงเห็นพระปฏิมาของพระองค์เป็นภิกษุจีนแต่งกายแบบพระถังซัมจั้ง พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้ขักขระทองคำ พระหัตถ์ขวาทรงดวงแก้วมณี มีคติความเชื่อที่มิถูกต้องยิ่งนักที่ว่า “พระกวนอิมโปรดเฉพาะคนเป็น พระตี่จั้งโปรดเฉพาะคนตาย” ทำให้พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์(พระตี่จั้ง) ไม่เป็นที่นิยมกราบไหว้ในครัวเรือน เพราะผู้ไม่รู้เข้าใจว่าจะเป็นการชักนำดวงวิญญาณให้ตามพระองค์เข้ามาในบ้านด้วย โดยที่แท้แล้วเมื่อครั้งพุทธกาลพระพุทธองค์ทรงแสดงอานิสงค์แห่งการบูชาพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ไว้ถึง ๒๘ ประการ คือ
    ๑.เทพนาคาปกปักษ์รักษาและระลึกถึงอยู่เป็นนิจ
    ๒.กุศลผลบุญเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์ยิ่งๆขึ้นทุกทิวากาล
    ๓.เป็นการสร้างสมอริยมรรคเป็นสมุฏฐาน ทั้งยังถือเป็นเหตุปัจจัยแห่งกุศลกรรม
    ๔.ไม่ท้อถอยในการบังเกิดโพธิจิต
    ๕.สมบูรณ์ด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคตลอดกาล
    ๖.แคล้วคลาดปราศจากโรคาพยาธิ
    ๗.รอดพ้นจากอุทกภัย อัคคีภัย
    ๘.นิราศจากโจรภัยมาเบียดเบียน
    ๙.เป็นที่เคารพยกย่องของนรชนทั่วไป
    ๑๐.เทพารักษ์คุ้มครองอุ้มชูช่วยเหลืออยู่เสมอ
    ๑๑.สตรีปรารถนากลับเพศเป็นบุรุษได้
    ๑๒.เกิดในตระกูลวงศาแห่งกษัตริย์และอำมาตย์
    ๑๓.มีรูปอินทรีย์ กายอินทรีย์สมบูรณ์
    ๑๔.ได้อุบัติในแดนสวรรค์
    ๑๕.ภพหน้าจะได้กำเนิดเป็นพระมหาราชาธิราช
    ๑๖.สามารถหยั่งรู้ระลึกเหตุการณ์ในอดีตชาติ
    ๑๗.คิดประสงค์สิ่งใดย่อมได้ดั่งปรารถนา
    ๑๘.ญาติวงศ์และบริวารเสวยแต่ความสุขปราศจากทุกข์
    ๑๙.สิ่งอัปมงคลทั้งหลายสูญหายมลายสิ้น
    ๒๐.ไม่ต้องบังเกิดในทุคติภูมิ
    ๒๑. หากสัญจรไป ณ แห่งใดย่อมได้รับความสะดวก พ้นจากอุปสรรคทั้งมวล
    ๒๒.ในยามราตรีย่อมสุบินในทางศุภมงคล ปราศจากนิมิตอันชั่วร้าย
    ๒๓.บรรพบุรุษและญาติวงศ์ที่ล่วงลับไปแล้วจะได้หลุดพ้นจากทุกขภูมิ
    ๒๔.กำเนิดในภพหน้าจะเป็นผู้มีวาสนาสูง
    ๒๕.ได้รับการยกย่องจากพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    ๒๖.มีสติปัญญารอบรู้เป็นเลิศ
    ๒๗.มีจิตเปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรมธรรมเป็นสมุฏฐาน
    ๒๘.และจะได้สำเร็จพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่สุด
    ทั้งหมดนี้คือผลที่ได้รับจากกราบไหว้บูชาพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ ซึ่งผู้มีปัญญาทั้งหลายควรจะพิจารณาให้เห็นจริงตามนี้เถิด

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. bebneekormeduy

    bebneekormeduy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=lbl_highlight>พระเวทโพธิสัตว์ (韋馱菩薩)</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=lbl_normal> พระเวทโพธิสัตว์ ทรงเป็นหนึ่งในบรรดาเทพธรรมบาล หรือมหาเทพผู้ปกป้องรักษาพระพุทธศาสนาและพระพุทธธรรมจำนวน ๒๔ พระองค์ (二十四諸天) โดยกล่าวว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีพระองค์หนี่ง ที่กำลังจะได้ตรัสรู้พระสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าองค์สุดท้ายคือ องค์ที่ ๑,๐๐๐ ของภัทรกัลป์นี้ คือ พระรุจิพุทธเจ้า (樓至佛) พระองค์ก็คือพระสกันธหรือพระขันธกุมารในศาสนาฮินดูพระองค์ทรงมีพลานุภาพมากคอยบำราบมารพระศาสนา หรือผู้ที่ทำให้พระศาสนาเสื่อมเสีย ทั้งคอยบันดาลลาภสักการะให้บังเกิดแก่พระอารามที่ภิกษุสงฆ์ตั้งมั่นในศิลาจารวัตร ให้มีทายกทายิกาเข้ามาอุปถัมภ์อารามให้รุ่งเรืองพระปฏิมาของพระองค์ทรงเครื่องวิภูษณะอลังการแบบมหาขุนพล ทรงสุวรรณเกราะ ในพระหัตถ์จะประคองคฑาวัชราวุธบำราบมาร มีทั้งแบบประณมหัตถ์บ้าง ประคองคฑาวุธบ้าง จรดคฑาวุธไว้ที่พื้นดินบ้าง ซึ่งมีความหมายโดยนัยยะต่างกันไป ว่าผู้สัญจรรอนแรมในประเทศจีนโบราณหากจะหาที่ค้างแรมแล้วไซร้ พึงต้องสังเกตเทวรูปของพระเวทะนี้เป็นอันดับแรกว่าหากพระคฑาวุธของพระองค์จรดลงกับพื้นดิน แสดงว่าอารามแห่งนั้นมิอนุญาตให้บุคคลภายนอกพักอาศัยได้ อาจเนื่องจากเหตุผลต่างๆ ของวัตรปฏิบัติหรือข้อบังคับของนิกายนั้นๆแต่หากพระเวทโพธิสัตว์ทรงประคองคฑาวุธไว้ในพระหัตถ์ หรือทรงประณมหัตถ์ก็เป็นนัยยะแสดงว่าสามารถพักค้างแรมได้ โดยทั่วไปแล้วพระปฎิมาของพระองค์จะประดิษฐานอยู่ในอารามอยู่เบื้องซ้ายของพระประธาน แต่บางแห่งจะหันหลังชนกับพระเมตไตรยในวิหารแรกโดยหันพระพักตร์เข้าสู่อารามซึ่งสาธุชนสมควรกราบไหว้บูชา เพื่อน้อมรำลึกถึงพระเมตตากรุณาคุณของพระองค์ในการที่ทรงช่วยปกป้องพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ (สังเกตจากหนังสือพระสูตร หรือหนังสือสวดมนต์ของมหายานทุกเล่มจะมีรูปของพระเวทโพธิสัตว์สถิตอยู่ด้านท้าย) จะทรงช่วยให้พระเถระผู้ใหญ่ที่มีศีลบริสุทธิ์ผู้เป็นธงธรรมของพระศาสนาให้อายุมั่นขวัญยืน และทรงช่วยคุ้มครองศาสนิกชนผู้ตั้งมั่นในศีลให้ปลอดภัยบำเพ็ญธรรมราบรื่นไร้อุปสรรค ได้บรรลุถึงมรรคผลที่ปรารถนาโดยเร็วแล

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. bebneekormeduy

    bebneekormeduy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=lbl_highlight>พระเมตไตรยโพธิสัตว์ (彌勒菩薩)</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=lbl_normal> พระเมตไตรยโพธิสัตว์ เขียนแบบบาลีว่า พระเมตตรัย ทรงมีหลายพระนาม ทางบาลีเราจะเรียกว่า พระศรีอาริย์ บ้าง พระอชิตะบ้าง บางครั้งฝ่ายจีนจะเขียนพระนามของพระองค์ว่า “慈氏” แปลว่าผู้เมตตา หรือ “一生補處” แปลว่า พระผู้มีเอกชาติปฏิพันธ์ หรือพระผู้เกี่ยวข้องกับการเกิดอีกเพียงชาติเดียวก็จักได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง มิต้องหวนกลับมาเวียนว่ายในสังสารวัฏอีกสาธุชนเวลากราบไหว้บูชาพระเมตไตรย หรือเวลาทำบุญก็มักจะอธิษฐานให้กุศลที่กระทำนี้เป็นปัจจัยส่งให้ได้พบกับพระศรีอาริย์พุทธเจ้าในอนาคต เมื่อกาลที่สิ้นพระศาสนาของพระศากยมุนีพุทธเจ้าแล้ว ซึ่งแต่เดิมนั้นพระเมตไตรยโพธิสัตว์ทรงแต่งกายแบบลักษณะมหาบุรุษเช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์พระองค์อื่นๆ แต่มีประวัติว่า มีพระภิกษุรูปร่างอ้วนท้วนอยู่รูปหนึ่ง ชอบถือถุงย่ามใบใหญ่ติดตัวเสมอ ใบหน้ายิ้มแย้มเบิกบานตลอดเวลาและชอบพูดปริศนาธรรมในนิกายเซ็นอยู่เสมอ ชื่อว่า“ชี่ฉื่อ 契此” หรือ “เชียง เทง จื้อ 長汀子” ซึ่งสาธุชนเรียกขานท่านว่า “หลวงพ่อย่ามใหญ่ 布袋和尚”ได้ดับขันธ์โดยการนั่งสมาธิที่แท่นหินของอารามงักลิ้มยี่ 岳林寺 ในปีที่ ๓ แห่งรัชสมัยเจงเม้ง (ปี ๑๔๖๐) โดยท่านได้ประพันธ์โศลกไว้บทหนึ่งว่า

