อาทิตตะ ปริยายะสุตัง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปราบเทวดา, 17 พฤษภาคม 2020.

  1. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    อาทิตตปริยายสูตร
    [๓๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาทิตตปริยายและธรรมปริยาย
    แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อาทิตตปริยายและธรรมปริยายเป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    บุคคลแทงจักขุนทรีย์ด้วยหลาวเหล็กอันร้อนไฟติดลุกโพลงแล้ว
    ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในรูป
    อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ จะดีอะไร วิญญาณอันเนื่องด้วยความยินดีในนิมิต
    หรือเนื่องด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะ พึงตั้งอยู่
    ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาในสมัยนั้น พึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง

    คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงกล่าวอย่างนี้ ฯ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    บุคคลเกี่ยวโสตินทรีย์ด้วยขอเหล็กอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว
    ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู จะดีอะไร
    วิญญาณอันเนื่องด้วยความยินดีในนิมิต
    หรือ เนื่องด้วยความยินดีในอนุ-*พยัญชนะ พึงตั้งอยู่
    ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาในสมัยนั้น

    พึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง
    คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    บุคคลคว้านฆานินทรีย์ด้วยมีดตัดเล็บอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว
    ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในกลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก

    จะดีอะไร วิญญาณอันเนื่องด้วยความยินดีในนิมิต
    หรือ เนื่องด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะ พึงตั้งอยู่
    ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาในสมัยนั้น พึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง

    คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    บุคคลเฉือนชิวหินทรีย์ด้วยมีดโกนอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว
    ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในรส อันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น
    จะดีอะไร วิญญาณอันเนื่องด้วยความยินดีในนิมิต
    หรือ เนื่องด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะ พึงตั้งอยู่

    ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาในสมัยนั้น พึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง
    คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    บุคคลแทงกายินทรีย์ด้วยหอกอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว
    ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในโผฏฐัพพะ
    อันจะพึงรู้แจ้งด้วยกายจะดีอะไร วิญญาณอันเนื่องด้วยความยินดีในนิมิต
    หรือเนื่องด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะ พึงตั้งอยู่
    ถ้าบุคคลทำกาลกิริยาในสมัยนั้น พึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง
    คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ความหลับยังดีกว่า แต่เรากล่าวความหลับว่าเป็นโทษไร้ผล เป็นความโง่เขลา
    ของบุคคลผู้เป็นอยู่ ตนลุอำนาจของวิตกเช่นใดแล้ว พึงทำลายสงฆ์ให้แตกกันได้
    บุคคลไม่ควรตรึกถึงวิตกเช่นนั้นเลย

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เราเห็นโทษอันนี้แลว่าเป็นอาทีนพของบุคคลผู้เป็นอยู่ จึงกล่าวอย่างนี้ ฯ


    [๓๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น
    อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

    จักขุนทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหลาวเหล็กอันร้อน ไฟติดลุกโพลงแล้ว
    จงงดไว้ก่อน
    มิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า
    จักษุไม่เที่ยง
    รูปไม่เที่ยง
    จักษุวิญญาณไม่เที่ยง
    จักษุสัมผัสไม่เที่ยง
    แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา
    ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยไม่เที่ยง

    โสตินทรีย์ที่บุคคลเกี่ยวด้วยขอเหล็กอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว
    จงงดไว้ก่อน
    มิฉะนั้นเราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า
    หูไม่เที่ยง
    เสียงไม่เที่ยง
    โสตวิญญาณไม่เที่ยง โสต-*สัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา
    หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัยไม่เที่ยง

    ฆานินทรีย์ที่บุคคลคว้านด้วยมีดตัดเล็บอันคมไฟติดลุกโพลงแล้ว จงงดไว้ก่อน
    มิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า
    จมูกไม่เที่ยง
    กลิ่นไม่เที่ยง
    ฆานวิญญาณไม่เที่ยง
    ฆานสัมผัสไม่เที่ยง
    แม้สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง


    ชิวหินทรีย์ ที่บุคคลเฉือนด้วยมีดโกนอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว จงงดไว้ก่อน
    มิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า

    ลิ้นไม่เที่ยง
    รสไม่เที่ยง
    ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง
    ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
    เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง


    กายินทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหอกอันคมไฟติดลุกโพลงแล้ว จงงดไว้ก่อน
    มิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า
    กายไม่เที่ยง
    โผฏฐัพพะไม่เที่ยง
    กายวิญญาณไม่เที่ยง
    กายสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
    ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง

    ความหลับจงงดไว้ก่อน
    มิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า
    ใจไม่เที่ยง
    ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง
    มโนวิญญาณไม่เที่ยง
    มโนสัมผัสไม่เที่ยง
    สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
    เพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัยก็ไม่เที่ยง

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

    ย่อมเบื่อหน่าย
    แม้ในจักษุ
    แม้ในรูป
    แม้ในจักษุวิญญาณ
    แม้ในจักษุสัมผัส
    แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
    เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ
    แม้ในธรรมารมณ์
    แม้ในมโนวิญญาณ
    แม้ในมโนสัมผัส
    แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
    เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น

    เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว

    รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
    กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเรียกว่า

    อาทิตตะปริยาย และธรรมปริยาย

    ฉะนี้แล ฯ

    ที่มา https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=4669&Z=4738
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2020
  2. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    messageImage_1589725690730.jpg
     
  3. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    บทขัด อาทิตตะ ปริยายสูตร

    เวเนยยะทะมะโนปาเย สัพพะโส ปาระมิง คะโต
    อะโมฆะวะจะโน พุทโธ อะภิญญายานุสาสะโก
    จิณณานุรูปะโต จาปิ ธัมเมนะ วินะยัง ปะชัง
    จิณณาคคิปาริจะริยานัง สัมโพชฌาระหะโยคินัง
    ยะมาทิตตะปะริยายัง เทสะยันโต มะโนหะรัง
    เต โสตาโร วิโมเจสิ อะเสกขายะ วิมุตติยา
    ตะเถโวปะปะริกขายะ วิญณูนัง โสตุมิจฉะตัง
    ทุกขะตาลักขะโณปายัง ตัง สุตตันตัง ภะณามะ เส ฯ

    คําแปล
    พระพุทธเจ้าไดถึงพระบารมีแลวโดยประการทั้งปวง
    ในอุบายฝึกเวไนยสัตว์ มีพระวาจาไม่เปล่าจากประโยชน์

    ทรงพร่ําสอนเพื่อความตรัสรูยิ่ง และทรงแนะนําหมู่สัตว์
    โดยธรรมตามสมควรแก่อุปนิสัยที่เคยประพฤติมา
    ทรงแสดง
    อาทิตตะ ปริยายใดเป็นเครื่องนําใจ ของเหล่าพระโยคีผูควรจะตรัสรู

    ซึ่งเป็นชฏิลเคยบําเรอไฟ ได้ทรงยังพระโยคีผูสดับเหล่านั้น
    ให้พ้นแล้วด้วย อเสกขวิมุตติ

    เราทั้งหลายจงสวด อาทิตตะ ปริยายสูตรนั้น เป็นอุบาย
    เครื่องกําหนดความทุกข์ เพื่อวิญญูชนทั้งหลาย
    ผู้ปรารถนาเพื่อจะฟังโดยความใคร่ครวญอย่างนั้นเทอญ




    บทสวดมนต์ อาทิตตะ ปริยายะสุตัง

    เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา, คะยายัง วิหะระติ คะยาสีเส, สัทธิง ภิกขุสะหัสเสนะฯ ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ฯ

    สัพพัง ภิกขะเว อาทิตตัง ฯ กิญจิ ภิกขะเว สัพพัง อาทิตตัง ฯ จักขุง ภิกขะเว อาทิตตัง, รูปา อาทิตตา, จักขุวิญญาณัง อาทิตตัง, จักขุสัมผัสโส อาทิตโต, ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา, ตัมปิ อาทิตตัง ฯ เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ

    โสตัง อาทิตตัง, สัททา อาทิตตา, โสตะวิญญาณัง อาทิตตัง, โสตะสัมผัสโส อาทิตโต, ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา, ตัมปิ อาทิตตัง ฯ เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ

    ฆานัง อาทิตตัง, คันธา อาทิตตา, ฆานะวัญญาณัง อาทิตตัง, ฆานะสัมผัสโส อาทิตโต, ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา, ตัมปิ อาทิตตัง ฯ เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ

    ชิวหา อาทิตตา, ระสา อาทิตตา, ชิวหาวิญญาณัง อาทิตตัง, ชิวหา สัมผัสโส อาทิตโต, ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา, ตัมปิ อาทิตตัง ฯ เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ

    กาโย อาทิตโต, โผฏฐัพพา อาทิตตา, กายะวิญญาณัง อาทิตตัง, กายะสัมผัสโส อาทิตโต, ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง ฯ สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา, ตัมปิ อาทิตตัง ฯ เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ

    มะโน อาทิตโต, ธัมมา อาทิตตา, มะโน วิญญาณัง อาทิตตัง, มะโนสัมผัสโส อาทิตโต, ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา, ตัมปิ อาทิตตัง ฯ เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ

    เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุตะวา อะริยะสาวะโก, จักขุสมิงปิ นิพพินทะติ, รูเปสุปิ นิพพินทะติ, จักขุวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, จักขุสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา, ตัสมิงปิ นิพพินทะติ ฯ

    โสตัสมิงปิ นิพพินทะติ, สัทเทสุปิ นิพพินทะติ, โสตะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, โสตะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, สุขัง วา ทุกขัง วา อุทุกขุมุสุขัง วา, ตัสมิงปิ นิพพินทะติ ฯ

    ฆานัสมิงปิ นิพพินทะติ, คันเธสุปิ นิพพินทะติ, ฆานะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ฆานะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา, ตัสมิงปิ นิพพินทะติฯ

    ชิวหายะปิ นิพพินทะติ, ระเสสุปิ นิพพินทะติ, ชิวหาวิญญาณเณปิ นิพพินทะติ, ชิวหาสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา, ตัสมิงปิ นิพพินทะติ ฯ

