การฝึกสมาธิกรรมฐานแบบยึดจิตไว้ที่เสียงสวดมนต์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย boy_kmutt, 6 กรกฎาคม 2008.

  1. boy_kmutt

    boy_kmutt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    303
    ค่าพลัง:
    +227
    ผมได้นั่งสมาธิกรรมฐาน แบบยึดจิตไว้ที่เสียงสวดมนต์หรือเสียงเทศน์การนั่งสมาธิ ซึ่งการนั่งแบบนี้ใจจะสงบมาก จะนิ่ง ส่วนเวลาฟุ่งก็จะหายจะเข้าออกยาวๆ ขณะนั่งไม่ภาวนายุบหนอหรืออะไรทั้งสิ้น การฝึกแบบนี้เป็นวิธีที่ถูกต้องหรือไม่ครับ แล้วเพื่อนๆมีท่านใดฝึกแบบผมบ้างครับ
     
  2. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    กุศลผลบุญใด ๆ ก็ตามที่ข้าพเจ้าได้ทำมาแล้ว ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันนี้
    ข้าพเจ้าขออุทิศให้<O:p</O:p


     
  3. chanthawat_k

    chanthawat_k เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    955
    ค่าพลัง:
    +413
    ใจเป็นสมาธิ..จากคำภาวนาเมื่อเข้าสู่ญาณคำภาวนาจะหายไปเอง...สาธุ
     
  4. chinasungkia

    chinasungkia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +852
    อนุโมทนากับท่าน เจ้าของกระทู้

    ขอเรียนแสดงความเห็น

    โดยความเห็นของผมคิดว่า ได้นะครับ การที่จิตใจของเรากำลังจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การฟังบทสวด ฟังเทศก์ หรือการอ่านหนังสือธรรมะ ถ้าจิตของเราแน่วแน่จดจ่อ เมื่อนั้น จิตของเรา ย่อมเข้าสู่สมาธิ เข้าสู่ความสงบได้เช่นเดียวกับการนั่งแบบอานาปนสติ แต่ก็จะเป็นเพียง สมถะกรรมฐาน ในความสงบ เท่านั้นครับ....สาธุ
     
  5. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ดีครับ คนที่ชอบทำสมาธิด้วยการฟังนี้ น่าจะคนทิฏฐิจริต คือ ชอบคิดและไตร่
    ตรอง เฉยไม่ได้ เฉยเป็นแว็บไปคิดเรื่องนู้นเรื่องนี้ จึงอาศัยเสียงที่จะแทรก
    เข้าโสตวิญญาณ ทำให้จิตเสพเรื่องราวเฉพาะที่ได้ยิน เป็นหลัก แล้วให้
    อาการหลงไปคิดเรื่องนู้นเรื่องนี้เป็นรองลงไป เหตุนี้เอง จึงทำให้จิตใจลด
    ความฝุ้งซ่านได้อยากมาก

    เรียกตามปริยัติ ก็คือ เราใช้เสียงเป็นวิหารธรรม โดยใช้โสตวิญาณเป็นตัว
    หน่วงนำให้มีอารมณ์เดียว ถ้าวันไหนจิตไปม่แว็บไปคิดเลย สามารถฟังเสียง
    ได้จนไม่ว๊อกแว๊ก ก็จะเป็นสุขอย่างมาก

    ปัญหามันจะมาตอนที่เราสุขอย่างมาก สงบอย่างมาก หากเราเผลอชอบใจ
    ภาวะนี้ การณ์จะกลับตาละปัตร เมื่อเราออกไปเผชิญโลกข้างนอก เราจะ
    มีโทษะง่าย ดังนั้น ต้องดูความชอบใจไว้ด้วย อย่าให้เกิด การดูก็ง่ายๆ ว่า
    วันไหนเราว่างเว้นการฟัง เราโหยหาไหม เราเกิดความอยากมาบงการณ์ให้
    คอยนึกถึงสภาวะสุขอย่างนั้นไหม ถ้ามี ก็ให้รู้ทันใจไปว่ามี ถ้าเกิดความชอบ
    ใจแล้วมองอยู่ ดูอยู่ อันนี้ปัญหาจะหายไปทันที

    แต่ให้ดี น่าจะคอยรู้จิตเราตอนที่แว็บไปคิด ดูให้ดีๆครับ ว่ามันแว็บไปคิดได้
    อาจจะมีเรื่องคนละเรื่องกับที่ฟัง แยยนี้จะเห็นชัด แต่ถ้าเป็นการแว็บไปคิด
    เรื่องเดียวกันเรามักไม่เห็น เพราะหลงว่านั้นคือความรู้ที่ควรได้จากการฟัง แต่
    จริงให้ดูเราหลงไปคิด ถ้าดูอาการหลงไปคิดได้ จะเยี่ยมกว่าการเห็นอย่างอื่น

    เพราะการหลงไปคิดนั้นคือการใช้ มโนวิญญาณไปดึงสังขารสัญญา ถ้าเรารู้
    และอาการของมันทำงาน จะทำให้เราปิดช่องอยาตนะที่ต้นตอ

    การคอยดู คอยรู้อาการหลงไปคิด เราเรียกว่า ดูจิต เป็นหนึ่งในการทำ
    สติปัฏฐาน 4 นอกจากนี้ก็ดูกาย ดูเวทนา แต่ฟังเสียงเทศน์นี้น่าจะดูกาย
    ได้อีกทาง เพราะตอนฟังจะต้องนั่งฟังนิ่งๆแน่นอน ก็ให้ดูอริยาบทไปพร้อมๆ
    กับการฟัง แล้วคุณจะเข้าใจตัว สติ ที่สามารถแยกกิจกรรมของจิตได้ว่าตอน
    นี้เรามีสติดูกาย ตอนนี้เรามีสติดูจิต ตอนนี้เราเห็นสติจมไปกับเสียงเทศน์ ทำ
    บ่อยๆ ก็จะเป็นการเจริญสติ แยกดูได้มากก็สามรถเจริญสติได้มาก ก็จะสม
    กับศิษย์พระตถาคตที่ท่านสั่งสอนให้ผู้ใฝ่ศึกษาหมั่นเจริญสติไว้เนืองๆ
     
  6. Montesquieu

    Montesquieu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2008
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +116
    ผมเคยลองอยู่เหมือนกัน ตอนบวช หลวงพ่อเทศน์ไปเราก็นั่งสมาธิไป ไม่รู้ว่าจะฟังหลวงพ่อดีหรือภาวนาดี งงอยู่เหมือนกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...