    “เมตไตรยจริงแท้คือเมตไตรย 彌勒眞彌勒
    แบ่งกายเป็นร้อยพันโกฏิ 化身千百億
    โปรดสรรพสัตว์มากมาย 廣度諸衆生
    แต่ส่ำสัตว์หารู้จักไม่” 衆生都不識

    ดังนั้นเมื่อท่านละสังขารไปแล้ว บรรดาพุทธศาสนิกชนจึงสันนิษฐานว่าท่านคือพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ อวตารกายมาโปรดสัตว์ยังโลกมนุษย์ จากนั้นมาจึงนิยมสร้างรูปของท่านแทนลักษณะแห่งความสุขความเจริญ และโชคลาภ ปัจจุบันมีข้อเข้าใจผิดเกี่ยวกับพระเมตไตรยโพธิสัตว์ของมหายาน กับพระสังขจายอรหันต์ของเถรวาทอยู่มาก กล่าวคือพระเมตไตรยพุงพลุ้ยนี้เป็นพระภิกษุในประเทศจีนหลังจากพระพุทธเจ้าทรงเสด็จปรินิพพานแล้วกว่า ๑,๔๐๐ ปี แต่พระสังขจายอรหันต์เป็นพระอรหันตสาวกมีชีวิตอยู่ร่วมในสมัยพระพุทธเจ้าก่อนพระเมตไตรยพุงพลุ้งนี้ เพียงแต่พระอริยะเจ้าทั้ง ๒ พระองค์นี้มีรูปร่างอ้วนท้วนสมบูรณ์เหมือนกันเท่านั้นเอง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. bebneekormeduy

    bebneekormeduy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=lbl_highlight>พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (觀世音菩薩)</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=lbl_normal> พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ แปลว่า พระโพธิสัตว์ผู้เพ่งมองด้วยความเป็นอิสระ (觀自在菩薩) และพระโพธิสัตว์ผู้เพ่งพิจารณาในกระแสเสียงของโลก (觀世音菩薩) หรือที่สาธุชนทั่วไปรู้จักพระองค์ในนามของ “กวนอิม” ผู้เปี่ยมด้วยพระมหาเมตตา พระมหากรุณา (大慈大悲) ในคัมภีร์พระสูตรหลายเล่มกล่าวถึงพระองค์ว่าหากได้สรรเสริญเอ่ยขานพระนามของพระองค์ด้วยความศรัทธาแล้ว ถึงแม้จะตกในหลุมเพลิง หลุมเพลิงจะกลายเปลี่ยนเป็นสายชล หากจมน้ำจะได้พบที่ตื้นเขิน หากพลัดตกจากเขาสูง ก็จะล่องลอยอยู่ในอากาศ ภูติผีปีศาจร้ายมิกล้าแม้แต่จ้องมอง ฯลฯ เป็นต้น นี้แลคือพลานุภาพอันยิ่งใหญ่ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์อันจักตอบสนองได้ทุกความต้องการของสรรพสัตว์ ยังให้พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์เป็นที่เคารพบูชาของสาธุชนมากที่สุด ผนวกกับเรื่องราวปฏิหาริย์แห่งเมตตาของพระองค์ที่มีบันทึกสืบทอดต่อเนื่องมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันมิได้ขาด ยังให้ทุกครัวเรือนรู้จักและกราบไหว้พระโพธิสัตว์พระองค์นี้ด้วยรูปลักษณะต่างๆ นานัปการแต่เดิมมานั้นพระอวโลกิเตศวรทรงวิภูษณะอาภรณ์แบบมหาบุรุษ ตามแบบอินเดียโบราณ (ชมได้ที่โรงพยาบาลเทียนฟ้า วงเวียนโอเดียน) เมื่อมาถึงประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถังก็ยังคงศิลปะอินเดียแบบเปลือยพระอุระอยู่แต่พอมายุคหลังคือสมัยราชวงศ์หยวนพระอวโลกิเตศวรจึงเปลี่ยนรูปลักษณ์เป็นสตรีเพศ เนื่องจากคติความเชื่อในเรื่องขององค์หญิงเมี่ยวซ่าน (妙善) ที่ทรงเคร่งครัดและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาก ทรงเปี่ยมด้วยเมตตาการุญต่ออาณาประชาราษฎร์ ที่ในสมัยนั้นพระราชบิดาของพระองค์ทรงเป็นทรราชชอบทำศึกสงครามขูดรีดประชาชน ฯลฯ องค์หญิงพระองค์นี้ทรงถือกำเนิดมาเพื่อปลดเปลื้องทุกข์เข็ญของปวงประชาในครั้งนั้น ทรงยังให้พระราชบิดากลับพระทัยได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รูปปฏิมากรของพระอวโลกิเตศวรเป็นสตรีอย่างที่เราเห็นในปัจจุบันและพระองค์ยังทรงนิรมาณกายได้หลากหลายคือ หากผู้มีจริตสมควรได้รับการโปรดด้วยรูปกายของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกโพธิ พระอรหันตสาวก ท้าวมเหศวร องค์อินทราธิราช ท้าวจตุโลกบาล พุทธบริษัท ๔ พราหมณ์ สตรีเพศ เด็กหญิงเด็กชาย หรือจักเป็นเทวดา ยักษ์ นาค อสูร กินนร มโหราค(ภูติชนิดหนึ่งมีร่างเป็นงูใหญ่) ครุฑ มนุษย์และอมนุษย์ทั้งปวง พระอวโลกิเตศวรก็จักอวตารกายเป็นรูปลักษณ์ที่ประเสริฐอลังการกว่าบุคคลนั้นเพื่อสยบทิฐิมานะของผู้นั้นเสียก่อนแล้วจึงเทศนาธรรมโปรดในภายหลังพระปฏิมารูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรมีพระหัตถ์ตั้งแต่ ๒ ขึ้นไปจนถึง ๑,๐๐๐ บางแห่งสร้างถึง ๘๔,๐๐๐ พระหัตถ์ก็มี ทั้งยังมีพระเนตรและพระเศียรจำนวนมากมายตามจำนวนดังกล่าวนี้ด้วย เพื่อแสดงให้เห็นถึงพระมหาเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ไพศาล สามารถสอดส่องช่วยเหลือสรรพสัตว์ได้อย่างทั่วถึงเป็นต้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. bebneekormeduy