    กายัสมิงปิ นิพพินทะติ, โผฏฐัพเพสุปิ นิพพินทะติ, กายะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, กายะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา, ตัสมิงปิ นิพพินทะติฯ

    มะนัสมิงปิ นิพพินทะติ ธัมเมสุปิ นิพพินทะติ, มะโนวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, มะโนสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา, ตัสมิงปิ นิพพินทะติ ฯ

    นิพพินทัง วิรัชชะติ ฯ วิราคา วิมุจจะติ, วิมุตตัสมิง วิมุตตะมิติญาณัง โหติ, ขีณา ชาติ, วุสิตัง พรัหมะจะริยัง, กะตัง กะระณียัง, นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ ฯ อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน, ตัสสะ ภิกขุสะหัสสัสสะ อะนุปาทะยะ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติฯ


    (ผู้สวด อาทิตตะ ปริยายสูตร นอกจากจะทําให้ทุกข์โศก โรคภัย ไม่เบียดเบียน ปรารถนาสิ่งใด ก็สําเร็จสมใจปรารถนา มีความสุข มีความเกษมสําราญทุกเมื่อ
    และน้อมไปฏิบัติตาม)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2020
  4. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    เพียง 1 พระสูตรนี้
    หากมีสติปัญญาอ่านและทำความเข้าใจ
    ได้ถูกต้อง หรือมี
    พระอรรถกถาจารย์
    สาธยายให้ฟังโดยละเอียดเเล้วเข้าใจโดยไม่ผิดเพี้ยน
    แล้วปฏิบัติจิตภาวนา โดยมีข้อธรรมพระสูตรฯเป็นอารมย์
    อะไรจะเกิดขึ้นกับผู้รู้ของแต่ละคน
    คงไม่ต้องพูดกันมากเกิ 1 กระทู้คับ
     
  5. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ชอบมากครับพระสูตรนี้ อาทิตตะ กับ ธัมจักร สวดทุกวัน
     
  6. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
     
  7. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,923
    ค่าพลัง:
    +2,262
    ND6cu3w4XDr2p0noTAWvxeq07Jn9zSNYGLki8iWglOPCAEbnmSoJ7pxKAuDuRgFfwfxuHcREz0t6rgHx_Pe3bE7eMR_Lb6lQ.gif

    ต้องมี คนแสดง
    ต้องมี คนแปล

    ไม่เช่นนั้น ไม่มีทาง พาดกระแส
     
  8. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,923
    ค่าพลัง:
    +2,262
    เอิ่ม จขกท ฮับ

    อาทิตปริยายสูตร ถาม อากู๋

    อากู๋ บอกว่า มี สองพระสูตร

    แต่ละพระสูตร จั่วหัวว่า สอน
    ชฏิลทั้งคู่

    แต่ บาลี มีความต่างกันสิ้นเชิง

    บาลี บทนึง กล่าวถึงเรื่อง เหล็ก
    หลาวนั่น

    อีกบทนึง กล่าวลงเปน อาทิตยา
    อาทิตโย

    จำไม จำไม

    อาทิตปริยายสูตร จึงจับแยก
    ห่างกัน ถึงสองบท แต่ เหตุ
    กลับ อันเดียวกัน

    ซึ่ง ปรกติ ถ้าเหตุเดียวกัน
    อันหนึ่งเกริ่น อันหนึงอุปมา
    ก้ควร จับรวมกัน เปนบท
    ต่อเนื่องกันไป

    ลวกเพ่ จขกท จะรับเปน
    อนุ "พิ" รุททะ จักหน่อย
    ไหมฮับ ว่า อันไหน

    ฮานาก้า
     
  9. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    เพิ่งรู้ นะเนี๊ยะ มีสองพระสูตร

    ถ้าไม่ได้ ผู้รู้ มาอธิบาย ตายห้าเยย
     
  10. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    อาทิตตปริยายสูตร แปล

    พระอานนทเถรพุทธอุปัฏฐาก ได้กล่าวแสดงต่อคณะสงฆ์ ในการทำสังคายนาครั้งที่ 1 ว่าดังนี้.-

    ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ ใกล้แม่น้ำคยาพร้อวด้วยพระภิกษุพวกที่เคยเป็นชฎิลประมาณ 1,000 รูป ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนสติภิกษุเหล่านั้น ให้ตั้งใจฟังและพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงในโลกนี้ เป็นเฟตุให้ใจเร่าร้อน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ชื่อว่าเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน



    ภิกษุทั้งหลาย ตา เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน รูป เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน

    ความคิดฟุ้งซ่านเมื่อตาได้เห็นรูปืั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ หรือรู้สึกเฉยๆ ที่เกิดขึ้นเพราะตาได้เห็นรูป ทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ก็เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน เร่าร้อนเพราะอะไร ? เร่าร้อนเพราะใจคือราคะที่เกิดขึ้นในใจ ก็มีความยินดีที่อยากจะให้ตาได้เห็นรูปที่ถูกใจนั้นอีก ร้อนเพราะไฟคือโทสะที่เกิดขึ้นในใจ มีความหงุดหงิดขัดเคืองใจ เพราะได้เห็นรูปที่ไม่ถูกใจ ร้อนเพราะไฟคือโมหะที่เกิดขึ้นในใจ เพราะหลงคิดว่ารูปที่ถูกใจนั้นจะมีให้เห็นอยู่ตลอดกาล แต่สภาพทุกๆ อย่างจะคงอยู่ตลอดกาลไม่ได้ เพราะมันไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลงไป เสื่อมไป และต้องสลายไปเป็นธรรม

    ใจเร่าร้อนเพราะอยากให้รูปที่ถูกใจนั้นเกิดมีขึ้นมาอีก และใจเร่าร้อนเพราะไม่อยากให้รูปที่ไม่ถูกใจนั้นเกิดมีขึ้นมาอีก ใจเร่าร้อนเพราะรูปที่ถูกใจนั้จะต้องเสื่อมสลายไป เร่าร้อนในใจ เพราะความโศกเสร้าคิดถึงรูปที่ถูกใจนั้น เร่าร้อนใจเพราะความร่ำไรรำพันใฝ่หารูปที่ถูกใจนั้น เร่าร้อนในใจเพราะความพลัดพรากจากรูปที่ถูกใจนั้น และเพราะไม่สมหวังในรูปที่ถูกใจนั้น เร่าร้อนใจเพราะความเสียใจที่ต้องหมดหวังในการที่จะได้รูปที่ถูกใจนั้นกลับคืนมา เร่าร้อนใจเพราะความคับแค้นใจในการที่ต้องสูญสิ้นความหวังในรูปที่ถูกใจนั้น เพราะเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า ตา และรูป เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน



    หู เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน เสียง เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน

    ความคิดฟุ้งซ่านเมื่อหูได้ยินเสียงทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ หรือรู้สึกเฉยๆ ที่เกิดขึ้นเพราะหูได้ยิน้สียงทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ก็เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน เร่าร้อนเพราะอะไร เร่าร้อนเพราะไฟคือราคะที่เกิดขึ้นในใจ มีความยินดีอยากจะให้หูได้ยินเสียงที่ถูกใจนั้นอีก ร้อนเพราะไฟคือโทสะที่เกิดขึ้นในใจ มีความหงุดหงิดขัดเคืองใจ เพราะได้ยินเสียงที่ไม่ถูกใจ ร้อนเพราะไฟคือโมหะที่เกิดขึ้นใจใน เพราะหลงคิดว่าเสียงที่ถูกใจนั้นมีให้ฟังอยู่ตลอดกาล แต่สภาพทุกๆ อย่างจะคงอยู่ตลอดกาลไม่ได้ เพราะมันไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลงไป เสื่อมไป และต้องสลายไปเป็นธรรมดา

    ใจเร่าร้อนเพราะอยากให้เสียงที่ถูกใจนั้นมีขึ้นมาอีก และใจเร่าร้อนเพราะไม่อยากให้เสียงที่ไม่ถูกใจนั้นเกิดมีขึ้นมาอีก ใจเร่าร้อนเพราะเสียงที่ถูกใจนั้นจะต้องเลือนหายไป เร่าร้อนในใจเพราะความโศกเศร้าคิดถึงเสียงที่ถูกใจนั้น เร่าร้อนใจเพราะความร่ำไรรำพันใฝ่หาเสียงที่ถูกใจนั้น เร่าร้อนในใจเพราะความพลัดพรากจากเสียงที่ถูกใจนั้น และเพราะไม่สมหวังในเสียงที่ถูกใจนั้น เร่าร้อนใจเพราะความเสียใจที่ต้องหมดหวังในการที่จะได้เสียงที่ถูกใจนั้นกลับคืนมา เร่าร้อนใจเพราะความคับแค้นใจในการที่ต้องสูญสิ้นความหวังในเสียงที่ถูกใจนั้น เพราะเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า หู และ เสียง เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน



    จมูก เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน กลิ่น เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน

    ความคิดฟุ้งซ่านเมื่อจมูกได้ดมกลิ่นทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ หรือรู้สึกเฉยๆ ที่เกิดขึ้นเพราะจมูกได้ยินดมกลิ่นทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ก็เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน เร่าร้อนเพราะอะไร เร่าร้อนเพราะไฟคือราคะที่เกิดขึ้นในใจ มีความยินดีอยากจะให้จมูกได้ดมกลิ่นนั้นอีก ร้อนเพราะไฟคือโทสะที่เกิดขึ้นในใจ มีความหงุดหงิดขัดเคืองใจ เพราะได้ดมกลิ่นที่ไม่ถูกใจ ร้อนเพราะไฟคือโมหะที่เกิดขึ้นใจใน เพราะหลงคิดว่ากลิ่นที่ถูกใจนั้นจะมีตลอดกาล แต่สภาพทุกๆ อย่างจะคงอยู่ตลอดกาลไม่ได้ เพราะมันไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลงไป เสื่อมไป และต้องสลายไปเป็นธรรมดา