    bebneekormeduy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=lbl_highlight>ประเภทของพระโพธิสัตว์</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=lbl_normal> ในทางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน แบ่งพระโพธิสัตว์ออกเป็น ๒ ประเภท คือ
    ๑. พระฌานิโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งกำหนดไม่ได้ว่ามาเกิดในโลกมนุษย์เมื่อใด แต่เกิดขึ้นก่อนกาลแห่งพระศากยมุนีพุทธเจ้า ซึ่งพระโพธิสัตว์เหล่านี้ ท่านได้บรรลุพุทธภูมิแล้ว แต่ทรงมีความกรุณาในหมู่สัตว์ ทรงตั้งพระทัยไม่เข้าสู่พุทธภูมิ ประทับอยู่เพื่อโปรดสัตว์ในโลกนี้ต่อไป ดังเช่น
    - พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์แห่งปัญญา ในหัตถ์ขวาทรงถือพระขันธ์เป็นสัญลักษณ์ในการทำลายล้างกิเลสตัณหาและอวิชาทั้งปวง และในหัตถ์ซ้ายถือคัมภีร์บนดอกบัว
    - พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ที่ทรงไว้ด้วยความกรุณา และได้ทรงตั้งปณิธานว่าจะช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นจากกิเลสความผูกพันทั้งปวง หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการรื้อสัตว์ ขนสัตว์จากนรก
    - พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตา จะลงมาจุติในโลกมนุษย์เป็นครั้งคราว เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ให้พ้นภัย ความเมตตาของพระองค์แผ่ไปไกลและลึกแม้กระทั่งในดินแดนนรก ในประเทศจีนพระอวโลกิเตศวรเป็นที่รู้จักกันในปางสตรีคือ "เจ้าแม่กวนอิม" และชาวธิเบตเชื่อว่าองค์ประมุขทไลลามะ เป็นอวตารของพระโพธิสัตว์พระองค์นี้
    - พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ ทรงปัญญาเป็นเยี่ยม และทรงใช้ปัญญานี้เป็นเครื่อง บั่นทอนอวิชา
    - พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ ทรงตั้งปณิธานที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ยาก และเจาะจงช่วยโดยเฉพาะแก่เด็กและมิจฉาชน
    - พระเมตไตรยโพธิสัตว์ (พระศรีอริยเมตไตรย มหาโพธิสัตว์) เชื่อว่าเป็นองค์อนาคตพุทธเจ้า และจะลงมาตรัสรู้ในกาลข้างหน้า เป็นผู้เปี่ยมด้วยความเมตตา
    ๒. มนุษิโพธิสัตว์ คือ ผู้ปฏิบัติตนเพื่อบรรลุเป็นพระโพธิสัตว์ ปฏิบัติตนอยู่ในความบริสุทธิ์ ประกอบการบุญ เจริญศีล ทาน ภาวนา ทำประโยชน์แก่มวลมนุษย์ ช่วยชีวิตคนและสัตว์โลกให้พ้นจากกองทุกข์ กระทำกัลยาณวัตร และบำเพ็ญกุศลเพื่อบารมีแต่ละชาติไป โดยมุ่งหวังบรรลุพระโพธิญาณในขั้นสุดท้าย เช่น อดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นโพธิสัตว์ จึงเป็นอุดมการณ์ของชาวพุทธมหายาน ที่พยายามดำเนินรอยตามแนวทางพระยุคลบาทสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งทรงเป็นมนุษิโพธิสัตว์ เพื่อให้ได้ถึงพุทธภูมิในที่สุด
    และอุดมการณ์โพธิสัตว์นี้ยังมีสมบัติเป็นตัวเชื่อมทำให้ไม่มีช่องว่างมากนักระหว่างบรรพชิตกับฆราวาส เนื่องจากผู้ที่จะเป็นโพธิสัตว์ ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นบรรพชิต แม้ฆราวาสเองก็เป็นโพธิสัตว์ได้ (ไม่ใช่ด้วยความอยากจะเป็น) เช่นกัน โดยหัวใจของการเป็นโพธิสัตว์นั้นขั้นแรกต้องมี โพธิจิต คือจิตตั้งมั่น ยึดพุทธภูมิเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิต มีศรัทธาในโพธิ หรือความรู้แจ้งว่าเป็นอุดมการณ์สูงสุด และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. bebneekormeduy

    bebneekormeduy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=lbl_highlight>อุดมการณ์โพธิสัตว์</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=lbl_normal> อุดมการณ์โพธิสัตว์ มีหน้าที่หลัก ๒ ประการ

    ๑. โพธิสัตว์นอกจากจะมุ่งช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์แล้ว ยังมุ่งในความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีในโลกนี้
    ๒. โพธิสัตว์ปรารถนาให้สรรพสัตว์ได้บรรลุนิพพาน โดยตนเองปฏิเสธการเข้าถึงนิพพานของตน เพื่อที่จะได้ยังมีโอกาสรับใช้ช่วยเหลือผู้อื่น แม้ว่าจะต้องยังอยู่ในที่แห่งความทุกข์ยาก เพื่อสร้างคุณความดีช่วยเหลือสรรพสัตว์ ซึ่งนับว่าเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่โดยตั้งปณิธานสำคัญว่า

    "ข้าฯจะไม่เข้าสู่ปรินิพพานจนกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายจะพ้นทุกข์
    ข้าฯจะยังคงอยู่ที่นี่ตราบจนวัฏสงสารจะสิ้นสุดลง
    แม้ว่าข้าฯยังจะต้องอยู่ที่นี่อีก แม้เพียงชีวิตใดชีวิตเดียว

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. bebneekormeduy

    bebneekormeduy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=lbl_highlight>ความหมายของคำว่า</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=lbl_normal> โพธิสัตว์ หรืออาจจะเขียนได้ว่า โพธิสัตต์ มาจากคำว่า โพธิ + สัตต
    "โพธิ" แปลว่า ความตรัสรู้หรือความรู้แจ้ง
    "สัตต" ตามบาลีไม่ได้หมายถึงสิ่งมีชีวิต (สัตวะ) หรือมนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการใช้ความหมายคล้ายคลึงกับ "สัตวัน" (Sattavan) ในคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์ ซึ่งหมายถึง ผู้ทรงพลัง ผู้นำ นักรบ "สัตต" ในคำว่า "โพธิสัตต์" จึงหมายถึง ผู้นำ หรือผู้มีใจเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ องอาจ เยี่ยงนักรบ ซึ่งให้ความหมายเดียวกับคำว่า โพธิสัตต์ ในภาษาทิเบต คือ byan chub sems-dpah โดยคำว่า byan chub หมายถึง โพธิ (bodhi), sems หมายถึง จิต (mind) และ dpah หมายถึง วีรบุรุษ ผู้กล้า หรือผู้เข้มแข็ง
    "โพธิสัตต์" จึงแปลว่า ผู้มีใจยึดมั่นในสัมมาสัมโพธิญาณอย่างเด็ดเดี่ยว
    โพธิสัตว์ มีภาษาต่างๆ มีดังนี้
    • สันสกฤต = โพธิสตฺตฺว
    • บาลี = โพธิสตฺต
    • ภาษาจีน = 菩萨
    • ญี่ปุ่น = 菩薩 (bosatsu)
    • เกาหลี = 보살 (bosal)
    • ทิเบต = changchub sempa (byang-chub sems-dpa')
    • เวียดนาม = Bồ Tát
    • อักษรโรมัน โดยทั่วไป สะกด "Bodhisattva"

    "พระโพธิสัตว์" คือ ผู้ซึ่งจะได้มาตรัสรู้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต ท่านอธิษฐานจิตถึงพระพุทธภูมิ ทุ่มเทปฏิบัติธรรม ช่วยผู้อื่นทั้งทางโลกและทางธรรม สะสมบารมี ๑๐ ทัศ ทุกๆคนเป็นพระโพธิสัตว์ได้ทั้งนั้น ถ้าหากว่าเขาผู้นั้นเป็นผู้มีจิตเมตตาประจำใจ ทำแต่คุณประโยชน์ช่วยเหลือคนทุกข์ยาก ไม่ประพฤติเบียดเบียนสนับสนุนผู้อื่นในทางผิดศีลธรรม
    คุณธรรมหลักของผู้ตั้งความปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ คือ "มหาเมตตา" แปลว่า ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข พระโพธิสัตว์จึงมีคุณธรรมอื่นๆต่อเนื่องกันคือ
    มหากรุณา คือความปราณีต่อสรรพสัตว์(หมายรวมมนุษย์) ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง สงสารผู้ยากลำบากทั้งหลาย เฝ้าตามช่วยแนะเพื่อความสุขของเขา เป็นความยินดีกรุณาของพระโพธิสัตว์ทั้งลาย
    มหาปัญญา คือเป็นผู้มีความรู้หรือศึกษาหาวิชาใส่ตัว ได้เป็นประโยชน์ส่วนตนเอง ส่วนผู้อื่นช่วยเหลือผู้อื่นต่อไปให้รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว
    มหาอุบาย คือรู้ในวิธีนำตนและผู้อื่นให้พ้นภัยและสัมฤทธิผลเข้าถึงในคุณธรรมต่างๆที่มีประโยชน์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. bebneekormeduy

    bebneekormeduy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=lbl_highlight>จริยธรรมของพระโพธิสัตว์</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=lbl_normal> จริยธรรมของพระโพธิสัตว์ ๑๐ ประการ

    ๑. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า ร่างกายจะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
    ๒. พระโพธิสัตว์ ครองชีวิตโดยไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีภยันตราย
    ๓. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีอุปสรรคในการชำระจิตให้บริสุทธิ์
    ๔. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีมารมาขัดขวางการปฏิบัติภารกิจ
    ๕. พระโพธิสัตว์ คิดว่าจะทำงานให้นานที่สุด โดยไม่ปรารถนาจะให้สำเร็จผลเร็ว
    ๖. พระโพธิสัตว์ จะคบเพื่อน โดยไม่ปรารถนาจะได้รับผล
    ๗. พระโพธิสัตว์ จะไม่ปรารถนาว่า จะให้คนอื่นต้องตามใจตนเองเสมอทุกอย่าง
    ๘. พระโพธิสัตว์ จะทำความดีกับคนอื่น โดยไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทน
    ๙. พระโพธิสัตว์ เห็นลาภแล้ว ไม่ปรารถนาจะมีหุ้นส่วนด้วย
    ๑๐ พระโพธิสัตว์ เมื่อถูกใส่ร้ายป้ายสี ติเตียน นินทาแล้ว ไม่ปรารถนาจะโต้ตอบ หรือฟ้องร้อง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. bebneekormeduy

    bebneekormeduy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=lbl_highlight>คุณลักษณะของพระโพธิสัตว์</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=lbl_normal> พระโพธิสัตว์ผู้อยู่ในข่ายที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้นมีองค์ประกอบสำคัญอันเป็นคุณลักษณะเฉพาะตน ๔ ประการ คือ
    ๑. อุสสาหะ คือ ประกอบไปด้วยความเพียรอันมั่นคง
    ๒. อุมมังคะ คือ ประกอบไปด้วยปัญญาอันเชี่ยวชาญหาญกล้า
    ๓. อวัตถานะ คือ ประกอบไปด้วยพระอธิษฐานอันมั่งคงมิได้หวั่นไหว
    ๔. หิตจริยา คือ ประกอบไปด้วยเมตตาแก่สัตว์เป็นเบื้องหน้า
    คุณลักษณะหรือเรียกว่าคุณธรรมทั้ง ๔ ประการนี้เป็นอุปกรณ์หรือวิธีการสำคัญอย่างหนึ่งที่พระโพธิสัตว์จะต้องปฏิบัติตามอย่างมั่นคงจนกว่าจะบรรลุถึงจุดมุ่งหมายขั้นสูงสุดคือพระโพธิญาณ
    ข้อที่ ๑ อุสสาหะ พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบไปด้วยความเพียรอันมั่นคงไม่ย่อท้อต่อความลำบากที่เกิดขึ้นในวัตรปฎิบัติของตน เป็นผู้ซื่อตรงมั่นคงต่อเป้าหมายสูงสุด ด้วยความรักความปรารถนาต่อจุดมุ่งหมายสูงสุดคือพระโพธิญาณจึงทำให้พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีความอุสสาหะ ฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ด้วยคุณธรรมเฉพาะตน ไม่มีจิตคิดสยบต่อมารคือกิเลสเป็นต้น อันเป็นความชั่วที่คอยยั่วยุหรือขัดขวางไม่ให้บำเพ็ญความดีอย่างเต็มที่ เป็นผู้ข้ามพ้นปัญหาต่าง ๆ ด้วยความอุสสาหะยิ่ง และเพราะการจะบรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ได้โดยยาก แต่หากพระโพธิสัตว์สามารถข้ามพ้นความยากลำบากนั้นไปได้ด้วยความมุ่งมั่นไม่ยอมแพ้ พระโพธิสัตว์ก็สามารถบรรลุถึงความสำเร็จคือความเป็นพระพุทธเจ้าได้อย่างแน่นอน ดังคำอุปมาซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยากลำบากในการที่จะได้บรรลุถึงพุทธภาวะที่ปรากฏในอรรถกถาตอนหนึ่งที่ว่า "ผู้ใดสามารถที่จะใช้กำลังแขนของตนว่ายข้ามห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้นอันเป็นน้ำผืนเดียวกันหมดแล้วถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้าได้"
    ข้อที่ ๒ อุมมังคะ พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบไปด้วยปัญญา อันเชี่ยวชาญหาญกล้ารู้จักไตร่ตรองคิดหาเหตุผล อย่างรวดเร็วมีศักยภาพ ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผลที่ดี ตลอดทั้งรู้จักแยกแยะความดี ความชั่ว ว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ ถ้าไม่ทำจะมีผลดี ชั่ว มากน้อยแค่ไหน ทำแล้วจะเกิดผลดี เลว ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นผู้มีความกล้าหาญ ตัดสินปัญหา ที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นมากที่สุด
    ข้อที่ ๓ อวัตถานะ พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบไปด้วยพระอธิษฐานอันมั่งคงไม่หวั่นไหว คือเป็นผู้มีจิตอันแน่วแน่มั่นคงในสิ่งที่กำลังกระทำ ไม่คิดละเลิกในสิ่งที่ทำเสียกลางคัน ตราบใดที่ภารกิจอันนั้นยังไม่ถึงที่สุด คือ ความสำเร็จก็ไม่ละทิ้งให้เสียการ อธิษฐานธรรมนี้ย่อมมาพร้อมกับธรรมอีก ๓ ประการ คือ วิริยะ ขันติ และสัจจะ ทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นธรรมะที่มีประกอบกันอยู่ เมื่อยกขึ้นข้อหนึ่งก็ย่อมมีอีก ๓ ข้อประกอบอยู่ด้วยเสมอ เมื่อมีความตั้งมั่นในกิจอันใดอันหนึ่งอย่างมั่นคงแล้ว จำต้องกระทำด้วยความมีวิริยะ และอดทนทั้งอดทนต่อการกระทำกิจอันนั้นและอดทนต่อสิ่งยั่วยุต่าง ๆ ที่อาจเป็นตัวขัดขวางไม่ให้กิจที่กระทำดำเนินไปได้อย่างสะดวก สุดท้ายคือ มีความจริงใจที่จะกระทำกิจให้ลุล่วงจนถึงที่สุด กิจนั้นจึงจะสัมฤทธิ์ผลได้
    ข้อที่ ๔ หิตจริยา พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบด้วยเมตตาสัตว์เป็นเบื้องหน้า เป็นผู้ประพฤติประโยชน์ด้วยคำนึงถึงผู้อื่นเสมอโดยไม่เลือกชนิดผู้รับประโยชน์ พระโพธิสัตว์ถือว่าการบำเพ็ญการช่วยเหลือแก่ผู้อื่นนั้นคือภารกิจที่ต้องกระทำตามหน้าที่ คือเป็นการบำเพ็ญบารมีธรรม
    คุณลักษณะทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการ การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ เป็นการสละตนเองเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่นทุกชีวิตอย่างเสมอหน้าเท่าเทียมกัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. bebneekormeduy