    ใจเร่าร้อนเพราะอยากให้กลิ่นที่ถูกใจนั้นมีขึ้นมาอีก และใจเร่าร้อนเพราะไม่อยากให้กลิ่นที่ไม่ถูกใจนั้นเกิดมีขึ้นมาอีก ใจเร่าร้อนเพราะกลิ่นที่ถูกใจนั้นจะต้องจางหายไป เร่าร้อนในใจเพราะความโศกเศร้าคิดถึงกลิ่นที่ถูกใจนั้น เร่าร้อนใจเพราะความร่ำไรรำพันใฝ่หากลิ่นที่ถูกใจนั้น เร่าร้อนในใจเพราะความพลัดพรากจากกลิ่นที่ถูกใจนั้น และเพราะไม่สมหวังในกลิ่นที่ถูกใจนั้น เร่าร้อนใจเพราะความเสียใจที่ต้องหมดหวังในการที่จะให้กลิ่นที่ถูกใจนั้นกลับคืนมาอีก เร่าร้อนใจเพราะความคับแค้นใจในการที่ต้องสูญสิ้นความหวังในกลิ่นที่ถูกใจนั้น เพราะเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า จมูก และ กลิ่น เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน



    ลิ้น เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน รส เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน

    ความคิดฟุ้งซ่านเมื่อลิ้นได้ลิ้มรสทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ หรือรู้สึกเฉยๆ ที่เกิดขึ้นเพราะลิ้นได้ลิ้มรสทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ก็เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน เร่าร้อนเพราะอะไร เร่าร้อนเพราะไฟคือราคะที่เกิดขึ้นในใจ มีความยินดีอยากจะให้ลิ้นได้ลิ้มรสที่ถูกใจนั้นอีก ร้อนเพราะไฟคือโทสะที่เกิดขึ้นในใจ มีความหงุดหงิดขัดเคืองใจ เพราะได้ลิ้มรสที่ไม่ถูกใจ ร้อนเพราะไฟคือโมหะที่เกิดขึ้นใจใน เพราะหลงคิดว่ารสที่ถูกใจนั้นจะมีตลอดกาล แต่สภาพทุกๆ อย่างจะคงอยู่ตลอดกาลไม่ได้ เพราะมันไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลงไป เสื่อมไป และต้องสลายไปเป็นธรรมดา

    ใจเร่าร้อนเพราะอยากให้รสที่ถูกใจนั้นมีขึ้นมาอีก และใจเร่าร้อนเพราะไม่อยากให้รสที่ไม่ถูกใจนั้นเกิดมีขึ้นมาอีก ใจเร่าร้อนเพราะรสที่ถูกใจนั้นจะต้องจางหายไป เร่าร้อนในใจเพราะความโศกเศร้าคิดถึงรสที่ถูกใจนั้น เร่าร้อนใจเพราะความร่ำไรรำพันใฝ่หารสที่ถูกใจนั้น เร่าร้อนในใจเพราะความพรากจากรสที่ถูกใจนั้น และเพราะไม่สมหวังในรสที่ถูกใจนั้น เร่าร้อนใจเพราะความเสียใจที่ต้องหมดหวังในการที่จะให้รสที่ถูกใจนั้นกลับคืนมาอีก เร่าร้อนใจเพราะความคับแค้นใจในการที่ต้องสูญสิ้นความหวังในรสที่ถูกใจนั้น เพราะเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า ลิ้น และ รส เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน



    กาย เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน สิ่งที่ถูกต้องสัมผัสกาย เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน

    ความคิดฟุ้งซ่านเมื่อกายได้สัมผัสกับสิ่งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ หรือรู้สึกเฉยๆ ที่เกิดขึ้นเพราะกายได้สัมผัสกับสิ่งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ก็เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน เร่าร้อนเพราะอะไร เร่าร้อนเพราะไฟคือราคะที่เกิดขึ้นในใจ มีความยินดีอยากจะให้กายได้สัมผัสกับสิ่งที่ถูกใจนั้นอีก เร่าร้อนเพราะไฟคือโทสะที่เกิดขึ้นในใจ มีความหงุดหงิดขัดเคืองใจ เพราะกายได้สัมผัสกับสิ่งที่ไม่ถูกใจ เร่าร้อนเพราะไฟคือโมหะที่เกิดขึ้นใจใน เพราะหลงคิดว่าสิ่งที่ถูกใจนั้นจะมีมาสัมผัสตลอดกาล แต่สภาพทุกๆ อย่างจะคงอยู่ตลอดกาลไม่ได้ เพราะมันไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลงไป เสื่อมไป และต้องสลายไปเป็นธรรมดา

    ใจเร่าร้อนเพราะอยากให้มีสิ่งที่ถูกใจมาสัมผัสกายอีก และใจเร่าร้อนเพราะไม่อยากให้สิ่งที่ไม่ถูกใจนั้นมาสัมผัสกายอีก ใจเร่าร้อนเพราะ สิ่งที่มาสัมผัสกายอันถูกใจนั้นจะต้องเสื่อมสลายไป, เร่าร้อนในใจเพราะความโศกเศร้าคิดถึงสิ่งที่มาสัมผัสกายอันถูกใจนั้น, เร่าร้อนในใจเพราะความร่ำไรรำพันใฝ่หาสิ่งที่มาสัมผัสกายอันถูกใจนั้น, เร่าร้อนในใจเพราะความพลัดพรากจากสิ่งที่มาสัมผัสกายอันถูกใจนั้นและเพราะไม่สมหวังในสิ่งที่มาสัมผัสกายอันถูกใจนั้น, เร่าร้อนใจเพระาความเสียใจที่ต้องหมดหวังในการที่จะให้สิ่งที่มาสัมผัสกายอันถูกใจนั้นกลับคืนมาอีก, เร่าร้อนใจเพราะความคับแค้นใจในการที่จะต้องสูญสิ้นความหวังในสิ่งที่มาสัมผัสกายอันถูกใจนั้น, เพราะเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า กาย และ สิ่งที่ถูกต้องสัมผัสกาย เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน



    ใจที่มีความอยาก เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ความคิดในเรื่องราวต่าง ๆ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน

    ความคิดฟุ้งซ่านในเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ หรือรู้สึกเฉยๆ ที่เกิดขึ้นเพราะคิดในเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ก็เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน เร่าร้อนเพราะอะไร เร่าร้อนเพราะไฟคือราคะที่เกิดขึ้นในใจ มีความยินดีอยากจะคิดในเรื่องราวที่ถูกใจนั้นอีก เร่าร้อนเพราะไฟคือโทสะที่เกิดขึ้นในใจ มีความหงุดหงิดขัดเคืองใจ เพราะต้องคิดในเรื่องราวที่ไม่ถูกใจ เร่าร้อนเพราะไฟคือโมหะที่เกิดขึ้นใจใน เพราะหลงคิดว่าเรื่องราวที่ถูกใจนั้นจะมีอยู่ตลอดกาล แต่สภาพทุกๆ อย่างจะคงอยู่ตลอดกาลไม่ได้ เพราะมันไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลงไป เสื่อมไป และต้องสลายไปเป็นธรรมดา

    ใจเร่าร้อนเพราะอยากให้มีเรื่องราวที่ถูกใจเกิดมีขึ้นมาอีก และใจเร่าร้อนเพราะไม่อยากให้เรื่องราวที่ไม่ถูกใจนั้นเกิดมีขึ้นมาอีก ใจเร่าร้อนเพราะ เรื่องราวที่ถูกใจนั้นจะต้องสูญสิ้นไป, เร่าร้อนในใจเพราะความโศกเศร้าคิดถึงเรื่องราวที่ถูกใจนั้น, เร่าร้อนในใจเพราะความร่ำไรรำพันใฝ่หาเรื่องราวที่ถูกใจนั้น, เร่าร้อนในใจเพราะความเรื่องราวที่ถูกใจนั้น และเพราะไม่สมหวังในเรื่องราวที่ถูกใจนั้น, เร่าร้อนใจเพราะความเสียใจที่ต้องหมดหวังในการที่จะให้เรื่องราวที่ถูกใจนั้นกลับคืนมาอีก, เร่าร้อนใจเพราะความคับแค้นใจในการที่จะต้องสูญสิ้นความหวังในเรื่องราวที่ถูกใจนั้น, เพราะเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า ใจที่มีความอยาก และ ความคิดในเรื่องราวต่าง ๆ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอริยสาวกได้ยินได้ฟังและเห็นอยู่อย่างนี้แล้ว อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมมีความเบื่อหน่าย ตา ย่อมมีความเบื่อหน่าย รูปทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่านเมื่อตาได้เห็นรูปทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น

    ความรู้สึกเบื่อหน่ายความคิดอันฟุ้งซ่านอย่างนี้ เกิดขึ้นเพราะการที่ตาได้เห็นรูปที่ชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือรู้สึกเฉยๆนั้น จึงไม่อยากคิดถึงตา และรูปทั้งหลายอีกต่อไป เพราะเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ฯ อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย หู ย่อมเบื่อหน่าย เสียงทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่านเมื่อหูได้ยินเสียงทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น

    ความรู้สึกเบื่อหน่ายความคิดอันฟุ้งซ่านอย่างนี้ เกิดขึ้นเพราะการที่หูได้ยินเสียงที่ชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือรู้สึกเฉย ๆ นั้นจึงไม่อยากคิดถึงหูและเสียงทั้งหลายอีกต่อไป เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ฯ อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย จมูก ย่อมเบื่อหน่าย กลิ่นทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่านเมื่อจมูกได้ดมกลิ่นทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ความรู้สึกเบื่อหน่ายความคิดอันฟุ้งซ่านอย่างนี้ เกิดขึ้นเพราะการที่จมูกได้ดมกลิ่มที่ชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือรู้สึกเฉย ๆ นั้น จึงไม่อยากคิดถึงจมูกและกลิ่นทั้งหลายอีกต่อไป เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ฯ อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย ลิ้น ย่อมเบื่อหน่าย รสทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่านเมื้อลิ้นไม้ลิ้มรสทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ความรู้สึกเบื่อหน่ายความคิดอันฟุ้งซ่านอย่างนี้ เกิดขึ้นเพราะการที่ลิ้นได้ลิ้มรสที่ชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือรู้สึกเฉย ๆ นั้น จึงไม่อยากคิดถึงลิ้นและรสทั้งหลายอีกต่อไป เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ฯ อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย กาย ย่อมเบื่อหน่าย สิ่งที่มาถูกต้องสัมผัสกาย ย่อมเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่านเมื่อกายได้สัมผัสกับสิ่งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ความรู้สึกเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่านอย่างนี้ เกิดขึ้นเพราะการที่กายได้สัมผัสกับสิ่งที่ชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือรู้สึกเฉย ๆ นั้น จึงไม่อยากคิดถึงกายและสิ่งที่มาสัมผัสกายอีกต่อไป เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ฯ อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย ใจที่มีความอนาก ย่อมเบื่อหน่าย ความคิดเรื่องราวต่าง ๆ ย่อใเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่านเมื่อใจรู้เรื่องราวต่าง ๆ ทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ความรู้สึกเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่านอย่างนี้ เกิดขึ้นเพราะการที่ใจมีอารมณ์ชอบคิดในเรื่องราวต่าง ๆ ที่ชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือรู้สึกเฉยๆ นั้น จึงไม่อยากคิดถึงใจที่มีความอยากและความคิดเรื่องราวต่าง ๆ อีกต่อไป เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ฯ เมื่ออริยสาวกเหล่านั้น มีความเบื่อหน่ายอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่คิดยินอยู่ในสิ่งเหล่านั้นอีก ฯ

    เพราะไม่คิดยินดีอยู่ในสิ่งเหล่านั้น จิตก็หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย ฯ เมื่อจิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่อวรัดรึงใจทั้งหลายแล้ว ก็มีความรู้ทราบชัดแน่นอนว่า หมดสิ้นความเกิดแล้ว ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปแล้ว เป็นการอยู่ในพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์หมดจดดีแล้ว กิจที่จะต้องทำคือการตัดกิเลส ก็ได้ทำเสร็จสิ้นแล้ว กิจอย่างอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นผู้หมดจดจากกิเลสอย่างนี้ ก็ไม่มีอีกแล้ว ฯ

    ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรมอันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อนอย่างนี้แล้ว ฯ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ฯ ก็ในขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิสดารของธรรมอันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อนอยู่นั้นแล

    จิตของภิกษุประมาณ 1,000 รูปนั้น ก็หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย ไม่คิดยินดี ไม่คิดอยากจะเกาะติดอยู่ใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมาณ์คิดถึงเรื่องราวต่าง ๆ นั้นอีกต่อไปแล ฯ

    ที่มา https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=5849
     
  11. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,923
    ค่าพลัง:
    +2,262
    ต้อง พินา ก่อน....

    ชฏิล มี สามกลุ่ม สอนทีละกลุ่ม

    อาจเปนไปได้ ว่า ทรงตรัส
    ไม่ได้มี อนุ พิษ นุ ทะ อะไร

    แต่การจั่วหัวเหมาเข่ง ก้ว่า
    กันไปตาม สามารถ ในการ
    เหนสัญญาดับ อาจเปนเรื่อง
    ความสะดวก ตัดแปะ ร้อยใบลาน
    ไม่ว่ากัน

    แต่ถ้า เช็ค พระสูตรชฏิลรวมสาม
    เหล่าทัพแล้ว ไม่มี แต่กลับมี
    ยท แจงแวง แตกต่าง

    อาทิตยา อาทิตโย อันนี้ เย กว่า

    มะเชื่อ ลองเชค หู

    หู เปน อาทิตาโย โอโห พันลี้

    ก้ นะ

    บทต่อมา เบื้อเบื่อ ออกแนว
    ส เดช ไปแว้ว ได้

    เมลามีน มาก

    ปล. แต่อันนี้ บทแปลพี่ไทย ยุบ
    กลับ "เปนของร้อน" ให้สามผ่าน
     
  12. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    รู้หรือไม่รู้ก็ไม่เป็นไรคั ถ้าใจยังไม่ได้ไปหลงยึดหลงจำในสิ่งต่างๆที่สุดท้าย
    ใจต้องสิ้นยึดมั่นถือมั่น
    ดังนั้น ตัวหนังสือแม้จะผิดเพราะ มากไปหน่อย น้อยไปนิด จาก Human Error
    ไม่สามารถสั่นคลอนพระสัทธรรม
    ที่ทรงตรัสรู้ไว้ดีแล้ว ชอบแล้ว
    มั่นคงไว้พอ
     
  13. Pngtree

    Pngtree เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2018
    โพสต์:
    1,612
    ค่าพลัง:
    +1,335
    ฝึกแบบอย่าไปยึดติดทุกสภาวะ ยังไงก้อปลอดภัย เพราะตัวจิตจริงๆ พอจะเทียบคำสมมุติได้ ก้อคือตัวมันจะเฉยๆ สภาวะโน่นนี่นั่นแค่ทางผ่านของมัน
     
  14. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762


    จริงด้วยครับ

    ต้องมี พระ อะ นุ สาวก อธิบาย ขยายอรรถ ผู้ฟังจะเข้าใจ ในเนื้อความได้ดีขึ้น ขอรับ
     
  15. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,923
    ค่าพลัง:
    +2,262
    อย่า ไปติด เฉย จิฮับ

    จิต พอมันอาสัย ตรี คฑา จักร สังข์
    สำเร็จตั้งขึ้น ......