    bebneekormeduy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=lbl_highlight>มหายาน</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=lbl_normal> มหายาน
    อาจริยวาท หรือ มหายาน เป็นนิกายหนึ่งในพุทธศาสนาที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย เนปาล จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่พระนิพพาน ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน
    ความหมายของมหายาน
    มหายาน (สันสกฤต : महायान, จีน: 大乘; ญี่ปุ่น: 大乗; เวียดนาม: Đại Thừa; เกาหลี :대승) มาจากธาตุศัพท์ภาษาบาลี-สันสกฤต มหา + ยาน แปลว่า พาหนะที่ใหญ่ เป็นคำเรียกที่อาศัยการเปรียบเทียบ จากคำว่า หีนยาน ซึ่งแปลว่า พาหนะที่เล็ก ๆ มหายานยังมีความหมายว่า “ยานที่สูงสุด” ตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายาน คำว่ามหายาน ไม่เพียงแต่เป็นยานใหญ่และสูงสุดเท่านั้น หากเป็นยานที่รื้อขนสรรพสัตว์ได้ทุกประเภททุกวัย รวมทั้งสัตว์โลกทุกรูปนาม เพื่อไปสู่พระนิพพาน และยานนี้ยังหมายถึงยานที่จะไปถึงพุทธภูมิ แล้วสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    คำว่า มหายาน จึงเป็นการเปรียบเทียบหมายถึงการขนสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากกว่าสาวกยาน ในคัมภีร์มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ คุรุนาคารชุน ปราชญ์ฝ่ายมหายาน ได้อธิบายความหมายของมหายานไว้ว่า “พระพุทธธรรมมีเอกรสเดียว คือ รสแห่งวิมุตติ ความรอดพ้นจากปวงทุกข์ แต่ชนิดของรสมี 2 ชนิด คือ ชนิดแรกเพื่อตัวเอง ชนิดที่สองเพื่อตัวเองและสรรพสัตว์ด้วย” อันหมายความว่า ฝ่ายสาวกยานมุ่งเพียงความหลุดพ้นเป็นอรหันต์สิ้นกิเลสเฉพาะตน ไม่มีปณิธานในการโปรดสรรพสัตว์ให้ถึงความหลุดพ้นด้วย แต่ฝ่ายมหายานย่อมมีอุคมคติตรงกันข้าม กล่าวคือ ย่อมมุ่งพุทธภูมิมีปณิธานจะตรัสรู้เป็นพระพุทธะเพื่อขนสัตว์ให้พ้นทุกข์จนหมดสิ้น อธิบายว่า พุทธศาสนิกชนฝ่ายสาวกยานโดยทั่วไปมุ่งแต่อรหัตภูมิเป็นสำคัญ ฉะนั้น จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สาวกยาน ส่วนพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานย่อมมุ่งพุทธภูมิทั้งนั้น จึงมีอีกชื่อว่า โพธิสัตวยาน หรือ พุทธยาน
    ในสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ได้อธิบายความหมายของมหายานว่า “ถ้าสรรพสัตว์ได้สดับธรรมจากพระผู้มีพระภาค แล้วบังเกิดศรัทธาความเชื่อ ปสาทะความเลื่อมใส ได้วิริยะบำเพ็ญบารมีเพื่อสัพพัญญุตญาณอันเป็นธรรมชาติ ญาณอันปราศจากครูอาจารย์ ญาณแห่งพระตถาคต กำลังความกล้าหาญ มีความกรุณาปรารถนาต่อความสุขของสรรพสัตว์ บำเพ็ญหิตานุหิตประโยชน์ต่อทวยเทพและมนุษย์ โปรดสรรพนิกรให้พ้นทุกข์ นั่นชื่อว่า มหายาน”
    นอกจากนี้ พระนาคารชุนได้กล่าวไว้ในทวาทศนิกายศาสตร์อีกว่า “มหายานคือยานอันประเสริฐกว่ายานทั้ง 2 เหตุนั้น จึงชื่อว่า 'มหายาน' พระพุทธเจ้าทั้งหลายอันใหญ่ยิ่ง ทรงอาศัยซึ่งยานนี้ และยานนี้จะสามารถนำเราเข้าถึงพระองค์ได้ เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา' อนึ่ง ปวงพระพุทธเจ้าผู้มหาบุรุษได้อาศัยยานนี้ เหตุนั้น จึงชื่อว่า 'มหา' และอีกทั้งสามารถดับทุกข์อันไพศาลของสรรพสัตว์และประกอบประโยชน์อันยิ่งใหญ่ให้ถึงพร้อม เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา' อนึ่ง พระโพธิสัตว์ทั้งปวง มีพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระมหาสถามปราปต์โพธิสตว์ พระเมตไตรยโพธิสัตว์ พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ และพระกษิติครรภโพธิสัตว์ เป็นต้น ปวงมหาบุรุษได้ทรงอาศัย เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา' อนึ่ง เมื่ออาศัยยานนี้แล้ว ก็ย่อมเข้าถึงที่สุดแห่งธรรมทั้งปวง เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา'”
    นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีข้อความที่ยกย่องมหายานอีกเป็นจำนวนมากในคัมภีร์ของมหายาน เช่นเรียกว่า อนุตรยาน (ยานอันสูงสุด) , โพธิสัตวยาน (ยานของพระโพธิสัตว์) , พุทธยาน (ยานของพระพุทธเจ้า) , เอกยาน (ยานอันเอก) เป็นต้น เพราะฉะนั้นคำว่า ยาน ในพระพุทธศาสนาจึงเป็นดั่งคำเปรียบเปรยของมรรควิถีอันจะนำไปสู่ความหลุดพ้นในรูปแบบที่แตกต่างกันนั่นเอง
    กล่าวโดยสรุป ยานในพระพุทธศาสนาได้แบ่งออกเป็น 3 (ตามมติฝ่ายมหายาน) คือ
    1.สาวกยาน คือยานของพระสาวก ที่มุ่งเพียงอรหัตภูมิ รู้แจ้งในอริยสัจ 4 ด้วยการสดับจากพระพุทธเจ้า
    2.ปัจเจกยาน คือยานของพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้แก่ผู้รู้แจ้งในปฏิจจสมุปบาทด้วยตนเอง แต่ไม่สามารถแสดงธรรมสั่งสอนสัตว์ให้บรรลุมรรคผลได้
    3.โพธิสัตวยาน คือยานของพระโพธิสัตว์ ซึ่งได้แก่ผู้มีน้ำใจกว้างขวาง ประกอบด้วยมหากรุณาในสรรพสัตว์ ไม่ต้องการอรหัตภูมิ ปัจเจกภูมิ แต่ปรารถนาพุทธภูมิ เพื่อโปรดสัตว์ได้กว้างขวางกว่า 2 ยานแรก และเป็นผู้รู้แจ้งในศูนยตาธรรม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. bebneekormeduy

    bebneekormeduy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=lbl_highlight>阿彌陀佛我謝謝您 สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระอมิตาภะ</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=lbl_normal> 阿彌陀佛,謝謝您,給衆生的淨土,讓衆生得解脫。
    อามีทอฝอ เซี่ยเซี่ยหนิน เก่ยจงเซงเตอจิงทู หร่างจงเซงเตอเจียถัว
    (ข้าแต่พระอมิตาภะพุทธะ กราบขอบพระคุณกรุณา ที่ประทานแดนสุขาวดีแก่สรรพสัตว์ ให้สรรพสัตว์ได้หลุดพ้น)

    阿彌陀佛,謝謝您,給衆生的希望,讓衆生不彷徨。
    อามีทอฝอ เซี่ยเซี่ยหนิน เก่ยจงเซงเตอซีหวั่ง หร่างจงเซงปู้พาหวาง
    (ข้าแต่พระอมิตาภะพุทธะ กราบขอบพระคุณกรุณา ที่ประทานความหวังแก่สรรพสัตว์ ให้สรรพสัตว์มิต้องว่ายเวียน)

    感恩您,我願意,獻出一生,弘揚佛法,
    กานเอินหนิน หว่อหยวนอี เซี้ยงฉูอีเซิง ฟงหยางฟอฝา
    (ซาบซึ้งในพระคุณกรุณาของพระองค์ ข้าพเจ้าจะอุทิศชีวิตนี้ เพื่อเผยแผ่พระพุทธธรรม)

    這條路一直往前去。
    เจ้อเทียวลู้อีจื้อหวังเฉียนชวี่
    (บนเส้นทางสายธรรมนี้ตลอดไป)

    感恩您,我願意,獻出一生,普渡衆生,
    กานเอินหนิน หว่อหยวนอี เซี้ยงฉูอีเซิง พูตู่จงเซิง
    (ซาบซึ้งในพระคุณกรุณาของพระองค์ ข้าพเจ้าจะอุทิศชีวิตนี้ เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลาย)

    生生世世 走下去。
    เซงเซงซือซือ โจวเซี่ยชวี่
    (ทุกภพชาติไป อย่างมิล้มเลิก)

    阿彌陀佛,阿彌陀佛,我會生生世世 追隨你。
    อามีทอฝอ อามีทอฝอ หว่อฮุยเซงเซงซือซือ จุยซุยหนี่
    (อมิตาภะพุทธะ อมิตาภะพุทธะ ข้าพเจ้าขอติดตามพระพุทธองค์ไปทุกภพชาติ)

    阿彌陀佛,阿彌陀佛,我會不斷念下去。
    อามีทอฝอ อามีทอฝอ หว่อฮุยปู้ตวนเนียนเซี่ยชวี่…(ย้อน*)
    (อมิตาภะพุทธะ อมิตาภะพุทธะ ข้าพเจ้าจะมีพุทธานุสสติอยู่เสมอ)

    感恩您,我願意,獻出一生,弘揚佛法,
    กานเอินหนิน หว่อหยวนอี เซี้ยงฉูอีเซิง ฟงหยางฟอฝา
    (ซาบซึ้งในพระคุณกรุณาของพระองค์ ข้าพเจ้าจะอุทิศชีวิตนี้ เพื่อเผยแผ่พระพุทธธรรม)

    這條路一直往前去。
    เจ้อเทียวลู้อีจื้อหวังเฉียนชวี่
    (บนเส้นทางสายธรรมนี้ตลอดไป)

    感恩您,我願意,獻出一生,普渡衆生,
    กานเอินหนิน หว่อหยวนอี เซี้ยงฉูอีเซิง พูตู่จงเซิง
    (ซาบซึ้งในพระคุณกรุณาของพระองค์ ข้าพเจ้าจะอุทิศชีวิตนี้ เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลาย)

    生生世世 走下去。
    เซงเซงซือซือ โจวเซี่ยชวี่
    (ทุกภพชาติไป อย่างมิล้มเลิก)

    阿彌陀佛,阿彌陀佛,我會生生世世 追隨你。
    อามีทอฝอ อามีทอฝอ หว่อฮุยเซงเซงซือซือ จุยซุยหนี่
    (อมิตาภะพุทธะ อมิตาภะพุทธะ ข้าพเจ้าขอติดตามพระพุทธองค์ทุกภพชาติ)

    阿彌陀佛,阿彌陀佛,我會不斷念下去。
    อามีทอฝอ อามีทอฝอ หว่อฮุยปู้ตวนเนียนเซี่ยชวี่ (ย้อน**)
    (อมิตาภะพุทธะ อมิตาภะพุทธะ ข้าพเจ้าจะมีพุทธานุสสติอยู่เสมอ)

    阿彌陀佛,謝謝您,給衆生的淨土,讓衆生得解脫。
    อามีทอฝอ เซี่ยเซี่ยหนิน เก่ยจงเซงเตอจิงทู หร่างจงเซงเตอเจียถัว
    (ข้าแต่พระอมิตาภะพุทธะ กราบขอบพระคุณกรุณา ที่ประทานแดนสุขาวดีแก่สรรพสัตว์ ให้สรรพสัตว์ได้หลุดพ้น)

    阿彌陀佛,謝謝您,給衆生的希望,讓衆生不彷徨。
    อามีทอฝอ เซี่ยเซี่ยหนิน เก่ยจงเซงเตอซีหวั่ง หร่างจงเซงปู้ฟาหวาง…
    (ข้าแต่พระอมิตาภะพุทธะ กราบขอบพระคุณกรุณา ที่ประทานความหวังแก่สรรพสัตว์ ให้สรรพสัตว์มิต้องว่ายเวียน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. bebneekormeduy

    bebneekormeduy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=lbl_highlight>彌陀天堂ทิพยสถานแห่งพระอมิตาภะ</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=lbl_normal> 越過西方約 十萬億佛國的地方
    *เย่กัวซีฟังเยว่ ซือวันอีฝอกวอเตอตีฟัง

    有世界名曰 極樂淨土的故鄉
    โหย่วซือเจียมิงเหย่ จีเล่อจิงทูเตอกูเซียง

    人們都向往 快樂無憂的天堂
    เหรินเมินโตวเซี่ยงหวาง ไคว่เล่ออู่โยวเตอเทียนถาง

    彌陀光明照耀十方 我向往
    มีทอกวงหมิงเจาเยาซือฟัง หวอเซี่ยงหวาง

    無量光 是天堂 是淨土的地方
    อู่เลียงกวง ซือเทียนถาง ซือจิงทู่เตอตีฟัง

    我們有佛菩薩陪伴 不彷徨 不惆悵
    หวอเมินโหย่วฝอผู่ซ่าเพยพ่า ปู้พาหวาง ปู้โชวชาง

    無量光 是方向 是迷途的希望
    อู่เลียงกวง ซือฟังเซี่ยง ซือมีทู้เตอซีหวาง

    我們要念念都不忘 不退轉 在彌陀的天堂
    หว่อเมินเยาเนียนเนียนโตวปู้วัง ปู้ทุยจวน ไจ้มีท้อเตอเทียนถาง (*ย้อน)

    無量光 是天堂 是淨土的地方
    อู่เลียงกวง ซือเทียนถาง ซือจิงทู่เตอตีฟัง

    我們有佛菩薩陪伴 不彷徨 不惆悵
    หวอเมินโหย่วฝอผู่ซ่าเพยพ่า ปู้พาหวาง ปู้โชวชาง

    無量光是光芒 有彌陀的溫暖
    อู่เลียงกวงซือกวงหมาง โหย่วมีท้อเตอเหวินหนวน

    我們要念念都不忘
    หว่อเมินเยาเนียนเนียนโตวปู้หวาง

    不退轉 在彌陀的天堂 永不退轉 在彌陀的天堂
    ปู้ทุยจวน ไจ้มีท้อเตอเทียนถาง หยงปู้ทุยจวน ไจ้มีท้อเตอเทียนถาง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. bebneekormeduy

    bebneekormeduy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=lbl_highlight>極樂歌 บทเพลงแห่งสุขาวดี</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=lbl_normal> 讓我為 眾生唱一首極樂歌
    หร่างหว่อเว่ย จงเซงชางอีโซ่วจีเล่อเกอ
    (ข้าพเจ้าจะขับร้องบทเพลงหนึ่งแห่งสุขาวดี เพื่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย)

    讓我為 眾生唱這首極樂歌
    หร่างหว่อเว่ย จงเซงชางเจ้อโซ่วจีเล่อเกอ
    (ข้าพเจ้าจะขับร้องบทเพลงแห่งสุขาวดีนี้ เพื่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย)

    阿彌陀佛 阿彌陀佛 您永遠在我心間
    อามีทอฝอ อามีทอฝอ หนินหยงเยียนไจ้หว่อซินเจียน
    (อมิตาภะพุทธะ อมิตาภะพุทธะ พระองค์ทรงสถิตอยู่กลางใจข้าพเจ้านิจนิรันดร์)

    阿彌陀佛 阿彌陀佛 讓我歡喜每一天
    อามีทอฝอ อามีทอฝอ หร่างหว่อฮวานซีเม่ยอีเทียน
    (อมิตาภะพุทธะ อมิตาภะพุทธะ พระองค์ทรงยังให้ข้าพเจ้าเป็นสุขทุกคืนวัน)

    讓我們一起來唱一首極樂歌
    หร่างหว่อเมินอีฉีไลชางอีโซ่วจีเล่อเกอ
    (หมู่ข้าพเจ้าขอขับร้องบทเพลงหนึ่งแห่งสุขาวดีร่วมกัน)

    讓我們一起來唱這首極樂歌
    หร่างหว่อเมินอีฉีไลชางเจ้อโซ่วจีเล่อเกอ
    (หมู่ข้าพเจ้าขอขับร้องบทเพลงแห่งสุขาวดีนี้ร่วมกัน)

    阿彌陀佛 阿彌陀佛 您永遠在我心間
    อามีทอฝอ อามีทอฝอ หนินหย่งเยียนไจ้หว่อซินเจียน
    (อมิตาภะพุทธะ อมิตาภะพุทธะ พระองค์ทรงสถิตอยู่กลางใจข้าพเจ้านิจนิรันดร์)

    阿彌陀佛 阿彌陀佛 伴我度過每一天
    อามีทอฝอ อามีทอฝอ ปันหวอตูกว้อเม่ยอีเทียน
    (อมิตาภะพุทธะ อมิตาภะพุทธะ พระองค์ทรงเคียงคู่ดูแลข้าพเจ้าให้ปลอดภัยทุกคืนวัน)

    讓眾生 一起無悠無憂唱這首極樂歌
    หร่างจงเซิง อีฉีอู่โยวอู่อิวชางเจ้อโซ่วจีเล่อเกอ
    (เพื่อให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ร่วมกันขับขานบทเพลงแห่งสุขาวดีนี้ด้วยความไร้ทุกข์ไร้โศก)

    讓眾生 一起同唱這世間最快樂的歌
    หร่างจงเซิง อีฉีทงชางเจ้อซือเจียนจุ้ยไคว่เล่อเตอเกอ
    (เพื่อให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ร่วมกันขับร้องบทเพลงที่มีความสุขที่สุดของโลกแห่งนี้)

    阿彌陀佛 您永遠在我的心間 讓我總是歡喜每一天
    อามีทอฝอ หนินหยงเยียนไจ้หว่อเตอซินเจียน หร่างหว่อจงซือฮว่านซีเม่ยอีเทียน
    (อมิตาภะพุทธะ พระองค์ทรงสถิตอยู่กลางใจข้าพเจ้านิจนิรันดร์ ทรงยังให้ข้าพเจ้าเป็นสุขทุกคืนวัน)

    阿彌陀佛 您永遠在我心間 伴我唱著這首歌
    อามีทอฝอ หนินหยงเยียนไจ้หว่อซินเจียน ปั่นหว่อชางเจอะเจ้อโซ่วเกอ
    (อมิตาภะพุทธะ พระองค์ทรงสถิตอยู่กลางใจข้าพเจ้านิจนิรันดร์ ทรงอยู่เคียงคู่ข้าพเจ้าในการขับร้องบทเพลงนี้)

    阿彌陀佛 阿彌陀佛 我會歡喜每一天
    อามีทอฝอ อามีทอฝอ หว่อฮุยฮว่านซีเม่ยอีเทียน...
    (อมิตาภะพุทธะ อมิตาภะพุทธะ ข้าพเจ้าจะเป็นสุขได้ทุกคืนวัน)…