    จิต สำเร็จ ตั้งขึ้น

    จิต สำเร็จ ตั้งขึ้น

    มันจะ ภ ภ ภ ภ ภ ภ ภ แล้วค่อย

    เออะ มีใครผูกเชือกเรา กะ เสา เป่า

    ถ้าไม่มี มันก้จะ ออกไปทางที่มันชิน
    มันคุ้นเคย หรือ ยังทวิลหา ....

    แต่ถ้า 80 มันจะ งอล หน่อยๆ แระ
    ไม่ค่อยมาหลอก อีก 20 หนะ

    แต่ไม่ใข่ ปัญหา ของ เจ ตาริง....

    ( จบ อึ้ง ดื้อๆ )
     
  16. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,923
    ค่าพลัง:
    +2,262
    ธรรม แท้ๆ จึง พ้นการฟัง จากผู้อื่น

    การปรากฏของ สัทธรรม จึงเปน อักขระ

    ไม่ต้อง แปล ฮ่าน อะไร

    หากยังต้องแปล ก้ "พอเหมือนๆ"

    โอ้ละพ่อ


    คุณหนู คุณหนู
     
  17. Pngtree

    Pngtree เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2018
    โพสต์:
    1,612
    ค่าพลัง:
    +1,335
    เคยได้ยินที่พระพุทธองค์ท่านตรัสมั้ย
    "“เธอพึงทำจิตมิให้มีความยึดถือผูกพันในทุกสภาวะ"



    นั่นแหล่ะคำตอบ เราอย่าเชื่อในทุกสภาวะ เพราะเรายังไม่จบคอร์ส ผุ้รุ้มันยังเป็นกิเลสอยุ่ (มีความเป็น "เรา" อยุ่) ทุกสิ่งเป็นแค่สิ่งที่ถูกจิตรุ้เท่านั้น ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นถือมั่น เพราะมันเป็นไตรลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นสภาวะสมถะ หรือวิปัสสนา ปัญญาญาน สติ นี่นั่นบลาๆ พวกนี้อยุ่ใต้ไตรลักษณ์ทั้งนั้น แต่มันเป็นแค่เรือที่ช่วยจิตให้พ้นทุกข์ รุ้จักเขา แต่อย่ายึดพวกเขา เพราะเรือ(สมถะ วิปัสสนา) กับคนขี่เรือ(จิต) เป็นคนละคนกัน

    จิตพุทธะจริงๆ (อันนี้ใช้หลอนสะยานขั้นสูงปรี๊ดมโนเอา) มันจะรู้แบบคล้ายๆกระจก กระทบไม่กระทบก็รุ้แต่ไม่ยึดสิ่งใด ไม่มี"เรา"ในนั้น

    ที่ปวีบอกจิตมันรุ้เฉยๆ (ไม่มีเรา) อันนั้นหมายถึงพุทธะ ไม่ใช่ผุ้รุ้อวิชชาที่ยังเป็นกิเลสที่ฝึกๆกันอยุ่ ถ้ายังเป็นผู้รุ้ที่ติดกิเลส ถ้ามันเฉยๆ ต้องวิปัสสนาที่ตัวมันด้วย เพราะมันจะแฉลบเข้าอวิชชาได้ เพราะมันยังมี"เรา"ที่เป็นอุปทานอยุ่
     
  18. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,923
    ค่าพลัง:
    +2,262
    หลวงปู้หล้า หรือ หลวงปู่บุญฤทธิ์ นี่แหละ

    ท่านจะจี้ ลงไปอีก

    ตัวที่ไม่เป็นเรา แต่ ทำอาการชะเง้อ ชะแง้ "หมายๆ"

    อาการ "หมายๆ" มีรสเฉยๆ นั่นแหละ ตัวดี

    ให้ เพ่ง ตัวนั้นเลย อย่าให้คลาด

    หลวงพ่อเยื้อน จะมาพาไปกินน้ำเย็นเลย
    หากฝาดตัว "หมายๆ" ที่ "เฉยๆ" นี้ด้วย

    แล้ว อย่าไป ขยุกขยิก จะทำยังไง นะ
    เคลื่อนไหวนิดเดียว มันรู้ตัวทันที

    ไม่ต้องทำอะไร ความเพียรอยู่ที่ไหน
    ความล้มเหลวอยู่ที่นั่น

    สรุป กลับมา 80 20 อย่างเดิม ไม่ต้อง
    เปลี่ยนอะไร แต่ จะคนละเรื่องกับ......
    ........................( ละ )
     
  19. เอิร์ลเกรย์

    เอิร์ลเกรย์ มัฌชิมาปฏิปทา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2020
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +86
    ชาก็เข้าใจอย่างที่คุณปวีอธิบายนะคะ อาเฮียมีความคิดเห็นอย่างไรคะ
     
  20. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,923
    ค่าพลัง:
    +2,262
    ลอง ดู นะ ฮับ

    ถ้า ภาวนาถูกต้องเมือไหร่

    ปฐมฌาณ จะ เริ่มเป็น ของเล่น

    ไม่ต้องทำ

    มันจะมี เองอยู่แล้ว แต่ไหน แต่ไร

    หาก ปฐมฌาณ ยังต้อง ตั้งท่า ....

    อย่ารีบร้อน ว่า รู้เห็น สมาธิ(พุทธ)
     

แชร์หน้านี้

Loading...