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. bebneekormeduy

    bebneekormeduy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=lbl_highlight>มหาปณิธาน ๘๔ ประการ ของพระอมิตาภะพุทธเจ้า</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=lbl_normal> 阿彌陀佛 四十八願
    มหาปณิธาน ๘๔ ประการ ของพระอมิตาภะพุทธเจ้า
    โดย... พระวิศวภัทร เสี่ยเกี๊ยก
    ตามคัมภีร์มหาสุขาวตี หรืออมิตายุสสูตร (ฉบับพระสังฆวรมัน) ได้บรรยายพระมหาปณิธานของพระอมิตาภะพุทธเจ้า ที่เคยทรงประกาศไว้เฉพาะเบื้องพระพักตร์แห่งพระโลเกศวรราชาพุทธเจ้าตอนเสวยพระชาติเป็นธรรมากรภิกษุทั้ง ๔๘ ประการดังนี้
    ๑. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากในโลกธาตุของเราหากมีนรก เปรต เดรัจฉานแล้วไซร้เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๒. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากเทวดาและมนุษย์ในโลกธาตุภายหลังที่สิ้นชีพลงแล้วยังตกสู่อบายภูมิทั้ง ๓ อีกไซร้ ก็จักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๓. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากเทวดาและมนุษย์ทั้งหมดในโลกธาตุมิได้มีรูปกายดั่งสุวรรณบริสุทธิ์แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๔. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากเทวดาและมนุษย์ในโลกธาตุมีรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันยังมีศุภลักษณ์และอัปลักษณ์อยู่ไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๕. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากเทวดาและมนุษย์ในโลกธาตุไร้ซึ่งบุพเพนิวาสานุสติญาณมิสามารถล่วงรู้ย้อนไปอย่างน้อยร้อยพันโกฏินยุตะกัลป์ได้แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๖. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากเทวดาและมนุษย์ในโลกธาตุมิอาจบรรลุถึงทิพยจักษุแล้วแลเห็นพุทธประเทศต่างๆจำนวนอย่างน้อยร้อยพันโกฏินยุตะได้แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๗. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากเทวดาและมนุษย์ในโลกธาตุมิอาจบรรลุถึงทิพยโสต ได้สดับในพระพุทธวัจนะทั้งปวงจำนวนอย่างน้อยร้อยพันโกฏินยุตะได้แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๘. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากเทวดาและมนุษย์ในโลกธาตุมิอาจบรรลุถึงเจโตปริยญาณ ได้ล่วงรู้ถึงความระลึกแห่งจิตของสรรพสัตว์ในพุทธประเทศจำนวนอย่างน้อยร้อยพันโกฏินยุตะได้แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๙. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากเทวดาและมนุษย์ในโลกธาตุมิอาจบรรลุถึงอภิญญาฤทธิ์โดยในชั่วขณะหนึ่งหากมิสามารถผ่านล่วงบรรดาพุทธประเทศจำนวนอย่างน้อยร้อยพันโกฏินยุตะได้แล้วไซร้เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๑๐. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากเทวดาและมนุษย์ในโลกธาตุเกิดสัญญาความยึดมั่นยังละโมบมีแผนการณ์เพื่อสังขารแห่งตนแล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๑๑. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากเทวดาและมนุษย์ในโลกธาตุมิอาจธำรงมั่นในสมาธิตราบถึงพระนิพพานได้แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๑๒. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากรัศมีประภาสถูกจำกัดขอบเขตปริมาณ มิอาจฉายส่องไปยังพุทธประเทศจำนวนอย่างน้อยร้อยพันโกฏินยุตะแล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๑๓. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากอายุกาลถูกจำกัดขอบเขตปริมาณ อยู่น้อยกว่าร้อยพันโกฏินยุตะกัลป์แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๑๔. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากสามารถคณนาซึ่งปริมาณของบรรดาสาวกในโลกธาตุได้ ฤๅสามารถคณนาถึงปริมาณสรรพสัตว์ในตรีสหัสมหาสหัสโลกธาตุที่ล้วนได้สำเร็จเป็นปัจเจกโพธิหากด้วยอาศัยระยะเวลาหนึ่งร้อยกัลป์ในการคำนวณนับจนสามารถทราบถึงจำนวนทั้งหมดนั้นได้แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๑๕. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากเทวดาและมนุษย์ในโลกธาตุไร้ซึ่งอายุกาลที่มิอาจประมาณได้ เว้นเสียแต่เป็นปณิธานที่จักย่นอายุกาลของตนเอง (เพื่อนิพพาน) เท่านั้น หากมิเป็นเช่นนี้แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๑๖. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากเทวดาและมนุษย์ในโลกธาตุ ยังได้สดับยลยินถึงนามของอกุศลอยู่ไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๑๗. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากบรรดาพระพุทธเจ้าจำนวนอนันตะในทศทิศโลกธาตุมิได้สรรเสริญสดุดีในนามของเราอย่างอุโฆษเลื่องลือแล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ
    ๑๘. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากสรรพสัตว์ในทศทิศ ที่ยินดีในศรัทธาด้วยความเป็นที่สุดแห่งใจ ปรารถนาอุบัติยังโลกธาตุของเรา แม้นกระทั่งได้ระลึกถึงเรา ๑๐ วาระ๓แล้วมิได้ไปถืออุบัติแล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ เว้นเพียงแต่ผู้ก่ออนันตริยกรรม และผู้ทำลายพระสัทธรรม๑๙. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากสรรพสัตว์ในทศทิศได้บังเกิดมีโพธิจิต ได้บำเพ็ญซึ่งสรรพกุศลมีปณิธานมุ่งมั่นยิ่งเป็นที่สุดแห่งใจ ปรารถนาไปอุบัติยังโลกธาตุของเรา แลเมื่อคราวายชนม์แล้วสมมติว่าเราและบรรดามหาชนผู้แวดล้อมมิอาจไปปรากฏกายเบื้องหน้าของผู้นั้นได้แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๒๐. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากสรรพสัตว์ในทศทิศได้สดับนามของเรา มีจิตพันผูกระลึกถึงโลกธาตุของเรา เป็นผู้สั่งสมไว้ซึ่งกุศลมูลทั้งปวง แล้วมีจิตอุทิศเพื่อมุ่งไปอุบัติยังโลกธาตุของเราด้วยความเป็นที่สุดแห่งใจ หากมิอาจสำเร็จซึ่งผลนั้นแล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๒๑. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากเทวดาและมนุษย์ในโลกธาตุ มิได้สำเร็จบริบูรณ์ในทวัตติงสมหาบุรุษลักษณะทั้ง ๓๒ ประการแล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ
    ๒๒. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว บรรดาคณะโพธิสัตว์ทั้งปวงจากพุทธเกษตรอื่นๆ ที่มาถืออุบัติยังโลกธาตุของเรานั้น หากเป็นเอกชาติปฏิพันธ์โพธิสัตว์ แล้วไซร้(เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ) เว้นแต่จักเป็นผู้ที่มีมูลปณิธานดั้งเดิมของตนที่ยังจะสั่งสอนสรรพสัตว์ต่อไปเป็นเหตุ แลด้วยความตั้งใจนั้นอันเป็นคุณธรรมมูลฐานที่ตนได้สั่งสมไว้ด้วยความเหนื่อยยาก ในการโปรดสรรพสัตว์ให้หลุดพ้น เพื่อท่องเที่ยวไปในพุทธเกษตรทั้งปวงเพื่อบำเพ็ญโพธิสัตวจริยา เพื่อถวายสักการบูชาพระพุทธตถาคตเจ้าในทศทิศทั้งปวง เพื่ออนุศาสน์สอนสั่งสรรพสัตว์จำนวนอเนกอนันต์เท่าเม็ดทรายของคงคานทีหลวง เพื่อได้ตั้งมั่นในอนุตรสัมมาสัตยมรรคแล้วได้ก้าวพ้นออกจากจริยาแห่งภูมิทั้งปวง ได้ปรากฏสำแดงว่าได้บำเพ็ญซึ่งคุณธรรมแห่งพระสมันตภัทร หากมิเป็นเช่นนี้แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๒๓. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว โพธิสัตว์ในโลกธาตุหากด้วยอาศัยพุทธานุภาพในการถวายสักการบูชาพระพุทธเจ้าทั้งปวง แม้นในชั่วขณะภัตรกิจคราวเดียว หากมิอาจ(ถวายสักการะ)ไปได้ถ้วนทั่วถึงพุทธเกษตรจำนวนอสงไขยอนันตโกฏินยุตะแล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๒๔. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว โพธิสัตว์ในโลกธาตุหากแม้นเมื่ออยู่เฉพาะพระพุทธพักตร์แล้ว ก็ย่อมจักสำแดงซึ่งการปลูกฝังกุศลมูล อันเครื่องสักการะบรรดาที่ต้องการใช้บูชานั้น หากมิสามารถได้ดั่งสมประสงค์แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ
    ๒๕. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว โพธิสัตว์ในโลกธาตุหากมิอาจกล่าวแสดง(ธรรม)ด้วยความเป็นสัพพัญญู(รู้แจ้งในสรรพสิ่งทั้งปวง)แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๒๖. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว โพธิสัตว์ในโลกธาตุหากมิได้บรรลุถึงวัชรนารายณกายแล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๒๗. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว เทวดาและมนุษย์ในโลกธาตุหากในบรรดาสรรพสิ่งทั้งปวงอันบริสุทธิ์อลังการและสว่างสุกใส มีรูปลักษณ์อันวิเศษพิศดาร วิจิตรประณีตบรรจงซึ่งมิอาจกล่าวถึงปริมาณได้ แม้นบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายนั้นจักได้บรรลุซึ่งทิพยจักษุแล้ว หากสามารถล่วงรู้ถึงนามและนับจำนวน(ของสรรพสิ่งอันวิเศษในโลกธาตุ)ได้หมดสิ้นแล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๒๘. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว โพธิสัตว์ในโลกธาตุตราบถึงผู้ที่มีกุศลน้อย มิอาจได้รู้แลได้ประสบซึ่งโพธิพฤกษ์(แห่งตน) ว่ามีประภาวรรณะจำนวนอเนกอนันต์ และมีความสูงถึงสี่ล้านลี้แล้วไซร้เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๒๙. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว โพธิสัตว์ในโลกธาตุหากสาธยายพระธรรมสูตร อ่านท่องกล่าวแสดงแล้ว หากมิได้บรรลุซึ่งปฏิภาณแลปัญญาญาณแล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๓๐. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว โพธิสัตว์ในโลกธาตุหากมีปัญญาญาณแลปฏิภาณที่อาจหยั่งวัดถึงขอบเขตปริมาณได้แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๓๑. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว อันความบริสุทธิ์แห่งโลกธาตุจักฉายส่องโชติช่วงไปยังบรรดาพุทธเกษตรจำนวนอสงไขย จำนวนอนันต์ จำนวนอจินไตยในทศทิศโดยทั่ว ประดุจกระจกที่สว่างใสที่ฉายส่องอยู่ตรงหน้า หากมิดุจฉะนี้แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๓๒. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว อันพื้นพสุธาขึ้นไปเบื้องบนจรดความว่างเปล่าแห่งอากาศพระตำหนักมณเฑียรสถาน พระวิหารแลหอทัศนา สระโบกขรณี พฤกษาแลมาลี อีกสรรพสิ่งบรรดามีในโลกธาตุ ให้ล้วนสำเร็จจากรัตนชาตินานาชนิดและเครื่องสุคนธานับร้อยพันประการมิมีประมาณ ซึ่งประกอบตบแต่งกันอย่างอลังการและวิจิตรพิศดารยิ่งกว่าของเทพยดาทั้งปวง อันกลิ่นสุรภีคันธมาลย์นั้นหอมหวนโชยระรื่นไปยังโลกธาตุทั่วทศทิศ โพธิสัตว์ผู้ได้สูดดมแล้ว ย่อมล้วนบำเพ็ญในพุทธจริยา หากมิเป็นดังประการนี้แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๓๓. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว บรรดาสรรพสัตว์หลากสายพันธุ์ในพุทธเกษตรทั้งหลายที่มีจำนวนอจินไตยและหาประมาณมิได้ตลอดทั้งทศทิศนั้น เมื่อผู้ที่กายนั้นได้สัมผัสต้องกับประภารัศมีแห่งเราแล้ว กายแลจิตจักได้อ่อนโยนยิ่งกว่าเทพและมนุษย์ หากมิได้เป็นเช่นนี้แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๓๔. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว บรรดาสรรพสัตว์หลากสายพันธุ์ในพุทธเกษตรทั้งหลายที่มีจำนวนอจินไตยและหาประมาณมิได้ตลอดทั้งทศทิศนั้น เมื่อได้สดับนามของเรา แล้วมิได้บรรลุในอนุตปตติก ธรรมกษานติ และธารณีอันคัมภีรภาพทั้งปวงแล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๓๕. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว บรรดาพุทธเกษตรทั้งหลายที่มีจำนวนอจินไตยและหาประมาณมิได้ตลอดทั้งทศทิศนั้น ภายในนั้นหากจักมีอิสตรีที่ได้สดับนามของเรา แล้วปีติยินดีศรัทธาปสาทะได้บังเกิดโพธิจิต เอือมระอาอย่างหนักหนาในสตรีกาย เมื่อหลังจากชีวาดับสิ้นแล้วยังมีรูปลักษณ์เป็นสตรีอีกไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๓๖. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว บรรดาโพธิสัตว์ในพุทธเกษตรทั้งหลายที่มีจำนวนอจินไตยและหาประมาณมิได้ตลอดทั้งทศทิศนั้น เมื่อได้สดับนามของเรา แลเมื่อภายหลังที่วายชนม์แล้ว ย่อมจักบำเพ็ญในพรหมจริยาวัตรโดยนิจศิล ตราบจนสำเร็จพุทธมรรค หากมิได้เป็นเช่นนี้แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๓๗. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว บรรดาประชากรชาวสวรรค์และมนุษย์ในพุทธเกษตรทั้งหลายที่มีจำนวนอจินไตยและหาประมาณมิได้ตลอดทั้งทศทิศนั้น เมื่อได้สดับนามของเรา แล้วจักกระทำเบญจางคประดิษฐ์อภิวาทนมัสการ จิตบังเกิดความปีติยินดีน้อมใจศรัทธา ได้มาบำเพ็ญในโพธิสัตวจริยาแล้ว อันบรรดาเทพแลมนุษย์โลกทั้งหลายจักมินอบน้อมยำเกรง(แก่ผู้ที่อภิวาทนมัสการนั้น)ก็หาไม่ หากมิเป็นดังประการฉะนี้แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๓๘. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว บรรดาเทวดาและมนุษย์ในโลกธาตุ เมื่อต้องการพัสตราภรณ์แพรพรรณก็ย่อมได้ตามความระลึกนั้น ประดุจที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญในเครื่องนุ่งห่มอันเลิศที่สมธรรม อันจักอยู่บนกายได้เอง หากมีการย้อม เย็บ ซักและตากอยู่แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๓๙. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากบรรดาเทวดาและมนุษย์ในโลกธาตุ ได้เสวยซึ่งความสุขสวัสดีทั้งปวง มิดั่งเช่นภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพผู้ปราศจากกิเลสาสวะแล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๔๐. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว โพธิสัตว์ในโลกธาตุ เมื่อปรารถนาจักทอดทัศนาความวิสุทธิอลังการของพุทธเกษตรต่างๆจำนวนไม่มีประมาณในทศทิศ ใน เพลานั้นย่อมจักได้สมดังมโนรถ ด้วยในรัตนพฤกษ์ล้วนจักสำแดงปรากฏให้เห็นได้ ประดุจคันฉ่องสะอาดใสยังให้ประจักษ์อยู่เบื้องหน้า หากมิได้เป็นเช่นนี้แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๔๑. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว บรรดาโพธิสัตว์ในโลกธาตุแดนอื่น เมื่อได้สดับนามของเราแล้ว ตราบจนได้บรรลุความเป็นพระพุทธะ (ในระหว่างนั้น)หากสรรพอินทรีย์เกิดอัปลักษณ์มิสมประกอบบริบูรณ์แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๔๒. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว บรรดาโพธิสัตว์ในโลกธาตุแดนอื่น เมื่อได้สดับนามของเราแล้ว ให้ล้วนบรรลุถึงวิสุทธิวิมุตติสมาธิ๙ เมื่อดำรงในสมาธินี้แล้ว ในชั่วขณะหนึ่งจักสามารถถวายสักการะบรรดาพระพุทธโลกนาถเจ้าทั้งหลายจำนวนอนันตอสงไขยได้ โดยจิตมิบกพร่องในสมาธินี้ หากมิเป็นดังประการนี้แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๔๓. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว บรรดาโพธิสัตว์ในโลกธาตุแดนอื่น เมื่อได้สดับนามของเราแลเมื่อวายชนม์แล้วในภายหลัง จักได้ไปบังเกิดยังตระกูลที่สูงส่ง หากมิเป็นเช่นนี้แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๔๔. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว บรรดาโพธิสัตว์ในโลกธาตุแดนอื่น เมื่อได้สดับนามของเราแล้ว ให้เกิดอุเพงคาปีติจนโลมาลุกชัน ได้บำเพ็ญโพธิสัตวจริยา สมบูรณ์พร้อมในพีชะแห่งคุณธรรม หากมิประดุจฉะนี้แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๔๕. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว บรรดาโพธิสัตว์ในโลกธาตุแดนอื่น เมื่อได้สดับนามของเราแล้ว ล้วนแต่บรรลุในสมันตนุคตสมาธิ เมื่อดำรงในสมาธินี้แล้ว ตราบจนได้สำเร็จความเป็นพระพุทธะ ย่อมจักได้ประสบกับบรรดาพระพุทธเจ้าจำนวนอนันตอสงไขยทั้งปวงโดยนิจศิล หากมิเป็นไปดังเช่นนี้แล้วไซร้เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๔๖. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว โพธิสัตว์ในโลกธาตุ ย่อมจักได้สดับพระธรรมกถาตามใจปรารถนา โดยจักได้สดับเฉพาะตน หากมิประดุจเช่นนี้แล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๔๗. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว บรรดาโพธิสัตว์ในโลกธาตุแดนอื่น เมื่อได้สดับนามของเราแล้ว ยังเป็นผู้ที่มิบรรลุซึ่งความมิเสื่อมถอยย้อนกลับแล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    ๔๘. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว บรรดาโพธิสัตว์ในโลกธาตุแดนอื่น เมื่อได้สดับนามของเราแล้ว ยังมิบรรลุในธรรมกษานติ ประการที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ แลในสรรพพุทธธรรม มิสามารถบรรลุถึงความเป็นผู้มิเสื่อมถอยย้อนกลับแล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...